การปรับเปลี่ยนเครื่องจักรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ตาม ประกาศ กกท.9/2560 ข้อ 3 และตามคำชี้แจง สกท ลงวันที่ 28 กันยายน 2561 ข้อ 1.4 ไม่มีข้อกำหนดว่าจะต้องเป็นการปรับเปลี่ยนในขั้นตอนการผลิตหลักเท่านั้น
ดังนั้น หากจะปรับเปลี่ยนเฉพาะในขั้นตอนบรรจุ ก็อยู่ในข่ายที่จะยื่นขอรับส่งเสริมได้ แต่รายละเอียดและสาระในการปรับปรุงจะเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดหรือไม่ จะต้องให้บีโอไอเป็นผู้พิจารณา
เปลี่ยนได้โดยจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของ IBC
ควรยื่นขอรับการส่งเสริมในกิจการ IBC เพิ่มเติม เนื่องจากกรณีเปลี่ยนประเภทกิจการจาก ITC เป็นกิจการ IBC จะไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร (ม.28) และไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ยกเว้นอากรขาเข้าวัตถุดิบเพื่อการส่งออก (ม.36)
เพื่อความเข้าใจที่ตรงกัน ขอเรียบเรียงข้อเท็จจริงที่ได้แจ้งมาดังนี้ หากมีความเข้าใจไม่ตรงกันอย่างไรโปรดแจ้ง
1. บริษัทมี 2 ที่ตั้ง คือ ที่จังหวัดสมุทรปราการ และนครราชสีมา
2. โครงการที่จังหวัดนครราชสีมาได้รับการส่งเสริม (BOI) มาก่อน
3. ภายหลังโครงการที่จังหวัดสมุทรปราการ ได้รับส่งเสริมตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพ Solar
4. ทั้งสองโครงการเป็นสายการผลิตแยกกันเด็ดขาด และมีการทำบัญชีกำไรขาดทุนแยกกันโดยชัดเจน
หากข้อมูลดังกล่าวถูกต้องขอนำเรียนดังนี้
1. BOI ให้การส่งเสริมแยกเป็นรายโครงการ ดังนั้นโครงการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต Solar Rooftop ของโรงงานสมุทรปราการจะสามารถใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล (ม.31) ได้เฉพาะสำหรับกำไรที่เกิดขึ้นในโครงการที่ได้รับส่งเสริมในโรงงานสมุทรปราการเท่านั้น ไม่สามารถนำไปใช้กับกำไรจากโครงการอื่นของบริษัทได้
2. การพิจารณาว่ากำไรส่วนใดเป็นกำไรจากสายการผลิตใดที่ได้รับส่งเสริม ให้ดูจากแบบฟอร์มคำขอที่ได้ยื่นกับสำนักงาน ซึ่งจะระบุชื่อผลิตภัณฑ์และกำลังการผลิตที่ได้รับส่งเสริม ในหัวข้อเงื่อนไขเฉพาะโครงการในบัตรส่งเสริมตามาตรการ Solar ของโครงการสมุทรปราการ
3. โครงการเดิมที่ได้รับส่งเสริมที่จังหวัดนครราชสีมา น่าจะได้รับส่งเสริมตามมาตรการทั่วไป ไม่สามารถนำมาปะปนกับโครงการที่จังหวัดสมุทรปราการได้
4. การบันทึกสินทรัพย์ส่วน Solar ให้อยู่กับโครงการสมุทรปราการน่าจะถูกต้องแล้ว ค่าเสื่อม สิทธิยกเว้นภาษี บัญชีกำไรขาดทุนที่แยกกันระหว่าง 2 โครงการน่าจะถูกต้องตามหลักการแล้ว
กรณีการขายสินค้าในบริษัทเดียวกัน เช่น บัตรที่ 1 ผลิตชิ้นส่วนพลาสติก ขายให้บัตรที่ 2 ผลิตเป็นสินค้าสำเร็จรูป เท่าที่ทราบคือ การซื้อขายในบริษัทเดียวกัน จะต้องลงบัญชีเป็นการซื้อขายในราคาต้นทุน คือบัตรที่ 1 จะต้องขายในราคาต้นทุนให้กับบัตรที่ 2 ดังนั้น บัตรที่ 1 จึงจะไม่มีกำไรที่จะใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลในส่วนนี้
ส่วนบัตรที่ 2 เป็นการจำหน่ายสินค้าให้กับบริษัทอื่น จึงสามารถใช้สิทธิได้ตามปกติ (ส่งผลให้กำไรในส่วนที่ควรเป็นของบัตรที่ 1 ถูกรวมเป็นกำไรของบัตรที่ 2 เนื่องจากซื่อขายกันในราคาต้นทุน)
เนื่องจากข้อสอบถาม ไม่ได้เป็นข้อกฎหมายของ BOI จึงขอให้ตรวจสอบข้อมูลกับผู้เชี่ยวชาญโดยตรง เช่น ผู้สอบบัญชี หรือกรมสรรพากร อีกครั้งหนึ่ง
- ต้องรายงานผลการดำเนินการเมื่อครบกำหนด 6 เดือน 1 ปี และ 2 ปี นับจากวันที่ออกบัตรส่งเสริม
- ยื่นรายงานออนไลน์ผ่านระบบ Project Monitoring (https://boieservice.boi.go.th/PM/)
- ใช้ username และ password เดียวกันกับระบบตรวจสอบเอกสารออนไลน์ (doctracking system) 2. หลักเกณฑ์ใหม่ (มีผลตั้งแต่เดือน ก.ค. 2561)
- ต้องรายงานผลการดำเนินการทุกเดือนกุมภาพันธ์และเดือนกรกฎาคม ของทุกปี จนกว่าจะได้รับใบอนุญาตเปิดดำเนินการ
- ยื่นรายงานออนไลน์ผ่านระบบ e-Monitoring (https://emonitoring.boi.go.th/)
- ใช้ username และ password เดียวกันกับระบบตรวจสอบเอกสารออนไลน์ (doctracking system) กรณีของบริษัทฯ จะครบกำหนด 6 เดือนในเดือนมีนาคม 61
- จึงต้องรายงานความคืบหน้าในเดือนมีนาคม 61 ตามหลักเกณฑ์ปัจจุบัน
- หลังจากนั้น จะต้องรายงานความคืบหน้าในเดือนกรกฎาคมและกุมภาพันธ์ ของทุกปี เริ่มตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 61 นี้ ไปจนกว่าจะได้รับใบอนุญาตเปิดดำเนินการ
การขออนุญาตเปิดดำเนินการต่อ BOI เป็นการแจ้งต่อ BOI ว่า บริษัทได้มีการลงทุนครบตามโครงการที่ยื่นขอรับส่งเสริม สามารถผลิตสินค้าหรือให้บริการให้ครบตามกำลังผลิตหรือขอบข่ายการให้บริการ ที่ระบุในบัตรส่งเสริม และมีขนาดการลงทุน เงินทุนจดทะเบียน ที่ตั้งโรงงาน ฯลฯ ถูกต้องตามเงื่อนไขที่ระบุในบัตรส่งเสริม โดยปกติ BOI จะกำหนดระยะเวลาที่จะต้องเปิดดำเนินการ คือภายใน 3 ปี นับจากวันที่ออกบัตรส่งเสริม กรณีที่บริษัทยังลงทุนไม่ครบตามโครงการที่ยื่นขอรับส่งเสริม เช่น ยังนำเครื่องจักรเข้ามาไม่เต็มกำลังผลิต บริษัทสามารถเริ่มผลิตไปก่อนได้ โดยไม่ต้องยื่นขอเปิดดำเนินการต่อ BOI จนกระทั่งลงทุนครบตามโครงการที่ขอรับส่งเสริมแล้ว จึงค่อยยื่นขอเปิดดำเนินการต่อ BOI
ตอบคำถาม
1. ยื่นเป็นเอกสารตามแบบฟอร์มที่กำหนด โดยต้องจัดเตรียมเอกสารแนบเพิ่มเติมอีกประมาณ 10 รายการ
2. ถ้างบการเงินยังไม่เสร็จ น่าจะยังไม่ใช่กรณีที่ครบเงื่อนไขต้องยื่นขอเปิดดำเนินการต่อ BOI
การขออนุญาตใช้เครื่องจักรเก่าไม่เกิน 5 ปี (หรือ 10 ปี ตามหลักเกณฑ์เก่า) จะขออนุญาตเป็นหลักการเพียงครั้งเดียว หากได้รับอนุมัติให้ใช้เครื่องจักรเก่า ในหนังสือแจ้งมติและบัตรส่งเสริมจะระบุเฉพาะปีที่ผลิตของเครื่องจักรเก่า โดยไม่ระบุชนิดและประมาณเครื่องจักรเก่า ดังนั้น หากจะใช้เครื่องจักรเก่าเครื่องอื่นซึ่งเก่าไม่เกินเงื่อนไขที่กำหนดในหนังสือแจ้งมติและบัตรส่งเสริม ก็ไม่ต้องยื่นขออนุญาตอีก ลองตรวจสอบเงื่อนไขเครื่องจักรเก่าในหนังสือแจ้งมติและบัตรส่งเสริมดูอีกครั้ง ว่ากำหนดเฉพาะปีผลิตตามที่ได้ตอบไปนี้หรือไม่
การรายงานความคืบหน้าโครงการ หลังจากที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน บริษัทจะต้องรายงานผลความคืบหน้าโครงการตามบัตรส่งเสริม โดยการกรอกข้อมูลลงในระบบ e-monitoring ภายในเดือนกุมภาพันธ์ และเดือนกรกฎาคม ปีละ 2 ครั้งของทุกปี
จนกว่าจะได้รับใบอนุญาตเปิดดำเนินการ ตามลิงก์: https://emonitoring.boi.go.th โดยสำหรับรอบ ก.พ. ต้องกรอกมูลค่าเงินลงทุนของปีที่ผ่านมา โดยยึดมูลค่าลงทุนที่เกิดขึ้นตามปีปฏิทิน ม.ค. - ธ.ค. (ไม่เกี่ยวกับรอบปีบัญชี) ส่วนการรายงานผลการดำเนินการประจำปี
บริษัทสามารถกรอกข้อมูลลงในระบบ e-monitoring ซึ่งต้องมีการรายงานปีละ 1 ครั้ง ภายในเดือนกรกฎาคมของทุกปี ตามลิงก์: https://emonitoring.boi.go.th โดยการรายงานผลการดำเนินการประจำปี นั้น ต้องกรอกข้อมูลรอบปีบัญชีที่ผ่านมา โดยสรุปดังนี้
- รายงานประจำปี 2562 ต้องกรอกข้อมูลปีบัญชี 2561 (1 ม.ค. 61 – 31 ธ.ค. 61)
- รายงานประจำปี 2563 (ก.ค. ปีหน้า) ต้องกรอกข้อมูลปีบัญชี 2562 (1 ก.ค. 62 – 30 มิ.ย. 63)
- รายงานประจำปี 2564 ต้องกรอกข้อมูลปีบัญชี 2563 (1 ก.ค. 63 – 30 มิ.ย. 64)
หมายเหตุ: ช่วงเปลี่ยนรอบปีบัญชี (1 ม.ค. 62 – 30 มิ.ย. 62) ไม่จำเป็นต้องแก้ไขข้อมูลเพียงแต่ดำเนินการตามระยะเวลาที่สำนักงานกำหนด
กรณีได้รับอนุมัติขยายเวลาเปิ
1. สำเนาหนังสืออนุมัติขยายเวลาเปิ
2. บัตรส่งเสริม (ฉบับจริง)
ยื่นเอกสารได้ที่ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริ
1. การยื่นขอรับการส่งเสริม ให้ยื่นผ่านคำขอออนไลน์ผ่านระบบ e-Investment Promotion
- เอกสารที่จะต้องแนบ เช่น งบการเงิน หรือเอกสารตามที่กำหนดของแต่ละประเภทกิจการ
- ข้อมูลที่ต้องเตรียม เช่น แผนการเงิน แผนการลงทุน แผนการผลิต ขั้นตอนการผลิต การคำนวณต้นทุนการผลิต กำไร/ขาดทุน เป็นต้น หรือ อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.boi.go.th/index.php?page=before_promo_apply_form
2. ในการขอใช้สิทธิสั่งปล่อยคืนอากรต่อ BOI จะได้รับอนุมัติให้สั่งปล่อยคืนอากรเฉพาะเอากรขาเข้าเท่านั้น ส่วน vat เข้าสู่ระบบ vat ซื้อ vat ขาย ตามปกติไปแล้ว จึงจะไม่ได้รับคืนจากการใช้สิทธิ BOI
การอนุมัติสั่งปล่อยของ BOI เป็นการอนุมัติยกเว้นเฉพาะอากรขาเข้าวัตถุดิบตามมาตรา 36 เท่านั้น ส่วนการใช้หนังสืออนุมัติของ BOI ในการค้ำและถอนค้ำ VAT เป็นไปตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 20) วันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2534 หากบริษัทจะไม่ใช้หนังสือ BOI ในการค้ำ/ถอนค้ำ VAT จะต้องสอบถามกับกรมศุลกากรโดยตรง
การยื่นงบการเงินประกอบคำขอรับการส่งเสริม ปกติจะใช้งบการเงินปีล่าสุดที่ผู้สอบบัญชีรับรองแล้ว แต่ถ้าต้องการส่งล่าสุดที่ยังไม่ได้รับรอง เพื่อเป็นข้อมูล ก็สามารถยื่นเพิ่มเติมไปได้ แต่ก็ต้องส่งงบปีล่าสุดที่รับรองแล้วไปด้วย
การดำเนินการตามมาตรฐาน ISO หรือมาตรฐานสากลอื่นที่เทียบเท่
กิจการสิ่งพิมพ์ ให้ใช้มาตรฐาน OHSAS 18001 และ FSSC 22000 เทียบเท่ามาตรฐาน ISO 9000 และ 14000 ได้
กรณียังไม่เปิดดำเนินการ บริษัทจะต้องรายงานผลความคืบหน้าโครงการตามบัตรส่งเสริม โดยการกรอกข้อมูลลงในระบบ e-monitoring ภายในเดือนกุมภาพันธ์ และเดือนกรกฎาคม ปีละ 2 ครั้งจนกว่าจะได้รับอนุญาตเปิดดำเนินการ
กรณีเปิดดำเนินการแล้ว บริษัทต้องดำเนินการรายงานผลการดำเนินการประจำปี โดยบริษัทสามารถกรอกข้อมูลลงในระบบ e-monitoring ซึ่งต้องมีการรายงานปีละ 1 ครั้ง ภายในเดือนกรกฎาคมของทุกปี ตามลิงค์: https://emonitoring.boi.go.th โดยการรายงานผลการดำเนินการประจำปีนั้น มีขั้นตอนดังนี้
![]() |
เครื่องจักรที่นำเข้าโดยใช้สิทธิยกเว้นภาษี จะต้องใช้เฉพาะโครงการที่ได้รับส่งเสริมเท่านั้น หากจะใช้เพื่อการอื่นจะต้องได้รับอนุญาตจาก BOI ก่อน
เครื่องจักรที่นำเข้าโดยชำระภาษี หากจะใช้ทั้งโครงการ BOI และ Non BOI ไม่ถือเป็นการขัดเงื่อนไข แต่จะ cap วงเงินให้ตามสัดส่วนกำลังผลิตของเครื่องจักรนั้น