Chat
x
toggle menu
toggle menu

Select Groups

All Group
  • All Group
  • นโยบายเเละมาตรการพิเศษในการส่งเสริม
  • การขอรับการส่งเสริมการลงทุน
  • การออกบัตรส่งเสริม
  • การเปิดดำเนินการ
  • การเเก้ไขโครงการ
  • การดำเนินการอื่น ๆ
  • การรายงานความคืบหน้าโครงการ (e-Monitoring)
  • การปฏิบัติหลังการได้รับการส่งเสริม
  • การยกเลิกบัตรส่งเสริม
  • เรื่องทั่วไป
  • การใช้สิทธิด้านที่ดิน
  • การใช้สิทธิด้านเครื่องจักร
  • การใช้สิทธิด้านช่างฝีมือ/ต่างด้าว
  • การใช้สิทธิด้านวัตถุดิบ
  • ประเภทกิจการ - การแพทย์
  • การใช้สิทธิด้านภาษีเงินได้นิติบุคคล
  • ประเภทกิจการ - รถยนต์ไฟฟ้า
  • ประเภทกิจการ - ศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศ (IBC) IPO และ TISO
  • ประเภทกิจการ - โรงแรม
  • ประเภทกิจการ - ผลิตผลิตภัณฑ์โลหะรวมทั้งชิ้นส่วนโลหะ
  • ประเภทกิจการ - กิจการผลิตเครื่่องจักร อุุปกรณ์และชิ้นส่วน
  • ประเภทกิจการ - กิจการศูนย์กระจายสินค้าระหว่า ประเทศด้วยระบบที่่ทันสมัย (IDC)
กรณีเป็นโครงการที่รับโอนแต่ก่อนโอนได้รับใบอนุญาตเปิดดำเนินการจากสำนักงานแล้ว ยังต้องรายงานความคืบหน้าโครงการอีกหรือไม่

ไม่ต้องรายงานความคืบหน้าโครงการอีก ทั้งนี้ หากพบว่าระบบฯ ยังกำหนดให้รายงาน โปรดติดต่อเจ้าหน้าที่ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้องโดยอาจต้องแสดงหลักฐาน เพื่อยืนยันสถานะบัตรส่งเสริม เช่น สำเนาใบอนุญาตเปิดดำเนินการ

การถอนค้ำประกันเครื่องจักร มีขั้นตอนอย่างไรบ้างค่ะ ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง

การสั่งปล่อยถอนธนาคารค้ำประกันเครื่องจักร มีขั้นตอนคือ

1.หลังจากได้รับอนุมัติค้ำประกันแล้ว จะต้องยื่นขออนุมัติบัญชีรายการเครื่องจักร (ชื่อรอง) หรือบัญชีอะไหล่ หรือแม่พิมพ์ ที่ตรงกับรายการที่ใช้ธนาคารค้ำประกันภาษีอากรไว้ (การค้ำประกัน ให้ค้ำประกันเครื่องจักร 1 คำร้อง ต่อ 1 อินวอยซ์)

2.จำนวนเครื่องจักรที่สั่งปล่อยถอนค้ำประกัน เมื่อรวมกับที่เคยสั่งปล่อยไปแล้ว ต้องไม่เกินปริมาณสูงสุดที่อนุมัติไว้ในบัญชี

3.การสั่งปล่อยถอนค้ำประกัน ไม่ต้องแนบเอกสารใดๆ เนื่องจากเป็นเพียงการเรียกรายการที่เคยได้รับอนุมัติให้ค้ำประกันไว้แล้วมายื่นขอสั่งปล่อยเท่านั้น ซึ่งระบบจะตรวจสอบว่าเป็นไปตามเงื่อนไขตามข้อ 1 และ 2

4.การสั่งปล่อยถอนค้ำประกันเครื่องจักรเก่า ไม่ต้องแนบใบรับรองประสิทธิภาพเครื่องจักรเก่า เนื่องจากเคยยื่นใบรับรองประสิทธิภาพให้พิจารณาไว้แล้ว ตั้งแต่ขั้นตอนการขออนุญาตค้ำประกัน และขั้นตอนการขออนุมัติบัญชีเครื่องจักร

5.จะต้องยื่นสั่งปล่อยถอนค้ำประกัน ภายในระยะเวลาที่ได้รับอนุมัติให้ใช้ธนาคารค้ำประกัน เว้นแต่จะได้รับขยายระยะเวลาค้ำประกันออกไปอีก

6.ตามประกาศ สกท ที่ ป.4/2556 ข้อ 7.3 BOI จะอนุญาตให้ขยายเวลาค้ำประกัน 1 ครั้ง เป็นเวลา 1 ปี โดยจะต้องยื่นขอขยายเวลาค้ำประกันก่อนสิ้นสุดระยะเวลาการค้ำประกันเดิม

7.ข้อควรระวังคือ การสั่งปล่อยถอนค้ำประกัน จะขอสั่งปล่อยได้อินวอยซ์ละครั้งเดียว ดังนั้น หากขอสั่งปล่อยไม่ครบตามจำนวนที่ค้ำประกันไว้ จะต้องชำระภาษีอากรในส่วนที่เหลือ (การสั่งปล่อยถอนค้ำประกัน ให้สั่งปล่อยถอนค้ำประกันเครื่องจักร 1 คำร้องต่อ 1 อินวอยซ์)

บริษัทมี ภ.ง.ด.1ก หลายฉบับ ให้กรอกข้อมูลหรือแนบไฟล์ในระบบฯ อย่างไร

ให้กรอกมูลค่ารวมจาก ภ.ง.ด.1ก ทุกฉบับ และรวมไฟล์ ภ.ง.ด.1ก เฉพาะหน้าแรกของทุกฉบับเป็นไฟล์เดียวเพื่อแนบ

บริษัทยื่น ภ.ง.ด. 50 โดยกรอกตัวเลขเฉพาะช่องที่ 3 (รวม) เพียงช่องเดียว แต่ระบบฯ เปิดให้กรอกเฉพาะช่องที่ 1 (กิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้) และช่องที่ 2 (กิจการที่ต้องเสียภาษีเงินได้) เท่านั้น ให้กรอกข้อมูลอย่างไร

เบื้องต้นให้กรอกข้อมูลในช่องที่ 1 (กิจการที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้)

บริษัทจะขอรายงานล่าช้ากว่ากำหนด หรือ ระบบฯ จะมีการปิดให้กรอกข้อมูลหลังเลยกำหนดเวลา รายงานหรือไม่

การรายงานในรอบปี 2561 นี้ ยังไม่มีการปิดระบบฯ ในการกรอกข้อมูลแต่อย่างใด จึงสามารถรายงานในระบบฯ ได้อยู่ อย่างไรก็ตาม เมื่อได้ข้อมูลแล้ว ขอให้บริษัทเร่งดำเนินการกรอกและส่งข้อมูลในระบบฯ เนื่องจากการรายงานล่าช้าอาจส่งผลต่อระบบการขอใช้สิทธิและประโยชน์ต่างๆ ในภายหลัง ทั้งนี้ ในรอบปีถัดไปอาจมีการปิดระบบตามเวลาที่กำหนด

บริษัทไม่ได้มีรอบบัญชีตามปีปฏิทิน เช่น เริ่มต้นเดือนเมษายนและสิ้นสุดเดือนมีนาคม ทำให้งบ การเงินยังไม่แล้วเสร็จ (ผู้สอบบัญชีฯ ยังไม่ได้รับรองงบการเงิน) ให้กรอกข้อมูลอย่างไร

สามารถกรอกข้อมูลและแนบไฟล์งบการเงินฉบับร่างได้ หรือถ้ายังไม่มีร่าง ให้กรอก ‘0’ ในส่วนที่ไม่มีข้อมูลและแนบหนังสือบริษัทชี้แจงเหตุผลและเดือนที่คาดว่าจะสามารถกรอกข้อมูลส่วนนี้ได้ ในระบบฯ ทั้งนี้ หากประสงค์จะแก้ไขหรือเพิ่มเติมข้อมูลในภายหลัง โปรดติดต่อเจ้าหน้าที่เพื่อส่งเรื่องคืนให้แก้ไข

ปัจจุบันโรงงานผลิตยาที่มีอยู่แล้วในประเทศไทย และต้องการจะลงทุนในเครื่องจักรและก่อสร้างอาคารเพิ่มเติม จะขอรับการส่งเสริมได้หรือไม่

- หากเป็นการลงทุนใหม่ทั้งสิ้น และไม่มีการใช้เครื่องจักรที่มีอยู่แล้วเดิม อยู่ในข่ายที่จะขอรับการส่งเสริมได้ โดยมีเงื่อนไขจะต้องได้รับ GMP สำหรับยาแผนโบราณ หรือ GMP/PICS สำหรับยาแผนปัจจุบัน ตามระยะเวลาที่กำหนดหลังได้รับการส่งเสริม และได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 5 ปี (A3)

- หากเป็นการลงทุนใหม่ในเครื่องจักร ร่วมกับการใช้เครื่องจักรที่มีอยู่แล้วเดิมอยู่ในข่ายที่จะขอรับการส่งเสริมได้ เมื่อมีการยกระดับมาตรฐานการผลิต เช่น จากเดิมไม่ได้ GMP หรือ GMP/PICS การลงทุนครั้งนี้ทำให้เป็นไปตามมาตรฐานดังกล่าว, ประสิทธิภาพดีขึ้น และกำลังการผลิตมากขึ้น เป็นต้น โดยเครื่องจักรที่มีอยู่แล้วเดิมจะอนุญาตให้ใช้ในโครงการได้ แต่จะไม่นับเป็นมูลค่าเงินลงทุนของโครงการ

สิทธิประโยชน์ที่จะได้รับสำหรับการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า และชิ้นส่วนต่างๆ มีอะไรบ้าง

สิทธิประโยชน์ขึ้นกับประเภทกิจการ ได้แก่

1. Hybrid Electric Vehicles ได้รับสิทธิ์ B1

2. Plug-in Hybrid Electric Vehicles ได้รับสิทธิ์ A4

3. Battery Electric Vehicles ได้รับสิทธิ์ A3

4. กิจการผลิตอุปกรณ์ต่างๆ ได้รับสิทธิ์ A2

5. กิจการสถานีบริการอัดประจุไฟฟ้า ได้รับสิทธิ์ A3

รายละเอียดของสิทธิประโยชน์ A1-4 และ B1-2 สามารถสืบค้นได้ที่เว็บไซด์ www.boi.go.th และรายละเอียดเพิ่มเติมของประเภทกิจการนี้ สามารถสืบค้นได้ที่นี่

          
กรณีทำกิจการรีสอร์ทสามารถขอรับการส่งเสริมได้หรือไม่
การให้การส่งเสริมกิจการโรงแรมเป็นไปตามพระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ.2547 ซึ่งรวมถึงโรงแรมประเภทรีสอร์ท แต่จะต้องพิจารณาการใช้ที่ดินตามความเหมาะสม และจะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินเพื่อกิจการอื่นที่ไม่ใช่ที่พัก เช่น พื้นที่สนามกอล์ฟ และฟาร์ม เป็นต้น
สำนักงานมีบริการสินเชื่อให้กับผู้สนใจหรือไม่
สำนักงานไม่ได้เป็นแหล่งให้บริการสินเชื่อหรือเงินกู้ใดๆ ผู้ขอรับการส่งเสริมจะได้รับสิทธิยกเว้นภาษีอากรขาเข้าเครื่องจักร ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล (ขึ้นกับความสำคัญของธุรกิจที่มีต่อประเทศ) กรณีเป็นนิติบุคคลต่างชาติ จะได้รับอนุญาตให้ถือครองที่ดินสำหรับประกอบกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน นอกจากนี้ สำนักงานยังช่วยอำนวยความสะดวกในการขอวีซ่า และใบอนุญาตทำงาน สำหรับชาวต่างชาติที่ประสงค์จะเข้ามาทำงานในกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนอีกด้วย
สอบถามการโอนวัตถุดิบจากบริษัท แม่ไปบริษัทลูก แล้วปิดบัตรส่งเสริม บริษัทแม่ ให้บริษัทลูกเป็นผู้นำเข้าและส่งออกเอง คำถามคือ 1.สามารถทยอยโอนวัตถุดิบได้ไหม 2.ระยะเวลาในการพิจารณากี่วัน 3.การกรอกบัญชีรายการวัตถุดิบที่โอน-รับโอน ในช่อง (รายการที่ )ต้องเป็นกรุ๊ปตาม mml ไหม 4.ช่องรายการวัตถุดิบและวัสดุจำเป็นของผู้โอน ต้องใส่ชื่อ หลัก /หรือชื่อรอง ที่นำเข้าวัตถุดิบ

1. การโอนวัตถุดิบ (โอนยอดในระบบ RMTS) ต้องโอนทีเดียว ตามจำนวนที่ได้รับอนุมัติ

2. ระยะเวลาพิจารณาของ BOI กำหนดไว้ 15 วันทำการ

3. การกรอกบัญชีรายการวัตถุดิบที่โอน-รับโอน ในช่อง "รายการที่" ให้กรอกเลข grp_no ตาม MML

4. (แก้ไข) ช่องรายการวัตถุดิบที่โอนและรับโอน จะกรอกเป็นชื่อหลักหรือชื่อรองก็ได้ แต่จะต้องตรงกันทั้งผู้โอนและผู้รับโอน

หากชื่อไม่ตรงกัน ผู้รับโอนจะต้องขอเพิ่มชื่อรอง ให้ตรงกับชื่อวัตถุดิบของผู้โอน

หากบริษัทฯได้ยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุนไปแล้ว โดยใช้ที่ดินที่มีอยู่เดิม แต่มีขอสร้างอาคารสำนักงานเพิ่ม และได้รับสิทธิมาตรา 27 ต่อมาบริษัทฯต้องการซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเพิ่มเติมเพื่อรองรับการขยายของธุรกิจ โดยที่ดินที่ซื้อเพิ่มนี้จะใช้สำหรับเก็บผลิตภัณฑ์และวัตถุดิบ บริษัทฯต้องดำเนินการอย่างไรบ้าง และสามารถใช้นับเป็นเงินลงทุนได้หรือไม่ ปล.ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ต้องการซื้อเพิ่มอยู่ติดพื้นที่เดิม และบัตรส่งเสริมนี้ยังไม่เปิดดำเนินการ การซื้อที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเพิ่ม สามารถนับเป็นเงินลงทุนได้หรือไม่

1. กรณีได้รับสิทธิถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดินตามมาตรา 27 หากต้องการซื้อที่ดินเพิ่มเติมเพื่อใช้ในกิจการที่ได้รับส่งเสริม (กรณีที่สอบถามคือจะซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเพื่อเก็บสินค้าและวัตถุดิบ) สามารถยื่นขออนุญาตถือกรรมสิทธิ์ที่ดินเพิ่มเติมได้ ตามแบบฟอร์มหัวข้องานที่ดิน จาก Link นี้

2. ค่าก่อสร้างโกดังสินค้าเพื่อใช้ในโครงการที่ได้รับส่งเสริม สามารถนับเป็นเงินลงทุนตามโครงการได้

3. ค่าที่ดิน ไม่นับเป็นเงินลงทุนที่จะนำไปคำนวณวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล

4. กรณีซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง ต้องแยกค่าที่ดินและค่าสิ่งปลูกสร้างโดยชัดเจน มิฉะนั้น จะไม่นับค่าสิ่งปลูกสร้างเป็นเงินลงทุนของโครงการ

เอกสารหลักฐานประกอบการขอถือกรรมสิทธิ์ที่ดินตามมาตรา 27 มีอะไรบ้าง

เอกสารหลักฐานที่ใช้ประกอบการขอถือกรรมสิทธิ์ที่ดินตามมาตรา 27 ได้แก่

1. คำขออนุญาตถือกรรมสิทธิ์ที่ดินตามแบบ กกท.40

2. แผนที่ดินโดยสังเขป โดยให้ระบุลักษณะที่ดิน สถานที่ข้างเคียง ถนนสายสำคัญที่ผ่าน รวมถึงทางเข้า-ออก

3. สำเนาโฉนด และแผนที่ระวางหลังโฉนด

4. แผนผังการใช้ที่ดิน โดยให้แสดงรายละเอียด ระบุส่วนที่เป็นตัวอาคารสำนักงาน อาคารโรงงาน ห้องเก็บพัสดุ บ้านพัก ถนน สนาม หรือสิ่งก่อสร้างอื่นๆ พร้อมทั้งคำนวณเนื้อที่ที่จะต้องใช้ในการก่อสร้างแต่ละรายการ และรวมเนื้อที่ทั้งหมดให้ปรากฏอย่างชัดเจนในแผนที่ หากมีที่ดินเหลือจากการก่อสร้างดังกล่าว ให้ชี้แจงไว้ในแผนที่ด้วยว่าจะใช้ประโยชน์อย่างใดบ้าง
ในกรณีที่ดินมากกว่า 2 โฉนดขึ้นไป ให้ระบุแนวต่อระหว่างโฉนดในแผนที่ด้วย

5. สำเนาบัตรส่งเสริม

6. หนังสือบริษัทฯ แจ้งความประสงค์ขอถือกรรมสิทธิ์ที่ดิน

การสั่งปล่อยวัตถุดิบตามมาตรา 36 สามารถดำเนินการได้อย่างไร

การสั่งปล่อยวัตถุดิบและวัสดุจำเป็น ตามมาตรา 36 มี 3 กรณี คือ

1. การสั่งปล่อยปกติ
คือ การอนุมัติให้ผู้ได้รับการส่งเสริมนำวัตถุดิบหรือวัสดุจำเป็นเข้ามาในราชอาณาจักรโดยได้รับยกเว้นอากรขาเข้า

1.1 กรณีของที่นำเข้ามาเป็นวัตถุดิบ จะใช้หนังสืออนุมัติสั่งปล่อยนั้นเป็นหนังสือค้ำประกันและถอนประกันภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 20) ลงวันที่ 27 ธันวาคม 2534 จึงทำให้บริษัทไม่ต้องชำระภาษีมูลค่าเพิ่มของวัตถุดิบรายการนั้น

1.2   กรณีของที่นำเข้ามาเป็นวัสดุจำเป็น จะได้รับยกเว้นเฉพาะอากรขาเข้า แต่จะต้องชำระภาษีมูลค่าเพิ่มตามปกติ

 

2. การสั่งปล่อยถอนการใช้ธนาคารค้ำประกัน
คือ การอนุมัติให้ผู้ได้รับการส่งเสริม ได้รับยกเว้นหรือลดหย่อนอากรขาเข้าวัตถุดิบและวัสดุจำเป็นที่เคยใช้ธนาคารค้ำประกันภาษีอากรไว้ พร้อมกับถอนการใช้ธนาคารค้ำประกัน และใช้หนังสืออนุมัตินั้นเป็นหนังสือค้ำประกันและถอนประกันภาษีมูลค่าเพิ่มของวัตถุดิบ จึงทำให้บริษัทไม่ต้องชำระภาษีมูลค่าเพิ่มของวัตถุดิบรายการนั้น

 

3. การสั่งปล่อยคืนอากร
คือ การอนุมัติให้ผู้ได้รับการส่งเสริมได้รับคืนอากรขาเข้าของวัตถุดิบและวัสดุจำเป็นที่ได้ชำระไปก่อนหน้านั้นแล้ว แต่ทั้งนี้ จะไม่ได้รับคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม เนื่องจากเข้าสู่ระบบภาษีซื้อภาษีขายไปแล้ว

การยกเลิกบัตรส่งเสริม

ผู้ได้รับส่งเสริมสามารถขอยกเลิกบัตรส่งเสริมในเวลาใดก็ได้ โดยหลักประกัน การคุ้มครอง และสิทธิประโยชน์ทั้งหมดจะสิ้นสุดลงในวันที่ได้รับอนุมัติให้ยกเลิกบัตรส่งเสริม

กรณีที่ได้รับส่งเสริมนำเครื่องจักรและวัตถุดิบเข้ามาโดยการยกเว้นหรือลดหย่อนอากรขาเข้า แต่ต่อมาได้รับอนุมัติให้เลิกบัตรส่งเสริม เครื่องจักรและวัตถุดิบบางส่วนหรือทั้งหมดอาจมีภาระภาษีที่จะต้องชำระคืน พร้อมเงินเพิ่มและเบี้ยปรับ (ถ้ามี)

กรณีที่ผู้ได้รับส่งเสริมเป็นนิติบุคคลต่างด้าว และใช้สิทธิและประโยชน์ในการถือกรรมสิทธิ์ที่ดิน ผู้ได้รับส่งเสริมจะต้องจำหน่ายที่ดินดังกล่าวภายใน 1 ปีนับจากวันที่ได้รับอนุมัติให้ยกเลิกบัตรส่งเสริม

 

วิธีการกรอกข้อมูล และการยื่นขอรับการส่งเสริม ทำอย่างไร (วิธี Walk-in)

กรอกคำขอรับการส่งเสริม โดยจะกรอกเป็นภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษก็ได้ และ ในการยื่นคำขอรับการส่งเสริม ผู้ขอจะต้องจัดเตรียมคำขอทั้งสิ้น 2 ชุด เพื่อยื่นกับ BOI (ผู้ขอควรสำเนาเก็บเป็นหลักฐานจำนวน 1 ชุด) โดยจะต้องนำคำขอรับการส่งเสริมทั้ง 2 ชุด ไปยื่นต่อกองบริหารการลงทุนที่เป็นผู้ดูแลอุตสาหกรรมที่จะขอรับการส่งเสริมนั้นๆ โดยตรง 

กรณีที่ผู้ขอรับการส่งเสริมมีภูมิลำเนาในต่างจังหวัดหรือต่างประเทศจะยื่นคำขอรับการส่งเสริมผ่านสำนักงาน BOI ในต่างจังหวัดหรือในต่างประเทศ ซึ่งเป็นผู้ดูแลการส่งเสริมลงทุนในพื้นที่นั้นๆ ก็ได้

"นโยบายใหม่สำหรับที่จะเริ่มใช้ในปี 2558" สืบเนื่องมาจากเมื่อวานได้ไปสัมมนาเกี่ยวกับยุทธศาสตร์การส่งเสริมการลงทุนใหม่ แต่ยังมีบางเรื่องที่ไม่เข้าใจอยู่บ้าง ประกอบกับในต้นปีหน้า จะมีการเปิดสัมมนาในหัวข้อเดียวกัน 4จังหวัด ไม่ทราบว่า ถ้าไปเข้าร่วมสัมมนาเมื่อวานแล้ว และอยากจะเข้าร่วมใหม่อีกครั้งในจังหวัดที่จะเปิดสัมมนา จะสามารถเข้าร่วมได้อีกหรือไม่

1. น่าจะเข้าร่วมได้ เพราะคงไม่มีการเช็คว่าเคยเข้าฟังเมื่อครั้งก่อนหรือไม่

2. เนื้อหาการบรรยายที่จะจัดในต่างจังหวัดในต้นปีหน้า จะเหมือนกับที่จัดไปเมื่อวันก่อน ดังนั้น เข้าฟังสัมมนาเมื่อวันก่อนแล้วยังคงมีข้อสงสัย น่าจะนัดหมายเข้าไปปรึกษากับสำนักที่ดูแลกิจการนั้นๆ จะได้รับคำตอบที่ชัดเจนกว่า

3. เบื้องต้น ADMIN ได้สรุปความแตกต่างของนโยบายเก่าและใหม่ไว้ตาม link : http://faq108.co.th/common/topic/policy2558.php

ในกรณีที่บริษัทต้องการขอรับการส่งเสริมบัตรใหม่เป็นโครงการขยาย จะต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง และต้องเตรียมข้อมูลอะไรบ้าง

1. การยื่นขอรับการส่งเสริม (ทั้งกรณีโครงการแรก และกรณีโครงการขยาย) ให้ยื่นผ่านคำขอออนไลน์ตามคำตอบ #1

- เอกสารที่จะต้องแนบ เช่น งบการเงิน หรือเอกสารตามที่กำหนดของแต่ละประเภทกิจการ

- ข้อมูลที่ต้องเตรียม เช่น แผนการเงิน แผนการลงทุน แผนการผลิต การคำนวณต้นทุนการผลิต กำไร/ขาดทุน เป็นต้น

ในกรณีเรายื่นขอรับการส่งเสริมออนไลน์ที่ต้องแนบงบการเงินถ้าเราจะยื่นเรื่องเดือนนี้จำเป็นต้องใช้งบการเงินของปี 2559 หรือไม่ ถ้าใช้ของปี 2558 ได้ไหม เพราะสอบถามทางบัญชีแล้วยังปิดงบของปี 2559 ไม่เสร็จ แต่นายญี่ปุ่นต้องการให้รีบยื่นเรื่องขอรับการส่งเสริมในเดือนนี้

1.การยื่นงบการเงินประกอบคำขอรับการส่งเสริม ปกติจะใช้งบการเงินปีล่าสุดที่ผู้สอบบัญชีรับรองแล้ว แต่ถ้าต้องการส่งล่าสุดที่ยังไม่ได้รับรอง เพื่อเป็นข้อมูล ก็สามารถยื่นเพิ่มเติมไปได้ แต่ก็ต้องส่งงบปีล่าสุดที่รับรองแล้วไปด้วย

นโยบายใหม่ที่เริ่มปี 2558 การใช้แรงงานต่างชาติหรือต่างด้าว เช่น คนญี่ปุ่น จะสามารถใช้แรงงานต่างชาตินี้ได้อยู่เหมือนเดิมไหม หรือว่าต้องเปลี่ยนเป็นใช้คนในเขตเอเชียเท่านั้น

นโยบายใหม่ (ประกาศที่ 2/2557) ไม่มีการพูดถึงเรื่องการจะให้ใช้ หรือไม่ให้ใช้ แรงงานต่างด้าวไร้ฝีมือ ในวันสัมมนา อาจมีการพูดหลายเรื่องปนกัน จึงทำให้เข้าใจผิด

การให้ใช้ หรือไม่ให้ใช้ แรงงานต่างด้าวไร้ฝีมือ เป็นการกำหนดในขั้นพิจารณาอนุมัติให้การส่งเสริม ซึ่งเดิมจะกำหนดเงื่อนไขให้ผู้ได้รับส่งเสริมทุกราย ต้องไม่ใช้แรงงานต่างด้าวไร้ฝีมือ ในโครงการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน

ปัจจุบัน BOI มีประกาศ ป.2/2558 ผ่อนผันให้ผู้ได้รับส่งเสริมทุกราย สามารถใช้แรงงานต่างด้าวไร้ฝีมือที่ถูกต้องตามกฎหมาย ในโครงการที่ได้รับส่งเสริมการลงทุนได้ จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2559

การไม่ให้ใช้แรงงานต่างด้าวไร้ฝีมือนี้ จำกัดเฉพาะแรงงานต่างด้าวไร้ฝีมือ เช่น งานใช้แรงงาน เท่านั้น ไม่รวมถึงชาวต่างชาติที่เป็นช่างฝีมือ หรือผู้ชำนาญการ คนที่ญี่ปุ่นที่มาทำงานในโครงการ BOI หากเป็นช่างฝีมือหรือผู้ชำนาญการ จะไม่ได้รับผลกระทบอะไร

ขออภัยครับ ไม่มีข้อมูลส่วนนี้ ในภาษาที่ท่านเลือก !

Sorry, There is no information support your selected language !

Download และ ติดตั้งโปรแกรมอ่าน PDF

Download PDF Reader

Site map