การส่งไปยังฟรีโซน ถือเสมือนการส่งออกไปยังต่างประเทศ จึงให้ยื่นคำร้องผ่านระบบ eMT เป็นคำร้องขอส่งเครื่องจักรไปต่างประเทศ(ส่งคืน) หลังจากนั้น ให้ส่งเครื่องจักรออกไปภายใน 90 วัน และเข้าไปยืนยันการส่งคืนในระบบ eMT อีกครั้งหนึ่ง
ต้องแนบเอกสารดังนี้
1.สำเนาใบขนสินค้าขาเข้าของวัตถุดิบรายการที่นำเข้ามาโดยใช้สิทธิยกเว้นภาษีอากรแต่จะขอส่งคืนไปต่างประเทศ
2.สำเนาอินวอยซ์ขาเข้า
3.สำเนาอินวอยซ์ขาออก ซึ่งระบุรายการวัตถุดิบตรงกับที่นำเข้ามาโดยได้ใช้สิทธิยกเว้นภาษีอากร
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ที่ ป.1/2545 เรื่อง การกำหนดความหมายรายการเงินลงทุน ดังนี้
ค่าก่อสร้าง ให้หมายความถึงรายการ ดังนี้
1. กรณีก่อสร้างเอง ได้แก่ ค่าก่อสร้างอาคารสำนักงาน โรงงาน สาธารณูปโภค และสิ่งอนวยความสะดวกต่าง ๆ และรวมถึงค่าต่อเติมหรือปรับปรุงด้วย
2. กรณีการเช่าอาคารหรือโรงงาน ให้ใช้ค่าเช่าตามสัญญาการเช่า ทั้งนี้จะต้องมีระยะเวลาการเช่ามากกว่า 3 ปี
กรณีที่โครงการที่ได้รับอนุมัติอยู่เดิม ไม่มีขั้นตอนประกอบ PCBA แต่ต่อมาบริษัทต้องการประกอบ PCBA ขึ้นเอง เพื่อใช้ในโครงการเดิม และเพื่อจำหน่ายเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ สามารถทำได้ 2 วิธี ดังนี้
1. ยื่นขอแก้ไขโครงการเดิม เพื่อเพิ่มชนิดผลิตภัณฑ์ คือ PCBA เงื่อนไข
1) หากสิทธิประโยชน์กรณียื่นขอแก้ไขโครงการเดิม กับกรณียื่นขอรับส่งเสริมเป็นโครงการใหม่ มีความแตกต่างกัน จะให้แก้ไขโครงการเดิมได้ เฉพาะกรณีที่มีการลงทุนด้านเครื่องจักรเพิ่มไม่เกิน 30% ของมูลค่าเครื่องจักรของโครงการเดิม
2) จะต้องยังไม่ครบกำหนดเปิดดำเนินการ (ยกเว้นกิจการผลิตเครื่องไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ และชิ้นส่วน)
3) จะได้รับสิทธิประโยชน์เท่าที่เหลืออยู่ของโครงการเดิม
4) จะต้องยื่นคำขอแก้ไขโครงการ
2. ยื่นขอรับส่งเสริมเป็นโครงการใหม่ (โครงการขยาย) เพื่อผลิต PCBA เงื่อนไข
1) จะต้องมีขนาดการลงทุน (เฉพาะค่าก่อสร้างและค่าเครื่องจักร) ของโครงการใหม่ ไม่น้อยกว่า 1 ล้านบาท
2) จะได้รับสิทธิประโยชน์ตามหลักเกณฑ์ ณ วันที่ยื่นคำขอ
3) ระยะเวลาใช้สิทธิประโยชน์ของโครงการใหม่ จะเริ่มนับใหม่ (ไม่นับต่อจากโครงการเดิม)
4) จะต้องยื่นคำขอรับการส่งเสริมการลงทุน
1. ขั้นตอนการผลิตหลัก คือขั้นตอนการผลิตที่สำคัญซึ่งบริษัทต้องลงทุนเครื่องจักรให้เพียงพอ หากไม่ผ่านขั้นตอนเหล่านี้ ก็จะไม่สามารถผลิตเป็นสินค้าตามโครงการที่ได้รับส่งเสริมได้ โครงการที่ได้รับส่งเสริมแต่ละโครงการอาจมีกรรมวิธีการผลิตต่างกัน ขั้นตอนการผลิตหลักจึงต่างกัน หากจะคิดว่าเครื่องจักรที่สามารถคำนวณกำลังผลิตได้ เป็นขั้นตอนหลัก ก็ไม่ผิดอะไร
2. ขั้นตอนการผลิตที่เป็นตัวกำลังผลิตของโครงการ ปกติจะเป็นขั้นตอนที่จำเป็นต้องผลิต แต่มีกำลังผลิตน้อยกว่าขั้นตอนอื่น จึงเป็นคอขวดที่เป็นตัวกำหนดกำลังผลิต
3. หัวข้อการเปิดดำเนินการและแก้ไขโครงการ ให้ติ๊กตามข้อเท็จจริง ข้อเท็จจริงตอนนี้คืออะไร ช่วยอธิบายให้ทราบก่อน
4. process chart ก็เพียงนำกรรมวิธีการผลิตที่ได้รับอนุมัติไปเขียนเป็น chart ส่วน machine layout ทางฝ่าย production น่าจะมีอยู่แล้ว
การกรอกข้อมูลใน ตส. 310 ให้กรอกข้อมูลตามรอบปีบัญชี โดยหากรอบปีบัญชีของบริษัทสิ้นสุดก่อนวันที่ 31 มีนาคม ก็ให้รายงานข้อมูลของรอบการเงินนั้นภายในวันที่ 31 กรกฏาคม ของปีเดียวกัน เช่น ถ้ารอบปีบัญชีของบริษัทคือ 1 เมษายน - 31 มีนาคม ก็ให้รายงานผลประกอบการและฐานะการเงินของรอบปี 1 เมษายน 2556 - 31 มีนาคม 2557 ภายในวันที่ 31 กรกฎาคม 2557 นี้ กรณีนี้ รอบปีบัญชีคือ ก.ค.-มิ.ย. ดังนั้น จึงจะรายงานผลประกอบการรอบปี (ก.ค. 55 - มิ.ย. 56) ภายในสิ้นเดือน ก.ค. 57 นี้ แต่หากกรอกข้อมูลไม่ได้ น่าจะเป็นเพราะว่ายังไม่ถึงกำหนดที่มีหน้าที่ต้องรายงาน เช่น เพิ่งได้รับบัตรไป 1-2 ปี จึงยังไม่ถูกติดตามบนระบบ หากบริษัทยังไม่ถูกติดตาม แต่ต้องการรายงาน ก็ให้แจ้งที่สำนักสารสนเทศของ BOI เพื่อเพิ่มการติดตาม จะได้เข้าไปคีย์ข้อมูลได้หรือหากถูกติดตามแล้ว แต่คีย์ไม่ได้ ก็คงเกิดจากสาเหตุอื่น ซึ่งก็ให้แจ้งที่สำนักสารสนเทศของ BOI เช่นกัน
เบอร์สำนักสารสนเทศ สำหรับติดต่อแจ้งปัญหาการใช้งานระบบ ตส. 310 (ทางด้านเทคนิค) เช่น เข้าเว็บแล้วเกิด error หรือบันทึกข้อมูลแล้วหาย
- คุณสมพงษ์ ก่ำเสริฐ sompong.k@boi.go.th โทร. 0-2553-8189
- คุณเฉลิมชัย เพาะบุญ chalermchai@boi.go.th โทร. 0-2553-8413
การอนุมัติตำแหน่งช่างฝีมือต่างชาติ พิจารณาอนุมัติเป็นรายตำแหน่ง ไม่จำเป็นต้องสิ้นสุดระยะเวลาตำแหน่งพร้อมกัน
1. กรณีตำแหน่ง MD จะสิ้นสุดเดือนสิงหาคม 2561 หากมีการขออนุมัติตำแหน่งอื่นเพิ่มเติม ตำแหน่งอื่นที่ขออนุมัติ จะได้รับอนุมัติเป็นเวลา 2 ปี (หรือ 1 ปี หรือ 4 ปี ตามประเภทของกิจการนั้นๆ)
2. เมื่อมีการขอขยายเวลาตำแหน่ง MD ก็จะได้รับอนุมัติให้ขยายเป็นเวลา 2 ปี (หรือ 1 ปี หรือ 4 ปี ตามประเภทของกิจการนั้นๆ)
ถูกต้อง ในบัตรส่งเสริมทุกฉบับ ไม่มีเงื่อนไขว่าต้องผลิตส่งออก ดังนั้น ไม่ว่าจะผลิตเพื่อขายในประเทศหรือเพื่อส่งออก ก็สามารถใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ แต่จะต้องมีขั้นตอนการผลิตครบถ้วนตามที่ได้รับส่งเสริมด้วย
สามารถใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ โครงการที่เปิดดำเนินการเต็มโครงการแล้ว จะไม่อนุญาตให้แก้ไขโครงการเพื่อเพิ่มกำลังผลิตหรือเพิ่มขั้นตอนการผลิต ซึ่งต้องมีการลงทุนเครื่องจักรเพิ่มเติม กรณีที่สอบถาม ไม่ใช่เป็นการเพิ่มขั้นตอนการผลิต เนื่องจากเดิมได้รับอนุมัติให้มีขั้นตอนการบรรจุอยู่แล้ว บริษัทจึงสามารถซื้อเครื่องจักรในขั้นตอนการบรรจุมาใช้ในโครงการอีกเท่าไรก็ได้ โดยไม่ต้องแจ้ง BOI แต่จะไม่ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร และจะไม่นับรวมเป็นขนาดการลงทุนเพื่อคำนวณวงเงินยกเว้นภาษีให้ ส่วนการใช้สิทธิภาษีเงินได้นิติบุคคล ยังคงใช้ได้ตามปกติ เพราะยังเป็นการผลิตสินค้าตามกระบวนการที่ได้รับส่งเสริม
หมายเหตุ: คำตอบนี้ไม่รวมกรณีกิจการเครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ และชิ้นส่วน ซึ่งอนุญาตให้นำเข้าเครื่องจักรตลอดระยะเวลาที่ได้รับส่งเสริม
1.กรณีติดป๊อปอัพ แก้ไขโดยให้คลิกปิดป๊อปอัพก่อน จากนั้นจึงจะสั่งพิมพ์ที่รูปเครื่องพิมพ์
2.กรณีสั่งพิมพ์ที่รูปเครื่องพิมพ์ไม่ได้ แก้ไขโดยสั่งพิมพ์จากข้อความอีเมล์
3.ขั้นตอนอนุมัติตำแหน่ง ไม่จำเป็นต้องสั่งพิมพ์เอกสารอนุมัติ ควรสั่งพิมพ์เอกสารหลังจากได้รับอนุมัติการบรรจุ เพื่อนำเอกสารไปยื่นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป
กรณีมีการเปลี่ยนแปลงกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม
- ไม่ต้องแจ้งให้ BOI ทราบ
- การมอบอำนาจใดที่กรรมการคนเดิมเคยทำไว้ น่าจะสิ้นสุดไปพร้อมกับการพ้นจากการเป็นกรรมการ
- หากกรรมการคนใหม่จะมอบอำนาจใด ควรต้องทำการมอบอำนาจใหม่
- BOI ไม่ได้กำหนดแบบฟอร์มการมอบอำนาจ บริษัทสามารถร่างขึ้นเองได้ เอกสารที่ใช้ คือ หนังสือมอบอำนาจ สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียน สำเนาบัตรประชาชนของผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ กรณีมอบอำนาจครั้งเดียวติดอากรแสตมป์ 10 บาท หลายครั้ง 30 บาท
ข้อเท็จจริงคือ บัตรส่งเสริมระบุว่ามีกำลังผลิต 900 ตัน (เวลาทำงานคือ 16 ชั่วโมง/วัน 290 วัน/ปี) แต่หากคำนวณตามเวลาทำงานดังกล่าว บริษัทจะผลิตได้เพียง 215 ตัน ใช่หรือไม่
-> หากใช่ แปลว่า มีกำลังผลิตไม่ครบตามโครงการที่ได้รับส่งเสริม หากต้องการเปิดดำเนินการ (คือไม่ต้องการนำเข้าเครื่องจักรเข้ามาอีกแล้ว) ก็ให้กรอกข้อ 3 ตามกำลังผลิตจริงคือ 215 ตัน และติ๊กข้อ 4 ที่ช่องแรกว่าขอแก้ไขขนาดกิจการให้เป็นไปตามกำลังผลิตที่มีอยู่จริง (คือลดโครงการ)
ส่วนเครื่องมือเล็กๆน้อยๆ หากต้องการนำไปนับเป็นขนาดการลงทุนเพื่อกำหนดวงเงินสูงสุดในการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ก็ให้ใส่ไปในตารางเครื่องจักรด้วย แต่หากไม่ต้องการนำไปนับวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้ จะไม่ใส่ก็ได้
หากบริษัทมีผลิตภัณฑ์ใหม่เป็น ECU ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์เหมือนกัน และมีกรรมวิธีการผลิตเหมือนกันกับโครงการที่ 1 และ 2 สามารถผลิตในโครงการที่ 1 และ 2 ได้เลย โดยไม่ต้องแก้ไขบัตรส่งเสริม แต่จะได้รับสิทธิเท่าที่เหลืออยู่เดิม
ทุนจดทะเบียน และขนาดการลงทุน เป็นตัวเลขที่มาจากคำขอรับการส่งเสริมที่บริษัทยื่นต่อ BOI
การส่งสินค้าหรือวัตถุดิบไปยังเขตปลอดอากร ถือเป็นการส่งออก สามารถนำหลักฐานเอกสารมาตัดบัญชีหรือปรับยอดได้เช่นเดียวกับการส่งออกไปต่างประเทศ
ใข้เอกสาร กศก 122 ไม่ได้ จะต้องใช้หลักฐานใบขนสินค้า ซึ่งกรณีนี้เป็นใบขนสินค้าขาออกโอนย้ายเข้าเขตปลอดอากร (Type D) ส่วนการยืนยัน จะเป็นคีย์ข้อมูลผ่านระบบ eMT และระบบจะนำข้อมูลใบขนไปตรวจสอบกับฐานข้อมูลของกรมศุลกากร
การจำหน่ายเครื่องจักรไปต่างประเทศ
1. จะเป็นเครื่องจักรหลักก็ได้ แต่จะต้องไม่ทำให้กำลังผลิตของโครงการเปลี่ยนแปลงไป หรือหากจะเปลี่ยนแปลงจะต้องมีเครื่องจักรเข้ามาทดแทน
2. - 4. กรณีส่งเครื่องจักรออกไปจำหน่ายต่างประเทศ ไม่มีภาษีอากรที่ต้องชำระคืน