1.หากบริษัทนำเข้าเครื่องจักรมาในช่วงที่ได้รับสิทธิประโยชน์การยกเว้นภาษีอากร โดยได้ชำระภาษีอากรไว้ บริษัทสามารถยื่นขออนุมัติสั่งปล่อยคืนอากรได้ แต่ต้องไม่เกิน 1 ปี นับจากวันที่สิ้นสุดระยะเวลานำเข้าเครื่องจักร ตามประกาศ สกท ที่ ป.4/2556 ข้อ 8.1
2.การขอคืนอากรเครื่องจักร จะเป็นช่วงที่ยังไม่เริ่มการผลิตก็ได้
3.การติดต่อสอบถามเจ้าหน้าที่ BOI ขอให้ติดต่อโดยตรงกับกองบริหารการลงทุนของ BOI ที่รับผิดชอบประเภทอุตสาหกรรมที่บริษัทได้รับการส่งเสริม
บุคคลธรรมดาสามารถยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุนได้ และในขั้นตอบรับมติก็สามารถเป็นบุคคลธรรมดาได้เช่นกัน อย่างไรก็ตาม ในขั้นตอนการออกบัตรส่งเสริม ผู้ยื่นจะต้องจดทะเบียนเป็นบริษัท สหกรณ์ หรือมูลนิธิที่จดทะเบียนในประเทศไทย
โครงการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนที่ผลิตสินค้าเพื่อการส่งออก
จะได้รับสิทธิและประโยชน์ยกเว้นอากรขาเข้าวัตถุดิบและวัสดุจำเป็นที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ
เพื่อใช้ผลิต ผสม ประกอบเป็นผลิตภัณฑ์หรือผลิตผลเพื่อส่งออกไปจำหน่ายต่างประเทศ
ตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำหนด พร้อมกับจะได้รับค้ำประกันภาษีมูลค่าเพิ่มด้วย
ทั้งนี้
วัตถุดิบที่นำเข้ามาโดยใช้สิทธิประโยชน์ยกเว้นอากรขาเข้านี้
จะต้องใช้ในโครงการที่ได้รับส่งเสริมเพื่อผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ตามที่ระบุไว้ในบัตรส่งเสริม
และส่งออกไปจำหน่ายต่างประเทศเท่านั้น
กรณีที่นำไปผลิตจำหน่ายในประเทศ
หรือไม่สามารถส่งออกได้ ผู้ได้รับส่งเสริมจะต้องเสียภาษีอากรวัตถุดิบตามสภาพ ณ
วันนำเข้า พร้อมเงินเพิ่มและเบี้ยปรับตามกฎหมายศุลกากร อีกทั้งจะต้องชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม
พร้อมเงินเพิ่มและเบี้ยปรับอีกด้วย
- ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสูงสุด 13 ปี
(มาตรา 31)
- ลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลร้อยละ 50
(มาตรา 35 (1))
- ยกเว้น/ลดหย่อนอากรขาเข้าสำหรับเครื่องจักร
(มาตรา 28/29)
- ลดหย่อนอากรขาเข้าสำหรับวัตถุดิบหรือวัสดุจำเป็น
(มาตรา 30)
- ยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับของที่นำเข้ามาเพื่อใช้ในการวิจัยและพัฒนา
(มาตรา 30/1)
- ให้หักค่าขนส่ง ค่าไฟฟ้าและค่าน้ำประปา
เป็นสองเท่า (มาตรา 35 (2))
- ให้หักค่าติดตั้งหรือก่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกเพิ่มขึ้นร้อยละ
25
(มาตรา 35 (3))
- ยกเว้นอากรขาเข้าวัตถุดิบหรือวัสดุจำเป็นสำหรับการผลิตเพื่อการส่งออก
(มาตรา 36)
การได้สิทธิประโยชน์ดังกล่าวขึ้นอยู่กับประเภทกิจการและเงื่อนไขของโครงการที่ได้รับการส่งเสริม
ตามประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ.2508 บุคคลที่มีสัญชาติไทย
และนิติบุคคลที่มีสัญชาติไทย (บุคคลหรือนิติบุคคลที่มีสัญชาติไทยถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ
51 ของทุนจดทะเบียน)
เท่านั้น จึงจะสามารถถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดินได้
ยกเว้นกรณีบริษัทต่างชาติ
(มีหุ้นไทยต่ำกว่าร้อยละ 51 ของทุนจดทะเบียน)
ที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนตาม พระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน พ.ศ.2520
จะได้รับสิทธิประโยชน์ตามมาตรา 27 ให้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินเพื่อประกอบกิจการที่ได้รับส่งเสริมได้
ซึ่งนอกจากจะใช้ที่ดินดังกล่าวเพื่อใช้สร้างอาคารโรงงานแล้ว
ยังสามารถใช้สร้างเป็นสำนักงาน และที่พักอาศัยของพนักงานได้อีกด้วย แต่ต้องอยู่ในพื้นที่เดียวกันกับอาคารโรงงาน
อนึ่ง ที่ดินซึ่งได้รับอนุมัติให้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดิน
จะต้องใช้ในกิจการที่ได้รับส่งเสริมเท่านั้น
กรณีที่บริษัทยกเลิกกิจการ
จะต้องจำหน่ายที่ดินดังกล่าวภายใน 1 ปีนับจากวันที่เลิกกิจการ
แต่หากไม่ดำเนินการภายในเวลาที่กำหนด อธิบดีกรมที่ดินมีอำนาจจำหน่ายที่ดินนี้ได้ตามบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายที่ดิน
พระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุน
พ.ศ. 2520 ได้บัญญัติสิทธิและประโยชน์ในการถือครองกรรม
สิทธิที่ดินไว้ตามมาตรา 27 ดังนี้
มาตรา 27
ให้ได้รับอนุญาตให้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินตามจำนวนที่คณะกรรมการพิจารณาเห็นสมควร
ทั้งนี้ ที่ดินที่จะได้รับอนุญาตให้ถือกรรมสิทธิ์ตามบัตรส่งเสริม
จะต้องใช้เพื่อประกอบกิจการที่ได้รับการส่งเสริมเท่านั้น
เว้นแต่จะได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากคณะกรรมการก่อน
เมื่อผู้ได้รับการส่งเสริมเลิกกิจการ
ให้บริษัทจำหน่ายที่ดินที่ได้รับอนุญาตให้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินภายใน 1 ปี นับแต่วันที่เลิกกิจการนี้
ถ้าผู้ได้รับการส่งเสริมฝ่าฝืน
อธิบดีกรมที่ดินมีอำนาจจำหน่ายที่ดินนี้ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายที่ดิน
สำนักงานไม่ให้การส่งเสริมนำกิจการโรงแรมเที่ดำเนินการอยู่แล้วมาขอรับการส่งเสริม กรณีการใช้อาคารเก่าหรือโครงการเดิมมายื่นขอรับการส่งเสริม จะต้องปิดกิจการเดิม และหยุดการใช้อาคารดังกล่าว และเสนอแผนการลงทุนใหม่โดยจะต้องไม่รวมค่าสิ่งปลูกสร้างเดิมในเงินลงทุน และจะต้องมีการลงทุนงานระบบใหม่ เช่น ลิฟท์ ระบบไฟฟ้า ระบบประปา และงานระบบอื่นๆ เป็นต้น โดยวงเงินลงทุนใหม่ต้องมีมูลค่าไม่น้อยกว่า 2 ล้านบาทต่อห้อง ทั้งนี้ หากโครงการตั้งอยู่ใน 20 จังหวัดรายได้ต่อหัวต่ำ ซึ่งจะได้รับสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 3 ปี การนับ Cap วงเงินยกเว้นภาษี จะไม่รวมสิ่งปลูกสร้างเดิม
สำนักงานขอสงวนสิทธิในการพิจารณา
กรณีใช้อาคารหรือกิจการเดิมมาปรับทำกิจการโรงแรมเป็นรายกรณี
และอาจเพิ่มเงื่อนไขให้จัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมเสมือนหนึ่งเป็นโครงการกิจการโรงแรมทั่วไป
สำนักงานให้ความสำคัญกับการสร้างอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศเป็นอย่างมาก
และต้องการให้เกิดการลงทุนครบสายการผลิตในประเทศไทย จึงออกมาตรการส่งเสริมพิเศษ
ตามประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ที่ 5/2560 เพื่อให้ส่งเสริมทั้งการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า
ชิ้นส่วนและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์ไฟฟ้า และสถานีอัดประจุไฟฟ้า
รายละเอียดผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในข่าย มีดังนี้
1.
รถยนต์ไฟฟ้า ได้แก่ Hybrid
Electric Vehicles, Plug-in Hybrid Electric Vehicles, Battery Electric Vehicles
2.
อุปกรณ์ เช่น Battery,
Traction Motor, ระบบปรับอากาศ, BMS, DCU, Converter,
On-board Charger, สายชาร์จพร้อมเต้ารับ-เต้าเสียบ, DC/DC
Converter, Inverter, Portable Electric Vehicle Charger, Electrical Circuit
Breaker, Smart Charging System, คานหน้าคานหลังสำหรับรถโดยสารไฟฟ้า
เป็นต้น
3.
สถานีบริการอัดประจุไฟฟ้า
หากบริษัทมีหุ้นต่างชาติ ระบบฯ จะให้กรอกชื่อผู้ถือหุ้นต่างชาติเฉพาะรายที่ถือหุ้นตั้งแต่ร้อยละ 10 ขึ้นไปเท่านั้น (รายใดถือหุ้นไม่ถึงร้อยละ 10 ไม่ต้องกรอก) แต่หากบริษัทไม่มีผู้ถือหุ้นต่างชาติรายใดถือหุ้นตั้งแต่ร้อยละ 10 ขึ้นไปเลย ให้ลบรายการที่รอให้บันทึกออก
หากบริษัทมีบัตรส่งเสริมฯ ถือว่าเป็นผู้ได้รับการส่งเสริมที่ยังต้องรายงานผลการดำเนินงานประจำปี
ให้กรอก ‘0’ ในส่วนที่ยังไม่มีข้อมูล และโปรดแนบหนังสือบริษัทชี้แจงเหตุผลในระบบฯ เช่น บริษัทเพิ่งจัดตั้งยังไม่มีข้อมูลในส่วนนี้
โปรดติดต่อเจ้าหน้าที่ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้อง โดยอาจต้องแสดงหลักฐานเพื่อยืนยันสถานะบัตรส่งเสริม เช่น สำเนาใบอนุญาตเปิดดำเนินการ
ระบบฯ ไม่ได้มีข้อผิดพลาดแต่อย่างใด เนื่องจากเบื้องต้นจะเปิดให้บันทึกมูลค่าเงินลงทุนในช่วงที่ผ่านมาเฉพาะการรายงานรอบที่ 1 เดือนกุมภาพันธ์เท่านั้น
เครื่องจักรเก่า ในความหมายของ BOI หมายถึงเครื่องจักรที่เคยมีการใช้งานเชิงพาณิชย์แล้ว
หากเป็นเครื่องจักรใหม่ที่เก็บไว้นาน ยังคงถือว่าเป็นเครื่องจักรใหม่ กรณีที่สอบถาม บริษัทจะนำเข้าเครื่องจักรเก่า จึงจะต้องยื่นขออนุมัติบัญชีรายการเครื่องจักรเพิ่มเติมโดยชื่อที่จะขออนุมัติจะต้องระบุ Model และปีที่ผลิตด้วย เช่น Used Grinding Machine Serial No. 1234 Year of MFG 2015 และจะต้องแนบใบรับรองประสิทธิภาพเครื่องจักรเก่าซึ่งมีรายละเอียดตามที่ BOI กำหนดด้วย
เครื่องจักร (รวมถึงอุปกรณ์ และชิ้นส่วนต่าง ๆ) ทุกรายการ ที่นำเข้าโดยใช้สิทธิยกเว้นภาษีอากรตามมาตรา 28 จะต้องแสดงในแบบคำขอเปิดดำเนินการ
ข้อ 2 รายละเอียดเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ติดตั้งใช้ในโครงการ ให้ครบทุกรายการ เว้นแต่รายการที่ได้รับอนุมัติให้ส่งคืน/จำหน่าย/ทำลาย และตัดบัญชีเครื่องจักรไปแล้ว แต่เครื่องจักรและอุปกรณ์ต่างๆ ที่นำเข้าโดยใช้สิทธิฯ อาจจะไม่อยู่ในทะเบียนสินทรัพย์ของบริษัทก็ได้ ขึ้นอยู่กับนโยบายทางการบัญชีของบริษัทนั้นๆ เช่น รายการที่มีมูลค่าต่ำกว่า 3,000 บาท จะไม่บันทึกเป็นสินทรัพย์ เป็นต้น
กรณีที่สอบถาม บริษัทไม่มีความจำเป็นต้องชำระภาษีเครื่องจักรที่ไม่อยู่ในทะเบียนสินทรัพย์ แต่ขอให้ปรึกษากับจนท BOI ที่รับผิดชอบในการตรวจสอบเปิดดำเนินการโครงการของบริษัท เพื่อขอคำแนะนำในการเตรียมเอกสารและข้อมูลเพื่อชี้แจงตามข้อเท็จจริง
บริษัทได้รับส่งเสริมผลิตชิ้นส่วนพลาสติก ซึ่งกรรมวิธีเดิมมีการใช้ชิ้นส่วน คือ terminal ซึ่งต้องนำเข้าจาก ตปท. แต่ต่อมาต้องการนำ Tin plated มาผลิตเป็น terminal เองในโรงงาน
1. สามารถขอผลิต terminal และชิ้นส่วน โดยจะยื่นแก้ไขโครงการ หรือจะยื่นเป็นโครงการใหม่ก็ได้
1.1 กรณีแก้ไขโครงการ
- ต้องยังไม่ครบกำหนดเปิดดำเนินการ เนื่องจากจะต้องนำเครื่องจักร (ยกเว้นกิจการในหมวด 5 อุตสาหกรรมเครื่องไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ และชิ้นส่วน จะเปิดดำเนินการครบตามโครงการแล้วก็ได้ เนื่องจากได้รับสิทธิให้นำเข้าเครื่องจักรมาปรับปรุงโครงการได้ตลอดระยะเวลาที่ได้รับส่งเสริม)
- จะได้รับสิทธิประโยชน์เท่าที่เหลืออยู่ของโครงการเดิม
1.2 กรณีขอโครงการใหม่
- จะได้รับสิทธิประโยชน์ใหม่
2. การเพิ่มทุนจดทะเบียนในโครงการใหม่หรือการแก้ไขโครงการ จะพิจารณาเป็นกรณีๆไป โดยดูจากผลประกอบการของบริษัทและขนาดการลงทุนที่จะลงทุนเพิ่มขึ้น เช่น หากบริษัทมีกำไรสะสม หรือมีอัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนผู้ถือหุ้นไม่สูง ก็อาจไม่ต้องเพิ่มทุนจดทะเบียนก็ได้
3. terminal ที่จะขอผลิตเป็นชิ้นส่วนในโครงการเดิมแล้ว ยังสามารถขอจำหน่ายเป็นชิ้นส่วนได้ด้วย แต่จะต้องระบุในคำขอให้ชัดเจน
4. หลักเกณฑ์การอนุญาต คือตามข้อ 1 และ 2
ใบรับรอง ISO ของบริษัทแม่ที่ญี่ปุ่น ไม่มีผลถึงบริษัทลูกที่ประเทศไทย แต่หน่วยงานญี่ปุ่นที่ออกใบรับรองให้กับบริษัทแม่ จะเดินทางมาตรวจบริษัทลูกที่ประเทศไทย และออกใบรับรองให้กับบริษัทลูกก็ได้
ใบรับรอง ISO ที่จะใช้ยื่นต่อ BOI ต้องเป็นใบรับรองที่ออกให้กับบริษัทที่ได้รับการส่งเสริม โดยมีการรับรองรองประเภทกิจการ (เช่น การผลิต...) และที่ตั้งสถานประกอบการ ตรงตามเงื่อนไขในบัตรส่งเสริม
บริษัทสามารถนำเครื่องจักรเข้ามาก่อนที่จะได้รับอนุมัติให้การส่งเสริมโครงการได้ โดยการชำระภาษีสงวนสิทธิ แต่จะต้องไม่ก่อนวันที่ยื่นคำขอรับการส่งเสริม จากนั้น เมื่อได้รับบัตรส่งเสริม และได้รับอนุมัติบัญชีเครื่องจักรแล้ว สามารถยื่นขอสั่งปล่อยคืนอากรได้ โดยจะได้รับคืนเฉพาะอากรขาเข้า ส่วน VAT ต้องใช้วิธีเครดิตภาษีประจำเดือน หรือหากจะขอคืน VAT ต้องดำเนินการตามระเบียบของกรมสรรพากร
ให้กรอก ‘0’ ในส่วนที่ยังไม่ข้อมูล และให้แนบหนังสือบริษัทชี้แจงเหตุผล เช่น พนักงานเป็นของบริษัทแม่ว่าจ้างบริษัทอื่นดำเนินการ (Outsource) หรือ กฎหมายมีข้อยกเว้นไม่ต้องยื่น ภ.ง.ด.1ก เป็นต้น
ให้เลือก ISO 9000 และ ISO 14000 เนื่องจาก ISO 9001 และ ISO 14001 เป็นเพียงอนุกรมมาตรฐานที่อยู่ภายใต้ ISO 9000 และ ISO 14000 ตามลำดับ