ระบบ rmts-2011 มีการกำหนดสูตรเป็น revision เพื่อกำหนดว่าสูตรนั้นจะมีผลใช้ในช่วงเวลาใด แต่ต่อมาพบว่า เกิดปัญหาในการใช้งานมากพอสมควร เช่น ใบขนที่ส่งออกในช่วงที่ revision #2 มีผลใช้งาน อาจจะมีสูตรการผลิตตาม revision #1 ก็ได้ เท่าที่ตรวจสอบล่าสุดคือ ปัจจุบันจะไม่ตรวจสอบว่าวันส่งออกในใบขนขาออก เป็นวันที่ในช่วงของสูตรการผลิต revision ใด คือ ตอนยื่นตัดบัญชี บริษัทสามารถเลือกได้โดยอิสระว่าจะใช้ revision ใด มาตัดบัญชีก็ได้
ดังนั้น แม้บริษัทจะส่งออกไปก่อนที่จะขอสูตรการผลิต ก็สามารถนำใบขนที่ส่งออกไปแล้ว มายื่นขอตัดบัญชีตามสูตรการผลิต revision ที่ยื่นขอในภายหลังได้
การงดการให้ส่งเสริมกิจการ IHQ และ ITC ตามประกาศ กกท.ที่ 1/2561 ไม่มีผลกระทบกับโครงการ IHQ และ ITC ที่ได้รับส่งเสริมไปก่อนหน้านี้แล้ว แต่หากสิทธิประโยชน์การนำเข้าวัตถุดิบตามมาตรา 36 ของกิจการ ITC ที่ได้รับส่งเสริมอยู่เดิมสิ้นสุดลง จะได้รับการขยายเวลานำเข้าวัตถุดิบหรือไม่ หรือจะขยายเวลาโดยมีเงื่อนไขอื่นเพิ่มเติมหรือไม่ คงต้องรอคำชี้แจงจาก BOI อีกครั้งหนึ่ง
การยื่นงานบางเรื่อง BOI ไม่ได้กำหนดเงื่อนไขให้ต้องยื่นหนังสือนำส่งด้วย แต่ปกติควรทำหนังสือนำส่ง (หัวจดหมายบริษัท) แนบไปด้วยทุกครั้ง
ตาม ประกาศ สกท ที่ ป.3/2556 ข้อ 12 เมื่อสิทธิประโยชน์มาตรา 36 สิ้นสุดลง วัตถุดิบที่นำเข้าโดยใช้สิทธิตามมาตรา 36 จะต้องผลิตและส่งออกภายใน 1 ปี นับจากวันสิ้นสุดสิทธิ และต้องตัดบัญชีให้เสร็จภายใน 2 ปีนับจากวันสิ้นสุดสิทธิ แต่ปัจจุบันประกาศดังกล่าวถูกยกเลิกแล้ว โดย ประกาศ สกท ที่ ป.8/2561 และเปลี่ยนเป็นดังนี้
ข้อ 13 เมื่อสิทธิประโยชน์มาตรา 36 สิ้นสุดลง วัตถุดิบที่นำเข้าโดยใช้สิทธิตามมาตรา 36 จะต้องตัดบัญชีให้เสร็จภายใน 2 ปี นับจากวันสิ้นสุดสิทธิ
สรุปคือ ตามประกาศฉบับปัจจุบัน วัตถุดิบที่นำเข้าโดยใช้สิทธิมาตรา 36 จะผลิตส่งออกเกินกว่า 1 ปีนับจากวันสิ้นสุดสิทธิก็ได้ แต่จะต้องตัดบัญชีให้เสร็จสิ้นภายใน 2 ปีนับจากวันสิ้นสุดสิทธิ ซึ่งเงื่อนไขดังกล่าว แตกต่างกับการนำเข้าโดยใช้สิทธิมาตรา 19 ทวิ ของกรมศุลกากร
หากยื่นขยายระยะเวลานำเข้า และได้รับอนุมัติขยายเวลา ก็ถือว่าสิทธิมาตรา 36 ไม่ได้สิ้นสุดลง ถูกต้องแล้ว อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่วันที่ 1 มี.ค. 2562 เป็นต้นไป ในการยื่นขอขยายเวลานำเข้าวัตถุดิบ บริษัทจะต้องดำเนินการตัดบัญชีใบขนสินค้าขาออกที่มีอายุเกิน 1 ปี นับถึงวันที่ยื่นขอขยายเวลา ให้เสร็จสิ้นก่อน จึงจะได้รับการพิจารณาอนุมัติการขยายเวลา ตามเงื่อนไขข้อ 8 (3) ของประกาศ สกท ที่ ป.8/2561
การจะนำเข้าแม่พิมพ์โดยใช้สิทธิยกเว้นภาษีอากรขาเข้า มีเงื่อนไขคือ
- ต้องนำเข้ามาในช่วงระยะเวลาที่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษี - ต้องเป็นแม่พิมพ์ที่สอดคล้องกับกรรมวิธีการผลิตที่ได้รับส่งเสริมส่วนการจะขออนุมัติสูตรการผลิตแล้วหรือไม่นั้น ไม่เกี่ยวข้องกับการขอใช้สิทธินำเข้าเครื่องจักรแม่พิมพ์ เช่น กิจการที่ผลิตสินค้าเพื่อจำหน่ายในประเทศ จะไม่ได้รับสิทธิยกเว้นอากรขาเข้าวัตถุดิบ และไม่ต้องทำสูตรการผลิต แต่หากได้รับสิทธิตามมาตรา 28, 29 ก็สามารถขอยกเว้น/ลดหย่อนอากรขาเข้าเครื่องจักรและแม่พิมพ์ได้ โดยไม่ต้องทำสูตรการผลิต
รายการเครื่องจักรที่ขอขยายเวลานำเข้า เป็นเพียงแผนการเท่านั้น เมื่อจะมีการนำเข้าจริง ก็ต้องขออนุมัติแก้ไขเพิ่มเติมบัญชีรายการเครื่องจักรเหล่านั้นให้เรียบร้อยก่อน จึงจะนำเข้ามาโดยใช้สิทธิได้ ดังนั้น แม้ว่าในการขอขยายเวลานำเข้าครั้งที่ 1 หรือ 2 จะมีการแจ้งข้อมูลคลาดเคลื่อนไปจากข้อเท็จจริง แต่เมื่อได้รับอนุมัติไปแล้ว ก็ถือว่าขั้นตอนจบเรียบร้อยแล้ว ไม่ต้องชี้แจงแก้ไขอะไรอีก ครั้งนี้หากจะยื่นขยายเวลานำเข้าเป็นครั้งที่ 3 ก็ขอให้เตรียมข้อมูลให้ถูกต้อง
A (BOI) -> B (Trading Non-BOI) -> C (BOI) -> ส่งออก กรณีนี้ C ไม่สามารถออก report-v ให้กับ A ได้ เนื่องจากไม่มีการซื้อขายกันโดยตรง โดย B สามารถยื่นขอรับส่งเสริมในประเภทกิจการ ITC เพื่อออก report-V จาก C ไป B และ B ไป A เป็นทอดๆ ตามการซื้อขายจริง
1. บริษัท A และ vendor B ยื่นเรื่องขอโอน/ขอรับโอนวัตถุดิบ ต่อ BOI ซึ่งกรณีนี้บริษัท A ไม่ต้องส่งวัตถุดิบนั้นไปต่างประเทศ แต่โอนกลับไปให้ vendor B ไปดำเนินการต่อเอง
2. บริษัท A ยื่นเรื่องขอส่งส่วนสูญเสียไปต่างประเทศต่อ BOI โดยมีขั้นตอนดังนี้
- ยื่นขออนุญาตส่งส่วนสูญเสีย (นอกสูตร) ออกไปต่างประเทศต่อ BOI โดยถือว่าวัตถุดิบที่เหลือจากการผลิตนี้คือส่วนสูญเสีย ตามประกาศ สกท ที่ ป.5/2543
- (แก้ไข) อินวอยซ์และใบขนขาออก ควรระบุชื่อตามสภาพวัตถุดิบที่ซื้อมา และจะส่งออกไปจริง โดย จนท BOI อาจขอให้บริษัทส่งเอกสารหลักฐานเพื่อตรวจสอบว่าเป็นวัตถุดิบที่เหลือจากการผลิตที่ไม่สามารถใช้ตามวัตถุประสงค์เดิมได้
- เมื่อส่งออกแล้ว ยื่นขออนุมัติปรับยอดส่วนสูญเสีย (นอกสูตร) ที่ส่งออกไปต่างประเทศ ต่อ BOI พร้อมทำใบโอนสิทธิให้ Vendor B แนบไปด้วย
- ส่งใบโอนสิทธิที่ได้รับอนุมัติจาก BOI (ฉบับจริง) ให้กับ Vendor B เพื่อให้ Vendor B นำไปตัดบัญชีต่อไป
การกำหนดให้ขยายระยะเวลานำเข้าเครื่องจักร 3 ครั้ง เป็นไปตามประกาศ ป.1/2548 ซึ่งกำหนดว่า หากไม่สามารถดำเนินการได้ตามนี้ ให้เลขาธิการ BOI เป็นผู้พิจารณาความเหมาะสม และนำเสนอคณะอนุกรรมการ แต่ตอบตรงๆว่า ถ้าเป็นเหตุผลทั่วๆไป เช่น เศรษฐกิจไม่ดี โน่นนี่นั่น ไม่เป็นเหตุผลที่จะขอขยายเวลาเกินกว่า 3 ครั้ง เพราะถ้าไม่พร้อมตอนนี้ จะรอไว้ยื่นเป็นโครงการใหม่ภายหลังเมื่อพร้อมก็ได้ หรือถ้าเป็นกิจการหมวดเครื่องไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ที่อนุญาตให้นำเข้าเครื่องจักรได้ตลอดระยะเวลาที่ได้รับการส่งเสริม ก็จะไม่เจอปัญหานี้
เมื่อได้รับอนุมัติหนังสืออนุมัติขยายระยะเวลานำเข้าเครื่องจักร บริษัทจะต้องนำบัตรส่งเสริมและหนังสืออนุมัติดังกล่าว ไปติดต่อกับฝ่ายบัตรส่งเสริมของ BOI เพื่อให้ทำการบันทึกการแก้ไขในท้ายบัตรส่งเสริม หากได้ทำการบันทึกแก้ไขท้ายบัตรส่งเสริมเสร็จสิ้นแล้ว หนังสือแจ้งมติอนุมัติก็ไม่จำเป็นต้องใช้อีกต่อไป เนื่องจากให้ใช้บันทึกการแก้ไขท้ายบัตรส่งเสริมแทน
การขอนำวัตถุดิบ/ส่วนสูญเสีย/ผลิตภัณฑ์ ไปเก็บนอกสถานที่ ปกติจะพิจารณาอนุมัติให้ทุกรายการที่การยื่นขออนุญาตต่อ BOI
1. การส่งสินค้าตัวอย่างไปทดสอบต่างประเทศ
หากเป็นชื่อเดียวกับผลิตภัณฑ์ที่ได้รับส่งเสริม และขออนุมัติสูตรการผลิต ก็สามารถตัดบัญชีได้ หากจะยังไม่ขอสูตรการผลิต ก็ส่งออกไปตามปกติ ในข่ายไม่ใช้สิทธิ แต่จะนำมาตัดบัญชีไม่ได้ และต้องชำระภาษีอากรวัตถุดิบในส่วนที่ใช้ในการผลิตนั้น
2. กรณีที่ทดสอบเสร็จแล้ว จะนำกลับเข้ามาอีก
หากนำเข้ามาเพื่อซ่อมแซมและส่งกลับไปต่างประเทศ ก็ขอใช้สิทธิยกเว้นภาษีตาม ม.36(1) ได้ ในข่ายสินค้านำกลับมาซ่อมเพื่อส่งออก
หากนำเข้ามาในข่ายของตัวอย่างเพื่อส่งกลับออกไปต่างประเทศ ก็อาจขอใช้สิทธิตามมาตรา 36(2) ได้ แต่ถ้าไม่ได้นำเข้ามาเพื่อส่งออก ก็ชำระอากรขาเข้าไปตามปกติ หรืออาจทำใบสุทธินำกลับเพื่อยกเว้นอากรขาเข้าสินค้านั้น แต่จะต้องชำระอากรในส่วนค่าทดสอบที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ ซึ่งถือเป็นค่าบริการที่ติดมากับสินค้า
การขยายระยะเวลานำเข้าเครื่องจักร สามารถขอขยายได้ 3 ครั้ง ครั้งละ 1 ปี กรณีที่ลืมขยาย และสิ้นสุดระยะเวลาไปแล้ว (เช่น ตามกรณีที่สอบถาม) สามารถยื่นขอขยายเวลาได้ โดยจะนับระยะเวลาต่อจากวันที่สิ้นสุดเดิม
ถ้ายื่นขอขยายเวลานำเข้าเครื่องจักร (ข้อ 3 ในแบบฟอร์ม) ก็ให้ขอขยายเวลาเปิดดำเนินการเต็มโครงการ (ข้อ 4 ในแบบฟอร์ม) ไปด้วยพร้อมกัน ถ้าขอขยายเวลาเครื่องจักร 1 ปี ก็ขยายเวลาเปิดดำเนินการออกไปอีก 1 ปี (ระบุวันที่) เช่นกัน
การนำผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปจากต่างประเทศเข้ามาเป็นตัวอย่าง และเมื่อเสร็จวัตถุประสงค์แล้วจะส่งคืนกลับไปต่างประเทศ เข้าข่ายที่จะขอใช้สิทธิยกเว้นอากรขาเข้า(และภาษีมูลค่าเพิ่ม) ตามมาตรา 36(2) คือ
มาตรา 36(2) การยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับของที่ผู้ได้รับการส่งเสริมนำเข้ามาเพื่อส่งกลับออกไป กิจการที่มีการผลิตส่งออก ปกติจะได้รับสิทธิประโยชน์ตามมาตรา 36(2) ควบคู่ไปกับมาตรา 36(1) อยู่แล้ว โดยมีระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดพร้อมกับมาตรา 36(1)
ดังนั้น หากในบัตรส่งเสริมกำหนดให้ได้รับสิทธิมาตรา 36(2) บริษัทก็สามารถยื่นขอ Max Stock (แบบไม่หมุนเวียน) เพื่อขอใช้สิทธินำเข้าตามมาตรา 36(2)
2. กิจการที่มีขั้นตอนเพียงการตรวจสอบ ปกติจะมีมูลค่าเพิ่มต่ำ ไม่อยู่ในเกณฑ์ที่จะให้การส่งเสริม คำถามมีข้อมูลไม่เพียงพอ ก็คงตอบได้เท่านี้
1. เมื่อครบกำหนดนำเข้าเครื่องจักรแล้ว แต่บริษัทไม่ประสงค์จะขยายเวลานำเข้า เพราะเครื่องจักรเข้ามาครบแล้ว บริษัทก็ไม่จำเป็นต้องดำเนินการใดๆ แต่ถ้าเป็นกิจการผลิต ซึ่งปกติจะต้องนำเข้าแม่พิมพ์ หรืออะไหล่เครื่องจักรเข้ามาอีก ก็น่าจะขอขยายเวลานำเข้าเครื่องจักรออกไปอีก เพราะสามารถนำมูลค่าแม่พิมพ์หรืออะไหล่มารวมคำนวณเป็นขนาดการลงทุนของโครงการ เพื่อคำนวณวงเงินยกเว้นภาษีเงินนิติบุคคลได้
2. การขยายระยะเวลานำเข้าเครื่องจักร และระยะเวลาเปิดดำเนินการ สามารถขยายเวลาได้ 3 ครั้ง ครั้งละไม่เกิน 1 ปี โดยใช้เอกสารดังนี้ครับ หนังสือบริษัท เรื่อง ขอขยายเวลานำเข้าเครื่องจักร เรียน เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (ไม่มีแบบฟอร์ม ร่างขึ้นได้เอง) รายการเอกสารหลักฐานที่ไประกอบการพิจารณาเรื่องการขอขยายเวลานำเข้าเครื่องจักรแบบคำขอขยายเวลานำเข้าเครื่องจักร
สำเนาหนังสืออนุมัติให้ขยายเวลานำเขาเครื่องจักรครั้งล่าสุด เอกสารให้กรรมการผู้มีอำนาจลงนามประทับตรา และยื่นต่อสำนักบริหารการลงทุนที่รับผิดชอบโครงการของบริษัท