ประเทศไทยได้มุ่งเน้นการกระตุ้นให้เกิดการลงทุนในกิจการฐานความรู้ซึ่งจะเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรม รัฐบาลไทยได้เพิ่มมาตรการเพื่อดึงดูดบุคลากรที่มีทักษะและเทคโนโลยีขั้นสูงเข้ามาทำงานและพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมายหรืออุตสาหกรรมที่เรียกว่า S-Curve สมาร์ทวีซ่า (SMART Visa) จึงได้รับการออกแบบขึ้นมาเพื่อดึงดูดชาวต่างชาติที่เป็นผู้เชี่ยวชาญทักษะสูงด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผู้บริหารระดับสูง นักลงทุน และผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น
สมาร์ทวีซ่า คืออะไรสมาร์ทวีซ่า (SMART Visa) คือ วีซ่าประเภทพิเศษที่กำหนดขึ้นมาเพื่อดึงดูด บุคลากรทักษะสูงและนักลงทุนที่ประสงค์จะเข้ามาทำงานหรือลงทุนใน 10 S-Curve หรืออุตสาหกรรมเป้าหมายของประเทศ ซึ่งได้แก่
- อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ (Next-Generation Automotive)
- อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ (Smart Electronics)
- อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Affluent, Medical and Wellness Tourism)
- อุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ (Agriculture and Biotechnology)
- อุตสาหกรรมอาหารแห่งอนาคต (Food for the Future)
- อุตสาหกรรมระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์ (Automation and Robotics)
- อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ (Aviation and Logistics)
- อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ (Biofuels and Biochemicals)
- อุตสาหกรรมดิจิทัล (Digital)
- อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร (Medical Hub)
- การบริการด้านการระงับข้อพิพาททางเลือก (Alternative Dispute Resolution)
- การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
- การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมและพลังงานทดแทน
ประเภท |
รหัสกำกับ |
วัตถุประสงค์/กิจกรรม |
SMART |
T |
ผู้เชี่ยวชาญทักษะสูง (Talents / Highly-skilled Experts) |
I |
นักลงทุน (Investors) |
|
E |
ผู้บริหารระดับสูง (Senior Executives) |
|
S |
ผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น (Startup entrepreneurs) |
|
O |
คู่สมรสและบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้ได้รับสิทธิ SMART Visa |
1. SMART "T" สำหรับผู้เชี่ยวชาญทักษะสูง (Talent) ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เข้ามาทำงานในกิจการที่อยู่ในอุตสาหกรรมเป้าหมาย
1.1 กรณีทั่วไป
คุณสมบัติ |
สิทธิและประโยชน์ที่ได้รับ |
1. มีเงินได้เฉลี่ยไม่น้อยกว่า 100,000 บาท/เดือน หรือเทียบเท่า แต่ในกรณีที่เป็นบุคคลซึ่งมีสัญญาจ้างโดยวิสาหกิจเริ่มต้น หรือผู้เชี่ยวชาญที่เกษียณอายุแล้วซึ่งได้รับการรับรองโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ต้องมีเงินได้เฉลี่ยไม่น้อยกว่า 50,000 บาท/เดือน 2. มีสัญญาจ้างหรือสัญญาบริการกับกิจการในไทยหรือกิจการในต่างประเทศ ซึ่งกำหนดให้ทำงานในประเทศไทย ซึ่งมีระยะเวลาเหลืออยู่ไม่น้อยกว่า 1 ปี 3. ต้องได้รับการรับรองความเชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมเป้าหมาย โดยหน่วยงานในเครือข่ายของศูนย์บุคลากรทักษะสูง (Strategic Talent Center : STC)* 4. กิจการที่ว่าจ้างผู้เชี่ยวชาญจะต้องได้รับการรับรองว่าอยู่ในอุตสาหกรรมเป้าหมายในประเทศไทย โดยหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล 5. ต้องไม่เป็นบุคคลต้องห้ามเดินทางเข้าประเทศตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 และไม่มีประวัติอาชญากรรม ตามอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงการต่างประเทศ สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ได้ตรวจสอบ |
1. ได้รับ Smart "T" โดยมีระยะเวลาไม่เกินระยะเวลาตามสัญญาจ้าง/สัญญาบริการ แต่สูงสุดครั้งละไม่เกิน 4 ปี และสามารถขยายให้ครั้งละไม่เกิน 4 ปี 2.ไม่ต้องขอใบอนุญาตทำงานสำหรับการทำงานในกิจการหรือหน่วยงานของรัฐที่ได้รับการรับรองจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายใต้หลักเกณฑ์คุณสมบัติของวีซ่าประเภท Smart "T" และ ในกรณีที่เปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติม จะต้องขอรับรองเพิ่มเติมตามหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง 3. รายงานตัวทุก 1 ปี (จากเดิมทุก 90 วัน) โดยสามารถใช้บริการที่ศูนย์บริการวีซ่าและใบอนุญาตทำงานได้ 4. สามารถเดินทางกลับเข้ามาในราชอาณาจักรอีกได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง (Re-entry permit) 5. คู่สมรสและบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย จะได้รับสิทธิในการพำนักในประเทศไทย และการทำงานได้โดยมีระยะเวลาเท่ากับผู้ที่ได้รับสิทธิหลัก ทั้งนี้ ต้องไม่เป็นการทำงานต้องห้าม ตามพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 (และที่แก้ไขเพิ่มเติม) และบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายจะทำงานได้นั้นจะต้องมีอายุตั้งแต่ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
6.ได้รับสิทธิ์ให้ใช้ช่องทางพิเศษ (Fast Track) ในการเข้าออกราชอาณาจักร ณ ท่าอากาศยานระหว่างประเทศที่มีให้บริการช่องทางพิเศษ |
* หน่วยงานเครือข่ายของ STC ที่รับรองคุณสมบัติผู้เชี่ยวชาญในปัจจุบัน ได้แก่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) อย่างไรก็ตาม อาจมีหน่วยงานเพิ่มเติมได้ในอนาคต
1.2 กรณีผู้เชี่ยวชาญซึ่งปฏิบัติงานในหน่วยงานของรัฐ สถาบันอุดมศึกษา และสถาบันการฝึกอบรมเฉพาะทาง หรือบุคคลที่ให้บริการด้านการระงับข้อพิพาททางเลือก (Alternative Dispute Resolution) ในประเทศ
คุณสมบัติ | สิทธิและประโยชน์ที่ได้รับ |
1. เป็นผู้เชี่ยวชาญซึ่งปฏิบัติงานในหน่วยงานของรัฐ สถาบันอุดมศึกษา และสถาบันการฝึกอบรมเฉพาะทาง หรือเป็นบุคคลที่เข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อการบริการด้านการระงับข้อพิพาททางเลือก (Alternative Dispute Resolution) ได้แก่ อนุญาโตตุลาการ ผู้ว่าต่างแก้ต่างในชั้นอนุญาโตตุลาการ และผู้สนับสนุนงานของคณะอนุญาโตตุลาการ 2. มีสัญญาจ้างหรือสัญญาบริการ หรือหลักฐานแสดงความร่วมมือหรือการทำงานกับหน่วยงานของรัฐ สถาบันอุดมศึกษา สถาบันการฝึกอบรมเฉพาะทางหรือสถาบันอนุญาโตตุลาการในประเทศ เช่น สถาบันอนุญาโตตุลาการ (Thailand Arbitration Center) ซึ่งกำหนดให้ทำงานในประเทศไทย 3. กรณีเป็นผู้เชี่ยวชาญซึ่งปฏิบัติงานในหน่วยงานของรัฐ ต้องได้รับการรับรองความเชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมเป้าหมาย โดยหน่วยงานของรัฐที่เป็นผู้ว่าจ้างหรือใช้ผู้เชี่ยวชาญ 4. กรณีเป็นผู้เชี่ยวชาญซึ่งปฏิบัติงานในสถาบันอุดมศึกษา และสถาบันการฝึกอบรมเฉพาะทางของภาคเอกชน ต้องได้รับการรับรองความเชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในอุตสาหกรรมเป้าหมาย โดยหน่วยงานในเครือข่ายของศูนย์บุคลากรทักษะสูง (Strategic Talent Center: STC) 5. กรณีเป็นบุคลากรด้านการระงับข้อพิพาททางเลือก (Alternative Dispute Resolution) ต้องได้รับการรับรองโดยสถาบันอนุญาโตตุลาการในประเทศว่าเป็นผู้มีความเชี่ยวชาญในสาขาที่เกี่ยวข้องและเข้ามาเพื่อให้บริการระงับข้อพิพาททางเลือก ณ สถาบันนั้นๆ
6. ต้องไม่เป็นบุคคลต้องห้ามเดินทางเข้าประเทศตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 และไม่มีประวัติอาชญากรรม ตามอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงการต่างประเทศ สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ได้ตรวจสอบ | 1. ได้รับ Smart “T” โดยมีระยะเวลาไม่เกินระยะเวลาตามสัญญาจ้าง/สัญญาบริการ แต่สูงสุดครั้งละไม่เกิน 4 ปี และสามารถขยายให้ครั้งละไม่เกิน 4 ปี 2. ไม่ต้องขอใบอนุญาตทำงานสำหรับการทำงานในกิจการหรือหน่วยงานของรัฐที่ได้รับการรับรองจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายใต้หลักเกณฑ์คุณสมบัติของวีซ่าประเภท Smart “T” และ ในกรณีที่เปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติม จะต้องขอรับรองเพิ่มเติมตามหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง 3. รายงานตัวทุก 1 ปี (จากเดิมทุก 90 วัน) โดยสามารถใช้บริการที่ศูนย์บริการวีซ่าและใบอนุญาตทำงานได้ 4. สามารถเดินทางกลับเข้ามาในราชอาณาจักรอีกได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง (Re-entry permit) 5. คู่สมรสและบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย จะได้รับสิทธิในการพำนักในประเทศไทย และการทำงานได้โดยมีระยะเวลาเท่ากับผู้ที่ได้รับสิทธิหลัก ทั้งนี้ ต้องไม่เป็นการทำงานต้องห้าม ตามพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 (และที่แก้ไขเพิ่มเติม) และบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายจะทำงานได้นั้นจะต้องมีอายุตั้งแต่ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
6. ได้รับสิทธิ์ให้ใช้ช่องทางพิเศษ (Fast Track) ในการเข้าออกราชอาณาจักร ณ ท่าอากาศยานระหว่างประเทศที่มีให้บริการช่องทางพิเศษ |
2. SMART "I" สำหรับนักลงทุน (Investor) ต่างชาติที่ลงทุนในกิจการที่ใช้เทคโนโลยีและอยู่ในอุตสาหกรรมเป้าหมายในประเทศไทย
คุณสมบัติ |
สิทธิประโยชน์ที่ได้รับ |
1. เงินลงทุนขั้นต่ำ ในกรณีใดกรณีหนึ่งต่อไปนี้ 1.1 ลงทุนไม่น้อยกว่า 20 ล้านบาทในนามบุคคลในกิจการที่ใช้เทคโนโลยีเป็นฐานในกระบวนการผลิตหรือการให้บริการ หรือในบริษัทเงินร่วมลงทุน (Venture Capital Company) ที่ได้รับการรับรองจากหน่วยงานของรัฐ 1.2 ลงทุนโดยตรงในนามบุคคลไม่น้อยกว่า 5 ล้านบาทในวิสาหกิจเริ่มต้นหรือโครงการบ่มเพาะ (Incubation) หรือโครงการเร่งการเติบโต (Accelerator) ซึ่งได้รับการรับรองโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ สามารถลงทุนได้มากกว่า 1 กิจการและต้องคงการลงทุนดังกล่าวไว้ในวงเงินข้างต้นตลอดระยะเวลาที่ถือ Smart Visa 2. กิจการที่จะจัดตั้งขึ้นหรือรับการลงทุนจะต้องได้รับการรับรองโดยหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ว่าเป็นกิจการที่ใช้เทคโนโลยีเป็นฐานในกระบวนการผลิตหรือการให้บริการและเป็นธุรกิจในอุตสาหกรรมเป้าหมาย โดยหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง 3. กรณีการลงทุนผ่านบริษัทเงินร่วมลงทุน (Venture Capital Company) จะต้องได้รับการรับรองโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติและสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล ว่าเป็นบริษัทเงินร่วมลงทุนที่ได้รับการร่วมลงทุนจากภาครัฐหรือมีการลงทุนในกิจการที่ใช้เทคโนโลยีเป็นฐานในกระบวนการผลิตหรือการให้บริการในอุตสาหกรรมเป้าหมาย 4. ต้องไม่เป็นบุคคลต้องห้ามเดินทางเข้าประเทศตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 และไม่มีประวัติอาชญากรรมตามอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงการต่างประเทศ สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ได้ตรวจสอบ |
1. ได้รับ Smart “I” โดยมีระยะเวลาครั้งละไม่เกิน 4 ปี และสามารถขยายให้ครั้งละไม่เกิน 4 ปี 2. ไม่ต้องขอใบอนุญาตทำงานสำหรับการทำงานในกิจการที่ได้รับการรับรองจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายใต้หลักเกณฑ์คุณสมบัติของวีซ่าประเภท Smart “I” และ ในกรณีที่เปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติม จะต้องขอรับรองเพิ่มเติมตามหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง 3. รายงานตัวทุก 1 ปี (จากเดิมทุก 90 วัน) โดยสามารถใช้บริการที่ศูนย์บริการวีซ่าและใบอนุญาตทำงานได้ 4. สามารถเดินทางกลับเข้ามาในราชอาณาจักรอีกได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง (Re-entry permit) 5. คู่สมรสและบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย จะได้รับสิทธิในการพำนักในประเทศไทยเช่นเดียวกับผู้ได้รับสิทธิหลัก นอกจากนี้ คู่สมรสจะทำงานได้โดยมีระยะเวลาเท่ากับผู้ที่ได้รับสิทธิหลัก ทั้งนี้ ต้องไม่เป็นการทำงานต้องห้าม ตามการกำหนดงานในอาชีพและวิชาชีพที่ห้ามคนต่างด้าวทำในบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดในอาชีพและวีชาชีพที่ห้ามคนต่างด้าวทำ พ.ศ. 2522
6. ได้รับสิทธิ์ให้ใช้ช่องทางพิเศษ (Fast Track) ในการเข้าออกราชอาณาจักร ณ ท่าอากาศยานระหว่างประเทศที่มีให้บริการช่องทางพิเศษ |
3. SMART “E” สำหรับผู้บริหารระดับสูง (Executive) ที่ทำงานในกิจการในอุตสาหกรรมเป้าหมายในประเทศไทย
คุณสมบัติ |
สิทธิประโยชน์ที่ได้รับ |
1. เงินได้เฉลี่ยไม่น้อยกว่า 200,000 บาท/ เดือน หรือเทียบเท่า 2. คุณวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรีขึ้นไปหรือเทียบเท่า และมีประสบการณ์ทำงานในสายงานที่เกี่ยวข้องไม่น้อยกว่า 10 ปี 3. มีสัญญาจ้างงานกับกิจการในไทยหรือมีสัญญาจ้างงานกับกิจการในต่างประเทศ
ซึ่งกำหนดให้ทำงานในประเทศไทย 4. ทำงานในตำแหน่งผู้บริหารระดับสูง เช่น ประธาน กรรมการผู้จัดการ 5. กิจการในประเทศไทยที่ว่าจ้างจะต้องได้รับการรับรองว่าเป็นกิจการที่ใช้เทคโนโลยีเป็นฐานในกระบวนการผลิตหรือการให้บริการ และเป็นธุรกิจในอุตสาหกรรมเป้าหมาย โดยหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
6. ต้องไม่เป็นบุคคลต้องห้ามเดินทางเข้าประเทศตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 และไม่มีประวัติอาชญากรรม ตามอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงการต่างประเทศ สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ได้ตรวจสอบ |
1. ได้รับ Smart “E” โดยมีระยะเวลาไม่เกินระยะเวลาตามสัญญาจ้าง แต่สูงสุดครั้งละไม่เกิน 4 ปี และสามารถขยายให้ครั้งละไม่เกิน 4 ปี 2. ไม่ต้องขอใบอนุญาตทำงานสำหรับการทำงานในตำแหน่งและกิจการที่ได้รับการรับรองจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายใต้หลักเกณฑ์คุณสมบัติของวีซ่าประเภท Smart “E” และ ในกรณีที่เปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติม จะต้องขอรับรองเพิ่มเติมตามหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง 3. รายงานตัวทุก 1 ปี (จากเดิมทุก 90 วัน) โดยสามารถใช้บริการที่ศูนย์บริการวีซ่าและใบอนุญาตทำงานได้ 4. สามารถเดินทางกลับเข้ามาในราชอาณาจักรอีกได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง (Re-entry permit) 5. คู่สมรสและบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย จะได้รับสิทธิในการพำนักในประเทศไทยเช่นเดียวกับผู้ได้รับสิทธิหลัก นอกจากนี้ คู่สมรสจะทำงานได้โดยมีระยะเวลาเท่ากับผู้ที่ได้รับสิทธิหลัก ทั้งนี้ ต้องไม่เป็นการทำงานต้องห้าม ตามพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 (และที่แก้ไขเพิ่มเติม) 6. ได้รับสิทธิ์ให้ใช้ช่องทางพิเศษ (Fast Track) ในการเข้าออกราชอาณาจักร ณ ท่าอากาศยานระหว่างประเทศที่มีให้บริการช่องทางพิเศษ |
4. SMART “S” สำหรับผู้ประกอบการวิสาหกิจเริ่มต้น (Startup) ที่ใช้เทคโนโลยีและอยู่ในอุตสาหกรรมเป้าหมายในประเทศไทย
4.1 กรณีได้รับอนุญาตมีระยะเวลาไม่เกิน 2 ปี
คุณสมบัติ |
สิทธิประโยชน์ที่ได้รับ |
1. ได้จัดตั้งกิจการในประเทศไทยที่ได้รับการรับรองว่าเป็นธุรกิจอยู่ในอุตสาหกรรมเป้าหมายโดยหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล 2. ผู้ขอจะต้องมีสถานะเป็นผู้ถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 ของทุนจดทะเบียน หรือเป็นกรรมการของบริษัทได้จัดตั้งและได้รับการรับรองในข้างต้น 3. ผู้ขอต้องมีเงินฝากในบัญชีในประเทศไทยหรือในประเทศที่ตนมีสัญชาติหรือมีถิ่นพำนัก ไม่น้อยกว่า 600,000 บาท หรือเทียบเท่า ซึ่งถือครองมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 เดือน 4. กรณีมีคู่สมรสและบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย
จะต้องมีเงินฝากในบัญชีในประเทศหรือในประเทศที่ตนมีสัญชาติหรือมีถิ่นพำนัก
เพิ่มขึ้นอีกไม่น้อยกว่า 180,000 บาท
หรือเทียบเท่าต่อคน ซึ่งถือครองมาแล้วไม่น้อยกว่า 5. มีกรมธรรม์ประกันสุขภาพคุ้มครองตลอดระยะเวลาที่พำนักในประเทศไทย
ทั้งสำหรับผู้ยื่นขอ Smart Visa 6. ต้องไม่เป็นบุคคลต้องห้ามเดินทางเข้าประเทศตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 และไม่มีประวัติอาชญากรรม ตามอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงการต่างประเทศ สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ได้ตรวจสอบ |
1. ได้รับ Smart “S” มีระยะเวลาไม่เกิน 2 ปี ทั้งนี้ สามารถขยายให้ครั้งละไม่เกิน 2 ปี 2. ไม่ต้องขอใบอนุญาตทำงาน สำหรับการทำงานในโครงการหรือกิจการที่ได้รับการรับรองจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายใต้หลักเกณฑ์คุณสมบัติของวีซ่าประเภท Smart “S” และในกรณีที่เปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติม จะต้องขอรับรองเพิ่มเติมตามหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง 3. รายงานตัวทุก 1 ปี (จากเดิมทุก 90 วัน) โดยสามารถใช้บริการที่ศูนย์บริการวีซ่าและใบอนุญาตทำงานได้ 4. สามารถเดินทางกลับเข้ามาในราชอาณาจักรอีกได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง (Re-entry permit) 5. คู่สมรสและบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย จะได้รับสิทธิในการพำนักในประเทศไทยเช่นเดียวกับผู้ได้รับสิทธิหลัก นอกจากนี้ คู่สมรสจะทำงานได้โดยมีระยะเวลาเท่ากับผู้ที่ได้รับสิทธิหลัก ทั้งนี้ ต้องไม่เป็นการทำงานต้องห้าม ตามพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 (และที่แก้ไขเพิ่มเติม) 6. ได้รับสิทธิ์ให้ใช้ช่องทางพิเศษ (Fast Track) ในการเข้าออกราชอาณาจักร ณ ท่าอากาศยานระหว่างประเทศที่มีให้บริการช่องทางพิเศษ |
คุณสมบัติ | สิทธิประโยชน์ที่ได้รับ |
1. ผู้ขอต้องเข้าร่วมโครงการบ่มเพาะ (Incubation) หรือโครงการเร่งการเติบโต (Accelerator) หรือโครงการอื่นในลักษณะเดียวกันซึ่งได้รับการรับรองโดยหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวต้องอยู่ในอุตสาหกรรมเป้าหมาย 2. ในกรณีที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการบ่มเพาะ ผู้ขอต้องได้รับการร่วมลงทุนจากภาครัฐ หรือได้รับการรับรองจากหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล 3. ผู้ขอต้องมีเงินฝากในบัญชีในประเทศไทยหรือในประเทศที่ตนมีสัญชาติหรือมีถิ่นพำนัก ไม่น้อยกว่า 600,000 บาท หรือเทียบเท่า ซึ่งถือครองมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 เดือน 4. กรณีมีคู่สมรสและบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย
จะต้องมีเงินฝากในบัญชีในประเทศหรือในประเทศที่ตนมีสัญชาติหรือมีถิ่นพำนัก
เพิ่มขึ้นอีกไม่น้อยกว่า 180,000 บาท หรือเทียบเท่าต่อคน ซึ่งถือครองมาแล้วไม่น้อยกว่า 5.
มีกรมธรรม์ประกันสุขภาพคุ้มครองตลอดระยะเวลาที่พำนักในประเทศไทย
ทั้งสำหรับผู้ยื่นขอ Smart
Visa 6. ผู้ขอจะต้องจัดตั้งกิจการในประเทศไทยภายใน 1 ปี หลังจากวันที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ชั่วคราวในราชอาณาจักร โดยจะต้องมีสถานะเป็นผู้ถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 ของทุนจดทะเบียน หรือเป็นกรรมการของบริษัทและต้องได้รับการรับรองว่าเป็นธุรกิจอยู่ในอุตสาหกรรมเป้าหมาย โดยหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล 7. ต้องไม่เป็นบุคคลต้องห้ามเดินทางเข้าประเทศตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 และไม่มีประวัติอาชญากรรม ตามอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงการต่างประเทศ สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ได้ตรวจสอบ | 1. ได้รับ Smart “S” ครั้งแรก มีระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี กรณีที่ยังไม่ได้จัดตั้งบริษัท ทั้งนี้ สามารถขยายให้ครั้งละไม่เกิน 2 ปี เมื่อได้จัดตั้งธุรกิจที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในประเทศไทยแล้ว 2. ไม่ต้องขอใบอนุญาตทำงาน สำหรับการทำงานในโครงการหรือกิจการที่ได้รับการรับรองจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายใต้หลักเกณฑ์คุณสมบัติของวีซ่าประเภท Smart “S” และในกรณีที่เปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติม จะต้องขอรับรองเพิ่มเติมตามหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง 3. รายงานตัวทุก 1 ปี (จากเดิมทุก 90 วัน) โดยสามารถใช้บริการที่ศูนย์บริการวีซ่าและใบอนุญาตทำงานได้ 4. สามารถเดินทางกลับเข้ามาในราชอาณาจักรอีกได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง (Re-entry permit) 5. คู่สมรสและบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย จะได้รับสิทธิในการพำนักในประเทศไทยเช่นเดียวกับผู้ได้รับสิทธิหลัก นอกจากนี้ คู่สมรสจะทำงานได้โดยมีระยะเวลาเท่ากับผู้ที่ได้รับสิทธิหลัก ทั้งนี้ ต้องไม่เป็นการทำงานต้องห้าม ตามพระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2560 (และที่แก้ไขเพิ่มเติม)
6. ได้รับสิทธิ์ให้ใช้ช่องทางพิเศษ (Fast Track) ในการเข้าออกราชอาณาจักร ณ ท่าอากาศยานระหว่างประเทศที่มีให้บริการช่องทางพิเศษ |
คุณสมบัติ | สิทธิประโยชน์ที่ได้รับ |
1. มีแผนการจัดตั้งวิสาหกิจเริ่มต้นซึ่งใช้เทคโนโลยีหรือนวัตกรรมเป็นส่วนสำคัญในการดำเนินธุรกิจในประเทศไทย ซึ่งจะต้องได้รับการรับรองโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) หรือเข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมวิสาหกิจเริ่มต้นในลักษณะ Startup Camp ที่รับรองโดยหน่วยงานของรัฐ เช่น สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน และสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) 2. มีกรมธรรม์ประกันสุขภาพคุ้มครองตลอดระยะเวลาที่พำนักในประเทศไทย
3. ต้องไม่เป็นบุคคลต้องห้ามเดินทางเข้าประเทศตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 และไม่มีประวัติอาชญากรรม ตามอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงการต่างประเทศ สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ได้ตรวจสอบ | 1. ได้รับ Smart “S” โดยมีระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน และสามารถขยายให้ครั้งละไม่เกิน 2 ปี เมื่อได้จัดตั้งธุรกิจที่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ในประเทศไทยแล้ว 2. ไม่ต้องขอใบอนุญาตทำงาน สำหรับการทำงานเพื่อจัดตั้งวิสาหกิจเริ่มต้นในประเทศไทยหรือเข้าร่วมกิจกรรมหรือโครงการส่งเสริมวิสาหกิจเริ่มต้นที่เป็นไปตามเกณฑ์ และในกรณีที่เปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติม จะต้องขอรับรองเพิ่มเติมตามหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวข้อง 3. รายงานตัวทุก 1 ปี (จากเดิมทุก 90 วัน) โดยสามารถใช้บริการที่ศูนย์บริการวีซ่าและใบอนุญาตทำงานได้ 4. สามารถเดินทางกลับเข้ามาในราชอาณาจักรอีกได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง (Re-entry permit) 5. ได้รับสิทธิ์ให้ใช้ช่องทางพิเศษ (Fast Track) ในการเข้าออกราชอาณาจักร ณ ท่าอากาศยานระหว่างประเทศที่มีให้บริการช่องทางพิเศษ |
ชาวต่างชาติที่พำนักอยู่นอกราชอาณาจักรสามารถยื่นขอวีซ่าประเภท SMART Visa ได้ และชาวต่างชาติที่พำนักอยู่ในประเทศไทยก็สามารถขอเปลี่ยนประเภทวีซ่าเป็น SMART Visa หากมีคุณสมบัติเป็นไปตามหลักเกณฑ์
ผู้ยื่นขอสมาร์ทวีซ่าต้องมีคุณสมบัติเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด ซึ่งจะต้องได้รับการรับรองคุณสมบัติโดยหน่วยงานของรัฐที่ได้รับมอบหมาย เช่น ต้องได้รับการรับรองความเชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประเภทของการรับรอง / หน่วยงานที่รับรอง มีรายละเอียด ดังนี้
กรณีที่ได้รับการรับรองผ่านเกณฑ์คุณสมบัติแล้ว หน่วย SMART Visa (ภายใต้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน) จะดำเนินการตรวจสอบข้อกำหนดอื่นๆ ก่อนที่จะออกหนังสือรับรองคุณสมบัติที่ผู้ยื่นขอสมาร์ทวีซ่าจะใช้ในการขอประทับตราตรวจลงตรา SMART Visa ที่สถานเอกอัครราชทูต/ สถานกงสุลใหญ่ (กรณีอยู่ต่างประเทศ) หรือที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง (ศูนย์บริการวีซ่าและใบอนุญาตทำงาน อาคารจัตุรัสจามจุรี)
ขั้นตอนการยื่นขอรับรองคุณสมบัติประกอบการขอ SMART Visa1. ชาวต่างชาติยื่นขอรับรองการเป็นผู้มีสิทธิได้รับ SMART Visa ณ ศูนย์บริการวีซ่าและใบอนุญาตทำงาน (One Stop Service Center for Visa and Work Permit: OSS) อาคารจัตุรัสจามจุรี หรือสถานเอกอัครราชทูต/ สถานกงสุลใหญ
2. ภายใน 3 วันทำการหลังจากได้รับเอกสารหลักฐานครบถ้วน OSS จะประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อตรวจสอบและรับรองคุณสมบัติของผู้ที่ยื่นขอ SMART Visa
3. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามข้อ 2 แจ้งผลการพิจารณา/ ตรวจสอบให้ OSS ภายใน 20 วันทำการ
4. OSS (BOI) จะแจ้งผลการพิจารณาให้ผู้ที่ยื่นขอ SMART Visa หน่วยงานรับรองคุณสมบัติ สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง กระทรวงการต่างประเทศ และกรมการจัดหางาน ทราบถึงผลของการรับรองคุณสมบัติภายใน 7 วันทำการ
ทั้งนี้ กรอบระยะเวลาการทำงานรวมทั้งสิ้น 30 วันทำการ นับตั้งแต่วันที่ OSS ได้รับเอกสารหลักฐานฉบับสมบูรณ์ สำหรับผู้ที่ถือวีซ่าประเภทอื่นจะต้องยื่นขอรับการรับรองคุณสมบัติล่วงหน้าอย่างน้อย 90 วันก่อนระยะเวลาเดิมสิ้นสุด
การขอประทับตราวีซ่าผู้ที่ได้รับการรับรองผ่านเกณฑ์คุณสมบัติแล้วสามารถยื่นขอประทับตราตรวจลงตรา SMART Visa ได้ที่สถานเอกอัครราชทูต/ สถานกงสุลใหญ่ ภายใน 60 วัน นับตั้งแต่วันที่ออกหนังสือรับรองผ่านเกณฑ์คุณสมบัติจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หากผู้ยื่นขอประทับตราวีซ่าพำนักอยู่ในประเทศ ไทยสามารถยื่นขอวีซ่าประเภท SMART Visa ได้ที่สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ศูนย์บริการวีซ่าและใบอนุญาตทำงาน (One Stop Service Center for Visa and Work Permit: OSS) อาคารจัตุรัสจามจุรี
การขอขยายระยะเวลาการอยู่ต่อภายในราชอาณาจักรผู้ได้รับสิทธิ SMART Visa อยู่แล้ว ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาการอยู่ต่อภายในราชอาณาจักร ก่อนระยะเวลาเดิมสิ้นสุด 90 วัน
ผู้ถือ SMART Visa ต้องยื่นเอกสารหลักฐานแสดงสถานภาพและข้อมูลที่เป็นปัจจุบันทุกๆปี หลังจากวันที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ชั่วคราวในราชอาณาจักร ณ หน่วย SMART Visa ศูนย์บริการวีซ่าและใบอนุญาตทำงาน (One Stop Service Center for Visa and Work Permit: OSS) อาคารจัตุรัสจามจุรี
สอบถามและรับบริการหน่วย SMART Visa
ศูนย์บริการวีซ่าและใบอนุญาตทำงาน
(One Stop Service Center for Visa and Work Permit: OSS)
อาคารจัตุรัสจามจุรี ชั้นที่ 18
เลขที่ 319 ถนนพญาไท แขวงปทุมวัน
เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
โทร. 0 2209 1100 ต่อ 1109 – 1110
โทรสาร 0 209 1199
Email: smartvisa@boi.go.th