ถ้า B ไม่ได้ส่งออก A จะต้องยื่นขอชำระภาษีตามสภาพ ณ วันนำเข้า จากนั้นจึงนำหลักฐานการชำระภาษีมาตัดบัญชี (ปรับยอด) หรือถ้า A ทราบล่วงหน้าก่อนว่า B อาจไม่ส่งออกทั้งหมด
A ก็ควรนำเข้าโดยชำระภาษีตั้งแต่ตอนที่นำเข้า ตามปริมาณที่คาดว่า B จะซื้อไปผลิตจำหน่ายในประเทศ
หมายถึงการขอตัดบัญชีเครื่องจักรที่นำเข้าเกิน 5 ปี เพื่อปลอดภาระภาษีหรือเปล่า แต่ไม่ว่าจะหมายถึงเรื่องใด การยื่นเอกสารแต่ละครั้ง จะต้องแนบเอกสารหลักฐานตามที่กำหนดทุกครั้ง และต้องลงนามและประทับตรารับรองเอกสารด้วย
1. การกำกับดูแล และ/หรือการให้บริการบริษัทในเครือและในกลุ่ม ทั้งนี้ ให้รวมถึงการให้บริการจัดหา หรือให้เช่าอาคารสำนักงาน หรืออาคารโรงงานให้บริษัทในเครือและในกลุ่มด้วย
2. การให้คำปรึกษาและแนะนำในการประกอบธุรกิจ ยกเว้น ธุรกิจด้านการซื้อขายหลักทรัพย์ และด้านแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ สำหรับธุรกิจด้านบัญชีด้านกฎหมาย ด้านโฆษณา ด้านสถาปัตยกรรมและด้านวิศวกรรมโยธา ต้องได้รับใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า หรือส่วนราชการที่เกี่ยวข้องก่อนยื่นคำขอรับการส่งเสริม
3. การให้บริการข้อมูลข่าวสารด้านการจัดซื้อจัดหาสินค้า
4. การให้บริการทางวิศวกรรมและเทคนิคที่ไม่รวมถึงการให้บริการทางสถาปัตยกรรมและทางวิศวกรรมโยธา
5. กิจกรรมทางธุรกิจเกี่ยวกับเครื่องจักร เครื่องกล เครื่องมือ และอุปกรณ์ ได้แก่
- การนำเข้าเพื่อค้าส่ง
- การให้บริการฝึกอบรม
- การติดตั้ง บำรุงรักษา และซ่อมแซม
- การปรับ (Calibration)
6. การค้าส่งสินค้าที่ผลิตในประเทศ
7. การให้บริการรับจ้างบริหารระบบธุรกิจระหว่างประเทศ (International Business Process Outsourcing) โดยต้องให้บริการผ่านเครือข่ายโทรคมนาคมในด้านต่าง เช่น Administration Services, Finance & Accounting Services, Human Resource Services, Sales and Marketing Services, Customer Services, Data Processing เป็นต้น
เครื่องจักรที่นำเข้ามาครบ 5 ปี หากไม่ได้ปฏิบัติผิดเงื่อนไข ก็สามารถขอจำหน่ายในประเทศ โดยไม่มีภาระภาษี การตัดบัญชีเพื่อปลอดภาระภาษี ตามที่สอบถาม เป็นการตัดภาระภาษี แต่ยังคงต้องใช้เครื่องจักรในโครงการที่ได้รับส่งเสริมต่อไป การตัดบัญชีเพื่อปลอดภาระภาษี จะยื่นขอตัดก่อนหรือหลังเปิดดำเนินการก็ได้ แต่ในทางปฏิบัติ ถ้าจะตัด ก็ควรตัดให้ครบทั้งหมด (คือไม่ทยอยตัดทีละเครื่อง) ดังนั้น ตามระยะเวลา จึงควรเป็นการตัดหลังเปิดดำเนินการไปแล้ว
กิจการ IPO จะนำวัตถุดิบเข้ามาเพื่อขายในประเทศ หรือส่งออก (ทางตรง/ทางอ้อม) ก็ได้ แต่วัตถุดิบที่จะได้รับสิทธิยกเว้นอากรขาเข้าตามมาตรา 36 ต้องเป็นกรณีนำไปใช้เพื่อการส่งออก (ทางตรง/ทางอ้อม) เท่านั้น
การขยายเวลาเปิดดำเนินการเพียงอย่างเดียวของกิจการ ITC ให้เตรียมเอกสารดังนี้
1. แบบคำขอขยายเวลาปิดดำเนินการเพียงอย่างเดียว (F PM EX 06)
2. แผนการลงทุนเพื่อให้มีขนาดการลงทุนครบ 1 ล้านบาท (กรณีขยายเวลาเนื่องจากยังลงทุนไม่ครบ 1 ล้านบาท)
3. แผนการจำหน่าย/ชื่อสินค้า/ชื่อลูกค้า/ชื่อซัพพลายเออร์ ในลักษณะ IN-OUT, IN-IN, OUT-IN, OUT-OUT (กรณีมีการจำหน่ายในครบตามเงื่อนไข)
2. กรณีมีการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนของผู้ถือหุ้นไทย หรือผู้ถือหุ้นต่างชาติ ให้ดำเนินการดังนี้
2.1 กรณีเพิ่มสัดส่วนของผู้ถือหุ้นต่างชาติ
ให้ตรวจสอบเงื่อนไขเฉพาะโครงการในบัตรส่งเสริม ว่ามีการกำหนดเงื่อนไขอัตราส่วนหุ้นไทยไว้หรือไม่ กรณีที่มีการกำหนดเงื่อนไขหุ้นไทยไว้ในบัตรส่งเสริม หากบริษัทจะขอลดอัตราส่วนหุ้นไทยลงต่ำกว่าเงื่อนไขในบัตร จะต้องยื่นขออนุญาตต่อ BOI
2.2 กรณีไม่เพิ่มสัดส่วนของผู้ถือหุ้นต่างชาติ แต่มีการเปลี่ยนแปลงการถือหุ้นของคนต่างด้าวต่างสัญชาติ เช่น เปลี่ยนจากหุ้นญี่ปุ่น 100% เป็นหุ้นสิงคโปร์ 100% จะต้องรายงานให้ BOI ทราบ
การรายงานการเปลี่ยนแปลงอัตราส่วนการถือหุ้นระหว่างคนต่างด้าวต่างสัญชาติ ให้ยื่นเรื่องต่อกอง 1-5 ที่รับผิดชอบโครงการของบริษัทฯ โดยใช้เอกสารดังนี้
1.หนังสือบริษัทแจ้งการเปลี่ยนแปลงอัตราส่วนการถือหุ้นระหว่างคนต่างด้าวต่างสัญชาติ (ไม่มีแบบฟอร์ม ร่างขึ้นได้เอง)
2.สำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น
1.ช่างฝีมือ คือผู้ที่มีความรู้ความสามารถในวิชาชีพ ส่วนผู้ที่ไร้ฝีมือ ไม่เรียกว่า ช่าง แต่เรียกว่า แรงงานไร้ฝีมือ
2.วิศวกร เป็นช่างฝีมือ ตามมาตรา 25
3.-4.ไม่เข้าข่ายที่จะได้รับอนุมัติ เนื่องจากประสบการณ์ทำงานไม่ตรงกับหลักเกณฑ์ที่ BOI กำหนด หลักเกณฑ์การอนุมัติบรรจุช่างฝีมือ ตาม Link : http://www.faq108.co.th/boi/expert/employ.php
สิทธิประโยชน์การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 31 ให้เริ่มนับตั้งแต่วันที่เริ่มมีรายได้ตามโครงการที่ได้รับการส่งเสริม เช่น หากบริษัทได้รับส่งเสริมผลิตผลิตภัณฑ์ A ปีละ 1 ล้านชิ้น วันเริ่มมีรายได้ตามโครงการ ก็จะนับจากวันที่เริ่มจำหน่ายผลิตภัณฑ์ A เท่านั้น กรณีที่สอบถาม เป็นรายได้ที่ลูกค้ารับซื้อวัตถุดิบคืน ไม่ใช่รายได้ตามโครงการที่ได้รับส่งเสริม จึงจะใช้สิทธิยกเว้นภาษีไม่ได้ และจะไม่ทำให้วันที่เริ่มใช้สิทธิตามมาตรา 31 ของโครงการเปลี่ยนแปลงไป
สินค้าที่จะใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล คือ สินค้าที่ 1)ชื่อตรงกับสินค้าในบัตรส่งเสริม 2)ผลิตตามกรรมวิธีที่ได้รับส่งเสริม 3)ปริมาณไม่เกินกำลังผลิตในบัตรส่งเสริม ถ้าตรงตาม 3 ข้อนี้ครบถ้วน ก็สามารถใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ ไม่ว่าจะเป็นการขายในประเทศหรือส่งออก และไม่ว่าจะผลิตจากวัตถุดิบที่ยกเว้นภาษีหรือเสียภาษีเข้ามาก็ตาม
เอกสารที่ใช้ในการขอ username และ password ระบบช่างฝีมือ (e-Expert System) มีดังนี้
1. ข้อตกลงการขออนุญาตนำคนต่างด้าวเข้ามาในราชอาณาจักรตามมาตรา 25 และ 26
- กรรมการบริษัทฯ ลงนาม ประทับตรา
2. หนังสือมอบอำนาจขอรับ username และ password
- ใช้กระดาษหัวจดหมายบริษัทฯ
- ติดอากรแสตมป์ 10 บาท
- ผู้รับมอบอำนาจต้องเป็นพนังงานของบริษัทฯ เท่านั้น
3. สำเนาบัตรประชาชน ของผู้มอบอำนาจ และผู้รับมอบอำนาจ
- กรณีเป็นคนต่างชาติ ใช้สำเนาหนังสือเดินทาง
4. สำเนาบัตรพนักงานบริษัทฯ หรือหนังสือรับรองความเป็นพนักงานบริษัทฯ ของผู้รับมอบอำนาจ
- กรรมการบริษัท หรือ ฝ่ายบุคคลของบริษัทฯ ลงนามรับรอง
5. สำเนาหนังสือรับรองทะเบียนนิติบุคคล
- ไม่เกิน 6 เดือน
การรายงานผลประกอบการทุกรอบปี เป็นเงื่อนไขที่กำหนดในบัตรส่งเสริม ผู้ได้รับส่งเสริมจึงมีหน้าที่ปฏิบัติให้ถูกต้อง หากไม่รายงานผลประกอบการตามเงื่อนไขที่กำหนด BOI อาจต่ออายุวีซ่าของผู้บริหารและช่างฝีมือต่างชาติให้เพียงครั้งละ 6 เดือน เพื่อให้ผู้บริหารรับทราบปัญหา และดำเนินการปฏิบัติตามเงื่อนไขในบัตรส่งเสริมให้ถูกต้อง
กรณีได้รับอนุญาตให้ใช้เครื่องจักรเก่าไม่เกิน 10 ปี ก็จะต้องใช้เครื่องจักรเก่าที่ไม่เกิน 10 ปีเท่านั้น จะเกินกว่า 10 ปีไม่ได้ แต่หากบริษัทต้องการใช้เครื่องจักรเก่าเกิน 10 ปี จะต้องยื่นเรื่องขอแก้ไขโครงการ เพื่อขอใช้เครื่องจักรเก่าเกิน 10 ปี ซึ่งหากได้รับอนุมัติ BOI จะระบุชื่อเครื่องจักรเก่าเกิน 10 ปี ที่จะให้ใช้ในโครงการ พร้อมกับระบุเงื่อนไขของเครื่องจักรที่เกิน 10 ปีนี้ด้วย (เช่น จะไม่ให้ได้รับยกเว้นอากรขาเข้า และต้องมีใบรับรองประสิทธิภาพ)
ใบขนสินค้าขาออก 1 ฉบับ สามารถตัดบัญชี 2 โครงการได้ โดยต้องยื่นไฟล์ birtexl และ birtexp แยกตามแต่ละโครงการ เมื่อนำไฟล์ตัดบัญชีไปยื่นที่ IC ระบบจะประมวลผลโครงการแรกผ่าน แต่โครงการที่สองจะแจ้งติดปัญหา เนื่องจากเลขที่ใบขนซ้ำ ซึ่ง พนง IC จะเป็นผู้ปลดล็อคเพื่อให้ดำเนินการต่อได้
การตัดบัญชีเครื่องจักรมีหลายกรณี เช่น ขอจำหน่าย ขอส่งออก ขอทำลาย หรือตัดบัญชีเพื่อปลอดภาระภาษี ซึ่งถ้าแบ่งกว้างๆ จะแบ่งได้เป็น
1. การตัดบัญชี เนื่องจากไม่ต้องการใช้เครื่องจักรนั้นในโครงการอีกต่อไป
- หากส่งออกต่างประเทศ ไม่มีภาระภาษี
- หากจำหน่ายในประเทศ ต้องเสียภาษีตามสภาพ แต่หากนำเข้าเกิน 5 ปี ก็ไม่มีภาระภาษีที่ต้องเสีย
- หากทำลาย ไม่มีภาระภาษี
- หากบริจาค ไม่มีภาระภาษี
การดำเนินการทุกอย่าง ต้องได้รับอนุญาตจาก BOI ก่อน และหากเครื่องจักรดังกล่าวเป็นเครื่องจักรหลัก ที่ทำให้กำลังผลิตของโครงการลดลงเกินกว่า 20% หรือทำให้ขั้นตอนการผลิตขาดหายไป ก็จะต้องขอแก้ไขโครงการควบคู่กันไปด้วย
2. การตัดบัญชีที่ต้องการปลดภาระภาษี แต่ยังจะใช้เครื่องจักรในโครงการต่อไป
- ต้องเป็นกรณีที่ปฏิบัติเงื่อนไขอย่างถูกต้อง และนำเข้าเครื่องจักรดังกล่าวเข้ามาครบ 5 ปีแล้วเท่านั้น
- จะตัดบัญชีเพื่อปลดภาระภาษีให้ แต่ยังต้องใช้เครื่องจักรนั้นในโครงการต่อไป
การตัดบัญชีเครื่องจักรแต่ละกรณีตามตัวอย่างข้างต้น มีหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีปฏิบัติแตกต่างกัน จึงต้องสอบถามเป็นเรื่องๆไป เมื่อบริษัทดำเนินการส่งออก / จำหน่าย / ทำลาย / บริจาค / ชำระภาษี หรือตัดภาระภาษี ตามที่ได้รับอนุญาตแล้ว ก็ถือเป็นอันเสร็จสิ้นขั้นตอน แต่ BOI จะไม่หักลบยอดจากบัญชีเครื่องจักร ดังนั้น บริษัทจึงต้องเก็บหลักฐานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดไว้ด้วย