Chat
x
toggle menu
toggle menu

Select Groups

All Group
  • All Group
  • นโยบายเเละมาตรการพิเศษในการส่งเสริม
  • การขอรับการส่งเสริมการลงทุน
  • การออกบัตรส่งเสริม
  • การเปิดดำเนินการ
  • การเเก้ไขโครงการ
  • การดำเนินการอื่น ๆ
  • การรายงานความคืบหน้าโครงการ (e-Monitoring)
  • การปฏิบัติหลังการได้รับการส่งเสริม
  • การยกเลิกบัตรส่งเสริม
  • เรื่องทั่วไป
  • การใช้สิทธิด้านที่ดิน
  • การใช้สิทธิด้านเครื่องจักร
  • การใช้สิทธิด้านช่างฝีมือ/ต่างด้าว
  • การใช้สิทธิด้านวัตถุดิบ
  • ประเภทกิจการ - การแพทย์
  • การใช้สิทธิด้านภาษีเงินได้นิติบุคคล
  • ประเภทกิจการ - รถยนต์ไฟฟ้า
  • ประเภทกิจการ - ศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศ (IBC) IPO และ TISO
  • ประเภทกิจการ - โรงแรม
  • ประเภทกิจการ - ผลิตผลิตภัณฑ์โลหะรวมทั้งชิ้นส่วนโลหะ
  • ประเภทกิจการ - กิจการผลิตเครื่่องจักร อุุปกรณ์และชิ้นส่วน
  • ประเภทกิจการ - กิจการศูนย์กระจายสินค้าระหว่า ประเทศด้วยระบบที่่ทันสมัย (IDC)
ขอสอบถามเพิ่มเติม แล้ววัตถุดิบที่ซื้อในประเทศ (สิทธิ BOI) จะส่งไป test กับเครื่องจักรที่ญี่ปุ่น เพราะจะนำเข้าเครื่องจักร กรณีนี้ต้องส่งออกแบบไม่ใช้สิทธิถูกต้องไหม เพราะใช้สิทธิ BOI ในการส่งออกไม่ได้ใช่ไหม (กรกฎาคม 2564)
หากวัตถุดิบซื้อจากบริษัทในประเทศที่ได้รับ BOI ในราคาไม่รวมภาษี บริษัทต้องขออนุญาตส่งวัตถุดิบไปต่างประเทศ เพื่อให้สามารถนำใบขนขาออกมาตัดบัญชีวัตถุดิบ (ปรับยอด) และโอนสิทธิตัดบัญชีวัตถุดิบให้กับบริษัทผู้ขายวัตถุดิบ
แต่หากเป็นการซื้อวัตถุดิบในราคารวมภาษี ก็สามารถส่งออกวัตถุดิบนั้นได้ โดยไม่ต้องขออนุญาต BOI และไม่ต้องนำใบขนขาออกมาตัดบัญชี
ทางบริษัทฯ จะนำผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปที่ผลิตจากวัตถุดิบที่ใช้สิทธิมาตรา 36 ขายให้กับบริษัทลูกค้าภายในประเทศ (Non-BOI) ในการชำระภาษีอากรย้อนหลัง จะต้องคำนวณจากวันที่นำเข้าวัตถุดิบแต่ละรายการเลยใช่หรือไม่ เนื่องจากวัตถุดิบแต่ละรายการนำเข้ามาคนละช่วงเวลา หรือหากมีวิธีอื่นๆ รบกวนช่วยให้คำแนะนำด้วย (กรกฎาคม 2564)
1. กรณีที่บริษัทได้รับส่งเสริมเพื่อผลิตผลิตภัณฑ์เพื่อการส่งออกเป็นส่วนใหญ่ (ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80) หากมีความจำเป็นต้องจำหน่ายผลิตภัณฑ์ในประเทศ โดยผลิตภัณฑ์นั้นผลิตจากวัตถุดิบที่นำเข้าโดยใช้สิทธิยกเว้นอากรขาเข้าตามมาตรา 36 บริษัทสามารถยื่นขอชำระภาษีตามสภาพสินค้า ณ วันที่ขออนุญาตจำหน่ายในประเทศ (ไม่ใช่การชำระภาษีวัตถุดิบตามสภาพ ณ วันนำเข้า) ตามประกาศ สกท ที่ ป.5/2541
2. แต่หากกิจการของบริษัท ไม่ใช่การผลิตเพื่อการส่งออกเป็นส่วนใหญ่ หากจะจำหน่ายผลิตภัณฑ์ในประเทศ จะต้องชำระภาษีอากรขาเข้าวัตถุดิบตามสภาพ ณ วันนำเข้า ของวัตถุดิบแต่ละรายการ ที่ใช้ในการผลิตสินค้านั้น
สั่งปล่อยขอคืนอากรเครื่องจักร ราคาใน Invoice และใบขนฯ กรณีการสั่งปล่อยขอคืนอากรเครื่องจักร ราคาใน Invoice และใบขนฯ จำเป็นต้องตรงกันหรือไม่ เนื่องจากใน Invoice มีราคาอื่นรวมด้วย เช่น ค่า Packing, Insurance, Inland transportation เป็นต้น ซึ่งแยกรายการอยู่ แต่ไปเฉลี่ยในค่าเครื่องจักร

ในระบบ eMT การขอสั่งปล่อยคืนอากร จะมีช่องให้ระบุราคาเครื่องจักรด้วย โดยข้อมูลราคาเครื่องจักรนี้ เป็นเพียงการเก็บข้อมูลเชิงสถิติของ BOI เท่านั้น ไม่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาอนุมัติหรือไม่อนุมัติ

ดังนั้น ในส่วนของ BOI จึงจะไม่มีขั้นตอนการพิจารณาตรวจสอบว่ามูลค่าเครื่องจักรที่บริษัทระบุในระบบ eMT นั้น ตรงกับเอกสารหลักฐานหรือไม่

แต่ทั้งนี้การสำแดงราคาเครื่องจักรในใบขนสินค้าขาเข้าจะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และข้อกำหนดของกรมศุลกากร

หากบริษัทแม่มีการเรียกเก็บ ค่า license fee จากสินค้าที่ขายได้ เช่น 5 เปอร์เซ็นต์จากยอดขาย โดยวัตถุดิบที่นำเข้ามาผลิตสินค้า (มีทั้งนำเข้าโดยใช้และไม่ใช้ ม.36) นำเข้ามาจากบางส่วนบริษัทแม่ และบางส่วนนำเข้าบริษัทอื่นๆ กรณีนี้ไม่แน่ใจว่าจะเกี่ยวข้องกับราคาวัตถุดิบที่ต้องสำแดงตอนนำเข้าหรือไม่ (ต้องบวกเพิ่มอะไรหรือไม่) ทั้งในส่วนที่นำเข้ามาจากบริษัทแม่ และในส่วนที่นำเข้าบริษัทอื่นๆ (กรกฎาคม 2564)
เนื่องจากไม่ได้เป็นคำถามที่เกี่ยวกับหลักเกณฑ์ข้อกำหนดของ BOI จึงขอตอบตามความเห็นส่วนตัวดังนี้
ข้อเท็จจริง บริษัทนำเข้าวัตถุดิบบางส่วนจากบริษัทแม่ โดยมีเงื่อนไขต้องจ่ายค่า License Fee จากราคาสินค้าที่ขายได้ 5%
ความเห็น
1. หากการจ่ายค่า License Fee มีความเกี่ยวข้องกับการนำเข้าวัตถุดิบ ต้องนำค่า License Fee มารวมไว้ในราคาศุลกากรด้วย ตามประกาศกรมศุลกากร ที่ 133/2561 หน้า 72 รายละเอียดขอให้สอบถามกับ บ.ชิปปิ้ง และกรมศุลกากร โดยตรง
2. แต่หากการจ่ายค่า License Fee ไม่มีความเกี่ยวข้องกับการนำเข้าวัตถุดิบ ความเห็นส่วนตัวเข้าใจว่าจะต้องยื่นชำระอากรค่า License Fee โดยคำนวณพิกัดภาษีตามสินค้าที่ได้รับอนุญาตตาม License Fee นั้นๆ แต่วันที่จะต้องสำแดงต่อกรมศุลกากร ไม่แน่ใจว่าจะต้องเป็นวันใด เช่น วันที่ได้รับใบอนุญาต หรือวันที่เริ่มผลิต หรือวันที่เริ่มจำหน่าย เป็นต้น แต่ขอให้ตรวจสอบข้อมูลที่ถูกต้องกับกรมศุลกากรโดยตรง
3. การจ่ายค่า License ของวัตถุดิบ ตามราคาขายสินค้า เป็นปกติวิสัยของการประกอบธุรกิจหรือไม่ เช่น หากบริษัทประกอบธุรกิจ IPO/ITC คือ ซื้อมาขายไป ก็อยู่ในวิสัยที่เข้าใจได้ แต่หากบริษัทประกอบธุรกิจการผลิต โดยนำเข้าวัตถุดิบจากบริษัทแม่ 1 ชิ้น ราคา 100 บาท และผลิตเป็นสินค้าจำหน่ายในราคา 10,000 บาท หากต้องจ่ายค่า License 5% ของราคาสินค้า = 500 บาท ก็อาจไม่เป็นปกติวิสัยของการประกอบธุรกิจ จึงควรสอบถามกับผู้ทำบัญชี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมสรรพากร ว่าจะเข้าข่ายการกำหนดราคาซื้อขายที่ไม่ใช่เป็นราคาตลาดหรือไม่
บริษัทต้องการจำหน่ายเครื่องจักรหลัก อายุเกิน 5 ปี เครื่องนี้ซื้อมาโดยไม่ได้ใช้สิทธิยกเว้นอากรขาเข้า เป็นเครื่องที่ใช้ในโครงการ BOI บริษัทได้รับอนุมัติเปิดดำเนินการแล้วเมื่อจำหน่ายแล้วกำลังการการผลิตจะลดลงไปประมาณ 3.6% อยากถามว่า กรณีนี้ บริษัทต้องขออนุญาตจำหน่ายกับ BOI หรือไม่ หรือต้องดำเนินการอย่างไร

1. บริษัทสามารถจำหน่ายเครื่องจักรที่ซื้อมาโดยไม่ได้ใช้สิทธิยกเว้นภาษีอากรขาเข้าตามมาตรา 28, 29 โดยไม่ต้องแจ้งขออนุญาตต่อ BOI ไม่ว่าเครื่องจักรนั้นจะซื้อมาครบ 5 ปีหรือไม่ก็ตาม

2. การจำหน่ายเครื่องจักรตามข้อ 1 จะต้องไม่ทำให้กำลังผลิตลดลงเกินกว่า 20% จากกำลังผลิตในบัตรส่งเสริม และไม่ทำให้กรรมวิธีการผลิตเปลี่ยนแปลงไปจากที่ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริม เว้นแต่จะมีการซื้อเครื่องจักรใหม่มาทดแทนส่วนที่ขาดหายไป

3. หากการจำหน่ายเครื่องจักร ทำให้ขนาดกิจการลดลงเกินกว่า 20% จากกำลังผลิตในบัตรส่งเสริม หรือทำให้กรรมวิธีการผลิตเปลี่ยนแปลงไปจากที่ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริม จะต้องยื่นขอแก้ไขโครงการ เพื่อลดขนาดกิจการ หรือเพื่อลดขั้นตอนการผลิต แล้วแต่กรณี

กรณีที่สอบถาม เป็นการจำหน่ายเครื่องจักรตามข้อ 1 และไม่ขัดกับหลักเกณฑ์ตามข้อ 2 จึงไม่ต้องแจ้งหรือขออนุญาตใดๆ ต่อ BOI

บริษัทฯ จะส่งเครื่องจักรคืนไปต่างประเทศ แต่เครื่องจักรนั้นมีอายุไม่เกิน 5 ปี เนื่องจากต้องการยกเลิกโครงการ จะทยอยส่งคืนไปบริษัทฯต้องดำเนินการอย่างไรบ้างและมีภาระภาษีหรือไม่

การขอส่งคืนเครื่องจักรไปต่างประเทศ จะไม่มีภาษี แม้ว่าเครื่องจักรนั้นจะนำเข้ามาครบ 5 ปีหรือไม่ก็ตาม แต่จะต้องไม่ทำให้กำลังผลิตลดลงมากกว่า 20% ของกำลังผลิตในบัตรส่งเสริม และต้องไม่ทำให้กรรมวิธีการผลิตที่ได้รับส่งเสริมขาดหายไป ยกเว้นแต่จะมีการนำเครื่องจักรใหม่เข้ามาทดแทน

แต่หากจะส่งคืนเครื่องจักรไปต่างประเทศ ซึ่งทำให้กำลังผลิตลดลงมากกว่า 20% โดยไม่นำเครื่องจักรใหม่มาทดแทน เนื่องจากจะยกเลิกโครงการให้ยื่นขออนุญาตส่งคืนเครื่องจักรไปต่างประเทศผ่านระบบ eMT และชี้แจงเหตุผลว่าขอส่งคืน เนื่องจากจะขอยกเลิกโครงการ

กรณีที่เราซื้อวัตถุดิบจากบริษัท ก. ในต่างประเทศ โดยเราตกลงชำระค่าแม่พิมพ์ให้ผู้ผลิต (เราเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในแม่พิมพ์ด้งกล่าว) เพื่อใช้ในการผลิตวัตถุดิบที่เราซื้อจาก บริษัท ก. ดังกล่าว หากเราจะนำอินวอยซ์ค่าแม่พิมพ์นั้นไปชำระภาษีนำเข้า พร้อมกับการนำเข้าวัตถุดิบในล็อตเดียว เราสามารถนำได้รับสิทธิ ม.36 พร้อมกับวัตถุดิบด้วยหรือไม่ ตัวอย่างเช่น ค่าแม่พิมพ์ 3000 ยูโร ค่าวัตถุดิบในล็อตนั้น 3000 ชิ้น 4500 ยูโร รวมราคาทั้งอินวอยซ์ 3000+4500 = 7500 ยูโร ภาษีนำเข้า ม.36 0% = 0 บาท หรือไม่ (กฎกระทรวงการกำหนดและการใช้ราคาศุลกากร พ.ศ. 2560 หน้า 53 ระบุว่าให้นำมารวมไว้ในราคานำเข้าตามสัดส่วนอย่างเหมาะสม แต่ได้โทรไปปรึกษาทางกรมศุลฯ เจ้าหน้าที่แนะนำว่าเห็นบริษัทมักจะนำมารวมในอินวอยซ์วัตถุดิบชิปเมนท์เดียวแล้วเสียอากรก้อนเดียวไปเลย เพราะการชี้แจงแต่ละชิปเมนท์จนกว่าจะครบยอดเงินของแม่พิมพ์อาจจะยุ่งยากไป) (กรกฎาคม 2564)
บริษัท A (ในประเทศ) จ้างให้บริษัท B (ต่างประเทศ) ผลิตแม่พิมพ์ให้ในราคา 1 ล้านบาท และจ้างให้นำแม่พิมพ์นั้นไปผลิตวัตถุดิบจำนวน 200,000 ชิ้น ในราคาชิ้นละ 1 บาท แล้วจึงนำเข้าวัตถุดิบนั้นเข้ามาในประเทศ
กรณีเช่นนี้ วัตถุดิบที่นำเข้าจากบริษัท B ในราคาชิ้นละ 1 บาทนั้น จะต้องนำค่าแม่พิมพ์มาเฉลี่ยเป็นราคาที่แท้จริงของวัตถุดิบด้วยในราคาชิ้นละ 1,000,000 / 200,000 = 5 บาท จึงต้องสำแดงราคาวัตถุดิบที่นำเข้าในราคา 1+5 = 6 บาท โดยในการขอใช้สิทธิยกเว้นอากรขาเข้าตามมาตรา 36 สามารถสั่งปล่อยภายใต้รายการของวัตถุดิบนั้นๆ โดยตรง โดยไม่ต้องแยกสั่งปล่อยเป็นรายการค่าบริการทางวิศวกรรมเช่นเดียวกับกรณีของเครื่องจักร
กรณีที่บริษัท A จะไม่เฉลี่ยค่าแม่พิมพ์ตามจำนวนการผลิตวัตถุดิบทั้งหมด แต่จะเฉลี่ยค่าแม่พิมพ์ในการนำเข้าวัตถุดิบที่นำเข้าล็อตแรกล็อตเดียวให้ครบตามมูลค่าแม่พิมพ์ เช่น นำเข้าวัตถุดิบล็อตแรก 2,000 ชิ้น เฉลี่ยเป็นค่าแม่พิมพ์เต็มมูลค่า = 1,000,000 / 2,000 = 500 บาท และสำแดงราคาวัตถุดิบในล็อตนี้เป็น 1 + 500 = 501 บาท ส่วนการนำเข้าวัตถุดิบล็อตต่อๆไป สำแดงราคาเป็น 1 บาท เนื่องจากเคยสำแดงราคาแม่พิมพ์ไปครบถ้วนแล้วนั้น จะกระทำได้และเหมาะสมหรือไม่อย่างไร ขึ้นกับการพิจารณาของกรมศุลกากร
บริษัทได้รับการส่งเสริมในประเภทกิจการ IPO หรือ ITC จะสอบถามกรณีที่ชื่อหลัก คือ ABS COMPOUND สามารถเพิ่มชื่อรอง ABS อย่างเดียวได้หรือไม่ เพราะมีเอกสาร Report V บางส่วนที่ต้องคืน ชื่อ ABS อย่างเดียว (กรกฎาคม 2564)
แม้ว่า ABS กับ ABS Compound อาจเป็นของคนละชนิดกัน แต่สำหรับกิจการ IPO อยู่ในข่ายที่จะขออนุมัติสต็อกวัตถุดิบได้ทั้งคู่ ปกติ BOI จึงน่าจะอนุญาตให้ตั้งบัญชีวัตถุดิบในกรุ๊ปเดียวกัน โดยจะใช้ชื่อใดเป็นชื่อหลักหรือชื่อรองก็ได้
บริษัทมีการสั่งซื้อเครื่องจักรจากต่างประเทศโดยผ่านบริษัทตัวกลางที่อยู่ในไทย ซึ่งเครื่องจักรมีมูลค่าสูง อยากสอบถามว่า สามารถทำเรื่องนำเข้าเครื่องจักรในนามของบริษัทของเราเองได้ไหม แล้วมีขั้นตอนและเอกสารที่ต้องใช้อะไรบ้าง

การใช้สิทธิยกเว้น/ลดหย่อนอากรขาเข้าเครื่องจักรตามมาตรา 28 หรือ 29 ผู้นำเข้าจะต้องเป็นผู้ได้รับการส่งเสริมซึ่งได้รับสิทธิประโยชน์ดังกล่าวเท่านั้น

หากผู้นำเข้าเป็นผู้ไม่ได้รับการส่งเสริม แล้วนำมาจำหน่ายให้กับผู้ได้รับส่งเสริม กรณีนี้ผู้ได้รับส่งเสริมจะใช้สิทธิยกเว้นลดหย่อนอากรขาเข้าเครื่องจักรนั้นไม่ได้

หากผู้ได้รับส่งเสริม (A) จำเป็นต้องนำเข้าเครื่องจักรจากต่างประเทศ (C) โดยซื้อผ่านตัวแทนจำหน่ายในประเทศ (B) สามารถใช้สิทธิยกเว้นลดหย่อนอากรขาเข้าเครื่องจักรได้ โดยต้องดำเนินการดังนี้

1. A (BOI) สั่งซื้อเครื่องจักรจากบริษัทตัวแทนจำหน่ายในประเทศ B (non-BOI) เพื่อซื้อเครื่องจักรจากจาก C (ต่างประเทศ)

2. C ส่งเครื่องจักรมายังประเทศไทย โดยออกอินวอยซ์เรียกเก็บเงินจาก B (sold to B) และส่งเครื่องจักรไปยัง A (ship to A) 3. เมื่อเครื่องจักรมาถึงประเทศไทย A และ B ติดต่อกรมศุลกากรเพื่อขอโอนสิทธิการเป็นผู้นำเข้าเครื่องจักรจาก B ให้กับ A 4. A เป็นผู้เดินพิธีการขาเข้า และหาก A ได้รับอนุมัติสั่งปล่อยเครื่องจักรดังกล่าวจาก BOI ก็สามารถใช้สิทธิยกเว้น/ลดหย่อนอากรขาเข้าเครื่องจักรดังกล่าวได้

ขอทราบขั้นตอนการทำเรื่องสงวนสิทธิและขอสั่งปล่อยคืนอากรภายหลัง ช่วยแนะนำวิธีการด้วย

การสงวนสิทธิคืนอากรและสั่งปล่อยคืนอากร มีขั้นตอนดังนี้

1. นำเข้าเครื่องจักรภายใต้ชื่อบริษัทที่ได้รับส่งเสริม โดยระบุเป็นการชำระภาษีอากรสงวนสิทธิ

2. ขออนุมัติบัญชีรายการเครื่องจักร โดยมีชื่อรองที่ตรงตามชื่อที่ระบุในอินวอยซ์และใบขนสินค้าขาเข้า

3. ยื่นคำร้องขอสั่งปล่อยคืนอากรเครื่องจักรผ่านระบบ eMT

4. ติดต่อกรมศุลกากรเพื่อขอคืนเฉพาะอากรขาเข้า ตามสิทธิที่ได้รับอนุมัติ

5. สำหรับ VAT จะไม่ได้รับคืนตามข้อ 4 แต่จะเป็นการเครดิต VAT ซื้อ VAT ขาย ตามปกติ

ขอสอบถามเกี่ยวกับขั้นตอนการตัดบัญชีเครื่องจักรเกิน 5 ปี ดังนี้ 1.กรณีที่เป็นอะไหล่/แม่พิมพ์ อุปกรณ์ ที่ไม่ใช่เครื่องจักรหลักในโครงการ เมื่อครบ 5 ปีแล้ว บริษัทสามารถทำเรื่องขอจำหน่ายโดยไม่มีภาระภาษีเลยได้ไหมคะ (แต่ยังมีการใช้อะไหล่/แม่พิมพ์ หรืออุปกรณ์นั้นๆในโครงการอยู่) 2. กรณีที่เครื่องจักรที่ได้รับอนุญาตให้จำหน่ายแล้ว บริษัทสามารถจำหน่ายได้เลยหรือไม่ และหลังจากที่จำหน่ายไปแล้ว ต้องทำเรื่องแจ้ง BOI อีกครั้งหรือไม่ 3. มีประกาศที่เกี่ยวข้องกับวิธีปฏิบัติไหม

1. กรณีเป็นอะไหล่/แม่พิมพ์ ที่นำเข้าเกิน 5 ปีแล้ว หากต้องการตัดบัญชีเพื่อปลอดภาระภาษี แต่ยังจะไม่จำหน่าย ขอแนะนำให้ยื่นขออนุญาตตามขั้นตอน คือ ยื่นเฉพาะการตัดบัญชีเครื่องจักรเกิน 5 ปี เพื่อปลอดจากภาระภาษีหลังจากนั้น เมื่อต้องการจำหน่าย จึงค่อยยื่นเรื่องขออนุญาตจำหน่าย

2. เครื่องจักรที่ได้รับอนุญาตให้จำหน่าย สามารถจำหน่ายได้ทันที แต่หากเป็นเครื่องจักรที่ยังมีภาระภาษี โดยการอนุญาตให้จำหน่ายระบุเงื่อนไขให้ต้องชำระภาษี บริษัทจะต้องชำระภาษีให้เสร็จสิ้นก่อน จึงจะจำหน่ายได้

3. หลักเกณฑ์การตัดบัญชีเพื่อปลอดจากภาระภาษีหลังจากนำเข้ามาครบ 5 ปี เป็นไปตาม ประกาศ สกท ที่ ป.3/2538

ขอจำหน่ายส่วนสูญเสีย (นอกสูตร) ขอคำแนะนำและสอบถามดังนี้ 1. เมื่อบริษัททำการผลิตผลิตภัณฑ์ และมีวัตถุดิบที่เสีย (NG) จากการผลิต บริษัทจะต้องดำเนินการอย่างไร 2. ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปเสีย (NG) มีมูลค่าเชิงพาณิชย์ บริษัทต้องดำเนินการอย่างไร (จำหน่ายในประเทศ หรือส่งไปจำหน่ายต่างประเทศ) (กรกฎาคม 2564)
1. วัตถุดิบที่เสียจากการผลิตสินค้าตามบัตรส่งเสริม มี 2 กรณีคือ
1.1 ส่วนสูญเสียในสูตรการผลิต
- หากมีมูลค่าเชิงพาณิชย์ ให้ยื่นขอชำระภาษีตามสภาพเศษซาก ก่อนการจำหน่ายเศษซากวัตถุดิบนั้นๆ และไม่ต้องนำมาตัดบัญชีวัตถุดิบ
- หากไม่มีมูลค่าเชิงพาณิชย์ สามารถนำไปกำจัดได้โดยไม่ต้องแจ้ง BOI และไม่ต้องนำมาตัดบัญชีวัตถุดิบ
1.2 ส่วนสูญเสียนอกสูตรการผลิต
- ต้องยื่นขออนุมัติวิธีทำลาย และทำลายตามวิธีที่ได้รับอนุญาต หากเศษซากหลังทำลายมีมูลค่าเชิงพาณิชย์ ให้ยื่นขอชำระภาษีตามสภาพเศษซาก แล้วยื่นขอตัดบัญชีวัตถุดิบต่อไป

2. กรณีผลิตเป็นสินค้าสำเร็จรูปแล้วเป็นของเสีย ไม่สามารถส่งออกได้ ถือเป็นส่วนสูญเสียนอกสูตร และให้ดำเนินการตามข้อ 1.2
1. ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตแล้วเสีย (NG) คือ ส่วนสูญเสียตามสภาพผลิตภัณฑ์ ใช่หรือไม่ 2.วัตถุดิบ (R/M) ที่เสียใช้งานไม่ได้ก่อนเข้าขั้นตอนการผลิต คือ ส่วนสูญเสียตามสภาพวัตถุดิบ ใช่หรือไม่ และวัตถุดิบที่เสียเมื่อนำเข้าไปในขั้นตอนการผลิตแล้ว คือ ส่วนสูญเสียตามสภาพวัตถุดิบ ใช่หรือไม่ 3.ผลิตภัณฑ์ที่เสียระหว่างการ PROCESS คือ ส่วนสูญเสียตามสภาพ Semi Product ใช่หรือไม่(กรกฎาคม 2564)
คำว่า "ส่วนสูญเสียตามสภาพผลิตภัณฑ์" หรือ "ส่วนสูญเสียตามสภาพ Semi Product" ไม่ใช่คำที่อยู่ในประกาศ BOI เป็นคำพูดที่อธิบายกับบริษัทว่าในการตัดบัญชีวัตถุดิบ จะแปลงปริมาณส่วนสูญเสีย ให้เป็นปริมาณวัตถุดิบรายการใด จำนวนเท่าใด ได้อย่างไร จึงคิดว่าไม่จำเป็นต้องยึดติดกับคำเหล่านี้ แต่ให้พิจารณาตามข้อเท็จจริง จะเข้าใจง่ายกว่า
กรณีนำเข้าเครื่องจักรโดยใช้สิทธิ BOI เรียบร้อยแล้ว และนำเข้ายังไม่เกิน 5 ปี แต่เครื่องจักรไม่สามารถใช้งานได้ (ไม่ได้ชำรุดหรือเสียหาย) บริษัทจะต้องดำเนินการอย่างไร และต้องชำระภาษีหรือไม่ (2 เม.ย. 2563)

กรณีนำเข้าเครื่องจักรโดยใช้สิทธิBOI เรียบร้อยแล้ว และนำเข้ายังไม่เกิน 5 ปี แต่เครื่องจักรไม่สามารถใช้งานได้ (ไม่ได้ชำรุดหรือเสียหาย) บริษัทจะต้องดำเนินการอย่างไร และต้องชำระภาษีหรือไม่

A: เครื่องจักรที่นำเข้าโดยใช้สิทธิยกเว้นภาษีอากรจาก BOI จะสามารถตัดบัญชีเพื่อปลอดภาระภาษีหลังจากนำเข้าแล้วเป็นเวลา 5 ปี

กรณีที่สอบถาม เป็นเครื่องจักรที่นำเข้าโดยใช้สิทธิ และยังไม่ครบ 5 ปี แต่บริษัทไม่ต้องการใช้งานต่อ เนื่องจากสินค้าอาจมีการเปลี่ยนรุ่น เป็นต้น

1. หากจะจำหน่ายในประเทศ จะต้องขออนุญาตจำหน่าย และชำระภาษีตามสภาพ ณ วันอนุญาต

2. หากจะส่งคืน จะต้องขออนุญาตส่งคืน โดยจะไม่มีภาระภาษี

3. หากไม่ส่งคืน และไม่ต้องการชำระภาษีตามข้อ 1 จะต้องเก็บไว้ที่โรงงานจนครบ 5 ปี จากนั้นจึงยื่นขอตัดบัญชีเพื่อปลอดภาระภาษี แล้วจึงขออนุญาตจำหน่ายโดยไม่มีภาระภาษี ครับ

ความหมายของคำว่า เครื่องจักรชำรุด หรือ เครื่องจักรเสียหายหมายความรวมถึงเครื่องจักรใช้งานไม่ได้หรือสินค้าอาจมีการเปลี่ยนรุ่นตามที่สำนักงานแจ้งใช่หรือไม่ และไม่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าเครื่องจักรที่มีอายุยังไม่เกิน 5 ปี บริษัทฯ สามารถส่งคืนเครื่องจักรได้ โดยไม่มีภาระภาษีถูกต้องใช่หรือไม่ เพื่อบริษัทฯ จะได้ปฎิบัติได้อย่างถูกต้องโดยไม่ผิดเงื่อนไขและไม่มีภาระภาษีย้อนหลัง (2 เม.ย. 2563)

การส่งคืนเครื่องจักรไปต่างประเทศไม่มีข้อกำหนดว่าต้องเป็นเครื่องจักรที่ชำรุดหรือเสียหาย หรือนำเข้ามาแล้วเป็นเวลาเท่าใด แต่สามารถขอส่งคืนได้ทุกกรณี โดยไม่มีภาษี

แต่ทั้งนี้จะต้องไม่ทำให้กำลังผลิตของโครงการลดลงมากกว่า 20% ของกำลังผลิตตามบัตรส่งเสริม และไม่ทำให้กรรมวิธีการผลิตที่ได้รับส่งเสริมขาดหายไป เว้นแต่จะมีการนำเครื่องจักรใหม่เข้ามาทดแทน

เมื่อเราใส่วัตถุดิบเข้าไปในขั้นตอนการผลิตแล้ว และเกิดการเสียหายระหว่างการผลิตไม่สามารถผลิตออกมาเป็นชิ้นงานได้ เวลาที่เราขออนุมัติวิธีทำลายจากสำนักงานฯ เราจะเรียกเป็นผลิตภัณฑ์เสีย หรือเป็นวัตถุดิบเสีย(กรกฎาคม 2564)
กรณีนำวัตถุดิบเข้ากระบวนการผลิตแล้ว และเกิดการเสียหาย จะเรียกรวมๆ ว่าเป็นสินค้ากึ่งสำเร็จรูป (Semi Product) ซึ่งจะมีหลากหลายกรณีมาก เช่น 1) ฉีดขึ้นรูปชิ้นงานพลาสติกแล้วเสียหาย 2) ฉีดขึ้นรูปชิ้นงานพลาสติกและประกอบกับชิ้นส่วนโลหะแล้วเสียหาย 3) ....... ฯลฯ ดังนั้น วิธีทำลาย Semi Product จึงอาจต้องแตกต่างตามสภาพของ Semi Product นั้นๆ ด้วย

กรณีที่กรรมวิธีการผลิตมีความซับซ้อน ใช้วัตถุดิบหลายชนิด และเกิดการสูญเสียในหลายขั้นตอน มีความจำเป็นต้องแยกทำลายด้วยวิธีที่แตกต่างกัน ควรปรึกษากับเจ้าหน้าที่ BOI ที่รับผิดชอบโครงการของบริษัทโดยตรง เพื่อกำหนดวิธีทำลาย Semi Product แต่ละชนิด ให้เหมาะสมกับส่วนสูญเสียชนิดนั้นๆ
รบกวนสอบถามวิธีการกำจัดหรือทำลายสินค้าที่เสื่อมคุณภาพ ยกเลิกผลิตฯ (ผลิตภัณฑ์ อุปกรณ์โทรคมนาคม ประเภท 5.5 กิจการผลิตชิ้นส่วนและ/หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือชิ้นส่วนพลาสติกฯ ฉีดขึ้นรูปชิ้นงาน (บัตรฯ ปี2554) แล้วนำมาประกอบเข้าด้วยกับวัตถุดิบรายการอื่น บริษัทขอสอบถามดังนี้ 1.บริษัท สามารถทำเรื่องส่งออกฯไปต่างประเทศ (แบบไม่มีมูลค่าเชิงพาณิชย์) ได้หรือไม่ 2. กรณีส่งออกไปต่างประเทศ ต้องเชิญเจ้าหน้าที่สรรพากร, กรมศุลฯ, Auditor, ตัวแทนบีโอไอเข้ามาร่วมตรวจสอบหรือไม่ 3. กรณีที่ยื่นส่งออกฯ ต้องแตกรายละเอียดผลิตภัณฑ์ตามสูตรการผลิตที่ยื่นหรือไม่ (กรกฎาคม 2564)
1. การส่งออกสินค้าที่ไม่สามารถจำหน่ายได้ ไปว่าจ้างกำจัด/ทำลายที่ต่างประเทศ สามารถนำใบขนขาออกมาตัดบัญชีได้ตามปกติ แต่จะมีข้อห้ามในการส่งขยะอุตสาหกรรมไปต่างประเทศหรือไม่/อย่างไรนั้น ขอให้สอบถามหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรง ส่วนการสำแดงราคา เข้าใจว่าขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงตามกรณีนั้น ๆ
2. การกำจัด/ทำลายสินค้า จะต้องปฏิบัติตามประกาศของกรมสรรพากร เนื่องจากเกี่ยวข้องกับการลงบัญชีต้นทุน กรณีการส่งสินค้าไปว่าจ้างกำจัด/ทำลายในต่างประเทศ ปกติควรจะต้องมีสัญญาว่าจ้างกำจัด/ทำลาย หลักฐานการชำระเงินค่าทำลาย หลักฐานการส่งออก หลักฐานการทำลาย รายละเอียดขอให้สอบถามกับผู้สอบบัญชี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรง
หากสินค้าที่ส่งออกไปว่าจ้างกำจัด/ทำลายในต่างประเทศ เป็นสินค้าที่ได้รับอนุมัติสูตรการผลิต สามารถนำใบขนขาออกมาตัดบัญชีวัตถุดิบตามสูตรการผลิตได้
การซื้อเครื่องจักรเข้ามาทดแทนเครื่องจักรเดิมที่ชำรุด กรณีซื้อเครื่องจักรใหม่เข้ามาทดแทนเครื่องจักรเดิม และกำลังการผลิตที่เกิดจากเครื่องจักรใหม่นี้สามารถใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลได้มีประกาศอ้างอิงเพื่อใช้ชี้แจงกับทางบริษัทหรือเปล่า เนื่องจาก Audit สอบถามมา (2 เม.ย. 2563)

กรณีที่ซื้อเครื่องจักรดังกล่าวก่อนวันที่ได้รับใบอนุญาตเปิดดำเนินการ เครื่องจักรดังกล่าวจะถูกนับรวมกำลังผลิตและนับเป็นขนาดการลงทุนเพื่อกำหนดวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลด้วย จึงไม่มีประเด็นพิเศษใดๆ

แต่หากเป็นการซื้อเครื่องจักรหลังจากได้รับใบอนุญาตเปิดดำเนินการแล้ว (เช่น เพื่อทดแทนเครื่องจักรเดิมที่ชำรุดเสียหาย หรือเพื่อให้สอดคล้องกับ spec ของสินค้าที่อาจมีการเปลี่ยนแปลงไป เป็นต้น) หากเครื่องจักรดังกล่าวเป็นเครื่องจักรใหม่ และสอดคล้องกับกรรมวิธีการผลิตที่ได้รับส่งเสริม ก็สามารถนับกำลังผลิตของเครื่องจักรดังกล่าวเป็นของโครงการได้ แต่ทั้งนี้ จะไม่มีการแก้ไขเพิ่มเติมกำลังผลิตและวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลให้อีก

คำตอบตามวรรคสอง ไม่มีประกาศอ้างอิง แต่พิจารณาตามข้อเท็จจริงว่าไม่ขัดกับเงื่อนไขในบัตรส่งเสริม และไม่ขัดกัปประกาศใดๆของ BOI

เมื่อเปิดดำเนินการยังสามารถใช้สิทธิประโยชน์ตามมาตรา 28 ได้อยู่หรือไม่: กิจการ ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ได้รับสิทธิประโยชน์ตามมาตรา 28 คำถามคือ ถ้าเปิดดำเนินการ แต่จำเป็นต้องนำเข้าเครื่องจักรหลัก และอะไหล่มาเพื่อทดแทนของเดิมที่ชำรุดเสียหาย บริษัทฯ ยังได้รับยกเว้นอากรขาเข้าอยู่หรือไม่ (11 มิ.ย. 2563)

กรณีได้รับอนุญาตเปิดดำเนินการเต็มโครงการแล้ว แต่ยังมีระยะเวลานำเข้าเครื่องจักรเหลืออยู่

1. สามารถนำอะไหล่หรือแม่พิมพ์เข้ามาได้ภายในระยะเวลาที่เหลืออยู่ แต่หากจะนำเข้าเครื่องจักรหลัก จะต้องเป็นการนำเข้าเพื่อทดแทนเครื่องจักรเดิมที่ชำรุดเสียหายเท่านั้น

2. ไม่สามารถขอขยายระยะเวลานำเข้าเครื่องจักรได้อีก แม้จะยังขอขยายเวลานำเข้าเครื่องจักรไม่ครบ 3 ครั้งก็ตาม

การจำหน่าย หรือทำลายวัตถุดิบมาตรา 36 (11 พ.ย. 2564)
บริษัทมีวัตถุดิบที่นำเข้ามาโดยใช้สิทธิประโยชน์ยกเว้นอากรขาเข้าตามมาตรา 36 ต้องการทำลายหรือจำหน่าย ทางบริษัทจะต้องดำเนินการอย่างไรบ้าง
A1: ตอบคำถามดังนี้
1. การจำหน่ายวัตถุดิบที่นำเข้าโดยใช้สิทธิมาตรา 36 ในประเทศ ซึ่งไม่ใช่การส่งออกทางอ้อมจะต้องชำระภาษีอากรตามสภาพ ณ วันนำเข้า ของวัตถุดิบรายการนั้นๆ
2. การทำลายวัตถุดิบ สรุปขั้นตอนคร่าวๆ ดังนี้
- ต้องเป็นวัตถุดิบที่เป็นส่วนสูญเสีย ตามประกาศ สกท ที่ ป.5/2543
- ให้ยื่นขออนุมัติวิธีทำลาย
- เมื่อจะทำลาย ต้องให้ บ.Inspector ที่ได้รับมอบหมายจาก BOI ร่วมตรวจสอบรับรองการทำลายด้วย
- จากนั้น ยื่นขอปรับยอด (ตัดบัญชีวัตถุดิบ) ตามรายการและปริมาณที่ได้ทำลาย ตามที่ บ.Inspector รับรอง
- หากเศษซากจากการทำลาย มีมูลค่าเชิงพาณิชย์ จะต้องยื่นชำระภาษีตามสภาพเศษซากนั้นๆ ด้วย

ขออภัยครับ ไม่มีข้อมูลส่วนนี้ ในภาษาที่ท่านเลือก !

Sorry, There is no information support your selected language !

Download และ ติดตั้งโปรแกรมอ่าน PDF

Download PDF Reader

Site map