Chat
x
toggle menu
toggle menu

Select Groups

All Group
  • All Group
  • นโยบายเเละมาตรการพิเศษในการส่งเสริม
  • การขอรับการส่งเสริมการลงทุน
  • การออกบัตรส่งเสริม
  • การเปิดดำเนินการ
  • การเเก้ไขโครงการ
  • การดำเนินการอื่น ๆ
  • การรายงานความคืบหน้าโครงการ (e-Monitoring)
  • การปฏิบัติหลังการได้รับการส่งเสริม
  • การยกเลิกบัตรส่งเสริม
  • เรื่องทั่วไป
  • การใช้สิทธิด้านที่ดิน
  • การใช้สิทธิด้านเครื่องจักร
  • การใช้สิทธิด้านช่างฝีมือ/ต่างด้าว
  • การใช้สิทธิด้านวัตถุดิบ
  • ประเภทกิจการ - การแพทย์
  • การใช้สิทธิด้านภาษีเงินได้นิติบุคคล
  • ประเภทกิจการ - รถยนต์ไฟฟ้า
  • ประเภทกิจการ - ศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศ (IBC) IPO และ TISO
  • ประเภทกิจการ - โรงแรม
  • ประเภทกิจการ - ผลิตผลิตภัณฑ์โลหะรวมทั้งชิ้นส่วนโลหะ
  • ประเภทกิจการ - กิจการผลิตเครื่่องจักร อุุปกรณ์และชิ้นส่วน
  • ประเภทกิจการ - กิจการศูนย์กระจายสินค้าระหว่า ประเทศด้วยระบบที่่ทันสมัย (IDC)
กรณีที่ยื่นคำขอรับส่งเสริมในนามบุคคล และได้รับอนุมัติให้การส่งเสริม โดย BOI ได้ส่งหนังสือแจ้งมติมายังที่อยู่ของผู้ขอรับการส่งเสริม แต่หากในระหว่างนี้ ผู้ขอรับส่งเสริมได้จัดตั้งบริษัทเสร็จแล้ว จะต้องให้กรรมการของบริษัทเป็นผู้ตอบรับมติการให้การส่งเสริมหรือไม่

การยื่นคำขอรับการส่งเสริมในนามบุคคล ผู้ที่มีสิทธิลงนามตอบรับมติให้การส่งเสริม จึงต้องเป็นผู้ขอรับการส่งเสริมเท่านั้น ดังนั้น แม้จะจัดตั้งบริษัทเสร็จก่อนตอบรับมติ กรรมการบริษัทก็ไม่สามารถลงนามตอบรับมติได้

บริษัทต้องการใช้สิทธิและประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล อยากทราบว่าบริษัทสามารถระบุปริมาณการจำหน่าย/การให้บริการ ในข้อ 1.4 ตามแบบฟอร์มขอใช้สิทธิฯ เกิน ปริมาณกำลังผลิต/ขนาดบริการที่ระบุในบัตรส่งเสริมได้หรือไม่

แบบคำขอใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ข้อ 1.4 ช่องที่ 5 ให้ระบุปริมาณการจำหน่ายตามจริง ซึ่งอาจจะเกินกำลังผลิตในบัตรส่งเสริมก็ได้ แต่ช่องที่ 6 ปริมาณที่ขอใช้สิทธิ จะต้องไม่เกินกว่ากำลังผลิตในบัตรส่งเสริม และไม่เกินกว่ากำลังผลิตของเครื่องจักรที่ติดตั้งแล้ว

กรณีที่ทางบริษัทต้องการใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลครั้งแรกสำหรับบัตรส่งเสริมฟื้นฟูอุทกภัย (อ้างถึงแบบฟอร์ม F PM TA 01-01 ข้อ 1.3 การลงทุนเครื่องจักรและอุปกรณ์) บริษัทสามารถระบุค่าซ่อมแซมเครื่องจักร และค่าเครื่องจักรที่ลงทุนใหม่ ตั้งแต่วันที่กำหนดว่ามีการซื้อครั้งแรกในปี 2554 จนถึง ณ วันสิ้นรอบบัญชีปีที่ขอใช้สิทธิฯ วันที่ 30 ก.ย. 2557 ถูกต้องหรือไม่

ข้อ 1.3 ต้องเป็นเครื่องจักรที่ซื้อมาหลังจากวันที่ยื่นขอรับการส่งเสริมเท่านั้น หากบริษัทซื้อเครื่องจักรมาก่อนหน้าที่จะยื่นคำขอ จะต้องอธิบายรายละเอียดให้ชัดเจนในขั้นชี้แจงโครงการ โดย BOI จะพิจารณาเหตุผลเป็นกรณีๆไป และอาจอนุญาตให้นับเครื่องจักรนั้นเป็นขนาดการลงทุนของโครงการที่ยื่นขอรับส่งเสริมได้ โดยจะระบุการอนุญาตให้ใช้เครื่องจักรที่ซื้อมาก่อนยื่นคำขอฯไว้ในบัตรส่งเสริมโดยชัดเจน กรณีที่สอบถาม จะขอย้อนกลับไปถึงปี 2554 ซึ่งน่าจะเป็นวันก่อนยื่นคำขอรับส่งเสริมตามนโยบายฟื้นฟูอุทกภัย จึงไม่สามารถทำได้ ให้ใส่เฉพาะเครื่องจักรและการซ่อมแซม ที่เกิดหลังจากวันที่ยื่นคำขอรับการส่งเสริมเท่านั้น เว้นแต่ในบัตรส่งเสริมจะระบุไว้เป็นอย่างอื่น จึงจะสามารถรวมค่าเครื่องจักรก่อนนั้นได้

หลังจากที่ตอบมติแล้ว และจัดตั้งบริษัทเสร็จแล้ว หากบริษัทต้องการออกบัตรส่งเสริม ก็ต้องให้ผู้ที่ยื่นคำขอรับการส่งเสริม เป็นผู้ยื่นคำร้องขอรับบัตรส่งเสริมหรือไม่ หรือสามารถยื่นขอโดยกรรมการบริษัทได้ ?

กรณีที่ได้รับส่งเสริมในนามบุคคล ผู้ที่ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริม จะต้องเป็นผู้ลงนามในแบบขอรับบัตรส่งเสริมและเอกสารแนบทั้งหมด โดยในครั้งนี้ จะต้องแนบหลักฐานการจดทะเบียนบริษัทที่ต้องการจะให้ BOI ออกบัตรส่งเสริมมาด้วย แต่เมื่อ BOI ออกบัตรส่งเสริม ผู้ที่จะมารับบัตร จะต้องเป็นกรรมการคนใดคนหนึ่งของบริษัท

BOI มีแผนพิจารณานำกิจการ ITC กลับมาให้การส่งเสริมอีกครั้งด้วยหรือไม่
ปัจจุบัน BOI ยังไม่มีแผนพิจารณาการนำกิจการ ITC กลับมาส่งเสริมอีกครั้งแบบแยกประเภท เนื่องจาก ITC มีให้การส่งเสริมอยู่แล้ว ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกิจการ IBC ในปัจจุบัน
บัตรส่งเสริมระบุว่า ให้ไว้ ณ วันที่ 27 กันยายน 2556 ครบ 1 ปี คือ วันที่เท่าไหร่ 26 กันยายน 2556 หรือ นับเดือนไปเลย เป็น 27 กรกฎาคม 2557

หลักเกณฑ์การนับวันในบัตรส่งเสริมของ BOI ใช้แนวทางดังนี้ กรณีเกี่ยวกับสิทธิและประโยชน์

- นับวันชนวัน

- เช่น ถ้าได้รับสิทธิ 2 ปีนับจากวันออกบัตร และบัตรออกวันที่ 1 ก.ค. 57 ก็จะได้รับสิทธิถึงวันที่ 30 มิ.ย. 59

กรณีเกี่ยวกับเงื่อนไข

- นับวันทับวัน

- เช่น ถ้ามีเงื่อนไขต้องปฏิบัติภายใน 2 ปีนับจากวันออกบัตร และบัตรออกวันที่ 1 ก.ค. 57 ก็จะต้องปฏิบัติให้ได้ภายในวันที่ 1 ก.ค. 59 กรณีที่สอบถาม เป็นเงื่อนไข จึงจะครบ 1 ปี ในวันที่ 27 กันยายน 2557

อยากทราบกำหนดระยะเวลาในการเปิดดำเนินการ ว่าหลังจากที่ได้รับส่งเสริมแล้วต้องเปิดดำเนินการภายในกี่ปี และถ้าไม่สามารถเปิดดำเนินการได้ตามระยะเวลาที่กำหนด ควรดำเนินการอย่างไรบ้าง

โดยปกติหลังจากที่ได้รับการส่งเสริมแล้ว ทางผู้ได้รับการส่งเสริมจะต้องยื่นแบบขอเปิดดำเนินการเต็มโครงการภายใน 36 เดือนนับแต่วันที่ได้รับบัตรส่งเสริม ในกรณีที่ไม่สามารถเปิดดำเนินการได้ตามกำหนด สามารถขอขยายระยะเวลาในการเปิดดำเนินการได้ 1 ครั้ง ขยายไปอีก 1 ปี ในกรณีหากยังไม่สามารถเปิดดำเนินการได้ หรือปฏิบัติตามเงื่อนไขได้ อาจจะถูกพิจารณาเพิกถอนบัตรและสิทธิประโยชน์ทั้งหมด เสมือนไม่เคยได้รับการส่งเสริมตั้งแต่ต้น

A ขายให้ B ที่เป็น Free zone ไม่ได้ส่งไปต่างประเทศ ถ้าสามารถทำได้ ชื่อที่นำเข้า ชื่อที่ส่งออก และชื่อที่ส่งเข้า Free zone เป็นชื่อเดียวกันได้หรือไม่
ชื่อสินค้าที่นำเข้ามาซ่อม ปกติจะเป็นชื่อเดียวกับที่ส่งออก (หรือส่งไป Free Zone)
กรณีบริษัทได้สิทธิบีโอไอบัตรที่ 1 ผลิตชิ้นงาน A (เปิดดำเนินการเรียบร้อยแล้ว) ต้องการนำชิ้นงาน A มาประกอบเข้ากับชิ้นงานอื่นๆ เพื่อประกอบงานสำเร็จรูปซึ่งเป็นอีกบีโอไอบัตรที่ 2 คำถาม 1. บริษัทสามารถดำเนินการได้หรือไม่ 2. ถ้าได้ ขั้นตอนการนำชิ้นงานจากอีกโครงการ มาใช้ร่วมอีกโครงการจะต้องทำอย่างไง (จะต้องออก Invoice ขายภายในหรือไม่)

1. การผลิตสินค้าตามโครงการที่ 1 และนำไปจำหน่ายเป็นชิ้นส่วนหรือวัตถุดิบของโครงการที่ 2 ภายใต้นิติบุคคลเดียวกัน สามารถทำได้ โดยในทางบัญชี จะต้องจัดทำเป็นรูปการซื้อขายภายในบริษัท ตามที่กรมสรรพากรกำหนด เช่น มีการออกอินวอยซ์ และซื้อขายในราคาต้นทุน เป็นต้น

2. ในส่วนของ BOI ไม่ต้องยื่นขออนุญาตซื้อขายระหว่าง 2 โครงการภายใต้นิติบุคคลเดียวกัน แต่หากโครงการที่ 1 นำเข้าวัตถุดิบโดยใช้สิทธิมาตรา 36 เมื่อจำหน่ายให้กับโครงการที่ 2 จะต้องนำไปผลิตส่งออก จากนั้นโครงการที่ 2 ยื่นตัดบัญชีวัตถุดิบ และโอนสิทธิให้โครงการที่ 1 เพื่อนำไปตัดบัญชีต่อไป

อยากจะสอบถามว่า ถ้าบริษัทได้นำเข้าเครื่องจักรที่ได้ใช้สิทธินำเข้า ของ BOI และมีการนำเข้ามาแล้ว เกิน 5 ปี ไปขายต่อในประเทศได้หรือไม่ และถ้าขายได้ต้องนำกลับไปเสียภาษีหรือไม่

การจะจำหน่ายเครื่องจักรที่นำเข้ามาโดยใช้สิทธิยกเว้นภาษีจะต้องได้รับอนุญาตก่อน หากเป็นเครื่องจักรที่นำเข้ามาแล้วเกิน 5 ปี ให้ยื่นเรื่องขอจำหน่ายพร้อมกับขอตัดบัญชีเพื่อปลอดภาระภาษี ซึ่งเมื่อได้รับอนุญาตจะสามารถจำหน่ายได้โดยไม่มีภาระภาษีอากร แต่หากเป็นเครื่องจักรนั้น เป็นเครื่องจักรหลักที่กระทบต่อกรรมวิธีการผลิตหรือกำลังผลิตเกิน 20% จะต้องมีการซื้อเครื่องจักรมาแทน หรือต้องแก้ไขโครงการให้สอดคล้องกรรมวิธีผลิตหรือกำลังผลิตที่หายไปด้วย

จะจำหน่ายเครื่องจักรเกิน 5 ปี จะต้องเปิดดำเนินการก่อนไหมถึงจะจำหน่ายได้

การจะจำหน่ายเครื่องจักรเกิน 5 ปี โดยไม่มีภาระภาษี ต้องยื่นขอตัดบัญชีเพื่อตัดภาระภาษีก่อน การอนุญาตให้ตัดบัญชีเพื่อตัดภาระภาษี จะต้องเป็นกรณีที่บริษัทปฏิบัติถูกต้องตามเงื่อนไขที่ได้รับส่งเสริมเท่านั้น เช่น หากบริษัทครบกำหนดเปิดดำเนินการแล้ว แต่ยังไม่ได้ยื่นขออนุมัติเปิดดำเนินการ จะไม่อนุญาตให้ตัดบัญชีเครื่องจักรแม้จะนำเข้าเกิน 5 ปี แต่หากบริษัทยังไม่ครบกำหนดเปิดดำเนินการ ก็สามารถขอตัดบัญชีเครื่องจักรเกิน 5 ปีได้ แม้จะยังไม่ได้เปิดดำเนินการครบตามโครงการ

กิจการได้รับส่งเสริมการลงทุน ประเภท 4.3 แล้วทางบริษัทจะนำเข้าสินค้าสำเร็จรูปมาเพื่อขายให้กับลูกค้าในประเทศ ซึ่งมีลักษณะเหมือนกับสินค้าที่ผลิตซึ่งได้รับการส่งเสริมการลงทุน อย่างนี้ถือเป็นการขายครั้งแรกของการได้ส่งเสริมการลงทุนหรือไม่ (2 เม.ย. 2563)

1.วันที่จะเริ่มใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 31 คือวันที่เริ่มมีรายได้จากการประกอบกิจการที่ได้รับการส่งเสริม

กรณีที่สอบถาม การนำเข้าสินค้ามาจำหน่ายในประเทศ ไม่ใช่กิจการที่บริษัทได้รับการส่งเสริมการลงทุน จึงไม่ถือเป็นวันเริ่มมีรายได้ครั้งแรกตามมาตรา 31

2. นอกจากนี้ การนำเข้าสินค้ามาจำหน่ายในลักษณะค้าส่ง/ค้าปลีก เป็นกิจการในบัญชีสามท้าย พรบ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว

หากบริษัทเป็นนิติบุคคลต่างชาติ จะต้องขออนุญาตจากกระทรวงพาณิชย์ด้วย

ใช้แบบฟอร์มเดียวกับขอสต็อกวัตถุดิบเลยหรือไม่

การขออนุมัติปริมาณสต็อกสินค้าที่นำกลับเข้ามาซ่อม ใช้แบบฟอร์มเดียวกับการขอแก้ไขสต็อกวัตถุดิบตามปกติ โดย group no. ให้กำหนดเป็น R00001

วิธีการคิดคำนวณการเพิ่มทุนจดทะเบียนบริษัทฯ ครับ เดิมบริษัทฯ มีทุนจดทะเบียนแล้ว 41ล้านบาท -เงินลงทุนทั้งโครงการใหม่ 149,000,000.00 ล้านบาท รวมเงินลงทุนทุกรายการแล้วตามข้อ 3 ( กำลังจะดำเนินการยื่น online ) -หนี้สินปัจจุบัน(ตามงบการเงินฯ) 235,116,587.84 ล้านบาท -ส่วนของผู้ถือหุ้น 72,413,543.04 ล้านบาท อยากทราบว่าวิธีการคิดคำนวณ 3:1 ของสนง.ฯ คิดแบบไหน

A คือ ส่วนของผู้ถือหุ้น 72 ล้านบาท B คือ หนี้สินปัจจุบัน 235 ล้านบาท C คือ เงินลงทุนของโครงการใหม่ 149 ล้านบาท

ถ้าจะไม่เพิ่มทุน C จะเป็นเงินกู้ทั้งหมด

อัตราส่วนหนี้สิน : ส่วนผู้ถือหุ้น (รวมโครงการเดิม)

จะเป็น (B+C) : A = 5.33 : 1 ซึ่งเกิน 3:1

ดังนั้น บริษัทจึงต้องเพิ่มทุนจดทะเบียนอีกส่วนหนึ่ง คือ C1 และกู้เงินอีกส่วนหนึ่ง คือ C2 โดย C1 + C2 = 149 ล้านบาท ซึ่งถ้า (B+C2) : (A+C1) ไม่เกิน 3 : 1 ก็อยู่ในเกณฑ์ที่จะอนุมัติได้

กรณีถ้าขอขยายนำเข้าเครื่องจักรย้อนหลัง จะนับวันเปิดดำเนินการอย่างไร

แม้จะมีการขยายเวลานำเข้าเครื่องจักรย้อนหลังไปจนถึงวันที่ยื่นคำขอรับการส่งเสริม แต่ระยะเวลาการเปิดดำเนินการก็ยังคงเป็นไปตามที่กำหนดไว้ในบัตรส่งเสริมเหมือนเดิม ไม่ถูกร่นให้เร็วขึ้น

วิธีการปฏิบัติหลังจากได้รับหนังสือตอบรับมติให้การส่งเสริมฯ แล้ว ว่าบริษัทฯต้องทำอย่างไรบ้าง ปัจจุบัน บริษัทฯได้ยื่นขอรับการส่งเสริมฯ(โครงการขยาย) ผ่านระบบ online เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2559 และได้ชี้แจงโครงการฯ กับเจ้าหน้าที่ บีโอไอ สำนักฯ 3 เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2560 เรียบร้อยแล้ว ระหว่างรอหนังสืออนุมัติมติให้การส่งเสริมฯ อยู่นั้น บริษัทฯ ควรทำอะไรบ้าง และหรือหลังก่อน สำนักงานฯ อนุมัติให้การส่งเสริม บริษัทฯ สามารถหาข้อมูลหรือขั้นตอนต่าง ๆ ของการปฏิบัติว่ามีขั้นตอนอะไรบ้าง จากแหล่งข้อมูลใด
1. หลังจากได้รับอนุมัติส่งเสริม ปกติจะมีขั้นตอนตามลำดับคือ

- ตอบรับมติการอนุมัติให้การส่งเสริม

- ขอรับบัตรส่งเสริม

- ขออนุมัติตำแหน่งช่างฝีมือต่างชาติ

- ขอใบอนุญาตทำงานของช่างต่างชาติ

- ขออนุมัติบัญชีเครื่องจักร (Master List)

- นำเข้าเครื่องจักร

- ขออนุมัติบัญชีรายการสต็อกวัตถุดิบ (Max Stock)

- นำเข้าวัตถุดิบ

- ขออนุมัติสูตรการผลิต / ส่งออก / ตัดบัญชี ฯลฯ บางบริษัทฯ อาจมีขั้นตอนมากกว่านี้บ้าง น้อยกว่านี้บ้าง หรืออาจสลับขั้นตอนก่อนหลังบ้าง เป็นกรณีๆไป

2. เงื่อนไข หลักเกณฑ์ กฎระเบียบต่างๆ สามารถศึกษาจากเว็บไซต์ของ BOI และ IC แต่บางกรณีอาจจำเป็นต้องเข้าฝึกอบรมตามหลักสูตรต่างๆ ที่จัดขึ้นโดย BOI และ IC เมื่อมีความรู้เบื้องต้นในระดับหนึ่งแล้ว ก็สามารถปรึกษาเพิ่มเติมจาก จนท ของ BOI และ IC เป็นกรณีๆ ไป

อยากทราบสิทธิประโยชน์และข้อจำกัดในการขอรับการส่งเสริมภายใต้กิจการ IPO
สิทธิประโยชน์ 1. การยกเว้นอากรขาเข้าวัตถุดิบ สำหรับวัตถุดิบที่นำมาขายต่อให้ผู้ผลิตเพื่อผลิต ผสม ประกอบ และส่งออกไปต่างประเทศ 2. การยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักรสำหรับใช้ในกิจการ IPO 3. การถือหุ้นต่างชาติข้างมาก 4. การถือครองที่ดิน 5. สิทธิ Visa และ Work Permit ของการนำต่างชาติเข้ามาทำงานในโครงการ IPO สำหรับข้อจำกัด หรือเงื่อนไขการขอรับการส่งเสริมคือ 1. จะต้องมีทุนจดทะเบียนเรียกชำระ 10 ล้านบาท 2. มีการลงทุนขั้นต่ำ เช่น การซื้อสินทรัพย์ที่ใช้ในโครงการ การเช่าพื้นที่ การปรับปรุง Office เป็นต้น (ไม่รวมค่าที่ดินและเงินทุนหมุนเวียน) ขั้นต่ำไม่น้อยกว่า 1 ล้านบาท ภายใน 3 ปี 3. เงื่อนไขเฉพาะโครงการอื่นๆ ตามประกาศประเภทกิจการ 7.37 เช่น ต้องมีหรือเช่าคลังสินค้า มีระบบจัดการสินค้าในคลังสินค้า มีการตรวจสอบสินค้าอย่างเหมาะสม มีการจัดซื้อในประเทศไทยอย่างน้อย 1 ราย เป็นต้น
เนื่องจากบริษัทได้รับการส่งเสริมประเภท 5.5 กิจการผลิตชิ้นส่วนสำหรับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น STEM PART FOR DIODE คำถาม ชื่อผลิตภัณฑ์ที่ระบุในบัตร = STEM PARTS FOR LASER DIODE กรณีนี้บริษัทต้องยื่นขอแก้ไขบัตรส่งเสริมหรือไม่ อย่างไร

กรณีบัตรส่งเสริมระบุชนิดผลิตภัณฑ์เป็น STEM PART FOR DIODE บริษัทจะผลิต STEM PART สำหรับ DIODE ชนิดใดก็ได้ แต่ต้องมีกรรมวิธีการผลิตที่ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริม จึงไม่ต้องแก้ไขชื่อผลิตภัณฑ์ในบัตรส่งเสริม

เนื่องจากวันที่ขอรับการส่งเสริมตามนโยบายฟื้นฟูที่ระบุในจดหมายเป็นวันที่ 25 ธันวาคม 2555 แต่บริษัทไม่แน่ใจว่ายึดได้หรือไม่ เพราะคนเก่าทำไว้ บริษัทจะตรวจสอบวันที่ยื่นแน่นอนได้อย่างไร หรือบริษัทควรใช้วันอนุมัติให้การส่งเสริมเป็นวันเริ่มนับเงินลงทุนดี

1. การตรวจสอบวันที่ยื่นคำขอรับการส่งเสริม ให้ตรวจสอบจากหนังสือแจ้งมติให้การส่งเสริม ซึ่งจะมีการระบุเลขที่และวันที่ของคำขอรับการส่งเสริม

2. การนับขนาดการลงทุน สามารถนับตั้งแต่วันที่ยื่นคำขอรับการส่งเสริม ดังนั้น หากมีค่าใช้จ่ายการลงทุนเกิดขึ้นระหว่างวันที่ยื่นคำขอจนถึงวันที่ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริม ก็ควรนับมูลค่าการลงทุนในส่วนนั้นด้วย เพื่อให้สามารถคำนวณได้วงเงินสูงสุดที่พึงได้

เนื่องจากโครงการก่อนวิกฤตอุทกภัยเป็นโครงการโยกย้ายสถานประกอบการมา อยากทราบว่าในช่อง (2) และ (3) ตามข้อ 1.3 ต้องกรอกค่าซ่อมแซมเครื่องจักร และค่าเครื่องจักรที่ลงทุนใหม่ ทั้งสองช่องหรือไม่ และทั้งสองช่องมีความแตกต่างกันอย่างไร

ช่อง 1.3 (2) คือ เครื่องจักรที่ซื้อมาใช้ในโครงการนั้นๆ ส่วน 1.3 (3) คือ สินทรัพย์อื่นๆ เช่น ค่าก่อสร้าง ยานพาหนะ และอุปกรณ์สำนักงาน เป็นต้น จึงเป็นค่าใช้จ่ายคนละรายการกัน หากจะยื่นขอใช้สิทธิตามบัตรโยกย้ายสถานประกอบการ ไม่น่าจะนับค่าเครื่องจักรเป็นขนาดการลงทุนได้ เนื่องจากโครงการโยกย้าย ไม่ครอบคลุมถึงการปรับปรุงเครื่องจักรเก่าหรือซื้อเครื่องจักรมาเพิ่มเติม

ขออภัยครับ ไม่มีข้อมูลส่วนนี้ ในภาษาที่ท่านเลือก !

Sorry, There is no information support your selected language !

Download และ ติดตั้งโปรแกรมอ่าน PDF

Download PDF Reader

Site map