หากต้องการแก้ไขรายการ/ปริมาณ Max Stock โดยการใช้สินค้าตัวอย่างรายการใหม่ มารวมคำนวณปริมาณ Max Stock จะขึ้นอยู่กับ จนท BOI ผู้พิจารณาโครงการว่า จะให้เพิ่มรายการใหม่นั้นได้โดยตรง หรือ จะต้องมีการปรับลดปริมาณสินค้าตัวอย่างรายการอื่นลง เนื่องจากจะต้องพิจารณาเป็นกรณีๆ ไป
การขออนุมัติสูตรและบัญชีปริมาณสต็อกสูงสุดแบบ online น่าจะเริ่มให้บริการได้ประมาณกลางปี 2563 นี้ โดยจะมีการประกาศแจ้งเป็นทางการจาก BOI และ IC ก่อนล่วงหน้า
ประกาศ BOI เกี่ยวกับเครื่องจักรทุกฉบับ กำหนดหลักเกณฑ์ว่า โครงการที่ได้รับส่งเสริมต้องใช้เครื่องจักรใหม่ หากจะใช้เครื่องจักรเก่าต้องมีใบรับรองประสิทธิภาพและได้รับอนุญาตจาก BOI (ยกเว้นบางกรณีที่มีข้อยกเว้น เช่น แม่พิมพ์ เป็นต้น) และในบัตรส่งเสริม ก็จะระบุเงื่อนไขเช่นเดียวกัน หากบริษัทยังคงมีสถานะเป็นผู้ได้รับส่งเสริม (ไม่ว่าจะได้รับสิทธิประโยชน์ยกเว้นอากรเครื่องจักรหรือไม่ / ไม่ว่าจะเปิดดำเนินการแล้วหรือไม่) หากจะใช้เครื่องจักรเก่า ก็ยังคงมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไข คือ ต้องมีใบรับรองประสิทธิภาพ และต้องได้รับอนุญาตจาก BOI
1) เครื่องจักรที่ใช้ในโครงการต้องเป็นเครื่องจักรใหม่ หรือ
2) กรณีได้รับอนุญาตให้ใช้เครื่องจักรเก่า ต้องเป็นเครื่องจักรที่นำเข้าจากต่างประเทศ มีใบรับรองประสิทธิภาพ และอายุไม่เกินกว่าที่กำหนดในบัตรส่งเสริม
กรณีได้รับอนุญาตเปิดดำเนินการเต็มโครงการแล้ว แต่ต่อมามีการซื้อเครื่องจักรเก่ามาใช้ โดยชำระภาษีเอง หากไม่มีใบรับรองประสิทธิภาพ จะขัดกับเงื่อนไขข้อ 2 ดังนั้น ผลผลิตที่เกิดจากเครื่องจักรดังกล่าว จะเป็นผลผลิตที่ไม่ได้รับการส่งเสริม ซึ่งไม่สามารถใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ จึงควรทำใบรับรองประสิทธิภาพให้ถูกต้องตามเงื่อนไขในบัตรส่งเสริมการผลิตสินค้าไม่ครบตามขั้นตอนการผลิตที่ได้รับอนุมัติ เป็นการขัดกับเงื่อนไขในบัตรส่งเสริมจะใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลไม่ได้ และใช้สิทธิยกเว้นอากรขาเข้าวัตถุดิบไม่ได้
ข้อมูลที่บริษัทแจ้งมา ไม่เพียงพอที่จะให้คำแนะนำว่า อยู่ในข่ายที่จะผ่อนผันได้หรือไม่ และควรดำเนินการอย่างไร จึงขอตอบเป็นหลักการกว้างๆ ดังนี้
1. หากเป็นการผลิตไม่ครบขั้นตอนการผลิตในช่วงระยะเวลาสั้นๆ เนื่องจากมีปัญหาในการผลิตอาจขอผ่อนผันกรรมวิธีการผลิตเป็นการชั่วคราว โดยอาจมีการกำหนดระยะเวลา และ/หรือจำนวน ที่ขอผ่อนผันก็ได้ แล้วแต่กรณี โดยควรพิจารณาถึงวิธีการตัดบัญชีวัตถุดิบสำหรับสินค้ากึ่งสำเร็จรูปนี้เผื่อไว้ด้วย
2. หากเป็นการผลิตไม่ครบขั้นตอน เป็นบางรุ่น เป็นการถาวร อาจต้องแก้ไขชนิดผลิตภัณฑ์ในบัตรส่งเสริม โดยจะต้องพิจารณาว่า สินค้าที่ผลิตไม่ครบขั้นตอนนั้น อยู่ในข่ายที่จะให้ได้รับการส่งเสริมหรือไม่
โดยส่วนสูญเสียที่รวมไว้ในสูตรการผลิต จะได้รับการตัดบัญชีเมื่อมีการส่งสินค้าไปต่างประเทศและยื่นตัดบัญชีวัตถุดิบ
แต่ส่วนสูญเสียที่ไม่รวมไว้ในสูตรการผลิต (ส่วนสูญเสียนอกสูตร) จะไม่ได้รับการตัดบัญชีเมื่อมีการส่งออกสินค้าและตัดบัญชีวัตถุดิบ โดยจะต้องให้ บ.Inspector ตรวจสอบรับรองชนิดและปริมาณของส่วนสูญเสีย จากนั้นต้องทำลายเป็นเศษซากตามวิธีที่ได้รับอนุญาต และต้องชำระภาษีตามสาพเศษซาก (หากเศษซากมีมูลค่าเชิงพาณิชย์) จากนั้นจึงจะนำมาตัดบัญชีวัตถุดิบสำหรับส่วนสูญเสียนอกสูตรนั้นได้
ประเด็นที่สอบถาม หากบริษัทต้องการแก้ไขสูตรการผลิตเพื่อให้มีผลย้อนหลัง เนื่องจากทำสูตรผิด จะต้องยกเลิกการตัดบัญชีสำหรับใบขนที่มีการส่งออกสินค้าตามสูตรดังกล่าว จากนั้นจึงนำใบขนนั้นมายื่นตัดบัญชีใหม่โดยใช้สูตรที่แก้ไขแล้ว
หากจะดำเนินการด้วยวิธีนี้ แนะนำให้ศึกษาขั้นตอนวิธีดำเนินการให้เข้าใจถูกต้องชัดเจนก่อน
ถ้าจะลงรายละเอียด ขอให้ช่วยให้ข้อมูลให้ครบด้วย เช่น กิจการอะไร กรรมวิธีผลิตที่ได้รับอนุมัติเป็นอย่างไร บัตรส่งเสริมอนุญาตให้ใช้เครื่องจักรเก่าหรือไม่ เครื่องจักรเก่าที่จะนำเข้าคืออะไร
เงื่อนไขเครื่องจักรเก่าต้องมีใบรับรองประสิทธิภาพ กำหนดไว้ในประกาศ สกท ที่ ป.2/2546 และประกาศ กกท ที่ 6/2558 หากไม่อยู่ในข่ายข้อยกเว้น จะต้องมีใบรับรองประสิทธิภาพ
1.ประกาศ BOI เกี่ยวกับเครื่องจักร ค้นได้จาก http://www.faq108.co.th/boi/announcement/ โดยเลือกหมวดหมู่เป็น "เครื่องจักร"
2.ความหมายของเลขบัตรส่งเสริม ดูได้จาก Link : http://faq108.co.th/boi/certificate/overview.php
หากประสงค์จะใช้สูตรแก้ไข เฉพาะการตัดบัญชีในครั้งต่อไป ให้ยื่นแก้ไขสูตรเดิม ซึ่งจะเป็น revision 2 โดยในการตัดบัญชีครั้งต่อไป ก็ให้เลือกตัดบัญชีโดยระบุเป็น revision 2
สำหรับวัตถุดิบที่ได้รับสิทธิยกเว้นอากรขาเข้าเพื่อผลิตและส่งออกนั้น หากต้องการนำมาจำหน่าย หรือผลิตในโครงการ non-BOI จะต้องดำเนินการชำระอากรพร้อมเบี้ยปรับเงินเพิ่ม (ภาษี และ VAT) ให้เรียนร้อยก่อนจึงจะสามารถตัดบัญชีเพื่อให้พ้นภาระภาษี และนำไปจำหน่ายหรือผลิตในโครงการ non-BOI ได้ สำหรับแบบฟอร์มต่างๆ นั้นสามารถดาวน์โหลดได้ผ่าน link ดังนี้
https://www.boi.go.th/upload/content/F%20IN%20RM%2035_43684.pdf
https://www.boi.go.th/upload/content/F%20IN%20RM%2043_81913.pdf
https://www.boi.go.th/upload/content/F%20IN%20RM%2044_36586.pdf
กรณีนำอะไหล่เข้ามาทดลองใช้กับเครื่องจักร เช่น เพื่อต้องการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องจักร หรือเพื่อลดต้นทุนค่าอะไหล่ ถือว่ามีเจตนาที่ต้องการนำอะไหล่นั้นมาใช้ในโครงการที่ได้รับส่งเสริม จึงน่าจะอยู่ในข่ายที่สามารถใช้สิทธิยกเว้นภาษีอากรได้ตามปกติ แต่หากนำมาทดลองแล้ว ปรากฏว่าไม่สามารถใช้ได้ บริษัทก็ต้องขออนุญาตส่งคืนอะไหล่ดังกล่าวออกไปต่างประเทศ หรือขอจำหน่ายในประเทศโดยมีภาระภาษีตามสภาพ
คำถามขาดรายละเอียด จึงขอตอบเฉพาะหลักการดังนี้
หากบริษัท B จะใช้สิทธิตามมาตรา 28 เพื่อยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร B จะต้องมีสถานะเป็นผู้นำเข้า จึงจะใช้สิทธิยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักรตามมาตรา 28 ได้
กรณีที่สอบถาม โครงการที่ 2 จะต้องทำลายส่วนสูญเสียนอกสูตรตามวิธีที่ได้รับอนุญาตจาก BOI และให้ บ.Inspector ตรวจสอบและออกหนังสือรับรอง
จากนั้นโครงการที่ 2 ต้องยื่นขอตัดบัญชีส่วนสูญเสียนอกสูตร พร้อมกับขอโอนสิทธิการตัดบัญชีส่วนสูญเสียที่ผ่านการทำลายแล้วให้กับโครงการที่ 1 และเมื่อได้รับอนุมัติจาก BOI โครงการที่ 2 จึงส่งหนังสืออนุมัติโอนสิทธิการตัดบัญชีส่วนสูญเสียดังกล่าวให้กับโครงการที่ 1 เพื่อตัดบัญชีต่อไป
Q1.1: ขอสอบถามเพิ่มเติม หากโครงการที่ 2 ส่งส่วนสูญเสียดังกล่าวออกไปต่างประเทศการทำใบขนขาออก ทางบริษัทฯ จะต้องระบุว่าโอนสิทธิ์วัตถุดิบให้กับโครงการที่ 1 เข้าใจถูกหรือไม่ และต้องระบุอย่างไรบ้าง หลังจากส่งออกแล้วก้อนำใบขนฯ เพื่อตัดบัญชีส่วนสูญเสียต่อไป ใช่หรือไม่
A1.1: การส่งส่วนสูญเสียนอกสูตรไปต่างประเทศ
1) กรณีเป็นเศษซากวัตถุดิบชนิดเดียวกับรายการวัตถุดิบในบัญชีปริมาณสต็อกสูงสุดที่ได้รับอนุมัติ เช่น เศษพลาสติกแยกตามชนิด มีขั้นตอนดำเนินการดังนี้
1.1 ยื่นขออนุมัติส่งส่วนสูญเสียนอกสูตรไปต่างประเทศต่อ BOI
1.2 ส่งออกส่วนสูญเสียตามชนิดและรายการที่ได้รับอนุมัติ
1.3 ยื่นขออนุมัติตัดบัญชีส่วนสูญเสียนอกสูตรที่ได้ส่งออกไปต่างประเทศแล้ว ต่อ BOI
1.4 ยื่นขอตัดบัญชี (ปรับยอด) วัตถุดิบ ต่อ IC กรณีที่สอบถาม จะเป็นการโอนสิทธิการตัดบัญชีวัตถุดิบให้กับอีกโครงการอื่น (โครงการที่ 1) ดังนั้น ในขั้นตอน 1.3 ให้แนบตารางโอนสิทธิไปพร้อมกับด้วย และเมื่อได้รับอนุมัติให้ส่งหนังสืออนุมัติให้กับโครงการที่ 1 เพื่อนำไปยื่นตัดบัญชีตามขั้นตอนที่ 1.4 ต่อ IC ต่อไป
2) กรณีเป็นชิ้นส่วนกึ่งสำเร็จรูปที่ไม่ใช่รายการวัตถุดิบในบัญชีปริมาณสต็อกสูงสุดที่ได้รับอนุมัติ มีขั้นตอนดำเนินการดังนี้
2.1 ติดต่อ บ.Inspector ให้มาทำการตรวจสอบชนิดและปริมาณวัตุดิบที่ใช้ในชิ้นส่วนกึ่งสำเร็จรูปนั้น จากนั้นทำลายตามขั้นตอนที่ได้รับอนุมัติ และให้ บ.Inspector ออกหนังสือรับรองตามที่ BOI กำหนด
2.2 ดำเนินการต่อตามขั้นตอนที่ 1.1 - 1.4
Q1.2: สอบถามเพิ่มเติม ในการส่งส่วนสูญเสียนอกสูตรไปต่างประเทศ ในขั้นตอน 1.2 ส่งออกส่วนสูญเสียตามชนิดและรายการที่ได้รับอนุมัติจะต้องระบุในใบขนขาออกด้วยหรือไม่ เช่น ระบุว่าโอนสิทธิ์ตัดบัญชีวัตถุดิบ ในรายการที่.... ให้บัตรส่งเสริม..... เป็นต้น หรือต้องระบุอย่างไร
A1.2: ไม่ต้องระบุการโอนสิทธิในขั้นตอนที่ 1.2 แต่ให้แนบตารางโอนสิทธิต่อ BOI พร้อมการยื่นขออนุมัติ ตัดบัญชีในขั้นตอนที่ 1.3 แบบฟอร์มตารางโอนสิทธิ ขอให้ติดต่อรับตัวอย่างจาก BOI โดยตรง
ตามประกาศ BOI ส่วนสูญเสียนอกสูตรจะต้องทำลายเป็นเศษซาก จึงจะปลอดจากภาระภาษี ส่วนการนำเศษซากไปกำจัดจะต้องเป็นไปตามกฎหมายของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไม่ใช่ข้อกำหนดตามประกาศ เรื่องส่วนสูญเสียของ BOI คำแนะนำคือ ให้ขออนุมัติวิธีการทำลาย เช่น ตัด ทุบ บด อัด ให้เสียสภาพ เป็นต้น โดย บ.Inspector จะทำการตรวจสอบ โดยอยู่ร่วมในการทำลายด้วย สำหรับเรื่องสรรพากรขอให้ศึกษาจากคำสั่งกรมสรรพากร ที่ 79/2541 หรือปรึกษากับกรมสรรพากรโดยตรง
กรณีได้รับอนุมัติบัญชีรายการเครื่องจักรแล้ว สามารถยื่นขอแก้ไขหน่วยของเครื่องจักรได้ แต่จะต้องยังไม่เคยยื่นสั่งปล่อยเครื่องจักรรายการที่จะแก้ไขหน่วยนั้น
หากในการขออนุมัติบัญชีรายการเครื่องจักร ระบุว่าไม่ใช่เครื่องจักรหลัก แต่ในขั้นเปิดดำเนินการจะระบุว่าเป็นเครื่องจักรหลัก ก็สามารถทำได้ ตามข้อเท็จจริง โดยไม่ต้องแก้ไขอะไรเพิ่มเติม
ปกติน่าจะใช้ข้อมูลจาก production report ของบริษัท
เช่น วันที่ ... เบิกวัตถุดิบจำนวน... ผลิตสินค้า โมเดล ... จำนวน .... โมเดล .... จำนวน .... คำนวณการใช้วัตถุดิบสุทธิตามสูตรการผลิตของแต่ละโมเดล จำนวน .... เกิดส่วนสูญเสียนอกสูตรการผลิต จำนวน ....
โดยการรายงานจะต้องมีการแยกโมเดลด้วย
ในการรวมสต็อกวัตถุดิบของ 2 โครงการ BOI จะปรับแก้ไขระยะเวลานำเข้าให้เป็นระยะเวลาที่สั้นที่สุดของโครงการก่อนรวมสต็อก (สั้นหน้า สั้นหลัง)
ดังนั้น ก่อนการขอรวมสต็อก บริษัทควรตรวจสอบว่ามีวัตถุดิบที่นำเข้ามาโดยสงวนสิทธิ ที่ต้องการขอคืนภาษี ค้างคงเหลือหรือไม่ และดำเนินการสั่งปล่อยคืนอากรให้เสร็จสิ้นก่อน จึงค่อยทำการรวมสต็อก
กรณีที่สอบถาม เนื่องจากมีการอนุมัติรวมสต็อกไปแล้ว จึงขอให้ติดต่อกองบริหารการลงทุนที่รับผิดชอบโครงการของบริษัท ซึ่งหากเจ้าหน้าที่ BOI เห็นว่า วัตถุดิบที่สงวนสิทธิดังกล่าว นำเข้ามาในระยะเวลาที่ได้รับสิทธิ มาตรา 36 ของโครงการนั้น ก็จะแจ้งไปยัง IC เพื่อให้ปลดล็อคเงื่อนไขวันที่เริ่มใช้สิทธิของโครงการรวมสต็อก เป็นการชั่วคราว เพื่อให้สามารถสั่งปล่อยคืนอากรวัตถุดิบดังกล่าวได้
เนื่องจากเป็นคำถามที่กว้างมาก จึงขอตอบเฉพาะกรอบใหญ่ ๆ ดังนี้
1. การขออนุมัติบัญชีรายการเครื่องจักร (Master List)
- สมัครใช้บริการระบบ eMT กับสมาคม IC
- ยื่นคำร้องขออนุมัติบัญชีรายการเครื่องจักรผ่านระบบ eMT
2. การขออนุมัติบัญชีปริมาณสต็อกวัตถุดิบ (Max Stock)
- ยื่นแบบคำขออนุมัติบัญชีปริมาณสต็อกวัตถุดิบต่อ BOI
- สมัครใช้บริการระบบ RMTS กับสมาคม IC
- นำข้อมูลบัญชีปริมาณสต็อกวัตถุดิบที่ได้รับอนุมัติจาก BOI ไปบันทึกในระบบ RMTS
เมื่อสมัครใช้บริการระบบ eMT และ RMTS กับสมาคม IC แล้วจะได้รับสิทธิเข้ารับการฝึกอบรมวิธีการใช้งานระบบนั้น ๆ
หรือหากต้องการศึกษาวิธีปฏิบัติหลังได้รับการส่งเสริมสามารถเข้ารับการฝึกอบรมจากคอร์สต่างๆ ที่สมาคม IC จัดขึ้นเป็นประจำ http://icis.ic.or.th/i-regist/index.php?r=site/courseให้ขออนุมัติเป็นรายการใหม่ (ระบบ eMT นับการเว้นวรรคเป็นอักขระ)