Chat
x
toggle menu
toggle menu

Select Groups

All Group
  • All Group
  • นโยบายเเละมาตรการพิเศษในการส่งเสริม
  • การขอรับการส่งเสริมการลงทุน
  • การออกบัตรส่งเสริม
  • การเปิดดำเนินการ
  • การเเก้ไขโครงการ
  • การดำเนินการอื่น ๆ
  • การรายงานความคืบหน้าโครงการ (e-Monitoring)
  • การปฏิบัติหลังการได้รับการส่งเสริม
  • การยกเลิกบัตรส่งเสริม
  • เรื่องทั่วไป
  • การใช้สิทธิด้านที่ดิน
  • การใช้สิทธิด้านเครื่องจักร
  • การใช้สิทธิด้านช่างฝีมือ/ต่างด้าว
  • การใช้สิทธิด้านวัตถุดิบ
  • ประเภทกิจการ - การแพทย์
  • การใช้สิทธิด้านภาษีเงินได้นิติบุคคล
  • ประเภทกิจการ - รถยนต์ไฟฟ้า
  • ประเภทกิจการ - ศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศ (IBC) IPO และ TISO
  • ประเภทกิจการ - โรงแรม
  • ประเภทกิจการ - ผลิตผลิตภัณฑ์โลหะรวมทั้งชิ้นส่วนโลหะ
  • ประเภทกิจการ - กิจการผลิตเครื่่องจักร อุุปกรณ์และชิ้นส่วน
  • ประเภทกิจการ - กิจการศูนย์กระจายสินค้าระหว่า ประเทศด้วยระบบที่่ทันสมัย (IDC)
มีเงื่อนไขข้อกำหนดเรื่องจำนวนการจ้างงาน สำหรับกิจการ IPO หรือไม่
ไม่มีกำหนดเงื่อนไขการจ้างงานในกิจการ IPO
กรณีบริษัทดำเนินธุรกิจส่งออกอาหารสัตว์จากญี่ปุ่น สามารถยื่นขอรับการส่งเสริมในกิจการ IPO ได้หรือไม่
บริษัทจะต้องมีการดำเนินธุรกิจตามที่กำหนดในเงื่อนไขของ IPO ซึ่งจะต้องเป็นการจัดซื้อวัตถุดิบ ชิ้นส่วน และส่วนประกอบเท่านั้น หากอาหารสัตว์เป็นสินค้าสำเร็จรูปที่พร้อมให้สัตว์รับประทาน จะไม่สามารถขอรับการส่งกิจการ IPO ได้เนื่องจากไม่ใช่วัตถุดิบ ชิ้นส่วน และส่วนประกอบ
กรณีขอจำหน่ายเครื่องจักร และอะไหล่ ที่นำเข้าภายใต้การใช้สิทธิ์ยกเว้นอากรขาเข้า และขอจำหน่ายโดยอายุยังไม่ครบ 5 ปี หลังวันนำเข้า ให้ยื่นเรื่องขออนุมัติจำหน่ายเครื่องจักร โดยมีภาระภาษีตามสภาพ ณ วันที่ยื่น และส่วนสำหรับ ค่าปรับ เงินเพิ่ม และ vat จะต้องมีภาระในส่วนนี้ หรือไม่

กรณีที่ยื่นขอจำหน่ายเครื่องจักรในประเทศโดยนำเข้ามายังไม่ครบ 5 ปี

- ต้องยื่นขออนุมัติจาก BOI

- BOI จะแจ้งให้กรมศุลกากรเก็บอากรขาเข้าตามสภาพ ณ วันที่ยื่นขออนุญาตจำหน่าย

- กรมศุลกากรจะเรียกเก็บอากรขาเข้าตามสภาพ ณ วันที่ยื่นขอ และเรียกเก็บ VAT โดยไม่มีเงินเพิ่มหรือเบี้ยปรับ เนื่องจากบริษัทยังไม่ได้ทำผิดเงื่อนไข

- แต่หากบริษัทจำหน่ายเครื่องจักรไปแล้ว จึงมายื่นขออนุญาตจำหน่าย กรณีนี้เป็นการทำผิดเงื่อนไขแล้ว จึงต้องชำระภาษีอากรตามสภาพ ณ วันนำเข้า พร้อมกับเบี้ยปรับ และเงินเพิ่ม

บริษัทเป็นผู้ผลิต Cutting Tools และได้รับสิทธิ์ BOI กำลังจะขยายโครงการใหม่เพิ่มอีก 1 โครงการ โดยโครงการใหม่นี้เป็นกิจการชุบเคลือบผิวโดยรับจากโครงการเดิมมาชุบเคลือบผิวและส่งออก ซึ่งบริษัทฯนำเข้า Raw Material เข้ามาในนามโครงการเดิม (สมมุติ:โครงการที่ 1) นำมาเจียรตามขั้นตอนการผลิต จนได้เป็น Finish Goods แล้วขายต่อไปในโครงการใหม่ (สมมุติ:โครงการที่ 2) เพื่อทำการเคลือบและส่งออกไปที่บริษัทแม่ต่างประเทศ จึงขอสอบถาม Admin ดังนี้ 1. บริษัทฯจะต้องโอนสิทธิ์ในการตัดบัญชีให้กับโครงการที่ 1 ด้วยใช่หรือไม่? 2. บริษัทฯจะต้องทำเอกสารแจ้งสำนักงาน BOI หรือไม่? ในกรณีที่ทำการขายให้กับโครงการใหม่ 3. บริษัทฯต้องบันทึกข้อมูลระหว่างโครงการอย่างไร? เช่น โครงการที่ 1 ขาย FG ให้กับโครงการที่ 2 และโครงการที่ 2 จะได้รายได้จากการจ้างทำ เป็นต้น

โครงการที่ 1 นำเข้าวัตถุดิบและผลิตเป็นสินค้า A จำหน่ายให้โครงการที่ 2 โครงการที่ 2 ซื้อ A จากโครงการที่ 1 มาผลิตเป็นสินค้า B และส่งออกไปต่างประเทศ

ตอบคำถามตามนี้

1. โครงการที่ 2 ต้องขออนุมัติบัญชีปริมาณสต็อกวัตถุดิบโดยมี A เป็นวัตถุดิบและเมื่อส่งออก จะต้องตัดบัญชีสินค้า B และโอนสิทธิตัดบัญชีวัตถุดิบ A ให้กับโครงการที่ 1

2. ตามโครงการที่ได้รับส่งเสริม A เป็นสินค้าของโครงการที่ 1 และเป็นวัตถุดิบของโครงการที่ 2 การจะซื้อขายกันระหว่างโครงการ จึงไม่ขัดกับเงื่อนไขในบัตรส่งเสริม และไม่ต้องแจ้งขออนุญาตต่อ BOI

3. การบันทึกทางบัญชี จะเป็นการที่โครงการที่ 1 จำหน่ายสินค้า A ให้กับโครงการที่ 2 ในราคาต้นทุน แต่เนื่องจากเป็นคำถามทางบัญชีและไม่ใช่ข้อกฎหมายของ BOI จึงควรปรึกษากับที่ปรึกษาทางบัญชีโดยตรง

กรณีที่นิคมอุตสาหกรรมมีการเปลี่ยนชื่อ ขณะนี้บริษัทตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร ซึ่งได้ทำการเปลี่ยนเป็น นิคมอมตะนครซิตี้ ชลบุรี ไม่ทราบว่าจะต้องดำเนินการอย่างไร พอดีเพิ่งเคยทำครั้งแรก เลยไม่ทราบว่าจะต้องเริ่มจากตรงไหน

การเปลี่ยนชื่อนิคมอุตสาหกรรม จากเดิม นิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร เป็น นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ชลบุรี เป็นไปตามประกาศการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ที่ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2561 บริษัทที่ได้รับบัตรส่งเสริมอยู่ก่อนหน้านี้ ซึ่งกำหนดเงื่อนไขที่ตั้งโรงงานเป็นนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร ยังคงใช้บัตรส่งเสริมดังกล่าวได้ต่อไป โดยไม่ต้องแก้ไขเงื่อนไขที่ตั้งโรงงานเป็นนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ชลบุรี แต่บัตรส่งเสริม และใบอนุญาตเปิดดำเนินการ ที่ BOI ออกให้หลังจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา จะระบุเป็นนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ชลบุรี

มีกำหนดเวลาต้องทำเรื่องก่อนครบกำหนดเปิดหรือไม่
โดยหากยื่น ก่อนวันครบกำหนดเปิดดำเนินการ สามารถยื่นเอกสารให้กองบริหารการลงทุนที่เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ แต่หากทำเรื่องยื่นขอเปิดดำเนินการหลังจากวันครบกำหนดเปิด สามารถยื่นเอกสารได้ที่ กองตรวจเปิดดำเนินการ ชั้น 4 
ขอถามประวัติระเบียบการขอรับการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI ว่าเคยมีเงื่อนไขหรือไม่ การขอรับการส่งเสริมจาก BOI นั้น เงินลงทุนต้องเป็นเงินทุนจากต่างประเทศ 100 % ถ้าเคยมีเงื่อนไขนี้ได้มีการเปลี่ยนแปลงให้เป็นเงินลงทุนร่วมจากในประเทศได้ตั้งแต่เมื่อไร

เท่าที่ทราบ ไม่เคยพบกรณีที่ BOI กำหนดเงื่อนไขว่าต้องเป็นการลงทุนโดยต่างชาติ 100% และไม่คิดว่าจะมีการกำหนดเช่นนั้น เพราะไม่ทำให้ประเทศไทยได้ประโยชน์อะไร ที่ผ่านมา BOI จะกำหนดเฉพาะเงื่อนไขหุ้นไทยเท่านั้น หากบัตรใดไม่มีการกำหนดเงื่อนไขหุ้นไทย ก็คือ จะมีหุ้นไทยหรือไม่ก็ได้ = จะเป็นหุ้นต่างชาติข้างมากหรือทั้งหมดก็ได้ ดังนั้น ถึงแม้จะเป็นการลงทุนจากต่างชาติทั้งสิ้น BOI ก็จะไม่กำหนดเงื่อนไขว่า ต้องเป็นหุ้นต่างชาติทั้งสิ้น คือ เพียงแค่ไม่กำหนดเงื่อนไขหุ้นไทยเท่านั้นก็พอ

ทางบริษัทได้ขออนุญาตชั่วคราว 6 เดือนให้กับช่างฝีมือเพื่อรอบรรจุต่อจากช่างฝีมือที่จะหมดวาระลง ขณะนี้ตำแหน่งที่ต้องการบรรจุนั้นว่างลงแล้ว ขั้นตอนแรกทางบริษัทต้องทำอย่างไรก่อนถึงจะบรรจุช่างในตำแหน่งที่ว่างลงได้
เมื่อตำแหน่ง A ว่างลง และจะย้ายช่างที่ปฏิบัติงานในตำแหน่ง B มาบรรจุลงแทนในตำแหน่ง A ให้ดำเนินการดังนี้

- แจ้งช่างพ้นจากตำแหน่ง A

- แจ้งช่างพ้นจากตำแหน่ง B ล่วงหน้า 15 วัน โดยระบบจะเพิ่มวันที่อนุญาตให้ช่าง B อยู่ในประเทศให้อีก 7 วัน หลังพ้นตำแหน่ง แต่ไม่เกินระยะเวลาอยู่ในประเทศที่ได้รับอนุญาตอยู่เดิม

- นำหนังสือเดินทางของช่าง B ไปประทับตราพ้นตำแหน่งที่ ตม.

- ยื่นขอบรรจุช่าง B ในตำแหน่ง A (โดยในวันที่ยื่นคำร้อง ช่าง B ต้องมีระยะเวลาวีซ่าเหลือไม่น้อยกว่า 15 วัน)

กระบวนการผลิต 100 เปอร์เซ็นต์ ทำที่บริษัท แต่ไม่ได้ผ่านเครื่องจักรหลัก ถามว่าในกรณีนี้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้หรือไม่ 1.กระบวนการแรก คือ ฉีดขึ้นรูป ( เครื่องจักรหลัก ) 2. นำมาประกอบรายประกอบ แต่มีบาง Model ไม่ได้ผ่านกระบานการที่1 แต่เราซื้อวัตถุดิบที่ขึ้นรูปแล้ว มาประกอบกับ วัตถุดิบชิ้นอื่น ที่รายประกอบ จนเป็นสินค้าสำเร็จรูป และส่งขายได้

หากกรรมวิธีผลิตที่ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริมที่ระบุในหนังสือแจ้งมติ (หรือหนังสืออนุมัติให้แก้ไขกรรมวิธีการผลิต) ระบุว่า "บางรุ่นจะผลิตโดยการนำชิ้นส่วนพลาสติกที่ขึ้นรูปแล้ว มาประกอบกับชิ้นส่วนอื่นๆ" ก็แปลว่า บางรุ่นสามารถผลิตโดยไม่ต้องฉีดพลาสติกขึ้นเองก็ได้

สรุปคือ การจะดูว่าผลิตภัณฑ์ที่ผลิตขึ้นมานั้นตรงตามที่ได้รับส่งเสริมหรือไม่ และจะสามารถใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลได้หรือไม่ ให้ดูว่า ชื่อผลิตภัณฑ์ตรงตามบัตรส่งเสริมหรือไม่ กรรมวิธีการผลิตตรงตามที่ได้รับอนุมัติหรือไม่ กำลังผลิตเกินกว่าบัตรส่งเสริมหรือไม่ ปฏิบัติตามเงื่อนไขอื่นๆในบัตรถูกต้องหรือไม่ ส่วนจะใช้เครื่องจักรหลักหรือไม่หลัก ไม่ได้เป็นตัวกำหนดการใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล

กำลังการผลิตตามบัตร 3.6 ล้าน ผลิตจริง 3.8 ล้าน (ไม่เกิน 20%) รายได้จากผลผลิต 3.8 ล้าน ได้รับการยกเว้นภาษีหรือไม่

รายได้จากการจำหน่ายสินค้าปริมาณเกินกว่าบัตรส่งเสริมในแต่ละรอบปีบัญชี จะไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ คือ

1. หากกำลังผลิตในบัตรส่งเสริมคือ 3.6 ล้านชิ้น แต่จำหน่าย 3.8 ล้านชิ้น ส่วนเกิน คือ 0.2 ล้านชิ้น ต้องเสียภาษีเงินได้

2. หากรอบปีบัญชีแรก หรือรอบปีบัญชีสุดท้ายของการยกเว้นภาษีเงินได้ มีระยะเวลาไม่ครบ 12 เดือน ก็ให้คำนวณตามสัดส่วนนั้นๆ เช่น

รอบปีบัญชีของบริษัท คือ ม.ค.-ธ.ค. แต่หากเริ่มจำหน่ายตั้งแต่ ต.ค. เป็นต้นไป คือเพียง 3 เดือน รอบปีบัญชีนั้น ก็จะใช้สิทธิยกเว้นภาษีได้ ได้ไม่เกิน 3/12 ของกำลังผลิต คือ 0.9 ล้านชิ้น

ส่วนรอบปีบัญชีสุดท้ายที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ จะเป็นการจำหน่ายตั้งแต่ ม.ค. – ก.ย. และจะใช้สิทธิยกเว้นภาษีได้ไม่เกิน 9/12 ของกำลังผลิต คือ 2.7 ล้านชิ้น

การขอขยายเวลาอายุของช่างฝีมือ ถ้าได้รับอนุมัติให้ถึง เมษายน 2015 แต่ช่างฝีมือเดินทางกลับประเทศเดือนธันวาคม 2014 แล้วมีคนมาแทน...อย่างนี้ต้องขอขยายระยะเวลาก่อนบรรจุคนใหม่หรือไม่?

ระยะเวลาที่ได้รับอนุมัติถึงเมษายน 2015 คือ ระยะเวลาของตำแหน่ง หากมีการบรรจุช่างฝีมือ ช่างฝีมือจะได้รับอนุญาตให้อยู่ตามระยะเวลาของตำแหน่ง คือ เมษายน 2015 หากช่างที่บรรจุอยู่ในปัจจุบัน จะเดินทางกลับประเทศเดือนธันวาคม 2014 ก็ให้แจ้งพ้นตำแหน่ง แล้วยื่นบรรจุช่างคนใหม่แทน โดยช่างคนใหม่จะได้รับอนุญาตให้อยู่ตามระยะเวลาที่เหลืออยู่เดิมของตำแหน่ง คือ เมษายน 2015 และเมื่อถึงระยะเวลา 15-90 วัน ก่อนสิ้นสุดระยะเวลาที่ได้รับอนุมัติอยู่เดิม จึงยื่นขยายระยะเวลาของตำแหน่ง จากนั้นจึงยื่นขอต่ออายุการอยู่ในประเทศของช่างฝีมือ หากตำแหน่งนั้นว่างลง เนื่องจากช่างคนเก่าเดินทางกลับ และช่างคนใหม่มาไม่ทัน จะไม่สามารถขอขยายระยะเวลาของตำแหน่งที่ว่างลงได้ ต้องปล่อยให้ตำแหน่งนั้นหมดอายุไป แล้วยื่นขออนุมัติตำแหน่งใหม่เมื่อมีความต้องการในภายหลัง

1. บัตรส่งเสริม (ไม่ใช่บัตรหลัก) ใช้สิทธิเฉพาะคนต่างด้าวได้หรือไม่ 2. กรณีบัตรยังไม่เปิดดำเนินการ ต้องเปิดดำเนินการอย่างไร - ต้องดำเนินการยกเลิกสิทธิเครื่องจักร กับวัตถุดิบใช่หรือไม่ - สิทธิเครื่องจักร หลังยกเลิกแล้ว สามารถนำไปผลิตสินค้าที่ไม่ใช่งาน BOI ได้ตามปกติหรือไม่ (กรณีเครื่องจักรนำเข้ามาโดยการชำระอากร โดยไม่ใช้สิทธิ BOI นำเข้า) - กรณีใช้สิทธิแค่คนต่างด้าว ต้องรายงานผลการดำเนินการประจำปีหรือไม่ (ตส.310) 3. กรณีต้องการยกเลิกบัตรส่งเสริม (บัตรที่ยังไม่เปิดดำเนินการ) จำต้องดำเนินการอย่างไรบ้าง

1. สิทธิประโยชน์ที่ได้รับตามบัตรส่งเสริมแต่ละฉบับ จะเลือกใช้เป็นบางมาตรา หรือจะไม่ใช้สิทธิเลยก็ได้

2. การเปิดดำเนินการตามเงื่อนไข BOI คือ การตรวจสอบว่าบริษัทได้มีการลงทุนครบถ้วนตามเงื่อนไขในบัตรส่งเสริมแล้ว (เช่น สถานที่ตั้ง เครื่องจักร กำลังผลิต กรรมวิธีผลิต เป็นต้น) จึงไม่เกี่ยวกับการจะใช้/ไม่ใช้สิทธิประโยชน์หรือไม่

หลังจากได้รับใบอนุญาตเปิดดำเนินการ บริษัทยังคงมีหน้าที่ปฏิบัติตามเงื่อนไขในบัตรส่งเสริมต่อไป จนกว่าจะขอยกเลิกบัตรส่งเสริม กรณีเปิดดำเนินการภายในระยะเวลาที่กำหนดไม่ได้ จะถูกเพิกถอนบัตรส่งเสริม

3. กรณีต้องการยกเลิกบัตรส่งเสริม ให้ยื่นหนังสือแจ้งขอยกเลิกบัตรส่งเสริมต่อ BOI โดยอาจจะต้องชำระภาษีอากรเครื่องจักร/วัตถุดิบ ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด

ทางบริษัทต้องยื่นแบบ ตส.310 ซึ่งสามารถยื่นออนไลน์ได้ ปัญหาคือ พนักงานคนเก่าที่เคยดำเนินเรื่องไว้ลาออกไม่สามารถติดต่อได้ จึงไม่มี Username และ Pass ทางผู้จัดการจึงให้ดำเนินการขอใหม่ จะมีขั้นตอนการขอ Username และ Pass ใหม่อย่างไรบ้าง

กรณีลืม username และ password ของระบบ ตส.310 จะต้องยื่นขอรับ password ใหม่ เอกสารที่ใช้ คือ

1. หนังสือมอบอำนาจขอรับ password ระบบตรวจสอบเอกสารทางอินเตอร์เน็ต (Doctracking) (ร่างขึ้นได้เอง ไม่ต้องติดอากรแสตมป์)

2. สำเนาบัตรประชาชนหรือหนังสือเดินทาง ของผู้มอบอำนาจ และผู้รับมอบอำนาจ

3. สำเนาหนังสือรับรองบริษัทหน้าแรก (ไม่เกิน 6 เดือน)

โดยนำเอกสารไปติดต่อที่สำนักสารสนเทศ (BOI ชั้น 3) หรือสำนักงาน BOI ต่างจังหวัด และสามารถรอรับ password ได้ในวันนั้นเลย

บริษัทฯ ได้รับการส่งเสริม ประเภท IPO ตั้งแต่ปี 2549 โดยแจ้งสถานที่ตั้งคลังสินค้า 3 แห่ง ปัจจุบันถ้ามีคลังสินค้าเพิ่มอีก แต่อยู่นอกเขตหรือจังหวัดที่ระบุในเงื่อนไขโครงการข้อ 7 บริษัทฯ จะต้องแจ้งเพิ่มสถานประกอบกิจการกับ BOI หรือไม่ ถ้าไม่ได้แจ้งมีผลต่อสิทธิประโยชน์ใด ๆ หรือไม่

หากบริษัทนำเข้าวัตถุดิบโดยใช้สิทธิยกเว้นภาษีอากรตามมาตรา 36 บริษัทจะต้องจัดเก็บวัตถุดิบ สินค้า และส่วนสูญเสีย ในสถานประกอบการ ตามที่กำหนดในบัตรส่งเสริม หากจะนำวัตถุดิบ สินค้า ส่วนสูญเสีย ไปเก็บนอกสถานประกอบการที่ได้รับส่งเสริม จะต้องขออนุญาตต่อ BOI ตาม ประกาศ สกท ที่ ป.3/2556 ข้อ 10 แต่กรณีนี้เป็นการเพิ่มคลังสินค้า ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสถานประกอบการของกิจการ IPO จึงจะต้องยื่นขอแก้ไขโครงการเพื่อเพิ่มที่ตั้งสถานประกอบการ

1. ในกรณีที่สินค้า A เป็นวัตถุดิบของโครงการที่ 2 (ซึ่งได้ซื้อมาจากโครงการที่ 1) ดังนั้นกรณีการตัดบัญชีของสินค้า B จะทำการตัดบัญชีอย่างไร? 2. กรณีการตัดบัญชีสินค้า B นี้จะต้องตัดบัญชีผ่านระบบ RMTS2011 ด้วยหรือไม่ เพราะวัตถุดิบนั้นไม่ได้นำเข้า แต่ทำการซื้อขายระหว่างโครงการกัน

1.เมื่อโครงการที่ 2 ส่งสินค้า B ไปจำหน่ายต่างประเทศ ก็นำใบขนขาออกมาตัดบัญชีตามสูตรการผลิตของโครงการที่ 2 และออก report-v สำหรับตัดบัญชีวัตถุดิบ A ให้กับโครงการที่ 1 ซึ่งกรณีนี้ สูตรการผลิตสินค้า B จะต้องมีปริมาณการใช้วัตถุดิบ A รวมอยู่ด้วย

2.จากนั้นโครงการที่ 1 ก็นำ report-v ที่ได้รับจากโครงการที่ 2 มาตัดบัญชีตามสูตรการผลิตของของโครงการที่ 1 ให้ลองคิดว่าหากโครงการที่ 2 ซื้อวัตถุดิบ A จาก Vendor BOI จะต้องทำอย่างไร แล้วก็ใช้วิธีเดียวกันนั้น

BOI มีแบบฟอร์ม ขอชำระภาษีเครื่องจักร ณ วันนำเข้าหรือเปล่า ถ้ามีเข้าไปดูหัวข้ออะไรใน Web

แบบฟอร์มการขอชำระภาษีเครื่องจักรย้อนหลัง ณ วันนำเข้า ไม่มี

ให้ใช้แบบฟอร์มการขอจำหน่ายเครื่องจักร คือ หนังสือนำส่งของบริษัท (ร่างขึ้นเอง)

แบบคําขออนุญาตจําหน่าย/โอน/บริจาคเครื่องจักร (F IN MC 04)

สำเนาหลักฐานการนำเข้าเครื่องจักรทุกรายการที่ขอจำหน่าย

Checklist (F IN MC 01) โดยให้ระบุรายละเอียดว่าได้มีการจำหน่ายเครื่องจักรไปแล้วเมื่อวันที่ ...

ซึ่ง BOI จะมีหนังสือแจ้งให้กรมศุลกากรเรียกเก็บภาษีตามสภาพ ณ วันนำเข้า และมีหนังสือแจ้งบริษัทให้ไปชำระภาษี

บางสำนักฯ อาจให้บริษัทเตรียมหนังสือครุฑไปด้วย ซึ่งให้ขอรับตัวอย่างหนังสือครุฑที่เจ้าหน้าที่ธุรการของสำนักนั้น ๆ กรณีที่มีขอชำระภาษีเครื่องจักรหลายรายการ ซึ่งวันนำเข้าต่างกัน ให้แยกยื่นตามวันที่นำเข้านั้น ๆ จะสะดวกในการออกหนังสือให้เรียกเก็บภาษี

กรณีส่วนประกอบและผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป Prefabicated Houses อยู่ในข่ายดำเนินการภายใต้กิจการ IPO ได้หรือไม่
IPO อนุญาตให้ซื้อขาย (ไม่รวมการผลิต ผสม ประกอบเอง) วัตถุดิบ ชิ้นส่วน และส่วนประกอบเท่านั้น โดยไม่รวมสินค้าสำเร็จรูป ทั้งนี้ บริษัทจะต้องดูก่อนว่า สิ่งที่จะขายจะต้องไม่ใช่สินค้าสำเร็จรูปที่พร้อมใช้งาน และถ้าขายในประเทศ จะต้องขายส่งเท่านั้น (ห้ามขายให้ผู้ใช้รายสุดท้าย) ในกรณี Prefabricated House หากสิ่งที่บริษัทจะขายเป็นเพียงแค่ชิ้นส่วน หรือ ส่วนประกอบ เช่น โครงสร้างเหล็ก เป็นต้น จะสามารถเข้าข่ายกิจกรรม IPO ได้ เนื่องจากไม่ใช่ผลิตภัณฑ์สินค้าสำเร็จรูปหรือบ้านสำเร็จรูปที่พร้อมใช้งาน ซึ่งผู้ซื้อ (บริษัทรับเหมาก่อสร้าง) จะต้องนำไปประกอบต่อเป็นสินค้าสำเร็จรูปก่อนนำไปขายให้ End User หรือเจ้าของบ้านอีกครั้ง
หาก Prefabricated Houses ไม่อยู่ในข่ายดำเนินการภายใต้กิจการ IPO บริษัทจำเป็นต้องมีการแยกบัญชีหรือไม่ หรือไม่มีความจำเป็นต้องแยกบัญชี เนื่องจากกิจการ IPO ไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลอยู่แล้ว (ทั้งนี้ ธุรกิจ Prefabricated House ไม่จัดอยู่บัญชีท้าย พรบ.ประกอบธุรกิจต่างด้าว)
เบื้องต้นจะต้องตรวจสอบว่า ธุรกิจ Prefabricated House ที่บริษัทหมายถึง คือเฉพาะส่วนที่ซื้อขายชิ้นส่วนและส่วนประกอบ หรือธุรกิจรับประกอบและสร้างบ้าน สำหรับการซื้อขาย (ค้าส่งในประเทศ หรือส่งออกต่างประเทศ) ชิ้นส่วนและส่วนประกอบ จะเข้าข่ายกิจการ IPO ได้ โดยจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของสำนักงาน BOI หากเป็นธุรกิจอื่นๆ เช่น การรับประกอบหรือสร้างบ้าน จะต้องติดต่อสอบถามเพิ่มเติมที่ DBD ว่าเข้าข่ายบัญชีท้ายของ พรบ. การประกอบธุรกิจคนต่างด้าวหรือไม่ นอกจากนี้ หากไม่อยู่ในขอบข่าย IPO หรือกิจการที่ BOI ให้การส่งเสริม บริษัทจะต้องขออนุญาตหรือจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายอื่นๆ ซึ่งควรจะต้องแยกบัญชีภายในเพื่อง่ายต่อการจัดการของบริษัทเองหากมีการตรวจสอบจากหน่วยงานอื่นๆ แม้ว่าจะไม่ได้รับสิทธิและประโยชน์ทางภาษี
กรณีที่บริษัทฯ ต้องการขายเครื่องจักรไปยังต่างประเทศ ซึ่งเป็นเครื่องจักรที่มีอายุเกิน 5 ปี และทางบริษัทฯ ได้ทำการตัดบัญชีปลอดภาษีกับบีโอไอเรียบร้อยแล้ว อยากทราบว่าบริษัทฯ ต้องทำเรื่องขอจำหน่ายเครื่องจักรอีกหรือไม่ อย่างไร

การตัดบัญชีเครื่องจักรที่นำเข้ามาเกิน 5 ปี เป็นเพียงการตัดภาระภาษีสำหรับเครื่องจักรดังกล่าวเท่านั้น แต่บริษัทยังจะต้องใช้เครื่องจักรในโครงการนั้นต่อไป ดังนั้น บริษัทจะจำหน่ายเครื่องจักรออกจากโครงการ จะต้องได้รับจาก BOI ก่อน โดยมีขั้นตอนตามนี้

กรณีจำหน่ายในประเทศ

- จะต้องยื่นขออนุญาตจาก BOI ก่อน

- กรณีเป็นเครื่องจักรหลัก ซึ่งกระทบกับกำลังผลิตหรือกรรมวิธีการผลิต จะต้องยื่นขอแก้ไขโครงการเพื่อลดขนาดกิจการ โดยจะมีการปรับลดวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล

- หากเป็นเครื่องจักรเกิน 5 ปี ที่ได้รับอนุญาตให้ตัดภาระภาษีไปแล้ว จะได้รับอนุญาตให้จำหน่ายโดยไม่มีภาระภาษี

- หากไม่เกิน 5 ปี จะมีภาระภาษีตามสภาพ

กรณีส่งออกต่างประเทศ

- กรณีเป็นเครื่องจักรหลัก ซึ่งกระทบกับกำลังผลิตหรือกรรมวิธีการผลิต จะต้องยื่นขอแก้ไขโครงการเพื่อลดขนาดกิจการ โดยจะมีการปรับลดวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล

- กรณีไม่ใช่เครื่องจักร ไม่ต้องขอแก้ไขโครงการ

- จากนั้น ให้ยื่นขอส่งคืนเครื่องจักรไปต่างประเทศในระบบ eMT (หากเป็นเครื่องจักรที่นำเข้ามาในระบบเก่า และไม่มีข้อมูลใน Master List ในเลือกเมนู "ส่งคืนเครื่องจักร (นอกระบบ)" )

กรณีที่บริษัทได้รับการส่งเสริมจากสำนักงานฯ จำนวน 2 โครงการ 1. โครงการ A ผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ (resistors) และส่งออกไปขายต่างประเทศ 2. โครงการ B ผลิตแผ่นเซรามิกส์ (Ceramics substrate) ส่งออกไปจำหน่ายต่างประเทศ (บางส่วน) และจำหน่ายให้กับ โครงการ A เพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตสินค้า (บางส่วน) คำถาม 1. ในกรณีนี้ บริษัทฯ จะต้องดำเนินการอย่างไรบ้างคะ ในเรื่อง การโอนสิทธิตัดบัญชีวัตถุดิบ บริษัทฯ จะต้องแจ้ง หรือ ยื่นเรื่องฯ ให้สำนักงานฯ ทราบด้วยหรือไม่

โครงการ B ผลิต Ceramic Substrate เพื่อส่งออกโดยตรงบางส่วน และจำหน่ายให้โครงการ A บางส่วนโครงการ A นำ Ceramic Substrate จากโครงการ B ไปผลิตเป็น Resistor และส่งออก

ตอบคำถามตามนี้

1.เมื่อโครงการ A ส่งออกและตัดบัญชี จะต้องโอนสิทธิตัดบัญชีวัตถุดิบ (report-V) ให้กับโครงการ B จากนั้นโครงการ B นำ report-V ดังกล่าวไปใช้ตัดบัญชีต่อไป

2.กรณีโครงการ B จำหน่ายสินค้าให้โครงการ A (บริษัทเดียวกัน) หากสินค้าดังกล่าวเป็นผลิตภัณฑ์ตามที่ได้รับส่งเสริมของโครงการ B และเป็นวัตถุดิบตามกรรมวิธีการผลิตที่ได้รับส่งเสริมของโครงการ A ก็สามารถดำเนินการได้ตามปกติ โดยไม่ต้องแจ้งหรือขออนุญาตจาก BOI

ขออภัยครับ ไม่มีข้อมูลส่วนนี้ ในภาษาที่ท่านเลือก !

Sorry, There is no information support your selected language !

Download และ ติดตั้งโปรแกรมอ่าน PDF

Download PDF Reader

Site map