โครงการที่ได้รับส่งเสริม จะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขตามที่กำหนดไว้ในบัตรส่งเสริม ซึ่งครอบคลุมทั้งชนิดผลิตภัณฑ์ กำลังผลิต กรรมวิธีผลิต ที่ตั้งโรงงงาน ฯลฯ
กรณีนี้ แม้ว่าบริษัทจะได้รับอนุญาตเปิดดำเนินการครบตามโครงการแล้ว แต่ก็ยังคงมีหน้าที่ปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าวข้างต้นตลอดระยะเวลาที่มีสถานะเป็นผู้ได้รับส่งเสริม
ดังนั้น เมื่อจะมีการจำหน่ายเครื่องจักรหลัก และทำให้กำลังผลิตลดลงเกินกว่า 20% ของกำลังผลิตตามบัตรส่งเสริม ก็ต้องขอแก้ไขโครงการเพื่อลดขนาดกิจการ จากนั้นจึงจะจำหน่ายเครื่องจักรออกไปได้
สรุปคือ
1. ต้องขอแก้ไขโครงการเพื่อลดขนาดกิจการ
2. แต่ไม่ต้องขออนุญาตจำหน่ายเครื่องจักร เนื่องจากไม่ได้นำเข้าโดยใช้สิทธิยกเว้นภาษีอากรขาเข้า
3. เครื่องจักรที่นำเข้าโดยไม่ได้ใช้สิทธิยกเว้นภาษีจาก BOI นี้ สามารถจำหน่ายในประเทศหรือส่งออกก็ได้ โดยไม่มีภาระภาษีอากร
หากเครื่องจักรนำเข้ามาเกิน 5 ปี และได้ตัดบัญชีเพื่อปลอดภาระภาษีแล้ว จะสามารถขอจำหน่ายในประเทศก็ได้ โดยจะได้รับอนุญาตให้จำหน่ายโดยไม่มีภาระภาษี ขั้นตอนคือให้ยื่นแบบคำขออนุญาตจำหน่าย/โอน/บริจาคเครื่องจักร และใบรายการเอกสาร (checklist) และเมื่อได้รับอนุญาตแล้ว จึงจะจำหน่ายเครื่องจักรดังกล่าวได้ ทั้งนี้ เครื่องจักรที่จำหน่ายในประเทศไปแล้ว จะไม่สามารถนำมาใช้ในโครงการใด ๆ ภายใต้บีโอไอได้อีก
กรณีนำเข้าวัตถุดิบโดยใช้สิทธิมาตรา 36 แต่วัตถุดิบนั้นไม่ได้คุณภาพ ถือเป็นส่วนสูญเสียตามประกาศ ป.5/2543 สามารถทำได้ 2 วิธี คือ
ขอส่งคืนวัตถุดิบไปต่างประเทศ
- ขออนุญาตจาก BOI ก่อน
- เมื่อได้รับอนุญาตแล้วจึงส่งออก
- นำหลักฐานส่งออกมายื่นตัดบัญชี (ปรับยอด) ที่สมาคม IC
ขอทำลาย
- ขออนุมัติวิธีการทำลายต่อ BOI
- เมื่อได้รับอนุมัติ ติดต่อบริษัท inspector ที่ได้รับอนุญาตจาก BOI ให้มาตรวจสอบการทำลาย ชนิดและปริมาณของส่วนสูญเสียก่อนและหลังการทำลาย
- นำหลักฐานการรับรองจาก inspector มายื่นขอตัดบัญชีจาก BOI
- หากส่วนสูญเสียหลังทำลายมีมูลค่าเชิงพาณิชย์ เช่น เศษโลหะ เศษพลาสติก BOI จะมีหนังสือแจ้งให้ไปเสียภาษีตามสภาพเศษซาก
- นำหนังสืออนุมัติจาก BOI และใบเสร็จรับเงินค่าภาษีอากรจากกรมศุลกากร (กรณีมีภาระภาษีตามสภาพเศษซาก) มายื่นขอตัดบัญชี (ปรับยอด) ที่สมาคม IC
- เศษซากหลังทำลายต้องดำเนินการกำจัดตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ครับ
ท่านสามารถกรอกข้อมูลการผลิตไฟฟ้า โดยคำนวณจากกำลังการผลิตไฟฟ้าสูงสุดของแผงโซลาร์เซลล์ ตัวอย่างเช่น
ปริมาณไฟฟ้าที่ผลิตได้ หลังจากติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์
ข้อมูล |
การผลิตไฟฟ้า |
ขนาดแผงเซลล์แสงอาทิตย์ 380 วัตต์/แผง/ชั่วโมง (A) |
การผลิตไฟฟ้ารวมต่อชั่วโมง (A) X B) = (ก) 212.80 กิโลวัตต์/ชั่วโมง |
จำนวนแผงเซลล์แสงอาทิตย์ที่ติดตั้ง 560 แผง (B) |
|
จำนวนเวลาที่ผลิตไฟฟ้าได้ต่อวัน 3.60 ชั่วโมง (C) |
ปริมาณผลิตไฟฟ้าต่อปี (ก) X (C) X (D) = (ข) 279,619.20 kWh/ปี |
จำนวนวันทำงานต่อปี ตามโครงการที่ดำเนินการอยู่เดิมที่ยื่นขอรับการส่งเสริม 365 วัน (D) |
มูลค่าไฟฟ้าที่ผลิตได้ หลังจากติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์
ข้อมูล |
การผลิตไฟฟ้า |
ปริมาณผลิตไฟฟ้าต่อปี (ข) 279,619.20 kWh/ปี |
มูลค่าไฟฟ้าต่อปี (ข) X (ค) = (ง) 1,126,865.37 บาท/ปี |
ค่าไฟฟ้า (ค) 4.03 บาท/kWh |
งานเปิดดำเนินการ กำหนดเวลาทำงานไว้ไม่เกิน 45 วันทำการ (คือ 2 เดือนเศษ) แต่ในทางปฏิบัติ ส่วนใหญ่จะใช้เวลานานกว่านั้น เช่น 3 เดือน หรือ 5-6 เดือนก็มี เนื่องจากต้องตรวจสอบเอกสารมาก ทั้งรายการเครื่องจักร สภาพเก่าใหม่ การคำนวณกำลังผลิต ขั้นตอนการผลิต และการตรวจวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล เป็นต้น หากยื่นเรื่องขอเปิดไปแล้ว แม้ว่าการพิจารณาอนุมัติเปิดดำเนินการจะล่าช้าไปบ้าง แต่บริษัทก็ยังสามารถใช้สิทธิประโยชน์ต่างๆได้ งานเปิดดำเนินการเป็นงานที่ต้องใช้เวลา ดังนั้น หากเจ้าหน้าที่คนนั้นต้องดูแลงานหลายอย่าง เช่น เครื่องจักร วัตถุดิบ ฯ เจ้าหน้าที่มักจะให้เวลากับงานเครื่องจักร และวัตถุดิบ ซึ่งเป็นงานเร่งด่วนมากกว่างานเปิดดำเนินการ
การขออนุมัติตำแหน่งช่างฝีมือ กำหนดระยะเวลาพิจารณา 3 วันทำการ ซึ่งสามารถตรวจสอบได้จากระบบฯ ว่า วันครบกำหนดคือวันใด แต่หาก BOI พิจารณาแล้วข้อมูลไม่ครบถ้วนหรือไม่ถูกต้อง จะคืนคำร้อง ซึ่งบริษัทจะต้องแก้ไขและยื่นใหม่ และจะนับเวลาพิจารณาใหม่
คำถามน่าจะให้ข้อมูลในครบ (กรรมวิธีผลิตมีเพียง 3 ขั้นตอน แต่จะรับจ้างผลิตขั้นตอนที่ 1,4,5) จึงขอตอบเท่าที่ได้รับข้อมูลคือ
1. กรณีที่สอบถาม เป็นการรับจ้างผลิต
2. การรับจ้างผลิตสินค้าชนิดเดียวกับที่ได้รับส่งเสริม โดยมีขั้นตอนการผลิตครบถ้วนตามที่ได้รับส่งเสริม สามารถใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ และผู้ว่าจ้างไม่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย 3% โดยผู้ได้รับการส่งเสริมจะต้องส่งสำเนาบัตรส่งเสริมให้ผู้ว่าจ้างเพื่อเป็นหลักฐาน
3. นิติบุคคลต่างชาติที่ประกอบธุรกิจรับจ้างผลิตจะต้องได้รับหนังสือรับรองการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว จากสำนักบริหารการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ด้วย
เนื่องจากกรรมวิธีผลิตที่ได้รับอนุมัติ เปิดกว้างว่าขั้นตอนที่ 2 และ 3 จะมีการผลิตหรือไม่ก็ได้ ดังนั้น การผลิตเฉพาะขั้นตอนที่ 1,4,5 จึงถือว่าครบขั้นตอนการผลิต การรับจ้างผลิตตามขั้นตอนที่ 1,4,5 จึงครบขั้นตอนที่ได้รับส่งเสริม ไม่ต้องขอแก้ไขบัตร ให้ขออนุญาตจากกรมพัฒนาธุรกิจ เพื่อขอรับจ้างผลิตสินค้าตามที่ได้รับการส่งเสริมก็พอ
เนื่องจากปัจจุบันระบบ e-expert ไม่มียื่นขอขยายตำแหน่งเพียงอย่างเดียวแล้ว บริษัทจึงควรยื่นยกเลิกตำแหน่งเดิมในระบบก่อน จากนั้นให้ยื่นขอตำแหน่งเข้าไปใหม่ เมื่อได้รับอนุมัติตำแหน่งแล้ว ให้ยื่นขอบรรจุในวันที่ชาวต่างชาติเดินทางมาถึง (12 ก.ค.) โดย BOI จะใช้เวลาพิจารณา 2-3 วันทำการ
การคำนวณกำลังการผลิตตามแบบฟอร์มขอเปิดดำเนินการ ข้อ 3 หน้า 3 ให้คำนวณจากเวลาตามบัตรส่งเสริม คือ 16 ชม./วัน 290 วัน/ปี และในข้อ 4 หน้า 3 ให้ติ๊กช่องขอเพิ่มกำลังผลิตโดยการเพิ่มเวลาทำงาน และให้ใส่กำลังผลิตและเวลาผลิต ที่คำนวณจาก 22 ชม./วัน 290 วัน/ปี
1. หากจะพัฒนาซอฟต์แวร์ตัวใหม่ แต่ยังอยู่ในขอบเขตกิจการประเภท 5.7.2 ก็สามารถดำเนินการได้ โดยไม่ต้องขอแก้ไขเงื่อนไขใดๆ เช่น ตามโครงการเดิมเสนอว่าจะทำ Web-Based Application ด้าน Inventory Control แต่ต่อมาจะพัฒนางาน Animation เพิ่มขึ้นด้วย ก็สามารถดำเนินการได้เลย
2. แต่หากจะพัฒนาที่เกินกรอบของ 5.7.2 เช่นจะทำการพัฒนา Embedded Software ก็ต้องยื่นขอแก้ไขโครงการเพื่อเพิ่มขอบข่ายกิจการ 5.7.1 Embedded Software ด้วย โดยยื่นคำขอแก้ไขโครงการตามแบบคำขออนุญาตแก้ไขโครงการ (F PA PC 01)
รายได้ที่ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล จะต้องเป็นรายได้ของกิจการที่ดำเนินการอยู่เดิม และเป็นรายได้ที่เกิดขึ้นภายหลังได้รับบัตรส่งเสริม ทั้งนี้ ระยะเวลายกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลนั้น ให้เริ่มนับถัดจากวันที่ออกบัตรส่งเสริม
การนำเข้าแม่พิมพ์เข้ามาจากต่างประเทศเพื่อใช้ในการผลิต และต่อมาจะจำหน่ายแม่พิมพ์นั้นไปยังโรงงานของลูกค้าใน Free Zone สามารถทำได้โดยไม่มีภาระภาษี แม้จะนำแม่พิมพ์เข้ามาไม่ถึง 5 ปีก็ตาม เนื่องจากถือเสมือนเป็นการส่งคืนแม่พิมพ์ออกไปต่างประเทศ แต่ทั้งนี้ จะต้องมีการส่งแม่พิมพ์เข้าไปยัง Free Zone จริงๆ หลังจากนั้น หากบริษัทจะนำแม่พิมพ์จาก Free Zone กลับออกมาเพื่อผลิตสินค้าให้ลูกค้าอีก ก็สามารถขอใช้สิทธิยกเว้นภาษีอากรได้อีก แต่ครั้งนี้ในทางบัญชีจะถือว่าแม่พิมพ์ดังกล่าวเป็นทรัพย์สินของลูกค้า ที่ส่งมาให้บริษัทใช้ผลิตชิ้นส่วนให้กับลูกค้า ซึ่งเมื่อใช้งานเสร็จ ก็ต้องส่งคืนกลับไปให้ลูกค้า