Chat
x
toggle menu
toggle menu

Select Groups

All Group
  • All Group
  • นโยบายเเละมาตรการพิเศษในการส่งเสริม
  • การขอรับการส่งเสริมการลงทุน
  • การออกบัตรส่งเสริม
  • การเปิดดำเนินการ
  • การเเก้ไขโครงการ
  • การดำเนินการอื่น ๆ
  • การรายงานความคืบหน้าโครงการ (e-Monitoring)
  • การปฏิบัติหลังการได้รับการส่งเสริม
  • การยกเลิกบัตรส่งเสริม
  • เรื่องทั่วไป
  • การใช้สิทธิด้านที่ดิน
  • การใช้สิทธิด้านเครื่องจักร
  • การใช้สิทธิด้านช่างฝีมือ/ต่างด้าว
  • การใช้สิทธิด้านวัตถุดิบ
  • ประเภทกิจการ - การแพทย์
  • การใช้สิทธิด้านภาษีเงินได้นิติบุคคล
  • ประเภทกิจการ - รถยนต์ไฟฟ้า
  • ประเภทกิจการ - ศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศ (IBC) IPO และ TISO
  • ประเภทกิจการ - โรงแรม
  • ประเภทกิจการ - ผลิตผลิตภัณฑ์โลหะรวมทั้งชิ้นส่วนโลหะ
  • ประเภทกิจการ - กิจการผลิตเครื่่องจักร อุุปกรณ์และชิ้นส่วน
  • ประเภทกิจการ - กิจการศูนย์กระจายสินค้าระหว่า ประเทศด้วยระบบที่่ทันสมัย (IDC)
สอบถามเกี่ยวกับการขอตำแหน่ง ข้อที่ 1.1 อยากทราบว่าในกรณีที่ช่างฝีมือเราไม่ได้จบปริญญาตรีนะ สามารถที่จะขอตำแหน่งได้ไหม แล้วจะต้องเลือกในหัวขอไหน ช่างฝีมือมีประสบการณ์ทำงานประมาณ 22 ปี ตรงตามสายที่จะขอตำแหน่ง

1. การขออนุมัติตำแหน่ง จะพิจารณาเพียงแค่ว่า ตำแหน่งที่ขอนั้นมีความจำเป็นต่อโครงการที่ได้รับส่งเสริมหรือไม่ โดยจะยังไม่พิจารณาถึงคุณสมบัติของช่างฝีมือที่จะมาบรรจุในตำแหน่งนั้น

2. เมื่อได้รับอนุมัติตำแหน่งแล้ว จึงจะเป็นขั้นตอนการยื่นขอบรรจุช่างฝีมือในตำแหน่งที่ได้รับอนุมัติ

3. ช่างฝีมือจะต้องจบวุฒิการศึกษาตรงกับตำแหน่งที่จะขอบรรจุ และจะต้องมีประสบการณ์ตรงกับตำแหน่งไม่น้อยกว่า 2 ปี (กรณีตำแหน่งทั่วไป) หรือ 5 ปี (กรณีตำแหน่งผู้จัดการ) แต่หากจบวุฒิการศึกษาไม่ตรงกับตำแหน่งที่จะขอบรรจุ จะต้องมีประสบการณ์ตรงกับตำแหน่งไม่น้อยกว่า 5 ปี ช่างฝีมือไม่จำเป็นต้องจบปริญญาตรีก็ได้ เช่น ช่างฝีมือบางคนอาจจบเพียงระดับการศึกษาภาคบังคับของประเทศนั้นๆ จากนั้นก็ทำงานในโรงงานเป็นเวลาสิบๆปี จนกลายเป็นช่างฝีมือผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งกรณีนี้ก็สามารถขอบรรจุในตำแหน่งที่ตรงกับประสบการณ์ของช่างผู้นั้นได้

กรณีบริษัทได้รับการส่งเสริมตามมาตรา 36 เรื่องการนำเข้าเพื่อการส่งออก อยากทราบว่า BOI มีข้อกำหนดใดๆ เกี่ยวกับฉลากสินค้าที่จะส่งไปในแต่ละประเทศหรือไม่ อย่างไรบ้าง

ไม่มี จะมีเฉพาะเงื่อนไขคุณภาพสินค้า ซึ่งกำหนดไว้ในบัตรส่งเสริม เงื่อนไขทั่วไป ข้อ 14 คือ คุณภาพของผลิตภัณฑ์ต้องเป็นไปตามมาตรฐานสากล และหากมีการกำหนดมาตรฐานอุตสาหกรรม จะต้องดำเนินการให้ได้รับใบรับรองมาตรฐานอุตสาหกรรม

บริษัทได้ยื่นเปิดดำเนินการไปแล้ว และจะขอชุดคืน เนื่องจากเครื่องยังเข้ามาไม่ครบ Process ต้องใช้แบบฟอร์มไหน หรือ จดหมายแบบไหน รบกวนขอตัวอย่างด้วย

1. การยกเลิกคำร้องที่ยื่นต่อ BOI ไปแล้ว แต่ยังอยู่ระหว่างการพิจารณา สามารถร่างจดหมายขอยกเลิกขึ้นได้เอง ไม่มีแบบฟอร์ม

2. กรณีนำเครื่องจักรเข้ามาไม่ครบ process แต่สิ้นสุดระยะเวลาเปิดดำเนินการไปแล้ว ยังไม่ควรทำหนังสือยกเลิก แต่ควรปรึกษาเจ้าหน้าที่ก่อน เพราะอาจต้องขอแก้ไขโครงการเป็นกรณีๆไป

ชิ้นงานสำเร็จรูปพลาสติก สติ๊กเกอร์สามารถทำได้เช่นเดียวกับส่วนสูญเสียพลาสติกที่เป็นงานประเภท ม้วน หรือโรล ได้ใช่รึเปล่า

วัตถุดิบหรือชิ้นส่วนอื่น ก็สามารถขอทำลายเป็นเศษซากได้เช่นกัน แต่วิธีการทำลายหรือวิธีกำจัด อาจแตกต่างกันไปตามชนิดของวัตถุดิบนั้นๆ

บริษัทต้องการขายอะไหล่ของเครื่องจักรภายในประเทศ ซึ่งนำเข้ามาโดยเป็น BOI และ NON BOI ต้องดำเนินการอย่างไรบ้าง

การจำหน่ายอะไหล่เครื่องจักรในประเทศทั้ง 2 กรณี ต่างกันตามนี้

กรณีเป็นอะไหล่ที่นำเข้ามาโดยใช้สิทธิยกเว้นภาษีอากรขาเข้าจาก BOI

- ให้ยื่นขออนุญาตจาก BOI ตามแบบคำขออนุญาตจำหน่ายโอนบริจาคเครื่องจักร (F IN MC 04)

- หากอะไหล่ดังกล่าวนำเข้ามายังไม่ครบ 5 ปี จะต้องชำระภาษีอากรตามสภาพ ณ วันที่ยื่นขอจำหน่าย

กรณีเป็นอะไหล่ที่นำเข้ามาโดยชำระอากรขาเข้าเอง

- สามารถจำหน่ายได้โดยไม่ต้องยื่นขออนุญาต

- ไม่มีภาระภาษีอากรใด ๆ อีก

กรณีบริษัทดำเนินธุรกิจค้าส่ง โดยมีหุ้นไทยข้างมาก มีทุนจดทะเบียน 2 ล้านบาท บริษัทสนใจขอรับส่งเสริมในกิจการ IPO โดยมีแผนจะเพิ่มทุนและเปลี่ยนโครงสร้างผู้ถือหุ้นเป็นต่างชาติ 100% อยากทราบว่า บริษัทจำเป็นต้องเพิ่มทุนก่อนออกบัตรส่งเสริม หรือตั้งแต่ในขั้นยื่นคำขอรับการส่งเสริม
สามารถเพิ่มทุนให้ครบและเรียกชำระให้ครบ 10 ล้านบาท หลังยื่น Application ได้ แต่จะต้องก่อนออกบัตรส่งเสริม ทั้งนี้ ใน Application จะต้องมีการระบุว่า บริษัทจะเพิ่มทุนจดทะเบียน
ขอสอบถามกรณีบริษัทได้รับส่งเสริมในกิจการ TISO และมีทุนจดทะเบียนเรียกชำระแล้ว 10 ล้านบาท หากประสงค์ยื่นขอรับการส่งเสริมเพิ่มเติมในกิจการ IPO บริษัทจำเป็นต้องเพิ่มทุนจดทะเบียนอีก 10 ล้านบาท หรือไม่ / จำเป็นต้องจัดตั้งบริษัท ใหม่หรือไม่
BOI มีเกณฑ์ Debt/Equity ratio ซึ่งจะตรวจสอบจากงบการเงินล่าสุดของบริษัทว่ายังคงอยู่ในเกณฑ์ D/E ไม่เกิน 3/1 หรือไม่ หากไม่เกินเกณฑ์ที่ BOI กำหนด บริษัทไม่จำเป็นต้องเพิ่มทุนจดทะเบียน โดยสามารถใช้เงินลงทุนของโครงการใหม่จากกำไรสะสมของบริษัทได้ หรือใช้เงินกู้จากในประเทศหรือต่างประเทศได้ อย่างไรก็ตาม หาก D/E เกิน 3/1 อาจจะต้องพิจารณาเพิ่มทุนจดทะเบียน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับเงินลงทุนของโครงการ IPO สำหรับการขอรับการส่งเสริมฯ บริษัทจะใช้บริษัทเดิมที่ดำเนินธุรกิจอยู่แล้วมาขอได้ หรือจะจัดตั้งบริษัทใหม่มาขอก็ได้
อะไหล่ตัวนี้ทางบริษัทไม่ใช้งานแล้ว ซึ่งจะขายไปในรูปแบบของเศษซาก จะต้องดำเนินการเหมือนกับขออนุญาตจาก BOI ตามแบบคำขออนุญาตจำหน่ายโอนบริจาคเครื่องจักร หรือไม่

การไม่ได้ใช้งาน ไม่ได้แปลว่าเป็นเศษซาก เช่น กรณีสินค้ารุ่นนั้นไม่ผลิตที่โรงงานเมืองไทยแล้ว จึงไม่มีความต้องการใช้อะไหล่นั้นอีก ก็ยังถือว่าอะไหล่นั้น ยังเป็นอะไหล่ปกติ หากนำเข้าไม่ครบ 5 ปี ก็ต้องชำระภาษีตามสภาพ ณ วันที่จำหน่าย แต่ถ้าไม่ต้องการชำระภาษี (และไม่ส่งออก) ก็เก็บไว้ให้ครบ 5 ปี แล้วจึงยื่นขอจำหน่าย

การส่งผลิตภัณฑ์ IPO ออกนอกประเทศ กรณีที่เป็นงาน NG ส่งออกไปแล้วไม่นำกลับเข้ามาออกต้องเดินพิธีการขาออกโดยสิทธิ์ BOI ต้องทำการขออนุญาต สนง.ก่อนส่งออกใช่หรือไม

การส่งคืนวัตถุดิบที่ไม่ได้คุณภาพออกไปต่างประเทศ ที่ถูกต้องควรต้องขออนุญาต BOI ก่อน แต่ถ้าส่งออกไปแล้ว ก็สามารถยื่นขออนุญาตส่งวัตถุดิบที่ไม่ได้คุณภาพไปต่างประเทศได้ เมื่อนำหลักฐานไปขอตัดบัญชี (ปรับยอด) ทางสมาคม IC จะตรวจสอบเฉพาะรายการและปริมาณว่าไม่เกินที่ได้รับอนุญาต โดยจะไม่ตรวจว่าวันที่ส่งออกก่อนวันที่ยื่นขออนุญาตหรือไม่

สอบถามเรื่องทะเบียนสินทรัพย์สำหรับยื่นเปิดดำเนินการ ลักษณะเป็นอย่างไร จะต้องมีการจดหรือขึ้นทะเบียนกับหน่วยงานใดและจะต้องมีการรับรองจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วย
ทะเบียนทรัพย์สินของบริษัท น่าจะขอดูตัวอย่างและสอบถามกับแผนกบัญชีของบริษัทโดยตรง
บริษัทสามารถขอคัดหนังสือขอรับการส่งเสริมบีโอไอได้หรือไม่ และหากได้ต้องทำหนังสือเรียนถึงใคร

สามารถขอคัดสำเนาคำขอรับส่งเสริมได้โดยทำหนังสือบริษัท (ไม่มีแบบฟอร์ม ร่างขึ้นได้เอง) ให้กรรมการผู้มีอำนาจลงนามประทับตรา แจ้งความประสงค์ขอคัดสำเนาคำขอรับการส่งเสริม รวมถึงการมอบให้นาย....... เป็นผู้รับสำเนาคำขอฯ และนำหนังสือไปติดต่อกับฝ่ายบัตรส่งเสริม BOI กรุงเทพ โดยหนังสือทั้งหมดที่ยื่นต่อ BOI ให้ส่งถึง เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน

ทางบริษัทได้รับอนุมัติตำแหน่งเป็นระยะเวลา 2 ปี จนถึง 21 มกราคม 2560 แต่ต่างชาติหมดสัญญาจ้างต้องกลับประเทศประมาณ 30 มีนาคม 2559 ไม่ทราบบริษัทจะแจ้งพ้นตำแหน่งได้หรือไม่ เพราะในระบบ ระบุอย่างน้อย 15 วัน

ให้รอจนถึง 15 วันก่อนพ้นตำแหน่ง จึงค่อยยื่นแจ้งพ้นตำแหน่งบนระบบ จากนั้นจึงนำหนังสืออนุมัติไปแจ้งยกเลิกวีซ่าและใบอนุญาตทำงาน

บริษัทได้รับการส่งเสริมให้ผลิตจอภาพแสดงผล ซึ่งจอภาพดังกล่าวจะมีฐานรองเพื่อยึดกับรถยนต์ ต่อมาบริษัทมีลูกค้าที่ต้องการซื้อเฉพาะฐานของจอภาพ ไม่ทราบว่ารายได้จากการขายจอภาพ จะสามารถนำมาใช้สิทธิ์ได้หรือไม่ บริษัทจำเป็นต้องทำเรื่องขอแก้ไขโครงการหรือไม่

หากฐานรองจอภาพเป็นชิ้นส่วนที่ผลิตขึ้นเอง สามารถขอแก้ไขโครงการเพื่อจำหน่ายเป็นผลิตภัณฑ์กึ่งสำเร็จรูปได้ (ยื่นแบบคำขอแก้ไขโครงการ) ซึ่งเมื่อได้รับอนุมัติ รายได้ส่วนนี้ก็จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลด้วย แต่หากฐานรองจอภาพไม่ได้เป็นชิ้นส่วนที่ผลิตขึ้นเอง ปกติจะไม่ได้รับอนุญาตให้จำหน่ายภายใต้โครงการที่ได้รับส่งเสริม

หากเป็นชิ้นส่วนที่ไม่ได้ผลิตขึ้นเอง รายได้ไม่สามารถนำมาใช้สิทธิ์ถูกต้องไหม แล้วการขายถือว่าผิดเงื่อนไข BOI หรือไม่

กรณีที่บัตรส่งเสริมไม่ได้ระบุให้มีการจำหน่ายชิ้นส่วนที่ไม่ได้ผลิตเอง ก็เท่ากับว่าการจำหน่ายชิ้นส่วนนั้นไม่ใช่เป็นส่วนที่ได้รับการส่งเสริม

1. รายได้จากการจำหน่ายชิ้นส่วนนั้น จะใช้สิทธิไม่ได้

2. หากชิ้นส่วนนั้นนำเข้ามาโดยใช้สิทธิยกเว้นอากรขาเข้าตามมาตรา 36 แล้วจำหน่ายไปโดยไม่ได้แปรรูปเป็นสินค้าตามที่ระบุในบัตรส่งเสริม ก็ถือว่าไม่ถูกต้อง และจะตัดบัญชีวัตถุดิบไม่ได้

3. หากบริษัทชำระอากรขาเข้าชิ้นส่วนนั้น แล้วนำไปจำหน่าย ก็อาจเข้าข่ายการซื้อมาขายไป ซึ่งเป็นธุรกิจบริการ ดังนั้น หากเป็นบริษัทที่มีหุ้นต่างชาติข้างมาก ก็อาจต้องขออนุญาตตาม พรบ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวด้วย

ช่างฝีมือของบริษัทจะเดินทางกลับประเทศวันที่ 19 ธันวาคม 2014 จะต้องแจ้งพ้นตำแหน่งภายในวันที่เท่าไหร่

การแจ้งพ้นจากตำแหน่ง ระบบ e-expert จะล็อคให้กำหนดวันพ้นตำแหน่งล่วงหน้าได้ไม่เกิน 15 วัน โดยบริษัทจะแจ้งพ้นล่วงหน้าเมื่อใดก็ได้ใน 1-15 วัน นี้ แต่หากเป็นการแจ้งพ้นจากตำแหน่งหนึ่ง เพื่อบรรจุในตำแหน่งอื่น หรือเพื่อย้ายไปทำงานในบริษัทอื่น ควรแจ้งพ้นล่วงหน้า 15 วัน เพื่อให้มีระยะเวลาวีซ่าเหลือเพียงพอที่จะยื่นบรรจุในตำแหน่งใหม่ได้

บริษัทขอปรึกษาเรื่องการส่งต่อผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปไปเป็นวัตถุดิบในโครงการอื่น ทางบริษัทได้รับการส่งเสริมการลงทุน 3 โครงการ โครงการที่ 1 ผลิตแท่งอลูมิเนียม โครงการที่ 2 ผลิตสายไฟฟ้าอลูมิเนียม โครงการที่ 3 ผลิตเส้นลวดอลูมิเนียม สิ่งที่จะทำ บริษัทจะนำผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป ในโครงการที่ 3 ส่งต่อไปเป็นวัตถุดิบในโครงการที่ 1 และ โครงการที่ 2 คำถาม คือ 1. บริษัทสามารถดำเนินการดังกล่าวได้หรือไม่ 2. หากทำได้ บริษัทต้องแจ้ง หรือทำการแก้ไขบัตรส่งเสริม กับทางสำนักงานส่งเสริมการลงทุนหรือไม่อย่างไร 3. หากจะจำหน่ายผลิตภัณฑ์ตามบัตรส่งเสริม ให้กับโครงการอื่นในบริษัทเดียวกัน : สามารถจำหน่ายได้ หรือ ส่งมอบกันได้อย่างเดียว

1. โครงการที่ 3 ได้รับส่งเสริมผลิตเส้นลวดอลูมิเนียมหากจะจำหน่ายผลิตภัณฑ์ตามบัตรส่งเสริม ให้กับโครงการอื่นในบริษัทเดียวกันก็สามารถทำได้ โดยไม่ต้องแก้ไขบัตรส่งเสริม และไม่ต้องขออนุญาตจาก BOI

2. หากกรรมวิธีการผลิตที่ได้รับส่งเสริมของโครงการที่ 1 และ 2 มีขั้นตอนตั้งแต่การนำเส้นลวดอลูมิเนียมมาใช้ในการผลิต ก็สามารถซื้อเส้นลวดอลูมิเนียมจากโครงการ 3 โดยไม่ต้องแก้ไขบัตร และไม่ต้องขออนุญาตจาก BOI

3. ในส่วนของบีโอไอ ถือเสมือนเป็นการจำหน่าย เช่น โครงการที่ 3 จำหน่ายผลิตภัณฑ์ตามบัตรส่งเสริม เพื่อเป็นชิ้นส่วนให้กับโครงการที่ 2 จากนั้นโครงการที่ 2 นำไปผลิตต่อเป็นสินค้าและส่งออก กรณีเช่นนี้ โครงการที่ 2 สามารถตัดบัญชี และโอนสิทธิตัดบัญชีให้กับโครงการที่ 2 ได้ สำหรับในส่วนการลงบัญชี ขอให้ปรึกษากับผู้สอบบัญชีโดยตรง เท่าที่ทราบคือ การซื้อขายภายในบริษัทเดียวกัน จะต้องซื้อขายกันในราคาต้นทุน ดังนั้นหากโครงการที่ 3 จำหน่ายสินค้าทั้งหมดให้กับโครงการที่ 2 โครงการที่ 3 ก็จะไม่มีกำไรที่จะใช้สิทธิยกเว้นภาษี เพราะจำหน่ายไปในราคาต้นทุน

การขอเปิดดำเนินต้องทำอย่างไร
ขั้นตอนการขอเปิดดำเนิน ต้องกรอกเอกสาร F PM OP 01-06 ตาม link นี้ https://www.boi.go.th/upload/content/F PM OP 01(e-form)_43760.pdf
เรื่องการเพิ่มผลิตภัณฑ์ ใน BOI ต้องทำอย่างไรบ้าง ใช้เอกสารอะไรบ้าง

การแก้ไขโครงการเพื่อเพิ่มผลิตภัณฑ์ใหม่ สรุปโดยรวมคือ I.กรณีเพิ่มผลิตภัณฑ์ใหม่ โดยมีการลงทุนเพิ่ม

- ใช้แนวทางการพิจารณาตาม ประกาศ สกท ที่ ป.3/2547

- ต้องยังไม่ได้รับใบอนุญาตเปิดดำเนินการ และยังไม่ครบกำหนดเปิดดำเนินการ

- ผลิตภัณฑ์ใหม่ต้องอยู่ในประเภทกิจการที่ให้การส่งเสริมได้ ณ วันที่ยื่นขอแก้ไขโครงการ

- จะต้องมีการลงทุนเครื่องจักรเพิ่มไม่เกิน 30% ของมูลค่าเครื่องจักรที่เคยยื่นขอรับส่งเสริมในครั้งแรก

- จะได้รับสิทธิประโยชน์เท่าที่เหลืออยู่ของโครงการเดิม

- หากสิทธิประโยชน์กรณียื่นขอเป็นโครงการใหม่กับการยื่นแก้ไขโครงการเดิมไม่แตกต่างกัน จะลงทุนเครื่องจักรเพิ่มเกินกว่า 30% ก็ได้

- กรณีสิทธิประโยชน์ตามหลักเกณฑ์เดิมและหลักเกณฑ์ปัจจุบันแตกต่างกัน จะพิจารณาเป็นกรณีๆไป II.กรณีเพิ่มผลิตภัณฑ์ใหม่ โดยไม่มีการลงทุนเพิ่ม

- จะเป็นกรณีที่เปิดดำเนินการครบตามโครงการแล้วก็ได้

- กำลังผลิตรวมของทุกผลิตภัณฑ์ ต้องไม่มากกว่าที่ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริมอยู่เดิม

- ผลิตภัณฑ์ใหม่ต้องอยู่ในประเภทกิจการที่ให้การส่งเสริมได้ ณ วันที่ยื่นขอแก้ไขโครงการ

- จะได้รับสิทธิประโยชน์เท่าที่เหลืออยู่ของโครงการเดิม

- กรณีสิทธิประโยชน์ตามหลักเกณฑ์เดิมและหลักเกณฑ์ปัจจุบันแตกต่างกัน จะพิจารณาเป็นกรณีๆไป การแก้ไขโครงการ ให้ใช้ แบบคำขออนุญาตแก้ไขโครงการ F PA PC 01

รบกวนขอแบบฟอร์มขอส่งคืนวัตถุดิบไปต่างประเทศด้วย

ลองดูจากลิ้งค์นี้ เลยช่วงกลางๆไปหน่อย http://faq108.co.th/common/topic/boiform.php

การพิจารณาจำหน่าย โอน บริจาคเครื่องจักร ใช้ระยะเวลาพิจารณาตั้งแต่ขั้นตอนแรกถึงขั้นตอนสุดท้ายประมาณกี่วัน

1. กรณีจำหน่ายโดยส่งออกไปต่างประเทศ

ใช้เวลาพิจารณาไม่เกิน 1 วันทำการ

แต่หากเป็นเครื่องจักรหลัก และระยะเวลานำเข้าเครื่องจักรสิ้นสุดแล้ว ใช้เวลาพิจารณาไม่เกิน 15 วันทำการ

2. กรณีจำหน่าย โอน หรือบริจาค ในประเทศ ใช้เวลาพิจารณา 15 วันทำการ

ขออภัยครับ ไม่มีข้อมูลส่วนนี้ ในภาษาที่ท่านเลือก !

Sorry, There is no information support your selected language !

Download และ ติดตั้งโปรแกรมอ่าน PDF

Download PDF Reader

Site map