หลักปฏิบัติการขอใช้สิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล การนำผลขาดทุนมาหักจากกำไร สำนักงานขอตอบในหลักการ ดังนี้
1. การขอใช้สิทธิ์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ต้องแยกบัญชี BOI และ NON BOI โดยสามารถขอใช้สิทธิ์ได้เฉพาะโครงการ BOI เท่านั้น
2. กรณีรอบบัญชีผ่านมา หากบริษัทนำรายได้ของ NON BOI มารวม ท่านสามารถปรับปรุงข้อมูลให้ถูกต้องในภงด 50 ยื่นต่อกรมสรรพากร และเก็บหลักฐานไว้ประกอบการยื่นขอใช้สิทธิ์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลในรอบบัญชีถัดไป สำหรับรอบบัญชีใหม่หากต้องการใช้สิทธิ์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลให้นำหลักฐานข้อมูลที่ปรับปรุงแล้วแสกนแนบพร้อมกับการยื่นแบบคำขอใช้สิทธิ์ E-Tax ในรอบบัญชีใหม่ซึ่งปรับปรุงข้อมูลเดิมให้ถูกต้อง
3. การนำผลขาดทุนไปหักกำไร เมื่อสิทธิ์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสิ้นสุดลง มีแนวทางการปฏิบัติ ดังนี้
![]() |
4. การนำผลขาดทุนมาหักกำไร กรณีคำนวณตามการใช้สิทธิ์ของบีโอไอ จะอนุญาตให้นำผลขาดทุนของโครงการไหนก็ต้องหักจากกำไรของโครงการนั้นภายหลังระยะเวลายกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสิ้นสุดลง
ท่านสามารถศึกษารายละเอียด แนวทางการคำนวณกำไร/ขาดทุน สำหรับโครงการที่ได้รับการส่งเสริมตามประกาศที่ ป 9/2559 ตามลิงก์ https://www.boi.go.th/upload/content/por9_2559_26229.pdf
5. การนำผลขาดทุนมาหักกำไรโดยคำนวณจากทั้งโครงการ BOI และ NonBOI เป็นการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลตามแบบประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ทวิ กรุณาศึกษารายละเอียดจากลิงค์ : https://www.rd.go.th/publish/308.0.html
กรณีที่บริษัท A และ B ควบรวมกิจการ บัตรส่งเสริมของ A และ B จะใช้ต่อไปได้อีกไม่เกิน 3 เดือนนับจากวันควบรวมกิจการ ดังนั้น หากบริษัท A, B และบริษัทใหม่ที่เกิดจากการควบรวมกิจการ ไม่ยื่นคำขอโอน/รับโอนกิจการที่ได้รับส่งเสริม สิทธิประโยชน์ของบัตรของ A และ B จะสิ้นสุดลง บริษัทใหม่ที่เกิดจากการควบรวม จะต้องชำระภาษีอากรที่เหลืออยู่ทั้งหมดของ A และ B
กรณีที่ยอดวัตถุดิบคงเหลือใน RMTS ติดลบ หากมีการ cut off เพื่อปิดระบบเดิม ระบบจะโอนค่าเป็น 0 (คือไม่โอนค่าติดลบ) ไปยัง RMTS-2011 ดังนั้น หากยอดติดลบใน RMTS เกิดจากการที่นำใบขนขาออก ที่ควรตัดบัญชีใน RMTS-2011 ไปตัดใน RMTS เก่า ก็ควรดำเนินการดังนี้
1. ยื่นยกเลิกการตัดบัญชีในงวดที่
2. ให้เก็บใบขนที่ยกเลิกตัดบัญชีแล้ว ไว้ก่อน เพื่อรอไว้ใช้ตัดบัญชีใน RMTS-2011
3. บันทึกสูตรใน RMTS-2011 ให้เรียบร้อย
4. ยื่นขอปิดระบบ RMTS และโอนย้ายยอดวัตถุดิบคงเหลือไปยัง RMTS-2011
5. นำใบขนตามข้อ 2 มายื่นตัดบัญชีใน RMTS-2011 ต่อไป
หลังจากที่ได้รับอนุมัติวิธีทำลาย และได้ให้ inspector มาตรวจสอบรับรองการทำลายแล้ว
1. ให้ยื่นเรื่องขออนุญาตตัดบัญชีเครื่องจักรต่อ BOI โดยแนบหลักฐานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำเนาหนังสืออนุมัติให้ทำลาย และหนังสือรับรองการทำลายจาก inspector
2. BOI จะอนุญาตให้ตัดบัญชีเครื่องจักรที่ชำรุดเสียหายและได้ทำลายตามขั้นตอนที่ได้รับอนุมัติ โดยไม่มีภาระภาษี
3. เครื่องจักรที่ทำลายและตัดบัญชีแล้ว สามารถจำหน่ายในประเทศได้ตามสภาพ (เศษเหล็ก) โดยไม่มีภาระภาษี
4. คำว่า "ตัดบัญชี" ในที่นี้ ไม่ได้เชื่อมโยงกับระบบ eMT ดังนั้น จำนวนเครื่องจักรที่ได้รับให้ตัดบัญชี จึงจะไม่ถูกหักลบจากปริมาณเครื่องจักรที่นำเข้าที่บันทึกในระบบ eMT เช่น บริษัทนำเข้าเครื่องจักรมา 3 เครื่อง ได้ทำลายและตัดบัญชีไปแล้ว 1 เครื่อง แต่ในระบบก็ยังแสดงปริมาณนำเข้าเป็น 3 เครื่องเช่นเดิม ดังนั้น หากบริษัทจะขอนำเข้ามาอีก 1 เครื่อง เพื่อทดแทนเครื่องเก่าที่ทำลายและจำหน่ายออกไป ก็ต้องขอแก้ไขปริมาณอนุมัติใน Master List จาก 3 เครื่อง เป็น 4 เครื่อง
เครื่องจักรที่บริษัทสอบถาม นำเข้าเกิน 5 ปี และได้ตัดบัญชีปลอดภาษีไปแล้ว ดังนั้น หากเครื่องจักรดังกล่าวชำรุดเสียหาย ก็สามารถขอจำหน่ายได้โดยไม่ต้องทำลาย และไม่ต้องเสียภาษี การทำลาย เป็นวิธีเพื่อทำให้เครื่องจักรหมดภาระภาษี แต่เมื่อเครื่องจักรดังกล่าวตัดบัญชีปลดภาระภาษีไปแล้ว ก็ไม่ต้องทำลายให้เสียค่าใช้จ่ายโดยไม่จำเป็น
การทำลายเครื่องจักร ให้ดำเนินการตามประกาศ ที่ ป.3/2555 ดังนี้
1. ขออนุมัติวิธีทำลาย
2, ให้บริษัทเอกชนที่ได้รับอนุญาตจาก BOI เป็นตัวแทนปฏิบัติงานตรวจสอบการทำลาย เข้าร่วมตรวจสอบและรายงานผลการทำลาย
3. ส่งหลักฐานการทำลายให้ BOI เพื่อพิจารณาอนุมัติตัดบัญชีเครื่องจักรต่อไป
เครื่องจักรที่ทำลายตามขั้นตอนข้างต้น จะไม่มีภาระภาษี แม้ว่าหลังจากนั้นจะจำหน่ายเป็นเศษเหล็กก็ตาม
BOI ต้องการให้ผู้ส่งออกคีย์ model ในช่อง product code ในใบขน paperless เพื่อให้สามารถนำข้อมูลในช่อง product code มาเทียบกับ model ที่ได้รับอนุมัติได้โดยตรง แต่ปัจจุบัน บางบริษัทก็คีย์ บางบริษัทก็ไม่ได้คีย์ในช่องนี้ กรณีที่ไม่ได้คีย์ model ในช่อง product code แต่คีย์ใน desc1, desc2 หรือในอินวอยซ์ ก็ยังสามารถนำใบขนมาตัดบัญชีได้
1.หากบริษัท A, B และบริษัทใหม่ที่เกิดจากการควบรวม ยื่นคำขอโอน/รับโอนกิจการ เงื่อนไขและสิทธิประโยชน์เท่าที่เหลืออยู่ของ A และ B จะตกเป็นของบริษัทที่เกิดขึ้นใหม่ ดังนั้น หากสิทธิประโยชน์ของ A และ B ยังไม่สิ้นสุด ก็จะยังไม่เกิดภาระภาษีหลังควบรวมกิจการ
2.บริษัทที่เกิดขึ้นใหม่จากการควบรวมกิจการ จะเกิดเลขนิติบุคคลใหม่ ดังนั้น แม้จะใช้ชื่อเดิม ก็ถือเป็นคนละบริษัทกัน ทั้ง 3 บริษัท จึงต้องยื่นคำขอโอน/รับโอนกิจการ
รายได้จากการจำหน่ายเศษหรือของเสียจากกระบวนการผลิต เป็นรายได้จากผลพลอยได้ตามโครงการที่ได้รับส่งเสริม ซึ่งไม่นับรวมเป็นกำลังการผลิตของโครงการ และเป็นรายได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 31 ตาม ประกาศกรมสรรพากร เรื่อง การคำนวณกำไรสุทธิและขาดทุนสุทธิของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้รับการส่งเสริม ลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2530
การยื่นใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ให้ระบุเป็นรายได้อื่นๆ(/p>
แม้ว่าลูกค้าใน EPZ จะส่งวัตถุดิบมาว่าจ้างโรงงานในประเทศให้ผลิตและรับคืนกลับไปใน EPZ โดยไม่คิดราคาวัตถุดิบ แต่ก็ถือเป็นการนำเข้าวัตถุจากต่างประเทศ (EPZ) ซึ่งต้องชำระอากรขาเข้า ดังนั้น หากต้องการยกเว้นอากรขาเข้า ก็ต้องยื่นขอสั่งปล่อยโดยใช้สิทธิ BOI ส่วนสูญเสียที่เกิดขึ้นตามข้อ 1 เป็นภาระรับผิดชอบของโรงงานในประเทศที่ใช้สิทธิสั่งปล่อยวัตถุดิบ หากไม่จัดการตามข้อกำหนดเรื่องส่วนสูญเสียตามมาตรา 36 โรงงานในประเทศก็ต้องรับผิดชอบภาษีนั้น โดยจะไปชาร์จจากผู้ว่าจ้างเป็นค่าจัดการเศษซาก ก็แล้วแต่จะตกลงกันเอง
หากผู้รับจ้างเป็น BOI และนำเข้าแม่พิมพ์โดยใช้สิทธิยกเว้นภาษี ผู้ว่าจ้างจะจ่ายเงินค่าแม่พิมพ์เป็นงวดๆไม่ได้ เพราะเสมือนเป็นการนำแม่พิมพ์ที่นำเข้ามาโดยใช้สิทธิไปขาย และผู้รับจ้างจะมีรายได้เป็นค่าแม่พิมพ์ ซึ่งไม่เป็นไปตามที่ผู้รับจ้างได้รับการส่งเสริม
กรณีนี้สามารถทำได้ 2 วิธี คือ
1. ผู้ว่าจ้างนำค่าแม่พิมพ์มาบวกเข้าไปในค่ารับจ้างผลิตชิ้นส่วน หรือ
2. ผู้ว่าจ้างแก้ไขกรรมวิธีการผลิตเพิ่มขั้นตอนการนำแม่พิมพ์ไปว่าจ้างผลิตชิ้นส่วนให้ (กรณีนี้ผู้ว่าจ้างจะเป็นผู้นำเข้า และแม่พิมพ์เป็นทรัพย์สินของผู้ว่าจ้าง)
วันมีรายได้ครั้งแรกที่จะได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ คือวันที่เริ่มมีรายได้ครั้งแรกตามโครงการที่ได้รับส่งเสริม กรณีที่สอบถามคือ วันที่ 27/2/2556
แต่ทั้งนี้ ในการจะใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ บริษัทจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดในบัตรส่งเสริมด้วย เช่น หากในบัตรส่งเสริมกำหนดเงื่อนไข ต้องมีค่าใช้จ่ายเงินเดือนของบุคลากรด้านการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศไม่น้อยกว่า 1,500,000 บาทต่อปี หรือมีเงินลงทุนขั้นต่ำที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับกิจการไม่น้อยกว่า 1 ล้านบาท ก็ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขนั้นได้ก่อน จึงจะเริ่มใช้สิทธิยกเว้นภาษีได้
นอกจากนี้การจะใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ จะต้องยื่นคำร้องผ่านระบบการขอใช้สิทธิและประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (E-Tax) ของ BOI ด้วย
หากควบรวมกิจการ และโอน/รับโอนทุกบัตรแล้ว บัตรส่งเสริมทุกฉบับจะยังคงมีเงื่อนไขเช่นเดิมเช่น บัตร A1 ตั้งโรงงานที่ ชลบุรี มีขั้นตอนสกรีน และเคลือบ บัตร B1 ตั้งโรงงานที่ ระยอง มีขั้นตอนสกรีน และเคลือบ
หลังจากควบรวมเป็นบริษัท C จะมีบัตร C1(A1) และ C2(B1) ซึ่งบัตร C1 ต้องตั้งที่ชลบุรี บัตร C2 ต้องตั้งที่ระยอง การจะนำขั้นตอนสกรีนของบัตร C1 และ C2 ไปทำที่ชลบุรี และนำขั้นตอนเคลือบของบัตร C1 และ C2 ไปทำที่ระยอง ไม่น่าจะทำได้ เนื่องจากบัตร C1 และ C2 อาจมีเงื่อนไขแตกต่างกัน
กรณีนี้อาจจะต้องยื่นขอรวมโครงการ เพื่อรวมบัตร C1 และ C2 เป็นโครงการเดียว โดยจะมีขั้นตอนสกรีนที่ชลบุรี และขั้นตอนเคลือบที่ระยอง แต่สิทธิประโยชน์ที่ได้รับ อาจจะเปลี่ยนไปจากเดิมแนะนำให้ปรึกษากับ จนท BOI ที่ดูแลโครงการของบริษัทโดยตรง
- การตัดบัญชี 1 งวด คือการยื่นตัดบัญชี 1 ครั้ง ซึ่งจะมีใบขนสินค้าขาออกหรือ Report-V ใบเดียว หรือหลายใบพร้อมกันก็ได้
- การตัดบัญชี 1 งวด ใช้ไฟล์ตัดบัญชีวัตถุดิบ 3 ไฟล์ คือ birtexl.xls, birtexp.xls และ birtven.xls (ถ้ามีการโอนสิทธิให้ vendor)
- การยื่นตัดบัญชี จะยื่นหลายงวดพร้อมกันใน flash drive ก็ได้ โดยระบบ rmts-2011 กำหนดให้ตั้งชื่อไฟล์เป็น birtexl_1.xls, birtexp_1.xls, birtven_1.xls และ birtexl_2.xls, birtexp_2.xls, birtven_2.xls .... ตามลำดับ
เครื่องจักรที่ซื้อในประเทศ และเครื่องจักรที่นำเข้าจากต่างประเทศโดยชำระภาษีอากร ไม่อยู่ในขอบข่ายการควบคุมเรื่องอายุเครื่องจักร 5 ปี ตามประกาศ สกท ที่ ป.3/2548 ดังนั้น บริษัทจะขายหรือทำลายเครื่องจักรดังกล่าวเมื่อไรก็ได้ โดยไม่ต้องขออนุญาตจาก BOI แต่เนื่องจากในบัตรส่งเสริมกำหนดเงื่อนไขเฉพาะโครงการว่า บริษัทจะต้องดำเนินการตามสาระสำคัญที่ได้รับส่งเสริม คือ จะต้องมีกำลังผลิต ........ ปีละประมาณ ............ ชิ้น ดังนั้น หากบริษัทขายหรือทำลายเครื่องจักรดังกล่าว และทำให้ขนาดกิจการไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนดในบัตรส่งเสริม บริษัทจะต้องแจ้ง BOI เพื่อขอลดขนาดกิจการด้วย
เครื่องจักรและชิ้นส่วนเครื่องจักร ที่นำเข้ามาโดยยกเว้นอากรขาเข้า จะตัดภาระภาษีได้เมื่อมีอายุครบ 5 ปี นับจากวันนำเข้า หากเครื่องจักรหรืออะไหล่ชำรุดเสียหาย โดยยังมีอายุไม่ครบ 5 ปี สามารถขอส่งคืนไปต่างประเทศ บริจาค ทำลาย หรือขอชำระภาษีตามสภาพ จึงจะหมดภาระภาษี กรณีที่สอบถาม จะขออนุมัติทำลายก็ได้ โดยให้บริษัท Inspector ตรวจสอบรับรองการทำลาย แต่ปกติน่าจะใช้วิธีขอชำระภาษีตามสภาพ จากนั้นจึงจำหน่ายในประเทศ
1. กรณีเป็นระบบ rmts เดิม
หากหน่วยของสินค้าที่ได้รับโอนสิทธิตัดบัญชีจากลูกค้า ไม่ตรงกับหน่วยของสินค้าที่บริษัทได้รับอนุมัติสูตรการผลิต บริษัทสามารถออกหนังสือรับรองตนเองได้ว่า สินค้าจำนวน X กิโลกรัม ตาม Report-V นั้น เท่ากับสินค้าของบริษัทจำนวน Y ชิ้น และขอตัดบัญชีตามจำนวน Y ชิ้น
2. กรณีเป็นระบบ rmts 2011 หน่วยของสินค้าที่ได้รับโอนสิทธิตัดบัญชีจากลูกค้า จะต้องตรงกับหน่วยที่บริษัทได้รับอนุมัติสูตรการผลิต ดังนั้น หากลูกค้าโอนสิทธิตัดบัญชีมาเป็น "กิโลกรัม" แต่บริษัทขออนุมัติสูตรไว้เป็น "ชิ้น" จะนำ Report-V มาตัดบัญชีไม่ได้
วิธีแก้ไขคือ บริษัทและลูกค้าต้องเจรจากัน เพื่อเปลี่ยนหน่วยของสินค้าให้ตรงกัน แต่หากต่างฝ่ายต่างมีข้อจำกัด ไม่สามารถแก้ไขให้ตรงกันได้ อาจต้องแจ้งเจ้าหน้าที่บีโอไอเพื่อขอให้ช่วยหาทางออกให้
ไม่น่าจะทำได้ เนื่องจากการรับโอนเครื่องจักรที่เคยใช้ผลิตและก่อให้เกิดรายได้แล้วจากบัตรหนึ่ง ไปอีกบัตรหนึ่ง เป็นลักษณะของการสวมสิทธิ์
1.การยื่นแบบขอใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ ขอตอบรวมในข้อ 3
2.กรณีบริษัทมี 2 กิจการ คือกิจการที่ได้รับส่งเสริม และไม่ได้รับส่งเสริมการคำนวณกำไรและขาดทุนสุทธิให้ปฎิบัติตามประกาศกรมสรรพากร ลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2530
3.กรณีที่บริษัทได้รับสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลจาก BOI ในบัตรส่งเสริมจะมีการระบุเงื่อนไขดังนี้
"จะต้องยื่นแบบขอใช้สิทธิและประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล และรายงานผลการดำเนินงานที่ผ่านการตรวจสอบจากผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ให้สำนักงานเห็นชอบภายใน 120 วัน นับแต่วันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี เพื่อการขอรับสิทธิและประโยชน์ในการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลของรอบระยะเวลาบัญชีนั้น"
หมายความว่าหากในรอบระยะเวลาบัญชีใดบริษัทมีกำไรสุทธิ และต้องการใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ บริษัทจะต้องยื่นแบบขอใช้สิทธิฯ ตามที่ BOI กำหนด โดยปัจจุบันเป็นการยื่นออนไลน์ ผ่าน ระบบ e-Tax ของ BOI
แต่หากรอบระยะเวลาบัญชีใดบริษัทไม่มีกำไรสุทธิ หรือมีกำไรสุทธิแต่ไม่ต้องการใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ ก็ไม่ต้องยื่นแบบขอใช้สิทธิฯ
ถ้าบริษัทนำเข้าแม่พิมพ์โดยใช้สิทธิ BOI เพื่อรับจ้างผลิตชิ้นส่วนให้ลูกค้า แต่ต่อมาลูกค้าจ่ายเงินค่าแม่พิมพ์ให้กับบริษัททั้งหมด ก็เท่ากับว่าบริษัทนำแม่พิมพ์ที่ใช้สิทธิ์ BOI ไปจำหน่าย กรรมสิทธิ์เปลี่ยนมือจาก "บริษัทผู้ได้รับส่งเสริม" ไปยัง "ลูกค้า" ซึ่งผิดเงื่อนไขในการใช้สิทธิ์ กรณีที่ต้องการดำเนินการเช่นนี้ บริษัทจะต้องยื่นขออนุญาตโอนแม่พิมพ์ให้กับลูกค้า โดยลูกค้า (BOI) ต้องมีระยะเวลานำเข้าเครื่องจักรเหลืออยู่ด้วย ซึ่งเมื่อโอนเสร็จแล้ว ลูกค้าจึงยื่นขออนุญาตนำแม่พิมพ์มาว่าจ้างให้บริษัทผลิตชิ้นงานอีกทอดหนึ่ง
1. A (BOI) นำเข้าแม่พิมพ์โดยใช้สิทธิยกเว้นภาษี เพื่อผลิตเป็นสินค้า และจำหน่ายสินค้านั้นให้ B (BOI) หรือ C (IPO/BOI) ไม่ผิดเงื่อนไขอะไร สามารถใช้สิทธิยกเว้นภาษีเครื่องจักรและภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ แต่หากสินค้าไม่ได้ถูกส่งออก A จะใช้สิทธิยกเว้นภาษีวัตถุดิบตามมาตรา 36 ไม่ได้ 2. A สามารถโอนแม่พิมพ์ที่ได้นำเข้าโดยใช้สิทธิ์ยกเว้นภาษี ให้กับ B หรือ C ได้ โดยมีเงื่อนไขคือ B หรือ C ต้องมีระยะเวลานำเข้าเครื่องจักรเหลืออยู่ B และ C ต้องได้รับอนุมัติบัญชีแม่พิมพ์รายการนั้น