1. เมื่อครบกำหนดนำเข้าเครื่องจักรแล้ว แต่บริษัทไม่ประสงค์จะขยายเวลานำเข้า เพราะเครื่องจักรเข้ามาครบแล้ว บริษัทก็ไม่จำเป็นต้องดำเนินการใดๆ แต่ถ้าเป็นกิจการผลิต ซึ่งปกติจะต้องนำเข้าแม่พิมพ์ หรืออะไหล่เครื่องจักรเข้ามาอีก ก็น่าจะขอขยายเวลานำเข้าเครื่องจักรออกไปอีก เพราะสามารถนำมูลค่าแม่พิมพ์หรืออะไหล่มารวมคำนวณเป็นขนาดการลงทุนของโครงการ เพื่อคำนวณวงเงินยกเว้นภาษีเงินนิติบุคคลได้
2. การขยายระยะเวลานำเข้าเครื่องจักร และระยะเวลาเปิดดำเนินการ สามารถขยายเวลาได้ 3 ครั้ง ครั้งละไม่เกิน 1 ปี โดยใช้เอกสารดังนี้ครับ หนังสือบริษัท เรื่อง ขอขยายเวลานำเข้าเครื่องจักร เรียน เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (ไม่มีแบบฟอร์ม ร่างขึ้นได้เอง) รายการเอกสารหลักฐานที่ไประกอบการพิจารณาเรื่องการขอขยายเวลานำเข้าเครื่องจักรแบบคำขอขยายเวลานำเข้าเครื่องจักร
สำเนาหนังสืออนุมัติให้ขยายเวลานำเขาเครื่องจักรครั้งล่าสุด เอกสารให้กรรมการผู้มีอำนาจลงนามประทับตรา และยื่นต่อสำนักบริหารการลงทุนที่รับผิดชอบโครงการของบริษัท
- หนังสือบริษัท เรื่อง ขอขยายเวลาเปิดดำเนินการ เรียน เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (ไม่มีแบบฟอร์ม ร่างขึ้นได้เอง)
- แบบรายการเอกสารหลักฐานที่ใช้ประกอบการพิจารณาตรวจสอบ
- แบบคําขอขยายเวลาเปิดดําเนินการ (F PM EX 06)
เอกสารข้างต้นสามารถ download เพื่อมาพิมพ์ข้อมูลเพิ่มเติมได้ ส่วนระยะเวลาการพิจารณาของ BOI กำหนดไว้ไม่เกิน 36 วันทำการ จึงน่าจะยื่นเรื่องประมาณ 2 เดือนล่วงหน้า1. วัตถุดิบที่นำเข้ามาโดยใช้สิทธิมาตรา 36 จะต้องแยกเก็บทางกายภาพ โดยต้องโดยไม่นำไปรวมกับวัตถุดิบที่ซื้อในประเทศ หรือชำระภาษี หรือใช้สิทธิอื่น แม้จะเป็นรายการวัตถุดิบเดียวกันก็ตาม เนื่องจากตามหลักการ วัตถุดิบที่ใช้สิทธิยกเว้นภาษี กับที่ไม่ใช้สิทธิยกเว้นภาษี ไม่สามารถนำมาทดแทนกันได้ เช่น ไม่สามารถนำวัตถุดิบที่ยกเว้นภาษีไปจำหน่ายในประเทศก่อน จากนั้นจึงนำเข้าวัตถุดิบโดยชำระภาษี เพื่อมาทดแทน/ชดเชย ส่วนที่นำไปจำหน่ายในประเทศ ดังนั้น จึงต้องมีการแยกจัดเก็บให้ชัดเจน ไม่ปะปนกัน
2. ในทางบัญชี เนื่องจากต้นทุนวัตถุดิบที่ชำระภาษี กับยกเว้นภาษี ต้นทุนไม่เท่ากัน จึงเข้าใจว่าต้องแยกควบคุมด้วยเช่นกัน (ไม่ใช่ข้อกำหนดของ BOI แต่เป็นเรื่องหลักการทำบัญชี)
3. การซื้อวัตถุดิบ ทั้งกรณีนำเข้าและซื้อในประเทศ ไม่มีข้อกำหนดว่าจะต้องซื้อจากใคร
การขยายเวลานำเข้าแม่พิมพ์ที่ไม่มีการผลิตในประเทศ ให้กับบริษัทที่สิ้นสุดระยะเวลานำเข้าเครื่องจักรไปแล้ว ปัจจุบันยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักงานเพื่อนำเสนอคณะกรรมการ ที่ผ่านมา แม่พิมพ์ที่อนุญาตให้ขยายเวลานำเข้าตามบัญชี positive list จำกัดขอบเขตทำให้มีบริษัทที่ยื่นขอขยายเวลาไม่มากนัก นอกจากนี้กิจการในอุตสาหกรรมเครื่องไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ก็สามารถนำเข้าเครื่องจักรและแม่พิมพ์ตลอดระยะเวลาที่ได้รับส่งเสริม ตลอดจนในช่วงหลายปีที่ผ่านมาก็มีการลงทุนในอุตสาหกรรมผลิตแม่พิมพ์เกิดขึ้นในประเทศไทยมาก ดังนั้น จึงอาจมีความเป็นไปได้ที่ BOI อาจจะไม่ขยาย
1. เครื่องจักร (ทั้งจากในและนอกประเทศ) ที่ซื้อมาก่อนวันยื่นคำขอรับการส่งเสริม จะนำมารวมเป็นเครื่องจักรในโครงการไม่ได้
2. หากต้องการใช้เครื่องจักรที่ซื้อมาก่อนวันยื่นคำขอรับส่งเสริม จะต้องระบุในคำขอรับการส่งเสริมด้วยว่า ได้มีการซื้อเครื่องจักรมาก่อนที่จะยื่นคำขอ และขอใช้เครื่องจักรนั้นในโครงการที่ยื่นขอรับส่งเสริมด้วย
3. กรณีที่มีการระบุในคำขอ ตามข้อ 2 และยืนยันได้ว่าบริษัทไม่เคยใช้เครื่องจักรนั้นในเชิงพาณิชย์มาก่อน BOI จะอนุญาตให้ใช้เครื่องจักรนั้นในโครงการ โดยจะให้รวมมูลค่าของเครื่องจักรนั้นเป็นขนาดการลงทุนของโครงการ เพื่อคำนวณวงเงินยกเว้นภาษีตามมาตรา 31 ได้ด้วย
แต่ทั้งนี้ หากเป็นเครื่องจักรที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ ก่อนยื่นคำขอรับส่งเสริม จะไม่ให้ยกเว้นหรือลดหย่อนอากรขาเข้าตามมาตรา 28 หรือ 29 แม้ว่าจะอนุมัติให้ใช้ในโครงการได้ก็ตามกรณีของโรงงานผลิต วัตถุดิบที่นำเข้ามาโดยใช้สิทธิ ม.36 จะต้องนำไปผลิตเป็นสินค้าตามกรรมวิธีที่ได้รับส่งเสริมตามโครงการนั้นเท่านั้น หากต้องการทำธุรกิจเป็นการซื้อมาขายไป ต้องขอรับส่งเสริมเพิ่มอีก 1 โครงการ ในประเภท International Trading Center จึงจะใช้สิทธิ ม.36 เฉพาะเพื่อการส่งออกได้
เป็นคำถามที่นอกเหนือจากขอบเขตของ BOI จึงไม่สามารถให้คำตอบได้ ความเห็นส่วนตัวคิดว่า ตัวแทนจำหน่ายน่าจะต้องเรียกเก็บ VAT ด้วย เพราะเป็นการซื้อขายในประเทศ
หลักการคือ ระยะเวลานำเข้าเครื่องจักร จะอนุมัติให้เป็นเวลา 36 เดือนนับจากวันที่ออกบัตรส่งเสริมวันที่ออกบัตรส่งเสริม ระบุอยู่ในหน้าสุดท้ายของบัตรส่งเสริม ส่วนวันที่สิ้นสุดนำเข้าเครื่องจักร ระบุในข้อ 1.1 ของเงื่อนไขเฉพาะโครงการ (ในหน้าที่ 6 หรือ 7 ในบัตรส่งเสริม) แต่หากมีการอนุมัติให้ขยายเวลานำเข้า จะระบุในเอกสารแนบท้ายบัตรส่งเสริม
ถูกต้องครับ สามารถใช้สิทธิได้อย่างต่อเนื่องไปจนถึงวันที่ 25 ส.ค. 2559 และเมื่อใกล้จะครบกำหนดเวลา หากยังนำเครื่องจักรเข้ามาไม่ครบ ก็ค่อยยื่นขอขยายเวลานำเข้าเครื่องจักร
1. ก่อนที่จะเริ่มใช้ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ในปี 2535 ประเทศไทยใช้ระบบภาษีการค้า ซึ่งในสมัยนั้น BOI มีอำนาจในการยกเว้นอากรขาเข้าและภาษีการค้า สำหรับวัตถุดิบที่นำเข้ามาเพื่อผลิตส่งออก แต่หลังจากเปลี่ยนระบบภาษีการค้าเป็น VAT พรบ.ส่งเสริมการลงทุน ไม่ได้ให้อำนาจ BOI ในการยกเว้น VAT
ดังนั้น เพื่อเป็นการลดภาระให้กับผู้ประกอบการ อธิบดีกรมสรรพากรจึงออกประกาศให้สามารถใช้หนังสือสั่งปล่อยของ BOI ในการค้ำประกันและถอนประกันภาษีมูลค่าเพิ่มได้ ผู้ประกอบการจึงไม่ต้องชำระ VAT
2. กรณีที่สอบถาม ประเด็นอยู่ที่ว่า กรณีที่เป็นเคสทั่วไป ผู้ซื้อจะมีภาระต้องชำระ VAT ทั้ง 2 ทางหรือไม่ คือ ทั้งการซื้อในประเทศจากตัวแทนจำหน่าย และจากการผ่านพิธีการศุลกากร ... แต่เนื่องจากไม่ใช่เป็นคำถามในกรอบ BOI จึงไม่สามารถให้คำตอบในส่วนนี้ได้ แต่ไม่ว่าข้อสรุปจะเป็นอย่างไร สิทธิการยกเว้นภาษีอากรจาก BOI สามารถใช้ได้เฉพาะในกรณีที่ผู้ได้รับส่งเสริมเป็นผู้นำเข้าโดยตรงเท่านั้น
A (BOI) ซื้อวัตถุดิบจาก B (ฟรีโซน) ถือเป็นการนำเข้ามาในประเทศ ในวันที่ของออกจากฟรีโซน ซึ่งต้องทำใบขนสินค้า โดย A(BOI) สามารถยื่นขอสั่งปล่อยวัตถุดิบต่อ BOI เพื่อยกเว้นอากรขาเข้าวัตถุดิบดังกล่าว ได้เช่นเดียวกับกรณีที่นำเข้าจากต่างประเทศ
ระยะเวลาสิ้นสุดการนำเข้าเครื่องจักร จะระบุไว้ในบัตรส่งเสริม ในข้อ 1.1 ของเงื่อนไขเฉพาะโครงการ (ประมาณหน้าที่ 6 หรือ 7 ในบัตรส่งเสริม) การขยายเวลา ควรยื่นเรื่องก่อนวันสิ้นสุด ประมาณ 1-1.5 เดือน
เมื่อได้รับอนุมัติให้ขยายเวลา จะต้องนำบัตรส่งเสริมไปที่ BOI เพื่อให้เพิ่มเงื่อนไขในเอกสารแนบท้ายบัตรส่งเสริม ดังนั้น การตรวจสอบวันสิ้นสุดการนำเข้าเครื่องจักรในครั้งต่อๆไป ให้ดูจากเอกสารแนบท้ายบัตรส่งเสริม
การอนุมัติขยายเวลานำเข้าเครื่องจักร มีวัตถุประสงค์เพื่อให้บริษัทสามารถนำเครื่องจักรเข้ามาได้ครบถ้วนตามกำลังผลิตและกรรมวิธีผลิตที่ได้รับส่งเสริม ดังนั้น เมื่อบริษัทได้รับอนุมัติเปิดดำเนินการจาก BOI แล้ว ก็เป็นการแสดงว่า บริษัทได้นำเครื่องจักรเข้ามาครบถ้วนแล้ว จึงไม่สามารถขยายเวลานำเข้าได้อีก ยกเว้นกรณีที่มีการประกาศไว้เป็นการเฉพาะ เช่น เครื่องจักรในกิจการเครื่องไฟฟ้าหรืออิเล็กทรอนิกส์ หรือเครื่องจักรที่ใช้ในการวิจัยและพัฒนา หรือเครื่องจักรที่ใช้ขจัดหรือป้องกันมลภาวะแวดล้อม จะสามารถนำเข้าได้ตลอดระยะเวลาที่ได้รับส่งเสริม ปล. เข้าใจว่า คำว่า "เปิดกิจการกับ BOI " ที่คุณเขียน คือ การได้รับอนุญาตเปิดดำเนินการจาก BOI
นำเข้า -> A (Free Zone / Form E) -> B (BOI) -> C (BOI หรือ Non-BOI) -> จำหน่ายในประเทศ หรือส่งออก
1.ถ้าวัตถุดิบที่ B ซื้อจาก A ถูกนำไปผลิตส่งออก B ก็สามารถใช้สิทธิยกเว้นภาษีอากรในวันที่นำเข้าจาก Free Zone ได้ตามปกติ
2.แต่ถ้าถูกนำไปผลิตจำหน่ายในประเทศ ภาระภาษีจะตกอยู่กับ B ตามสภาพวัตถุดิบ และอัตราอากรขาเข้า ณ วันที่นำออกมาจาก Free Zone
3.ส่วนอากรขาเข้าในวันที่นำออกมาจาก Free Zone จะเป็นอัตราเท่าใดนั้น Admin ไม่ทราบ แต่คิดว่าหากพิสูจน์ได้ว่าเป็นรายการเดียวกับที่ A นำเข้าไปใน Free Zone โดยใช้สิทธิ Form E ก็น่าจะเป็นอัตราเดียวกัน แต่หากวัตถุดิบนั้นมีการแปรรูปใน Free Zone แล้วจึงนำเข้ามา ก็น่าจะกลายเป็นอัตราตามพิกัดปกติของสินค้าที่แปรรูปแล้ว
เนื่องจากเป็นคำถามที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับงานในส่วนของ BOI โดยตรง จึงควรตรวจสอบจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอีกครั้งหนึ่ง
การสลักหลังใบขน เข้าใจว่าหมายถึงการบันทึกข้อมูลของเจ้าหน้าที่ศุลกากร เช่น การบันทึกรับการบรรทุก ว่าตรวจสอบแล้วครบถ้วนถูกต้องเป็นที่พอใจ ฯลฯ เป็นต้น
ส่วนการที่ผู้ส่งออกจะโอนสิทธิ์การตัดบัญชีตามใบขนให้กับผู้อื่น เข้าใจว่าต้องเป็นการบันทึกในระบบว่าเป็นใบขนประเภท BOI และบันทึกชื่อ Vendor ที่จะโอนสิทธิ์การตัดบัญชีให้ในระบบ แต่ถ้าผู้ส่งออก (B) เป็น BOI และ Vendor (A) ก็เป็น BOI เหมือนกัน จะให้ผู้ส่งออกตัดบัญชีตามสูตร และออก Report-V ให้กับ Vendor
1.หากยังนำเข้าเครื่องจักรไม่ครบ จะต้องขอขยายระยะเวลานำเข้าเครื่องจักรและระยะเวลาเปิดดำเนินการ
2.หากนำเครื่องจักรเข้ามาครบหรือเกือบครบ จะขอเปิดดำเนินการ หรือจะขอขยายระยะนำเข้าเครื่องจักรออกไปก่อนก็ได้ เผื่ออาจจำเป็นต้องปรับปรุงสายการผลิตโดยนำเข้าเครื่องจักรบางส่วนเข้ามาในระยะอันใกล้
3.หากนำเครื่องจักรเข้ามาเกิน และจะผลิตเกินกว่าบัตรส่งเสริม ควรขอเปิดดำเนินการ เพื่อให้กำลังผลิตในส่วนที่เกินจากบัตรส่งเสริม สามารถใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ด้วย
ประกาศคณะกรรมการ ที่ 5/2556 เรื่อง การยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับแม่พิมพ์ ให้สิทธิประโยชน์ยกเว้นอากรขาเข้าแม่พิมพ์ที่ยังไม่สามารถผลิตได้ในประเทศ จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2556 แม้จะโครงการนั้นจะสิ้นสุดระยะเวลานำเข้าเครื่องจักรไปแล้วก็ตาม
ประกาศดังกล่าวเป็นอำนาจคณะกรรมการ ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมและผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นรองประธานและกรรมการ แต่เนื่องจากคณะกรรมการได้ครบวาระไปตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว ก่อนที่จะมีการยุบสภา ดังนั้น คณะกรรมการชุดเก่าจึงไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ในฐานะรักษาการได้ ต้องรอให้มีนายกรัฐมนตรี และแต่งตั้งคณะกรรมการชุดใหม่ให้เสร็จก่อน จึงจะดำเนินการต่อได้
ในอดีตที่ผ่านมา กรณีที่มีการออกประกาศล่าช้าด้วยเหตุผลภายใน เช่น วาระการประชุมมีมาก จนทำให้ต้องเลื่อนการพิจารณาบางเรื่องออกไปก่อน แต่เมื่อกรรมการพิจารณาอนุมัติเรื่องดังกล่าว ก็มักจะให้มีผลย้อนหลังต่อเนื่องจากประกาศเดิม เพื่อไม่ให้เป็นภาระกับผู้ประกอบการ
แต่ในกรณีนี้ เนื่องจากคณะกรรมการครบวาระไปก่อนหน้านั้นแล้ว และเรื่องนี้อาจจะไม่ได้บรรจุในวาระค้างพิจารณา (ข้อมูลไม่ยืนยัน) ดังนั้น แม้ว่าจะมีคณะกรรมการชุดใหม่ในอีก 1-2 เดือนหน้า แต่ไม่สามารถยืนยันได้ว่า จะมีการขยายเวลาการยกเว้นอากรขาเข้าแม่พิมพ์ต่อไปอีกหรือไม่ รวมถึงจะขยายย้อนหลังให้ต่อจากวันครบกำหนดเดิม คือ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2557 หรือไม่ โดยทั้งหมดนี้ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของคณะกรรมการชุดใหม่
อย่างไรก็ตาม สำหรับกิจการที่ยังมีระยะเวลานำเข้าเครื่องจักรเหลืออยู่ และกิจการในอุตสาหกรรมเครื่องไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งได้รับสิทธิยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักรตลอดระยะเวลาที่ได้รับส่งเสริม ยังคงสามารถนำเข้าแม่พิมพ์ได้ตามสิทธิประโยชน์ที่ได้รับอยู่เดิม
1. การขยายเวลานำเข้าวัตถุดิบ ให้เข้าจากหน้าเว็บ e-service ของ BOI : https://www.boi.go.th/un/boi_online_services_form
2. หลังจากได้รับอนุมัติ จะต้องนำบัตรส่งเสริมไปแก้ไขเอกสารแนบท้ายบัตร จากนั้นยื่นเรื่องต่อสมาคม IC เพื่อขยายเวลานำเข้าวัตถุดิบในฐานข้อมูล RMTS ตามขั้นตอนที่ปฏิบัติอยู่เดิม
กรณีการขอขยายเวลาวัตถุดิบ แต่ติดปัญหาว่า มีใบขนขาออกเกิน 1 ปีค้างอยู่ในระบบ แต่บริษัทไม่ต้องการนำใบขนนั้นมาตัดบัญชี (รวมถึงกรณีเป็นใบขนส่งคืนวัตถุดิบไปต่างประเทศตามที่สอบถามครั้งนี้) บริษัทจะต้องยืนยันการไม่ใช้สิทธิตัดบัญชีของใบขนฉบับนั้นๆ (ซึ่งระบบจะล็อคไม่ให้นำใบขนนั้นมาตัดบัญชีในภายหลังได้อีก)
ขั้นตอนดำเนินการ คือ เข้าไปที่เว็บ IC Online System และเลือกเมนู ตัดบัญชีวัตถุดิบ / ส่งข้อมูลยื่นความจำนงการใช้ใบขนตัดบัญชี
จากนั้นส่งไฟล์ยื่นความจำนงการใช้ใบขนตัดบัญชี โดยระบุในช่อง "ยืนยันสถานะใบขนขาออก" เป็นเลข 3 สำหรับใบขนที่ไม่ต้องการใช้สิทธิตัดบัญชี
ซึ่งเมื่อระบบประมวลผลเสร็จ และไม่มีใบขนเกิน 1 ปีค้างในระบบแล้ว ก็จะสามารถยื่นขอขยายเวลาวัตถุดิบได้ต่อไป