ค่าติดตั้งหรือก่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวก ปกติจะสามารถหักค่าเสื่อมราคาได้ เช่น 20 ปี ปีละ 5% หากได้รับ ม 35(3) ก็จะสามารถนำวงเงิน 25% ของค่าติดตั้งหรือก่อสร้างดังกล่าว ไปหักออกจากกำไรสุทธิของปีใดปีหนึ่ง หรือหลายปีก็ได้ แต่ต้องไม่เกิน 10 ปี นับจากวันที่เริ่มมีรายได้ จึงทำให้มีกำไรสุทธิที่พึงเสียภาษี น้อยลงกว่าปกติ จะได้เสียภาษีน้อยลง -> เป็นมาตรการช่วยเหลือทางภาษีอีกวิธีหนึ่ง
ในอดีต กิจการที่จะได้รับสิทธิตาม ม.35(3) จะเป็นกิจการในเขต 3 ซึ่งจะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ 8 ปีดังนั้น ม.35(3) จึงจะใช้ประโยชน์จริงๆได้ในปีที่ 9 และ 10 เท่านั้น แต่ปัจจุบัน เนื่องจากมีการกำหนดวงเงินสูงสุดในการยกเว้นภาษีเงินได้ (cap วงเงิน) จึงสามารถใช้ ม.35(3) ได้เร็วขึ้น โดยจะใช้สิทธิ ม.35(3) ตั้งแต่ปีต้นๆ ควบคู่ไปกับการใช้สิทธิ ม.31 ก็ได้
หลังจากได้รับอนุมัติตำแหน่ง บริษัทจะยื่นบรรจุช่างฝีมือเมื่อใดก็ได้ แต่ระยะเวลาวีซ่าของช่างฝีมือที่จะบรรจุ จะต้องเหลือไม่น้อยกว่า 7 วัน และเมื่อได้รับอนุมัติบรรจุ จะต้องไปดำเนินการทำใบอนุญาตงานและต่อวีซ่าก่อนที่ระยะเวลาวีซ่าเดิมจะสิ้นสุด
ถูกต้อง หากรอบปีบัญชีคือ พ.ค. 56 - เม.ย. 57 การรายงานผลการดำเนินงาน (ตส.310) ก็คือภายใน 31 ก.ค. 58
เอกสารสำหรับการขอรับการส่งเสริม ประกอบด้วยรายการดังต่อไปนี้ https://www.boi.go.th/index.php?page=before_promo_apply_form
บริษัทควรตรวจสอบกับ BOI ว่าเหตุใดจึงแจ้งระงับการใช้สิทธิมาตรา 36(1) ไปยัง IC แอดมินคาดว่า โครงการของบริษัทอาจไม่ได้รับสิทธิมาตรา 36 ตั้งแต่ต้น หรือสิทธิอาจจะขาดไปแล้ว และนโยบายส่งเสริมการลงทุนเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต ก็ไม่ได้ให้สิทธิมาตรา 36 เพิ่มเติม แต่อาจมีการระบุสิทธิผิดพลาดไปหรือไม่? กรณีที่บริษัทไม่ได้รับสิทธิมาตรา 36 หรือสิทธิขาดไปแล้ว สามารถยื่นขอรับสิทธิมาตรา 36 เพิ่มเติมได้
กรณีที่ BOI อนุมัติให้ชำระภาษีตามสภาพ กรมศุลกากรจะคำนวณจากราคาสินค้าตามสภาพ x อัตราอากร ณ วันที่อนุมัติ
1. พิกัดอัตราศุลกากร ตรวจสอบได้จาก เว็บข้อมูลอากร กรมศุลกากร
2. เครื่องจักรที่นำเข้ามายังไม่ครบ 5 ปี หากปฏิบัติเงื่อนไขถูกต้องตามที่ได้รับส่งเสริม จะได้รับอนุญาตให้จำหน่ายโดยชำระภาษีตามสภาพ
กรณีรวมสต็อควัตถุดิบ (แต่ไม่ได้รวมบัตรส่งเสริม) เมื่อจะขยายระยะเวลานำเข้า ให้เตรียมคำร้องแยกตามบัตรส่งเสริม โดยแต่ละคำร้องให้แนบเอกสารตามที่กำหนดให้ครบถ้วน เช่น MML report เป็นต้น แต่ตอนที่ยื่นคำร้องให้ยื่นเข้าไปพร้อมกัน เพื่อจะได้พิจารณาไปในคราวเดียวกัน
ความหมายของ BOI เงินลงทุน คือ จำนวนเงินทั้งหมดที่ใช้ไปเพื่อดำเนินการโครงการนั้น เช่น ค่าที่ดิน ค่าก่อสร้าง ค่าเครื่องจักร ค่าสินทรัพย์ต่างๆ และเงินทุนหมุนเวียน เป็นต้น
เงินลงทุนนี้ มีที่มาหลักๆ คือ 1) เงินของเราเอง คือเงินทุนจดทะเบียนที่เรียกชำระ และ 2) เงินของคนอื่น คือ เงินกู้ ในการขอรับการส่งเสริมทั่วไป BOI จะกำหนดเงื่อนไขว่า ต้องใช้เงินของเราเองไม่น้อยกว่า 1 ส่วน และกู้ไม่เกิน 3 ส่วน (คือมีอัตราส่วนหนี้สินต่อทุนจดทะเบียนไม่เกิน 3:1)
ยกตัวอย่าง บริษัทจะยื่นโครงการใหม่เข้าไป โดยมีขนาดการลงทุนประมาณ 2 ล้านบาท บีโอไอก็เลยกำหนดเงื่อนไขว่า ต้องเพิ่มทุนจดทะเบียนและเรียกชำระไม่น้อยกว่า 0.5 ล้านบาท (ส่วนที่เหลือ 1.5 ล้าน ใช้เงินกู้ก็ได้) ส่วนเงื่อนไข "ขนาดการลงทุน (ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน) ไม่น้อยกว่า 1 ล้านบาท" นั้น เป็นเงื่อนไขพื้นฐาน ซึ่งกำหนดเหมือนกันทุกโครงการ (ยกเว้นโครงการ SME) คือไม่ว่าจะยื่นโครงการขอรับส่งเสริมที่มีขนาดการลงทุน 2 ล้านบาท หรือ 200 ล้านบาท หรือ 2,000 ล้านบาท บีโอไอก็จะกำหนดเงื่อนไขเหมือนกันว่า "ต้องมีขนาดการลงทุน (ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน) ไม่น้อยกว่า 1 ล้านบาท"
ขนาดการลงทุนไม่น้อยกว่า 1 ล้านบาทนี้ มีวิธีนับแตกต่างกัน ระหว่างโครงการริเริ่ม กับโครงการขยาย จึงต้องศึกษาทำความเข้าใจให้ถูกต้องด้วย
ใช้ชื่อเรื่องว่า การรับทราบเงื่อนไขสิทธิประโยชน์ตามมาตรา 28 เนื้อความในหนังสือให้ระบุเหตุผลที่ต้องการขยายเวลาเปิดดำเนินการเพียงอย่างเดียว และมีข้อความว่า บริษัทรับทราบเงื่อนไขสิทธิประโยชน์การยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักรตามมาตรา 28 ว่า หากบริษัทยื่นขอขยายเวลาเปิดดำเนินการเพียงอย่างเดียว บริษัทจะไม่สามารถยื่นขอขยายระยะเวลานำเข้าเครื่องจักรตามมาตรา 28 ได้อีก ส่วนเนื้อความที่เหลือ เขียนเพิ่มเติมเองได้ให้หนังสือสมบูรณ์
1) เงื่อนไขในบัตรส่งเสริม กำหนดให้ต้องยื่นรายงานผลการดำเนินงาน (ตส.310) หลังจากที่เปิดดำเนินการครบตามโครงการแต่เมื่อประมาณปีทีแล้ว BOI ได้ขอให้ผู้ได้รับส่งเสริมทุกราย ที่เริ่มมีรายได้แล้ว ยื่นรายงานผลการดำเนินงานด้วย แม้จะยังไม่เปิดดำเนินการครบตามโครงการก็ตาม
2) หากรอบบัญชีคือ ต.ค. 56 - ก.ย. 57 จะต้องยื่นรายงาน ตส.310 ภายในวันที่ 31 ก.ค. 58 ถูกต้อง
ช่างต่างด้าวจะขอนำเข้ามาทำงานในประเทศโดยใช้สิทธิ BOI ต้องเป็นช่างฝีมือหรือผู้ชำนาญการที่เข้ามาเพื่อกำกับดูแลกิจการของบริษัท หรือเพื่อถ่ายทอดความรู้ให้กับคนไทย ไม่ใช่เข้ามาเพื่อปฏิบัติงานในตำแหน่งที่คนไทยสามารถทำงานแทนได้ กรณีตำแหน่งทั่วไป ปกติจะเป็นตำแหน่งระดับหัวหน้างานหรือผู้เชี่ยวชาญ ที่จะมาถ่ายทอดความรู้ให้กับคนไทย ดังนั้น จึงต้องมีวุฒิการศึกษาตรงกับตำแหน่งงานนั้นๆ และมีประสบการณ์ทำงานที่ตรงกับตำแหน่งนั้นๆ ไม่น้อยกว่า 2 ปี แต่หากมีวุฒิการศึกษาไม่ตรงกับตำแหน่ง จะต้องมีประสบการณ์ทำงานที่ตรงกับตำแหน่งนั้นๆ ไม่น้อยกว่า 5 ปี
การใช้สิทธิมาตรา 35 สามารถใช้ได้ 2 วิธี แล้วแต่ว่ากรณีใดสิ้นสุดก่อนกัน คือ
ใช้สิทธิมาตรา 31 ครบตามระยะเวลา 8 ปี
ใช้สิทธิมาตรา 31 ครบตามวงเงิน นอกจากนี้ การเริ่มใช้สิทธิมาตรา 35 จะเริ่มใช้ก่อนวันสิ้นสุดมาตรา 31 ก็ได้ เช่น มาตรา 31 ครบในวันที่ 4 มกราคม แต่เพื่อความสะดวก บริษัทจะใช้สิทธิมาตรา 35 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ก็ได้ (คือสละสิทธิการใช้สิทธิมาตรา 31 ของวันที่ 1-4 ไป)
มีข้อควรระวังคือ หากบริษัทใช้สิทธิมาตรา 31 ครบในปีที่ 4 เป็นไปได้ว่าบริษัทยังไม่ได้ยื่นเปิดดำเนินการครบตามโครงการ ดังนั้น วงเงินการยกเว้นภาษีเงินได้ตามมาตรา 31 ก็อาจเปลี่ยนแปลงได้ ขึ้นกับผลการตรวจสอบในวันเปิดดำเนินการครบตามโครงการ จึงจะทำให้การยื่นใช้สิทธิในรอบปีนั้น และก่อนหรือหลังจากนั้นผิดพลาดไปด้วย
คำแนะนำคือ ควรยื่นเปิดดำเนินการเต็มโครงการ เพื่อให้มีการตรวจสอบขนาดการลงทุนและวงเงินที่จะได้รับยกเว้นภาษี เพื่อที่จะคำนวณได้ว่าสิทธิตามมาตรา 31 จะสิ้นสุดลงเมื่อไร แต่หากบริษัทเห็นว่า ยังขอเปิดดำเนินการเต็มโครงการไม่ได้ เพราะยังจะมีเครื่องจักรเข้ามาอีก ก็แสดงว่าวงเงินที่จะใช้สิทธิตามมาตรา 31 ยังไม่เป็นที่ยุติ จึงไม่ควรเริ่มใช้สิทธิมาตรา 35 เพราะจะทำให้มีปัญหาที่ต้องแก้ไขในภายหลัง เช่น ยื่นภาษีขาด เป็นต้น
การกำหนดวงเงินยกเว้นภาษีที่ระบุในบัตรส่งเสริม จะหมายถึง เฉพาะวงเงินที่จะใช้สิทธิตามมาตรา 31 วรรคหนึ่งเท่านั้น ส่วนมาตรา 35(1) จะไม่มีกำหนดวงเงินสูงสุด ดังนั้น แม้ว่าบริษัทใช้สิทธิยกเว้นภาษีตามมาตรา 31 ครบตามวงเงินแล้ว ก็ยังสามารถใช้สิทธิการลดหย่อนภาษีตามมาตรา 35(1) ต่อจากนั้นได้อีก 5 ปี
- ยื่นแจ้งพ้นตำแหน่งของช่างฝีมือคนเก่า
- ยื่นบรรจุช่างฝีมือคนใหม่
- ติดต่อ ตม. และแรงงาน เพื่อยกเลิกวีซ่าและใบอนุญาตทำงานของช่างฝีมือคนเก่า
- ติดต่อ ตม. และแรงงาน เพื่อขยายเวลาวีซ่าและทำใบอนุญาตทำงานของช่างฝีมือคนใหม่
2.ใช้เอกสารอะไรบ้าง
1) การแจ้งพ้นตำแหน่งไม่ต้องใช้เอกสาร
2) การยื่นบรรจุ
- ไฟล์รูปถ่าย
- สำเนาหนังสือเดินทาง
- สำเนาใบรับรองการศึกษา
- สำเนาใบรับรองการทำงาน
- สำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (บอจ.5) (ไม่เกิน 6 เดือน)
3.ระยะเวลาเตรียมการก่อนเข้ามาทำงานจริง
- ช่างฝีมือต้องเดินทางเข้ามาแล้ว จึงจะยื่นขอบรรจุได้
- การพิจารณาอนุมัติบรรจุใช้เวลาไม่เกิน 3 วันทำการ
- เมื่อได้รับอนุมัติบรรจุแล้ว จะต้องพาช่างฝีมือไปทำใบอนุญาตทำงาน และต่อวีซ่าภายใน 15 วัน
กรณีที่บัตรส่งเสริมกำหนดกำลังผลิตสูงสุดเป็น "น้ำหนัก" ย่อมหมายถึง น้ำหนักของผลิตภัณฑ์ โดยไม่ได้รวมถึงน้ำหนักของ runner ดังนั้น การคำนวณกำลังผลิตของเครื่องฉีดพลาสติก จึงควรคำนวณจากน้ำหนักของชิ้นงาน โดยไม่รวมน้ำหนัก runner ได้