Chat
x
toggle menu
toggle menu

Select Groups

All Group
  • All Group
  • นโยบายเเละมาตรการพิเศษในการส่งเสริม
  • การขอรับการส่งเสริมการลงทุน
  • การออกบัตรส่งเสริม
  • การเปิดดำเนินการ
  • การเเก้ไขโครงการ
  • การดำเนินการอื่น ๆ
  • การรายงานความคืบหน้าโครงการ (e-Monitoring)
  • การปฏิบัติหลังการได้รับการส่งเสริม
  • การยกเลิกบัตรส่งเสริม
  • เรื่องทั่วไป
  • การใช้สิทธิด้านที่ดิน
  • การใช้สิทธิด้านเครื่องจักร
  • การใช้สิทธิด้านช่างฝีมือ/ต่างด้าว
  • การใช้สิทธิด้านวัตถุดิบ
  • ประเภทกิจการ - การแพทย์
  • การใช้สิทธิด้านภาษีเงินได้นิติบุคคล
  • ประเภทกิจการ - รถยนต์ไฟฟ้า
  • ประเภทกิจการ - ศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศ (IBC) IPO และ TISO
  • ประเภทกิจการ - โรงแรม
  • ประเภทกิจการ - ผลิตผลิตภัณฑ์โลหะรวมทั้งชิ้นส่วนโลหะ
  • ประเภทกิจการ - กิจการผลิตเครื่่องจักร อุุปกรณ์และชิ้นส่วน
  • ประเภทกิจการ - กิจการศูนย์กระจายสินค้าระหว่า ประเทศด้วยระบบที่่ทันสมัย (IDC)
กรณีที่ใน INVOICE ระบุขนาดมาด้วยแต่เป็นเครื่องจักรเดียวกันคือ 1. PORTABLE EXPANDER 1/2"X35MM 2. PORTABLE EXPANDER 5/8"X50MM แต่ในบัญชีรายการเครื่องจักร ซึ่งยังไม่ได้รับการอนุมัติกลับมา ขอไปในชื่อ PORTABLE EXPANDER บริษัทจะนำเข้าทั้งหมด 4 เครื่องแต่เป็นชนิดเดียวกัน คือเครื่องอัดแน่นขยายท่อทองแดง แตกต่างตรงท่อทองแดงที่นำเข้าผลิต จะแตกต่างกัน ( SIZE ของท่อ ) ***ในขั้นตอนขอค้ำประกันเครื่องจักร ต้องระบุชื่อไหนดี ระหว่าง PORTABLE EXPANDER 1/2"X35MM กับ PORTABLE EXPANDER

ต้องพิจารณาว่า ใบขนขาเข้าเครื่องจักรดังกล่าว จะสำแดงรายการเครื่องจักรอย่างไร จะระบุ size ด้วยหรือไม่ หากใบขนระบุ size ก็ต้องขอชื่อเดียวกันไว้ในบัญชีเครื่องจักรของ BOI ด้วย (ชื่อหลักหรือชื่อรองก็ได้) การจะสำแดงรายการในใบขนอย่างไร เป็นข้อกำหนดของกรมศุลกากร จึงน่าจะปรึกษากับชิปปิ้ง แต่หากไม่ชัดเจน ก็น่าจะหารือกับกรมศุลกากร

สิทธิประโยชน์ที่ไม่เกี่ยวกับภาษีอากรมีอะไรบ้าง

สิทธิประโยชน์ที่ไม่เกี่ยวกับภาษีอากรภายใต้ พระราชบัญญัติส่งเสริมการลงทุนปีพ.ศ. 2520 ได้แก่

- อนุญาตให้นำคนต่างด้าวเข้ามาเพื่อศึกษาลู่ทางการลงทุน (มาตรา 24)

- อนุญาตให้นำช่างฝีมือและผู้ชำนาญการเข้ามาทำงานในกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน (มาตรา 25 และ 26)

- อนุญาตให้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดิน (มาตรา 27)

- อนุญาตให้ส่งออกซึ่งเงินตราต่างประเทศ (มาตรา 37)

การได้สิทธิประโยชน์ดังกล่าวขึ้นอยู่กับประเภทกิจการและเงื่อนไขของโครงการที่ได้รับการส่งเสริม

กรณีที่โครงการเดิมมีหุ้นไทยเป็นส่วนใหญ่ แต่ต่อมามีการเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้นจากเดิม เป็นการถือหุ้นโดยต่างชาติเป็นส่วนใหญ่ จะได้รับสิทธิประโยชน์การถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดินหรือไม่?
เมื่อ BOI อนุมัติให้แก้ไขโครงการให้ต่างชาติถือหุ้นข้างมากได้ ก็จะอนุมัติให้ได้รับสิทธิประโยชน์การถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดินตามมาตรา 27 เพิ่มเติมไปพร้อมกัน
วัตถุดิบ และวัสดุจำเป็น หมายถึงอะไร

วัตถุดิบ (Raw Material)

หมายถึง ของที่ใช้ในการผลิต หรือผสม หรือประกอบเป็นผลิตภัณฑ์ ซึ่งบางครั้งอาจไม่คงสภาพเดิมเมื่อผ่านกระบวนการแล้ว ทั้งนี้ ให้หมายรวมถึงของที่ใช้บรรจุผลิตภัณฑ์ด้วย

 

วัสดุจำเป็น (Essential Material)

หมายถึง ของซึ่งจำเป็นต้องใช้และเมื่อใช้แล้วสิ้นเปลืองในการผลิต หรือผสม หรือประกอบเป็นผลิตภัณฑ์หรือผลิตผล เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพ คุณภาพ และมาตรฐาน ช่วยลดการสูญเสีย และเพิ่มผลผลิตสำหรับผลิตภัณฑ์หรือผลิตผลดังกล่าว

บริษัทได้รับส่งเสริมการลงทุนจาก BOI และต้องการขายที่ดินที่ได้รับสิทธิถือครองที่ดิน โดยต้องการขายขายที่ดินบางส่วน เป็นจำนวน 2 ไร่ จากจำนวนที่ดินที่ถือครองทั้งหมด 24 ไร่ บริษัทจะต้องดำเนินการอย่างไร ทางสำนักงานส่งเสริมการลงทุนมีแบบฟอร์มเพื่อยื่นขออนุญาตในการขายที่ดินบางส่วน หรือไม่ และจะต้องติดต่อที่สำนักงาน BOIเขต หรือ ที่ BOI ส่วนกลาง

1.หากบริษัทได้รับสิทธิการถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดินภายใต้กฎหมาย BOI สามารถยื่นแบบฟอร์มคำขอต่อ BOI เพื่อขอจำหน่ายที่ดินบางส่วนได้ แบบฟอร์มและเอกสารที่ใช้ สามารถดาวน์โหลดจากเว็บ BOI หัวข้อ แบบฟอร์มงานที่ดิน (F LD LO)

2.การพิจารณาอนุมัติให้ถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดิน หรือจำหน่ายที่ดิน เป็นอำนาจของ BOI ที่ส่วนกลาง แต่บริษัทสามารถยื่นเอกสารผ่าน สนง BOI ภูมิภาคได้ โดย สนง BOI ภูมิภาค จะตรวจสอบเอกสารตาม check list หากครบถ้วน ก็จะรับเรื่อง และส่งให้ BOI กรุงเทพ ดำเนินการต่อไป

3. กรณีที่สอบถาม บริษัทฯ ตั้งโรงงานในนิคมอุตสาหกรรม จึงน่าจะถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดินตาม พรบ.การนิคมอุตสาหกรรม ไม่ใช่ พรบ.ส่งเสริมการลงทุนของ BOI ดังนั้น หากจะจำหน่ายที่ดินที่ถือครองภายใต้สิทธิตาม พรบ การนิคมฯ ก็ต้องยื่นขออนุญาตต่อ กนอ ไม่ใช่ BOI

ขั้นตอนหลักๆ ในการขอรับการส่งเสริมการลงทุน จนกระทั่งได้รับบัตรส่งเสริม ประกอบด้วยขั้นตอนอะไรบ้าง

การขอรับการส่งเสริมการลงทุน ประกอบด้วยขั้นตอน ดังนี้

1. การยื่นคำขอรับการส่งเสริม

2. การชี้แจงโครงการ

3. การตอบรับมติการให้ส่งเสริม

4. การขอรับบัตรส่งเสริม

หรืออ่านตามลิงค์ https://www.boi.go.th/index.php?page=before_promo_apply_form

กรณีที่ A โอนยอดวัตถุดิบมาให้ B เรียบร้อยและ ปรับยอดที่ IC เรียบร้อยแล้ว หาก B มีเหตุต้องยื่นเรื่องขอชำระภาษีวัตถุดิบรายการนี้ ปกติจะต้องยื่นเรื่องพร้อมเอกสารแนบ คือ อินวอยซ์ และ ใบขนนำเข้า กรณีนี้ เอกสารแนบ ต้องใช้อะไรบ้าง

A โอนวัตถุดิบให้ B แต่ต่อมา B ไม่สามารถนำไปผลิตส่งออก และจะขอชำระภาษี กรณีนี้ใบขนขาเข้าเป็นชื่อของ A ดังนั้น A ต้องเป็นผู้ยื่นหนังสือขอชำระภาษีต่อ BOI แต่ในส่วนการชำระภาษีต่อกรมศุลกากร B จะเป็นผู้ชำระภาษี (หรือ A เป็นผู้ชำระ และ B จ่ายเงินคืนค่าภาษีคืนให้กับ A)

บริษัทฯ ได้รับการส่งเสริมประเภทกิจการ 5.5 กิจการผลิตชิ้นส่วนและหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ฯ โดยมีขั้นตอนบางขั้นส่วน บริษัทฯ สามารถนำวัตถุดิบ แม่พิมพ์ ไปว่าจ้างผู้อื่นผลิตให้ได้ บริษัทฯ ขอสอบถามดังนี้ 1) กรณี วัตถุดิบเป็นของบริษัทฯ ผู้รับจ้างผลิต(เป็นบริษัท ได้รับสิทธิ BOI) ถ้ามี ปริมาณวัตถุดิบคงค้างหรือเหลืออยู่ เพราะบริษัท ผู้รับจ้างผลิตนำเข้ามาโดยใช้สิทธิฯ ของ BOI ปัจจุบัน บริษัทฯ กำลังจะยกเลิกการว่าจ้างผลิตจากบริษัทผู้รับจ้างผลิต บริษัทฯ สามารถทำเรื่องโอน- รับวัตถุดิบ จากบริษัท ผู้รับจ้างผลิตได้หรือ และถ้าได้ควรทำอย่างไร 2) การโอน - รับ วัตถุดิบ บริษัทฯต้องซื้อในราคาปกติ เหมือนตอนที่บริษัทผู้รับจ้างผลิตนำเข้ามารึเปล่า 3) กรณี ไม่สามารถทำเรื่องโอน - รับ วัตถุดิบได้ บริษัทฯ ต้องรับซื้อวัตถุดิบเป็น Non BOI ใช่หรือไม่ 4) การซื้อ - ขาย วัตถุดิบที่เป็น Non - BOI มีค่าภาษีอะไรบ้าง

1,3,4. กรณีผู้รับจ้าง คือ A (BOI) นำวัตถุดิบเข้ามาโดยใช้สิทธิ ม.36 เพื่อผลิตจำหน่ายให้ B (BOI) แต่ต่อมามีการยกเลิกสัญญาจ้างผลิต ทำให้มีวัตถุดิบเหลือค้างที่ A หากวัตถุดิบดังกล่าวเป็นกล่าวเป็น spec ที่ใช้สำหรับผลิตสินค้าของ B ซึ่ง A ไม่สามารถนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่น A และ B สามารถยื่นขอโอน/รับโอนวัตถุดิบได้ แต่ทั้งนี้ B ต้องได้รับอนุมัติบัญชีวัตถุดิบที่มีรายการวัตถุดิบเดียวกันนั้นด้วย จึงจะรับโอนได้

2. BOI ไม่มีข้อกำหนดเรื่องราคาที่จะโอน/รับโอน

กรณีนี้ ข้อเท็จจริงเป็นการโอนวัตถุดิบเนื่องจากยกเลิกสัญญาจ้าง การจะกำหนดราคาอย่างไร ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยตรง

3. การโอนวัตถุดิบ (โอนยอดในระบบ RMTS) สามารถโอนได้ หากชื่อวัตถุดิบของผู้โอนและผู้รับโอนตรงกัน

การยื่นคำขอรับการส่งเสริมทำอย่างไร

ผู้ขอรับการส่งเสริมการลงทุนสามารถยื่นคำขอผ่านระบบออนไลน์ e-Investment Promotion ทาง www.boi.go.th และ ยื่นเป็นเอกสารที่สำนักงาน/ระบบงานรับส่งเอกสารออนไลน์ (E-Submission ) สำหรับมาตรการหรือนโยบายพิเศษต่างๆ

ร่างพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่จะมีผลบังคับใช้ในปี 2560 จะมีผลกระทบต่อบริษัทฯ ที่ได้รับการส่งเสริมจาก BOI หรือไม่อย่างไร

พรบ ส่งเสริมการลงทุน มาตรา 27 ผู้ได้รับการส่งเสริมจะได้รับอนุญาตให้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินเพื่อประกอบกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนตามจำนวนที่คณะกรรมการพิจารณาเห็นสมควร แม้ว่าจะเกินกำหนดที่จะพึงมีได้ตามกฎหมายอื่น

ในกรณีที่ผู้ได้รับการส่งเสริมซึ่งเป็นคนต่างด้าวตามประมวลกฎหมายที่ดินเลิกกิจการที่ได้รับการส่งเสริมหรือโอนกิจการนั้นให้แก่ผู้อื่น ผู้ได้รับการส่งเสริมต้องจำหน่ายที่ดินที่ได้รับอนุญาตให้ถือกรรมสิทธิ์ภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่เลิกหรือโอนกิจการ มิฉะนั้นให้อธิบดีที่ดินมีอำนาจจำหน่ายที่ดินนั้นตามประมวลกฎหมายที่ดิน

สิทธิประโยชน์ด้านที่ดิน ตาม พรบ.ส่งเสริมการลงทุน เป็นการอนุญาตให้ต่างชาติซึ่งไม่มีสิทธิหรือถูกจำกัดสิทธิการถือครองที่ดิน สามารถถือกรรมสิทธิ์ที่ดินได้ ตามที่ BOI เห็นสมควร ทั้งนี้สิทธิในการถือครองที่ดินนี้ไม่เกี่ยวกับเรื่องภาษีที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่กำหนดไว้โดยพระราชบัญญัติ ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

การใช้สิทธิประโยชน์ยกเว้นอากรขาเข้าวัตถุดิบ ตามมาตรา 36 มีขั้นตอนการดำเนินการอย่างไร

1. บริษัทต้องสมัครเป็นสมาชิกสมาคมสโมสรนักลงทุน (IC) พร้อมทั้งขอรหัสโครงการเพื่อใช้ในระบบการสั่งปล่อยวัตถุดิบด้วยระบบคอมพิวเตอร์ (RMTS)

2. บริษัทสามารถขออนุมัติบัญชีปริมาณสต๊อกสูงสุดได้โดยขอรับแบบฟอร์มจากสำนักงานไปดำเนินการ หรือ Download โดยใช้แบบฟอร์ม F IN RM 13 และ ตัวอย่างที่ 19

3. เมื่อเรื่องได้รับการอนุมัติปริมาณสต๊อคแล้ว จะต้องนำเอกสารอนุมัตินั้นไปบันทึกในระบบฐานข้อมูลของสมาคมสโมสรนักลงทุน (IC) เพื่อใช้อ้างอิงในการสั่งปล่อยวัตถุดิบโดยระบบ RMTS ต่อไป

แนวทางในการพิจารณาในการขอถือกรรมสิทธิ์ที่ดินของชาวต่างชาติเพื่อเป็นสถานที่ตั้งโรงงานมีอะไรบ้าง

ผู้ได้รับส่งเสริมที่เป็นนิติบุคคลต่างชาติ สามารถขอถือกรรมสิทธิ์ที่ดินเพื่อใช้เป็นสถานที่ตั้งโรงงานได้ โดยมีแนวทางพิจารณา ดังนี้

- ตรวจสอบรายชื่อผู้ถือหุ้นและสัดส่วนผู้ถือหุ้นว่า ต้องเป็นหุ้นต่างชาติข้างมาก

- ต้องเป็นที่ดินในจังหวัดและนิคมอุตสาหกรรม ตามเงื่อนไขสถานที่ตั้งโรงงานที่ระบุในบัตรส่งเสริม

- ต้องมีขนาดของที่ดินเหมาะสมกับขนาดของกิจการที่ได้รับการส่งเสริม

- กรณีที่ขอถือกรรมสิทธิ์ที่ดินเพื่อรองรับการขยายกิจการในอนาคต จะต้องเสนอรายละเอียดของแผนการขยายโครงการในอนาคตด้วย

- กิจการที่อาจมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และจำเป็นต้องใช้ที่ดินจำนวนมากเพื่อก่อสร้างระบบป้องกันหรือบำบัดปัญหาสิ่งแวดล้อม เช่น ระบบบำบัดน้ำเสีย เป็นต้น จะอนุญาตให้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินในปริมาณที่เพียงพอต่อการก่อสร้างดังกล่าวด้วย

สำนักงานให้บริการอะไรบ้าง

1. ให้ความช่วยเหลือด้านการขอรับส่งเสริมการลงทุน

- ให้คำปรึกษาในการยื่นขอรับส่งเสริมการลงทุนทั้งรายใหม่และรายเดิมที่ต้องการขยายการลงทุน 

- ให้คำแนะนำในการดำเนินการต่างๆ เช่น การเตรียมข้อมูลสำหรับการขอรับส่งเสริมการลงทุน การขอวีซ่าและใบอนุญาตทำงานสำหรับชาวต่างชาติ การขอใบอนุญาตจากหน่ายงานของรัฐอื่นๆ ที่

2. บริการจับคู่ธุรกิจ 

- บริการฐานข้อมูลผู้ร่วมลงทุน โดยสามารถสืบค้นข้อมูลได้จากเว็บไซต์สำนักงาน และสามารถฝากข้อมูลเพื่อ ประกาศหาผู้ร่วมลงทุนได้

ให้บริการคำปรึกษาและจัดอบรมแก่นักลงทุนที่สนใจไปลงทุนในต่างประเทศ

3. กองพัฒนาและเชื่อมโยงการลงทุน (Industrial Linkage Development Division) ให้บริการดังนี้

- เชื่อมโยงผู้ประกอบการในการสร้างเครือข่ายทางการค้าและธุรกิจ

- สร้างซัพพลายเออร์ และพัฒนาความสามารถของผู้ประกอบการไทย

- เสริมช่องทางการตลาดให้ผู้ประกอบการไทยสามารถขยายตลาดได้มากขึ้นทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ

- แนะนำช่องทางการค้าและการลงทุน เพื่อเปิดโอกาสร่วมลงทุนระหว่างผู้ประกอบการไทยด้วยกันและระหว่างผู้ประกอบการไทยและต่างชาติ

4. อำนวยความสะดวกในการขอวีซ่าและใบอนุญาตทำงาน 

- รับคำขอ อนุมัติ/อนุญาต รวมถึงการให้คำแนะนำในการกรอกคำขอ

- ดำเนินการเรื่องช่างฝีมือ การบรรจุตัวช่างฝีมือ ผู้ชำนาญการและครอบครัว

5. ให้บริการศูนย์บุคลากรทักษะสูง (Strategic Talent Center- STC) 

สนใจเพิ่มเติมโปรดติดต่อที่ โทรศัพท์: 0 2209 1100 อีเมล์: stc@boi.go.th

ถ้าจะสั่งปล่อยเครื่องจักรโดยใช้หนังสือค้ำประกัน จะต้องเขียนคำอธิบายไว้ตรงใบขนสินค้าด้วยไหม เช่น ขอสงวนสิทธิ BOI ประมาณนี้

ในการทำใบขน เข้าใจว่าให้แจ้งชิปปิ้งเพื่อระบุในหมายเหตุว่า ขอสงวนสิทธิ BOI

กิจการโรงแรมสามารถถือหุ้นโดยต่างชาติข้างมากได้หรือไม่
กิจการโรงแรมที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนต่างชาติสามารถถือหุ้นได้ 100%
GMP หรือ GMP/PICS คืออะไร

เพื่อยกระดับมาตรฐานการผลิตให้ทัดเทียมกับประเทศคู่แข่งขันในระดับสากล จึงเป็นที่มาที่ทำให้ผู้ประกอบการไทย รวมถึงหน่วยงานรัฐในฐานะผู้กำกับดูแลต้องปรับตัวให้ก้าวทันความเปลี่ยนแปลงดังกล่าว โดยมาตรฐาน GMP ตามแนวทาง PIC/S ได้ออกเป็นประกาศของกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง กำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีการในการผลิตยาแผนปัจจุบันตามกฎหมายว่าด้วยยา พ.ศ. 2554 ลงวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2554 ซึ่งมีผลบังคับใช้แล้ว ณ ปัจจุบัน

มาตรฐานการผลิตที่ดี Good Manufacturing Practice: GMP ในอุตสาหกรรมยา

องค์การเภสัชกรรม ได้ให้คำนิยามสำหรับหลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตยา หรือ Good Manufacturing Practice (GMP) ไว้ว่า คือ ข้อกำหนด ระเบียบ แบบแผน และวิธีปฏิบัติที่นำมาใช้ในการผลิตที่ดีและได้สินค้าที่มีคุณภาพมาตรฐาน ซึ่งครอบคลุมถึง สถานที่ผลิต อุปกรณ์เครื่องจักร บุคลากร วัสดุ เอกสารต่างๆ และสิ่งอื่นที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการการผลิตทุกขั้นตอน

PICS หรือ Pharmaceutical Inspection Cooperation Scheme

กำหนดโดยองค์กรสมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป (European Free Trade Association หรือ EFTA) ประกอบไปด้วยประเทศสมาชิกเริ่มต้นทั้งหมด 18 ประเทศ เพื่อมีข้อตกลงร่วมกันในการตรวจสอบการผลิตยา ภารกิจหลักของ PICS คือเป็นศูนย์รวมและผู้สนับสนุนหลักให้ประเทศสมาชิกในการดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการผลิตยา เช่น การแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ข้อมูล องค์ความรู้ด้าน GMP ทำหน้าที่ในการรายงาน ตรวจสอบ จัดประชุม จัดการอบรมให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้ตรวจสอบ GMP (GMP Auditor/Inspector) พัฒนาปรับปรุงเอกสารคู่มือต่างๆ ในการผลิตยา รวมไปถึงการส่งเสริมการจัดตั้งเครือข่ายและเสริมสร้างความเชื่อมั่นระหว่างประเทศสมาชิกและส่งเสริม International Harmonization ในด้าน GMP

สำนักงานได้ให้ความสำคัญกับการลงทุนเพื่อยกระดับมาตรฐานดังกล่าวเป็นอย่างมาก โดยได้กำหนดมาตรฐานดังกล่าวเป็นเงื่อนไขในการขอรับการส่งเสริมการลงทุนในกิจการผลิตยาทั้งแผนปัจจุบันและแผนโบราณด้วย ทั้งนี้เพื่อสนับสนุนและแบ่งเบาภาระในการลงทุนเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของบริษัทในประเทศไทย

การยื่นขอส่งเสริมการลงทุนจะต้องมีแบบฟอร์มหรือเอกสารเพิ่มเติมอย่างใดบ้าง

การยื่นขอส่งเสริมเพื่อผลิตรถยนต์ไฟฟ้าจะต้องยื่นเอกสาร ดังนี้

1. แบบฟอร์มขอรับการส่งเสริม ทั่วไป (F PA PP 01-06)

2. แผนงานรวม (Package) ที่ประกอบด้วย โครงการประกอบรถยนต์และโครงการผลิตหรือใช้ชิ้นส่วนสำคัญ แผนการนำเข้าเครื่องจักรและติดตั้ง แผนการผลิตรถยนต์ปีที่ 1-3 แผนการผลิตหรือจัดหาชิ้นส่วนอื่นๆ แผนการจัดการแบตเตอรี่ใช้แล้ว และแผนการพัฒนาผู้ผลิตวัตถุดิบหรือชิ้นส่วนในประเทศ (Local Supplier) ที่มีผู้มีสัญชาติไทยถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 51 ในการฝึกอบรมด้านเทคโนโลยีและการให้ความช่วยเหลือทางเทคนิค

3. เอกสารแนบเกี่ยวกับเงื่อนไขอื่นๆ ของประเภทกิจการ เช่น ข้อมูลผลิตภัณฑ์ กระบวนการผลิต เครื่องจักรและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนารถยนต์ไฟฟ้า รวมถึงแผนการผลิตและตลาด เป็นต้น

บริษัทจะขอแก้ไขข้อมูลที่กรอกแล้วได้หรือไม่

สามารถแก้ไขข้อมูลได้ ถ้ายังไม่ได้กดปุ่ม ‘ส่งข้อมูล’ แต่หากส่งข้อมูลแล้ว โปรดติดต่อเจ้าหน้าที่ศูนย์ เศรษฐกิจการลงทุนภาคที่ 1-7 หรือกองบริหารการลงทุน 1-5 เพื่อดำเนินการส่งข้อมูลคืนให้แก้ไข ทั้งนี้ เมื่อ แก้ไขแล้ว ต้องกดปุ่ม ‘ส่งข้อมูล’ อีกครั้ง

บริษัทเพิ่งจัดตั้งยังไม่มีงบการเงินให้กรอกข้อมูลอย่างไร

ให้กรอก ‘0’ ในส่วนที่ยังไม่มีข้อมูล และโปรดแนบหนังสือบริษัทชี้แจงเหตุผลในระบบฯ เช่น บริษัทเพิ่งจัดตั้งจึงยังไม่มีข้อมูลในส่วนนี้

บริษัทมีแยกยื่น ภ.ง.ด. 50 หลายฉบับ เนื่องจากประกอบกิจการ เช่น ขนส่งสินค้าทางทะเลระหว่าง ประเทศ บริษัทการค้าระหว่างประเทศ (ITC) สำนักงานใหญ่ข้ามประเทศ (IHQ) ให้กรอกข้อมูลและแนบไฟล์ ในระบบฯ อย่างไร

เบื้องต้นให้กรอกมูลค่ารวมจาก ภ.ง.ด.50 ทุกฉบับ และรวมไฟล์ ภ.ง.ด.50 ของทุกฉบับเป็นไฟล์เดียวกันเพื่อแนบในระบบฯ

ขออภัยครับ ไม่มีข้อมูลส่วนนี้ ในภาษาที่ท่านเลือก !

Sorry, There is no information support your selected language !

Download และ ติดตั้งโปรแกรมอ่าน PDF

Download PDF Reader

Site map