Chat
x
toggle menu
toggle menu

Select Groups

All Group
  • All Group
  • นโยบายเเละมาตรการพิเศษในการส่งเสริม
  • การขอรับการส่งเสริมการลงทุน
  • การออกบัตรส่งเสริม
  • การเปิดดำเนินการ
  • การเเก้ไขโครงการ
  • การดำเนินการอื่น ๆ
  • การรายงานความคืบหน้าโครงการ (e-Monitoring)
  • การปฏิบัติหลังการได้รับการส่งเสริม
  • การยกเลิกบัตรส่งเสริม
  • เรื่องทั่วไป
  • การใช้สิทธิด้านที่ดิน
  • การใช้สิทธิด้านเครื่องจักร
  • การใช้สิทธิด้านช่างฝีมือ/ต่างด้าว
  • การใช้สิทธิด้านวัตถุดิบ
  • ประเภทกิจการ - การแพทย์
  • การใช้สิทธิด้านภาษีเงินได้นิติบุคคล
  • ประเภทกิจการ - รถยนต์ไฟฟ้า
  • ประเภทกิจการ - ศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศ (IBC) IPO และ TISO
  • ประเภทกิจการ - โรงแรม
  • ประเภทกิจการ - ผลิตผลิตภัณฑ์โลหะรวมทั้งชิ้นส่วนโลหะ
  • ประเภทกิจการ - กิจการผลิตเครื่่องจักร อุุปกรณ์และชิ้นส่วน
  • ประเภทกิจการ - กิจการศูนย์กระจายสินค้าระหว่า ประเทศด้วยระบบที่่ทันสมัย (IDC)
การทำสัญญาเช่าอาคารโรงงานและสำนักงานที่มีอายุสัญญามากกว่า 3 ปี จะสามารถนำมารวมเป็นวงเงินลงทุนเพื่อยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล หากบริษัททำสัญญาเช่านานกว่านั้น เช่น 5 ปี จะคำนวณวงเงินลงทุนเพื่อยกเว้นภาษีเงินได้อย่างไร

จะคำนวณวงเงินลงทุนให้ตามอายุสัญญา แต่ไม่เกินระยะเวลาที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล เช่น บริษัททำสัญญาเช่า 5 ปี ค่าเช่าปีละ 1,000,000 บาท รวม 5,000,000 บาท จะคำนวณวงเงินลงทุนที่จะยกเว้นภาษีเงินได้ให้ดังนี้

กรณีที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ 3 ปี

- จะคำนวณวงเงินลงทุนให้ 3 ปี ตามระยะเวลาที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ คือ 3,000,000 บาท

กรณีที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ 5 ปี

- จะคำนวณวงเงินลงทุนให้ 5 ปี ตามระยะเวลาที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้และสัญญาเช่า คือ 5,000,000 บาท

กรณีที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ 7 ปี

- จะคำนวณวงเงินลงทุนให้ 5 ปี ตามระยะเวลาของสัญญาเช่า คือ 5,000,000 บาท

กรณีบริษัทขาดทุนยังไม่ได้ใช้สิทธิ์ยกเว้นภาษีเงินได้ ภายในเวลาที่กำหนดในบัตร 7ปี นับจากวันที่เริ่มมีรายได้ครั้งแรก (2 ก.พ. 2009-2016) ตามมาตรา 31 นับไปอีก 5ปี (2016-2021) คือบริษัทจะสามารถได้รับการยกเว้นอีก 50% จากการที่ต้องเสียภาษีให้กรรมสรรพากร 23% คือ11.5% ถูกต้องหรือไม่

ไม่ถูก หากในช่วงระยะเวลาการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 31 มีผลขาดทุน บริษัทสามารถนำผลขาดทุนประจำปีที่เกิดขึ้นในช่วงที่ได้รับสิทธิ ม.31 ไปหักจากกำไรสุทธิที่เกิดขึ้นหลังจากสิ้นสุดสิทธิ ม.31 ไปแล้วเป็นเวลาไม่เกิน 5 ปี

สมมุติว่าบริษัทได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ 7 ปี โดยมีผลประกอบการดังนี้

ปีที่ 1 ปีที่2 ปีที่ 3 ปีที่ 4 ปีที่ 5 ปีที่ 6 ปีที่ 7 ปีที่ 8 ปีที่ 9 ปีที่10 ปีที่11 ปีที่12 กำไร(ขาดทุน) (-10) (-5) (-5) 0 5 5 5 5 10 10 10 10 กรณีข้างต้นนี้ ผลขาดทุนของปีที่ 1-3 จะสามารถนำไปหักจากกำไรสุทธิในปีที่ 8-12 ได้ ส่วนกำไรของปีที่ 4-7 จะได้รับยกเว้นภาษี จึงเป็นดังนี้

ปีที่ 1 ผลขาดทุน 10 ล้าน ยกไปหักจากกำไรของปีที่ 8 ได้ 5 ล้าน และปีที่ 9 ได้ 5 ล้าน

ปีที่ 2 ผลขาดทุน 5 ล้าน ยกไปหักจากกำไรของปีที่ 9 ได้ 5 ล้าน

ปีที่ 3 ผลขาดทุน 5 ล้าน ยกไปหักจากกำไรของปีที่ 10 ได้ 5 ล้าน

ปีที่ 4 กำไรเป็น 0 ไม่ต้องเสียภาษี

ปีที่ 5 - ปีที่ 7 กำไรปีละ 5 ล้าน ใช้สิทธิยกเว้นภาษี

ปีที่ 8 กำไร 5 ล้าน ยกผลขาดทุนของปีที่ 1 มาหักได้ทั้งหมด จึงไม่มีกำไรสุทธิที่ต้องเสียภาษี

ปีที่ 9 กำไร 10 ล้าน ยกผลขาดทุนจากปีที่ 1 ที่ยังหักไม่หมด มาหักได้ 5 ล้าน และยกผลขาดทุนของปีที่ 2

มาหักได้ 5 ล้าน จึงไม่มีกำไรสุทธิที่ต้องเสียภาษี

ปีที่ 10 กำไร 10 ล้าน ยกผลขาดทุนของปีที่ 3 มาหักได้ 5 ล้าน จึงมีกำไรสุทธิ 5 ล้าน ที่ต้องเสียภาษี

ปีที่ 11-12 กำไรสุทธิปีละ 10 ล้าน ต้องชำระภาษี

ในการยื่นขอ Work Permit (ครั้งแรก) ในฟอร์ม ข้อ 3 ข้อมูลการอนุญาตทำงาน ข้อ 3.1 ประเภทงานที่ได้รับอนุญาต คืออะไร ช่างตำแหน่ง engineer

จากการสอบถามผู้ที่มีประสบการณ์มา เขาบอกว่า ข้อ 3.1 ประเภทงาน ไม่ต้องกรอกไปก็ได้ เรื่องการกรอกฟอร์มใบอนุญาตทำงาน ไม่ใช่งานที่ยื่นกับ BOI รายละเอียดไม่ทราบ

1) กำหนดการที่จะต้องรายงานผลการดำเนินงานตามโครงการ (ตส.310) จะต้องยื่นเรื่องได้ไม่เกินเมื่อไหร่ 2) การแจ้งยืนยันการดำเนินการตามโครงการ จะต้องแจ้งยืนยันทุกๆ 6 เดือน 1ปี และ 2 ปี นับตั้งแต่วันที่ออกบัตรส่งเสริม ยกตัวอย่าง : ในกรณีที่ได้รับการออกบัตรส่งเสริมลงวันที่ 12 ตุลาคม 2555 ก้อจะต้องแจ้งยืนยันการดำเนินการตามโครงการ เดือนที่6 => เดือนเมษายน 2556 ปีที่1 => เดือนตุลาคม 2556 ปีที่2 => เดือนตุลาคม 2557 ถูกต้องหรือไม่ 3) การแจ้งยืนยันการดำเนินการตามโครงการ และการรายงานผลการดำเนินงานตามโครงการ (ตส.310) เป็นเรื่องเดียวกันหรือคนละเรื่อง

การแจ้งยืนยันการดำเนินการตามโครงการ และการรายงานผลการดำเนินงาน (ตส.310) เป็นคนละกรณีกัน คือ

1) การแจ้งยืนยันการดำเนินการตามโครงการ จะยื่นเพียง 3 ครั้งเท่านั้น คือ เมื่อครบ 6 เดือน 12 เดือน และ 24 เดือน นับจากวันที่ออกบัตรเงื่อนไขนี้ กำหนดอยู่ในบัตรส่งเสริม หมวดเงื่อนไขทั่วไป ข้อ 7 การนับวันเวลาตามตัวอย่างที่สอบถามถูกต้องแล้ว

2) การรายงานฐานะการเงินและผลการดำเนินงาน จะยื่นทุกรอบปีหลังจากที่ได้รับอนุญาตเปิดดำเนินการแล้ว โดยต้องยื่นภายในวันที่ 31 กรกฎาคม ของปีถัดไป เงื่อนไขนี้ กำหนดอยู่ในบัตรส่งเสริม หมวดเงื่อนไขทั่วไป ข้อ 8.2

สรุปคือ ถ้าโครงการยังไม่ได้รับอนุญาตเปิดดำเนินการครบตามโครงการ ก็ยื่นเฉพาะแบบยืนยันการดำเนินการ แต่ถ้าได้รับอนุญาตเปิดดำเนินการแล้ว ก็ยื่นรายงานฐานะการเงินและผลการดำเนินการทุกปี ไปจนกว่าจะยกเลิกบัตรส่งเสริมนั้น

กรณีนี้สามารถขายเครื่องจักร หลังยื่นแก้ไขโครงการได้เลยหรือต้องรอให้ BOI อนุมัติก่อนถึงขายได้

การยื่นขออนุญาตจำหน่ายเครื่องจักรหลักเกินกว่า 20% ต้องยื่นขอแก้ไขโครงการก่อน จึงจะยื่นขออนุญาตจำหน่ายเครื่องจักรได้ ถ้ายื่นเรื่องตามขั้นตอนนี้แล้ว ปรากฏว่า การขออนุญาตจำหน่ายเครื่องจักรได้รับอนุมัติก่อน ก็จำหน่ายเครื่องจักรนั้นได้ โดยไม่ต้องรอผลอนุมัติแก้ไขโครงการ

มีประกาศอะไรที่อ้างถึงไหม

1. ไม่มีประกาศเรื่องให้ใช้เครื่องจักรใหม่ในประเทศได้ เนื่องจากไม่มีข้อห้ามใดๆ ที่ทำให้ต้องออกเป็นประกาศ

2. การนับมูลค่าเครื่องจักรเป็นมูลค่าการลงทุนเพื่อคำนวณวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล กำหนดตาม ประกาศ สกท ที่ ป.12/2544

บริษัทฯ ได้รับการส่งเสริมการลงทุน ในกิจการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ประเภท 7.1.1.2 กิจการผลิตพลังงานไฟฟ้า หรือ พลังงานไฟฟ้าและไอน้ำจากพลังงานหมุนเวียน ยกเว้นขยะ หรือเชื้อเพลิงจากขยะ บริษัทฯ สามารถโอน - ขายกิจการหรือเปลี่ยนผู้ถือหุ้นได้หรือไม่ ถ้าหากได้บริษัทฯ จะเสียสิทธิและประโยชน์เงื่อนไขต่างๆ ของ BOI หรือไม่ และถ้าหากได้บริษัทฯ ต้องดำเนินการอย่างไรบ้าง (2 ก.ค. 2563)

ตามมาตรา 56 ของ พรบ. ส่งเสริมการลงทุน ในกรณีที่ผู้ได้รับการส่งเสริมเลิกกิจการ รวมกิจการกับผู้อื่น หรือโอนกิจการให้แก่ผู้อื่น ให้บัตรส่งเสริมนั้นใช้ได้ต่อไปอีกไม่เกิน 3 เดือนนับแต่วันเลิก รวม หรือโอนกิจการ

ในกรณีที่ผู้ซึ่งดำเนินกิจการที่รวมกันขึ้นใหม่หรือรับโอนกิจการ ประสงค์จะขอรับช่วงดำเนินการที่ได้รับการส่งเสริมตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในบัตรส่งเสริมต่อไป ให้ยื่นคำขอรับการส่งเสริมภายในเวลาที่กำหนดไว้ในวรรคหนึ่ง ถ้าคณะกรรมการพิจารณาเห็นสมควรให้การส่งเสริม ให้ออกบัตรส่งเสริมโดยให้ได้รับสิทธิและประโยชน์ตามพระราชบัญญัตินี้เพียงเท่าที่ผู้ได้รับการส่งเสริมเดิมยังเหลืออยู่ ถ้าคณะกรรมการเห็นว่าไม่สมควรให้การส่งเสริม ให้สั่งเพิกถอนสิทธิและประโยชน์ทั้งหมด

ตอบคำถามดังนี้

1. สามารถโอนกิจการให้กับผู้อื่นได้ แต่บัตรส่งเสริมจะสิ้นสุดลงใน 3 เดือนนับจากวันโอนกิจการ หากผู้รับโอนกิจการ ประสงค์จะดำเนินการตามเงื่อนไขที่กำหนดในบัตรส่งเสริมต่อไป สามารถยื่นคำขอรับส่งเสริมภายใน 3 เดือนนับจากวันโอนกิจการ โดยจะได้รับสิทธิประโยชน์เท่าที่เหลืออยู่ของโครงการนั้น

2. การเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้น ไม่ถือเป็นการโอนกิจการ แต่ยังคงเป็นการดำเนินการโดยนิติบุคคลเดิม

- หากอัตราส่วนการถือหุ้นไทยไม่ขัดกับเงื่อนไขในบัตรส่งเสริม ไม่ต้องยื่นเรื่องแก้ไขใดๆ ต่อ BOI

- หากอัตราส่วนการถือหุ้นไทยต่ำกว่าเงื่อนไขในบัตรส่งเสริม ต้องยื่นคำร้องขอแก้ไขอัตราส่วนหุ้นไทย

บุคคลที่ยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุน จำเป็นต้องเป็นหนึ่งในผู้ถือหุ้นของบริษัทหรือไม่

เพื่ออำนวยความสะดวกและเพิ่มความรวดเร็วในการดำเนินการยื่นขอรับการส่งเสริม ผู้ยื่นคำขอไม่ต้องเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทที่จะจัดตั้งขึ้นใหม่ อย่างไรก็ตาม เพื่อความเหมาะสม ผู้ยื่นคำขอควรมีสถานะเป็นผู้ถือหุ้นหรือกรรมการของบริษัทที่จะจัดตั้งขึ้นในอนาคต

การแก้ไขแบบนี้เป็นโทษไม่เป็นคุณ หมายความว่าอย่างไร

หมายความว่า โครงการเดิมมีขั้นตอนการว่าจ้างอยู่แล้ว หากจะตัดทิ้งไป โดยเปลี่ยนเป็นการซื้ออย่างเดียว อาจทำให้เกิดการขาดตอนระหว่างที่ขออนุมัติ เนื่องจาก ITC สามารถมีขั้นตอนว่าจ้างได้ กรณีนี้จึงน่าจะขอเปลี่ยนประเภทกิจการจาก IPO เป็น ITC และแก้ไขลักษณะการดำเนินธุรกิจคือ บางส่วนเป็นการว่าจ้างตามที่อนุมัติอยู่เดิม และบางส่วนซื้อจากซัพพลายเออร์ น่าจะทำให้คล่องตัวกว่า และไม่เกิดช่วงรอยต่อระหว่างที่ขออนุมัติ

กรณีต้องการจำหน่ายเครื่องจักรที่ใช้สิทธิในประเทศก่อนครบ 5 ปี และบริษัทได้ทำเรื่องขออนุมัติ BOI ก่อน ในการชำระภาษี บริษัทจะมีภาระเบี้ยปรับหรือไม่ รบกวนส่งตัวอย่างการคำนวณภาษีคืนให้หน่อย

กรณีนำเครื่องจักรเข้ามาโดยใช้สิทธิยกเว้นภาษีอากร หากใช้ปฏิบัติถูกต้องตามเงื่อนไข สามารถขออนุญาตจำหน่ายเครื่องจักรในประเทศก่อนครบ 5 ปีได้ โดยจะต้องชำระภาษีตามสภาพ เช่น ถ้าใช้เครื่องจักรไป 3 ปี อายุของเครื่องจักรก็จะเหลืออีก 2 ปี (BOI กำหนดอายุของเครื่องจักรเป็นเวลา 5 ปี) ดังนั้น ภาษีอากรที่ต้องชำระ จะคำนวณจากมูลค่าเครื่องจักรหลังหักค่าเสื่อม (กรณีตามตัวอย่างนี้คือ 40%) x พิกัดภาษี ณ ปัจจุบัน โดยไม่ต้องชำระเบี้ยปรับ เพราะไม่ได้ทำผิดเงื่อนไข BOI

วิธีการคำนวณภาษีอากร ให้ปรึกษากับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คือ กรมศุลกากร โดยตรง

ในกรณีบริษัทที่ได้รับส่งเสริมในกิจการ ITC ต้องการยื่นขอรับการส่งเสริมในกิจการ IPO จำเป็นต้องยกเลิกบัตรส่งเสริมของกิจการ ITC ก่อนหรือไม่
เนื่องจากกิจการ ITC และ กิจการ IPO เป็นการให้บริการในลักษณะเดียวกัน ซึ่ง IPO เป็นส่วนหนึ่งของ ITC หากบริษัทมีบัตร ITC อยู่แล้ว จะสามารถครอบคลุมทุกกิจกรรมของ IPO และสามารถประกอบธุรกิจทุกอย่างที่ IPO ทำได้ ภายใต้บัตร ITC โดยไม่เงื่อนไขเฉพาะที่กำหนดเหมือน IPO ดังนั้น บริษัทไม่จำเป็นต้องยกเลิกบัตร ITC เพื่อขอบัตรใหม่ IPO เพราะ ITC มีเงื่อนไขที่มีความยืดหยุ่นมากกว่า หากมีบัตร ITC อยู่แล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องขอบัตร IPO อีกบัตร เนื่องจากเป็นการบริการที่เหมือนกัน
บริษัทที่ได้รับบัตรส่งเสริมในกิจการ IPO เดิม ซึ่ง BOI ยกเลิกการให้ส่งเสริมไปเมื่อปี 2557 จะสามารถขอแก้ไขเป็นบัตรส่งเสริมภายใต้กิจการ IPO ใหม่ได้หรือไม่
ไม่จำเป็นต้องขอใหม่ เนื่องจากเป็นการให้บริการลักษณะที่เหมือนกัน และเงื่อนไขและสิทธิและประโยชน์ต่าง ๆ ไม่ได้แตกต่างกัน
ในกรณีที่บริษัทจะทำการจำหน่ายแม่พิมพ์ (ก่อนครบ 5 ปี) ที่นำเข้าโดยใช้สิทธิ์ BOI การคำนวณภาษีก็จะเป็นแบบเดียวกันกับที่ทาง Admin แจ้งไว้ข้างต้นถูกต้องหรือไม่ และในกรณีที่ต้องการจำหน่ายแม่พิมพ์ที่นำเข้ามาโดยใช้สิทธิ์ BOI ที่เกินกว่า5ปี นับตั้งแต่วันนำเข้านั้น ไม่ต้องทำการชำระภาษีถูกต้องหรือไม่

1. การจำหน่ายแม่พิมพ์ก่อนครบ 5 ปี ใช้แนวทางเดียวกับเครื่องจักรคือต้องชำระภาษีตามสภาพ ณ วันที่ขอจำหน่าย

2. การจำหน่ายแม่พิมพ์ที่นำเข้าเกิน 5 ปีแล้ว สามารถขอจำหน่ายได้ โดยไม่มีภาระภาษี ทั้ง 2 กรณี จะต้องยื่นขออนุญาตจาก BOI และชำระภาษี (ถ้ามี) ให้เสร็จสิ้นก่อน จึงจะสามารถจำหน่ายได้

ถ้าลูกค้าต้องการให้บริษัท A นำสินค้าที่บรรจุเรียบร้อยแล้วไปรวมกับบริษัท B แล้วทำการ repack ใหม่ อาจจะเปลี่ยนถุงหรือห่อใหม่ แล้วส่งออกให้ลูกค้าเพื่อง่ายต่อลูกค้าในการจำหน่ายสินค้าเป็นเซ็ต ถ้าบริษัท A (BOI) ผลิตสินค้าเสร็จแล้ว ขายให้บริษัท B (อาจเป็น BOI / หรือไม่เป็น BOI) แล้ว บริษัทB นำไป RE-PACK ใหม่ รวมกับสินค้าของ B แล้วส่งออก ทำได้หรือไม่ ในทางกลับกัน ถ้าบริษัท A (BOI) ซื้อสินค้าจาก บริษัท B(อาจเป็น BOI / หรือไม่เป็นBOI) แล้วบริษัทA นำมา RE-PACK ใหม่ รวมกับสินค้าของ A แล้วส่งออก ทำได้หรือไม่ หมายเหตุ : เนื่องจากลูกค้าที่ USA ว่าจ้าง ให้ บริษัท A และ B ผลิตสินค้าให้ ใบแบบของผลิตภัณฑ์ที่ต่างกัน แล้วตอนส่งออก ลูกค้าอยากให้ เอา 2 ผลิตภัณฑ์ มาแพ็ครวมกันแล้วส่งออกเพื่อความสะดวกของลูกค้าเอง

1. ถ้า B เป็น BOI ก็ถือว่า A เป็นผู้ส่งออกทางอ้อม คือเมื่อ B ส่งออก ก็ตัดบัญชี แล้วทำ report-V ส่งให้ A เพื่อตัดบัญชีในส่วนของ A ต่อไป แต่ถ้า B ไม่ใช่ BOI ไม่น่าจะทำได้ เพราะแม้ว่า B อาจจะโอนสิทธิ์ใบขนมาให้ A ก็ตาม แต่ชื่อสินค้าส่งออกในใบขนของ B อาจไม่ใช่ชื่อสินค้าที่ A ได้รับส่งเสริม จึงพิสูจน์ไม่ได้ว่า ใบขนนั้นมีสินค้ารุ่นอะไรของ A ส่งออกไปจำนวนเท่าใด

2.การนำสินค้าของ B มา re-pack ใหม่ รวมกับสินค้าของ A ยังคงทำให้ชื่อสินค้าที่จะจำหน่าย เป็นชื่อผลิตภัณฑ์ตามบัตรส่งเสริมหรือไม่

- หากเป็นชื่อตามบัตร ให้ขอแก้ไขขั้นตอนการผลิต เพื่อนำสินค้าจาก B มา re-pack ด้วย (แต่หากมีขั้นตอนนี้อยู่แล้ว ก็ไม่ต้องขอแก้ไขอะไร)

- หากไม่เป็นชื่อตามบัตร ต้องแก้ไขชนิดผลิตภัณฑ์ (และกรรมวิธีผลิต เพิ่มขั้นตอน repack)

สัดส่วนของทุนจดทะเบียนบริษัทเพื่อขอรับการส่งเสริมมีแนวทางการพิจารณาอย่างไร ซึ่ง ณ ปัจจุบันบริษัทมีทุนจดทะเบียน 8 ล้านบาท

การขอรับการส่งเสริมจาก BOI กำหนดเงื่อนไขทุนจดทะเบียนไว้ดังนี้

1. กรณีเป็นโครงการริเริ่ม (คือบริษัทยังไม่เคยมีรายได้จากการประกอบธุรกิจ) เงื่อนไข : ต้องมีอัตราส่วนหนี้สินต่อทุนจดทะเบียนไม่เกิน 3 : 1 เช่น ถ้ามีทุนจดทะเบียน 8 ล้านบาท จะสามารถมีเงินกู้ได้ 24 ล้านบาท รวมขนาดการลงทุนที่ขอรับการส่งเสริมได้ไม่เกิน 8+24 = 32 ล้านบาท

2. กรณีเป็นโครงการขยาย (คือบริษัทมีรายได้จากการประกอบธุรกิจอยู่แล้ว แต่จะลงทุนเพิ่มเพื่อขยายธุรกิจ ซึ่งอาจเป็นธุรกิจชนิดเดียวกับที่ทำอยู่เดิม หรือธุรกิจชนิดใหม่ก็ได้)

เงื่อนไข :

2.1 กรณีมีกำไรสะสม

- อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนผู้ถือหุ้น (รวมโครงการขยาย) ไม่เกิน 3:1 หรืออาจเกิน 3:1 ได้ โดย BOI จะพิจารณาตามความเหมาะสม

2.2 กรณีขาดทุนสะสม

- อัตราส่วนหนี้สินของโครงการขยาย ต่อทุนจดทะเบียนที่เรียกชำระเพิ่มขึ้น ต้องไม่เกิน 3:1

หากนาย A ขายหุ้นทั้งหมดให้นาย B ถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้นหรือว่าโอนกิจการ (2 ก.ค. 2563)
เป็นการเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้น
การเปิดดำเนินการเพียงอย่างเดียว ต้องดำเนินการอย่างไร และใช้เอกสารอะไรบ้าง

การขอขยายเวลาเปิดดำเนินการเพียงอย่างเดียว คือ การขยายเวลาการเปิดดำเนินการที่ไม่ได้มีสาเหตุจากการขยายเวลานำเข้าเครื่องจักร การขอขยายเวลาเปิดดำเนินการเพียงอย่างเดียว จะสามารถยื่นได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น และหลังจากนั้นจะไม่ได้รับอนุญาตให้การเวลาเปิดดำเนินการอีก โครงการที่ได้รับสิทธิยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร หากยังนำเข้าเครื่องจักรไม่ครบ แต่หากยื่นขอขยายเปิดดำเนินการเพียงอย่างเดียวก่อน จะไม่สามารถขยายเวลานำเข้าเครื่องจักรได้อีก ดังนั้น จึงขอให้ยื่นขอขยายเวลานำเข้าเครื่องจักรให้ครบก่อน (หลักเกณฑ์ปัจจุบันให้ขยายได้ 3 ครั้ง ครั้งละไม่เกิน 1 ปี) และสุดท้ายจึงค่อยยื่นขอขยายเปิดดำเนินการเพียงอย่างเดียว

ตอบคำถาม

การขอขยายเปิดดำเนินการเพียงอย่างเดียว ให้ยื่นแบบ F PM EX 06-02 และหนังสือรับทราบเงื่อนไขว่าจะไม่สามารถขยายระยะเวลานำเข้าเครื่องจักรได้ (ไม่มีแบบฟอร์ม) ต่อสำนักบริหารการลงทุน 1-4 ที่ดูแลกิจการของบริษัท หรือยื่นต่อสำนักงาน BOI ภูมิภาค และเมื่อได้รับอนุญาตให้ขยายเปิดดำเนินการเพียงอย่างเดียว ให้นำบัตรส่งเสริมไปติดต่อฝ่ายบัตร เพื่อแก้ไขเอกสารแนบท้ายบัตรส่งเสริม

การยื่นขออนุญาตจำหน่ายเครื่องจักรตอนนี้ไม่ต้องยื่นเอกสารที่สำนักงาน BOI แต่ยื่นผ่านระบบ eMT online ใช่ไหม

การจำหน่ายเครื่องจักรในประเทศ จะต้องยื่นแบบคำขอจำหน่ายเครื่องจักรต่อ BOI แต่ถ้าเป็นการจำหน่ายไปต่างประเทศ (ส่งคืน) ให้ยื่นขอส่งคืนเครื่องจักรบนระบบ eMT

การแจ้งยืนยันการดำเนินการตามโครงการนั้น ทางบริษัทจะสามารถแจ้งยืนยันล่วงหน้าก่อนถึงกำหนดได้หรือไม่ และถ้าแจ้งยืนยันหลังกำหนดการนับตั้งแต่วันที่ออกบัตรส่งเสริมได้ไม่เกินเมื่อไหร่

1) สามารถแจ้งยืนยันก่อนครบกำหนดได้ แต่ไม่ควรแจ้งล่วงหน้าเร็วเกินไป เช่น ไม่ควรเกิน 1 เดือน เป็นต้น

2) กรณีที่ไม่ได้แจ้งยืนยันภายในกำหนด BOI จะส่งหนังสือเตือน ดังนั้น ถ้าได้รับหนังสือเตือน ก็ควรรีบยื่นให้ถูกต้อง เพราะไม่ใช่ขั้นตอนที่ยุ่งยาก

ชาวต่างชาติเดินทางเข้ามาประเทศไทย เข้ามาเยี่ยมชมโรงงาน และฝึกสอนช่าง แต่ไม่ได้ทำวีซ่าธุรกิจ มาประมาณ ไม่เกิน 30 วัน ได้ไหม

1. กรณีเยี่ยมชมโรงงาน สามารถเดินทางเข้าประเทศ โดยไม่ต้องทำวีซ่าและใบอนุญาตทำงาน โดยสามารถอยู่ในประเทศได้ไม่เกิน 30 วัน

2. กรณีสอนงาน (Training) ซึ่งทราบระยะเวลาชัดเจนและมีกำหนดการสอนชัดเจน ต้องขอใบอนุญาตทำงาน

3. กรณีซ่อมเครื่องจักรเร่งด่วนฉับพลัน ซึ่งไม่มีกำหนดล่วงหน้ามาก่อน จะต้องขอใบอนุญาตทำงาน แต่จะออกให้เป็นใบประกาศด่วน (URGENT) แทนใบอนุญาตทำงาน โดยสามารถมอบอำนาจให้ผู้อื่นไปยื่นเรื่อง/ขอรับเอกสาร แทนชาวต่างชาติได้ ส่วนวีซ่าเป็นวีซ่าผ่านเข้ามาปกติ ไม่ต้องเป็นวีซ่า Non-B

4. กรณีปฏิบัติงานเกินกว่า 15 วัน แต่ไม่เกิน 30 วัน สามารถยื่นขอใช้สิทธินำเข้าช่างฝีมือชั่วคราวเร่งด่วนต่อ BOI ได้ ซึ่งไม่ต้องขออนุมัติตำแหน่ง แต่ขั้นตอนดำเนินการขอใบอนุญาตทำงานจะเหมือนขั้นตอนปกติ โดยช่างต่างชาติจะต้องเดินทางไปทำใบอนุญาตทำงานด้วย ส่วนวีซ่าจะต้องเป็นวีซ่า Non- B

ขออภัยครับ ไม่มีข้อมูลส่วนนี้ ในภาษาที่ท่านเลือก !

Sorry, There is no information support your selected language !

Download และ ติดตั้งโปรแกรมอ่าน PDF

Download PDF Reader

Site map