ตามคำชี้แจงแนบท้ายแบบคำขอเปิดดำเนินการ ระบุว่า ค่าก่อสร้าง กรณีก่อสร้างเอง หมายถึง การก่อสร้างอาคาร สำนักงาน โรงงาน สาธารณูปโภค และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ รวมถึงกรณีต่อเติมหรือปรับปรุง ค่าก่อสร้างโรงอาหาร และโรงจอดรถ อาจพิจารณาว่าเข้าข่ายสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ซึ่งจัดเป็นค่าก่อสร้างที่นับเป็นขนาดการลงทุนของโครงการได้ ส่วนค่าถนน เป็นค่าปรับปรุงที่ดิน ซึ่งไม่นับเป็นค่าก่อสร้าง และค่าที่นั่งตามทาง ก็ไม่นับเป็นค่าก่อสร้าง
หากขยายระยะเวลานำเข้าเครื่องจักรครบ 3 ครั้งแล้ว และสิ้นสุดระยะเวลานำเข้าเครื่องจักรไปแล้ว หากยังต้องการนำเครื่องจักรเข้ามาอีก ก็ต้องชำระภาษีอากร
การแก้ไขโครงการ หากได้รับบัตรส่งเสริมแล้ว ไม่ต้องใช้หนังสือตอบรับมติ
1. กรรมวิธีการผลิต ที่ได้รับอนุมัติครั้งแรก จะอยู่ในหน้าสุดท้ายของ "หนังสือแจ้งมติให้การส่งเสริม" หากไม่มีหนังสือแจ้งมติ ให้แจ้งความเอกสารหาย และทำหนังสือบริษัทมายัง BOI พร้อมกับใบแจ้งความ เพื่อขอคัดสำเนาหนังสือแจ้งมติ
2. หากมีการแก้ไขกรรมวิธีการผลิต ภายหลังจากได้รับบัตรส่งเสริมไปแล้ว จะอยู่ใน "หนังสืออนุมัติให้แก้ไขกรรมวิธีการผลิต" วิธีตรวจสอบว่าบริษัทใดเคยยื่นแก้ไขกรรมวิธีการผลิตไปบ้างหรือไม่ให้เข้าไปตรวจในระบบตรวจสอบเอกสารทาง internet (http://doctracking.boi.go.th/) หากตรวจพบว่าเคยมีการแก้ไข แต่ที่บริษัทไม่มีหนังสืออนุมัติ ก็ต้องยื่นแจ้งความเอกสารหาย และขอคัดสำเนาเอกสารที่เกี่ยวข้องเป็นเรื่องๆไป
1. ตำแหน่ง President, Managing Director, General Manager และ Director ในสายงานต่างๆ ถือเป็นตำแหน่งผู้บริหารระดับสูง
2. ตำแหน่ง President จะอนุมัติในกรณีที่มีหุ้นต่างด้าวเกินกว่า 50% ของทุนจดทะเบียน หรือมีทุนจดทะเบียนไม่ต่ำกว่า 50 ล้านบาท
3. กรณีที่ได้รับอนุมัติตำแหน่ง Managing Director ไปแล้ว อาจไม่อนุมัติตำแหน่ง General Manager ให้อีก เว้นแต่กรณีที่มีหุ้นต่างชาติมากกว่า 50% ของทุนจดทะเบียน และมีเงินลงทุนไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาท
ตอบคำถาม
1. กรณีของบริษัทมีทุนจดทะเบียนเกินกว่า 100 ล้านบาท หากเป็นหุ้นต่างชาติข้างมาก อยู่ในข่ายที่จะขออนุมัติตำแหน่ง General Manager เพิ่มเติมจากตำแหน่ง President ที่มีอยู่เดิม
2. แต่หากบริษัทเป็นหุ้นไทยข้างมาก ปกติจะไม่อนุมัติตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงให้มากกว่า 1 ตำแหน่ง
ไม่ค่อยเข้าใจคำถาม จึงขอตอบกลางๆ ไว้ก่อนคือ รายได้จากสินค้าที่จะใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล จะต้องเป็นไปตามเงื่อนไขคือ
ชนิดผลิตภัณฑ์ตรงตามบัตรส่งเสริม
กำลังผลิตไม่เกินบัตรส่งเสริม
ผลิตตามกรรมวิธีที่ได้รับส่งเสริม โดยวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตจะนำเข้าโดยยกเว้นภาษีหรือชำระภาษีก็ได้ (เป็นคนละประเด็นกับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล)
ส่วนการจำหน่าย จะส่งออก หรือจำหน่ายในประเทศ หรือจำหน่ายไปยังฟรีโซน ก็สามารถยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ทั้งสิ้น
ต้องแยกเป็น 2 เรื่อง คือ 1) การรับจ้างทำได้หรือไม่ 2) การรับจ้างผลิตสินค้าตามโครงการที่ได้รับส่งเสริม ถือเป็นส่วนที่ได้รับส่งเสริมหรือไม่
คำตอบคือ
1) การรับจ้างผลิต หากเป็นนิติบุคคลสัญชาติไทย สามารถทำได้ แต่หากเป็นต่างชาติ ต้องขออนุญาตจากสำนักบริหารการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว
2) การรับจ้างผลิตสินค้าตามโครงการที่ได้รับส่งเสริม โดยมีกรรมวิธีการผลิตครบถ้วนตามที่ได้รับการส่งเสริม ถือเป็นการดำเนินการตามโครงการที่ได้รับส่งเสริม รายได้ในส่วนนี้สามารถใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลได้
ตอบคำถาม
1. หากเป็นบริษัทสัญชาติไทย และรับจ้างผลิตสินค้าตามโครงการ โดยมีขั้นตอนผลิตครบถ้วน ก็สามารถทำได้
2. รายได้จากการรับจ้างผลิตสินค้าตามโครงการที่ได้รับส่งเสริม โดยมีกรรมวิธีผลิตครบถ้วนตามที่ได้รับส่งเสริม สามารถใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลได้
3. อินวอยซ์น่าจะต้องระบุให้ชัดเจนว่าเป็นการรับจ้างผลิตอะไร จำนวนเท่าไร
ยอดขายให้ใช้ข้อมูล "รายได้จากการขาย" ในงบการเงินปีล่าสุดตามที่แนบเอกสาร กรณียื่นขอตำแหน่งครั้งแรก หากยังไม่มีงบการเงิน จะคีย์ยอดขายเป็น 0 ไปก่อนก็ได้ โดยให้เขียนหมายเหตุชี้แจงเพิ่มเติมด้วยว่า บริษัทจัดตั้งเมื่อไร ครบรอบปีบัญชีเมื่อไร เหตุใดจึงยังไม่มีงบการเงิน ฯลฯ
อุปกรณ์สำนักงาน เป็นสิ่งที่ไม่ได้สิทธิยกเว้นอากรขาเข้าจาก BOI ดังนั้น หากจะจำหน่ายหรือบริจาค ก็สามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องขออนุญาตจาก BOI แต่หากจำหน่ายบริจาค/อุปกรณ์สำนักงานไปแล้ว ทำให้ขนาดการลงทุนของโครงการ (ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน) ต่ำกว่า 1 ล้านบาท จะผิดเงื่อนไขในบัตรส่งเสริม จึงจะเปิดดำเนินการไม่ได้ และจะถูกเพิกถอนบัตรส่งเสริม
คำถามนี้ไม่น่าจะมีคำตอบที่เป็นหลักเกณฑ์ตายตัวกับทุกอุตสาหกรรม จึงขอตอบตามความเห็นส่วนตัว ดังนี้
รถเข็น และชั้นวางของ/เก็บของ มีลักษณะใช้งานอเนกประสงค์ ปกติควรนับเป็นการลงทุนประเภทสินทรัพย์อื่นๆ แต่ในกรณีของบางอุตสาหกรรม เช่น กิจการคลังสินค้า ซึ่งลักษณะธุรกิจเป็นการขนย้ายและจัดเก็บสินค้า อาจถือว่ารถเข็นและชั้นเก็บสินค้า เป็นการลงทุนในข่ายเครื่องจักร (เครื่องมือ เครื่องใช้) ในกิจการนั้นได้ เช่นเดียวกับกรณีของกิจการการค้าระหว่างประเทศ (ITC/IPO) ซึ่งถือว่าเครื่องคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ เป็นการลงทุนเครื่องจักรของโครงการ
กรณีที่สอบถามนี้ หากมีผลโดยตรงต่อการคำนวณขนาดการลงทุนขั้นต่ำเพื่อให้เกิน 1 ล้านบาท แนะนำให้ปรึกษากับ จนท BOI ที่รับผิดชอบกิจการของบริษัทโดยตรง
1. วัตถุดิบที่เหลือจากการผลิต ที่ยังอยู่ในสภาพเดียวกับที่นำเข้า สามารถขออนุญาตส่งคืนไปต่างประเทศได้โดยไม่มีภาระภาษีอากร
2. ส่วนวัตถุดิบที่เข้าสู่กระบวนการผลิตเป็นชิ้นส่วนกึ่งสำเร็จรูปแล้ว แต่ไม่สามารถนำไปใช้ต่อตามวัตถุประสงค์เดิมได้ ถือเป็นส่วนสูญเสียนอกสูตรการผลิตสามารถขอส่งออกไปต่างประเทศ หรือบริจาค หรือขอทำลายได้ แต่ต้องมีบริษัท Inspector ที่ได้รับมอบหมายจาก BOI เป็นผู้ตรวจสอบรับรองปริมาณส่วนสูญเสียนั้น
การส่งคืนเครื่องจักรไปต่างประเทศ ให้ยื่นขอบนระบบ emt ได้เลย และภายหลังส่งออก จะต้องคีย์ข้อมูลยืนยันการส่งออกอีกครั้งหนึ่ง
1.การโอนเครื่องจักร จะต้องไม่ทำให้กำลังผลิตเปลี่ยนแปลงเกินกว่า 20% และไม่ทำให้กรรมวิธีผลิตเปลี่ยนแปลงไป ดังนั้น หากไม่ใช่เครื่องจักรหลัก ก็น่าจะอยู่ในข่ายที่สามารถให้โอนได้
2.การโอนจะมีผลตั้งแต่วันที่อนุญาตให้โอน ดังนั้น หากในวันที่อนุญาตให้โอน บัตรที่รับโอนได้รับสิทธิ ม.28 และยังมีระยะเวลานำเข้าเหลืออยู่ ก็อยู่ในข่ายที่จะอนุญาตให้โอนโดยไม่มีภาระภาษี แต่หากวันที่อนุญาตให้โอน พ้นจากระยะเวลาที่ได้รับสิทธิของบัตรที่รับโอน ก็จะเป็นการโอนโดยมีภาระภาษี
ถูกต้อง Inspector จะตรวจสอบรับรองว่าชิ้นส่วนกึ่งสำเร็จรูปที่เป็นส่วนสูญเสียนั้น เกิดจากวัตถุดิบรายการอะไร จำนวนเท่าไร พร้อมกับจะรับรองการทำลาย (หรือส่งออก) ซึ่งบริษัทสามารถยื่นหนังสือรับรองนั้นเป็นหลักฐานในขั้นตอนการขออนุมัติตัดบัญชีส่วนสูญเสียนอกสูตร
นิยามของเครื่องจักรภายใต้ พรบ.ส่งเสริมการลงทุนของ BOI ค่อนข้างกว้าง คือ รวมถึงส่วนประกอบ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ต่างๆ ด้วย (ประกาศ สกท ที่ ป.1/2546) รายการที่สอบถาม หากเข้าข่ายส่วนประกอบ อุปกรณ์ หรือเครื่องมือเครื่องใช้ ในระบบผลิตกระแสไฟฟ้า ก็นับเป็นการลงทุนในข่ายเครื่องจักรได้
1) บริษัทที่ได้รับส่งเสริมการลงทุนโดยได้รับสิทธิตามมาตรา 31 จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับรายได้จากการประกอบกิจการที่ได้รับส่งเสริม ดังนั้น ผู้ที่จ่ายเงินค่าจ้างหรือค่าบริการให้กับผู้ไดรับส่งเสริมดังกล่าว จึงไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย โดยบริษัทที่ได้รับส่งเสริมจะต้องถ่ายสำเนาบัตรส่งเสริมให้กับผู้จ่ายเงิน เพื่อแสดงว่าบริษัทได้รับสิทธิประโยชน์การยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับการประกอบกิจการบริการนั้น
คำตอบข้อหารือของกรมสรรพากร
http://www.rd.go.th/publish/23636.0.html
http://www.rd.go.th/publish/35686.0.html
ส่วนค่าเช่าสำนักงาน และค่าอื่นๆ ที่อาจต้องการสอบถามเพิ่มเติมภายหลัง ถ้าเข้าข่ายตามคำตอบข้างต้น ผู้จ่ายก็ไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย แต่ถ้าไม่เข้าข่าย ผู้จ่ายก็มีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามประกาศกรมสรรพากร
2) เหมือนกับข้อ 1 คือ หากผู้ให้บริการเป็นบริษัท BOI ที่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามมาตรา BOI ผู้ว่าจ้างก็ไม่มีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย สำหรับค่าจ้างตามโครงการที่ผู้รับจ้างได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้
3) ภพ 30 ไม่เกี่ยวข้องอะไร ให้เรียกเก็บ VAT หรือชำระ VAT ตามปกติ
4) ใช่
5) คำว่าเปิดดำเนินการภายใน 3 ปี เขียนไว้ที่ไหนอย่างไร ช่วยคัดลอกข้อความมาให้ครบถ้วนด้วย มิฉะนั้นอาจจะถามตอบกันไปคนละทาง ในบัตรส่งเสริมมีเงื่อนไขว่า บริษัทต้องเปิดดำเนินการภายในวันที่ ... (ปกติคือ 3 ปีนับจากวันที่ออกบัตรส่งเสริม) เว้นแต่จะมีการขอขยายเวลานำเข้าเครื่องจักร หรือขอขยายเวลาเปิดดำเนินการออกไปอีก คำว่าเปิดดำเนินการ ที่ระบุในบัตรส่งเสริม คือ การมีการลงทุนครบถ้วนตามโครงการที่ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริม แต่บริษัทจะเริ่มผลิตหรือให้บริการก่อนวันเปิดดำเนินการของ BOI ก็ได้ อธิบายอีกแบบหนึ่งคือ วันเปิดดำเนินการของ BOI เป็นวันสุดท้ายที่กำหนดให้บริษัทต้องทำตามเงื่อนไขให้ได้ครบ ไม่ใช่วันแรกที่จะเริ่มผลิตหรือให้บริการ ดังนั้น บริษัทจึงสามารถมีรายได้ก่อนวันเปิดดำเนินการของ BOI ได้ และหากในช่วงนั้นมีกำไร ก็สามารถขอยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามสิทธิที่ได้รับ
6) ประกันสังคม จะต้องยื่นจดเมื่อมีการจ้างงาน ดังนั้น หากยังไม่มีการจ้างงาน เช่น หากยังเป็นการจ้างเหมาบริการ ฯลฯ ก็ยังไม่ต้องจดทะเบียนนายจ้างตาม พรบ.ประกันสังคม
กิจการที่ได้รับส่งเสริมจาก BOI ปกติจะได้รับอนุมัติตำแหน่งช่างฝีมือและผู้เชี่ยวชาญต่างชาติ ครั้งละ 2 ปี ดังนั้น ในการยื่นขยายระยะเวลาตำแหน่ง งบการเงินจึงจะเสร็จเรียบร้อยแล้ว แต่บางกิจการ เช่น กิจการซอฟต์แวร์ และกิจการ TISO จะได้รับอนุมัติตำแหน่งครั้งละ 1 ปี ดังนั้น ในการยื่นขยายเวลาตำแหน่งในครั้งแรก งบการเงินจึงอาจจะยังไม่เสร็จก็เป็นไปได้ กรณีจะยื่นขอขยายระยะเวลาตำแหน่ง แต่งบการเงินยังไม่เสร็จ จะไม่ต้องยื่นงบการเงินก็ได้ โดย BOI จะตรวจสอบจากหนังสือรับรองของบริษัทที่แนบไปด้วย ซึ่งในหนังสือรับรอง (หน้าที่ 2) จะมีข้อความระบุว่า บริษัทยื่นงบล่าสุดถึงปีไหนแล้ว หากในหนังสือรับรองระบุการยื่นงบถึงปีใด บริษัทก็ต้องยื่นงบของปีนั้น แต่หากในหนังสือรับรองระบุว่ายังไม่มีการยื่นงบ บริษัทก็สามารถชี้แจงต่อ BOI ว่า งบการเงินยังไม่เสร็จ และไม่ต้องแนบงบฯ ก็ได้
เครื่องจักรที่จะใช้ในโครงการ BOI จะต้องเป็นเครื่องจักรใหม่ หากเป็นเครื่องจักรเก่า ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ โดยมีอายุไม่เกินที่กำหนด และมีใบรับรองประสิทธิภาพเครื่องจักรเก่า กล่าวคือ การใช้เครื่องจักรในประเทศ ที่เป็นเครื่องจักรใหม่ เป็นไปตามนโยบายและเงื่อนไขที่ BOI กำหนด รายได้ที่เกิดจากเครื่องจักรในประเทศ ที่เป็นเครื่องจักรใหม่ จึงเป็นรายได้ตามโครงการ ซึ่งสามารถใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล
รายได้จากการจำหน่ายสินค้าให้กับบริษัททั่วๆไปที่ไม่ได้รับการส่งเสริม
สามารถใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล เนื่องจากไม่ขัดกับเงื่อนไขข้อใดในบัตรส่งเสริม แต่จะไม่สามารถใช้สิทธิยกเว้นอากรขาเข้าวัตถุดิบตามมาตรา 36
-เนื่องจากไม่ได้เป็นการผลิตส่งออกตามเงื่อนไขของมาตรา 36
- แต่หากลูกค้าอยู่ในฟรีโซน ก็ใช้สิทธิได้ เนื่องจากการขายเข้าฟรีโซนถือเป็นการส่งออกตามความหมายของมาตรา 36