A2:
ปริมาณสต็อกสูงสุด (Max Stock) จะคำนวณจากกำลังผลิต 4 เดือนตามของกำลังผลิตตามบัตรส่งเสริม ดังนั้น แม้ว่าบริษัทจะผลิตจริงได้สูงกว่าบัตรส่งเสริม ก็ไม่สามารถนำมาเป็นเหตุผลในการขอเพิ่ม Max Stock ได้ และจำเป็นต้องขอแก้ไขกำลังผลิตในบัตรส่งเสริมให้เพิ่มขึ้นด้วย
แต่เนื่องจากการขอแก้ไขกำลังผลิต มีหลายกรณี แต่ละกรณีมีหลักเกณฑ์การพิจารณาแตกต่างกัน หากต้องการสอบถามในประเด็นการขอแก้ไขกำลังผลิต กรุณาตั้งคำถามในหมวดหมู่แก้ไขโครงการ และระบุเหตุผลที่บริษัทสามารถผลิตจริงได้มากกว่ากำลังผลิตในบัตรส่งเสริมให้ชัดเจนด้วย
หากระยะเวลานำเข้าเครื่องจักรสิ้นสุดแล้ว การนำเข้าเครื่องจักรหลักเพื่อมาทดแทนเครื่องจักรเดิม หรือนำเข้าอะไหล่เพื่อซ่อมแซม ต้องชำระภาษีอากรตามปกติ
กรณีบริษัทได้รับส่งเสริม 2 โครงการ โดยได้นำอะไหล่เครื่องจักรเข้ามาโดยใช้สิทธิประโยชน์ผิดโครงการ แนะนำให้ไปติดต่อปรึกษากับเจ้าหน้าที่ BOI ที่รับผิดชอบโครงการของบริษัท ซึ่งหากเจ้าหน้าที่พิจารณาเห็นว่าทั้ง 2 โครงการมีการใช้เครื่องจักรชนิดเดียวกัน และใช้อะไหล่ชนิดเดียวกัน และวันที่นำเข้าอะไหล่ดังกล่าว อยู่ภายในระยะเวลาการได้รับสิทธิประโยชน์ของทั้ง 2 โครงการ BOI อาจออกหนังสืออนุญาตให้นำอะไหล่ที่นำเข้ามาโดยใช้สิทธิของโครงการหนึ่ง ไปใช้ในอีกโครงการหนึ่งได้ โดยไม่ต้องแก้ไขเปลี่ยนแปลงการใช้สิทธินำเข้าอะไหล่นั้น
เนื่องจากมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพ ตามประกาศ กกท ที่ 1/2564 ได้ระบุสิทธิประโยชน์เฉพาะการยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร และการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเท่านั้น ดังนั้น หากโครงการเดิมก่อนปรับปรุงประสิทธิภาพ ไม่ได้รับสิทธิมาตรา 36 แล้วต่อมายื่นขอปรับปรุงประสิทธิภาพ ก็จะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ตามมาตรา 36 เช่นเดียวกัน
กรณีนี้ บริษัทจึงควรขอแก้ไขโครงการเพื่อขอรับสิทธิประโยชน์ตามมาตรา 36 ของโครงการเดิมก่อน จากนั้นจึงยื่นขอปรับปรุงประสิทธิภาพตามประกาศ กกท ที่ 1/2564 แต่ทั้งนี้หากวัตถุดิบดังกล่าวมีข้อห้าม/ข้อกำหนดเกี่ยวกับการนำเข้าตามกฎหมายอื่นอย่างไร บริษัทก็ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดของกฎหมายนั้นๆ ด้วย
การขอรับสิทธิมาตรา 36 เพิ่มเติม ให้ยื่นแบบคำขอแก้ไขโครงการ (F PA PC 01) โดยในหน้า 3/3 ให้เลือก "กรณีอื่นๆ" ขอรับสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมตามมาตรา 36
บริษัท A ซื้อวัตถุดิบจากบริษัท B มาผลิตเป็นสินค้าส่งออก จากนั้นตัดบัญชี และโอนสิทธิตัดบัญชีวัตถุดิบให้กับบริษัท B ได้ตามขั้นตอนปกติ
1. หากบริษัท A ซื้อวัตถุดิบจากบริษัท B แล้วนำไปส่งออก จะตัดบัญชีและโอนสิทธิตัดบัญชีวัตถุดิบให้บริษัท B ได้หรือไม่
ตอบ)
1.1 หากบริษัท A ไม่ได้รับส่งเสริมในกิจการ ITC หรือ IPO
- การที่บริษัท A ซื้อวัตถุดิบจาก B มาส่งออก ถือเป็นการประกอบกิจการที่ไม่ได้รับส่งเสริม จึงไม่สามารถขออนุมัติสูตรการผลิตเพื่อตัดบัญชีและโอนสิทธิตัดบัญชีวัตถุดิบให้กับ B ได้
- กรณีนี้บริษัท A สามารถระบุเลขนิติบุคคล 13 หลักของบริษัทผู้รับโอน (คือบริษัท B) ในช่อง remark ของใบขนอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้ผู้รับโอนสามารถดึงใบขนดังกล่าวไปตัดบัญชีได้โดยตรง
1.2 หากบริษัท A ได้รับส่งเสริมในกิจการ ITC หรือ IPO
- สามารถขออนุมัติสูตรการผลิต (สูตรแบบ 1:1) เพื่อตัดบัญชีและโอนสิทธิตัดบัญชีวัตถุดิบให้กับบริษัท B ได้ตามขั้นตอนปกติ
2. หากบริษัท A ซื้อวัตถุดิบจากบริษัท B แล้วนำไปผลิตเป็นสินค้ากึ่งสำเร็จรูปเพื่อส่งออก จะตัดบัญชีและโอนสิทธิตัดบัญชีวัตถุดิบให้บริษัท B ได้หรือไม่
ตอบ)
- หากในบัตรส่งเสริมไม่ระบุให้มีการผลิตสินค้ากึ่งสำเร็จรูป บริษัท A จะไม่สามารถขออนุมัติสูตรสินค้ากึ่งสำเร็จรูป เพื่อตัดบัญชีและ/หรือโอนสิทธิตัดบัญชีให้กับบริษัท B
- และไม่สามารถใช้วิธีตามข้อ 2.1 เพื่อโอนสิทธิตัดบัญชีให้กับบริษัท B เนื่องจากสินค้าที่บริษัท A ส่งออก เป็นคนละรายการกับวัตถุดิบที่ซื้อมาจาก B
ถาม: ได้สอบถามไปทางเวนเดอร์ เขาไม่เคยทำเคสแบบนี้ และได้สอบถามไปทาง IC แหลมฉบังว่าทางเวนเดอร์สามารถนำใบขนนี้มาปรับยอดได้หรือไม่ ทาง IC แจ้งว่าไม่เคยทำเคสนี้เช่นเดียวกัน ขอทำความเข้าใจกระบวนการนี้ว่าเป็นดังนี้หรือไม่
1. เราส่งออกวัตถุดิบที่ซื้อมาจากเวนเดอร์ โดยตอนทำใบขนให้ระบุเลขนิติบุคคล 13 หลักของบริษัทผู้รับโอน (คือบริษัท B) ในช่อง remark
2. ส่งใบขนดังกลาวให้เวนเดอร์นำใบปรับยอด
3. เวนเดอร์นำใบขนไปคีย์ไฟล์ xxx ? เพื่อปรับยอดที่ IC --> ขั้นตอนนี้ต้องทำอย่างไร (ทาง IC แจ้งว่าให้สอบถามกับเจ้าหน้าที่ BOI)
ตอบ: การส่งออกผ่าน Trading (ตามตัวอย่างที่สอบถาม A คือ Trading และ B คือผู้ผลิต) มีขั้นตอนในการตัดบัญชีตาม ประกาศ สกท ที่ ป.2/2564 คือ
1. A ต้องทำใบขนอิเล็กทรอนิกส์ตามข้อ 8 (1.4) ของประกาศ และระบุเลข 13 หลักของ B ในช่อง remark ของรายการสินค้าในใบขนฯ ที่จะโอนสิทธิตัดบัญชีให้ B
2. จากนั้น A แจ้งเลขที่/วันที่ใบขนฯ ให้ B ทราบ
3. หลังจากใบขนฯขึ้นระบบ IC Online แล้ว B จะสามารถดึงข้อมูลใบขนดังกล่าว เฉพาะรายการที่ระบุการโอนสิทธิให้ B มาตัดบัญชีตามขั้นตอนปกติต่อไป
ถาม: กรณีที่สอบถาม A เป็นผู้ผลิตเหมือนกัน แต่จะขอส่งวัตถุดิบไปต่างประเทศ ทำวิธีนี้ได้เหมือนกันใช่หรือไม่
ตอบ: สามารถทำได้ โดยกิจการในส่วนซื้อมา-ขายไป (ส่งออก) นี้ จะเป็นกิจการส่วนที่ไม่ได้รับส่งเสริม โดยหากกิจการที่ได้รับส่งเสริมอยู่เดิมยังอยู่ในช่วงเวลาที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล บริษัทจะต้องจัดทำบัญชีรายรับรายจ่ายของกิจการซื้อมา-ขายไปนี้ แยกจากกิจการส่วนที่ได้รับส่งเสริม และจะนำสิทธิประโยชน์ที่ได้รับอยู่เดิมมาใช้กับกิจการส่วนที่ไม่ได้รับส่งเสริมนี้ไม่ได้ และหาก A เป็นนิติบุคคลต่างชาติ (หุ้นต่างชาติมากกว่ากึ่งหนึ่ง) จะต้องไม่ใช่การซื้อมาเพื่อนำไปจำหน่ายในประเทศ มิฉะนั้นจะขัดกับ พรบ. การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ซึ่งต้องได้รับอนุญาตจากกระทรวงพาณิชย์ด้วย
1. สามารถทำได้ แต่จะเป็นการนำเข้าอะไหล่เก่า ซึ่งต้องมีใบรับรองประสิทธิภาพเครื่องจักรเก่าตามหลักเกณฑ์ที่ BOI กำหนด จึงจะใช้สิทธิยกเว้นภาษีอากรได้
2. การส่งคืนเครื่องจักร/อะไหล่ ให้ยื่นคำร้องในระบบ eMT ในเมนูส่งคืนเครื่องจักร
1. การนำเข้าอะไหล่ใหม่ ไม่ต้องใช้ใบรับรองประสิทธิภาพเครื่องจักรเก่า
2. สามารถนำเข้าอะไหล่เครื่องจักรโดยใช้สิทธิยกเว้นภาษี หากระยะเวลานำเข้าเครื่องจักรยังไม่สิ้นสุด
จากการสอบถามผู้ที่เกี่ยวข้อง ไม่สามารถยืนยันได้แน่ชัดว่า กรมศุลกากรจะพิจารณายกเว้นภาษีอากร (หรือคืนอากร) ตามชื่อที่ต้องตรงกับที่ BOI แจ้งไปเท่านั้นหรือไม่ หรือในบางกรณีเจ้าหน้าที่กรมศุลกากรอาจใช้ดุลยพินิจในการพิจารณาได้หรือไม่ (เช่น กรณีที่ชื่อสั่งปล่อย ต่างกับชื่อที่ระบุในใบขนสินค้า โดยไม่กระทบกับสาระสำคัญ เช่น มีอักขระ . หรือ - หรือ s เป็นต้น)
ซึ่งทางกรมศุลกากรเองก็น่าจะมีประกาศหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาอนุมัติในส่วนนี้ จึงควรสอบถามกับทางกรมศุลกากรโดยตรงเพื่อข้อมูลที่ถูกต้อง
สำหรับในส่วนของ BOI (IC) แนะนำว่า ควรระบุชื่อวัตถุดิบและโมเดลในการสั่งปล่อยยกเว้น (หรือขอคืน) ภาษีอากร ให้ตรงกับใบขนสินค้าขาเข้าจะเป็นวิธีที่ถูกต้องที่สุด
1. ให้บริษัทยื่นเรื่องต่อ BOI เพื่อขอชำระภาษีอากรตามสภาพวัตถุดิบ ณ วันนำเข้า เนื่องจากจะไม่นำวัตถุดิบนั้นไปผลิตส่งออกตามโครงการที่ได้รับส่งเสริม
2. จากนั้นจะต้องยื่นชำระภาษีอากรวัตถุดิบต่อกรมศุลกากรให้เสร็จสิ้นก่อน จึงจะส่งมอบวัตถุดิบให้กับบริษัทประกันได้
3. เมื่อชำระภาษีอากรวัตถุดิบเสร็จสิ้นแล้ว ให้ยื่นขอปรับยอดวัตถุดิบดังกล่าวต่อสมาคม IC ต่อไป
คำตอบตามข้อ 1 เป็นกรณีที่วัตถุดิบดังกล่าวมีการเสียหาย ไม่ได้มาตรฐานที่บริษัทจะนำไปผลิตเป็นสินค้าได้ แต่วัตถุดิบนั้นอาจนำไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ เช่น นำไปจำหน่ายในตลาดในประเทศหรือตลาดล่าง เป็นต้น จึงเป็นการขอชำระภาษีตามสภาพ ณ วันนำเข้า
แต่หากวัตถุดิบนั้นเสียหายในสภาพที่ไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้ อาจยื่นขออนุญาตทำลายในข่ายส่วนสูญเสียนอกสูตร และหากเศษซากหลังการทำลายมีมูลค่าเชิงพาณิชย์ จะต้องยื่นชำระภาษีอากรตามสภาพเศษ ให้เสร็จสิ้นก่อน จึงจะส่งมอบให้บริษัทประกันได้ แต่วิธีนี้ แม้ว่าจะมีภาระด้านภาษีอากรถูกกว่าวิธีแรก แต่บริษัทจะมีภาระค่าบริหารจัดการและค่าใช้จ่ายในการทำลาย และค่าจ้าง บริษัท Inspector ในการออกใบรับรองการทำลายส่วนสูญเสีย จึงขึ้นอยู่กับว่าจะตกลงกับผู้ขายวัตถุดิบว่าจะดำเนินการโดยวิธีใด
หากอะไหล่ที่จะนำเข้ามามีชื่อตรงกับที่ได้รับอนุมัติบัญชีไว้ก็สามารถนำเข้าโดยใช้สิทธิได้ แต่หากไม่ตรงก็สามารถแก้ไขบัญชีเพื่อเพิ่มรายการอะไหล่ได้
กรณีได้รับอนุญาตเปิดดำเนินการเต็มโครงการแล้ว จะไม่สามารถนำเข้าเครื่องจักรหลักเพิ่มเติมโดยใช้สิทธิประโยชน์ได้อีก
1. แนวทางการพิจารณาของ BOI มีหลักเกณฑ์เพียงว่า ผู้โอนและผู้รับโอนต้องมีบัญชีรายการวัตถุดิบที่จะโอน/รับโอนตรงกัน ยังอยู่ในระหว่างระยะเวลาที่ได้รับสิทธิตามมาตรา 36 และปริมาณที่จะโอนต้องไม่เกินปริมาณสูงสุด (Max Stock) ของผู้รับโอน
2. ในการอนุมัติให้โอน/รับโอนวัตถุดิบ ผู้รับโอนจะต้องมีหนังสือยืนยันว่า หากไม่นำวัตถุดิบที่ได้รับโอนไปผลิตส่งออก ผู้รับโอนจะยินยอมชำระภาษีอากรขาเข้าตามสภาพ ณ วันนำเข้า แทนผู้โอน
ปัญหาเกี่ยวกับการโอน/รับโอนวัตถุดิบ จะเกิดขึ้นในกรณีที่ผู้โอนเลิกกิจการหลังจากการโอนวัตถุดิบ และผู้รับโอนไม่นำวัตถุดิบนั้นไปผลิตส่งออก กรณีนี้ รัฐจะไม่สามารถจัดเก็บภาษีของวัตถุดิบนั้นได้ เนื่องจากผู้ที่มีภาระภาษี (ผู้นำเข้า/ผู้โอน) ได้เลิกกิจการไปแล้ว การพิจารณาอนุมัติ/ไม่อนุมัติ จะขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของเจ้าหน้าที่
หาก BOI พิจารณาไม่อนุมัติให้โอน/รับโอนวัตถุดิบ อาจต้องแก้ปัญหาโดยให้บริษัท A (ผู้นำเข้า) ขออนุญาตส่งวัตถุดิบไปต่างประเทศ (เช่น ส่งไปในเขต Free Zone) จากนั้น บริษัท B ยื่นขอสั่งปล่อยนำเข้าจาก Free Zone
กรณีที่ BOI อนุมัติให้โอน/รับโอนวัตถุดิบ จะออกเป็นหนังสืออนุมัติและบัญชีรายการปริมาณวัตถุดิบที่จะให้โอน/รับโอน ซึ่งบริษัทต้องนำหนังสืออนุมัตินี้ไปยื่นปรับยอดที่สมาคมสโมสรนักลงทุน (IC)
กรณีที่สอบถาม บริษัทยื่นไฟล์ EXPORT.xlsx เพื่อขอตัดบัญชีสินค้าที่ส่งออก และยื่นไฟล์ VENDOR.xlsx เพื่อโอนสิทธิตัดบัญชีวัตถุดิบให้กับ Vendor แต่เกิดยอดติดลบของวัตถุดิบรายการที่ 2 ซึ่งไม่ได้ระบุในไฟล์ VENDOR
การเกิดยอดติดลบรายการที่ 2 อาจเกิดจากสาเหตุดังนี้
1. สินค้าที่ส่งออกตามไฟล์ EXPORT มีการใช้วัตถุดิบรายการที่ 2 ในสูตรการผลิต
2. แต่ปริมาณวัตถุดิบรายการที่ 2 ที่คำนวณได้จากสูตรการผลิตและปริมาณส่งออกสินค้า มีมากกว่ายอดคงเหลือของวัตถุดิบในบัญชี MML
เหตุที่ยอดคงเหลือตามข้อ 2 มีไม่เพียงพอ อาจเนื่องจาก
1. บริษัททำสูตรการผลิตโดยแสดงปริมาณการใช้วัตถุดิบรายการที่ 2 มากเกินกว่าความเป็นจริง หรือ
2. บริษัทซื้อวัตถุดิบรายการที่ 2 จาก Vendor รายอื่น แต่ไม่ระบุการโอนสิทธิในไฟล์ VENDOR หรือ
3. บริษัทนำเข้าวัตถุดิบรายการที่ 2 โดยไม่ได้ใช้สิทธิยกเว้นอากรขาเข้า หรือ
4. บริษัทซื้อวัตถุดิบรายการที่ 2 จาก Vendor ที่ไม่ได้ใช้สิทธิ BOI หรือ
5. เกิดจากสาเหตุอื่น
วิธีแก้ไขคือ
1. หากยอดติดลบเกิดจากสูตรการผลิตไม่ถูกต้อง (คือ ระบุปริมาณวัตถุดิบเกินกว่าความเป็นจริง) ให้แก้ไขสูตรการผลิตใหม่ให้ถูกต้อง
2. หากยอดติดลบเกิดจากการไม่ได้โอนสิทธิให้ Vendor BOI ให้ระบุการโอนสิทธิในไฟล์ VENDOR ให้ถูกต้อง
3. หากยอดติดลบเกิดจากการนำเข้าโดยไม่ใช้สิทธิยกเว้นอากร หรือเกิดจากการซื้อในประเทศจาก Vendor ที่ไม่ได้ใช้สิทธิ BOI ให้ระบุการโอนสิทธิในไฟล์ VENDOR ให้ถูกต้อง โดยระบุในช่อง VEN_TYPE, VEN_PRODUCT_CODE และ VEN_ENGLISH_DESC เป็นค่าว่าง
กำลังผลิตส่วนที่เกินกว่าบัตรส่งเสริม จะไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล และไม่สามารถนำมาคำนวณเป็นกำลังผลิตเพื่อขอ Max Stock ของวัตถุดิบเพิ่มเติมได้
ถาม Q3.1:
ขอสอบถามเป็นความรู้เพิ่มเติม กรณีถ้าหลุดเอาวัตถุดิบมาตรา 36 มาผลิตส่วนที่เกินกำลังการผลิตซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่ต้องส่งออก ถ้าเกิดกรณีนี้ต้องดำเนินการอย่างไร
ตอบ A3.1:
ผลิตภัณฑ์ส่วนที่เกินกว่ากำลังผลิตในบัตรส่งเสริม ไม่สามารถใช้สิทธิได้ตามมาตรา 36 ได้ ต้องชำระอากรขาเข้าตามปกติ กรณีใช้สิทธิรวมกับผลิตภัณฑ์ BOI ไปแล้ว ต้องชำระภาษีตามสภาพ
1. หากในบัตรส่งเสริมระบุเงื่อนไขให้ใช้เครื่องจักรเก่า ก็สามารถใช้เครื่องจักรเก่าที่ตรงกับเงื่อนไขในบัตรส่งเสริมได้ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องจักรหลักหรือไม่ก็ตาม
2. การใช้เครื่องจักรเก่าในโครงการ จะต้องเป็นไปตามเงื่อนไขตามข้อ 1 ไม่ว่าจะนำเข้าโดยยกเว้นภาษีหรือชำระภาษีก็ตาม
การได้รับใบอนุญาตเปิดดำเนินการจาก BOI เป็นการแสดงว่าบริษัทมีการลงทุนครบถ้วนตามที่ได้รับการส่งเสริมแล้ว (หรือหากไม่ครบตามกำลังผลิตหรือกรรมวิธีผลิตเดิม ก็แสดงว่าได้มีการปรับลดขนาดโครงการให้ตรงกับที่ได้ลงทุนจริงไปแล้ว) จึงไม่อนุญาตให้นำเครื่องจักรเข้ามาเพิ่มเติมโดยได้รับสิทธิยกเว้นภาษี ภายหลังได้รับใบอนุญาตเปิดดำเนินการได้อีก หรือหากจะนำเข้าเองโดยชำระภาษี ก็ไม่นับเป็นขนาดการลงทุน ตามโครงการนั้น
ประเด็นที่บริษัทสอบถาม ขาดข้อมูลสำคัญ เช่น ได้ยื่นแก้ไขโครงการในเรื่องใด เครื่องจักรเก่าที่จะนำเข้าคือเครื่องอะไร เกี่ยวข้องกับการแก้ไขโครงการอย่างไร และ BOI มีหนังสืออนุมัติอย่างไร เป็นต้น
คำตอบข้างต้นเป็นการตอบตามหลักการปกติ แต่หากไม่ชัดเจน ขอให้สอบถามเพิ่มเติมโดยให้ข้อมูลรายละเอียดเพิ่มเติมอีกครั้งหนึ่ง
การแก้ไขบัญชีปริมาณสต็อกสูงสุด มีหลักการเช่นเดียวกันกับการขออนุมัติบัญชีปริมาณสต็อกสูงสุด คือ บริษัทจะยื่นสูตรอ้างอิงจำนวนกี่สูตรก็ได้ แต่จะต้องมีกำลังผลิตรวมกันเท่ากับ 4 เดือนของกำลังผลิตตามบัตรส่งเสริม จากนั้นระบบจะคำนวณปริมาณวัตถุดิบที่ใช้ ตามสูตรอ้างอิงนั้นๆ เพื่อนำมาเป็นบัญชีปริมาณสต็อกสูงสุด
ตามตัวอย่างที่สอบถาม บริษัทจะไม่สามารถขอแก้ไขบัญชีปริมาณสต็อกฯ เพื่อขอเพิ่มปริมาณวัตถุดิบเฉพาะรายการที่ 2 และ 4 ได้ เนื่องจากบริษัทจะต้องยื่นสูตรอ้างอิง (กี่สูตรก็ได้) เพื่อให้ครอบคลุมรายการวัตถุดิบทุกรายการ และจะต้องมีการคำนวณปริมาณสต็อกฯ ใหม่
ดังนั้น หากเพิ่มปริมาณวัตถุดิบรายการที่ 2 และ 4 อาจทำให้ปริมาณวัตถุดิบรายการอื่นลดลงก็ได้ ขึ้นอยู่กับสูตรอ้างอิงและปริมาณผลิตที่บริษัทจะยื่นขออนุมัติบัญชีปริมาณสต็อกฯ
หากเป็นการโอนสิทธิการตัดบัญชีสินค้าส่งออก ให้กับบริษัทที่เป็น BOI เพื่อใช้สิทธิตัดบัญชีวัตถุดิบ ผู้ส่งออกต้องระบุเลขนิติบุคคล 13 หลัก ของบริษัทผู้รับโอน ในช่องหมายเหตุส่งกรมศุลกากร ของสินค้าแต่ละรายการ ในใบขนอิเล็กทรอนิกส์ รายละเอียดตาม ประกาศ สกท ที่ ป.2/2564 ข้อ 8 (1.4) โดยไม่ได้ใช้การสลักหลังใบขนแล้ว
ถาม Q1.1:
หากเป็นในรูปแบบการส่งออกส่วนสูญเสียนอกสูตร (SCRAP) จะยังเป็นการสลักใบขนขาออกหลังโอนสิทธิหรือไม่
ตอบ A1.1:
- การตัดบัญชีส่วนสูญเสียกรณีส่งออก ปัจจุบันยังไม่เป็นระบบ paperless
- ให้ผู้ส่งออก (บริษัทที่เกิดส่วนสูญเสีย) ยื่นหลักฐานส่งออกเพื่อตัดบัญชีกับ BOI พร้อมกับทำเรื่องขอโอนสิทธิตัดบัญชีให้กับ vender โดยไม่ใช้วิธีสลักหลังใบขนส่งออก เพื่อโอนใบขนให้ vender
โครงการที่ได้รับส่งเสริมต้องใช้เครื่องจักรใหม่ หรือเครื่องจักรเก่าเฉพาะที่นำเข้าจากต่างประเทศตามหลักเกณฑ์ที่ BOI กำหนด
เหตุผลที่ไม่อนุญาตให้ใช้เครื่องจักรเก่าในประเทศ เนื่องจากเป็นเครื่องจักรที่เคยใช้เชิงพาณิชย์ในประเทศแล้ว การนำเครื่องจักรเก่าดังกล่าวมาใช้อีกจึงไม่ก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มในเชิงพาณิชย์เพียงพอที่จะให้ได้รับสิทธิประโยชน์อีก และอาจเป็นเครื่องจักรเก่าซึ่งเคยใช้งานในโครงการ BOI มาก่อนแล้ว จึงจะเป็นการเวียนเทียนนำเครื่องจักรเดียวกันมายื่นขอใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้หลายครั้ง
กรณีนำเข้าเครื่องจักรเก่าจากต่างประเทศ หากพิสูจน์ได้ว่าเป็นเครื่องจักรที่เคยใช้งานเชิงพาณิชย์ในประเทศมาก่อนก็จะไม่อนุญาตให้ใช้ในโครงการที่ได้รับส่งเสริม
ไม่มีประกาศ เครื่องจักรเก่าในประเทศที่ส่งไปต่างประเทศ แล้วนำกลับเข้ามาใหม่ก็ยังคงเป็นเครื่องจักรเครื่องเดิมซึ่งไม่อนุญาตให้ใช้ จึงคิดว่าไม่จำเป็นจะต้องมีประกาศ