1.หากบริษัทนำเข้าเครื่องจักรมาในช่วงที่ได้รับสิทธิประโยชน์การยกเว้นภาษีอากร โดยได้ชำระภาษีอากรไว้ บริษัทสามารถยื่นขออนุมัติสั่งปล่อยคืนอากรได้ แต่ต้องไม่เกิน 1 ปี นับจากวันที่สิ้นสุดระยะเวลานำเข้าเครื่องจักร ตามประกาศ สกท ที่ ป.4/2556 ข้อ 8.1
2.การขอคืนอากรเครื่องจักร จะเป็นช่วงที่ยังไม่เริ่มการผลิตก็ได้
3.การติดต่อสอบถามเจ้าหน้าที่ BOI ขอให้ติดต่อโดยตรงกับกองบริหารการลงทุนของ BOI ที่รับผิดชอบประเภทอุตสาหกรรมที่บริษัทได้รับการส่งเสริม
โปรดติดต่อเจ้าหน้าที่ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้อง โดยอาจต้องแสดงหลักฐานเพื่อยืนยันสถานะบัตรส่งเสริม เช่น สำเนาใบอนุญาตเปิดดำเนินการ
ระบบฯ ไม่ได้มีข้อผิดพลาดแต่อย่างใด เนื่องจากเบื้องต้นจะเปิดให้บันทึกมูลค่าเงินลงทุนในช่วงที่ผ่านมาเฉพาะการรายงานรอบที่ 1 เดือนกุมภาพันธ์เท่านั้น
เครื่องจักรเก่า ในความหมายของ BOI หมายถึงเครื่องจักรที่เคยมีการใช้งานเชิงพาณิชย์แล้ว
หากเป็นเครื่องจักรใหม่ที่เก็บไว้นาน ยังคงถือว่าเป็นเครื่องจักรใหม่ กรณีที่สอบถาม บริษัทจะนำเข้าเครื่องจักรเก่า จึงจะต้องยื่นขออนุมัติบัญชีรายการเครื่องจักรเพิ่มเติมโดยชื่อที่จะขออนุมัติจะต้องระบุ Model และปีที่ผลิตด้วย เช่น Used Grinding Machine Serial No. 1234 Year of MFG 2015 และจะต้องแนบใบรับรองประสิทธิภาพเครื่องจักรเก่าซึ่งมีรายละเอียดตามที่ BOI กำหนดด้วย
เครื่องจักร (รวมถึงอุปกรณ์ และชิ้นส่วนต่าง ๆ) ทุกรายการ ที่นำเข้าโดยใช้สิทธิยกเว้นภาษีอากรตามมาตรา 28 จะต้องแสดงในแบบคำขอเปิดดำเนินการ
ข้อ 2 รายละเอียดเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ติดตั้งใช้ในโครงการ ให้ครบทุกรายการ เว้นแต่รายการที่ได้รับอนุมัติให้ส่งคืน/จำหน่าย/ทำลาย และตัดบัญชีเครื่องจักรไปแล้ว แต่เครื่องจักรและอุปกรณ์ต่างๆ ที่นำเข้าโดยใช้สิทธิฯ อาจจะไม่อยู่ในทะเบียนสินทรัพย์ของบริษัทก็ได้ ขึ้นอยู่กับนโยบายทางการบัญชีของบริษัทนั้นๆ เช่น รายการที่มีมูลค่าต่ำกว่า 3,000 บาท จะไม่บันทึกเป็นสินทรัพย์ เป็นต้น
กรณีที่สอบถาม บริษัทไม่มีความจำเป็นต้องชำระภาษีเครื่องจักรที่ไม่อยู่ในทะเบียนสินทรัพย์ แต่ขอให้ปรึกษากับจนท BOI ที่รับผิดชอบในการตรวจสอบเปิดดำเนินการโครงการของบริษัท เพื่อขอคำแนะนำในการเตรียมเอกสารและข้อมูลเพื่อชี้แจงตามข้อเท็จจริง
บริษัทสามารถนำเครื่องจักรเข้ามาก่อนที่จะได้รับอนุมัติให้การส่งเสริมโครงการได้ โดยการชำระภาษีสงวนสิทธิ แต่จะต้องไม่ก่อนวันที่ยื่นคำขอรับการส่งเสริม จากนั้น เมื่อได้รับบัตรส่งเสริม และได้รับอนุมัติบัญชีเครื่องจักรแล้ว สามารถยื่นขอสั่งปล่อยคืนอากรได้ โดยจะได้รับคืนเฉพาะอากรขาเข้า ส่วน VAT ต้องใช้วิธีเครดิตภาษีประจำเดือน หรือหากจะขอคืน VAT ต้องดำเนินการตามระเบียบของกรมสรรพากร
บริษัทได้รับส่งเสริมผลิตชิ้นส่วนพลาสติก ซึ่งกรรมวิธีเดิมมีการใช้ชิ้นส่วน คือ terminal ซึ่งต้องนำเข้าจาก ตปท. แต่ต่อมาต้องการนำ Tin plated มาผลิตเป็น terminal เองในโรงงาน
1. สามารถขอผลิต terminal และชิ้นส่วน โดยจะยื่นแก้ไขโครงการ หรือจะยื่นเป็นโครงการใหม่ก็ได้
1.1 กรณีแก้ไขโครงการ
- ต้องยังไม่ครบกำหนดเปิดดำเนินการ เนื่องจากจะต้องนำเครื่องจักร (ยกเว้นกิจการในหมวด 5 อุตสาหกรรมเครื่องไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ และชิ้นส่วน จะเปิดดำเนินการครบตามโครงการแล้วก็ได้ เนื่องจากได้รับสิทธิให้นำเข้าเครื่องจักรมาปรับปรุงโครงการได้ตลอดระยะเวลาที่ได้รับส่งเสริม)
- จะได้รับสิทธิประโยชน์เท่าที่เหลืออยู่ของโครงการเดิม
1.2 กรณีขอโครงการใหม่
- จะได้รับสิทธิประโยชน์ใหม่
2. การเพิ่มทุนจดทะเบียนในโครงการใหม่หรือการแก้ไขโครงการ จะพิจารณาเป็นกรณีๆไป โดยดูจากผลประกอบการของบริษัทและขนาดการลงทุนที่จะลงทุนเพิ่มขึ้น เช่น หากบริษัทมีกำไรสะสม หรือมีอัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนผู้ถือหุ้นไม่สูง ก็อาจไม่ต้องเพิ่มทุนจดทะเบียนก็ได้
3. terminal ที่จะขอผลิตเป็นชิ้นส่วนในโครงการเดิมแล้ว ยังสามารถขอจำหน่ายเป็นชิ้นส่วนได้ด้วย แต่จะต้องระบุในคำขอให้ชัดเจน
4. หลักเกณฑ์การอนุญาต คือตามข้อ 1 และ 2
ใบรับรอง ISO ของบริษัทแม่ที่ญี่ปุ่น ไม่มีผลถึงบริษัทลูกที่ประเทศไทย แต่หน่วยงานญี่ปุ่นที่ออกใบรับรองให้กับบริษัทแม่ จะเดินทางมาตรวจบริษัทลูกที่ประเทศไทย และออกใบรับรองให้กับบริษัทลูกก็ได้
ใบรับรอง ISO ที่จะใช้ยื่นต่อ BOI ต้องเป็นใบรับรองที่ออกให้กับบริษัทที่ได้รับการส่งเสริม โดยมีการรับรองรองประเภทกิจการ (เช่น การผลิต...) และที่ตั้งสถานประกอบการ ตรงตามเงื่อนไขในบัตรส่งเสริม
1.1 ขอรับส่งเสริมเป็นโครงการใหม่ ประเภท 7.11 กิจการวิจัยและพัฒนา
ต้องเป็นการวิจัยพัฒนาจนถึงขั้นจดสิทธิบัตรใหม่ จากนั้นนำผลวิจัยพัฒนานั้นไปทำการผลิตเชิงพาณิชย์ โดยจะใช้กิจการโรงงานที่ดำเนินการอยู่เดิมก็ได้ รายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ซึ่งเป็นผลงานจาก R&D นี้ ถือเป็นรายได้ที่สามารถใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ในโครงการ R&D จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ 8 ปี โดยไม่กำหนดวงเงินสูงสุด (ตามประเภท A1) https://www.boi.go.th/upload/Section7th_90697.pdf
1.2 ขอรับส่งเสริมเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต
เป็นการวิจัยพัฒนาหรือออกแบบทางวิศวกรรมเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต เช่น พัฒนาคุณสมบัติสินค้า หรือพัฒนาสินค้ารุ่นใหม่ หรือออกแบบกระบวนการผลิตสินค้าให้มีประสิทธิภาพ เป็นต้น ขอรับส่งเสริมตามประกาศ กกท ที่ 9/2560 เรื่อง มาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต https://www.boi.go.th/upload/content/9_2560_10104.pdf และคำชี้แจง https://www.boi.go.th/upload/content/c8_2561_5bb7426f6bcda.pdf จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ 3 ปี ไม่เกิน 50% ของมูลค่าเงินลงทุน R&D ต้องยื่นคำขอรับส่งเสริมภายในวันที่ 30 ธันวาคม 2563 โครงการเดิมที่จะขอปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต ต้องไม่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษี หรือสิ้นสุดสิทธิยกเว้นภาษีไปแล้ว
2. บัญชีนวัตกรรมไทยเป็นคนละมาตรการกัน ไม่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการลงทุนของ BOI บริษัทจะรับสิทธิทั้ง 2 มาตรการก็ไม่มีปัญหาอะไร
กรณีเป็นบริษัทต่างด้าว หากประกอบกิจการนอกเหนือจากที่ได้รับส่งเสริมจาก BOI และเป็นกิจการที่ห้ามไว้ตาม พรบ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว จะต้องได้รับอนุญาตจากสำนักบริการธุรกิจของคนต่างด้าว ก.พาณิชย์ ก่อน จึงจะดำเนินการได้
หากกิจการที่ได้รับส่งเสริมจาก BOI ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ บริษัทจะต้องแยกบัญชีรายรับรายจ่ายส่วนที่ได้รับส่งเสริมและไม่ได้รับส่งเสริม เพื่อให้สามารถใช้สิทธิยกเว้นภาษีได้อย่างถูกต้อง แต่ก่อนจะถึงเรื่องการแยกบัญชี บริษัทต้องปฏิบัติตาม พรบ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ให้ถูกต้องเสียก่อน
กิจการ IBC ได้รับสิทธิประโยชน์ยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักรเฉพาะเครื่องจักรที่ใช้วิจัยและพัฒนาและฝึกอบรม โดยไม่ให้ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าวัตถุดิบ
สามารถยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI ได้ตามลิงค์: https://www.boi.go.th/index.php?page=form_app1
เปลี่ยนได้โดยจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของ IBC
- ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสูงสุด 13 ปี
(มาตรา 31)
- ลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลร้อยละ 50
(มาตรา 35 (1))
- ยกเว้น/ลดหย่อนอากรขาเข้าสำหรับเครื่องจักร
(มาตรา 28/29)
- ลดหย่อนอากรขาเข้าสำหรับวัตถุดิบหรือวัสดุจำเป็น
(มาตรา 30)
- ยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับของที่นำเข้ามาเพื่อใช้ในการวิจัยและพัฒนา
(มาตรา 30/1)
- ให้หักค่าขนส่ง ค่าไฟฟ้าและค่าน้ำประปา
เป็นสองเท่า (มาตรา 35 (2))
- ให้หักค่าติดตั้งหรือก่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกเพิ่มขึ้นร้อยละ
25
(มาตรา 35 (3))
- ยกเว้นอากรขาเข้าวัตถุดิบหรือวัสดุจำเป็นสำหรับการผลิตเพื่อการส่งออก
(มาตรา 36)
การได้สิทธิประโยชน์ดังกล่าวขึ้นอยู่กับประเภทกิจการและเงื่อนไขของโครงการที่ได้รับการส่งเสริม
ขอบข่ายธุรกิจในประเภทกิจการ IBC มีรายละเอียดดังนี้
1.1 การบริหารงานทั่วไป การวางแผนทางธุรกิจ และการประสานงานทางธุรกิจ
1.2 การจัดหาวัตถุดิบและชิ้นส่วน
1.3 การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์
1.4 การสนับสนุนด้านเทคนิค
1.5 การส่งเสริมด้านการตลาดละการขาย
1.6 การบริหารด้านงานบุคคลและการฝึกอบรม
1.7 การให้คำปรึกษาด้านการเงิน
1.8 การวิเคราะห์และวิจัยด้านเศรษฐกิจและการลงทุน
1.9 การจัดการและควบคุมสินเชื่อ
1.10 การให้บริการด้านการบริหารเงินของศูนย์บริหารเงิน (Treasury Center)
1.11 กิจการการค้าระหว่างประเทศ
1.12 การให้บริการสนับสนุนอื่นๆ ตามที่กรมสรรพากรประกาศกำหนด
ขอบข่ายธุรกิจในประเภทกิจการ IBC มีรายละเอียดดังนี้
1.1 การบริหารงานทั่วไป การวางแผนทางธุรกิจ และ การประสานงานทางธุรกิจ
1.2 การจัดหาวัตถุดิบและชิ้นส่วน
1.3 การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์
1.4 การสนับสนุนด้านเทคนิค
1.5 การส่งเสริมด้านการตลาดและการขาย
1.6 การบริหารด้านงานบุคคลและการฝึกอบรม
1.7 การให้คำปรึกษาด้านการเงิน
1.8 การวิเคราะห์และวิจัยด้านเศรษฐกิจและการลงทุน
1.9 การจัดการและควบคุมสินเชื่อ
1.10 การให้บริการด้านการบริหารเงินของศูนย์บริหารเงิน (Treasury Center)
1.11 กิจการการค้าระหว่างประเทศ
1.12 การให้กู้ยืมเงินแก่วิสาหกิจในเครือในลักษณะที่ไม่เข้าข่ายการประกอบธุรกิจในข้อ 1.10 และ สามารถดำเนินการได้ภายใต้กฎหมายควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน เช่น
- การให้กู้ยืมเงินสกุลเงินตราต่างประเทศแก่วิสาหกิจในเครือในต่างประเทศ
- การให้กู้ยืมเงินบาทแก่วิสาหกิจในเครือในประเทศไทย
- การให้กู้ยืมเงินบาทแก่วิสาหกิจในประเทศสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม และประเทศที่ มีพรมแดนติดต่อกับประเทศไทย โดยกิจการที่กู้ยืมเงินจะต้องนำไปใช้เพื่อการค้าหรือการลงทุนในประเทศไทยหรือประเทศดังกล่าวเท่านั้น
1.13 การให้บริการสนับสนุนอื่นๆ ตามที่คณะกรรมการให้ความเห็นชอบ
ตัวอย่างรายละเอียดกิจกรรมแต่ละขอบข่ายธุรกิจ โปรดดู: International Business Center (IBC).pdf“วิสาหกิจในเครือ” หมายความว่า บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งมีความสัมพันธ์กับศูนย์กลาง ธุรกิจระหว่างประเทศ ในลักษณะดังนี้
(1) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งถือหุ้นในศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศทั้งทางตรงหรือทาง อ้อมรวมกันคิดเป็นสัดส่วนการถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบห้าของทุนทั้งหมด
(2) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศถือหุ้น หรือเป็นหุ้นส่วนทั้งทาง ตรงหรือทางอ้อมรวมกันคิดเป็นสัดส่วนการถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบห้าของทุนทั้งหมด
(3) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตาม (1) ถือหุ้น หรือเป็นหุ้นส่วนทั้งทางตรงหรือทางอ้อมรวมกันคิดเป็นสัดส่วนการถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบห้าของทุนทั้งหมด
(4) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งมีอำนาจควบคุมกิจการหรือกำกับดูแลการดำเนินงานและการ บริหารงานของศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศ
(5) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศมีอำนาจควบคุมกิจการหรือกำกับดูแลการดำเนินงานและการบริหารงาน
(6) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตาม (4) มีอำนาจควบคุมกิจการหรือกำกับดูแลการดำเนินงานและการบริหารงาน
กิจการการค้าระหว่างประเทศภายใต้ประเภทกิจการ 7.34 IBC ปัจจุบัน มีเงื่อนไขและสิทธิประโยชน์ที่ได้รับแตกต่างจากประเภท 7.6 ITC เดิม โดยมีเงื่อนไขเฉพาะประเภทกิจการดังนี้
1.ต้องมีทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้วไม่น้อยกว่า 10 ล้านบาท (เหมือนเดิม)
2.ต้องมีการจ้างพนักงานประจำที่มีความรู้และทักษะที่จำเป็นสำหรับ IBC ไม่น้อยกว่า 10 คน เว้นแต่กรณี IBC ที่มีเฉพาะการให้บริการด้านการบริหารเงินแก่วิสาหกิจในเครือ ต้องมีการจ้างพนักงานประจำที่มีความรู้และทักษะไม่น้อยกว่า 5 คน
3.กรณีเป็นการดำเนินกิจการการค้าระหว่างประเทศ จะต้องมีขอบข่ายธุรกิจในข้อ 1.1 – 1.10 ร่วมด้วยไม่น้อยกว่า 1 ข้อ
4.ไม่ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร (มาตรา 28) และไม่ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าวัตถุดิบและวัสดุจำเป็นสำหรับส่วนที่ผลิตเพื่อการส่งออก (มาตรา 36)
เงื่อนไขในการยื่นขอและสิทธิประโยชน์ที่ได้รับเปลี่ยนไป ทั้งด้านการจ้างงานบุคลากรที่เพิ่มขึ้น ด้านขอบข่ายการบริการที่ต้องมีการให้บริการวิสาหกิจในเครือด้วยที่เพิ่มขึ้น และด้านสิทธิประโยชน์ด้านการยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร (ม.28) ยกเว้นอากรขาเข้าวัตถุดิบ (ม.36) ที่ถูกยกเลิกไป
BOI มีแนวทางการพิจารณาว่าหากกิจการต้องการจะดำเนินกิจการการค้าระหว่างประเทศ ภายใต้ประเภทกิจการ 7.34 IBC จะต้องมีการดำเนินการในขอบข่ายธุรกิจในข้อ 1.1 – 1.10 ของประเภทกิจการ IBC ด้วยอย่างมีนัยสำคัญ
กรณีได้รับส่งเสริม 2 โครงการ โดยมีชนิดผลิตภัณฑ์และกรรมวิธีการผลิตเหมือนกัน บริษัทจะผลิตสินค้าโมเดลเดียวกันทั้ง 2 โครงการก็ได้ แต่ต้องสอดคล้องกับข้อเท็จจริงตามกำลังผลิตของเครื่องจักรที่ติดตั้งแล้วของแต่ละโครงการ รวมถึงจะต้องมีการขออนุมัติสูตรการผลิตสินค้านั้น และมีการยื่นสั่งปล่อยวัตถุดิบนำเข้า ไว้ทั้ง 2 โครงการ (หากไม่ได้รวมบัญชีปริมาณสต็อก)
สำหรับการแยกบัญชีรายรับรายจ่ายของทั้ง 2 โครงการ ก็จะต้องแยกอยู่แล้ว ไม่ว่าจะผลิตสินค้าคนละโมเดล หรือโมเดลเดียวกัน
Q1.1 มีรายได้จากการให้บริการซ่อมเเซม Rack หรือ Jig กรณีที่บริษัทเป็นผู้ผลิต Rack เอง และลูกค้าได้ซื้อ Rack จากบริษัทเราไป หากในภายหลัง ต้องการให้บริษัททำการซ่อมเเซม Rack ดังกล่าว ไม่ทราบว่าบริษัทสามารถรวมค่าบริการซ่อมเเซม Rack ไว้ภายในโครงการ BOI ได้หรือไม่
A1.1 การขอรับการส่งเสริมในประเภทกิจการ 4.1.3 กิจการผลิตผลิตภัณฑ์โลหะรวมทั้งชิ้นส่วนโลหะ รายได้ของโครงการจะมาจากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์โลหะเท่านั้น ดังนั้น รายได้ที่เกิดจากการให้บริการซ่อมแซม จึงไม่เข้าข่ายเป็นรายได้ของกิจการที่ได้รับการส่งเสริมจากบีโอไอ
Q1.2 กรณีที่บริษัทไม่ได้เป็นผู้ผลิต Rack ชิ้นนั้น แต่มีลูกค้าที่ต้องการให้บริษัททำการซ่อมให้ไม่ทราบว่าบริษัทสามารถให้บริการซ่อมแซม Rack รวมถึงคิดค่าบริการนี้ได้หรือไม่ และเราสามารถสร้างรายได้จากการบริการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับ Rack แก่ลูกค้าได้หรือไม่
A1.2 การบริการซ่อมบำรุงหลังการขายสำหรับ Rack สามารถดำเนินการได้โดยไม่ได้รับส่งเสริมจากบีโอไอ แต่ต้องได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจ (FBL) จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า
แต่ถ้ามีการให้บริการติดตั้งซ่อมบำรุง Jig ซึ่งเป็นเครื่องมือ สามารถขอส่งเสริมในกิจการ 7.7 กิจการสนับสนุนการค้าและการลงทุน (Trade and Investment Support Office: TISO) ขอบข่ายธุรกิจที่ 2.5 กิจกรรมทางธุรกิจเกี่ยวกับเครื่องจักร เครื่องกล เครื่องมือและอุปกรณ์ ได้แก่ การนำข้าเพื่อค้าส่ง การให้บริการฝึกอบรม การติดตั้งบำรุงรักษาซ่อมแซม และการปรับ (Calibration) อย่างไรก็ตาม มีการกำหนดเงื่อนไขเฉพาะโครงการ อาทิ ต้องมีค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร ปีละไม่น้อยกว่า 10 ล้านบาท ต้องมีแผนการและขอบข่ายธุรกิจตามที่สำนักงานกำหนด เป็นต้น สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จากคู่มือการขอรับการส่งเสริมการลงทุน 2563 (หน้า 72)