1.เครื่องจักร
- เครื่องจักรที่ไม่ได้ส่งคืนกลับไปต่างประเทศ จะมีภาระภาษีตามสภาพ ณ วันที่อนุญาตให้จำหน่ายเครื่องจักร
2.วัตถุดิบ
- วัตถุดิบที่ไม่ได้ส่งคืนไปต่างประเทศ จะมีภาระภาษีตามสภาพ ณ วันนำเข้า
3.ภาษีเงินได้นิติบุคคล
- ภาษีเงินได้ที่ใช้สิทธิยกเว้นไปแล้ว หากตรวจสอบว่าโครงการปฏิบัติถูกต้องตามเงื่อนไข จะไม่ถูกเรียกภาษีคืน
- แต่หากตรวจสอบแล้ว มีการปฏิบัติไม่ถูกต้อง เช่น กรรมวิธีการผลิตไม่ครบตามที่ได้รับอนุมัติ ฯลฯ จะถูกเรียกภาษีคืน
ผู้ที่สามารถใช้ช่องทางพิเศษ (premium lane / fast track lane) ในการเดินทางเข้าออกประเทศที่สนามบิน มีหลายประเภท สำหรับส่วนที่เกี่ยวข้องกับ BOI คือ
เป็นบริษัทที่ได้รับส่งเสริมการลงทุนจาก BOI และ
เป็นนักลงทุนต่างชาติระดับผู้บริหาร ตั้งแต่ Manager ขึ้นไป
วิธีการขอใช้ช่องทางพิเศษ ทำได้โดยการส่งอีเมลแจ้งต่อ BOI ล่วงหน้า 7 วัน รายละเอียดได้ใส่เพิ่มเติมไว้ในหน้าสาระน่ารู้ ตาม link : http://faq108.co.th/common/topic/premium_lane.php
กิจการที่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล แต่ยังไม่ได้รับใบอนุญาตเปิดดำเนินการ สามารถขอใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ตั้งแต่รอบปีที่มีรายได้ครั้งแรกได้ แต่จะต้องปฏิบัติถูกต้องตามเงื่อนไขที่กำหนดในบัตรส่งเสริม เช่น มีขนาดการลงทุนไม่ต่ำกว่าที่กำหนดในบัตรฯ และมีกรรมวิธีการผลิตครบตามขั้นตอนที่ได้รับอนุมัติ เป็นต้น กรณีที่สอบถาม บริษัทยังมีการลงทุน (ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน) ไม่ครบ 1 ล้านบาท ตามเงื่อนไขในบัตร จึงยังไม่สามารถใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลในช่วงระยะเวลานั้นได้
เงินลงทุนที่จะนับเป็นขนาดการลงทุนของโครงการ ที่จะนำมากำหนดวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ให้ยึดตามประกาศ ป.12/2544 โดยสรุปรายละเอียดไว้ตาม link : http://www.faq108.co.th/boi/tax/amount.php คำถามที่สอบถาม หากเป็นโครงการริเริ่ม สามารถนำเครื่องคอมพิวเตอร์สำนักงาน มานับเป็นขนาดการลงทุน ในข่ายสินทรัพย์อื่นๆได้ ส่วนสวัสดิการพนักงาน เช่น ค่าเครื่องแบบ ไม่นับเป็นขนาดการลงทุน
BOI ไม่มีข้อจำกัดเกี่ยวกับจำนวนช่างฝีมือต่างชาติที่จะมาปฏิบัติงานในโครงการที่ได้รับส่งเสริม เนื่องจากเป็นการอนุญาตให้คนต่างชาติมาปฏิบัติงานเพื่อถ่ายทอดความรู้และเทคโนโลยีให้กับพนักงานไทย BOI จึงจะพิจารณาเหตุผลความจำเป็นของแต่ละโครงการเป็นกรณีๆ ไปครับ
ประกาศ BOI ที่ ป.3/2547 กำหนดหลักเกณฑ์ไว้ว่า การเพิ่มกำลังผลิตของผลิตภัณฑ์เดิม จะต้องเป็นกิจการที่ยังไม่ได้เปิดดำเนินการ โดยจะให้เพิ่มกำลังการผลิตรวมกันไม่เกิน 30% ของกำลังการผลิตตามบัตรส่งเสริมฉบับแรก แต่หากสิทธิประโยชน์ที่จะได้รับ ไม่มีความแตกต่าง ไม่ว่าจะอนุมัติเป็นโครงการใหม่หรือเป็นการแก้ไขโครงการเดิม จะแก้ไขโครงการเดิมเพื่อเพิ่มกำลังผลิตเกินกว่า 30% ก็ได้
กิจการผลิตผลิตอิเล็กทรอนิกส์และชิ้นส่วน เป็นกิจการที่มีความสำคัญเป็นพิเศษ ได้รับอนุญาตให้นำเข้าเครื่องจักรตลอดระยะเวลาที่ได้รับส่งเสริม โดยได้รับยกเว้นอากรขาเข้าเพื่อปรับปรุงทดแทนเครื่องจักรเดิม หรือเพื่อเพิ่มกำลังผลิตในโครงการเดิมไม่ว่าจะปิดดำเนินการแล้วหรือไม่ก็ตาม ตามประกาศ กกท ที่ 6/2549 และ 2/2557
ตอบคำถามดังนี้
1.กิจการผลิตผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์และชิ้นส่วน สามารถนำเข้าเครื่องจักรเข้ามาปรับปรุงทดแทนเครื่องจักรเดิม หรือเพื่อเพิ่มกำลังผลิต ได้ตลอดระยะเวลาที่ได้รับส่งเสริม แม้ว่าจะเปิดดำเนินการครบตามโครงการแล้วก็ตาม โดยจะได้รับยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร
2.กรณีเป็นการนำเข้าเครื่องจักรเข้ามาเพื่อเพิ่มกำลังผลิต หากสิทธิประโยชน์ที่ได้รับอยู่เดิม แตกต่างกับสิทธิประโยชน์กรณียื่นคำขอรับส่งเสริมเป็นโครงการใหม่ จะสามารถเพิ่มกำลังผลิตได้ไม่เกิน 30% ของบัตรส่งเสริมฉบับแรก ยกตัวอย่างเช่น โครงการเดิมได้รับส่งเสริมโดยมีกำลังผลิต 1,000,000 ชิ้น/ปี และต้องการนำเครื่องจักรเข้ามาเพื่อเพิ่มกำลังผลิต
2.1) หากยังไม่เคยมีการเพิ่มกำลังผลิตมาก่อน สามารถขอนำเข้าเครื่องจักรเข้ามาเพื่อเพิ่มกำลังผลิตได้ไม่เกิน 300,000 ชิ้น/ปี โดยเครื่องจักรที่นำเข้ามาเพิ่ม จะได้รับยกเว้นอากรตลอดระยะเวลาที่ได้รับส่งเสริม ตามสิทธิของโครงการเดิม
2.2) หากเคยมีการเพิ่มกำลังผลิตไปแล้ว แต่ยังไม่เกิน 300,000 ชิ้น/ปี สามารถนำเครื่องจักรเข้ามาเพื่อเพิ่มกำลังผลิตได้ แต่เมื่อรวมกับกำลังผลิตที่เคยเพิ่มอยู่เดิมแล้วต้องไม่เกิน 300,000 ชิ้น/ปี 2.3) หากเคยมีการเพิ่มกำลังผลิตไปแล้วเกินกว่า 300,000 ชิ้น/ปี ไม่สามารถนำเครื่องจักรเข้ามาเพิ่มกำลังผลิตในโครงการเดิมได้อีก จะต้องยื่นขอรับส่งเสริมเป็นโครงการใหม่
3.กรณีที่สอบถาม บริษัทได้รับส่งเสริม 2 โครงการ หากสิทธิประโยชน์ที่ได้รับอยู่เดิมแตกต่างกับสิทธิประโยชน์ตามหลักเกณฑ์ปัจจุบัน จะสามารถเพิ่มกำลังผลิต (รวมกับกำลังผลิตที่อาจเคยมีการขอเพิ่มมาก่อน) ได้ไม่เกิน 30% ของบัตรส่งเสริมฉบับแรกของแต่ละโครงการ
การยื่นเอกสารถึง BOI ปกติควรไปติดต่อและยื่นเอกสารโดยตรง เพราะหากเอกสารไม่ครบถ้วนสมบูรณ์อย่างไร เจ้าหน้าที่ก็จะได้ตรวจสอบและอธิบายให้ทราบ อีกทั้งจะได้รับเลขที่ลงรับเอกสาร เพื่อใช้ตรวจสอบความคืบหน้าในการพิจารณาจากระบบ doctracking online ต่อไป
กรณีที่โรงงานตั้งอยู่ต่างจังหวัด ซึ่งอาจต้องเดินทางเป็นร้อยๆ กิโล หากเป็นเรื่องที่ศูนย์ BOI ประจำภูมิภาคที่ดูแลพื้นที่นั้นๆ มีอำนาจพิจารณา อาจจะประสานงานกับเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ภูมิภาค และส่งเอกสารทางอีเมล์ให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์ก่อน จากนั้นจึงส่งไปรษณีย์ลงทะเบียนไปยังเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ภูมิภาคนั้นๆ เพื่อลงรับและดำเนินการต่อก็ได้ เป็นกรณีๆ
Vendor ที่พูดถึง ขอเปลี่ยนเป็นคำว่า ลูกค้าและขอตอบเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ BOI เท่านั้น A(BOI) นำเข้าวัตถุดิบโดยไม่ได้ใช้สิทธิ BOI จากนั้นผลิตสินค้าจำหน่ายให้ B (BOI) เพื่อนำไปผลิตส่งออก 1-3) B สามารถใช้สิทธิ BOI ได้ หาก B มีการนำเข้าวัตถุดิบโดยใช้สิทธิ BOI / หรือ B ซื้อวัตถุดิบจาก vendor รายอื่นที่ใช้สิทธิ BOI ซึ่ง B ต้องโอนสิทธิตัดบัญชีกลับไปให้ vendor รายนั้น
ส่วน A ซึ่งนำเข้าวัตถุดิบโดยใช้สิทธิตามมาตรการที่ไม่ใช่ตามมาตรา 36 ของ BOI จะมีเงื่อนไขอื่นหรือไม่อย่างไรนั้น ไม่ทราบ
การตัดบัญชีเครื่องจักรเพื่อปลอดภาระภาษีเมื่อใช้งานครบ 5 ปี ส่วนใหญ่จะมี 2 กรณีคือ
1. ตัดบัญชีไปพร้อมกับการขออนุญาตจำหน่าย
กรณีนี้จะพิจารณาว่า เครื่องจักรที่จำหน่ายเป็นเครื่องจักรหลักที่จะทำให้กำลังผลิตหรือกรรมวิธีเปลี่ยนแปลงหรือไม่ หากกระทบ ก็จะต้องมีเครื่องจักรเข้ามาแทน หรือต้องขอลดกำลังผลิต เป็นต้น
ซึ่งกรณีนี้ หากยังไม่ครบกำหนดเปิดดำเนินการ จะยังไม่เปิดครบตามโครงการก็ได้
2. ตัดบัญชีเพื่อปลอดภาระภาษี แต่จะยังคงใช้ในโครงการ
กรณีนี้จะขึ้นอยู่กับเจ้าหน้าที่ผู้พิจารณา แต่ส่วนใหญ่มักจะแจ้งให้บริษัทเปิดดำเนินการให้ครบตามโครงการก่อน
เข้าใจไม่ถูกต้องครับ เครื่องจักรที่ใช้สิทธินำเข้าตามมาตรา 28 หรือ 29 จะต้องใช้ในกิจการที่ได้รับส่งเสริมเท่านั้น หากไม่ต้องการใช้เครื่องจักรในโครงการ สามารถดำเนินการได้ดังนี้
ขอส่งออกไปต่างประเทศ
- ไม่มีภาระภาษี
ขอจำหน่ายในประเทศ
- มีภาระภาษีตามสภาพ
- หากนำเข้าเกิน 5 ปี สามารถตัดบัญชีเพื่อปลอดภาระภาษี และจำหน่ายโดยไม่มีภาระภาษี
ขอบริจาค
- ไม่มีภาระภาษี
ขอทำลาย
- ต้องเป็นกรณีชำรุดเสียหายเท่านั้น
- ไม่มีภาระภาษี
กรณีที่นำเข้าเครื่องจักรครบ 5 ปีแล้ว จะยื่นตัดบัญชีเพื่อปลอดภาระภาษีหรือไม่ก็ได้
แม้จะได้รับอนุญาตให้ตัดบัญชีเพื่อปลอดภาษีแล้ว บริษัทก็ยังคงต้องใช้เครื่องจักรนั้นในโครงการที่ได้รับส่งเสริมต่อไป การจะจำหน่ายเครื่องจักรออกจากโครงการ (ตัดบัญชีเครื่องจักร) จะต้องดำเนินการตามวิธีข้างต้น
กรณีบริษัทนำเข้าวัตถุดิบโดยใช้สิทธิยกเว้นภาษีอากรตามมาตรา 36 เมื่อส่งออก บริษัทต้องระบุในใบขนสินค้าขาออกว่ามีการใช้สิทธิ BOI และยื่นตัดบัญชีวัตถุดิบโดยระบบ RMTS แต่หากบริษัทนำเข้าวัตถุดิบโดยใช้สิทธิตามมาตรการอื่น ก็ไม่ต้องระบุว่ามีการใช้สิทธิ BOI และไม่ต้องนำใบขนมาตัดบัญชีกับ BOI แต่หากบริษัทมีการซื้อชิ้นส่วนบางการในประเทศจาก Vendor ที่เป็น BOI และต้องโอนสิทธิตัดบัญชีวัตถุดิบมาตรา 36 ให้กับ Vendor รายนั้น บริษัทก็ต้องระบุในใบขนว่ามีการใช้สิทธิ BOI เพื่อให้สามารถตัดบัญชี และโอน report-V ให้กับ Vendor รายนั้นได้
Q: แล้วหากเป็นแม่พิมพ์ที่เรานำไปให้ supplier ที่อยู่ในประเทศไทยใช้ผลิตวัตถุดิบให้เรา จะนับหรือไม่
A: หากแม่พิมพ์เป็นรายการในทะเบียนสินทรัพย์ของบริษัท และนำไปว่าจ้าง Supplier ในประเทศ ตามที่ BOI อนุญาต ถือเป็นการลงทุนที่สามารถนำมาคำนวณวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้
Q: หากตอนเปิดดำเนินการ วงเงินที่ได้รับสำหรับยกเว้นภาษีเงินได้ ได้ถูกรวมค่าใช้จ่ายตัวนี้ไปแล้ว และทางผู้ตรวจสอบบัญชีแนะนำว่าให้ใช้สิทธิโดยไม่เอายอดเงินจากแม่พิมพ์พวกนี้มารวม ทำได้ไหม โดยไม่ต้องแก้ไขการเปิดดำเนินการ หรือเอกสารการเปิดดำเนินการจากบีโอไอ
A: กรณีที่เปิดดำเนินการโดยกำหนดวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้ไปแล้ว แต่ต่อมาบริษัทส่งแม่พิมพ์ไปว่าจ้างบริษัทที่ต่างประเทศให้ผลิตให้ (โดยกรรมวิธีการผลิตที่ได้รับส่งเสริมมีขั้นตอนให้นำแม่พิมพ์ไปว่าจ้างผู้อื่นผลิต)
เนื่องจากแม่พิมพ์ที่นำไปว่าจ้างบริษัทที่ต่างประเทศจะไม่นับเป็นการลงทุนเพื่อคำนวณวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้ ความเห็นของแอดมิน คือ บริษัทควรใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ โดยไม่นำมูลค่าแม่พิมพ์นี้มารวมเป็นวงเงินยกเว้นภาษี เพื่อลดปัญหาที่อาจเกิดขึ้นภายหลัง แต่ไม่ต้องยื่นแก้ไขปรับลดวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้ในบัตรส่งเสริมและใบอนุญาตเปิดดำเนินการ
ตามนโยบายการให้การส่งเสริมการลงทุน BOI จะไม่กำหนดเงื่อนไขอัตราส่วนผู้ถือหุ้นไทยและต่างชาติ ในกิจการอุตสาหกรรมการผลิต แต่หากบริษัทยื่นคำขอรับการส่งเสริมการลงทุน โดยระบุว่าจะมีหุ้นไทย ... % หรือนำบริษัทเดิมที่มีหุ้นไทยบางส่วนหรือทั้งหมด มายื่นขอรับการส่งเสริมเพื่อขยายกิจการBOI ก็จะกำหนดเงื่อนไขในบัตรส่งเสริม ให้ต้องมีหุ้นไทยไม่น้อยกว่า ... % ตามที่บริษัทระบุ (หรือ ... % ตามอัตราส่วนหุ้นไทยที่มีอยู่ในบริษัทเดิม) เว้นแต่กรณีที่มีหุ้นไทยไม่ถึง 10% จึงจะไม่กำหนดเงื่อนไขในบัตรส่งเสริม
ตอบคำถาม
บริษัทสามารถยื่นขอแก้ไขอัตราส่วนผู้ถือหุ้นไทยและต่างชาติได้ โดยการยื่น แบบคำขออนุญาตแก้ไขอัตราส่วนผู้ถือหุ้น พร้อมกับเตรียมเอกสารแนบ คือ
1.สำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (บอจ.5) ก่อนการแก้ไข
2.หนังสือยินยอมของผู้ถือหุ้นไทยทุกราย / รายงานการประชุมผู้ถือหุ้น ที่แสดงถึงวัตถุประสงค์ในการแก้ไขอัตราส่วนผู้ถือหุ้น จากนั้นนำไปยื่นต่อสำนักบริหารการลงทุน 1-4 ที่ดูแลประเภทกิจการของบริษัท และเมื่อได้รับอนุมัติแล้ว จึงนำบัตรส่งเสริมไปบันทึกแก้ไข ที่แผนกบัตรส่งเสริม ต่อไป
1. กรณีเป็นบริษัทใหม่ ซึ่งมีการลงทุนเป็นครั้งแรก
- สามารถนำรายการที่สอบถามทั้งหมด มาบันทึกเป็นเครื่องจักรและอุปกรณ์ เพื่อนับเป็นขนาดการลงทุนได้
2. กรณีที่บริษัทประกอบธุรกิจอยู่แล้ว และต่อมาได้ยื่นขอรับการส่งเสริมเพื่อลงทุนในกิจการ IPO
- ส่วนที่จะนับเป็นการลงทุนได้ จะต้องเป็นค่าก่อสร้างหรือเครื่องจักรและอุปกรณ์เท่านั้น กรณีของบริษัทฯตามที่สอบถาม บริษัทประกอบธุรกิจอื่นอยู่ก่อนแล้ว จึงจะนับได้เฉพาะค่าก่อสร้าง และค่าเครื่องจักรและอุปกรณ์ดังนี้
2.1 ส่วนที่สามารถนับเป็นการลงทุนได้ ได้แก่ Inspection light (โคมไฟสำหรับใช้ตรวจเช็คงาน), Table Light (โต๊ะที่มีโคมไฟใช้สำหรับตรวจเช็คงาน) และแผ่นพลาสติก/โลหะสำหรับทำจิ๊ก ตรวจสอบชิ้นงาน โดยอุปกรณ์ข้างต้นนี้ จะต้องระบุคำอธิบายรายละเอียดให้ชัดเจนว่าเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการตรวจสอบคุณภาพสินค้า
2.2 ส่วนที่นับเป็นขนาดการลงทุนไม่ได้ ได้แก่ CCTV (กล้องวงจรปิด) และ Software (ใช้ร่วมกับโครงการ 6.9)
แบบคำขอใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ หน้า 4/7 ข้อ 1.3 (2) มูลค่าเครื่องจักรและอุปกรณ์ ควรใช้รายการเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ได้ยื่นไว้ในคำขออนุญาตเปิดดำเนินการ -> รายการที่นำไป cap วงเงิน เพราะเป็นรายการที่ผ่านการตรวจสอบแล้วว่า สามารถนับเป็นขนาดการลงทุนของโครงการ
กรณีที่ BOI มีคำสั่งยกเลิกหรือเพิกถอนบัตรส่งเสริม โดยที่โครงการนั้นยังมีช่างฝีมือต่างชาติได้รับสิทธิประโยชน์ให้พำนักและทำงานในประเทศอยู่
BOI จะมีหนังสือแจ้งไปยังบริษัท เพื่อให้ยื่นเรื่องช่างฝีมือดังกล่าวพ้นตำแหน่ง ภายใน 15 วัน หากพ้นกำหนดดังกล่าวแล้ว แต่บริษัทไม่ดำเนินการยื่นเรื่องช่างฝีมือพ้นตำแหน่ง BOI จะแจ้งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (ตม. และ แรงงาน) เพื่อแจ้งว่าช่างฝีมือดังกล่าว พ้นจากการได้รับสิทธิให้อยู่และทำงานในประเทศ ภายใต้สิทธิของ BOI แล้ว
การกรอกแบบคำขอยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล (F PM TA 01) กรณีเป็นบัตร (1) คือ ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลโดยไม่กำหนดวงเงินสูงสุด หากมูลค่าเครื่องจักรและอุปกรณ์ ในข้อ 1.3 (2) เกินกว่า 1 ล้านบาท ก็ไม่ต้องกรอกมูลค่าสินทรัพย์อื่นๆ ในข้อ 1.3 (3)
กรณีที่บริษัทครบกำหนดเปิดดำเนินการ และไม่สามารถขยายระยะเวลาเปิดดำเนินการได้อีกแต่มีขนาดการลงทุน (ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน) ไม่ครบ 1 ล้านบาท ตามเงื่อนไขขั้นต่ำที่กำหนดในบัตรส่งเสริม บริษัทจะถูกเพิกถอนบัตรส่งเสริมและจะมีภาระภาษีดังนี้
1.เครื่องจักร
- จะมีภาษีอากรตามสภาพ ณ วันนำเข้า สำหรับเครื่องจักรที่นำเข้าโดยใช้สิทธิยกเว้นภาษี และไม่ได้ส่งคืนกลับไปต่างประเทศ
2.วัตถุดิบ
- จะมีภาษีอากรตามสภาพ ณ วันนำเข้า สำหรับวัตถุดิบที่นำเข้าโดยใช้สิทธิยกเว้นภาษี แต่ตัดบัญชีไม่หมด (มียอด balance คงเหลือในระบบ RMTS)
กรณีเป็นขั้นตอนการยื่นขอบรรจุช่างฝีมือ โดยที่ช่างฝีมือต่างชาติดังกล่าวมีการเปลี่ยนแปลงชื่อสกุล ทำให้ชื่อสกุลในเอกสารต่างๆ ที่ใช้ในการยื่นบรรจุ (หนังสือเดินทาง ใบรับรองการทำงาน ใบรับรองวุฒิการศึกษา) จะมีชื่อสกุลไม่ตรงกัน จึงต้องแนบเอกสารรับรองการเปลี่ยนชื่อสกุล (ชื่อเดิม และชื่อใหม่) ที่ออกโดยหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องของประเทศนั้นๆ ด้วย
กรณีที่ยื่นคำร้องไปหลายครั้งแล้วยังไม่ผ่าน เข้าใจว่าบริษัทยื่นเอกสารไม่ตรงกับที่ BOI ขอเพิ่มเติม จึงขอให้ติดต่อกับเจ้าหน้าที่ผู้พิจารณาเรื่องโดยตรง