Chat
x
toggle menu
toggle menu

Select Groups

All Group
  • All Group
  • นโยบายเเละมาตรการพิเศษในการส่งเสริม
  • การขอรับการส่งเสริมการลงทุน
  • การออกบัตรส่งเสริม
  • การเปิดดำเนินการ
  • การเเก้ไขโครงการ
  • การดำเนินการอื่น ๆ
  • การรายงานความคืบหน้าโครงการ (e-Monitoring)
  • การปฏิบัติหลังการได้รับการส่งเสริม
  • การยกเลิกบัตรส่งเสริม
  • เรื่องทั่วไป
  • การใช้สิทธิด้านที่ดิน
  • การใช้สิทธิด้านเครื่องจักร
  • การใช้สิทธิด้านช่างฝีมือ/ต่างด้าว
  • การใช้สิทธิด้านวัตถุดิบ
  • ประเภทกิจการ - การแพทย์
  • การใช้สิทธิด้านภาษีเงินได้นิติบุคคล
  • ประเภทกิจการ - รถยนต์ไฟฟ้า
  • ประเภทกิจการ - ศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศ (IBC) IPO และ TISO
  • ประเภทกิจการ - โรงแรม
  • ประเภทกิจการ - ผลิตผลิตภัณฑ์โลหะรวมทั้งชิ้นส่วนโลหะ
  • ประเภทกิจการ - กิิจการผลิิตเครื่่องจัักร อุุปกรณ์์และชิ้นส่่วน
  • ประเภทกิจการ - กิิจการศููนย์์กระจายสิินค้้าระหว่่าง ประเทศด้้วยระบบที่่ทัันสมััย (IDC)
บริษัทปิดกิจการแล้ววันที่ 30 มิถุนายน 2564 เครื่องจักร บริษัทมีจำหน่ายในประเทศและส่งออกไปแล้วบางส่วน เครื่องจักรที่เหลือที่ยังรอว่าจะจำหน่ายในประเทศหรือส่งออกในส่วนนี้บริษัทสามารถดำเนินตัดบัญชีภาระภาษีก่อนไปเลยได้ไหม (กรกฎาคม 2564)
บริษัทปิดกิจการแล้ว แต่เข้าใจว่าน่าจะอยู่ระหว่างการยื่นขอยกเลิกบัตรส่งเสริมต่อ BOI ในระหว่างนี้สามารถยื่นขอจำหน่ายเครื่องจักรต่อ BOI ได้ โดยหากเป็นเครื่องจักรที่นำเข้าเกิน 5 ปี จะได้รับอนุมัติให้จำหน่ายโดยไม่มีภาระภาษี ไม่ว่าจะส่งออกหรือจำหน่ายในประเทศก็ตาม และหากเป็นเครื่องจักรหลักที่ทำให้กรรมวิธีการผลิตไม่ครบถ้วน หรือกำลังผลิตลดลงกว่า 20% ให้แจ้งเหตุผลด้วยว่า เป็นการจำหน่ายเพื่อยกเลิกโครงการ
แต่ทั้งนี้ บริษัทจะต้องได้รับอนุญาตเปิดดำเนินการเต็มโครงการแล้ว หรือจะต้องยังไม่ครบกำหนดเปิดดำเนินการ แต่หากพ้นกำหนดเปิดดำเนินการไปแล้ว แต่ยังไม่ได้ยื่นขอเปิดดำเนินการจะมีปัญหา
บริษัทต้องการขอบัตรส่งเสริมกิจการ “Test and assembly testing” ใช้สำหรับทดสอบพัดลม ในขั้นตอนสุดท้ายของการผลิตพัดลมอุตสาหกรรม เพื่อขายให้กับบริษัทในเครือในประเทศต่างๆ ที่ผลิตพัดลมเช่นเดียวกัน แต่ขั้นตอนการออกแบบทั้งหมดดำเนินการโดยบริษัทแม่ ทางบริษัทจะทำการคัดลอกโปรแกรม/ขั้นตอนทั้งหมดมา โดยมีการใช้เครื่องจักรประมาณ 4-5 รายการ สามารขอรับการส่งเสริมได้หรือไม่

กิจการผลิตเครื่องจักร "Test and Assembly Testing" ให้การส่งเสริมในประเภท 4.5 (สิทธิประโยชน์ในกลุ่ม A1-A4)


Q12.1:

หากไม่มีขั้นตอนออกแบบในประเทศไทยจะจัดเป็นประเภท 4.5 นี้หรือไม่

A12.1:

หากเป็นการผลิตเครื่องจักรที่ไม่มีการออกแบบทางวิศวกรรม ให้ส่งเสริมในประเภท 4.5.2 และ 4.5.3


Q12.2:

ในกิจการ 4.5.2 ระบุว่าต้องมีขั้นตอนการขึ้นรูปชิ้นส่วน และ/หรือ การออกแบบทางวิศวกรรม อยากทราบว่าคำว่า การขึ้นรูปชิ้นส่วน หมายถึงอะไร คือการฉีดพลาสติกขึ้นโครงเครื่องจักรหรือไม่

การผลิตของบริษัทจะมีขั้นตอนตัดชิ้นส่วนอลูมิเนียมขึ้นเป็นโครงเครื่องจักร การเชื่อมติดชิ้นส่วนต่างๆ การทำสายไฟเพื่อประกอบเป็นตู้ควบคุม เป็นต้น

A12.2:

การขึ้นรูป คือมีการผลิตชิ้นส่วนขึ้นเอง หากไม่มีการผลิตชิ้นส่วนจะเป็นการประกอบเครื่องจักร ซึ่งจัดเป็นกิจการประเภท 4.5.3


Q12.3:

การผลิตชิ้นส่วนเอง หมายถึงอะไร เช่น เราซื้อปลั๊ก สายไฟ โครงเหล็ก แผ่นเหล็ก มาตัดและประกอบ ถือเป็นการผลิตชิ้นส่วนเองหรือไม่

A12.3:

การตัดแผ่นเหล็ก เป็นขั้นตอนที่ไม่มีนัยสำคัญในกระบวนการผลิต กรรมวิธีการผลิตที่สอบถาม เป็นเพียงการประกอบเครื่องจักรเท่านั้น

เงื่อนไขเฉพาะโครงการ กิจการ ประเภท 7.4.2 : IDC ที่ระบุว่าต้องกระจายสินค้าไปต่างประเทศไม่น้อยกว่า 5 ประเทศ ถ้ากรณีที่บริษัทฯ กระจายสินค้าไปต่างประเทศ มีรายละเอียดดังนี้ เช่น บริษัท A (ลูกค้าในประเทศ) ผลิตสินค้าเพื่อส่งออกต่างประเทศ ให้กับบริษัทดังนี้ บริษัท B Singapore, บริษัท C Malaysia , บริษัท D Indonesia, บริษัท E Chile บริษัท F Australia ซึ่งเป็นบริษัท A มาใช้บริการจัดเก็บสินค้าเข้าคลังเบิกจ่ายกับบริษัทฯ ให้นับรวมเป็นการกระจายสินค้าไปต่างประเทศ 5 ประเทศได้หรือไม่ แต่บริษัท A เป็นผู้เดินพิธีการส่งออกเอง และขนส่งเอง

หากบริษัท A มาใช้บริการฝากเก็บสินค้าเข้าคลัง และเบิกจ่ายสินค้าออกจากคลัง ผู้ให้บริการคลังสินค้าดังกล่าว จะให้บริการเพียงการรับฝากสินค้าเท่านั้น คือเป็นกิจการคลังสินค้าไม่เข้าข่ายกิจการศูนย์กระจายสินค้า IDC

บริษัทเปิดดำเนินการเรียบร้อยแล้ว - เครื่องจักร อยู่ในช่วงจำหน่าย/ส่งออกเครื่องจักร - อะไหล่ บางตัวที่ยังไม่ครบ 5 ปี ก็ต้องชำระภาษีใช่ไหม (กรกฎาคม 2564)
เครื่องจักร/อะไหล่ ที่นำเข้ามายังไม่ครบ 5 ปี หากจะส่งออก ให้ยื่นเรื่องขอส่งเครื่องจักรคืนไปต่างประเทศ ซึ่งจะไม่มีภาระภาษี แต่ถ้าไม่ส่งออก ให้ยื่นขอจำหน่ายโดยมีภาระภาษีตามสภาพ

Q1.2:
บริษัทมีการนำเข้าอะไหล่มาเพิ่มเติมช่วงหลังเพื่อมา modify เครื่องจักร ถ้าจะส่งเครื่องจักรไปต่างประเทศ บริษัทต้องขออนุญาตทั้งเครื่องจักรและอะไหล่แยกกันหรือไม่ แต่การส่งออกจริง อะไหล่จะประกอบอยู่ในเครื่องจักร เวลาตัดบัญชีเครื่องจักรส่งออกจะไม่มีรายการเหมือนตอนนำเข้าอะไหล่ บริษัทต้องแยกรายการออกมาเหมือนตอนนำเข้าไหม

A1.2:
การนำเข้าอะไหล่เข้ามาซ่อมแซมเครื่องจักร แล้วต่อมาส่งเครื่องจักรนั้นไปต่างประเทศ จะขาดหลักฐานที่จะพิสูจน์ว่าอะไหล่ที่นำเข้ามานั้นได้ติดไปกับเครื่องจักรที่ส่งออก จึงจะมีปัญหาในการตัดบัญชี เพื่อปลดภาระภาษีอะไหล่ดังกล่าว กรณีที่สอบถาม มีคำแนะนำดังนี้
1. หากนำเข้าอะไหล่ดังกล่าวเข้ามาเกิน 5 ปีแล้ว ให้ยื่นขอจำหน่ายโดยไม่มีภาระภาษี
2. หากนำเข้าอะไหล่ดังกล่าวเข้ามายังไม่ครบ 5 ปี ให้ยื่นขอส่งคืนไปต่างประเทศ แต่จะมีปัญหาใน การพิสูจน์ว่าอะไหล่นั้นได้ติดไปกับเครื่องจักรที่ส่งออกหรือไม่ เนื่องจากใบขนขาออกจะระบุเพียงชื่อเครื่องจักร แต่จะไม่ระบุรายการอะไหล่ที่อยู่ในเครื่องจักร
กรณีตามข้อ 2 นี้ ในการยื่นตัดบัญชีอะไหล่ที่ส่งออกไปพร้อมกับเครื่องจักร แนะนำว่าให้ปรึกษากับเจ้าหน้าที่ BOI ที่รับผิดชอบโครงการของบริษัทว่า นอกจากใบขนขาออกที่ระบุเฉพาะรายการเครื่องจักร (แต่ไม่ระบุรายการอะไหล่) แล้ว บริษัทควรจะจัดเตรียมหลักฐานเพิ่มเติมใดบ้าง เพื่อยืนยันว่าอะไหล่ดังกล่าวได้ติดไปกับเครื่องจักรที่ได้ส่งออกไป
กรณีที่โครงการได้รับการส่งเสริมการลงทุนจะต้องขอใบรับรองการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว (Foreign Business Certificate: FBC) แต่หากไม่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจะต้องขอใบอนุญาติแระกอบธุรกิจของคนต่างด้าว (Foreign Business License: FBL) จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ ในบัญชีสาม (21) การทำธุรกิจบริการอื่น (1 เม.ย. 2563)

Q1 หากบริษัทผลิตผลิตภัณฑ์ตามรูปแบบที่ลูกค้าต้องการ (ตามออเดอร์) โดยลูกค้าเเต่ละเคสจะได้รับผลิตภัณฑ์ที่มีการออกแบบแตกต่างกัน สามารถทำได้หรือไม่

A1 สามารถทำได้ แต่กระบวนการออกแบบต้องเป็นหนึ่งในขั้นตอนการผลิตที่ได้รับการอนุมัติให้การส่งเสริมจากบีโอไอด้วย

Q2 เราสามารถผลิต Rack หรือ JIG โดยใช้วัตถุดิบบางส่วนที่ลูกค้าซัพพลายมาให้ได้หรือไม่ เช่น Spring, welding parts.

A2 ได้ค่ะ อย่างไรก็ตาม กรณีที่มีการซื้อชิ้นส่วนต่าง ๆ มาจากแหล่งอื่นแล้วนำมาประกอบเข้ากับผลิตภัณฑ์ที่ขอรับการส่งเสริมจากบีโอไอ ต้องได้รับการอนุมัติในขั้นตอนการผลิตที่ขอรับการส่งเสริมด้วย

บริษัทมีบัตรที่ได้รับการส่งเสริมหมดสิทธิทางภาษีแล้ว และได้เข้าร่วมโครงการประหยัดพลังงาน Solar Roof ปัจจุบันได้บัตรแล้ว ติดตั้งเสร็จแล้ว การจะใช้สิทธิยกเว้น CIT 50% ของเงินลงทุน มีขั้นตอนอย่างไร จะต้องให้ผู้สอบบัญชีตรวจรับรองหรือไม่ หรือใช้แบบฟอร์มไหนไหนในการขอใช้สิทธิ

  1. โครงการที่สิ้นสุดสิทธิทางภาษีเงินได้ และต่อมาได้ยื่นคำขอรับการส่งเสริมตาม ประกาศ กกท ที่ 9/2560 เพื่อลงทุนเพื่อการประหยัดพลังงาน หรือการใช้พลังงานทดแทน จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ 3 ปี เป็นสัดส่วน 50% ของเงินลงทุนไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียนในการปรับปรุง จากรายได้ของกิจการที่ดำเนินการอยู่เดิม นับจากวันที่มีรายได้ภายหลังได้รับบัตรส่งเสริม
  2. การขอใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ จะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ใน ประกาศ สกท ที่ ป.2/2559 และ ประกาศ สกท ที่ ป.3/2559 โดยต้องให้ผู้ตรวจสอบบัญชีรับอนุญาต เป็นผู้ตรวจสอบรับรองรายงาน

กิจการ IBC จะต้องให้บริการวิสาหกิจในเครือในต่างประเทศอย่างน้อย 1 แห่งใช่หรือไม่

การให้บริการวิสาหกิจในเครือในประเภท 7.34 IBC ตามขอบข่ายที 1.1 – 1.10 จะต้องให้บริการวิสาหกิจในเครือที่อยู่ต่างประเทศอย่างน้อย 1 ประเทศ และจะให้บริการวิสาหกิจในเครือในประเทศด้วยก็ได้

กิจการ International Business Center (IBC) คือการให้บริการแก่วิสาหกิจในเครือ หากทำธุรกิจเฉพาะส่วนที่เป็นการค้าขาย (Trading) โดยไม่ให้บริการแก่วิสาหกิจในเครือ สามารถได้รับการส่งเสริมภายใต้กิจการ IBC ได้หรือไม่

เนื่องจากปัจจุบันกิจการ International Trading Center (ITC) ได้ยกเลิกการให้ส่งเสริมไปแล้ว ในส่วนของกิจการ IBC เปรียบเหมือนการปรับการให้ส่งเสริมกิจการ International Headquarters (IHQ) เป็นกิจการ IBC จึงมีเงื่อนไขบังคับว่าต้องมีแผนการดำเนินการให้บริการแก่วิสาหกิจในเครือ และให้ส่งเสริมการดำเนินธุรกิจการค้าระหว่างประเทศได้ หากมีการดำเนินธุรกิจ IBC เพื่อให้บริการแก่บริษัทในเครือ (IHQ) ตามที่กำหนดเป็นหลัก

กรณีได้รับการส่งเสริมในกิจการ ITC จะเปลี่ยนเป็นกิจการ IBC ได้หรือไม่

ควรยื่นขอรับการส่งเสริมในกิจการ IBC เพิ่มเติม เนื่องจากกรณีเปลี่ยนประเภทกิจการจาก ITC เป็นกิจการ IBC จะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร (ม.28) และไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ยกเว้นอากรขาเข้าวัตถุดิบเพื่อการส่งออก (ม.36)

เรื่องการยื่นขอยกเว้นภาษีฯ คือ รอบปิดบัญชีบริษัทฯ สิ้นสุด ณ วันที่ 30 กันยายน 2558 ตามกำหนดแล้วบริษัทฯต้องยื่นขอใช้สิทธิขอยกเว้นภาษีฯ กับทางสำนักงานภายใน 120 วันหลังจากปิดรอบปีบัญชี บริษัทฯ สามารถยื่นหลัง 120 วันได้หรือเปล่า และถ้าได้ต้องไม่เกินกี่วัน

บริษัทมีหน้าที่ยื่นงบฯต่อกรมสรรพากรภายใน 150 วัน หลังจากสิ้นรอบปีบัญชี BOI จึงกำหนดให้ต้องยื่นแบบขอใช้สิทธิยกเว้นภาษี ให้ BOI ตรวจสอบภายใน 120 วัน เพื่อให้ BOI ตรวจสอบเสร็จภายใน 30 วัน และบริษัทสามารถยื่นงบต่อสรรพากรได้ทันตามที่กฎหมายกำหนด แต่หากบริษัทจัดเตรียมเอกสารไม่ทัน จะยื่นแบบฯ ต่อ BOI เกินกว่า 120 วันก็ได้ แต่ก็เท่ากับว่าจะยื่นงบต่อสรรพากรไม่ทันตามที่กฎหมายกำหนด

กลุ่มกิจการที่ได้รับการส่งเสริมประเภท กิจการกลุ่ม B ได้สิทธิประโยชน์เฉพาะสิทธิประโยชน์อื่นๆ ที่ไม่ใช่ภาษีเท่านั้นใช่หรือไม่

ไม่ใช่ กิจการที่ได้รับสิทธิประโยชน์ในกลุ่ม B สามารถได้รับสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีนำเข้าเครื่องจักรและวัตถุดิบเพื่อผลิตเพื่อการส่งออก หรือบางกิจการจะได้รับสิทธิ์เฉพาะการยกเว้นภาษีนำเข้าวัตถุดิบเพื่อผลิตเพื่อการส่งออกเท่านั้น

สำหรับกิจการในกลุ่ม B ที่จะได้รับสิทธิประโยชน์ด้านภาษีเงินได้นิติบุคคล จะต้องเป็นกิจการที่มีการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต

ตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนที่ ป.10/60 ว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุนอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ให้สิทธิประโยชน์กับประเภทกิจการกลุ่ม B (ยกเว้น ประเภทกิจการตามข้อ 2 ของประกาศ สกท.ที่ ป.4/2560 ลงวันที่ 21 ธันวาคม 2560) ที่มีการใช้ระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ ดังนี้

1. กรณีมีการใช้เครื่องจักรที่มีการเชื่อมโยงหรือสนับสนุนอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรระบบอัตโนมัติในประเทศไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ของมูลค่าเครื่องจักรเฉพาะส่วนที่เป็นการลงทุนนำระบบอัตโนมัติหรือหุ่นยนต์มาใช้ในการผลิตหรือการบริการ ให้ได้รับวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลร้อยละ 100 ของเงินลงทุนโดยไม่รวมค่าที่ดินและเงินทุนหมุนเวียนเป็นระยะเวลา 3 ปี

2. กรณีมีการใช้เครื่องจักรที่มีการเชื่อมโยงหรือสนับสนุนอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักรระบบอัตโนมัติในประเทศน้อยกว่าร้อยละ 30 ของมูลค่าเครื่องจักรเฉพาะส่วนที่เป็นการลงทุนนำระบบอัตโนมัติหรือหุ่นยนต์มาใช้ในการผลิตหรือการบริการ ให้ได้รับวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลร้อยละ 50 ของเงินลงทุนโดยไม่รวมค่าที่ดินและเงินทุนหมุนเวียนเป็นระยะเวลา 3 ปี

ตามประกาศ สกท ที่ ป 4/2560 ลงวันที่ 21 ธันวาคม 2560 กำหนดประเภทกิจการที่ไม่ให้ได้รับสิทธิประโยชน์เพิ่มเติม ได้แก่

ประเภท 4.6  กิจการผลิตรถยนต์ทั่วไป

ประเภท 4.12 กิจการผลิตรถจักรยานยนต์ (ยกเว้นที่มีความจุกระบอกสูบต่ำกว่า 248 ซีซี)

ประเภท 4.16 กิจการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าแบบผสม (Hybrid Electric Vehicles – HEV) และชิ้นส่วน

ประเภท 5.8   กิจการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

ประเภท 7.2   กิจการสถานีบริการก๊าซธรรมชาติ

ประเภท 7.5   กิจการสำนักงานใหญ่ข้ามประเทศ (International Headquarters : IHQ)

ประเภท 7.6   กิจการบริษัทการค้าระหว่างประเทศ (international Trading Centers : ITC)

ประเภท 7.7   กิจการสนับสนุนการค้าและการลงทุน (Trade and Investment Support Office : TISO)

ในกรณีที่ถึงกำหนดรายงาน ISO สามารถยื่นได้ที่ไหน

การยื่นรายงานผลการปฏิบัติตามเงื่อนไข ISO สามารถยื่นให้ที่ศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภูมิภาค 1-6 หรือสำนักบริหารการลงทุน 1-4 ที่รับผิดชอบโครงการนั้นๆของบริษัท

บริษัทฯ ต้องการขอผ่อนผันกรรมวิธีการผลิต เพื่อนำเข้าชิ้นส่วนกึ่งสำเร็จรูปมาเพื่อผลิตสินค้าให้ทันตามความต้องการของลูกค้า เพราะบริษัทเปิดใหม่ พนักงานยังไม่มีความชำนาญในการควบคุมเครื่องจักร จึงทำให้ไม่สามารถผลิตสินค้าได้ทันตามแผนการผลิต ขอสอบถามดังนี้ 1. บริษัทต้องขอผ่อนผันกรรมวิธีการผลิตใช่หรือไม่ แล้วทางบีโอไอมีหลักเกณฑ์การอนุมัติให้กี่เปอร์เซ็นต์ของกำลังผลิตตามบัตรแบบสูงสุด 2. วิธีการกรอกแบบฟอร์มแก้ไขโครงการเพื่อผ่อนผันกรรมวิธีการผลิต ต้องกรอกส่วนไหนบ้าง แล้วส่วนไหนที่ไม่ต้องกรอก 3. การขอผ่อนผันนี้ทำให้เราสามารถนำเข้าผลิตภัณฑ์กึ่งสำเร็จรูปเข้ามาได้ แล้วถ้าบริษัทจะนำเข้าเป็นวัตถุดิบแล้วไปจ้างบริษัทบีโอไอเหมือนกันให้ผลิตให้ได้หรือไม่ คือเรานำเข้าวัตถุดิบแล้วไปจ้างบริษัทอื่นผลิตเป็นกึ่งสำเร็จรูป แล้วเราก็ไปรับมาเพื่อมาผ่านกรรมวิธีที่เหลือ แล้วส่งออกไป สามารถทำได้หรือเปล่า

1. การผ่อนผันให้นำเข้าชิ้นส่วนกึ่งสำเร็จรูปมาใช้ในการผลิต จะอนุญาตให้ตามที่จำเป็นจริง แต่ต้องไม่ขัดกับสาระสำคัญของโครงการนั้น เช่น

- โครงการผลิต TV เดิมมีขั้นตอนฉีดพลาสติก ประกอบแผงวงจร (PCBA) และอื่นๆ หากจะขอนำเข้าชิ้นส่วนพลาสติกที่ขึ้นรูปแล้ว ก็จะพิจารณาว่าไม่ใช่สาระสำคัญ เนื่องจากหากไม่มีขั้นตอนนี้เลย ก็ยังสามารถให้ส่งเสริมได้ ดังนั้น ในกรณีนี้ไม่ควรใช้วิธีผ่อนผัน แต่ควรแก้ไขกรรมวิธีผลิตเป็น ฉีดขึ้นรูปชิ้นส่วนพลาสติกฉีดหรือจัดซื้อมา เพื่อที่จะทำได้ทั้ง 2 วิธี

- โครงการผลิตชิ้นส่วนพลาสติก เดิมมีขั้นตอนการฉีดพลาสติกและพ่นสี หากขอผ่อนผันนำเข้าชิ้นส่วนพลาสติกที่ฉีดแล้วมาพ่นสีอย่างเดียว ก็คงอนุญาตลำบาก เว้นแต่หากจำเป็นจริงๆ ก็อาจผ่อนผันเป็นกรณีไป โดยอาจกำหนดจำนวนที่น้อยที่สุดในครั้งนั้นครั้งเดียว และกำหนดว่ารายได้ในส่วนนี้ไม่ให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ เป็นต้น

2. ที่ต้องกรอก คือ

- ข้อมูลทั่วไปสำหรับการแก้ไขทุกประเภท

- เรื่องที่ขอแก้ไข

- เหตุผลที่ขอแก้ไข

- และข้อ 4.2 ชนิด ปริมาณและระยะเวลาที่จะนำเข้าชิ้นส่วนกึ่งสำเร็จรูป

3. การผ่อนผันกรรมวิธีการผลิตเพื่อนำวัตถุดิบไปว่าจ้างผลิต มีแนวทางพิจารณาคล้ายๆ กับการผ่อนผันนำเข้าชิ้นส่วนกึ่งสำเร็จรูปตามข้อ 1 คือต้องดูว่าจะกระทบกับสาระสำคัญของโครงการมากน้อยเพียงใด ถ้าไม่กระทบหรือกระทบน้อย ก็ให้ได้ แต่ถ้ากระทบมาก ก็จะไม่อนุญาต

การขอผ่อนผันนำเข้าชิ้นส่วนกึ่งสำเร็จรูป และการขอนำวัตถุดิบไปว่าจ้างผลิต เป็นคนละกรณีกัน ดังนั้น แม้ว่าจะได้รับอนุมัติให้นำเข้าชิ้นส่วนกึ่งสำเร็จรูป A แต่ต่อมาอยากจะเปลี่ยนเป็นขอนำวัตถุดิบไปว่าจ้างผลิตชิ้นส่วน A ก็ต้องขออนุมัติด้วย ซึ่งหากบริษัทเตรียมการตั้งแต่ต้น จะยื่นการแก้ไขทั้ง 2 วิธีนี้เข้ามาพร้อมกันในคำขอเดียวกันก็ได้

ในกรณีเครื่องจักรที่บริษัทจะนำเข้ามีอากรขาเข้า เท่ากับศูนย์ (Duty 0%) (บริษัทจะไม่ทำขอสงวนสิทธิ์ ) และบริษัทต้องการนำเครื่องจักรเข้ามาก่อนที่โครงการจะได้รับอนุมัติให้การส่งเสริม เครื่องจักรที่บริษัทนำเข้ามาใช้ในการผลิตนี้สามารถนำมาใช้นับกำลังการผลิตรวมกับเครื่องจักรส่วนที่นำเข้าโดยใช้สิทธิ์ BOI ได้หรือไม่

ต้องแยกระหว่าง "เงื่อนไข" กับ "สิทธิประโยชน์" ออกจากกัน เครื่องจักรที่จะถือเป็นการลงทุนตามโครงการที่ได้รับการส่งเสริม จะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์การให้การส่งเสริม และเป็นไปตามเงื่อนไขที่ระบุในบัตรส่งเสริม ไม่ว่าเครื่องจักรนั้นจะใช้สิทธิยกเว้นอากรขาเข้าตามที่ได้รับหรือไม่ก็ตาม

หลักเกณฑ์และเงื่อนไข สามารถตรวจสอบได้จากบัตรส่งเสริมของแต่ละโครงการ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นดังนี้

- ต้องเป็นเครื่องจักรใหม่ (กรณีอนุญาตให้ใช้เครื่องจักรเก่า จะมีข้อความระบุในบัตรส่งเสริม)

- ต้องไม่เป็นเครื่องจักรที่ได้มาก่อนวันที่ยื่นคำขอรับการส่งเสริม

- ต้องเป็นเครื่องจักรตามกรรมวิธีการผลิตที่ได้รับการส่งเสริม เป็นต้น

กรณีที่สอบถาม เครื่องจักรอากรขาเข้าเป็น 0 บริษัทจึงจะนำเข้าเครื่องจักรโดยไม่ใช้สิทธิตามมาตรา 28 หากเครื่องจักรนั้นเป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่อธิบายข้างต้น ก็ถือเป็นเครื่องจักรตามโครงการที่ได้รับส่งเสริม สามารถนับกำลังผลิตรวมกับเครื่องจักรอื่นที่ใช้สิทธิยกเว้นอากรขาเข้าได้

บริษัทฯ ได้ดำเนินการเปิดดำเนินการเต็มโครงการไปแล้ว จะสามารถผลิตผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้รับการส่งเสริม ได้หรือไม่ เนื่องจากเพื่อรองรับลูกค้าใหม่ แต่ไม่มีการลงทุนเพิ่มเติม จะสามารถเพิ่มผลิตภัณฑ์ได้หรือไม่ โดยรายได้จากผลิตภัณฑ์ใหม่ไม่ต้องการใช้สิทธิ์ยกเว้นภาษีเงินได้

โครงการที่เปิดดำเนินการเต็มโครงการแล้ว ยังคงมีสถานภาพเป็นผู้ได้รับส่งเสริม จึงยังมีหน้าที่ต้องปฏิบัติเงื่อนไขตามที่ได้รับการส่งเสริม หากบริษัทนำเครื่องจักร วัตถุดิบ ที่ดิน ช่างต่างชาติ ที่ได้รับสิทธิประโยชน์จาก BOI ไปในการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้รับส่งเสริม จะเป็นการขัดกับเงื่อนไขในการใช้สิทธิประโยชน์นั้นๆ จึงควรแก้ไขโครงการให้ถูกต้อง เช่น อาจขออนุญาตใช้เครื่องจักร/ที่ดินเพื่อการอื่น หรือขอแก้ไขโครงการเพิ่มชนิดผลิตภัณฑ์โดยไม่มีการลงทุนเพิ่ม เป็นต้น

หากบริษัทฯ เคยขออนุมัติใช้สิทธิยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักรเก่าใช้แล้วจากต่างประเทศ และสำนักงานได้อนุมัติแล้วนั้น ต่อมาพบว่าบัตรส่งเสริมของบริษัทฯ เป็นยุทธศาสตร์ใหม่ ไม่สามารถใช้สิทธิยกเว้นอากรขาเข้าได้ ตามหลักการแล้ว บริษัทฯ จะต้องไปขอชำระอากรย้อนหลัง แล้วนำเอกสารการชำระภาษีอากรมาขอตัดบัญชีออกจากระบบ eMT แต่อัตราอากรขาเข้าเครื่องจักรนี้เป็น 0% บริษัทฯ ควรจะต้องดำเนินการอย่างไรต่อไป

1.หากบริษัทไม่ได้รับสิทธิยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร BOI จะไม่อนุมัติบัญชีเครื่องจักร และไม่อนุมัติสั่งปล่อยยกเว้นภาษีอากร คำถามที่สอบถามจึงไม่น่าจะเกิดขึ้น ขอทราบรายละเอียดเพิ่มเติมมากกว่านี้ด้วย

2.กรณีเคยใช้สิทธิสั่งปล่อยยกเว้นภาษีอากรเครื่องจักร และปฏิบัติตามเงื่อนไขถูกต้อง แต่ต่อมาจะไม่ใช้เครื่องจักรนั้นในโครงการที่ได้รับส่งเสริมจะต้องขอชำระภาษีอากรตามสภาพ ณ วันที่อนุญาตให้จำหน่าย

3.กรณีเคยใช้สิทธิสั่งปล่อยยกเว้นภาษีอากรเครื่องจักร แต่ปฏิบัติผิดเงื่อนไขอาจถูกเพิกถอนสิทธิการยกเว้นภาษีอากรของเครื่องจักรนั้นๆ เสมือนไม่เคยได้รับสิทธิตั้งแต่ต้น ซึ่งต้องชำระภาษีอากรตามสภาพ ณ วันนำเข้า และเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม

มูลค่าการลงทุนช่วงที่ผ่านมาในรายงานความคืบหน้าโครงการรอบที่ 1 ให้ยึดรอบปีปฏิทิน (มกราคม-ธันวาคม) หรือรอบปีบัญชี

ให้ยึดรอบปีปฏิทินเพื่อให้ได้ข้อมูลการลงทุนในภาพรวมของประเทศเป็นข้อมูลในระยะเวลาเดียวกัน

บริษัทได้ยื่นคำขออนุญาตเปิดดำเนินการแล้ว โดยอยู่ระหว่างการพิจารณาของเจ้าหน้าที่ ยังต้องรายงานความคืบหน้าโครงการอีกหรือไม่

ยังต้องยื่นรายงานความคืบหน้าโครงการจนกว่าจะได้รับใบอนุญาตเปิดดำเนินการจากสำนักงาน เนื่องจากยังไม่แน่ชัดว่าจะได้รับอนุญาตเปิดดำเนินการหรือไม่

กรณีที่ใน INVOICE ระบุขนาดมาด้วยแต่เป็นเครื่องจักรเดียวกันคือ 1. PORTABLE EXPANDER 1/2"X35MM 2. PORTABLE EXPANDER 5/8"X50MM แต่ในบัญชีรายการเครื่องจักร ซึ่งยังไม่ได้รับการอนุมัติกลับมา ขอไปในชื่อ PORTABLE EXPANDER บริษัทจะนำเข้าทั้งหมด 4 เครื่องแต่เป็นชนิดเดียวกัน คือเครื่องอัดแน่นขยายท่อทองแดง แตกต่างตรงท่อทองแดงที่นำเข้าผลิต จะแตกต่างกัน ( SIZE ของท่อ ) ***ในขั้นตอนขอค้ำประกันเครื่องจักร ต้องระบุชื่อไหนดี ระหว่าง PORTABLE EXPANDER 1/2"X35MM กับ PORTABLE EXPANDER

ต้องพิจารณาว่า ใบขนขาเข้าเครื่องจักรดังกล่าว จะสำแดงรายการเครื่องจักรอย่างไร จะระบุ size ด้วยหรือไม่ หากใบขนระบุ size ก็ต้องขอชื่อเดียวกันไว้ในบัญชีเครื่องจักรของ BOI ด้วย (ชื่อหลักหรือชื่อรองก็ได้) การจะสำแดงรายการในใบขนอย่างไร เป็นข้อกำหนดของกรมศุลกากร จึงน่าจะปรึกษากับชิปปิ้ง แต่หากไม่ชัดเจน ก็น่าจะหารือกับกรมศุลกากร

บริษัทได้รับใบรับรองมาตรฐานประเภทเดียวกันหลายฉบับ ให้กรอกข้อมูลอย่างไร

ให้เลือกใบรับรองมาตรฐานฉบับล่าสุดที่ได้รับเป็นตัวแทนมาตรฐานประเภทนั้นในการกรอกวันที่เริ่มต้นและสิ้นสุดของการรับรอง

ขออภัยครับ ไม่มีข้อมูลส่วนนี้ ในภาษาที่ท่านเลือก !

Sorry, There is no information support your selected language !

Download และ ติดตั้งโปรแกรมอ่าน PDF

Download PDF Reader

Site map