A (BOI) -> B (Trading) -> export to C สามารถทำได้ 2 วิธีคือ
1.กรณี B ได้รับส่งเสริมในกิจการ IPO/ITC
- เมื่อ B ส่งออก ก็ยื่นตัดบัญชีตามหลักเกณฑ์ปกติ และโอนสิทธิตัดบัญชีให้ A
- จากนั้น A นำไฟล์ report-v ที่ได้รับจาก B มาตัดบัญชีต่อไป
2.กรณี B เป็น Trading ที่ไม่ได้รับส่งเสริมจาก BOI
- B ต้องระบุการใช้สิทธิประโยชน์ BOI ในช่อง เงื่อนไขการใช้สิทธิ์ BOI (Y) ในใบขนสินค้าอิเล็กทรอนิกส์
- ต้องระบุเลขประจำตัวผู้เสียภาษี 13 หลักของ A ในช่อง Remark ของสินค้าแต่ละรายการที่จะโอนสิทธิตัดบัญชีให้ A
- ต้องระบุชื่อสินค้าส่งออกให้ตรงกับชื่อผลิตภัณฑ์และชื่อรุ่นของ A
- A จะสามารถดาวน์โหลดข้อมูลใบขนที่ B โอนสิทธิมาให้ ผ่านระบบของ IC เพื่อนำมาตัดบัญชีโดยตรงต่อไป
กรณีนี้น่าจะเข้าข่ายเรื่องค่าบริการด้านวิศวกรรม จึงขออธิบายความหมายก่อน ดังนี้
บริษัท A (ในประเทศ) จ่ายเงินให้บริษัท B (ต่างประเทศ) เพื่อจ้างผลิตแม่พิมพ์ราคา 1 ล้านบาท โดยไม่นำแม่พิมพ์เข้ามา แต่ให้ส่งแม่พิมพ์ไปให้บริษัท C (ต่างประเทศ) เพื่อว่าจ้างผลิตชิ้นส่วนพลาสติกจำนวน 200,000 ชิ้น ในราคาชิ้นละ 10 บาท และจึงนำชิ้นส่วนพลาสติกเข้ามาในประเทศ ในกรณีเช่นนี้ กรมศุลกากรจะพิจารณาว่า ราคาที่นำเข้าชิ้นละ 10 บาท นั้น ไม่ใช่ราคาที่แท้จริง เพราะต้องนำค่าแม่พิมพ์มารวมคำนวณเป็นราคาสินค้าด้วย
แม่พิมพ์ 1 ล้านบาท หากผลิตชิ้นส่วนพลาสติกได้ 200,000 ชิ้น ก็เท่ากับว่า ชิ้นส่วนพลาสติก 1 ชิ้น ต้องใช้แม่พิมพ์ 5 บาท ดังนั้น ราคาที่แท้จริงของชิ้นส่วนพลาสติกจึงเป็น 10 + 5 = 15 บาท เมื่อบริษัท A นำเข้าชิ้นส่วนพลาสติกจากต่างประเทศ แม้จะจ่ายเงินให้บริษัท C ในราคาชิ้นละ 10 บาท แต่ต้องสำแดงราคาเพื่อประเมินภาษีอากรในราคาชิ้นละ 15 บาท ตอบคำถาม
การซื้อแม่พิมพ์ที่ต่างประเทศ แต่ไม่นำเข้ามาในประเทศ ใช้สิทธิอะไรจาก BOI ไม่ได้ เพราะยังไม่เกิดภาระภาษีอะไร เมื่อนำชิ้นส่วนที่ผลิตจากแม่พิมพ์ดังกล่าวเข้ามาในประเทศ ต้องสำแดงราคาชิ้นส่วนซึ่งรวมราคาแม่พิมพ์ด้วย ซึ่งหากนำเข้ามาเพื่อผลิตส่งออก ก็สามารถใช้สิทธิยกเว้นภาษีอากรได้ตามมาตรา 36 (1)
A (BOI) -> B (Trader) -> จำหน่ายในประเทศ
กรณีนี้ A ไม่สามารถใช้สิทธิยกเว้นภาษีอากรตามมาตรา 36 สำหรับวัตถุดิบที่นำเข้ามาผลิตขายให้ B ได้ คือ A ต้องชำระภาษีอากรขาเข้าวัตถุดิบ และนำต้นทุนภาษีไปรวมในราคาที่จำหน่ายให้ B
วัตถุดิบที่นำเข้ามาโดยใช้สิทธิมาตรา 36 ที่ค้างคงเหลือ ซึ่งไม่สามารถผลิตเป็นสินค้าได้ สามารถขอส่งคืนไปต่างประเทศได้ แม้จะนำเข้ามาเกินกว่า 1 ปีก็ตาม โดยการส่งคืนต่างประเทศนี้จะเป็นการขายก็ได้
วิธีการตามข้อ 2 คือสำแดงราคาสินค้าโดยการบวกค่าบริการด้านวิศวกรรมเข้าไปด้วย เป็นขั้นตอนการเดินพิธีการศุลกากร แอดมินไม่ทราบรายละเอียด แต่เข้าใจว่าน่าจะสำแดงราคาบนหน้าใบขนได้เลย ลองปรึกษากับบริษัทชิปปิ้งหรือกรมศุลกากรดูนะ
กับบีโอไอไม่ต้องแจ้งอะไร เพราะถ้าเป็นวัตถุดิบที่นำมาผลิตตามโครงการแล้วส่งออก ก็ใช้สิทธิยกเว้นภาษีอากรตาม ม.36 ได้ตามปกติ แม้ราคาวัตถุดิบนั้นจะมีค่าบริการทางวิศวกรรมรวมอยู่ด้วยหรือไม่ก็ตาม
บัตรส่งเสริม มีเงื่อนไขกำหนดชนิดผลิตภัณฑ์ / กำลังผลิต / กรรมวิธีการผลิต แต่ไม่ได้มีเงื่อนไขให้ต้องส่งออก และไม่มีเงื่อนไขให้ต้องผลิตโดยใช้วัตถุดิบตามมาตรา 36 เท่านั้น
ดังนั้น จะผลิตโดยใช้วัตถุดิบที่ใช้สิทธิมาตรา 36 หรือไม่ก็ได้ และจะผลิตเพื่อส่งออกหรือไม่ก็ได้
แต่หากนำเข้าวัตถุดิบใช้สิทธิมาตรา 36 จะต้องใช้วัตถุดิบนั้น เพื่อการผลิตส่งออกเท่านั้น
กรณีที่บริษัท A ได้รับส่งเสริม 2 โครงการ โดยโครงการ A1 จำหน่ายให้โครงการ A2 จากนั้น A2 นำไปผลิตส่งออก A2 กรณีนี้สามารถโอนสิทธิตัดบัญชีวัตถุดิบให้กับ A1 ได้ เช่นเดียวกับการโอนสิทธิให้กับ vendor รายอื่นทั่วไป ดังนี้
เมื่อ A2 ส่งออกและยื่นตัดบัญชีวัตถุดิบ ให้ยื่นไฟล์ VENDOR.xlsx เข้าไปพร้อมกัน โดยระบุข้อมูลในแต่ละช่อง ดังนี้
- Product Code ระบุชื่อโมเดลของสินค้าที่ซื้อจากโครงการ A1
- English Description ระบุชื่อสินค้าที่ซื้อจากโครงการ A1
- Vendor name ระบุชื่อบริษัท A
- Vendor id ระบุเลขนิติบุคคลของบริษัท A
- Type ระบุ B
เมื่อโครงการ A2 ตัดบัญชีเสร็จสิ้น โครงการ A1 ก็รับ report-v จากโครงการ A2 และนำมาตัดบัญชีในส่วนของ A1 ต่อไป
1. อะไหล่ของแม่พิมพ์ ต้องเป็นส่วนประกอบของแม่พิมพ์ที่นำเข้ามาใช้ในโครงการที่ได้รับส่งเสริม แต่แม่พิมพ์นั้นจะนำเข้ามาโดยยกเว้นภาษีหรือชำระภาษีก็ได้
2. ดังนั้น แม้ว่าบริษัทจะนำเข้าแม่พิมพ์เข้ามาโดยชำระภาษี แต่ก็สามารถขอใช้สิทธิยกเว้นภาษีอะไหล่แม่พิมพ์ได้ โดยไม่เงื่อนไขในการใช้สิทธิคือ ต้องใช้เฉพาะในโครงการที่ได้รับส่งเสริมเท่านั้น
3. แม่พิมพ์ และอะไหล่ สามารถใช้สิทธิยกเว้นภาษีนำเข้ามาโดยไม่จำกัดจำนวน แต่ตามที่อธิบายไปแล้วคือต้องใช้เฉพาะโครงการที่ได้รับส่งเสริมเท่านั้น
- หากบริษัทมีหลายกิจการ ทั้งที่ได้รับส่งเสริมและไม่ได้รับส่งเสริม ก็ต้องใช้ในกิจการส่วนที่ได้รับส่งเสริมเท่านั้น
- กิจการที่ได้รับส่งเสริม ก็ต้องดำเนินการตามเงื่อนไขที่กำหนดในบัตรส่งเสริมอยู่แล้ว
2. คำถามที่สอง ไม่เข้าใจครับว่าจะถามอะไรบริษัทเข้าใจถูกต้องแล้ว เช่น A1 ผลิต Motor ขายให้ A2 เพื่อนำไปผลิตเป็นพัดลม และส่งออก A2 ก็ต้องมี Motor เป็นชื่อรองของวัตถุดิบด้วย จึงจะโอนสิทธิตัดบัญชี Motor ไปให้ A1 ได้
หาก A นำวัตถุดิบที่ใช้สิทธิมาตรา 36 ไปผลิตจำหน่ายสินค้าให้กับ B ในราคาไม่รวมภาษีอากรขาเข้าวัตถุดิบ แต่ B นำสินค้านั้นไปจำหน่ายในประเทศ
A จะต้องยื่นขอชำระภาษีอากรขาเข้าวัตถุดิบตามสภาพ ณ วันนำเข้า สำหรับวัตถุดิบล็อตที่ถูกนำไปจำหน่ายในประเทศ จากนั้นนำเอกสารหลักฐานไปยื่นตัดบัญชีวัตถุดิบ
- เจ้าหน้าจะตรวจสอบขั้นตอนการผลิตและกำลังผลิต ว่าเป็นไปตามโครงการที่ได้รับส่งเสริม
- ส่วนการจะตรวจสอบว่า เครื่องจักร (รวมถึงอะไหล่) ทุกตัวอยู่ที่โรงงานหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่แต่ละคน แม้ว่าในทางปฏิบัติส่วนใหญ่อาจไม่ได้ตรวจก็ตาม
- การจำหน่ายเครื่องจักรหรือนำออกไปใช้นอกโครงการ โดยไม่ได้รับอนุญาต ไม่จำเป็นต้องตรวจสอบในวันเปิดดำเนินการ สามารถตรวจสอบจากเอกสารอื่นได้ หากหน่วยงานราชการ เช่น กรมศุลกากรตรวจพบการกระทำผิด BOI ก็สามารถเพิกถอนสิทธิเครื่องจักรนั้นๆได้ แม้ว่าจะเปิดดำเนินการไปแล้วหรือไม่ก็ตาม
"จะต้องไม่จำนอง จำหน่าย โอน ให้เช่า หรือยินยอมให้บุคคลอื่นใช้เครื่องจักรที่ได้รับยกเว้นหรือลดหย่อนอากรขาเข้า ในกรณีที่ได้รับอนุญาตให้จำนองเครื่องจักร............."
กล่าวคือ ถ้าจะจำนองเครื่องจักรที่ใช้สิทธิยกเว้นอากร ต้องขออนุญาตก่อน แต่ถ้าจะจำนองเครื่องจักรที่ไม่ได้ใช้สิทธิยกเว้นอากร ก็ไม่ต้องขออนุญาต ตอบคำถามดังนี้
1.สามารถทำได้ เพราะหลักเกณฑ์การพิจารณาคืนอากรเครื่องจักร จะพิจารณาเพียงว่าเครื่องจักรนั้นตรงตามบัญชีรายการเครื่องจักรที่ได้รับอนุมัติไว้แล้วหรือไม่ หากตรงตามบัญชี ก็สามารถยื่นขอคืนอากรได้ 2.การขออนุมัติต่างๆ ปกติจะกำหนดให้มีผลตั้งแต่วันที่บริษัทยื่นขอ จะไม่ย้อนหลังไปในอดีต 3.ปกติไม่ควรอนุมัติย้อนหลัง จึงขอไม่ตอบ เรื่องที่สอบถาม น่าจะทำได้ 2 วิธีคือ วิธีที่ 1 ยื่นขอคืนอากรเครื่องจักร- เมื่อได้รับอนุมัติคืนอากรแล้วจึงยื่นขออนุญาตนำเครื่องจักรไปจำนอง
- เมื่อได้รับอนุมัติให้จำนอง ควรทำสัญญาจำนองอีกรอบหนึ่ง ให้มีผลตั้งแต่วันที่ได้รับอนุมัติให้จำนอง (แก้ไขเพิ่มเติม ณ 18 ส.ค. 58) - สำหรับการจำนองก่อนหน้านั้น ไม่น่าจะมีปัญหา เพราะในขณะที่จำนองนั้น ยังเป็นเครื่องจักรที่ไม่ได้รับยกเว้นอากร ซึ่งจะยื่นขออนุญาตจำนองในขณะนั้นไม่ได้ วิธีที่ 2 ยกเลิกการจำนองไปก่อน
- จากนั้นจึงยื่นขอคืนอากรเครื่องจักร
- เมื่อได้รับอนุมัติแล้วจึงทำเรื่องขออนุญาตนำเครื่องจักรไปจำนอง
- จากนั้นจึงทำการจำนองใหม่อีกครั้งหนึ่ง จะเลือกใช้วิธีไหน น่าจะปรึกษากับ จนท BOI ที่ดูแลงานเครื่องจักรของบริษัท
การขออนุมัติสูตรการผลิต ปกติควรเป็นหน่วยเดียวกับที่ระบุในบัตรส่งเสริม แต่กรณีที่หน่วยในบัตรส่งเสริมเป็น SET อาจขออนุมัติสูตรการผลิตโดยมีหน่วยเป็น C62 ก็ได้ ตามเหตุผลและข้อเท็จจริง
กรณีที่สอบถามไม่จำเป็นต้องยื่นแก้ไขหน่วยสินค้า แต่ให้ยื่นขออนุมัติสูตรการผลิตตามปกติ โดยระบุหน่วยสินค้าเป็น C62 และเมื่อได้รับอนุมัติจาก BOI แล้ว ก็นำไปบันทึกที่ IC ต่อไป
1. การจะขอส่งออกส่วนสูญเสียนอกสูตรไปต่างประเทศโดยไม่มีภาระภาษี สามารถยื่นขออนุญาตส่งออกตามสภาพส่วนสูญเสีย โดยไม่จำเป็นต้องทำลาย
2. ขั้นตอนคือ
1) ยื่นคำร้องขอส่งออกส่วนสูญเสียนอกสูตรไปต่างประเทศ
2) เมื่อส่งออกแล้ว ยื่นคำร้องขออนุมัติตัดบัญชีส่วนสูญเสียนอกสูตรกรณีส่งออก
3) นำหนังสืออนุมัติจาก BOI ไปยื่นตัดบัญชี (ปรับยอด) ที่ IC
ใบรับรองจาก Inspector เป็นการรับรองชนิดและปริมาณของส่วนสูญเสียนอกสูตร และรับรองว่าได้มีการทำลายเป็นเศษซากตามวิธีที่ได้รับอนุญาตจาก BOI
ใบรับรองนี้สามารถใช้ยื่นขออนุญาตทั้งกรณีขอชำระภาษีส่วนสูญเสียนอกสูตรในประเทศ และกรณีขอส่งไปต่างประเทศ
เครื่องจักร ส่วนประกอบ แม่พิมพ์ ที่นำเข้ามาโดยใช้สิทธิยกเว้นหรือลดหย่อนอากรขาเข้าจาก BOI หากชำรุดเสียหาย สามารถดำเนินการโดยวิธีต่างๆ ตามนี้
ทำลาย
- ต้องขออนุมัติวิธีทำลายก่อน จากนั้นจึงให้บริษัท inspector ตรวจสอบก่อนและหลังการทำลาย
- ไม่มีภาระภาษี
ส่งออก
- ต้องขออนุญาตก่อน
- ไม่มีภาระภาษี
บริจาคให้กับส่วนราชการ องค์การของรัฐ หรือองค์กรสาธารณะกุศล
- ต้องขออนุญาตก่อน
- ไม่มีภาระภาษี
จำหน่ายในประเทศ
- ต้องขออนุญาตชำระภาษีตามสภาพ
เก็บไว้จนครบ 5 ปีนับจากวันนำเข้า
- เมื่อครบ 5 ปีจึงขอตัดบัญชีเพื่อปลอดภาระภาษี แล้วจึงจำหน่ายได้โดยไม่มีภาระภาษี
การอนุมัติบัญชี เป็นเพียงขั้นตอนในการจะขอใช้สิทธิยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร หากจะไม่ใช้สิทธิ ก็ไม่มีปัญหาอะไร