Chat
x
toggle menu
toggle menu

Select Groups

All Group
  • All Group
  • นโยบายเเละมาตรการพิเศษในการส่งเสริม
  • การขอรับการส่งเสริมการลงทุน
  • การออกบัตรส่งเสริม
  • การเปิดดำเนินการ
  • การเเก้ไขโครงการ
  • การดำเนินการอื่น ๆ
  • การรายงานความคืบหน้าโครงการ (e-Monitoring)
  • การปฏิบัติหลังการได้รับการส่งเสริม
  • การยกเลิกบัตรส่งเสริม
  • เรื่องทั่วไป
  • การใช้สิทธิด้านที่ดิน
  • การใช้สิทธิด้านเครื่องจักร
  • การใช้สิทธิด้านช่างฝีมือ/ต่างด้าว
  • การใช้สิทธิด้านวัตถุดิบ
  • ประเภทกิจการ - การแพทย์
  • การใช้สิทธิด้านภาษีเงินได้นิติบุคคล
  • ประเภทกิจการ - รถยนต์ไฟฟ้า
  • ประเภทกิจการ - ศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศ (IBC) IPO และ TISO
  • ประเภทกิจการ - โรงแรม
  • ประเภทกิจการ - ผลิตผลิตภัณฑ์โลหะรวมทั้งชิ้นส่วนโลหะ
  • ประเภทกิจการ - กิิจการผลิิตเครื่่องจัักร อุุปกรณ์์และชิ้นส่่วน
  • ประเภทกิจการ - กิิจการศููนย์์กระจายสิินค้้าระหว่่าง ประเทศด้้วยระบบที่่ทัันสมััย (IDC)
ทางบริษัทได้ทำการตัดบัญชีวัตถุดิบในระบบ RMTS เดิมแล้วยอดติดลบเนื่องจากว่าตั้งแต่เดือน 10 เป็นต้นไปทางบริษัทได้ทำการ สั่งปล่อยวัตถุดิบในระบบ RMTS-2011 แต่นำยอดขายในเดือน 10 มาตัดบัญชีที่ระบบเดิม ซึ่งมี Stock เหลือน้อยอยู่แล้ว (ซึ่งความเป็นจริงแล้วต้องนำไปตัดใน RMTS-2011) อยากสอบถามว่าในกรณีนี้เราต้องทำอย่างไร

กรณีที่ยอดวัตถุดิบคงเหลือใน RMTS ติดลบ หากมีการ cut off เพื่อปิดระบบเดิม ระบบจะโอนค่าเป็น 0 (คือไม่โอนค่าติดลบ) ไปยัง RMTS-2011 ดังนั้น หากยอดติดลบใน RMTS เกิดจากการที่นำใบขนขาออก ที่ควรตัดบัญชีใน RMTS-2011 ไปตัดใน RMTS เก่า ก็ควรดำเนินการดังนี้

1. ยื่นยกเลิกการตัดบัญชีในงวดที่

2. ให้เก็บใบขนที่ยกเลิกตัดบัญชีแล้ว ไว้ก่อน เพื่อรอไว้ใช้ตัดบัญชีใน RMTS-2011

3. บันทึกสูตรใน RMTS-2011 ให้เรียบร้อย

4. ยื่นขอปิดระบบ RMTS และโอนย้ายยอดวัตถุดิบคงเหลือไปยัง RMTS-2011

5. นำใบขนตามข้อ 2 มายื่นตัดบัญชีใน RMTS-2011 ต่อไป

หลังจากส่งเอกสารแล้ว สามารถเข้าชี้แจงได้ในทันทีหรือไม่ หรือทางเราต้องรอไปอีก หากต้องรอ อาจใช้เวลากี่วัน

ในการกรอกคำขอรับส่งเสริม จะต้องระบุวันที่ประสงค์จะชี้แจงโครงการ (เผื่อไว้ 3 วันให้เลือก) และเมื่อ BOI ตรวจสอบและลงรับคำขอแล้ว บริษัทจะต้องติดต่อไปภายใน 10 วันเพื่อยืนยันวันนัดหมายกับ จนท หรือบางกรณี จนท อาจเป็นฝ่ายติดต่อกลับเพื่อยืนยันวันนัดหมาย

หากบริษัทฯ ยื่นขออนุมัติวิธีการทำลายและได้รับอนุมัติจากสำนักงานแล้ว third party เข้ามาตรวจสอบ และออกใบรับรองให้แล้ว คำถามคือ 1. หลังจากที่บริษัทฯ ได้รับใบรับรองจาก third party แล้ว จะต้องดำเนินการอย่างไรต่อไปค่ะ 2. บริษัทฯ ควรจะขายเครื่องจักรที่ขอทำลายในประเทศ หรือ ควรจะส่งออกไปทิ้งต่างประเทศ ( เครื่องจักรเกิน 5 ปีและตัดบัญชี 5 ปีแล้ว)

หลังจากที่ได้รับอนุมัติวิธีทำลาย และได้ให้ inspector มาตรวจสอบรับรองการทำลายแล้ว

1. ให้ยื่นเรื่องขออนุญาตตัดบัญชีเครื่องจักรต่อ BOI โดยแนบหลักฐานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำเนาหนังสืออนุมัติให้ทำลาย และหนังสือรับรองการทำลายจาก inspector

2. BOI จะอนุญาตให้ตัดบัญชีเครื่องจักรที่ชำรุดเสียหายและได้ทำลายตามขั้นตอนที่ได้รับอนุมัติ โดยไม่มีภาระภาษี

3. เครื่องจักรที่ทำลายและตัดบัญชีแล้ว สามารถจำหน่ายในประเทศได้ตามสภาพ (เศษเหล็ก) โดยไม่มีภาระภาษี

4. คำว่า "ตัดบัญชี" ในที่นี้ ไม่ได้เชื่อมโยงกับระบบ eMT ดังนั้น จำนวนเครื่องจักรที่ได้รับให้ตัดบัญชี จึงจะไม่ถูกหักลบจากปริมาณเครื่องจักรที่นำเข้าที่บันทึกในระบบ eMT เช่น บริษัทนำเข้าเครื่องจักรมา 3 เครื่อง ได้ทำลายและตัดบัญชีไปแล้ว 1 เครื่อง แต่ในระบบก็ยังแสดงปริมาณนำเข้าเป็น 3 เครื่องเช่นเดิม ดังนั้น หากบริษัทจะขอนำเข้ามาอีก 1 เครื่อง เพื่อทดแทนเครื่องเก่าที่ทำลายและจำหน่ายออกไป ก็ต้องขอแก้ไขปริมาณอนุมัติใน Master List จาก 3 เครื่อง เป็น 4 เครื่อง

เครื่องจักรที่บริษัทสอบถาม นำเข้าเกิน 5 ปี และได้ตัดบัญชีปลอดภาษีไปแล้ว ดังนั้น หากเครื่องจักรดังกล่าวชำรุดเสียหาย ก็สามารถขอจำหน่ายได้โดยไม่ต้องทำลาย และไม่ต้องเสียภาษี การทำลาย เป็นวิธีเพื่อทำให้เครื่องจักรหมดภาระภาษี แต่เมื่อเครื่องจักรดังกล่าวตัดบัญชีปลดภาระภาษีไปแล้ว ก็ไม่ต้องทำลายให้เสียค่าใช้จ่ายโดยไม่จำเป็น

ถ้าในกรณีที่จะทำลายแม่พิมพ์ที่ไม่ใช้แล้วที่ได้นำเข้ามาโดยใช้สิทธิ์ BOI จะต้องดำเนินการตามขั้นตอนเหมือนกับ "การทำลายส่วนสูญเสีย" หรือไม่ เนื่องจากแม่พิมพ์สามารถนำออกจำหน่ายได้

การทำลายเครื่องจักร ให้ดำเนินการตามประกาศ ที่ ป.3/2555 ดังนี้

1. ขออนุมัติวิธีทำลาย

2, ให้บริษัทเอกชนที่ได้รับอนุญาตจาก BOI เป็นตัวแทนปฏิบัติงานตรวจสอบการทำลาย เข้าร่วมตรวจสอบและรายงานผลการทำลาย

3. ส่งหลักฐานการทำลายให้ BOI เพื่อพิจารณาอนุมัติตัดบัญชีเครื่องจักรต่อไป

เครื่องจักรที่ทำลายตามขั้นตอนข้างต้น จะไม่มีภาระภาษี แม้ว่าหลังจากนั้นจะจำหน่ายเป็นเศษเหล็กก็ตาม

บริษัทได้มีบัตรส่งเสริมการลงทุนตั้งแต่ปี 2558 กิจการผลิตโซ่ส่งกำลัง ประเภท 4.10 กิจการผลิตชิ้นส่วนยานพาหนะ เพื่อผลิตโซ่รถมอเตอร์ไซค์ ขอสอบถามว่า ถ้าประมาณปีหน้าบริษัทมีแผนจะขยายธุรกิจ ผลิตโซ่อุตสาหกรรม ที่มีขนาดของโซ่ที่ใหญ่ขึ้น ทางบริษัทจะต้องดำเนินการ หรือจัดเตรียมเอกสารอะไร อย่างไร

สามารถทำได้ 2 วิธีคือ

  1. ยื่นคำขอรับการส่งเสริมแบบออนไลน์ https://boi-investment.boi.go.th/public/ หรือ คำขอรับส่งเสริมแบบเอกสาร ต่อ BOI โดยศึกษาวิธีกรอกคำขอได้จาก คู่มือการกรอกคำขอรับการส่งเสริมสำหรับกิจการทั่วไป โดยหลักเกณฑ์การพิจารณาและสิทธิประโยชน์ จะเป็นไปตาม ประกาศ กกท ที่ 2/2557 เรื่อง นโยบายและหลักเกณฑ์ส่งเสริมการลงทุน 

    กรณีนี้ เมื่อได้รับส่งเสริม จะได้บัตรส่งเสริมฉบับที่ 2 ซึ่งจะต้องแยกเครื่องจักร และบัญชีรายรับรายจ่าย ออกจากบัตรส่งเสริมฉบับที่ 1

  2. ยื่นคำขอแก้ไขโครงการเดิม ตาม แบบคำขออนุญาตแก้ไขโครงการ ต่อ BOI แต่กรณีนี้จะมีเงื่อนไขต่างๆ เช่น จะต้องลงทุนเครื่องจักรเพิ่มขึ้นไม่เกิน 30% ของโครงการแรก เป็นต้น

กรณีนี้ เมื่อได้รับอนุญาตแก้ไขโครงการ จะยังคงเป็นบัตรส่งเสริมฉบับเดิม แต่จะมีการแก้ไขเพิ่มชนิดผลิตภัณฑ์และ/หรือกำลังผลิต ในบัตรฉบับเดิม โดยผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ยื่นขอแก้ไขนี้ อาจได้รับสิทธิประโยชน์แตกต่างจากผลิตภัณฑ์เดิม ตามที่กำหนดในประเภทกิจการนั้นๆ

กรณีที่ Product Code ในข้อมูลของกรมศุลกากร ระบุไม่ตรงกับ Model ของบริษัท จะมีปัญหาในการตัดบัญชีหรือไม่

BOI ต้องการให้ผู้ส่งออกคีย์ model ในช่อง product code ในใบขน paperless เพื่อให้สามารถนำข้อมูลในช่อง product code มาเทียบกับ model ที่ได้รับอนุมัติได้โดยตรง แต่ปัจจุบัน บางบริษัทก็คีย์ บางบริษัทก็ไม่ได้คีย์ในช่องนี้ กรณีที่ไม่ได้คีย์ model ในช่อง product code แต่คีย์ใน desc1, desc2 หรือในอินวอยซ์ ก็ยังสามารถนำใบขนมาตัดบัญชีได้

1.หากบริษัท A,B และบริษัทใหม่ที่เกิดจากการควบรวมกิจการ ยื่นคำขอโอน / รับโอนกิจการที่ได้รับการส่งเสริม สิทธิประโยชน์ของบัตร A และ B ก็จะไม่สิ้นสุดลง และบริษัทใหม่ฯ จะไม่ต้องชำระภาษีอากรที่เหลืออยู่ของทั้ง A และ B เข้าใจถูกต้องหรือไม่ 2. กรณีที่บริษัท A และ B ควบรวมกิจการ > และใช้ชื่อบริษัทเดิมที่ควบเข้ากัน คือ A บริษัท A ต้องยื่น คำขอรับโอนกิจการ ที่ได้รับการส่งเสริม และบริษัท B ต้องยื่น คำขอโอนกิจการ ที่ได้รับการส่งเสริม ถูกต้องหรือไม่

1.หากบริษัท A, B และบริษัทใหม่ที่เกิดจากการควบรวม ยื่นคำขอโอน/รับโอนกิจการ เงื่อนไขและสิทธิประโยชน์เท่าที่เหลืออยู่ของ A และ B จะตกเป็นของบริษัทที่เกิดขึ้นใหม่ ดังนั้น หากสิทธิประโยชน์ของ A และ B ยังไม่สิ้นสุด ก็จะยังไม่เกิดภาระภาษีหลังควบรวมกิจการ

2.บริษัทที่เกิดขึ้นใหม่จากการควบรวมกิจการ จะเกิดเลขนิติบุคคลใหม่ ดังนั้น แม้จะใช้ชื่อเดิม ก็ถือเป็นคนละบริษัทกัน ทั้ง 3 บริษัท จึงต้องยื่นคำขอโอน/รับโอนกิจการ

กรณีที่ลูกค้าที่อยู่ใน EPZ Zone ส่งวัตถุดิบมาให้บริษัททำการผลิตสินค้าให้ เมื่อบริษัทผลิตสินค้าเสร็จแล้วทำการส่งออกไปในเขต EPZ Zone อันนี้เราไม่ต้องใช้สิทธิ BOI ได้ใช่ไหม เพราะยังไงก็เสีย 0% อยู่แล้วถึงแม้เราจะใช้แม่พิมพ์ที่เราใช้สิทธิ BOI นำเข้ามาเพราะลูกค้าแจ้งว่าจะ Support วัตถุดิบให้โดยที่ไม่เอาเศษซากกลับคืนด้วย ให้เราคิดราคาหักค่าเศษซากไปด้วยอันนี้เราสามารถทำได้ไหม สำหรับส่วนสูญเสียแบบนี้แล้วเราสามารถขายเป็น Scrap ปกติได้ไหม

แม้ว่าลูกค้าใน EPZ จะส่งวัตถุดิบมาว่าจ้างโรงงานในประเทศให้ผลิตและรับคืนกลับไปใน EPZ โดยไม่คิดราคาวัตถุดิบ แต่ก็ถือเป็นการนำเข้าวัตถุจากต่างประเทศ (EPZ) ซึ่งต้องชำระอากรขาเข้า ดังนั้น หากต้องการยกเว้นอากรขาเข้า ก็ต้องยื่นขอสั่งปล่อยโดยใช้สิทธิ BOI ส่วนสูญเสียที่เกิดขึ้นตามข้อ 1 เป็นภาระรับผิดชอบของโรงงานในประเทศที่ใช้สิทธิสั่งปล่อยวัตถุดิบ หากไม่จัดการตามข้อกำหนดเรื่องส่วนสูญเสียตามมาตรา 36 โรงงานในประเทศก็ต้องรับผิดชอบภาษีนั้น โดยจะไปชาร์จจากผู้ว่าจ้างเป็นค่าจัดการเศษซาก ก็แล้วแต่จะตกลงกันเอง

รายได้จากการขายเศษของเสียจากการผลิต ต้องนำมากรอกในรายละเอียดการผลิตหรือเปล่า เพราะเป็นรายได้ที่ขอใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล และเป็นรายได้ที่รวมยื่นใน ภ.ง.ด. 50 หากต้องกรอก จะกรอกอย่างไร เพราะเป็นเศษของเสียไม่สามารถนับรวมกับปริมาณที่ผลิตได้

รายได้จากการจำหน่ายเศษหรือของเสียจากกระบวนการผลิต เป็นรายได้จากผลพลอยได้ตามโครงการที่ได้รับส่งเสริม ซึ่งไม่นับรวมเป็นกำลังการผลิตของโครงการ และเป็นรายได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 31 ตาม ประกาศกรมสรรพากร เรื่อง การคำนวณกำไรสุทธิและขาดทุนสุทธิของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้รับการส่งเสริม ลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2530

การยื่นใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ให้ระบุเป็นรายได้อื่นๆ(/p>

กิจการได้รับบัตรส่งเสริม ENTERPRISE SOFTWARE และ DIGITAL CONTENT ประเภท 5.8 กิจการซอฟต์แวร์ -วันที่ในบัตร 18/10/2555 –วันที่เปิดดำเนินการ 8/2/2560 -วันที่เริ่มมีรายได้บีโอไอ 27/2/2556 คำถาม : วันที่ได้สิทธิ์ยกเว้นภาษีเงินได้ให้นับตั้งแต่วันที่เริ่มมีรายได้บีโอไอ 27/2/2556 เป็นวันแรกใช่หรือไหม (11 มิ.ย. 2563)

วันมีรายได้ครั้งแรกที่จะได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ คือวันที่เริ่มมีรายได้ครั้งแรกตามโครงการที่ได้รับส่งเสริม กรณีที่สอบถามคือ วันที่ 27/2/2556

แต่ทั้งนี้ ในการจะใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ บริษัทจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดในบัตรส่งเสริมด้วย เช่น หากในบัตรส่งเสริมกำหนดเงื่อนไข ต้องมีค่าใช้จ่ายเงินเดือนของบุคลากรด้านการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศไม่น้อยกว่า 1,500,000 บาทต่อปี หรือมีเงินลงทุนขั้นต่ำที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับกิจการไม่น้อยกว่า 1 ล้านบาท ก็ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขนั้นได้ก่อน จึงจะเริ่มใช้สิทธิยกเว้นภาษีได้

นอกจากนี้การจะใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ จะต้องยื่นคำร้องผ่านระบบการขอใช้สิทธิและประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (E-Tax) ของ BOI ด้วย

ปัจจุบันบริษัทนำเข้าชิ้นส่วนพลาสติกจากต่างประเทศ แต่ต่อมาต้องการว่าจ้างฉีดพลาสติกภายในประเทศ โดยให้ผู้รับจ้างนำเข้าแม่พิมพ์ และบริษัททยอยจ่ายค่าแม่พิมพ์นั้นเป็นงวดๆ สามารถทำได้หรือไม่

หากผู้รับจ้างเป็น BOI และนำเข้าแม่พิมพ์โดยใช้สิทธิยกเว้นภาษี ผู้ว่าจ้างจะจ่ายเงินค่าแม่พิมพ์เป็นงวดๆไม่ได้ เพราะเสมือนเป็นการนำแม่พิมพ์ที่นำเข้ามาโดยใช้สิทธิไปขาย และผู้รับจ้างจะมีรายได้เป็นค่าแม่พิมพ์ ซึ่งไม่เป็นไปตามที่ผู้รับจ้างได้รับการส่งเสริม

กรณีนี้สามารถทำได้ 2 วิธี คือ

1. ผู้ว่าจ้างนำค่าแม่พิมพ์มาบวกเข้าไปในค่ารับจ้างผลิตชิ้นส่วน หรือ

2. ผู้ว่าจ้างแก้ไขกรรมวิธีการผลิตเพิ่มขั้นตอนการนำแม่พิมพ์ไปว่าจ้างผลิตชิ้นส่วนให้ (กรณีนี้ผู้ว่าจ้างจะเป็นผู้นำเข้า และแม่พิมพ์เป็นทรัพย์สินของผู้ว่าจ้าง)

หากบริษัท A และ B ได้ควบกิจการรวมกันแล้ว จากเดิมที่บริษัท A มีขั้นตอนการผลิตอยู่ 2 ขั้นตอน คือ1. ขั้นตอนการสกรีน และ 2. ขั้นตอนการเคลือบสื่อ และบริษัท B มีขั้นตอนการผลิต 2 ขั้นตอนเช่นเดียวกัน อยากทราบว่าหากควบกิจการรวมกันแล้ว ภายในพื้นที่ของบริษัท A จะเหลือการผลิตขั้นตอนที่ 1 แค่ขั้นตอนเดียว และย้ายขั้นตอนที่ 2 ไปผลิตที่บริษัท B ได้หรือไม่

หากควบรวมกิจการ และโอน/รับโอนทุกบัตรแล้ว บัตรส่งเสริมทุกฉบับจะยังคงมีเงื่อนไขเช่นเดิมเช่น บัตร A1 ตั้งโรงงานที่ ชลบุรี มีขั้นตอนสกรีน และเคลือบ บัตร B1 ตั้งโรงงานที่ ระยอง มีขั้นตอนสกรีน และเคลือบ

หลังจากควบรวมเป็นบริษัท C จะมีบัตร C1(A1) และ C2(B1) ซึ่งบัตร C1 ต้องตั้งที่ชลบุรี บัตร C2 ต้องตั้งที่ระยอง การจะนำขั้นตอนสกรีนของบัตร C1 และ C2 ไปทำที่ชลบุรี และนำขั้นตอนเคลือบของบัตร C1 และ C2 ไปทำที่ระยอง ไม่น่าจะทำได้ เนื่องจากบัตร C1 และ C2 อาจมีเงื่อนไขแตกต่างกัน

กรณีนี้อาจจะต้องยื่นขอรวมโครงการ เพื่อรวมบัตร C1 และ C2 เป็นโครงการเดียว โดยจะมีขั้นตอนสกรีนที่ชลบุรี และขั้นตอนเคลือบที่ระยอง แต่สิทธิประโยชน์ที่ได้รับ อาจจะเปลี่ยนไปจากเดิมแนะนำให้ปรึกษากับ จนท BOI ที่ดูแลโครงการของบริษัทโดยตรง

ไฟล์ที่บันทึกการตัดบัญชีวัตถุดิบ ม.36 บันทึกได้มากกว่า 1 งวด หมายถึงอย่างไร 1 งวดคือต่อ 1 อินวอยซ์ ใช่หรือไม่ 2.ถ้ามี 3 อินวอยซ์ ก็สามารถบันทึกรวมกันได้ใช่หรือไม่

- การตัดบัญชี 1 งวด คือการยื่นตัดบัญชี 1 ครั้ง ซึ่งจะมีใบขนสินค้าขาออกหรือ Report-V ใบเดียว หรือหลายใบพร้อมกันก็ได้

- การตัดบัญชี 1 งวด ใช้ไฟล์ตัดบัญชีวัตถุดิบ 3 ไฟล์ คือ birtexl.xls, birtexp.xls และ birtven.xls (ถ้ามีการโอนสิทธิให้ vendor)

- การยื่นตัดบัญชี จะยื่นหลายงวดพร้อมกันใน flash drive ก็ได้ โดยระบบ rmts-2011 กำหนดให้ตั้งชื่อไฟล์เป็น birtexl_1.xls, birtexp_1.xls, birtven_1.xls และ birtexl_2.xls, birtexp_2.xls, birtven_2.xls .... ตามลำดับ

หากสิทธิประโยชน์ด้านภาษีของโครงการ BOI เดิมสิ้นสุดลง และบริษัทอยากจะลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรม BIOPLASTIC PACKAGING ไม่ทราบว่าจะขอรับการส่งเสริมการลงทุนใหม่ได้หรือไม่คะ

กิจการ Bioplastic Packaging เข้าข่ายประเภทกิจการ 6.2.2 กิจการผลิตผลิตภัณฑ์จากพอลิเมอร์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยมีเงื่อนไขต้องมีกระบวนการขึ้นรูปพลาสติกหรือพอลิเมอร์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

สิทธิประโยชน์ กลุ่ม A3

  • ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 5 ปี (กำหนดวงเงินภาษีที่ได้รับยกเว้น ตามมูลค่าเงินลงทุนไม่รวมค่าที่ดินและเงินทุนหมุนเวียน)
  • ยกเว้นภาษีนำเข้าเครื่องจักร
  • ยกเว้นภาษีนำเข้าวัตถุดิบสำหรับวัตถุดิบที่นำเข้ามาผลิตเพื่อส่งออก
  • สิทธิประโยชน์อื่น ๆ ที่ไม่ใช่ภาษีอากร (การอนุญาตให้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินตามโครงการที่ได้รับการส่งเสริมการอนุญาตนำเข้าช่างฝีมือต่างด้าว การอำนวยความสะดวกในการทำวีซ่าและใบอนุญาตทำงานแก่ช่างฝีมือต่างด้าว)

หลักเกณฑ์การอนุมัติโครงการ

  1. ต้องเป็นการลงทุนในเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ใหม่ (เครื่องจักร/อุปกรณ์ต้องซื้อหลังจากวันที่ยื่นคำขอรับการส่งเสริม)
  2. อัตราส่วนหนี้สินต่อทุนจดทะเบียน (หรือส่วนของผู้ถือหุ้น) ไม่เกิน 3 ต่อ 1
  3. มูลค่าเพิ่มของโครงการไม่น้อยกว่าร้อยละ 20
  4. เงินลงทุนขั้นต่ำ (ไม่รวมค่าที่ดินและเงินทุนหมุนเวียน) ไม่น้อยกว่า 1 ล้านบาท

สำหรับการยื่นคำขอรับการส่งเสริมโปรดกรอกแบบคำขอรับการส่งเสริมการลงทุนทั่วไป (F PA PP 01-07) และสามารถศึกษาการกรอกแบบคำขอได้ตามคู่มือการกรอกแบบคำขอฯ ตามลิงค์ : https://www.boi.go.th/upload/content/expla_app_89488.pdf

กรณียื่นคำขอออนไลน์ กรุณาลงทะเบียนตามลิงค์ : https://boi-investment.boi.go.th/public/

เครื่องจักรของบริษัทเกิน 5 ปี และเป็นเครื่องจักรที่ซื้อในประเทศ บางรายการนำเข้าแต่ไม่ได้ใช้สิทธิ์ แต่รายการดังกล่าว มีผลต่อกำลังการผลิตหากทำลาย ในกรณีนี้ต้องขออนุมัติจาก BOI หรือทำหนังสือแจ้งหรือไม่

เครื่องจักรที่ซื้อในประเทศ และเครื่องจักรที่นำเข้าจากต่างประเทศโดยชำระภาษีอากร ไม่อยู่ในขอบข่ายการควบคุมเรื่องอายุเครื่องจักร 5 ปี ตามประกาศ สกท ที่ ป.3/2548 ดังนั้น บริษัทจะขายหรือทำลายเครื่องจักรดังกล่าวเมื่อไรก็ได้ โดยไม่ต้องขออนุญาตจาก BOI แต่เนื่องจากในบัตรส่งเสริมกำหนดเงื่อนไขเฉพาะโครงการว่า บริษัทจะต้องดำเนินการตามสาระสำคัญที่ได้รับส่งเสริม คือ จะต้องมีกำลังผลิต ........ ปีละประมาณ ............ ชิ้น ดังนั้น หากบริษัทขายหรือทำลายเครื่องจักรดังกล่าว และทำให้ขนาดกิจการไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดในบัตรส่งเสริม บริษัทจะต้องแจ้ง BOI เพื่อขอลดขนาดกิจการด้วย

หากเครื่องจักรที่ใช้งานเสีย แล้วมีการเปลี่ยนอะไหล่ภายในเพื่อซ่อม ทำให้เครื่องจักรกลับใช้งานได้อีก ตัวอะไหล่ที่เปลี่ยนต้องแจ้ง BOI ไหม สามารถทำลายเลยโดยไม่แจ้งได้ไหม ยกตัวอย่าง นำเข้ารถยนต์ทั้งคัน ถ้าต้องเปลี่ยนน้ำมันเครื่องและไส้กรอกน้ำมันเครื่อง ต้องแจ้งไหม

เครื่องจักรและชิ้นส่วนเครื่องจักร ที่นำเข้ามาโดยยกเว้นอากรขาเข้า จะตัดภาระภาษีได้เมื่อมีอายุครบ 5 ปี นับจากวันนำเข้า หากเครื่องจักรหรืออะไหล่ชำรุดเสียหาย โดยยังมีอายุไม่ครบ 5 ปี สามารถขอส่งคืนไปต่างประเทศ บริจาค ทำลาย หรือขอชำระภาษีตามสภาพ จึงจะหมดภาระภาษี กรณีที่สอบถาม จะขออนุมัติทำลายก็ได้ โดยให้บริษัท Inspector ตรวจสอบรับรองการทำลาย แต่ปกติน่าจะใช้วิธีขอชำระภาษีตามสภาพ จากนั้นจึงจำหน่ายในประเทศ

การกรอกคำขอรับการส่งเสริมปรับปรุงประสิทธิภาพ Solar Rooftop 1. เรื่องการคำนวณ ปีฐานกับปีที่ประเมินผล / ปีที่ประเมินผล 1.1 กำหนดให้กรอกแค่ 1 ปี หลังจากติดตั้งเสร็จ หรือกรอกผลทั้งหมดที่ Solar cell ผลิตได้ (โดยประมาณจะมีอายุใช้งาน 30 ปี) หมายความว่า Ex.ติดตั้ง Solar roof เสร็จ สามารถผลิตไฟได้วันที่ 1 มกราคม 63 แสดงว่าจะต้องกรอกผลตั้งแต่ 1 มกราคม 63 – 1 มกราคม 64 หรือ 30 ปี?

การคำนวณ ปีฐานกับปีที่ประเมินผล

· กำหนดให้ปีก่อนปีที่ยื่นคำขอรับการส่งเสริมเป็นปีฐาน และคำนวณสัดส่วนเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาดำเนินการแล้ว 1 ปี โดยคำนวณที่ปริมาณการผลิตและ/หรือขนาดของกิจการสำหรับการบริการเดียวกับปีฐาน

· กำหนดให้ 1 ปี หลังการดำเนินการแล้วเสร็จเป็นปีที่ประเมินผล ดังนั้น กรณีที่บริษัทเริ่มผลิตไฟฟ้าวันที่ 1 มกราคม 2563 นั่นคือ ปีที่ประเมินผลจะเริ่มจากวันที่ 1 มกราคม 2563 – 1 มกราคม 2564

ทั้งนี้ ท่านสามารถศึกษารายละเอียดตัวชี้วัดจาก คำชี้แจงสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน เรื่องการขอรับการส่งเสริมการลงทุนเพื่อการประหยัดพลังงาน การใช้พลังงานทดแทน หรือการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ตามประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ที่ 9/2560 

ในกรณีที่ผู้ส่งออกทางอ้อมส่งวัตถุดิบให้กับลูกค้า(ผู้ส่งออกทางตรง) เป็น "ชิ้น" แต่ตอนที่ตัดบัญชีและจะส่งReport-Vกลับมาให้ใช้ "น้ำหนัก(กก.)" แทน สอบถามว่า "ผู้ส่งออกทางอ้อมต้องแก้ไขสูตรใหม่หรือไม่อย่างไร เพื่อที่จะตัดบัญชีและส่งReport-V ให้กับVendor โดยใช้หน่วยเดียวกันได้"

1. กรณีเป็นระบบ rmts เดิม

หากหน่วยของสินค้าที่ได้รับโอนสิทธิตัดบัญชีจากลูกค้า ไม่ตรงกับหน่วยของสินค้าที่บริษัทได้รับอนุมัติสูตรการผลิต บริษัทสามารถออกหนังสือรับรองตนเองได้ว่า สินค้าจำนวน X กิโลกรัม ตาม Report-V นั้น เท่ากับสินค้าของบริษัทจำนวน Y ชิ้น และขอตัดบัญชีตามจำนวน Y ชิ้น

2. กรณีเป็นระบบ rmts 2011 หน่วยของสินค้าที่ได้รับโอนสิทธิตัดบัญชีจากลูกค้า จะต้องตรงกับหน่วยที่บริษัทได้รับอนุมัติสูตรการผลิต ดังนั้น หากลูกค้าโอนสิทธิตัดบัญชีมาเป็น "กิโลกรัม" แต่บริษัทขออนุมัติสูตรไว้เป็น "ชิ้น" จะนำ Report-V มาตัดบัญชีไม่ได้

วิธีแก้ไขคือ บริษัทและลูกค้าต้องเจรจากัน เพื่อเปลี่ยนหน่วยของสินค้าให้ตรงกัน แต่หากต่างฝ่ายต่างมีข้อจำกัด ไม่สามารถแก้ไขให้ตรงกันได้ อาจต้องแจ้งเจ้าหน้าที่บีโอไอเพื่อขอให้ช่วยหาทางออกให้

ในกรณีที่บริษัทดำเนินการทำเรื่องขอรับการส่งเสริมไว้กับสำนักงานฯ ซึ่งขณะนี้เรื่องฯ อยู่ในขั้นตอนการพิจารณาจากเจ้าหน้าที่ และตอนนี้ผู้บริหารของบริษัท มีแผนที่จะควบกิจการกับบริษัทๆ หนึ่ง ซึ่งผลิตผลิตภัณฑ์ชนิดเดียวกัน บริษัทฯ อยากทราบว่าหลังจากเรื่องขอรับการส่งเสริม ของบริษัทฯ ได้รับอนุมัติและได้รับบัตรส่งเสริมเรียบร้อยแล้ว แค่ขั้นตอนการควบกิจการจะทำหลังจากนั้น บริษัทฯ จะสามารถรับโอนเครื่องจักรจากบริษัทที่โอนให้มาเข้า โครงการที่ได้รับอนุมัติไว้แล้วได้หรือไม่

ไม่น่าจะทำได้ เนื่องจากการรับโอนเครื่องจักรที่เคยใช้ผลิตและก่อให้เกิดรายได้แล้วจากบัตรหนึ่ง ไปอีกบัตรหนึ่ง เป็นลักษณะของการสวมสิทธิ์

ในกรณีที่บริษัทเป็นผู้นำเข้าแม่พิมพ์โดยใช้สิทธิยกเว้นภาษี นำแม่พิมพ์มาผลิตสินค้าส่งขายให้กับลูกค้าบริษัท A (มี BOI) และลูกค้าก็ทำการจ่ายค่าแม่พิมพ์ให้กับบริษัททั้งหมด โดยที่บริษัทถือเสมือนว่าแม่พิมพ์นี้เป็นทรัพย์สินของลูกค้า บริษัทจะต้องทำเรื่องโอน/จำหน่ายแม่พิมพ์นี้ให้กับลูกค้าบริษัท A ถูกต้องหรือเปล่า

ถ้าบริษัทนำเข้าแม่พิมพ์โดยใช้สิทธิ BOI เพื่อรับจ้างผลิตชิ้นส่วนให้ลูกค้า แต่ต่อมาลูกค้าจ่ายเงินค่าแม่พิมพ์ให้กับบริษัททั้งหมด ก็เท่ากับว่าบริษัทนำแม่พิมพ์ที่ใช้สิทธิ์ BOI ไปจำหน่าย กรรมสิทธิ์เปลี่ยนมือจาก "บริษัทผู้ได้รับส่งเสริม" ไปยัง "ลูกค้า" ซึ่งผิดเงื่อนไขในการใช้สิทธิ์ กรณีที่ต้องการดำเนินการเช่นนี้ บริษัทจะต้องยื่นขออนุญาตโอนแม่พิมพ์ให้กับลูกค้า โดยลูกค้า (BOI) ต้องมีระยะเวลานำเข้าเครื่องจักรเหลืออยู่ด้วย ซึ่งเมื่อโอนเสร็จแล้ว ลูกค้าจึงยื่นขออนุญาตนำแม่พิมพ์มาว่าจ้างให้บริษัทผลิตชิ้นงานอีกทอดหนึ่ง

ขออภัยครับ ไม่มีข้อมูลส่วนนี้ ในภาษาที่ท่านเลือก !

Sorry, There is no information support your selected language !

Download และ ติดตั้งโปรแกรมอ่าน PDF

Download PDF Reader

Site map