1. ก่อนที่จะยื่นเอกสารหรือข้อมูลเพื่อขอรับการส่งเสริมกับสำนักงานฯ จะต้องอย่างไร เช่น ซื้อที่ดินฯ
2. คนต่างชาติจะต้องมีการซื้อที่ดินสำหรับก่อตั้งบริษัทที่จะขอรับการส่งเสริมใช่หรือไม่
3. เมื่อมีที่ดินแล้วจะต้องดำเนินการก่อสร้างบริษัทตามโครงการที่ได้รับการส่งเสริมให้แล้วเสร็จภายในกี่ปี
1. การจะซื้อที่ดินตามสิทธิประโยชน์มาตรา 27 จะต้องได้รับบัตรส่งเสริมแล้ว และจะต้องยื่นขออนุญาตถือกรรมสิทธิ์ที่ดิน ตามแบบฟอร์มที่ BOI กำหนดในระบบ E-Land เมื่อสำนักงานอนุมัติแล้วจึงนำหนังสืออนุมัติถือกรรมสิทธิ์ที่ไปแสดงต่อกรมที่ดินเพื่อทำการโอนกรรมสิทธิ์ต่อไป
2. บริษัทต่างชาติสามารถขอถือกรรมสิทธิ์ที่ดิน ตามมาตรา 27 เพื่อเป็นที่ตั้งสถานประกอบการ ตามโครงการที่ได้รับส่งเสริมได้ตามขอบข่ายภายใต้กิจการที่ได้รับการส่งเสริมเท่านั้น
3. โครงการที่ได้รับการส่งเสริมจะต้องดำเนินการให้พร้อมเปิดดำเนินการได้ภายใน 36 เดือน นับจากวันที่ออกบัตรส่งเสริม
กิจการซอฟต์แวร์จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ 5-8 ปี โดยไม่กำหนดวงเงินสูงสุด จะต้องปฏิบัติให้ได้ใบรับรอง CMMI เฉพาะกรณีที่มีเงินลงทุนไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียนเกินก่ว่า 10 เท่านั้น
- อากรขาเข้า และ VAT ตามสภาพและพิกัดศุลกากร ณ วันนำเข้า
- เงินเพิ่ม VAT 1.5% ต่อเดือน
- เบี้ยปรับ VAT 1 เท่า
เนื่องจากข้อมูลสูตรการผลิต และ Transaction นำเข้า/ส่งออก/ตัดบัญชี ต่างๆ ถือเป็นข้อมูลความลับของบริษัทนั้นๆ ดังนั้น IC จึงกำหนดให้บริษัทที่ต้องการดาวน์โหลดข้อมูล จะต้องติดต่อขอรับข้อมูลที่เคาน์เตอร์ของ IC โดยตรง
แต่สำหรับบริษัทที่ไม่สะดวกจะเดินทางไปติดต่อที่ IC อาจสามารถใช้วิธีขอข้อมูลทางไปรษณีย์เพื่อให้ IC ส่งข้อมูลกลับให้ทางไปรษณีย์ก็ได้ โดยบริษัทจะต้องส่งแบบคำขอรับข้อมูล และเอกสารต่างๆที่กำหนด เช่น สำเนาหนังสือรับรองบริษัท สำเนาหนังสือเดินทางกรรมการ ฯลฯ ไปยัง IC ทางไปรษณีย์ ในทุกๆครั้ง และหากต้องการข้อมูลเป็นไฟล์ digital จะต้องส่ง flash drive ไปพร้อมกันด้วย ซึ่งในการส่งข้อมูลทางไปรษณีย์นี้ จะมีค่าใช้จ่ายในการให้บริการ ค่าซอง ค่าส่งไปรษณีย์ด้วย
หากเป็นโครงการที่ยื่นขอรับส่งเสริมก่อนปี 2558 สามารถยื่นขออนุญาตใช้เครื่องจักรเก่าเกิน 10 ปี เพื่อให้กรรมการพิจารณาได้ หากได้รับอนุมัติ จะต้องทำใบรับรองประสิทธิภาพเครื่องจักรเก่า และต้องชำระภาษีอากรเครื่องจักร
ค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน ไม่นับเป็นขนาดการลงทุนของโครงการ ตารางที่ 5.3 ให้กรอกเฉพาะการลงทุนส่วนที่นับเป็นขนาดการลงทุนตามประกาศ BOI ป.1/2545 เท่านั้น
เครื่องจักรให้กรอกข้อมูลรวมกัน ไม่ว่าจะใช้สิทธิยกเว้นภาษี หรือไม่ได้ใช้สิทธิก็ตาม วัตถุดิบก็เช่นกัน ให้รวมทั้งกรณีใช้สิทธิและไม่ใช้สิทธิ
ขอตอบตามความเห็นของ admin ดังนี้
1.การอนุมัติกรรมวิธีการผลิตให้มีขั้นตอนการนำเครื่องจักร/แม่พิมพ์และวัตถุดิบไปว่าจ้างผลิตชิ้นส่วน เนื่องจาก
1.1 เพื่อให้สามารถอนุมัติบัญชีรายการเครื่องจักรและวัตถุดิบ เพื่อให้บริษัทสามารถนำเครื่องจักร/แม่พิมพ์และวัตถุดิบเข้ามาได้โดยยกเว้นภาษีอากร
1.2 เพื่อให้สามารถนำมูลค่าการลงทุนเครื่องจักร/แม่พิมพ์ที่นำไปจ้างผลิตในประเทศ มานับเป็นขนาดการลงทุนของโครงการ เพื่อกำหนดวงเงินสูงสุดในการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล
2.กรณีที่บริษัทนำเข้าเครื่องจักร/แม่พิมพ์และวัตถุดิบเข้ามาโดยใช้สิทธิ จะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ BOI กำหนด
3.ในอดีต เป็นที่ทราบว่า บริษัทจะต้องขออนุญาตต่อ BOI ก่อนนำเครื่องจักร/แม่พิมพ์ และวัตถุดิบไปว่าจ้างผลิต
4.ปัจจุบัน ทราบว่า BOI มีแนวทางปฏิบัติคือ กรณีที่บริษัทได้รับอนุมัติให้การส่งเสริมโดยมีขั้นตอนการนำแม่พิมพ์ไปว่าจ้างผลิตชิ้นส่วน บริษัทไม่ต้องยื่นขออนุญาต BOI ก่อนนำแม่พิมพ์ไปว่าจ้างผลิต
สามารถขยายเวลาได้ 3 ครั้ง ครั้งละไม่เกิน 4 เดือน ใช้เอกสารขยายเวลา ตามแบบฟอร์ม F GA CT 04
กรณีที่สอบถาม กำลังผลิตที่ตรวจสอบพบ เท่าที่ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริม ดังนั้น การเปิดดำเนินการ จึงจะปรับมูลค่าการลงทุนให้เป็นไปตามจริง คือ 200 ล้านบาท
หากการได้รับการส่งเสริมการลงทุนในประเภทกิจการ “IHQ และ ITC” ครอบคลุมการดำเนินธุรกิจของโครงการ ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนมาขอรับการส่งเสริมการลงทุน “IBC” แต่หากประสงค์จะเปลี่ยนเป็นกิจการ IBC จะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของกิจการ IBC
Commercial Distribution แบบ Out-Out ดังกล่าวอยู่ในขอบข่ายกิจการ ITC ที่บริษัทได้รับการ ส่งเสริมอยู่ ปัจจุบันหลังจากที่กระทรวงการคลังปรับนโยบายเป็นให้การส่งเสริมการลงทุนกิจการ IBC และยุติ การอนุมัติให้เป็น IHQ หรือ ITC รายได้ดังกล่าวไม่สามารถได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีจากกรมสรรพากร กระทรวงการคลัง จึงต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามปกติ
โครงการที่ได้รับอนุญาตเปิดดำเนินการ โดยนำมูลค่าเครื่องจักรทั้งที่ซื้อในประเทศและนำเข้าจากต่างประเทศ มานับรวมเป็นขนาดการลงทุน เพื่อกำหนดวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ไปแล้วนั้น สามารถจำหน่ายเครื่องจักรได้ โดย
เครื่องจักรที่นำเข้าโดยยกเว้นภาษีอากรตามมาตรา 28 หรือ 29 จะต้องขออนุญาตก่อน
ครื่องจักรที่ซื้อในประเทศ และเครื่องจักรที่นำเข้าโดยชำระภาษี ไม่ต้องขออนุญาต แต่ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวยังคงมีขั้นตอนการผลิตครบถ้วน และกำลังการผลิตต้องไม่ลดลงเกินกว่า 20% เว้นแต่จะมีการซื้อ เครื่องจักรมาทดแทน หรือต้องขอแก้ไขโครงการเพื่อลดขนาดโครงการ
วงเงินยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ได้กำหนดไปในขั้นตอนการเปิดดำเนินการไปแล้วนั้น จะยังคงใช้วงเงินเดิม โดยไม่เปลี่ยนแปลง
การขอรับบัตรส่งเสริม กรรมการผู้มีอำนาจลงนามผูกพันบริษัท ต้องไปรับด้วยตนเอง โดยใช้เอกสารตามข้อ 2 และ 3 หรือหากจะให้ผู้อื่นไปรับแทน ต้องใช้เอกสารดังนี้
1. หนังสือมอบอำนาจให้เป็นผู้ขอรับบัตรส่งเสริม ติดอากรแสตมป์ 10 บาท
2. หนังสือรับรองบริษัท (ไม่เกิน 6 เดือน)
3. สำเนาบัตรประชาชนหรือหนังสือเดินทางของกรรมการผู้มอบอำนาจ
4. สำเนาบัตรประชานของผู้รับมอบอำนาจ
ให้ส่งอีเมล์แจ้งเจ้าหน้าที่สำนักสารสนเทศ ฝ่ายเทคนิค ที่ดูแลระบบงานตรวจสอบออนไลน์ ตามรายชื่อด้านท้ายสุดใน คู่มือการใช้งาน ตส.310 โดยระบุรายละเอียดให้ครบถ้วน เช่น ชื่อบริษัท เลขที่วันที่บัตรส่งเสริม และรายละเอียดที่ต้องการขอแก้ไข จากนั้น เจ้าหน้าที่จะแก้ไขข้อมูลในระบบให้
การกำหนดกำหนดการผลิตของโครงการ ปกติจะดูจากกำลังการผลิตของเครื่องจักรในขั้นตอนที่น่าจะเป็นคอขวด (Bottle Neck) ตามตัวอย่างที่สอบถาม ปกติก็ควรเป็นขั้นตอนที่ 1 ฉีดพลาสติก คือกำหนดตามกำลังผลิตของเครื่องฉีดพลาสติก ส่วนขั้นตอนที่ 3 และ 4 ถ้าใช้แรงคนเป็นหลัก ปกติจะไม่นับเป็นขั้นตอนที่กำหนดกำลังผลิต เพราะถ้ารับพนักงานเพิ่ม ก็สามารถผลิตเพิ่มได้
หากเป็นโครงการที่ยื่นคำขอรับส่งเสริมภายในปี 2557 จะได้รับยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักรเก่า แต่หากเป็นโครงการที่ยื่นคำขอตั้งแต่ปี 2558 จะไม่ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักรเก่า
ใบรับรองประสิทธิภาพเครื่องจักรเก่า หากมีแสดงในขณะที่ยื่นขออนุมัติบัญชีเครื่องจักร ก็จะได้รับยกเว้นอากรขาเข้า (กรณีเป็นโครงการที่ขอรับส่งเสริมภายในปี 57) แต่หากยังไม่มีในวันที่ยื่นขออนุมัติบัญชีเครื่องจักร ก็จะไม่ได้รับอนุมัติบัญชีเครื่องจักรเก่าจึงต้องชำระอากรขาเข้าไปก่อน จากนั้นจึงทำใบรับรองประสิทธิภาพ แล้วจึงขอเพิ่มรายการในบัญชี และสั่งปล่อยขอคืนอากรในภายหลัง
1. รายชื่อบริษัทที่ได้รับอนุญาตให้เป็นผู้ตรวจสอบส่วนสูญเสียจาก BOI ค้นหาได้จากประกาศ BOI โดยพิมพ์คำว่า ตรวจสอบ ในช่องคำค้นหา และเลือกหมวดหมู่เป็น วัตถุดิบ
2. เมื่อได้รับอนุญาตจาก BOI ให้ชำระภาษี ต้องไปชำระภาษีต่อกรมศุลกากร โดยกรมศุลฯ จะเป็นผู้ประเมินพิกัด ตามสภาพเศษซากนั้นๆ หรือจะสอบถามกับ บ.ชิปปิ้ง ก็น่าจะทราบอัตราภาษีของเศษซาก