ส่งเสริมการลงทุน เพื่อปรับโครงสร้างเศรษฐกิจไทยไปสู่เศรษฐกิจใหม่
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนกำหนดเป้าหมายหลักที่ต้องการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจไทยให้บรรลุผล 3 ประการ ประกอบด้วย
- Innovative: เป็นเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี นวัตกรรม และความคิดสร้างสรรค์
- Competitive: เป็นเศรษฐกิจที่มีขีดความสามารถในการแข่งขัน สามารถปรับตัวได้เร็ว และสร้างการเติบโตสูง
- Inclusive: เป็นเศรษฐกิจที่คำนึงถึงความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม รวมทั้งการสร้าง โอกาส และลดปัญหาความเหลื่อมล้ำ
สิทธิประโยชน์ด้านภาษี
- ยกเว้น/ลดหย่อนอากรขาเข้าสำหรับเครื่องจักร
- ลดหย่อนอากรขาเข้าสำหรับวัตถุดิบหรือวัสดุจำเป็น
- ยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับของที่นำเข้ามาเพื่อใช้ในการวิจัยและพัฒนา
- ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลและเงินปันผล
- ลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลร้อยละ 50
- ให้หักค่าขนส่งค่าไฟฟ้าและค่าน้ำประปาเป็นสองเท่า
- ให้หักค่าติดตั้งหรือก่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกไม่เกินร้อยละ 25 ของเงินลงทุน
- ยกเว้นอากรขาเข้าวัตถุดิบหรือวัสดุจำเป็นสำหรับการผลิตเพื่อการส่งออก
สิทธิประโยชน์ที่ไม่เกี่ยวกับภาษี
- อนุญาตให้นำคนต่างด้าวเข้ามาเพื่อศึกษาลู่ทางการลงทุน
- อนุญาตให้นำช่างฝีมือและผู้ชำนาญการเข้ามาทำงานในกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน
- อนุญาตให้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดิน
- อนุญาตให้ส่งออกซึ่งเงินตราต่างประเทศ
- บริการให้คำปรึกษาแนะนำ ข้อมูลด้านการลงทุน และการขอรับส่งเสริมการลงทุน
- ประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนเพื่ออำนวยความสะดวกในการดำเนินธุรกิจแก่นักลงทุน เช่น การจัดตั้งบริษัท การยื่นขอใบอนุญาตทำงาน เป็นต้น
- บริการเชื่อมโยงและจัดหาผู้ผลิตชิ้นส่วนในประเทศ
- บริการจัดหาผู้ร่วมทุน
- บริการแนะนำและรับรองผู้เชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยศูนย์บุคลากรทักษะสูง (Strategic Talent Center: STC)
- บริการให้คำแนะนำการลงทุนของคนไทยในต่างประเทศ และจัดอบรมหลักสูตรการลงทุนของคนไทยในต่างประเทศ
ที่มา: ประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนที่ 8/2565 ประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนที่ 9/2565
ปรับปรุง ณ วันที่ 28 สิงหาคม 2567