Chat
x
toggle menu
toggle menu

Select Groups

All Group
  • All Group
  • นโยบายเเละมาตรการพิเศษในการส่งเสริม
  • การขอรับการส่งเสริมการลงทุน
  • การออกบัตรส่งเสริม
  • การเปิดดำเนินการ
  • การเเก้ไขโครงการ
  • การดำเนินการอื่น ๆ
  • การรายงานความคืบหน้าโครงการ (e-Monitoring)
  • การปฏิบัติหลังการได้รับการส่งเสริม
  • การยกเลิกบัตรส่งเสริม
  • เรื่องทั่วไป
  • การใช้สิทธิด้านที่ดิน
  • การใช้สิทธิด้านเครื่องจักร
  • การใช้สิทธิด้านช่างฝีมือ/ต่างด้าว
  • การใช้สิทธิด้านวัตถุดิบ
  • ประเภทกิจการ - การแพทย์
  • การใช้สิทธิด้านภาษีเงินได้นิติบุคคล
  • ประเภทกิจการ - รถยนต์ไฟฟ้า
  • ประเภทกิจการ - ศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศ (IBC) IPO และ TISO
  • ประเภทกิจการ - โรงแรม
  • ประเภทกิจการ - ผลิตผลิตภัณฑ์โลหะรวมทั้งชิ้นส่วนโลหะ
  • ประเภทกิจการ - กิิจการผลิิตเครื่่องจัักร อุุปกรณ์์และชิ้นส่่วน
  • ประเภทกิจการ - กิิจการศููนย์์กระจายสิินค้้าระหว่่าง ประเทศด้้วยระบบที่่ทัันสมััย (IDC)
บริษัทต้องการนำเข้าเครื่องจักรใหม่จากต่างประเทศ คำถามคือ เครื่องจักรที่จะนำเข้ามานี้ สามารถผลิตทั้งสินค้าที่ได้รับส่งเสริม BOI และ NON BOI ทางบริษัทสามารถใช้สิทธิยกเว้นภาษีได้หรือไม่ และสามารถนำมูลค่าเครื่องจักรนี้ เป็นมูลค่า CAP ได้หรือไม่ สาระสำคัญของเครื่องจักรนี้จะแตกต่างกันตรงแม่พิมพ์ที่ใช้ปั้มฟิน โดยจะแยกระหว่างแม่พิมพ์ BOI และ NON BOI จะเป็นคนละตัวกัน และแม่พิมพ์นี้ก็นำเข้ามาจากต่างประเทศ เช่นกันกับเครื่องจักร คำถามคือ สามารถใช้สิทธิยกเว้นอากรได้หรือไม่ และ สามารถใช้เป็น CAP วงเงินได้หรือไม่

เครื่องจักรที่นำเข้าโดยใช้สิทธิยกเว้นภาษี จะต้องใช้เฉพาะโครงการที่ได้รับส่งเสริมเท่านั้น หากจะใช้เพื่อการอื่นจะต้องได้รับอนุญาตจาก BOI ก่อน

เครื่องจักรที่นำเข้าโดยชำระภาษี หากจะใช้ทั้งโครงการ BOI และ Non BOI ไม่ถือเป็นการขัดเงื่อนไข แต่จะ cap วงเงินให้ตามสัดส่วนกำลังผลิตของเครื่องจักรนั้น

คลังสินค้าและคลังเก็บวัตถุดิบตั้งอยู่บนพื้นที่เดียวกัน แต่คนละอาคารค่ะคลังเก็บสินค้า , คลังเก็บวัตถุดิบ สามารถนับเป็นเงินลงทุนในโครงการสำหรับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลหรือไม่

ค่าก่อสร้างคลังเก็บสินค้าและวัตถุดิบที่ใช้ในกิจการที่ได้รับส่งเสริม ถือเป็นขนาดการลงทุนที่สามารถนำมาคำนวณเป็นวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ โดยจะอยู่ในอาคารเดียวกันกับอาคารโรงงานหรือไม่ก็ได้ แต่ต้องอยู่ในท้องที่ตามที่กำหนดไว้ในบัตรส่งเสริม และหากมีการเก็บสินค้าหรือวัตถุดิบอื่นที่นอกเหนือจากโครงการที่ได้รับส่งเสริม ก็ต้องปันส่วนค่าก่อสร้างตามพื้นที่ใช้งาน

ในกรณีของ "รายงานผลการดำเนินงานประจำปี (แบบ ตส.310) ก็ยื่นแบบในเดือนกรกฎาคม 1 ครั้งของทุกปีเหมือนเดิมใช่หรือไม่
การรายงานผลการดำเนินงานประจำปี มีการเปลี่ยนแปลงใหม่ ตาม ประกาศ ป.2/2561
บริษัทดำเนินกิจการผลิตและขายอาหารประเภทลูกอมและหมากฝรั่งซึ่งทางบริษัทเองไม่เคยขอได้รับการส่งเสริมการลงทุนมาก่อน มีความประสงค์จะลงทุนในการติดตั้งเครื่องจักรที่ใช้ผลิตพลังงานแสงอาทิตย์ (solar cells) เพือใช้ในกิจการบริษัทเท่านั้น จึงเรียนมาปรึกษา ว่า ทางบริษัทสามารถใช้ประโยชน์จากมาตราการส่งเสริมการลงทุน ตามหัวข้อดังกล่าว ได้หรือไม่ เนื่องจากกิจการ ได้ถูกระบุให้เงือนไขลำดับถัดไปว่าเป็นกิจการที่ยกเว้นไม่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน ตามเงือนไข 1.17 (25 พ.ค. 2563)

ประเภทกิจการที่สามารถขอรับการส่งเสริมภายใต้มาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต โดยมาตรการนี้กำหนดเงื่อนไขการขอรับการส่งเสริมว่า

“กิจการที่ดำเนินการอยู่แล้ว ไม่ว่าจะได้รับการส่งเสริมหรือไม่ก็ตาม หากไม่ได้รับการส่งเสริมต้องเป็นประเภทกิจการที่คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนประกาศให้การส่งเสริมการลงทุนที่ใช้บังคับอยู่ในขณะยื่นขอรับการส่งเสริม”

ทั้งนี้ จากการประสานงานทางโทรศัพท์ บริษัทแจ้งว่า โครงการยังไม่เคยได้รับการส่งเสริมจากสำนักงาน และโครงการผลิตผลิตภัณฑ์ลูกอม ซึ่งกิจการดังกล่าวเป็นประเภทกิจการที่ไม่เข้าข่ายให้การส่งเสริมตามประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนที่ 2/2557

ดังนั้น โครงการของท่านจึงไม่สามารถขอรับการส่งเสริมภายใต้มาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อการประหยัดพลังงาน การใช้พลังงานทดแทน หรือการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

นำเข้าวัตถุดิบมาผลิตในกิจการที่ได้ส่งเสริมการลงทุน ชำระเงินแล้วมีกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน กำไรดังกล่าว ถือเป็นรายได้ที่ได้รับส่งเสริมหรือไม่

ถือว่าเป็น กำไรจากการปริวรรตเงินตรา ซึ่งเกิดจากการดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนโดยตรง เช่น จากการส่งออกผลิตภัณฑ์ หรือจากการนำเข้าเครื่องจักร วัตถุดิบ ตามโครงการที่ได้รับส่งเสริม ถือเป็นรายได้ที่จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ในข่ายรายได้อย่างอื่นที่ได้รับความเห็นชอบจาก BOI และสรรพากร ตามข้อ 2.4 ของประกาศกรมสรรพากร เรื่อง การคำนวณกำไรสุทธิและขาดทุนสุทธิของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน ลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2530

ประกาศกรมสรรพากร ลงวันที่ 2 กพ 2530 : http://www.rd.go.th/publish/3537.0.html

ตัวอย่างคำตอบข้อหารือกรมสรรพากร (1) : http://www.rd.go.th/publish/23061.0.html

ตัวอย่างคำตอบข้อหารือกรมสรรพากร (2) : http://www.rd.go.th/publish/25229.0.html

บริษัทมีหุ้นต่างชาติทั้งสิ้นได้รับการส่งเสริม IHQ จาก BOI ในปี พ.ศ. 2558 จะมีการโอนแผนก R&D มายังบริษัทตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562 โดยได้รับเงินค่าวิจัยและพัฒนาจากสำนักงานใหญ่ บริษัทต้องการขอรับสิทธิประโยชน์ทางภาษีกับกรมสรรพากรในส่วนของรายได้จากการวิจัยและพัฒนานี้ บริษัทควรดำเนินการอย่างไร

กรมสรรพากรยุติการอนุมัติให้เป็น IHQ หรือ ITC และประกาศให้ส่งเสริมกิจการ IBC ซึ่งมีเงื่อนไขเข้มงวดมากขี้น หากต้องการขอรับสิทธิประโยชน์ทางภาษีกับกรมสรรพากร จะต้องเปลี่ยนมาขอรับการส่งเสริม IBC แทน

บริษัทมีหุ้นต่างชาติทั้งสิ้นได้รับการส่งเสริม IHQ จาก BOI ในปี พ.ศ. 2558 ได้รับอนุมัติการใช้สิทธิทางภาษี IHQ จากกรมสรรพากร ในปี พ.ศ. 2560 บริษัทควรเปลี่ยนเป็นกิจการ “IBC” หรือไม่

ขึ้นอยู่กับนโยบายของบริษัท หากยังคงเป็นกิจการ IHQ สามารถใช้สิทธิและโยชน์ทางด้านภาษีในปัจจุบันต่อไปถึงระยะเวลาที่กำหนด (15 รอบปีบัญชี)

ก่อนยื่นแบบภงด.50 ในแต่ละปี ต้องยื่นแบบคำขอใช้สิทธิและประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล (F PM TA 01-01) ภายใน 120 วัน และได้รับอนุมัติจาก BOI ก่อนถึงจะใช้สิทธิยกเว้นภาษีได้ใช่หรือไม่ ถ้าไม่ได้ยื่นแบบ หมายถึงปีนั้นต้องสละสิทธิ์ ด้านภาษีหรือไม่ อย่างไร

1. ต้องยื่นแบบขอใช้สิทธิยกเว้นภาษีต่อ BOI ภายใน 120 วัน เพื่อให้ทันกำหนดที่บริษัทจะต้องยื่น ภงด จึงจะสามารถใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลในรอบปีนั้นได้

2. หากยื่นหลังจาก 120 วัน BOI จะตรวจสอบไม่ทันกำหนดที่บริษัทจะต้องยื่น ภงด แต่บริษัทยังคงได้รับสิทธิยกเว้นภาษีในรอบปีนั้น (หากยังอยู่ในช่วงที่ได้รับสิทธิ ม.31) เพียงแต่บริษัทอาจต้องยื่น ภงด ช้า หรืออาจต้องขอแก้ไข ภงด ที่ยื่นไปแล้ว ซึ่งก็เป็นเรื่องของบริษัทกับสรรพากร

“มาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพ” กรณีเอากิจการเดิมที่ไม่ได้ BOI มาขอ แต่กิจการเดิมทำมานานแล้ว ไม่มีรายละเอียดการซื้อเครื่องจักร จะต้องกรอกคำขออย่างไร (2 ธ.ค. 2564)
การขอคำขอสำหรับมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพ รายละเอียดเครื่องจักรที่สำนักงานจะพิจารณา คือ เครื่องจักรที่จะนำมาใช้ในการปรับปรุงฯ ส่วนเครื่องจักรเดิมที่บริษัทมีอยู่นั้น เพียงระบุเครื่องจักรให้สอดคล้องกับกระบวนการผลิต เพื่อใช้พิจารณาการเข้าข่ายประเภทกิจการ
ที่แอดมินส่งลิงค์ "ประกาศ ป.2/2561" มาให้ศึกษาได้ใจความสำคัญว่า "ต้องรายงานในทุกรอบปีบัญชี ภายในเดือนกรกฎาคมของปีถัดไป จนกว่าจะสิ้นสุดสภาพการเป็นผู้ได้รับการส่งเสริม" จึงยกตัวอย่างสอบถามเพื่อที่จะให้เข้าใจและมองเห็นภาพได้ง่ายขึ้น ตามรายละเอียดด้านล่างนี้ ในกรณีที่บริษัท A มีรอบปิดบัญชี ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2560 - กุมภาพันธ์ 2561 ดังนั้น บริษัท A จะต้องยื่นแบบรายงานผลการดำเนินการ ตส.310 เดือนไหนก็ได้ แต่ต้องไม่เกินเดือนกรกฎาคม 2561 ใช่หรือไม่

กรณีปิดงบวันที่ 28 ก.พ. 61 ถือเป็นงบของปี 61 จึงจะต้องรายงานภายในวันที่ 31 ก.ค. 62 แต่หากบริษัทปิดงบได้เร็ว จะยื่นรายงานภายในวันที่ 31 ก.ค. 61 ก็ได้

อยากทราบขั้นตอนการขอแก้ไขโครงการเกี่ยวกับการเพิ่มกรรมวิธีการผลิตว่าต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง และยื่นขอแก้ไขได้ที่ไหน ที่บริษัทได้รับบัตรส่งเสริมแล้วยังไม่เปิดดำเนินการ

ขั้นตอนคือ ทำหนังสือหัวจดหมายบริษัท ยื่นพร้อมแบบฟอร์มขอแก้ไข แนบรายละเอียดอื่นๆ ที่จำเป็น เช่น รูปภาพ หรือ flowchart นำไปยื่นที่สำนักบริการลงทุน 1-4 ที่เป็นผู้พิจารณาอุตสาหกรรมนั้น หรือจะยื่นผ่าน สนง.บีโอไอ ต่างจังหวัด ก็ได้ แต่จะพิจารณาที่กรุงเทพ และหากจำเป็นต้องชี้แจงรายละเอียด ก็จะต้องชี้แจงที่กรุงเทพ การแก้ไขกรรมวิธีการผลิต มีหลายกรณี ดูข้อมูลเบื้องต้นได้จาก link http://faq108.co.th/boi/modify/process.php

บริษัท ได้หมดเวลาการนำเข้าเครื่องจักรในวันที่ 9 สิงหาคม 2557 และบัตรส่งเสริมลงวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2558 ตอนนั้นทางภายในบริษัทฯได้ปรึกษากันว่าจะทำเรื่องขอขยายการเปิดดำเนินการออกไป และได้โทรศัพท์ไปยังเจ้าหน้าที่ BOI ขอคำปรึกษาการขอขยายเปิดดำเนินการ ปรากฏว่า เจ้าหน้าที่ให้คำแนะนำว่า ไม่แนะนำให้เปิดดำเนินการเพียงอย่างเดียว แนะนำให้ทำเรื่องขอขยายการนำเข้าเครื่องจักรพร้อมกับขอขยายการเปิดดำเนินการไปด้วยเลย ดังนั้น ในวันที่ 8 มกราคม 2558 ทางบริษัทจึงได้ทำเรื่องขอขยายระยะเวลาไป และได้รับการอนุมัติแล้ว เมื่อทำเรื่องขอขยายแล้วอยากทราบว่า บริษัทต้องเปิดดำเนินการอีกทีเมื่อไหร่ และสิ้นสุด การนำเครื่องจักรเมื่อไหร่ (ขอระบุวันที่ เดือน ปี พ.ศ. ให้ชัดเจนหน่อย)

น่าจะระบุวันที่ออกบัตรส่งเสริมผิด คือ ควรจะเป็น 9 ก.พ. 56

1. เจ้าหน้าที่แนะนำถูกต้องแล้ว เนื่องจากหากขอขยายเวลาเปิดดำเนินการเพียงอย่างเดียว จะขอได้เพียง 1 ครั้ง (1 ปี) เท่านั้น

- แต่หากขอระยะเวลานำเข้าเครื่องจักรพร้อมกับขยายเปิดดำเนินการ จะขอได้ 3 ครั้ง ครั้งละ 1 ปี และจะขอขยายเฉพาะเปิดดำเนินการเพียงอย่างเดียว ได้อีก 1 ครั้ง (1 ปี) คือ รวมสามารถขยายเวลาเปิดดำเนินการได้สูงสุด 4 ปี

2. หากบริษัทยื่นขอขยายเวลานำเข้าและขยายเปิดดำเนินการ โดยได้รับอนุมัติแล้วเมื่อวันที่ 8 ม.ค. 58

- การจะได้รับขยายถึงเมื่อไร ให้ตรวจสอบจากหนังสือแจ้งมติ

- ปกติจะได้รับขยายเวลานำเข้าเครื่องจักร 1 ปี (กรณีนี้ควรได้รับขยายเครื่องจักรถึงวันที่ 9 ส.ค. 58) และได้รับขยายเวลาเปิดดำเนินการ 1 ปี (กรณีนี้ควรได้รับขยายเวลาเปิดดำเนินการถึงวันที่ 9 ก.พ. 59)

- เมื่อได้รับหนังสือแจ้งมติแล้ว จะต้องนำบัตรส่งเสริมตัวจริงไปยื่นเพื่อขอแก้ไขด้วย จึงจะเสร็จสิ้นขั้นตอน

3. หากบริษัทไม่สามารถนำเข้าเครื่องจักรและเปิดดำเนินการได้ทันตามที่ได้รับขยายเวลาตามข้อ2

- เมื่อใกล้ครบกำหนดระยะเวลาดังกล่าว ก็ให้ยื่นเรื่องขยายระยะเวลานำเข้าเครื่องจักรและขยายเวลาเปิดดำเนินการอีกเป็นครั้งที่ 2

ข้อ 2 แต่จะ cap วงเงินให้ตามสัดส่วนกำลังผลิตของเครื่องจักรนั้น หมายถึงถ้าซื้อเครื่องจักรมาหนึ่งล้าน นำไปผลิตกับ Non BOI ด้วย แสดงว่าจะนับมูลค่าเงินลงทุนของเครื่องนี้ได้แค่ 5 แสนใช่หรือไม่ หากใช้ผลิต BOI และ Non BOI อย่างละ 50% แล้วถ้าโครงการนั้นเปิดดำเนินการไปแล้ว ๆเอาเครื่องจักรมาผลิตกับ Non BOI ในภายหลังก็จะไม่มีผลกับมูลค่าเงินลงทุนใช่หรือไม่

หากนำเครื่องจักรมูลค่า 1 ล้านบาท เข้ามาโดยชำระภาษีอากร เพื่อใช้ในกิจการ BOI บางส่วน (50%) และใช้ในกิจการ Non-BOI บางส่วน (50%) ก็จะนับมูลค่าเงินลงทุนของเครื่องจักรนี้ได้ตามสัดส่วนที่ใช้ในกิจการ BOI (กรณีนี้คือ 5 แสน)

หลังจากได้รับอนุญาตเปิดดำเนินการครบตามโครงการแล้ว หากนำเครื่องจักรตามข้อ 1 ไปใช้ในกิจการ Non-BOI ทั้งหมด จะไม่มีผลกับการนับมูลค่าเงินลงทุน

กรณีที่ 2 เปรียบเทียบกับตัวอย่างที่เข้าใจง่าย เช่น บริษัทซื้อเครื่องตรวจสอบ โดยชำระภาษีเข้ามาเอง ซึ่งสามารถนับเป็นมูลค่าเงินลงทุนได้ แต่ต่อมาหลังเปิดดำเนินการครบตามโครงการ ปรากฏว่าไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องตรวจสอบนั้นต่อไป ก็สามารถจำหน่ายได้ โดยไม่มีผลกับมูลค่าเงินลงทุนที่ได้ cap เป็นวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้ไปแล้ว

เนื่องจากตอนนี้บริษัทกำลังดำเนินการ ขยายเวลาเปิดดำเนินการ/เครื่องจักร ครั้งที่1 และต้อง ขอแก้ไขข้อมูลแนบท้ายบัตร จึงเขียนอีเมลมาเพื่อขอสอบถาม 1. รายละเอียดการทำหนังสือ เรียนเลขาธิการ คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน เรื่องแก้ไขข้อมูบแนบ ท้ายบัตร รายละเอียดหลักในหนังสือจะต้องระบุข้อมูลว่าอย่างไร 2.จะต้องใช้เอกสารอะไรแนบเพิ่มเติมบ้างค่ะ 3.ระยะเวลาดำเนินการต้องใช้เวลาทั้งสิ้นกี่วันค่ะ 4.ช่วงเวลาที่เปิดทำธุระการแก้ไขแนบท้ายบัตรตั้งแต่กี่โมงถึงกี่โมง หรือว่าทั้งวันค่ะ 5.รบกวนขอเบอร์ติดต่อฝ่ายดำเนินการแก้ไขแนบท้ายบัตร

การขยายเวลานำเข้าเครื่องจักรและเปิดดำเนินการ และการแก้ไขข้อมูลแนบท้ายบัตร มีดังนี้

1. บริษัทจะต้องยื่นขอขยายเวลาเปิดดำเนินการผ่านระบบ e-Services ตามลิงค์: https://www.boi.go.th/un/boi_online_services_form เลือกเมนู ระบบอิเล็กทรอนิกส์สำหรับงานสิทธิประโยชน์ด้านเครื่องจักร (EMT) เข้า Login :Username / Password หากบริษัทไม่สามารถเข้า Login: Username / Password สามารถติดต่อสอบถามเจ้าหน้าที่ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร รายละเอียดดังนี้

คุณปองพล รอดสวัสดิ์ปอง โทร : 02-553-8395

คุณปิยะวรรณ ขยันมาก โทร : 02-553-822

ทั้งนี้ เมื่อบริษัทดำเนินการยื่นผ่านระบบ (EMT) รอการอนุมัติการขยายเวลาเปิดดำเนินการ/เครื่องจักร จากกองที่ดูแลประเภทกิจการนั้น

2. นำบัตรส่งเสริมตัวจริง และ Screen capture พิมพ์หน้าจอที่ได้รับอนุมัติ นำมายื่นที่กลุ่มบัตรส่งเสริม ชั้น 3

3. ระยะเวลาดำเนินการ 1-2 วันทำการ เนื่องจากกลุ่มบัตรส่งเสริมต้องได้รับข้อมูลจากกองที่อนุมัติการขอขยายเวลาเปิดดำเนินการ/เครื่องจักร ที่ทางบริษัทได้ยื่นไว้

4. ช่วงเวลาที่เปิดทำการแก้ไขแนบท้ายบัตรตั้งแต่วันจันทร์ – วันศุกร์ เวลา 08.30 – 16.30 น.

5. ติดต่อฝ่ายดำเนินการแก้ไขแนบท้ายบัตร กลุ่มบัตรส่งเสริม ชั้น 3 เบอร์โทร. 02-553-8111 กด 4

การยื่นตัดบัญชีชำระภาษีอากรผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปเนื่องจากที่บริษัทมีการยื่นขอชำระภาษี และได้ชำระภาษี เรียบร้อย ขั้นตอน ที่ต้องนำใบขนและใบเสร็จยื่นตัดบัญชีที่ IC อยากถามว่า ในช่อง วันที่ EXP_DATE ใช้ ว่า ที่ ตรงไหนคีย์ เข้าไป เพราะ ใบขนที่ได้มา เป็นใบขนสินค้าขาเข้าไม่ทราบว่า ต้องใช้ วันที่ ตาม Invoice หรือวันที่นำเข้า เพื่อใช้คีย์ในช่องดังกล่าว เพื่อยื่นตัดบัญชี

การยื่นตัดบัญชีวัตถุดิบ จากการชำระภาษีอากรผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป ให้ยื่นไฟล์ตัดบัญชี โดยช่อง EXP_EXTRY ให้คีย์เลขที่หนังสืออนุมัติจาก BOI โดยไม่ต้องคีย์คำว่า " นร " และช่อง EXP_DATE ให้คีย์วันที่ของหนังสืออนุมัติ

ตามมาตรา 27 ไม่ได้ระบุ เรื่องราคาในการจำหน่ายที่ดินที่ได้ถือกรรมสิทธิ์นั้น ว่า สามารถจำหน่ายได้ ในราคาที่สูงกว่า ที่ซื้อมาหรือไม่

มาตรา 27 กำหนดเฉพาะระยะเวลาที่ต้องขายที่ดิน ภายหลังจากเลิกกิจการที่ได้รับส่งเสริม แต่ไม่ได้กำหนดเกี่ยวกับราคา จึงสามารถจำหน่ายที่ดินที่ถือครองตามสิทธิประโยชน์ ในราคาที่สูงกว่าที่ซื้อมาได้

ผลิตภัณฑ์นมโยเกิร์ต และ นมพาสเจอร์ไรส์ เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการส่งเสริมหรือไม่

ผลิตภัณฑ์นมโยเกิร์ตและนมพาสเจอร์ไรส์ น่าจะส่งเสริมอยู่ในหมวด 1.17 กิจการผลิตหรือถนอมอาหาร เครื่องดื่ม โดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย

ทางบริษัทได้ขอรับบัตรส่งเสริมการลงทุนอยู่ 2 บัตร ทั้ง 2 บัตรได้เปิดดำเนินการแล้ว และสิ้นสุดสิทธิภาษีเงินได้แล้ว ความประสงค์จะขอรวมบัตรเพื่อให้ง่ายต่อการบริหาร มีคำถามว่า - ถ้ารวมบัตรแล้วสิทธิที่ทางบริษัทจะได้รับจะเท่าเดิมหรือไม่ - เรื่อง Max Stock ที่เราจะได้รับจะได้เท่ากับ 2 บัตรเดิม รวมกันหรือไม่ - เรื่องวัตถุดิบและวัสดุจำเป้นของเดิมที่มีอยู่ทั้ง 2 โครงการจะทำอย่างไร จะมีข้อดีและข้อเสียอย่างไรบ้างในการรวมบัตร

1.การรวมบัตรส่งเสริม จะถูกปรับลดสิทธิประโยชน์ลงเท่าที่เหลือตามระยะเวลาของบัตรที่สั้นที่สุด กรณีที่สอบถาม บริษัทเปิดดำเนินการเต็มโครงการแล้ว และสิ้นสุดระยะเวลายกเว้นภาษีเงินได้แล้ว หากรวมบัตรส่งเสริม จะถูกปรับลดเฉพาะระยะเวลานำเข้าเครื่องจักร/แม่พิมพ์ (ถ้ามี) และระยะเวลานำเข้าวัตถุดิบ ลงเหลือเท่ากับระยะเวลาของบัตรที่สั้นที่สุด และในการออกบัตรส่งเสริม บริษัทจะต้องโอนย้ายบัญชีรายการเครื่องจักรและวัตถุดิบที่เหลือของบัตรฉบับเดิม ไปเป็นค่าตั้งต้นของบัตรส่งเสริมฉบับใหม่ด้วย

2.หากบริษัทต้องการลดภาระเฉพาะการบริหารจัดการวัตถุดิบ บริษัทสามารถขอรวมเฉพาะบัญชีปริมาณสต็อกวัตถุดิบ โดยไม่ต้องรวมบัตรส่งเสริมก็ได้ โดยจะได้รับอนุมัติบัญชีสต็อกวัตถุดิบใหม่ (บัญชีรวมสต็อก) ซึ่งจะมีระยะเวลานำเข้าเท่ากับระยะเวลาที่สั้นที่สุดของบัตรเดิม และต้องย้ายรายการและปริมาณวัตถุดิบคงเหลือของแต่ละบัตร ไปเป็นค่าตั้งต้นของบัญชีรวมสต็อกด้วย

บริษัทฯ มีความประสงค์จะขอรวมบัตรส่งเสริม 2 โครงการเข้าด้วยกัน เพื่อลดภาระในการจัดการบริหาร ทั้ง 2 โครงการได้เปิดดำเนินการเต็มโครงการแล้ว 1. นอกจากจดหมายบริษัทฯ จะต้องมีเอกสารอะไรแนบเรื่อง "ขอรวมบัตรส่งเสริม" บ้าง 2. ระยะเวลาในการพิจารณากี่วัน 3. ระยะเวลาการนำเข้าวัตถุดิบของ 2 โครงการไม่เท่ากัน จะต้องยื่นขอขยายเวลานำเข้าวัตถุดิบให้เท่ากันก่อนหรือไม่

การรวมบัตรส่งเสริม เข้าใจว่าไม่ได้รวมไว้ในระบบ ISO ของ BOI จึงไม่มีการกำหนดเรื่องเวลาดำเนินการ และแบบฟอร์มเอกสารที่ต้องใช้

1. ระยะเวลา หากเทียบกับงานอื่น น่าจะเป็น 30 วันทำการ

2. เอกสารเบื้องต้น คือ หนังสือบริษัท เรื่อง ขอรวมกิจการที่ได้รับส่งเสริม (ระบุเลขที่บัตรส่งเสริมที่ต้องการรวมกิจการ) และสำเนาบัตรส่งเสริมฉบับล่าสุดของโครงการที่จะขอรวม

3. สิทธิประโยชน์จะถูกลดลงให้เท่ากับบัตรที่สั้นที่สุด

ดังนั้น ในหนังสือของบริษัท ควรระบุข้อความด้วยว่า บริษัทยินยอมให้ลดสิทธิประโยชน์ที่ไม่เท่ากัน ให้เหลือเท่ากับสิทธิประโยชน์ของบัตรส่งเสริมที่มีระยะเวลาสั้นที่สุด หรืออาจจะยื่นตามปกติเข้าไปก่อน จากนั้นเข้าไปชี้แจงกับ จนท แล้วจึงทำหนังสือยินยอมให้ลดสิทธิประโยชน์ ยื่นเพิ่มเข้าไปก็ได้

บริษัทต่างชาติที่จะเข้ามาลงทุนในประเทศไทยหมวดพลังงาน เวลาจดทะเบียนบริษัทต้องจดในส่วนของบีโอไอไปพร้อมเลยใช้ไหม ในกรณีที่เรายังไม่ได้งานในไทย ก็สามารถจดได้ใช่ไหม ใช้เวลานานแค่ไหน

การขอรับส่งเสริมจาก BOI ใช้เวลาพิจารณา 40-90 วันทำการ ขึ้นอยู่กับประเภทกิจการและขนาดการลงทุน การยื่นขอรับส่งเสริมฯ จะยื่นในนามบุคคล หรือนิติบุคคล ก็ได้ คือ

1. ขอรับส่งเสริมในนามบุคคล

เมื่อได้รับอนุมัติให้การส่งเสริมแล้ว จึงจดทะเบียนบริษัท จากนั้นขอใบอนุญาตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (เช่น ใบอนุญาตจากคณะกรรมการกิจการพลังงาน และใบอนุญาตประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว เป็นต้น) จากนั้น จึงขอรับบัตรส่งเสริมจาก BOI

2. ขอรับส่งเสริมในนามบริษัท

โดยจัดตั้งบริษัทขึ้นก่อน จากนั้นยื่นขอรับส่งเสริมจาก BOI ในนามบริษัท จากนั้นจึงขอใบอนุญาตต่างๆ จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง แล้วจึงขอรับบัตรส่งเสริมจาก BOI เมื่อได้รับใบอนุญาตต่างๆ ครบถ้วนแล้ว จึงจะเริมประกอบธุรกิจได้

----------------------------------

การขอ BOI ไม่ใช่การขออนุญาตประกอบธุรกิจนั้นๆ เป็นเพียงการขอรับสิทธิประโยชน์ในเรื่องภาษี และ non-tax (เช่น การถือครองที่ดิน) ตาม พรบ ส่งเสริมการลงทุนเท่านั้น การจะประกอบธุรกิจพลังงาน ต้องได้รับอนุญาตตามกฎระเบียบของคณะกรรมการกิจการพลังงาน และการจะประกอบธุรกิจโดยเป็นหุ้นต่างชาติข้างมาก ก็ต้องเป็นไปตามกฎระเบียบตาม พรบ การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว

ขออภัยครับ ไม่มีข้อมูลส่วนนี้ ในภาษาที่ท่านเลือก !

Sorry, There is no information support your selected language !

Download และ ติดตั้งโปรแกรมอ่าน PDF

Download PDF Reader

Site map