ผู้ได้รับส่งเสริม มีหน้าที่จะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขกำหนดในบัตรส่งเสริม แต่สามารถขอแก้ไขโครงการให้สอดคล้องกับสภาพธุรกิจภายหลังที่ได้รับบัตรส่งเสริมได้ เช่น
โครงการที่จะขอแก้ไขชนิดผลิตภัณฑ์ ต้องเป็นโครงการที่ยังไม่เปิดดำเนินการ และต้องเป็นประเภทกิจการที่สำนักงานให้การส่งเสริมการลงทุนอยู่ในปัจจุบัน ตามประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนที่ 2/2557 ทั้งนี้ จะมีผลตั้งแต่วันที่บริษัทยื่นแบบคำขอแก้ไขโครงการ โดยการแก้ไขชนิดผลิตภัณฑ์ แบ่งได้ 3 กรณีดังนี้
- การขอแก้ไขชนิดผลิตภัณฑ์ โดยไม่มีการลงทุนเครื่องจักรเพิ่ม
- การขอแก้ไขชนิดผลิตภัณฑ์ โดยการลงทุนเครื่องจักรเพิ่ม
- การยกเลิกผลิตภัณฑ์ จะต้องไม่ทำให้สาระสำคัญของโครงการขัดต่อหลักเกณฑ์การอนุมัติโครงการ หากการยกเลิกผลิตภัณฑ์ทำให้สาระสำคัญไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์จะพิจารณายกเลิกบัตรส่งเสริม
เอกสารที่ใช้ประกอบการพิจารณา :
1) แบบคำขออนุญาตแก้ไขโครงการ (F PA PC 01) ที่มีข้อมูลสมบูรณ์ครบถ้วน
2) ยื่นแบบคำขอแก้ไขโครงการที่กองส่งเสริมการลงทุน 1–4 สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนหรือศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาค 1 – 7
ข้อมูลเพิ่มเติม : ประกาศสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนที่ ป. 3/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาอนุมัติแก้ไขโครงการกรณีที่มีการลงทุนเพิ่ม
ในบัตรส่งเสริมการลงทุนจะมีการกำหนดเงื่อนไขที่ระบุกำลังผลิตสูงสุดหรือขนาดการให้บริการสูงสุดของโครงการที่ได้รับการส่งเสริมเอาไว้
กรณีที่มีผลิตหรือให้บริการเกินกว่ากำลังผลิตที่ระบุในบัตรส่งเสริม ส่วนเกินกว่ากำลังการผลิตที่ระบุไว้ในบัตรส่งเสริม จะไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล แต่สามารถนำกำลังผลิตส่วนที่เกินกว่าบัตรส่งเสริมมาตัดบัญชีวัตถุดิบได้ โดยการแก้ไขกำลังการผลิต แบ่งได้ 4 กรณีดังนี้
กรณีที่ 1 การเพิ่มกำลังการผลิต โดยการลงทุนเครื่องจักรเพิ่ม
จะต้องเป็นโครงการที่ยังไม่เปิดดำเนินการ จะให้เพิ่มกำลังการผลิตรวมกันไม่เกินร้อยละ 30 ของกำลังการผลิตตามบัตรส่งเสริมฉบับแรก
เอกสารประกอบการพิจารณา: แบบคำขออนุญาตแก้ไขโครงการ (F PA PC 01) ที่มีข้อมูลสมบูรณ์ครบถ้วน ดาวน์โหลดแบบฟอร์มขออนุญาตแก้ไขโครงการ ดาวน์โหลดแบบฟอร์มขออนุญาตแก้ไขโครงการ
ข้อมูลเพิ่มเติม : ประกาศสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนที่ ป. 3/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาอนุมัติแก้ไขโครงการกรณีที่มีการลงทุนเพิ่ม
กรณีที่ 2 การเพิ่มกำลังการผลิต โดยการเพิ่มเวลาทำงาน
จะได้รับอนุญาตให้เพิ่มกำลังการผลิตได้ตามสัดส่วนของเวลาทำงานที่เพิ่มขึ้น ไม่ว่าโครงการนั้นจะเปิดดำเนินการแล้วหรือไม่ก็ตาม
เอกสารประกอบการพิจารณา: แบบคำขออนุญาตเพิ่มกำลังการผลิต (จากการเพิ่มเวลาทำงาน)
(F PA PC 15) ที่มีข้อมูลสมบูรณ์ครบถ้วน
ดาวน์โหลดแบบฟอร์มขออนุญาตเพิ่มกำลังการผลิต (จากการเพิ่มเวลาทำงาน)
ดาวน์โหลดแบบฟอร์มขออนุญาตเพิ่มกำลังการผลิต (จากการเพิ่มเวลาทำงาน)
กรณีที่ 3 การเพิ่มกำลังการผลิต ตามข้อเท็จจริงทางวิศวกรรม
เอกสารประกอบการพิจารณา: แบบคำขออนุญาตแก้ไขโครงการ (F PA PC 01) ที่มีข้อมูลสมบูรณ์ครบถ้วน ดาวน์โหลดแบบฟอร์มขออนุญาตแก้ไขโครงการ
กรณีที่ 4 การลดกำลังการผลิต
จะพิจารณาให้ลดกำลังผลิตได้ แต่ต้องไม่ทำให้สาระสำคัญของโครงการขัดต่อหลักเกณฑ์ขั้นต่ำในการให้การส่งเสริม
เอกสารประกอบการพิจารณา: แบบคำขออนุญาตแก้ไขโครงการ (F PA PC 01) ที่มีข้อมูลสมบูรณ์ครบถ้วน ดาวน์โหลดแบบฟอร์มขออนุญาตแก้ไขโครงการ
ทั้งนี้ สามารถยื่นเอกสารแก้ไขโครงการ ที่กองส่งเสริมการลงทุน 1 – 4 สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาค 1 – 7
สำนักงานได้กำหนดเงื่อนไขกระบวนการผลิตหรือให้บริการ ซึ่งผู้ได้รับส่งเสริมจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าว
กรณีผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้ผลิตตามกรรมวิธีการผลิตที่ได้รับส่งเสริม จะไม่ถือเป็นผลิตภัณฑ์อื่นที่ไม่ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริม ดังนั้น รายได้จากการจำหน่ายสินค้าดังกล่าว จะไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล และไม่สามารถนำผลิตภัณฑ์ดังกล่าวไปตัดบัญชีวัตถุดิบได้ โดยการแก้ไขกรรมวิธีการผลิตแบ่งออกเป็น 4 กรณีดังนี้
- เพิ่มขั้นตอนการผลิต โดยการลงทุนเครื่องจักรเพิ่ม จะต้องเป็นโครงการที่ยังไม่เปิดดำเนินการ
- เพิ่มขั้นตอนการว่าจ้าง จะต้องไม่ทำให้สาระสำคัญของโครงการขัดต่อหลักเกณฑ์ขั้นต่ำในการให้การส่งเสริม
- ลดขั้นตอนการผลิต จะต้องไม่ทำให้สาระสำคัญของโครงการขัดต่อหลักเกณฑ์ขั้นต่ำในการให้การส่งเสริม
- กรณีอื่นๆ สามารถยื่นขอให้สำนักงานพิจารณาเป็นกรณีๆ ไป และอาจมีการกำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมเป็นพิเศษให้สอดคล้องกับการแก้ไขนั้นๆ
เอกสารที่ใช้ประกอบการพิจารณา :
1) แบบคำขออนุญาตแก้ไขโครงการ (F PA PC 01) ที่มีข้อมูลสมบูรณ์ครบถ้วน
2) ยื่นแบบคำขอแก้ไขโครงการที่กองส่งเสริมการลงทุน 1–4 สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนหรือศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาค 1 – 7
ผู้ขอรับการส่งเสริมจะต้องระบุสภาพเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิต โดยการใช้เครื่องจักรดังกล่าวจะนำไปกำหนดเงื่อนไขไว้ในบัตรส่งเสริม เพื่อให้ผู้ได้รับการส่งเสริมปฏิบัติตาม หากผู้ได้รับการส่งเสริมไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไข มีผลให้บัตรส่งเสริมดังกล่าวถูกเพิกถอนการได้รับการส่งเสริมได้
ดังนั้น หากผู้ได้รับการส่งเสริมการลงทุนได้มีการปรับแผนการลงทุนในเครื่องจักรจากเดิม เช่นจากการลงทุนในเครื่องจักรใหม่ทั้งสิ้น เป็นการใช้เครื่องจักรเก่าใช้แล้วจากต่างประเทศ ผู้ขอรับการส่งเสริมจะต้องยื่นขอแก้ไขโครงการ เพื่อให้สำนักงานพิจารณาได้ โดยมีแนวทางพิจารณาเบื้องต้น ดังนี้
(1) เครื่องจักรเก่าทุกเครื่องที่จะใช้ในโครงการ จะต้องมีใบรับรองประสิทธิภาพจากสถาบันที่เชื่อถือได้ ไม่ว่าจะได้รับสิทธิประโยชน์การยกเว้นหรือลดหย่อนอากรขาเข้าเครื่องจักรหรือไม่ก็ตาม
(2) หากเครื่องจักรนั้นเป็นเครื่องจักรหลักของโครงการ จะไม่สามารถเปิดดำเนินการให้ได้ จนกว่าบริษัทจะทำใบรับรองประสิทธิภาพเครื่องจักร และแก้ไขโครงการเพื่อขออนุญาตใช้เครื่องจักรเก่าในโครงการ (เฉพาะกรณีที่มีเงื่อนไขให้ใช้เครื่องจักรใหม่ทั้งสิ้น)
เอกสารที่ใช้ประกอบการพิจารณา :
1) แบบคำขออนุญาตแก้ไขโครงการ (F PA PC 01) ที่มีข้อมูลสมบูรณ์ครบถ้วน
2) ยื่นแบบคำขอแก้ไขโครงการที่กองส่งเสริมการลงทุน 1–4 สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนหรือศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาค 1 – 7
ผู้ที่ได้รับการส่งเสริม จะมีการกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับทุนจดทะเบียนหรือการเรียกชำระทุนจดทะเบียนได้ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในบัตรส่งเสริม หากไม่สามารถดำเนินการได้ตามบัตรส่งเสริม เว้นแต่ผู้ได้รับส่งเสริมจะยื่นขอแก้ไขเงื่อนไขทุนจดทะเบียนให้สำนักงานพิจารณา โดยแนวทางเบื้องต้น ดังนี้
- หากบัตรส่งเสริมการลงทุนกำหนดเงื่อนไขทุนจดทะเบียนสูงเกินความจำเป็นที่ต้องใช้ในโครงการที่ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริม จะอนุญาตให้แก้ไขโครงการเพื่อลดทุนจดทะเบียนหรือลดทุนจดทะเบียนที่เรียกชำระได้ แต่ทั้งนี้ จะต้องไม่ทำให้อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนผู้ถือหุ้นต่ำกว่าหลักเกณฑ์ข้างต้นที่กำหนด
- หากลดทุนจดทะเบียนเพื่อแก้ไขปัญหาขาดทุนสะสม หรือลดทุนจดทะเบียนเพื่อชำระคืนให้แก่ผู้ถือหุ้น สำนักงานจะพิจารณาตามความเหมาะสมเป็นกรณีๆ ไป
เอกสารที่ใช้ประกอบการพิจารณา :
1) แบบคำขออนุญาตแก้ไขทุนจดทะเบียน (F PA PC 09) ที่มีข้อมูลสมบูรณ์ครบถ้วน
2) ยื่นแบบคำขอแก้ไขทุนจดทะเบียน ที่กองส่งเสริมการลงทุน 1–4 สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนหรือศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาค 1 – 7
ผู้ได้รับส่งเสริมต้องการปรับเปลี่ยนอัตราส่วนผู้ถือหุ้นของบริษัท ผู้ได้รับการส่งเสริมสามารถยื่นขอให้สำนักงานพิจารณาการแก้ไขอัตราส่วนผู้ถือหุ้น โดยมีแนวทางการพิจารณาเบื้องต้นดังนี้
กรณีที่1 การเปลี่ยนแปลงหุ้นในส่วนของชาวต่างชาติหรือคนไทยแล้ว อัตราส่วนหุ้นไทย/ต่างชาติในบริษัทไม่ขัดกับเงื่อนไขหุ้นไทยในบัตรส่งเสริม (เช่น ต้องมีหุ้นไทยไม่น้อยกว่าร้อยละ 51) กรณีนี้ไม่ต้องแก้ไขโครงการ
- ผู้ได้รับการส่งเสริมสามารถดำเนินการเปลี่ยนแปลงกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ก่อน แล้วจึงนำเอกสารที่เกี่ยวข้อง เช่น หนังสือแสดงบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นที่มีการเปลี่ยนแปลง (บอจ.5) แจ้งให้สำนักงานทราบ
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
สำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (บอจ.5)
ยื่นเอกสารได้ที่กองส่งเสริมการลงทุนที่ 1-4 สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาค 1 – 7
กรณีที่ 2 การเปลี่ยนแปลงหุ้นในส่วนของชาวต่างชาติหรือคนไทยแล้ว อัตราส่วนหุ้นไทยในบริษัทขัดกับเงื่อนไขหุ้นไทยในบัตรส่งเสริม (เช่น หุ้นไทยเปลี่ยนจาก 51% เป็น 49% ในขณะที่บัตรส่งเสริมกำหนดให้ต้องมีหุ้นไทยไม่น้อยกว่าร้อยละ 51) โดยจะต้องยื่นขอให้สำนักงานพิจารณา ทั้งนี้ หากผู้ได้รับการส่งเสริมในกิจการเกษตรกรรม เลี้ยงสัตว์ ประมง สำรวจและทำเหมืองแร่ หรือกิจการตามบัญชี 1 ท้าย พรบ.ประกอบธุรกิจต่างด้าว (กำหนดให้หุ้นไทยไม่น้อยกว่าร้อยละ 51 ของทุนจดทะเบียน) หากผู้ได้รับการส่งเสริมไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขอัตราส่วนหุ้นไทยได้ และขัดกับหลักเกณฑ์ข้างต้น อาจถูกเพิกถอนการให้การส่งเสริมได้
เอกสารที่ใช้ประกอบการพิจารณา :
1) แบบคำขออนุญาตแก้ไขอัตราส่วนผู้ถือหุ้น (F PA PC 02) ที่มีข้อมูลสมบูรณ์ครบถ้วน
2) สำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (บอจ.5) ก่อนการแก้ไข
3) หนังสือยินยอมของผู้ถือหุ้นไทยทุกราย / รายงานการประชุมผู้ถือหุ้น ที่แสดงถึงวัตถุประสงค์ในการแก้ไขอัตราส่วนผู้ถือหุ้น (สำหรับบริษัทมหาชน สามารถแนบ รายงานการประชุมคณะกรรมการบริษัทแทนได้)
4) กรณีเพิ่มอัตราส่วนผู้ถือหุ้นต่างชาติ ถ้าได้รับการอนุมัติ ให้บริษัทส่งหลักฐานการนำเงินตราต่างประเทศเข้ามาตามแบบ ใบแจ้งการโอนเงิน หรือใบเข้าบัญชี ซึ่งออกให้โดยธนาคารพาณิชย์ ตามจำนวนที่ผู้ถือหุ้นต่างชาติได้รับอนุมัติให้เพิ่มอัตราส่วนการถือหุ้นประกอบการแก้ไขเพิ่มเติมบัตรส่งเสริมต่อไป
5) ยื่นแบบคำขอแก้ไขอัตราส่วนผู้ถือหุ้น และเอกสารที่เกี่ยวข้อง ที่กองส่งเสริมการลงทุน 1 – 4 สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาค 1 – 7
สำนักงานได้มีการกำหนดเงื่อนไขที่ตั้งโรงงาน/สถานประกอบการไว้ในบัตรส่งเสริม โดยผู้ได้รับส่งเสริมประสงค์จะเปลี่ยนสถานที่ตั้งโรงงาน/สถานประกอบการสามารถแบ่งได้เป็น 2 กรณีดังนี้
- ย้ายที่ตั้งโรงงาน/สถานประกอบการ โดยยังคงอยู่ในพื้นที่เดิมตามที่ระบุไว้ในบัตรส่งเสริม (ย้ายไปอยู่ในจังหวัดเดิม/อยู่ในเขตหรือนิคมอุตสาหกรรมตามเดิม) และไม่ขัดกับกฎหมายของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กรณีนี้ไม่ต้องแก้ไขโครงการ แต่ผู้ได้รับการส่งเสริมจะต้องส่งจดหมายชี้แจงบริษัทแจ้งให้สำนักงานทราบต่อไป
- ย้ายที่ตั้งโรงงาน/สถานประกอบการ โดยเปลี่ยนแปลงที่ตั้งฯเดิมที่ระบุไว้ในบัตรส่งเสริม เป็นที่ตั้งใหม่ (ย้ายไปอยู่ในจังหวัดใหม่/อยู่ในเขตหรือนิคมอุตสาหกรรมใหม่) ผู้ได้รับการส่งเสริมสามารถยื่นขอแก้ไขที่ตั้งโรงงาน/สถานประกอบการให้สำนักงานพิจารณา
เอกสารที่ใช้ประกอบการพิจารณา
1) จดหมายชี้แจง (บริษัทท่านจะต้องเป็นผู้ทำจดหมายชี้แจงของบริษัท) โดยต้องระบุสาระสำคัญ คือ เลขที่บัตรส่งเสริม ที่อยู่เดิม และที่อยู่ใหม่ ของสถานที่ตั้งสำนักงาน
2) แบบคำขออนุญาตเปลี่ยน/เพิ่ม/ลด สถานที่ตั้งโรงงาน/สถานประกอบการ (F PA PC 03-09) ที่มีข้อมูลสมบูรณ์ครบถ้วน
3) สำเนาหนังสือรับรองบริษัท (ฉบับใหม่/พร้อมลายเซ็นและประทับตราบริษัท)
4) บัตรส่งเสริมฉบับจริง
5) ยื่นแบบคำขอแก้ไขโครงการที่กองส่งเสริมการลงทุน 1–4 สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนหรือศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาค 1 – 7
(1) นอกจากการแก้ไขโครงการข้างต้นแล้ว ผู้ได้รับส่งเสริมสามารถยื่นขอแก้ไขเรื่องอื่นๆ ได้ตามข้อเท็จจริงของโครงการ เช่น การแก้ไขหน่วยการผลิตชิ้นส่วนพลาสติก จาก "ชิ้น" เป็น "กิโลกรัม" เป็นต้น
ทั้งนี้ การพิจารณาการแก้ไขเงื่อนไขดังกล่าว จะพิจารณาตามข้อเท็จจริงและตามความเหมาะสมเป็นกรณีๆ ไป
เอกสารที่ใช้ประกอบการพิจารณา :
1) แบบคำขออนุญาตแก้ไขโครงการ (F PA PC 01) ที่มีข้อมูลสมบูรณ์ครบถ้วน
2) ยื่นแบบคำขอแก้ไขโครงการที่กองส่งเสริมการลงทุน 1–4 สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนหรือศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาค 1 – 7
(2) การยื่นขอแก้ไขโครงการเพื่อเพิ่มเติมสิทธิและประโยชน์ เช่น
(2.1) การขอรับสิทธิและประโยชน์ยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับของที่นำเข้ามาเพื่อใช้ในการวิจัยและพัฒนา ตามมาตรา 30/1 รวมทั้งการทดสอบที่เกี่ยวข้อง เพิ่มเติม ผู้ได้รับการส่งเสริมที่ขั้นตอนการวิจัยและพัฒนาต้องการจะนำเข้าของที่ใช้เพื่อการวิจัยและพัฒนา (กรณียังไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ตามมาตรา 30/1 มาก่อน) สามารถยื่นขอแก้ไขโครงการเพื่อเพิ่มเติมสิทธิและประโยชน์ได้
เอกสารที่ใช้ประกอบการพิจารณา :
1) แบบคำขอรับสิทธิและประโยชน์เพิ่มเติม ตามมาตรา 30/1 (F PA PC 18) ที่มีข้อมูลสมบูรณ์ครบถ้วน
2) ยื่นแบบคำขอแก้ไขโครงการที่กองส่งเสริมการลงทุน 1 – 4 สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาค 1 – 7
ข้อมูลเพิ่มเติม :
(1) ประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ที่ 1/2560 เรื่อง การให้สิทธิและประโยชน์ยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับของที่นำเข้ามาใช้ในการวิจัยและพัฒนา
(2) ประกาศสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ที่ ป.3/2562 เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติสำหรับการใช้สิทธิและประโยชน์ยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับของที่นำเข้ามาเพื่อใช้ในการวิจัยและพัฒนา รวมทั้งการทดสอบที่เกี่ยวข้องตามมาตรา 30/1
(3) ประกาศสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ที่ ป.4/2562 เรื่อง วิธีปฏิบัติในการสั่งปล่อย และค้ำประกันสำหรับของที่นำเข้ามาเพื่อใช้ในการวิจัยและพัฒนารวมทั้งการทดสอบที่เกี่ยวข้องตามมาตรา 30/1 ด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (RMTS)
(2.2) การขอรับสิทธิและประโยชน์เพื่อพัฒนาความสามารถในการแข่งขัน ผู้ได้รับการส่งเสริมในประเภทกิจการกลุ่ม A ที่ต้องการจะยื่นขอรับสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมตามคุณค่าของโครงการ (Merit-base incentive) สามารถยื่นขอแก้ไขโครงการโดยการเพิ่มสิทธิและประโยชน์เพิ่มเติมได้ จะต้องมีสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 31 เหลืออยู่ทั้งระยะเวลาและวงเงินที่ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล
เอกสารที่ใช้ประกอบการพิจารณา :
1) แบบคำขอรับการส่งเสริมสำหรับสิทธิและประโยชน์เพิ่มเติม เพื่อพัฒนาความสามารถในการแข่งขัน (F PA PP 37) ที่มีข้อมูลสมบูรณ์ครบถ้วน
(ดาวน์โหลดแบบฟอร์มคำขอรับการส่งเสริมสำหรับสิทธิและประโยชน์เพิ่มเติม เพื่อพัฒนาความสามารถในการแข่งขัน)
2) ยื่นแบบคำขอแก้ไขโครงการที่กองส่งเสริมการลงทุน 1 – 4 สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาค 1 – 7
ข้อมูลเพิ่มเติม :
(1) ประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ที่ 2/2557 เรื่อง นโยบายและหลักเกณฑ์การส่งเสริมการลงทุน
(2) คำชี้แจง ลงวันที่ 6 กรกฎาคม 2561 เรื่อง การขอรับสิทธิและประโยชน์เพิ่มเติมตามคุณค่าของโครงการ(Merit-based Incentives) ด้านพัฒนาความสามารถในการแข่งขัน ตามประกาศ กกท.ที่ 2/2557
การรับโอนกิจการ/หยุดกิจการชั่วคราว
• การโอน ควบรวมกิจการที่ได้รับการส่งเสริม
เมื่อผู้ได้รับส่งเสริมต้องการโอนหรือขายกิจการที่ได้รับส่งเสริมให้กับผู้อื่น สำนักงานจะพิจารณาว่าเป็นการโอน หรือการควบรวมกิจการนั้น ให้พิจารณาจากนิติบุคคลที่รับโอนกิจการ
1. การโอนกิจการ จะเป็นนิติบุคคลที่รับโอนกิจการเป็นนิติบุคคลเดิม (ไม่ได้มีการจัดตั้งนิติบุคคลขึ้นมาใหม่)
ตัวอย่าง : บริษัท A (BOI) กับ B (Non-BOI) รวมกันแล้ว เหลือบริษัท A หรือ B บริษัทใดบริษัทหนึ่ง (A+B = A หรือ A+B = B)
** ดังนั้น การโอนกิจการคือ...บริษัท B รับโอนกิจการที่ได้รับการส่งเสริมจากบริษัท A (BOI) จะใช้หลักเกณฑ์การพิจารณาและขั้นตอนการขอรับการส่งเสริมตามระเบียบคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนที่ 2/2547 เรื่อง การโอน ควบ รวมกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน
แต่หาก A (BOI) และไปรับโอนกิจการของ B (Non-BOI) บริษัท A ต้องไปดำเนินการรับโอนกิจการตามระเบียบและขั้นตอนที่กระทรวงพาณิชย์กำหนด (ไม่ต้องแจ้งบีโอไอ)
2. การควบรวมกิจการ = นิติบุคคลที่รับโอนกิจการเป็นนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นใหม่
ตัวอย่าง เมื่อบริษัท A และบริษัท B ควบรวมกิจการเข้าด้วยกัน และจัดตั้งนิติบุคคลขึ้นใหม่ (C)
(A+B = C) ในทางกฎหมายจะถือว่า บริษัทที่จัดตั้งขึ้นใหม่นี้ เป็นคนละนิติบุคคลกับบริษัทเดิม ไม่ว่าบริษัทที่ตั้งใหม่นี้จะตั้งชื่อเป็น A หรือ B เหมือนเดิม หรือตั้งชื่อใหม่เป็น C ก็ตาม
• ขั้นตอนการดำเนินการขอโอน/ควบรวมกิจการ
กรณีที่ 1 หากยังไม่ได้จัดตั้งนิติบุคคลใหม่ (การควบรวมกิจการ) เมื่อมาดำเนินการยื่นคำขอควบรวมกิจการกับสำนักงาน ให้ผู้ยื่นคำขอระบุชื่อบริษัทใหม่ พร้อมทั้งระบุวันที่จะควบรวมกิจการ
กรณีที่ 2 หากบริษัทโอน/ควบรวมกิจการไปแล้วก่อนการยื่นคำขอกับสำนักงาน บริษัทต้องดำเนินการยื่นคำขอโอน/ควบรวมกิจการภายใน 3 เดือน เนื่องจากเมื่อดำเนินการโอน/ควบรวมกิจการไปแล้ว บัตรส่งเสริมของบริษัทผู้โอนกิจการจะใช้สิทธิประโยชน์ตามบัตรได้อีกไม่เกิน 3 เดือนนับจากวันควบรวมกิจการ
ดังนั้น หากบริษัทผู้รับโอนกิจการ หรือบริษัทใหม่ที่เกิดจากการควบรวมกิจการ ไม่ยื่นคำขอโอน/ควบรวมกิจการภายใน 3 เดือน สิทธิประโยชน์ของบัตรส่งเสริมจะสิ้นสุดลง และบริษัทใหม่ที่เกิดจากการโอน/ควบรวมกิจการจะต้องชำระภาษีอากรที่เหลืออยู่ทั้งหมดของผู้โอนกิจการ
โดยนิติบุคคล หรือนิติบุคคลใหม่ ที่โอน/ควบรวมกิจการจะได้รับสิทธิและประโยชน์เท่าที่บัตรส่งเสริมของผู้โอนกิจการเดิมยังเหลืออยู่ ดังนั้น บริษัทจึงควรยื่นขอรับการส่งเสริมล่วงหน้าก่อนวันที่จะควบรวมกิจการเพื่อให้สามารถเตรียมการออกบัตรส่งเสริมใหม่ได้ในวันที่ควบรวมกิจการ
• เอกสารประกอบการพิจารณา (พิจารณา 30 วันทำการ)
สำหรับผู้ขอรับโอนกิจการ
1. หนังสือชี้แจงของบริษัทขอรับโอนกิจการ (ยืนยันการรับผิดชอบในภาระภาษีอากรเครื่องจักร และวัตถุดิบทั้งหมดของผู้โอน) ต้องมีข้อความนี้ กรรมการลงนามและประทับตราบริษัท
2. แบบคำขอรับการส่งเสริมการลงทุนเพื่อรับโอนกิจการ (F PA PC 17) (กรรมการผู้มีอำนาจลงนามร่วมกัน)
3. ตารางรายละเอียดเครื่องจักรที่ขอรับโอน (ต้องมี) ลงนามร่วมกัน
4. ตารางรายละเอียดวัตถุดิบ วัสดุจำเป็น และของที่รับโอน (ต้องมี) ลงนามร่วมกัน
5. หนังรับรองการจดทะเบียนบริษัท ฉบับล่าสุด ไม่เกิน 6 เดือน
6. บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (บอจ.5) ฉบับล่าสุด
7. งบการเงินฉบับล่าสุด
8. หนังสือมอบอำนาจ ติดอากร 30 บาท สำเนาบัตรผู้มอบและผู้รับมอบพร้อมลงนาม
9.กรณีโอนกิจการ: สำเนามติที่ประชุมสามัญประจำปีผู้ถือหุ้น ระบุวัตถุประสงค์ในการโอนกิจการ และมูลค่าการซื้อขาย (ผู้ถือหุ้นลงนามทุกราย) กรณีผู้ถือหุ้นเป็นนิติบุคคลให้แนบประวัติบริษัท สำเนาบัตรประชาชน หรือสำเนาพาสปอร์ตของกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม พร้อมลงนาม
สำหรับผู้โอนกิจการ
1. หนังสือขอโอนกิจการจากบริษัท (จดหมายนำบริษัท)
2. บัญชีรายการวัตถุดิบ และปริมาณสต๊อคสูงสุด (กรณีใช้สิทธิวัตถุดิบ)
3. หนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท ฉบับล่าสุด ไม่เกิน 6 เดือน
4. บัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (บอจ.5) ฉบับล่าสุด
5. Invoice ใบแรก
6. ทะเบียนสินทรัพย์
7. สำเนาบัตรส่งเสริม
8. หนังสือมอบอำนาจ ติดอากร 30 บาท สำเนาบัตรผู้มอบและผู้รับมอบพร้อมลงนาม
9. กรณีโอนกิจการ: สำเนามติที่ประชุมสามัญประจำปีผู้ถือหุ้น ระบุวัตถุประสงค์ในการโอนกิจการ และมูลค่าการซื้อขาย (ผู้ถือหุ้นลงนามทุกราย) กรณีผู้ถือหุ้นเป็นนิติบุคคลให้แนบประวัติบริษัท สำเนาบัตรประชาชน หรือสำเนาพาสปอร์ตของกรรมการผู้มีอำนาจลงนาม พร้อมลงนาม
**** กรณีควบรวมกิจการ หากมีการควบรวมกิจการกับนิติบุคคลที่ไม่ได้รับการส่งเสริม ก็ต้องนำส่งเอกสารของนิติบุคคลนั้นเพื่อประกอบการพิจารณาอนุมัติควบรวมกิจการด้วย (เอกสารสำหรับผู้โอนกิจการ) เพื่อประกอบการพิจารณาให้การส่งเสริมบริษัทนั้นตามเกณฑ์การส่งเสริมการลงทุนที่สำนักงานกำหนด เช่น การพิจารณาอัตราส่วนหนี้สินต่อทุนจดทะเบียน (หรือส่วนของผู้ถือหุ้น)
ข้อมูลเพิ่มเติม : ระเบียบคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนที่ 2/2547 เรื่อง การโอน ควบ รวมกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน
• การหยุดกิจการชั่วคราว
กรณีที่ผู้ได้รับส่งเสริมจะหยุดดำเนินกิจการเป็นระยะเวลาเกินกว่า 2 เดือน จะต้องยื่นขออนุญาตจากสำนักงานก่อนการหยุดกิจการไป
• แนวทางการพิจารณา
- กรณีผู้ได้รับการส่งเสริมที่ได้รับอนุญาตให้เปิดดำเนินการแล้ว และมีเครื่องจักรและอุปกรณ์ ที่นำเข้าโดยใช้สิทธิและประโยชน์ยกเว้น/ลดหย่อนอากรขาเข้าอยู่ครบถ้วนที่โรงงาน/สถานประกอบการ
(1) กรณีที่เครื่องจักรในโรงงานมีลักษณะเคลื่อนย้ายได้ยาก เช่น อุตสาหกรรมเหล็กหรือปิโตรเคมี การขอหยุดดำเนินกิจการในช่วงสั้นๆ เช่น ไม่เกิน 6 เดือน จะอนุญาตให้หยุดดำเนินกิจการเป็นการชั่วคราวได้ โดยไม่ต้องตรวจสอบสถานประกอบการ
(2) กรณีเครื่องจักรในโรงงาน/สถานประกอบการมีลักษณะเคลื่อนย้ายได้ง่าย หรือมีข้อสงสัยอื่น จะตรวจสอบโรงงาน/สถานประกอบการก่อนว่าเครื่องจักรยังติดตั้งอยู่ครบถ้วนถูกต้อง จากนั้นจึงจะอนุญาตให้หยุดดำเนินกิจการเป็นการชั่วคราว
- กรณีผู้ได้รับการส่งเสริมที่ได้รับอนุญาตให้เปิดดำเนินการแล้ว แต่ไม่มีเครื่องจักรและอุปกรณ์พร้อมที่จะดำเนินกิจการตามโครงการได้ จะพิจารณาว่ามีเจตนาไม่ปฎิบัติตามเงื่อนไขที่ได้รับส่งเสริม และจะดำเนินการเพิกถอนบัตรส่งเสริมต่อไป
• เอกสารที่ใช้ประกอบพิจารณา
1) แบบคำขอหยุดดำเนินกิจการ (F PM ST 01) ที่มีข้อมูลสมบูรณ์ครบถ้วน
2) ยื่นแบบคำขอแก้ไขโครงการที่กองส่งเสริมการลงทุน 1 – 4 สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนหรือศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาค 1 – 7
การยกเลิกบัตรส่งเสริม
สำหรับบริษัทฯ ที่ได้รับการส่งเสริมจากสำนักงานและไม่ประสงค์จะเป็นผู้ที่ได้รับการส่งเสริม สามารถยื่นหนังสือขอยกเลิกบัตรส่งเสริมกับสำนักงาน โดยชี้แจงเหตุผลที่ต้องการยกเลิก เช่น การเลิกประกอบกิจการ การยกเลิกการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการส่งเสริม หรือสิทธิและประโยชน์ทางภาษีสิ้นสุดลงและไม่ประสงค์จะใช้สิทธิ์ที่ไม่ใช่ภาษี เป็นต้น
ทั้งนี้ สำนักงานจะดำเนินการตรวจสอบการใช้สิทธิและประโยชน์ในด้านต่างๆ จากระบบการจัดเก็บเอกสารของสำนักงาน และสมาคมสโมสรนักลงทุน ได้แก่ การใช้สิทธิและประโยชน์ด้านเครื่องจักร ด้านวัตถุดิบ ด้านภาษีเงินได้นิติบุคคล ด้านที่ดิน และด้านช่างฝีมือ ตามสิทธิและประโยชน์ที่บริษัทฯ ได้รับ และให้บริษัทฯ นำส่งหนังสือขอยกเลิกบัตรส่งเสริมพร้อมเอกสารประกอบต่างๆ ที่กองติดตามและประเมินผลการลงทุน 1-2 หรือศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาค 1 – 7 หรือผ่านระบบ E-SUBMISSION
เอกสารประกอบการยกเลิกบัตรส่งเสริม
2. สำเนา ภ.ง.ด. 50 ย้อนหลังตั้งแต่วันที่เริ่มมีรายได้ครั้งแรกจนถึงวันสิ้นสุดสิทธิและประโยชน์ และปีปัจจุบัน
3. งบการเงินปีล่าสุด
4. กรณีมีการใช้สิทธิและประโยชน์ด้านเครื่องจักร และ/หรือด้านวัตถุดิบ จะต้องแนบเอกสารการตัดบัญชีเครื่องจักรและ/หรือวัตถุดิบ ซึ่งสามารถขอเอกสารได้จากสมาคมสโมสรนักลงทุน
หมายเหตุ : จะต้องมีการลงนามรับรองเอกสารโดยมีผู้อำนาจที่ระบุในหนังสือรับรองจดทะเบียนบริษัทฯ