1. ไม่มีประกาศเรื่องให้ใช้เครื่องจักรใหม่ในประเทศได้ เนื่องจากไม่มีข้อห้ามใดๆ ที่ทำให้ต้องออกเป็นประกาศ
2. การนับมูลค่าเครื่องจักรเป็นมูลค่าการลงทุนเพื่อคำนวณวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล กำหนดตาม ประกาศ สกท ที่ ป.12/2544
หมายความว่า โครงการเดิมมีขั้นตอนการว่าจ้างอยู่แล้ว หากจะตัดทิ้งไป โดยเปลี่ยนเป็นการซื้ออย่างเดียว อาจทำให้เกิดการขาดตอนระหว่างที่ขออนุมัติ เนื่องจาก ITC สามารถมีขั้นตอนว่าจ้างได้ กรณีนี้จึงน่าจะขอเปลี่ยนประเภทกิจการจาก IPO เป็น ITC และแก้ไขลักษณะการดำเนินธุรกิจคือ บางส่วนเป็นการว่าจ้างตามที่อนุมัติอยู่เดิม และบางส่วนซื้อจากซัพพลายเออร์ น่าจะทำให้คล่องตัวกว่า และไม่เกิดช่วงรอยต่อระหว่างที่ขออนุมัติ
ตามมาตรา 56 ของ พรบ. ส่งเสริมการลงทุน ในกรณีที่ผู้ได้รับการส่งเสริมเลิกกิจการ รวมกิจการกับผู้อื่น หรือโอนกิจการให้แก่ผู้อื่น ให้บัตรส่งเสริมนั้นใช้ได้ต่อไปอีกไม่เกิน 3 เดือนนับแต่วันเลิก รวม หรือโอนกิจการ
ในกรณีที่ผู้ซึ่งดำเนินกิจการที่รวมกันขึ้นใหม่หรือรับโอนกิจการ ประสงค์จะขอรับช่วงดำเนินการที่ได้รับการส่งเสริมตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในบัตรส่งเสริมต่อไป ให้ยื่นคำขอรับการส่งเสริมภายในเวลาที่กำหนดไว้ในวรรคหนึ่ง ถ้าคณะกรรมการพิจารณาเห็นสมควรให้การส่งเสริม ให้ออกบัตรส่งเสริมโดยให้ได้รับสิทธิและประโยชน์ตามพระราชบัญญัตินี้เพียงเท่าที่ผู้ได้รับการส่งเสริมเดิมยังเหลืออยู่ ถ้าคณะกรรมการเห็นว่าไม่สมควรให้การส่งเสริม ให้สั่งเพิกถอนสิทธิและประโยชน์ทั้งหมด
ตอบคำถามดังนี้
1. สามารถโอนกิจการให้กับผู้อื่นได้ แต่บัตรส่งเสริมจะสิ้นสุดลงใน 3 เดือนนับจากวันโอนกิจการ หากผู้รับโอนกิจการ ประสงค์จะดำเนินการตามเงื่อนไขที่กำหนดในบัตรส่งเสริมต่อไป สามารถยื่นคำขอรับส่งเสริมภายใน 3 เดือนนับจากวันโอนกิจการ โดยจะได้รับสิทธิประโยชน์เท่าที่เหลืออยู่ของโครงการนั้น
2. การเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้น ไม่ถือเป็นการโอนกิจการ แต่ยังคงเป็นการดำเนินการโดยนิติบุคคลเดิม
- หากอัตราส่วนการถือหุ้นไทยไม่ขัดกับเงื่อนไขในบัตรส่งเสริม ไม่ต้องยื่นเรื่องแก้ไขใดๆ ต่อ BOI
- หากอัตราส่วนการถือหุ้นไทยต่ำกว่าเงื่อนไขในบัตรส่งเสริม ต้องยื่นคำร้องขอแก้ไขอัตราส่วนหุ้นไทย
กรณีนำเครื่องจักรเข้ามาโดยใช้สิทธิยกเว้นภาษีอากร หากใช้ปฏิบัติถูกต้องตามเงื่อนไข สามารถขออนุญาตจำหน่ายเครื่องจักรในประเทศก่อนครบ 5 ปีได้ โดยจะต้องชำระภาษีตามสภาพ เช่น ถ้าใช้เครื่องจักรไป 3 ปี อายุของเครื่องจักรก็จะเหลืออีก 2 ปี (BOI กำหนดอายุของเครื่องจักรเป็นเวลา 5 ปี) ดังนั้น ภาษีอากรที่ต้องชำระ จะคำนวณจากมูลค่าเครื่องจักรหลังหักค่าเสื่อม (กรณีตามตัวอย่างนี้คือ 40%) x พิกัดภาษี ณ ปัจจุบัน โดยไม่ต้องชำระเบี้ยปรับ เพราะไม่ได้ทำผิดเงื่อนไข BOI
วิธีการคำนวณภาษีอากร ให้ปรึกษากับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือ กรมศุลกากร โดยตรง
1. การจำหน่ายแม่พิมพ์ก่อนครบ 5 ปี ใช้แนวทางเดียวกับเครื่องจักรคือต้องชำระภาษีตามสภาพ ณ วันที่ขอจำหน่าย
2. การจำหน่ายแม่พิมพ์ที่นำเข้าเกิน 5 ปีแล้ว สามารถขอจำหน่ายได้ โดยไม่มีภาระภาษี ทั้ง 2 กรณี จะต้องยื่นขออนุญาตจาก BOI และชำระภาษี (ถ้ามี) ให้เสร็จสิ้นก่อน จึงจะสามารถจำหน่ายได้
1. ถ้า B เป็น BOI ก็ถือว่า A เป็นผู้ส่งออกทางอ้อม คือเมื่อ B ส่งออก ก็ตัดบัญชี แล้วทำ report-V ส่งให้ A เพื่อตัดบัญชีในส่วนของ A ต่อไป แต่ถ้า B ไม่ใช่ BOI ไม่น่าจะทำได้ เพราะแม้ว่า B อาจจะโอนสิทธิ์ใบขนมาให้ A ก็ตาม แต่ชื่อสินค้าส่งออกในใบขนของ B อาจไม่ใช่ชื่อสินค้าที่ A ได้รับส่งเสริม จึงพิสูจน์ไม่ได้ว่า ใบขนนั้นมีสินค้ารุ่นอะไรของ A ส่งออกไปจำนวนเท่าใด
2.การนำสินค้าของ B มา re-pack ใหม่ รวมกับสินค้าของ A ยังคงทำให้ชื่อสินค้าที่จะจำหน่าย เป็นชื่อผลิตภัณฑ์ตามบัตรส่งเสริมหรือไม่
- หากเป็นชื่อตามบัตร ให้ขอแก้ไขขั้นตอนการผลิต เพื่อนำสินค้าจาก B มา re-pack ด้วย (แต่หากมีขั้นตอนนี้อยู่แล้ว ก็ไม่ต้องขอแก้ไขอะไร)
- หากไม่เป็นชื่อตามบัตร ต้องแก้ไขชนิดผลิตภัณฑ์ (และกรรมวิธีผลิต เพิ่มขั้นตอน repack)
- นัดหมายและชี้แจงโครงการกับ จนท BOI ผู้พิจารณาโครงการ
- จัดส่งข้อมูลและเอกสารตามที่ จนท ร้องขอ
- หลังจากได้รับหนังสือแจ้งมติอนุมัติให้การส่งเสริม จะต้องตอบรับมติภายในเวลาที่กำหนด
- จากนั้นยื่นเอกสารเพื่อขอรับบัตรส่งเสริม
การขอขยายเวลาเปิดดำเนินการเพียงอย่างเดียว คือ การขยายเวลาการเปิดดำเนินการที่ไม่ได้มีสาเหตุจากการขยายเวลานำเข้าเครื่องจักร การขอขยายเวลาเปิดดำเนินการเพียงอย่างเดียว จะสามารถยื่นได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น และหลังจากนั้นจะไม่ได้รับอนุญาตให้การเวลาเปิดดำเนินการอีก โครงการที่ได้รับสิทธิยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร หากยังนำเข้าเครื่องจักรไม่ครบ แต่หากยื่นขอขยายเปิดดำเนินการเพียงอย่างเดียวก่อน จะไม่สามารถขยายเวลานำเข้าเครื่องจักรได้อีก ดังนั้น จึงขอให้ยื่นขอขยายเวลานำเข้าเครื่องจักรให้ครบก่อน (หลักเกณฑ์ปัจจุบันให้ขยายได้ 3 ครั้ง ครั้งละไม่เกิน 1 ปี) และสุดท้ายจึงค่อยยื่นขอขยายเปิดดำเนินการเพียงอย่างเดียว
ตอบคำถาม
การขอขยายเปิดดำเนินการเพียงอย่างเดียว ให้ยื่นแบบ F PM EX 06-02 และหนังสือรับทราบเงื่อนไขว่าจะไม่สามารถขยายระยะเวลานำเข้าเครื่องจักรได้ (ไม่มีแบบฟอร์ม) ต่อสำนักบริหารการลงทุน 1-4 ที่ดูแลกิจการของบริษัท หรือยื่นต่อสำนักงาน BOI ภูมิภาค และเมื่อได้รับอนุญาตให้ขยายเปิดดำเนินการเพียงอย่างเดียว ให้นำบัตรส่งเสริมไปติดต่อฝ่ายบัตร เพื่อแก้ไขเอกสารแนบท้ายบัตรส่งเสริม
1) สามารถแจ้งยืนยันก่อนครบกำหนดได้ แต่ไม่ควรแจ้งล่วงหน้าเร็วเกินไป เช่น ไม่ควรเกิน 1 เดือน เป็นต้น
2) กรณีที่ไม่ได้แจ้งยืนยันภายในกำหนด BOI จะส่งหนังสือเตือน ดังนั้น ถ้าได้รับหนังสือเตือน ก็ควรรีบยื่นให้ถูกต้อง เพราะไม่ใช่ขั้นตอนที่ยุ่งยาก
การจำหน่ายเครื่องจักรในประเทศ จะต้องยื่นแบบคำขอจำหน่ายเครื่องจักรต่อ BOI แต่ถ้าเป็นการจำหน่ายไปต่างประเทศ (ส่งคืน) ให้ยื่นขอส่งคืนเครื่องจักรบนระบบ eMT
1. กรณีเยี่ยมชมโรงงาน สามารถเดินทางเข้าประเทศ โดยไม่ต้องทำวีซ่าและใบอนุญาตทำงาน โดยสามารถอยู่ในประเทศได้ไม่เกิน 30 วัน
2. กรณีสอนงาน (Training) ซึ่งทราบระยะเวลาชัดเจนและมีกำหนดการสอนชัดเจน ต้องขอใบอนุญาตทำงาน
3. กรณีซ่อมเครื่องจักรเร่งด่วนฉับพลัน ซึ่งไม่มีกำหนดล่วงหน้ามาก่อน จะต้องขอใบอนุญาตทำงาน แต่จะออกให้เป็นใบประกาศด่วน (URGENT) แทนใบอนุญาตทำงาน โดยสามารถมอบอำนาจให้ผู้อื่นไปยื่นเรื่อง/ขอรับเอกสาร แทนชาวต่างชาติได้ ส่วนวีซ่าเป็นวีซ่าผ่านเข้ามาปกติ ไม่ต้องเป็นวีซ่า Non-B
4. กรณีปฏิบัติงานเกินกว่า 15 วัน แต่ไม่เกิน 30 วัน สามารถยื่นขอใช้สิทธินำเข้าช่างฝีมือชั่วคราวเร่งด่วนต่อ BOI ได้ ซึ่งไม่ต้องขออนุมัติตำแหน่ง แต่ขั้นตอนดำเนินการขอใบอนุญาตทำงานจะเหมือนขั้นตอนปกติ โดยช่างต่างชาติจะต้องเดินทางไปทำใบอนุญาตทำงานด้วย ส่วนวีซ่าจะต้องเป็นวีซ่า Non- B
บริษัทได้รับบัตรส่งเสริมในปี 2556 ในกิจการ 5.5 กิจการผลิตชิ้นส่วนและ/หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือชิ้นส่วนและ/หรืออุปกรณ์ที่ใช้กับผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 7 ปี จึงเข้าใจว่าน่าจะเป็นดังนี้
1. บริษัทได้รับส่งเสริมตามหลักเกณฑ์ของ ประกาศ กกท ที่ 10/2552 ซึ่งยังไม่มีการกำหนดสิทธิประโยชน์เป็นกลุ่ม A1-A4, B1-B2
2. ได้รับสิทธิประโยชน์ ประกาศ กกท ที่ 4/2549 เรื่อง นโยบายส่งเสริมการลงทุนอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งจะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 7 ปี หากตั้งโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมในเขต 2
3. การกำหนดสิทธิประโยชน์เป็นกลุ่ม A1-A4, B1-B2 เป็นไปตาม ประกาศ กกท ที่ 2/2557 ซึ่งมีผลใช้บังคับกับโครงการที่ยื่นคำขอรับการส่งเสริมตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2558 เป็นต้นไป
การหักค่าขนส่งเป็น 2 เท่า ตามมาตรา 35(2) จะต้องเป็นค่าขนส่งในประเทศเท่านั้น เช่น ค่าขนส่งสินค้า เครื่องจักร และวัตถุดิบ โดยไม่รวมถึงค่าขนส่งพนักงาน และจะหักได้เฉพาะส่วนที่เป็นต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการผลิตโดยตรงเท่านั้น ค่าขนส่งสินค้าไปว่าจ้างบริษัท A ให้ทำความสะอาด ก่อนจำหน่ายให้กับลูกค้า เป็นการขนส่งในประเทศที่เป็นต้นทุนการผลิตโดยตรง จึงสามารถใช้สิทธิตามมาตรา 25(2) ได้ แต่บริษัทจะต้องได้รับอนุมัติกรรมวิธีการผลิตให้มีขั้นตอนการนำสินค้าไปว่าจ้างทำความสะอาดด้วย
ชาวต่างชาติระดับบริหาร ในบริษัทที่ได้รับส่งเสริมจาก BOI สามารถขอใช้ช่องทางพิเศษ (Fast Track Lane / Premium Lane) ที่สนามบิน ในการเดินทางเข้าออกประเทศได้ ข้อมูลเบื้องต้นตาม www.faq108.co.th/common/topic/premium_lane.php
บริษัท 1 บริษัท สามารถขอรับการส่งเสริมจาก BOI ได้หลายโครงการ โดยจะผลิตสินค้าชนิดเดียวกันหรือต่างกันก็ได้ แต่มีเงื่อนไขคือ แต่ละโครงการจะต้องมีเครื่องจักรสำหรับผลิตสินค้าเฉพาะของโครงการนั้นๆ เท่านั้น จะใช้เครื่องจักรร่วมกับโครงการอื่นไม่ได้ (เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจาก BOI) กรณีที่สอบถาม ให้ข้อมูลน้อยเกินกว่าจะตอบได้ว่า ควรยื่นขอเป็นโครงการใหม่ หรือขอแก้ไขโครงการเดิม
จึงขอตอบเฉพาะหลักเกณฑ์ดังนี้
1.กรณียื่นขอเป็นโครงการใหม่
- ต้องมีการลงทุนเครื่องจักรใหม่ครบสายการผลิต โดยไม่ใช้เครื่องจักรร่วมกับโครงการเดิม
- จะได้รับสิทธิประโยชน์ตามหลักเกณฑ์ ณ วันยื่นคำขอ
- ต้องแยกรายรับรายจ่ายของโครงการใหม่และโครงการเดิม และแยกใช้สิทธิประโยชน์ของโครงการใหม่และโครงการเดิม
2.กรณีแก้ไขโครงการเดิม
- โครงการเดิมต้องยังไม่เปิดดำเนินการเต็มโครงการ (ยกเว้นกิจการอิเล็กทรอนิกส์และชิ้นส่วน)
- เพิ่มกำลังผลิตได้ไม่เกิน 30% ของบัตรฉบับแรก หากเกิน ต้องยื่นขอเป็นโครงการใหม่ (ยกเว้นกรณีสิทธิประโยชน์เดิมและใหม่ได้รับเท่ากัน)
- จะได้รับสิทธิประโยชน์เท่าที่เหลืออยู่ของโครงการเดิม
1) ถ้าทั้งสองบัตร เคยยื่นแบบยืนยัน 6 เดือน 1 ปี และ 2 ปีไปแล้ว หลังจากนั้นก็ไม่ต้องยื่นอีก แต่หากไม่ได้ยื่น และยังไม่ได้รับใบอนุญาตเปิดดำเนินการครบตามโครงการ ควรยื่นย้อนหลังให้ถูกต้องตามเงื่อนไขในบัตรส่งเสริม
2) รายงานฐานะการเงินและผลประกอบการ (ตส.310) จะเริ่มรายงานหลังจากได้รับใบอนุญาตเปิดดำเนินการครบตามโครงการ และต้องรายงานตลอดไป ตราบเท่าที่ยังมีสถานะเป็นผู้ได้รับส่งเสริม ไม่ว่าสิทธิทางภาษีอากรจะหมดสิ้นลงแล้วหรือไม่ก็ตาม ดังนั้น บัตรที่ 1 ปี 2547 ยังมีหน้าที่ต้องรายงานฐานะการเงินและผลประกอบการตามแบบ ตส.310 ทุกรอบปี
กรรมการเป็นผู้ลงนามและปรับตราในเอกสาร แต่จะให้ใครไปยื่นแทนก็ได้ ไม่ต้องมีหนังสือมอบอำนาจในการไปยื่นเรื่อง