- บริษัทยื่นหนังสือขอยกเลิกบัตรส่งเสริม (ไม่มีแบบฟอร์ม ร่างหนังสือขึ้นได้เอง)
- BOI จะตรวจสอบว่ามีการใช้สิทธิด้านเครื่องจักรและวัตถุดิบหรือไม่
- หากมี จะต้องเคลียร์ภาระภาษีทั้งหมดให้เสร็จสิ้นก่อน
- กรณีใช้สิทธิช่างฝีมือ ต้องยกเลิกการใช้สิทธิ
- กรณีใช้สิทธิถือครองที่ดิน ต้องจำหน่ายที่ดินภายใน 1 ปีนับจากวันยกเลิกบัตร
- ภาษีเงินได้นิติบุคคล ใช้สิทธิได้ถึงวันที่ BOI มีคำสั่งยกเลิกบัตรส่งเสริม
สืบเนื่องจากนโยบายที่ประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนที่
2/2557 ได้มีประกาศอื่นๆเพื่อสนับสนุนนโยบายดังกล่าวดังนี้
- มาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต
- นโยบายส่งเสริมการลงทุนเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ และมาตรการส่งเสริมการลงทุนภายใต้โครงการเมืองต้นแบบ “สามเหลี่ยมมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน”
- นโยบายส่งเสริมการลงทุนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ
“มาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต”
ตามประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนที่ 9/2560 ลงวันที่ 28 ตุลาคม 2560
มาตรการนี้ใช้กับ
1. กิจการที่ดำเนินการอยู่แล้ว ไม่ว่าจะได้รับการส่งเสริมหรือไม่ก็ตาม
หากไม่ได้รับการส่งเสริมต้องเป็นกิจการที่คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนประกาศให้การส่งเสริมการลงทุนในปัจจุบัน
2. โครงการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนอยู่เดิมสามารถยื่นขอรับการส่งเสริมภายใต้มาตรการนี้ได้
เมื่อระยะเวลาการยกเว้นหรือลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลนั้นสิ้นสุดลงแล้ว หรือเป็นโครงการที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล
เงื่อนไข
1. ต้องมีขนาดการลงทุนไม่น้อยกว่า 1 ล้านบาท โดยไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน
ยกเว้นโครงการลงทุนของผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ต้องมีขนาดลงทุนไม่น้อยกว่า 500,000 บาทโดยไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน
2. ผู้ประกอบการที่จะเข้าข่ายเป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ต้องมีหลักเกณฑ์ดังนี้
2.1 เมื่อรวมกิจการทั้งหมดทั้งที่ได้รับการส่งเสริมและไม่ได้รับการส่งเสริมแล้ว
ผู้ขอรับการส่งเสริมต้องมีสินทรัพย์ถาวรสุทธิหรือขนาดลงทุนไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียนไม่เกิน
200 ล้านบาท
2.2
ต้องมีบุคคลธรรมดาสัญชาติไทยถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ
51 ของทุนจดทะเบียน
3. จะต้องยื่นคำขอรับการส่งเสริมการลงทุนภายในปี
2563 และจะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 3 ปี นับจากวันที่ออกบัตรส่งเสริม
สิทธิประโยชน์
1. ยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร
2. ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล
3 ปี เป็นสัดส่วนร้อยละ 50 ของเงินลงทุนโดยไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียนในการปรับปรุง
โดยให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลจากรายได้ของกิจการที่ดำเนินการอยู่เดิม ทั้งนี้ หากเป็นการปรับเปลี่ยนเครื่องจักรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต
โดยใช้หุ่นยนต์และเครื่องจักรระบบอัตโนมัติที่มีการเชื่อมโยงหรือสนับสนุนอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรระบบอัตโนมัติในประเทศไม่น้อยกว่าร้อยละ
30 ของมูลค่าเครื่องจักรที่มีการปรับเปลี่ยนให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 3
ปี จากรายได้ของกิจการที่ดำเนินการอยู่เดิม ในวงเงินไม่เกินร้อยละ 100
ของเงินลงทุนไม่รวมที่ดินและทุนหมุนเวียนในการปรับปรุง
3. ระยะเวลายกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล
ให้นับจากวันที่มีรายได้ภายหลังได้รับบัตรส่งเสริม
หลักเกณฑ์การให้การส่งเสริม แบ่งออกเป็น 4 มาตรการย่อย ดังนี้
1. มาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อการประหยัดพลังงาน การใช้พลังงานทดแทน หรือการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
กิจการที่มายื่นขอรับการส่งเสริมจะต้องเสนอแผนการลงทุนปรับเปลี่ยนเครื่องจักรเพื่อการประหยัดพลังงาน
การนำพลังงานทดแทนมาใช้ในกิจการ หรือการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยดำเนินการในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
ดังนี้
1) จะต้องมีการลงทุนปรับเปลี่ยนเครื่องจักรไปสู่เทคโนโลยีที่ทันสมัยเพื่อให้เกิดการใช้พลังงาน
ลดลงตามสัดส่วนที่กำหนด
2) จะต้องมีการลงทุนปรับเปลี่ยนเครื่องจักร เพื่อให้มีการนำพลังงานทดแทนมาใช้ในกิจการในสัดส่วนตามที่กำหนด
เมื่อเทียบกับการใช้พลังงานทั้งสิ้น
3) จะต้องมีการลงทุนปรับเปลี่ยนเครื่องจักรเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นการลดปริมาณของเสีย
น้ำเสีย หรืออากาศตามเกณฑ์ที่กำหนด
2.
มาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อการปรับเปลี่ยนเครื่องจักรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต
กิจการที่มายื่นขอรับการส่งเสริมจะต้องเสนอแผนการลงทุนปรับเปลี่ยนเครื่องจักรตามเกณฑ์ที่กำหนด
เช่น การนำระบบอัตโนมัติมาใช้ในสายการผลิตที่มีอยู่เดิม เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต
เป็นต้น
3. มาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อการวิจัยพัฒนาและออกแบบทางวิศวกรรมเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพ
กิจการที่มายื่นขอรับการส่งเสริมจะต้องเสนอแผนการลงทุนด้านวิจัยและพัฒนาหรือออกแบบทางวิศวกรรมตามเกณฑ์ที่กำหนด
โดยจะต้องมีการลงทุนหรือมีค่าใช้จ่ายด้านวิจัยและพัฒนาหรือออกแบบทางวิศวกรรม ไม่น้อยกว่าร้อยละ 1 ของยอดขายรวมใน3 ปีแรก นับจากวันที่ยื่นขอรับการส่งเสริม
ในกรณีเป็นผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมต้องลงทุนด้านวิจัยและพัฒนาหรือออกแบบทางวิศวกรรม
ไม่น้อยกว่าร้อยละ 0.5 ของยอดขายรวมใน 3 ปีแรก นับจากวันที่ยื่นขอรับการส่งเสริม
4. มาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อการยกระดับอุตสาหกรรมเกษตรไปสู่มาตรฐานระดับสากล
ผู้ยื่นขอจะต้องจะต้องเสนอแผนการลงทุนเพื่อการยกระดับอุตสาหกรรมเกษตรไปสู่มาตรฐานระดับสากล เช่น มาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (Good Agriculture Practices: GAP) มาตรฐานการรับรองป่าไม้ตามแนวทางขององค์การพิทักษ์ป่าไม้ (Forest Stewardship Council: FSC) มาตรฐาน PEFCs (Program for the Endorsement of Forest Certification Scheme) มาตรฐานระบบการจัดการความปลอดภัยของอาหาร (ISO 22000) หรือมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมระบบการจัดการป่าไม้แบบยั่งยืน (ISO 14061 Sustainable Forest Management System (SFM)) หรือ มาตรฐานสากลอื่นที่เทียบเท่า และจะต้องมีการลงทุนหรือมีค่าใช้จ่ายดำเนินการตามแผนดังกล่าว โดยต้องได้รับการรับรองมาตรฐานดังกล่าวภายใน 3 ปี นับจากวันที่ออกบัตรส่งเสริม
สามารถยื่นขอแก้ไขย้อนหลังได้ เช่น บางรอบปีอาจยื่นแบบ ภงด โดยใช้สิทธิยกเว้นภาษี ต่อสรรพากร แต่ลืมยื่นแบบขอใช้สิทธิต่อ BOI ก็สามารถยื่นแบบขอใช้สิทธิย้อนหลังของรอบปีนั้น
สามารถยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุนในกิจการ IBC สำหรับการขยายธุรกิจดังกล่าว โดยไม่จำเป็นต้อง จัดตั้งบริษัทใหม่
หากจะขยายกิจการทำธุรกิจในกิจการการค้าระหว่างประเทศโดยนำเข้าสินค้ากึ่งสำเร็จรูปมาจำหน่ายในไทยให้ขออนุญาตกองประกอบธุรกิจของชาวต่างชาติ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ หรือเพิ่มเงินทุนจดทะเบียนชำระเต็มมูลค่าหุ้นหนึ่งร้อยล้านบาทเพื่อดำเนินธุรกิจค้าส่ง หากต้องการดำเนินธุรกิจค้าปลีกจะต้องขออนุญาตกองประกอบธุรกิจของชาวต่างชาติ หรือเพิ่มทุนจดทะเบียนชำระเต็มมูลค่าหุ้นอีกหนึ่งร้อยล้านบาท
หากจะขยายกิจการทำธุรกิจในกิจการการค้าระหว่างประเทศโดยนำเข้าสินค้ากึ่งสำเร็จรูปมาจำหน่ายในไทยให้ขออนุญาตกองประกอบธุรกิจของชาวต่างชาติ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ หรือเพิ่มเงินทุนจดทะเบียนชำระเต็มมูลค่าหุ้นหนึ่งร้อยล้านบาทเพื่อดำเนินธุรกิจค้าส่ง หากต้องการดำเนินธุรกิจค้าปลีกจะต้องขออนุญาตกองประกอบธุรกิจของชาวต่างชาติ หรือเพิ่มทุนจดทะเบียนชำระเต็มมูลค่าหุ้นอีกหนึ่งร้อยล้านบาท
ในเบื้องต้นจะดูจากวุฒิการศึกษา และตำแหน่งงานรวมถึงลักษณะงานที่ทำในโครงการ IBC และจะตรวจสอบทุกครั้งที่มีการใช้สิทธิประโยชน์
สินค้าที่จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 31 จะต้องเป็นไปตามเงื่อนไขในบัตรส่งเสริม คือ
- เป็นผลิตภัณฑ์ที่ระบุในบัตรส่งเสริม
- ปริมาณไม่เกินที่ระบุในบัตรส่งเสริม
- มีกรรมวิธีการผลิตตามที่ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริม
โดยสินค้าที่จะใช้สิทธิมาตรา 31 จะส่งออกหรือจำหน่ายในประเทศก็ได้ / เครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตจะนำเข้าหรือซื้อในประเทศก็ได้ (เฉพาะเครื่องจักรใหม่) / วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตจะนำเข้าหรือซื้อในประเทศก็ได้
กรณีที่สอบถาม หากสินค้านั้นเป็นไปตามเงื่อนไข 3 ข้อข้างต้น ก็สามารถใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามมาตรา 31 ได้
ส่วนการขออนุมัติสูตรการผลิต เป็นเงื่อนไขของการใช้สิทธิยกเว้นอากรขาเข้าวัตถุดิบตามมาตรา 36 ซึ่งไม่เกี่ยวกับการใช้สิทธิมาตรา 31
กรณีได้รับหนังสือแจ้งผลการปฎิบัติตามเงื่อนไข ISO ถูกต้องจาก BOI แล้ว หากต่อมาภายหลังบริษัทมีการเปลี่ยนแปลงเวอร์ชั่น ISO หรือเปลี่ยนแปลงผู้ดูแลระบบสามารถดำเนินการได้โดยไม่ต้องแจ้ง BOI
ให้ขออนุญาตการดำเนินธุรกิจ TC (Treasury Center) กับธนาคารแห่งประเทศไทย จากนั้นให้ยื่นขอรับ ส่งเสริมการลงทุนในกิจการ IBC สำหรับขอบข่าย “TC (Treasury Center)” หากต้องการได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีให้ยื่นขออนุมัติเป็น IBC กับกรมสรรพากร
ให้ขออนุญาตการดำเนินธุรกิจ TC (Treasury Center) กับธนาคารแห่งประเทศไทย จากนั้นให้ยื่นขอรับ ส่งเสริมการลงทุนในกิจการ IBC สำหรับขอบข่าย “TC (Treasury Center)” หากต้องการได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีให้ยื่นขออนุมัติเป็น IBC กับกรมสรรพากร
ที่มา: ได้ยกเลิกการให้ส่งเสริมการลงทุนกิจการ International Headquarters (IHQ), International Trading Center (ITC) โดยกิจการ IBC เปรียบเหมือนการปรับการให้ส่งเสริมในกิจการ International Headquarters (IHQ) มาเป็นกิจการ IBC จึงมีเงื่อนไขว่าจะต้องมีแผนการดำเนินการให้บริการแก่วิสาหกิจในเครือ และส่งเสริมให้ดำเนินธุรกิจการค้าระหว่างประเท ได้ หากมีการดำเนินธุรกิจให้บริการแก่บริษัทในเครือ (IHQ) เป็นหลัก
(1) เงื่อนไข:
- ต้องมีการจ้างพนักงานประจำที่มีความรู้และทักษะที่จำเป็นสำหรับ IBC ไม่น้อยกว่า 10 คน เว้นแต่กรณี IBC ที่มีเฉพาะการให้บริการด้านการบริหารเงินแก่วิสาหกิจในเครือ ต้องมีการจ้างพนักงานประจำที่มีความรู้และทักษะไม่น้อยกว่า 5 คน
- กรณีเป็นการดำเนินกิจการการค้าระหว่างประเทศ ภายใต้ประเภทกิจการ 7.34 IBC จะต้องมีขอบข่ายธุรกิจในข้อ 1.1 – 1.10 ของกิจการ IBC ร่วมด้วยไม่น้อยกว่า 1 ข้อ
(2) สิทธิประโยชน์: ไม่ได้รับสิทธิยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักรและวัตถุดิบของ BOI ได้ แต่สามารถขอคืนภาษีนำเข้ากับกรมศุลกากรได้
1.การกรอกข้อมูลในแบบคำขอใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล สามารถอ่านรายละเอียดจากคำอธิบายในแบบคำขอ และศึกษาหลักเกณฑ์จากประกาศที่เกี่ยวข้อง (หมวดประกาศ BOI และเลือกหมวดหมู่ภาษีเงินได้) หรืออาจเข้าฝึกอบรมหลักสูตรการใช้สิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ที่จัดโดยสมาคมสโมสรนักลงทุน (หมวดปฏิทินหลักสูตรฝึกอบรม )
2.เอกสารที่ใช้ประกอบการยื่นคือ
- ใบตรวจเอกสาร F PM CL 01
- แบบคำขอใช้สิทธิและประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินไดนิติบุคคล F PM TA 01
- แบบรายงานของผูสอบบัญชีรับอนุญาต ตามประกาศ ป.2/2559
ขอเพิ่มเติมข้อมูล
1. BOI มีประกาศ ที่ ป.3/2559 ให้ผู้ได้รับส่งเสริมที่จะยื่นขอใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ สามารถยื่นขอใช้สิทธิฯผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax) ได้ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2559 โดย BOI จะยกเลิกการรับคำขอที่เป็นกระดาษตั้งแต่วันที่ 31 สิงหาคม 2561 เป็นต้นไป
2. การยื่นขอใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ทางอิเล็กทรอนิกส์ ยื่นได้ที่ https://etax.boi.go.th/ โดยใช้ username และ password เดียวกับระบบ doctracking และ ตส.310
3. การยื่นขอใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ทางอิเล็กทรอนิกส์ จะต้องคีย์ข้อมูลในระบบ และจะต้องแนบรายงานผลการตรวจสอบของผู้สอบบัญชีตามที่ BOI กำหนด (ปัจจุบันกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีตรวจสอบสำหรับผู้สอบบัญชี ตามประกาศที่ ป.2/2559)
มาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต
มาตรการนี้เป็นมาตรการส่งเสริมการลงทุนตามประกาศที่
9/2560
ลงวันที่ 28 ตุลาคม 2560 คือ มาตรการการส่งเสริมให้เกิดการลงทุนใน 4 เรื่อง
ดังนี้
-
การลงทุนด้านการประหยัดพลังงาน การลงทุนเพื่อใช้พลังงานทดแทน หรือการลงทุนเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
-
การลงทุนเปลี่ยนเครื่องจักรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต
-
การลงทุนด้านวิจัยและพัฒนา หรือออกแบบทางวิศวกรรมเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพ
-
การลงทุนเพื่อการยกระดับอุตสาหกรรมเกษตรไปสู่มาตรฐานระดับสากล
บริษัทมีความสนใจในมาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต
จะได้รับสิทธิ์และประโยชน์ดังนี้
- จะได้รับยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร
- จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล
3 ปี จำนวน 50 % ของเงินที่ลงทุนเพื่อการปรับปรุงประสิทธิภาพดังกล่าว
(ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียนในการปรับปรุงติดตั้ง)
- ระยะเวลายกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล
(3 ปี) นับจากวันที่มีรายได้หลังได้รับบัตรส่งเสริม
และไม่เกินมูลค่า 50 % ของเงินที่ลงทุน
แล้วแต่ว่าอย่างใดจะครบกำหนดก่อน
ทั้งนี้ กรณีการลงทุนเปลี่ยนเครื่องจักรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต
จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 3 ปี มูลค่า 100 % ของเงินลงทุน (ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียนในการปรับปรุงติดตั้ง)
กรณีที่การปรับปรุงดังกล่าว มีการเชื่อมโยงหรือสนับสนุนอุตสาหกรรมผลิตเครื่องจักรอัตโนมัติในประเทศ
ไม่น้อยกว่า 30 % ของเครื่องจักรที่ติดตั้งเพิ่ม
เงื่อนไขของผู้ที่สามารถขอส่งเสริมการลงทุน
ภายใต้มาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต
-
ผู้ขอส่งเสริมหากไม่เคยขอรับส่งเสริมการลงทุนมาก่อน
สามารถนำกิจการที่ดำเนินการอยู่ปัจจุบันมาขอรับส่งเสริมการลงทุนได้
โดยธุรกิจนั้นต้องเป็นกิจการที่สำนักงานให้ส่งเสริมการลงทุน ตามบัญชีประเภทกิจการที่ส่งเสริมการลงทุน
-
สำหรับกิจการเคยที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนแล้ว
สามารถยื่นขอรับสิทธิ์นี้ได้เมื่อระยะเวลาการยกเว้นหรือลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลนั้นสิ้นสุดลง
(สิ้นสุดมาตรา 31 แล้ว) หรือเป็นโครงการที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล
(ยกเว้นบางกิจการตามนโยบายเฉพาะที่สำนักงานกำหนด)
-
มีการลงทุนไม่น้อยกว่า 1 ล้านบาท (ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน)
- สำหรับกิจการขนาดกลางและขนาดย่อม
จะต้องที่มีสินทรัพย์ถาวรสุทธิ หรือ ขนาดการลงทุนไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียนไม่เกิน
200 ล้านบาท และมีหุ้นไทยไม่น้อยกว่า 50 % กำหนดเงินลงทุนขั้นต่ำไม่น้อยกว่า
500,000 บาท (ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน)
กิจการประเภท 7.15 กิจการสนับสนุนการค้าและการลงทุน (TISO) ไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ด้านภาษีอากร แต่ได้รับสิทธิเฉพาะที่ไม่เกี่ยวกับภาษี เช่น การถือครองที่ดิน และการนำเข้าช่างฝีมือต่างชาติ ขั้นตอนคือยื่นเอกสารที่สำนัก 4 ดังนี้
- หนังสือบริษัทแจ้งความประสงค์ขอยกเลิกบัตรส่งเสริม
- ไม่มีแบบฟอร์ม ร่างขึ้นได้เอง
- ระบุเหตุผลในการขอยกเลิก
- สำเนาบัตรส่งเสริม
- สำเนาใบอนุญาตเปิดดำเนินการ (ถ้ามี) (กรณีของบริษัทฯ ไม่มี เพราะไม่ได้เปิดดำเนินการ) หากในอนาคต บริษัทพร้อมจะลงทุนใหม่ ก็สามารถยื่นขอรับการส่งเสริมใหม่ได้อีก
จะต้องขออนุมัติสูตร และแก้ไขบัญชีรายวัตถุดิบและ Max Stock เหมือนกับเป็นการเพิ่มสินค้าอีก 1 โมเดล เพื่อให้สามารถสั่งปล่อยชิ้นส่วนกึ่งสำเร็จรูป และสามารถตัดบัญชีได้อย่างถูกต้อง ไม่สับสนกับโมเดลที่ผลิตอยู่เดิม
BOI กำหนดหลักเกณฑ์การยื่นขอคืนอากรเครื่องจักรบนระบบ eMT ตามประกาศ ป.4/2556 คือ
1. เครื่องจักรต้องนำเข้ามาในช่วงที่ได้รับสิทธิ
2. ต้องดำเนินการคืนอากรให้เสร็จภายใน 1 ปีนับจากวันสิ้นสุดระยะเวลานำเข้าเครื่องจักร
ดังนั้น หากเครื่องจักรที่สงวนสิทธิไว้ตั้งแต่ปี 2555 อยู่ในช่วงเวลาที่ได้รับสิทธิ ก็อยู่ในข่ายที่จะได้รับอนุมัติสั่งปล่อยคืนอากรจาก BOI ได้ยินมาว่า กรมศุลกากรกำหนดระยะเวลาการขอคืนอากรเครื่องจักรไว้ (ไม่เกิน 2 ปี ?? ไม่ยืนยัน) หากมีการกำหนดดังกล่าว เข้าใจว่าน่าจะเป็นดุลยพินิจของกรมศุลกากรในการคืนอากรที่เกินกว่ากำหนด แม้จะมีหนังสืออนุมัติสั่งปล่อยคืนอากรจาก BOI ก็ตาม
1.การยื่นช้าเกินกำหนดเป็นเวลาไม่นาน และมีเอกสารหลักฐานแสดงว่าอยู่ระหว่างการจัดทำข้อมูลเพื่อยื่นคำขอเปิดดำเนินการ ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของ BOI ว่าจะผ่อนปรนให้หรือไม่ หากไม่ ก็จะมีมาตรการต่างๆ เช่น ระงับการให้สิทธิยกเว้นภาษีอากรวัตถุดิบ และช่างฝีมือ เป็นการชั่วคราว เป็นต้น
2.สำเนาทะเบียนสินทรัพย์ที่ต้องแนบพร้อมแบบคำขอเปิดดำเนินการ ใช้เฉพาะส่วนที่บริษัทนำมานับเป็นขนาดการลงทุน ในแบบคำขอเปิดดำเนินการ ข้อ 2 และ 5.3.2 และ 5.3.4 ก็พอ
กรณีเปิดดำเนินการเต็มโครงการแล้ว บริษัทยังคงสามารถซื้อเครื่องจักรมาใช้ในโครงการ และนำมารวมเป็นเครื่องจักรในโครงการได้ แต่...
1.จะไม่ได้รับสิทธิยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร เนื่องจากระยะเวลาการนำเข้าเครื่องจักรจะสิ้นสุดไปแล้ว
2.จะไม่ให้แก้ไข cap วงเงินยกเว้นภาษีเงินได้
3.จะไม่ให้แก้ไขกำลังผลิตในบัตรส่งเสริม (ยกเว้นกิจการที่มีประกาศเป็นการเฉพาะ เช่น กิจการผลิตเครื่องไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์)
ทั้งนี้เครื่องจักรที่ซื้อมาหลังเปิดดำเนินการเต็มโครงการ ยังคงต้องเป็นไปตามเงื่อนไขในบัตรส่งเสริม คือ
1.หากในบัตรส่งเสริมระบุว่าต้องใช้เครื่องจักรใหม่ -> เครื่องจักรที่ซื้อมาเพิ่มเติม จะต้องเป็นเครื่องจักรใหม่
2.หากในบัตรส่งเสริมอนุญาตให้ใช้เครื่องจักรเก่าได้ -> เครื่องจักรที่ซื้อมาเพิ่มเติม สามารถเป็นเครื่องจักรเก่าอายุไม่เกินที่กำหนดในบัตรส่งเสริม โดยจะต้องเป็นเครื่องจักรเก่าที่นำเข้าจากต่างประเทศ และต้องมีใบรับรองประสิทธิภาพตามที่ BOI กำหนด
กรณีที่สอบถาม เป็นการซื้อเครื่องจักรเก่าจากฟรีโซน จึงต้องพิสูจน์ว่าไม่ใช่เครื่องจักรเก่าที่เคยใช้งานในประเทศมาก่อน อีกทั้งเป็นเครื่องจักรเก่าอายุเกิน 10 ปี ซึ่งขัดกับเงื่อนไขในบัตรส่งเสริม จึงไม่สามารถนำมาใช้ในโครงการได้
ให้เลือก ‘เช่า/ซื้อที่ดินแล้ว’