Chat
x
toggle menu
toggle menu

Select Groups

All Group
  • All Group
  • นโยบายเเละมาตรการพิเศษในการส่งเสริม
  • การขอรับการส่งเสริมการลงทุน
  • การออกบัตรส่งเสริม
  • การเปิดดำเนินการ
  • การเเก้ไขโครงการ
  • การดำเนินการอื่น ๆ
  • การรายงานความคืบหน้าโครงการ (e-Monitoring)
  • การปฏิบัติหลังการได้รับการส่งเสริม
  • การยกเลิกบัตรส่งเสริม
  • เรื่องทั่วไป
  • การใช้สิทธิด้านที่ดิน
  • การใช้สิทธิด้านเครื่องจักร
  • การใช้สิทธิด้านช่างฝีมือ/ต่างด้าว
  • การใช้สิทธิด้านวัตถุดิบ
  • ประเภทกิจการ - การแพทย์
  • การใช้สิทธิด้านภาษีเงินได้นิติบุคคล
  • ประเภทกิจการ - รถยนต์ไฟฟ้า
  • ประเภทกิจการ - ศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศ (IBC) IPO และ TISO
  • ประเภทกิจการ - โรงแรม
  • ประเภทกิจการ - ผลิตผลิตภัณฑ์โลหะรวมทั้งชิ้นส่วนโลหะ
  • ประเภทกิจการ - กิจการผลิตเครื่่องจักร อุุปกรณ์และชิ้นส่วน
  • ประเภทกิจการ - กิจการศูนย์กระจายสินค้าระหว่า ประเทศด้วยระบบที่่ทันสมัย (IDC)
กรณีบริษัทนำเข้าเครื่องจักรเกิน 5 ปี บริษัทจะต้องทำการขอตัดบัญชีเครื่องจักรกับสำนักงานบีโอไอ เพื่อจะได้หมดภาระภาษี รบกวนอธิบายความหมายหมดภาระภาษี คืออะไร เครื่องจักร ความหมายรวม อุปกรณ์ และ แม่พิมพ์ ด้วยหรือไม่

ตาม พรบ ส่งเสริมการลงทุน มาตรา 55 บีโอไอมีอำนาจสั่งเพิกถอนสิทธิและประโยชน์เกี่ยวกับภาษีอากรทั้งหมดสำหรับของที่นำเข้า โดยให้ถือว่าผู้ได้รับการส่งเสริมไม่เคยได้รับยกเว้นหรือลดหย่อนภาษีอากรมาแต่ต้น และผู้ได้รับการส่งเสริมจะต้องเสียภาษีอากรตามสภาพของราคาและอัตราภาษีอากร ณ วันนำเข้า

ซึ่งหมายความว่า แม้เครื่องจักรที่นำเข้ามา จะใช้งานไปแล้ว 10 ปี ก็ตาม แต่หากปฏิบัติผิดเงื่อนไขด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์หรือด้วยเหตุผลอื่นใด บีโอไอมีอำนาจสั่งเพิกถอนสิทธิทั้งหมดก็ได้ ซึ่งจะทำให้บริษัทต้องเสียภาษีอากรเครื่องจักรย้อนหลัง ณ วันนำเข้า คือเมื่อ 10 ปีที่แล้ว ซึ่งจะเป็นมูลค่าภาษีอากรจำนวนมหาศาล

ดังนั้น บีโอไอจึงออก ประกาศ สกท ที่ ป.3/2538 กำหนดอายุของเครื่องจักรที่นำเข้ามาโดยใช้สิทธิ์ยกเว้นภาษี ให้มีอายุ 5 ปี ซึ่งหากในช่วงเวลานี้ ไม่ได้ฝ่าฝืนหรือปฏิบัติผิดเงื่อนไข ก็จะปลอดจากภาระภาษีอากร แต่ทั้งนี้ ต้องยื่นเรื่องให้บีโอไอตรวจสอบเป็นรายๆไป เมื่อบีโอไอตรวจสอบว่าบริษัทปฏิบัติตามเงื่อนไขถูกต้อง ก็จะตัดบัญชีเพื่อปลอดภาระภาษีให้กับเครื่องจักรนั้นๆ การตัดบัญชีเครื่องจักรเพื่อปลอดภาระภาษี จึงเสมือนเป็นหลักประกันเบื้องต้นว่า เครื่องจักรนั้นจะไม่มีการถูกเรียกเก็บภาษีอีก

ยกตัวอย่าง เช่น เมื่อครบ 5 ปี และตัดบัญชีเพื่อปลอดภาระภาษีไปแล้ว แต่ในปีที่ 6 บริษัทฝ่าฝืนเงื่อนไข เช่น นำเครื่องจักรไปให้ผู้อื่นยืมใช้ หรือนำเครื่องจักรไปผลิตสินค้าอื่นที่ไม่ได้รับการส่งเสริม บีโอไอก็ไม่สามารถเรียกเก็บภาษีเครื่องจักรนั้นได้ (แต่อาจใช้มาตรการอื่น เช่น เพิกถอนการให้การส่งเสริม เป็นต้น)

การตัดบัญชีเครื่องจักรเพื่อปลอดภาระภาษีเมื่อครบ 5 ปีนี้ ไม่ใช่มาตรการบังคับ จะทำหรือไม่ก็ได้ แต่เป็นการลดภาระการตรวจสอบในอนาคต เพราะหากปล่อยทิ้งไว้นานเกินไป แล้วพบว่ามีการปฏิบัติผิดเงื่อนไข ก็จะเป็นภาระของทั้งบีโอไอและผู้ประกอบการในการต้องตรวจสอบเอกสารย้อนหลังกลับไปหลาย ๆ ปี เครื่องจักรในที่นี้ รวมถึงเครื่องจักร อุปกรณ์ แม่พิมพ์ และอื่นๆ ที่นำเข้ามาโดยใช้สิทธิมาตรา 28 และ 29

กรณีทางบริษัทเปลี่ยนโครงการจาก IPO เป็น ITC แล้วไม่ต้องมี Max Stock แล้ว ยังต้องยื่นตัดบัญชี Report-V อีกหรือไม่ แล้ววัตถุดิบที่นำเข้ามายังคงเหลือใน Max Stock ต้องทำอย่างไรต่อ
การเปลี่ยนประเภทกิจการจาก IPO เป็น ITC

- บัตรส่งเสริมยังเป็นฉบับเดิม

- Project Code ในระบบ RMTS ยังเป็นรหัสโครงการเดิม

- Max Stock และยอดคงเหลือ (balance) ของวัตถุดิบที่นำเข้าโดยใช้สิทธิมาตรา 36 ยังเป็นเหมือนเดิม

- ยังสามารถซื้อขายวัตถุดิบ ชิ้นส่วนชนิดเดิมได้ (เว้นแต่ไปแก้ไขขอบข่ายธุรกิจจนทำการซื้อขายสินค้าเดิมไม่ได้)

ดังนั้น หากมียอดวัตถุดิบคงเหลือในบัญชี บริษัทจะต้องส่งไปต่างประเทศและตัดบัญชีจน balance เป็น 0 มิฉะนั้นจะมีภาระภาษี

สอบถามเรื่อง ข้อ 3 หน้า 3/7 รายละเอียดเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ติดตั้งใช้ในโครงการของผลิตภัณฑ์ตามบัตรส่งเสริม > กรณีที่บริษัทติดตั้ง Solar cell ไม่ได้ลงทุนเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ตามบัตรส่งเสริม ก็ไม่จำเป็นต้องกรอกข้อมูลในส่วนนี้ใช่ไหม ข้อ 5 หน้า 5/7 การคำนวณกำลังการผลิตของผลิตภัณฑ์ตามบัตรส่งเสริม > กำลังการผลิต ขั้นตอนการผลิตหลัก เครื่องจักรที่ใช้ เป็นข้อมูลเดิมจากบัตรเก่าที่เคยเปิดดำเนินการไปแล้ว ให้นำข้อมูลตอนเปิดดำเนินการจากบัตรเก่ามาใส่ หรือไม่ต้องกรอกข้อมูล (2 ก.ค. 2563)

ข้อ 3 หน้า 3/7 รายละเอียดเครื่องจักรที่ติดตั้งในโครงการของผลิตภัณฑ์ตามบัตรส่งเสริม ให้กรอกข้อมูลเครื่องจักรที่ใช้ในโครงการตามบัตรส่งเสริม เฉพาะที่มีในทะเบียนสินทรัพย์ ณ ปัจจุบันแม้จะเป็นโครงการได้รับอนุญาตเปิดดำเนินการเต็มโครงการไปแล้วก็ตาม

ข้อ 5 หน้า 5/7 การคำนวณกำลังผลิตของผลิตภัณฑ์ตามบัตรส่งเสริม ให้แสดงการคำนวณกำลังผลิตจากเครื่องจักรที่มีอยู่จริงตามข้อ 3

บริษัทยื่นขอรับส่งเสริมโดยจะใช้เครื่องจักรใหม่ทั้งหมด ขณะนี้อยู่ระหว่างก่อสร้างโรงงาน และเตรียมรายการเครื่องจักรที่จะนำเข้า แต่บริษัทแม่ต้องการเปลี่ยนแปลงรายการเครื่องจักร โดยจะใช้เครื่องจักรเก่าที่ไม่เกิน 10 ปี จะต้องยื่นแบบคำขออนุญาตแก้ไขโครงการ โดยระบุเรื่องที่ขอแก้ไขเป็น "ขอใช้เครื่องจักรเก่า" ใช่หรือไม่ แล้วตรงหัวข้อถัดมาที่บอกว่า เหตุผลที่ขอแก้ไข ตรงนี้จะใส่อย่างไรดี เพราะเหตุผลก็คือ ทางบริษัทแม่เขาต้องการส่งเครื่องจักรตัวนี้มาเพื่อผลิตในประเทศไทย เพราะถ้าซื้อเครื่องใหม่ราคาแพงมาก จึงจะนำเครื่องเก่าที่ยังใช้งานได้ดีส่งมาให้ เหตุผลควรจะใส่อย่างไรดี ถึงจะเข้าข่ายในการพิจารณาของเจ้าหน้าที่ และอีกอย่างหนึ่ง ในหน้าที่ 3/5, 4/5, 5/5 ต้องกรอกอะไรหรือเปล่า เพราะบริษัทต้องการขออนุมัติแค่การใช้เครื่องจักรเก่าในการโครงการเท่านั้น กำลังผลิตและกรรมวิธีผลิตก็ยังเหมือนเดิม

1. ในเรื่องที่ขอแก้ไข ให้ใส่ว่า ขอแก้ไขโครงการเพื่อขอใช้เครื่องจักรในโครงการ ถูกต้องแล้ว

2. เหตุผลที่ขอแก้ไข ให้ระบุไปตรงๆได้เลยว่า เพื่อลดภาระการลงทุน (หรือลดต้นทุนการผลิต)

3. หน้า 3/5 เป็นเรื่องกรรมวิธีผลิตและวัตถุดิบ ไม่จำเป็นต้องใส่ / หรือใส่ว่า -ไม่เปลี่ยนแปลง- ก็ได้

4. หน้า 4/5 ด้านการเงิน ต้องกรอกด้วย เพราะราคาเครื่องจักรเก่าจะถูกลงกว่าเดิม ดังนั้น ในช่องโครงการเดิม ให้ใส่ข้อมูลตามคำขอฯ ส่วนในช่องโครงการที่ขอแก้ไข ให้ใส่มูลค่าเครื่องจักรที่ลดลง (โดยใส่เป็นค่าลบก็ได้) และในช่องรวมทั้งสองโครงการ ให้ใส่ผลรวมของทั้ง 2 ช่อง ซึ่งจะลดลงกว่าที่เคยยื่นคำขอไว้ และหากเริ่มผลิตแล้ว ก็ต้องใส่ข้อมูลเรื่องผลดำเนินการที่ผ่านมาด้วย

5. หน้า 5/5 ไม่ต้องกรอกอะไร นอกจากนี้ ให้แนบตารางรายการเครื่องจักรเก่าที่จะนำเข้า โดยระบุรายการ จำนวน ปีที่ผลิต มูลค่า และประเทศที่จะนำเข้าด้วย

หากขอรับการส่งเสริมการลงทุนมาแล้ว ยังไม่ครบ 1 ปี แล้วไม่มี การผลิตต่อ และไม่มีการขายผลิตภัณฑ์ต่อ สามารถขอหยุดกิจการได้ไหม แล้ว ในเรื่องของภาษีต่างๆ เช่น ภาษีนำเข้า และ ภาษีนิติบุคคล หากแจ้งหยุดกิจการไปแล้ว มีผลกระทบต่อพวกภาษีดังกล่าวไหม และจะมีผลกระทบอะไรกับ แผนกบัญชีของบริษัทหรือไม่

1. การขอหยุดกิจการชั่วคราวเกินกว่า 2 เดือน ปกติจะต้องได้รับอนุญาตเปิดดำเนินการเต็มโครงการแล้วเสียก่อน จึงจะอนุญาตให้หยุดกิจการได้

2. กรณียังไม่ได้รับอนุญาตเปิดดำเนินการ แต่จำเป็นต้องหยุดดำเนินการชั่วคราว โดยยังคงมีแผนการจะผลิตต่อที่ชัดเจน (เช่น การหยุดเพื่อซ่อมเครื่องจักรหรือโรงงาน) จะต้องขออนุญาตเช่นเดียวกับข้อ 1

3. กรณียังไม่ได้เปิดดำเนินการ และจะหยุดดำเนินการโดยไม่มีแผนการที่แน่ชัดว่าจะดำเนินการต่อหรือไม่/เมื่อไร น่าจะไม่เข้าข่ายที่จะขออนุญาตหยุดดำเนินการ หากเข้าข่ายข้อ 3 ควรขอเปิดดำเนินการโดยลดขนาดกิจการเหลือเท่าที่มีกำลังผลิตจริง จากนั้นจึงยื่นขอหยุดกิจการชั่วคราว

ปัจจุบันช่างฝีมือได้รับการอนุมัติจากบีโอไอในตำแหน่ง CDM specialist และต่อมาในเดือนเมษายนที่ผ่านมาช่างฝีมือได้รับมอบหมายให้เป็นกรรมการผู้มีอำนาจลงนามของบริษัท และบริษัทต้องการยื่นขอขยายระยะเวลาตำแหน่งภายในเดือนกันยายนนี้ นอกจากยื่นขออนุมัติในข้อ 11.1 และ 11.2 แล้ว ต้องยื่นขออนุมัติข้อใดอีกบ้าง

ให้ยื่นขอเพิ่มลักษณะงานต่อ BOI (ระบบ e-expert) และเมื่อได้รับอนุมัติแล้ว จึงนำเอกสารหลักฐานไปติดต่อแรงงาน เพื่อขอแก้ไขลักษณะงานในใบอนุญาตทำงาน

ถ้าบริษัทได้รับกำลังการผลิตเดิม 80000 ตันต่อปี ต่อมาได้เปิดดำเนินการและได้แก้ไขเป็น 90000 ตันต่อปี มีผลตั้งแต่วันที่ 20 มิถุนายน 2558 อยากทราบว่าถ้าบริษัทมีรอบบัญชี 1/10/2557-30/09/2558 บริษัทจะต้องคำนวณรายได้ในการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลอย่างไร

ใช้วิธีคำนวณสัดส่วนตามบัญญัติไตรยางศ์เลย

ช่วงแรก (1 ต.ค. 57 - 19 มิ.ย. 58) เท่ากับ X วัน มีกำลังผลิต 80,000 ตัน/ปี จึงสามารถใช้สิทธิได้ไม่เกิน 80,000 x X / 365 ตัน

ช่วงหลัง (20 มิ.ย. 58 - 30 ก.ย. 58) เท่ากับ Y วัน มีกำลังผลิต 90,000 ตัน/ปี จึงสามารถใช้สิทธิได้ไม่เกิน 90,000 x Y / 365 ตัน

ส่วนรอบปีถัดไป จึงจะใช้สิทธิได้เต็มไม่เกิน 90,000 ตัน

กรณีบริษัทมี 2 โครงการ เวลาที่เปิดใบกำกับภาษี (invoice) ต้องแยกโครงการ หรือสามารถเปิดใบกำกับภาษีรวมกันได้หรือไม่

ถ้ามีหลายบัตรส่งเสริมและผลิตภัณฑ์ต่างกัน จะรวมออกใบกำกับภาษีฉบับเดียวกันก็ได้ เพราะสามารถแยกได้ชัดเจนอยู่แล้ว แต่ถ้าผลิตภัณฑ์เหมือนกัน (บัตรส่งเสริมคนละฉบับ) แล้วมารวมออกใบกำกับภาษีฉบับเดียวกัน สุดท้ายก็ต้องไปพิสูจน์รายละเอียดกับสรรพากรอยู่ดี ซึ่งน่าจะเป็นการสร้างภาระเพิ่มเติมในภายหลัง จึงน่าจะแยกกันตามบัตรส่งเสริม

1. ในกรณี บริษัทยังไม่เคยใช้แรงงานต่างด้าวไร้ฝีมือมาก่อน จะสามารถจ้างใหม่ได้หรือไม่ 2. จะต้องแจ้งข้อมูล/เอกสารการใช้แรงงานต่างด้าวไร้ฝีมือ กับทาง BOI หรือไม่ อย่างไร 3. หากเลิกจ้างแล้วจะต้องแจ้งกับทาง BOI หรือไม่ อย่างไร

ประกาศ BOI ที่ ป.2/2558 ผ่อนผันให้โครงการที่ได้รับส่งเสริม ใช้แรงงานต่างด้าวไร้ฝีมือได้ โดยต้องไม่ขัดต่อกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง จนถึงสิ้นปี 2559 ผู้ได้รับส่งเสริมจึงไม่ต้องแจ้งหรือขออนุญาตจาก BOI แต่ต้องได้รับอนุญาตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงแรงงาน

ในเรื่องของภาษีนิติบุคคล และภาษีอื่นๆ ที่หากว่าภายใน ก่อนถึงกำหนดที่ boi ให้ แล้วมีการใช้สิทธิ์ด้านภาษีไปแล้ว อาจจะถูกเรียกคืน หรือไม่ หรือว่าก็สามารถหยุดการใช้สิทธิ์ โดยไม่มีข้อผูกมัดใดๆ หาก หากทำตาม ข้อ 1-3 ขั้นต้น

สิทธิประโยชน์ไม่สามารถหยุดเวลาได้ คือจะนับต่อเนื่องต่อไปจนครบกำหนด ข้อ 1-3 ไม่ใช่ให้ทำตามขั้นตอน แต่เป็นสิ่งที่ต้องพิจารณาว่าเข้าข่ายข้อไหน

ข้อมูลที่ให้มามีน้อยไป เข้าจะใจเป็นกรณีของข้อ 3 ซึ่งไม่น่าจะอยู่ในข่ายจะขอหยุดกิจการ ดังนั้น หากเปิดดำเนินการโดยการลดขนาดกิจการไม่ได้ น่าจะต้องขอยกเลิกโครงการ และชำระภาษีคืนทั้งหมด

เนื่องจากฟอร์มแก้ไขโครงการที่ให้ดาวน์โหลดมีแต่ภาษาไทยใช่หรือไม่ ไม่ทราบว่าถ้าบริษัทเอามาแปลเป็นภาษาอังกฤษเอง จะยื่นคำขอแก้ไขเป็นภาษาอังกฤษได้หรือไม่ หรือควรจะกรอกเป็นภาษาไทยในฟอร์มภาษาไทยที่มีให้โหลด

การยื่นเป็นภาษาอังกฤษ จะยื่นได้เฉพาะคำขอรับการส่งเสริมเท่านั้น หลังจากได้รับส่งเสริมแล้ว จะต้องยื่นเรื่องต่างๆ ตามแบบฟอร์มภาษาไทยเท่านั้น เนื่องจากบริษัทได้จัดตั้งในประเทศไทยเสร็จแล้ว จึงต้องยื่นแบบฟอร์มภาษาไทยซึ่งเป็นภาษาราชการ

เจ้าหน้าที่ BOI จะต้องนับ Cap ของผลิตภัณฑ์ใหม่ ไม่ได้ใช้ Cap ของบัตรเดิมที่นำมาปรับปรุงประสิทธิภาพหรือ? (2 ก.ค. 2563)
BOI จะตรวจสอบข้อมูลการลงทุนเครื่องจักรและกำลังผลิต ณ ปัจจุบัน ไม่ใช่ข้อมูลตามการเปิดดำเนินการในอดีต
สอบถามเกี่ยวกับ "การส่งออกผลิตภัณฑ์ให้กับลูกค้า" จะมี 2 กรณีที่จะสอบถามตาม flow ด้านล่าง 1. บริษัท A ซื้อวัตถุดิบภายในประเทศ(Non-BOI) => บริษัทผลิตผลิตภัณฑ์ => จัดส่งผลิตภัณฑ์ให้กับลูกค้า (แต่ส่งผ่านบริษัทลูกค้าที่มีสาขาอยู่ในประเทศและบริษัทที่มีสาขาอยู่ในประเทศจะส่งออกไปต่างประเทศอีกครั้ง) 2. บริษัทA ซื้อวัตถุดิบภายในประเทศ(BOI) => บริษัทผลิตผลิตภัณฑ์ => จัดส่งผลิตภัณฑ์ให้กับลูกค้า (แต่ส่งผ่านบริษัทลูกค้าที่มีสาขาในประเทศและบริษัทที่มีสาขาอยู่ในประเทศจะส่งออกไปต่างประเทศอีกครั้ง) คำถาม : บริษัทA สามารถใช้สิทธิประโยชน์ในเรื่องของวัตถุดิบได้หรือไม่

ข้อ 1 ซื้อวัตถุดิบจากเวนเดอร์ที่เป็น non-BOI จึงไม่ต้องใช้สิทธิอะไร

ข้อ 2 ขอเปลี่ยนตัวอย่างเป็น A(BOI) -> B(non-BOI) -> export

หาก BOI สามารถตรวจสอบพิสูจน์ได้ว่า สินค้าที่ A ขายให้ B ถูกนำไปผลิตส่งออก BOI จะอนุญาตให้ A ใช้สิทธิด้านวัตถุดิบได้ ปัจจุบันกรณีที่ BOI ให้ A ตัดบัญชีวัตถุดิบได้ เช่น กรณีที่ B ส่งออกสินค้าตามชื่อและโมเดลที่ซื้อไปจาก A โดยระบุในใบขนสินค้าขาออกว่า B ขอโอนสิทธิให้ A เป็นผู้ตัดบัญชี

ครบ 5 ปี นับจากวันไหน วันที่ในอินวอยซ์ หรือ วันนำเข้าตามใบขนฯ

5 ปี นับจากวันที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร (วันนำเข้าตามใบขนฯ)

ปัจจุบันบริษัทดำเนินธุรกิจโดยไม่ได้ BOI หากบริษัทได้รับส่งเสริมในประเภทกิจการ TISO จะสามารถซื้อที่ดินที่มีการเช่าอยู่ในปัจจุบันนี้ได้หรือไม่
BOI จะอนุมัติให้ถือครองที่ดินตามความจำเป็น เฉพาะที่ดินที่ประกอบกิจการที่ได้รับการส่งเสริมเท่านั้น หากได้รับการส่งเสริม TISO BOI จะพิจารณาจำนวนการถือครองที่ดินตามความจำเป็นของการให้บริการภายใต้ขอบข่ายธุรกิจของ TISO
บริษัทต่างชาติที่ประสงค์ดำเนินธุรกิจ Trading โดยไม่มีกิจการผลิต ต้องดำเนินการอย่างไรบ้าง
กิจการ Trading ถือเป็นธุรกิจบริการตามบัญชี 3 ของ พรบ. การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า หรือ DBD ซึ่งหากบริษัทเป็นหุ้นต่างชาติข้างมาก จะต้องขออนุญาตก่อนประกอบธุรกิจ โดยสามารถขอ Foreign Business License (FBL) ได้ที่ DBD หรือหากเป็นประเภทที่มีการส่งเสริมจาก BOI สามารถขอรับการส่งเสริมก่อนได้ หากได้รับการอนุมัติเป็นผู้ได้รับการส่งเสริมจากบีโอไอ จะสามารถขอ Foreign Business Certificate (FBC) จาก DBD ได้ทันที โดยไม่ต้องขออนุญาตเพื่อได้ใบ FBL อีกครั้งจาก DBD
การตัดบัญชีเครื่องจักร ครบ 5 ปี มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง ทางบริษัทฯได้รับหนังสืออนุมัติให้ตัดบัญชีเรียบร้อยแล้ว

ถ้าได้รับหนังสืออนุมัติจากบีโอไอให้ตัดบัญชีเครื่องจักรเพื่อปลอดภาระภาษี ก็เป็นอันจบขั้นตอนทั้งหมดแล้ว

- เครื่องจักรยังคงต้องใช้ในกิจการที่ได้รับส่งเสริมนั้นต่อไป

- ให้เก็บหนังสืออนุมัติจาก BOI เป็นหลักฐานว่าเครื่องจักรรายการที่อนุมัติ หมดจากภาระภาษีแล้ว

- การตัดบัญชีเพื่อปลอดภาระภาษี ไม่ใช่การอนุมัติให้จำหน่าย

ดังนั้น หากหลังจากนั้น จะขอจำหน่าย ก็จะต้องยื่นเรื่องตามขั้นตอนต่อไป ซึ่งหากจะขอจำหน่ายในประเทศ ก็จะไม่มีภาระภาษี เพราะได้ตัดบัญชีเพื่อปลอดภาระภาษีไปแล้ว

ถึงแม้ว่า A ผลิตและจัดส่งผลิตภัณฑ์ไปยังต่างประเทศ แต่วัตถุดิบที่ซื้อมาจากบริษัทที่เป็นNon-BOI ก็ไม่สามารถใช้สิทธิ์ได้ถูกต้องใช่ไหม
ถ้าซื้อวัตถุดิบจาก non-BOI ก็ใช้สิทธิยกเว้นภาษีวัตถุดิบรายการนั้นไม่ได้อยู่แล้ว
Asset List ที่ยื่นเปิดดำเนินการไปแล้ว หลังจากที่เปิดดำเนินการแล้ว ณ ปัจจุบัน ไม่มีใช้แล้วหรือหมดสิ้นแล้ว เช่น ใบมีด หรือวัสดุสิ้นเปลือง ฯลฯ สามารถนำมาตัดออกจากรายการที่ยื่นไว้ ณ ตอนขอเปิดดำเนินการได้ไหม มีผลกระทบกับการใช้สิทธิ BOI หรือไม่
ดังนั้นอยากสอบถามว่า
1. สามารถตัดออกจากรายการ Asset List ได้ไหม เช่น ใบมีด ณ ปัจจุบัน ไม่มีของแล้วหรือผู้ใช้งานอาจทิ้งไปแล้ว บริษัทตัดบัญชี 5 ปี แล้ว จะสามารถดำเนินการอย่างไรได้ต่อเพื่อตัดรายการออกจาก List ในโครงการได้
2. ราคาเครื่องจักรใน Asset List ณ วันยื่นเรื่องเปิดดำเนินการ กับ ใน invoice ไม่ตรงกัน สามารถแก้ไขได้ไหม กรณีเปิดดำเนินการแล้ว (สิทธิและประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล หมดสิ้นปี 2564) เช่น ใบมีดรายการหนึ่ง ราคาที่แจ้งไว้ในทะเบียนทรัพย์สิน 169,233.31 บาท แต่ใน invoice กับที่สั่งปล่อยในระบบ EMT มูลค่า175,433.88 บาท หากเป็นเช่นนี้จำเป็นต้องแก้ไขข้อมูลเพื่อให้ตรงกันไหม หรือข้อมูลในเอกสารไม่ต้องสนใจ ให้ยึดจาก invoice และ ข้อมูลที่สั่งปล่อยในระบบแทน
3. เนื่องจากตัวเลขไม่ตรงกัน ทำให้มีผลกระทบกับราคาทุน สำหรับฝ่ายบัญชีต้องดำเนินการอย่างไร
4. หลังจากที่ขออนุญาตจำหน่ายเครื่องจักรออกจากโครงการแล้ว สามารถตัดเครื่องจักรออกจากทะเบียนสินทรัพย์และตัดออกจากราคาทุนด้วย ได้หรือไม่


ตอบคำถามดังนี้
1. ใบมีด หากนำเข้ามาโดยใช้สิทธิยกเว้นภาษีอากรตามมาตรา 28 และนำเข้าเกิน 5 ปีแล้ว ให้ยื่นขออนุญาตจำหน่ายออกจากโครงการ โดยไม่มีภาระภาษีอากร
2. มูลค่าเครื่องจักรที่บันทึกในทะเบียนสินทรัพย์ กับมูลค่าเครื่องจักรที่แจ้งในระบบ eMT หากไม่ตรงกัน ไม่ต้องยื่นแก้ไขใด ๆ
3. ตัวเลขสำหรับฝ่ายบัญชีของบริษัท เป็นตัวเลขตามทะเบียนสินทรัพย์และงบการเงิน ไม่เกี่ยวกับตัวเลขที่แจ้งในระบบ eMT
4. เมื่อได้รับอนุญาตจำหน่ายออกจากโครงการ คือ จะไม่ใช้เครื่องจักรดังกล่าวในโครงการนั้นอีกต่อไป จึงต้องตัดออกจากบัญชีสินทรัพย์ของโครงการนั้น
หากมีการเปลี่ยนแปลงเครื่องจักรเก่าที่เคยแจ้งไว้ จะต้องยื่นแก้ไขโครงการอีกหรือไม่ เช่น เดิมแจ้งไว้ว่า จะใช้เครื่องจักรเก่า 1 เครื่อง แต่ต่อมาต้องการแก้ไขเป็น 2 เครื่อง จะต้องทำอย่างไร

การอนุญาตให้ใช้เครื่องจักรเก่า เป็นการอนุมัติบนหลักการเพียงครั้งเดียว ดังนั้น แม้ว่าต่อมาภายหลังจะมีการเปลี่ยนแปลงรายการ หรือจำนวน หรือปีที่ผลิต ของเครื่องจักรเก่า แต่เก่าไม่เกิน 10 ปี ตามที่ได้รับอนุมัติไว้ ก็ไม่ต้องยื่นขอแก้ไขสภาพเครื่องจักรอีก แต่จะต้องขอแก้ไขบัญชีรายการเครื่องจักร (Master List) ให้ตรงกับข้อเท็จจริง

ขออภัยครับ ไม่มีข้อมูลส่วนนี้ ในภาษาที่ท่านเลือก !

Sorry, There is no information support your selected language !

Download และ ติดตั้งโปรแกรมอ่าน PDF

Download PDF Reader

Site map