Chat
x
toggle menu
toggle menu

Select Groups

All Group
  • All Group
  • นโยบายเเละมาตรการพิเศษในการส่งเสริม
  • การขอรับการส่งเสริมการลงทุน
  • การออกบัตรส่งเสริม
  • การเปิดดำเนินการ
  • การเเก้ไขโครงการ
  • การดำเนินการอื่น ๆ
  • การรายงานความคืบหน้าโครงการ (e-Monitoring)
  • การปฏิบัติหลังการได้รับการส่งเสริม
  • การยกเลิกบัตรส่งเสริม
  • เรื่องทั่วไป
  • การใช้สิทธิด้านที่ดิน
  • การใช้สิทธิด้านเครื่องจักร
  • การใช้สิทธิด้านช่างฝีมือ/ต่างด้าว
  • การใช้สิทธิด้านวัตถุดิบ
  • ประเภทกิจการ - การแพทย์
  • การใช้สิทธิด้านภาษีเงินได้นิติบุคคล
  • ประเภทกิจการ - รถยนต์ไฟฟ้า
  • ประเภทกิจการ - ศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศ (IBC) IPO และ TISO
  • ประเภทกิจการ - โรงแรม
  • ประเภทกิจการ - ผลิตผลิตภัณฑ์โลหะรวมทั้งชิ้นส่วนโลหะ
  • ประเภทกิจการ - กิจการผลิตเครื่่องจักร อุุปกรณ์และชิ้นส่วน
  • ประเภทกิจการ - กิจการศูนย์กระจายสินค้าระหว่า ประเทศด้วยระบบที่่ทันสมัย (IDC)
กรณีขออนุญาตนำส่วนสูญเสียไปเก็บนอกสถานที่ ต้องขออนุญาตครั้งเดียวหรือต้องขอทุกครั้งที่จะนำไปเก็บ

หากเป็นการนำส่วนสูญเสียไปเก็บในสถานที่เดิม ที่เคยได้รับอนุมัติไว้แล้ว ก็ไม่ต้องขออนุญาตอีก แต่หากจะไปเก็บในที่แห่งใหม่ ก็ต้องขออนุญาตใหม่

การขออนุญาตนำส่วนสูญเสียไปเก็บนอกสถานที่ มีขั้นตอนการยื่นขอและหลักเกณฑ์การพิจารณายังไงบ้าง หรือมีประกาศเพิ่มเติมในเรื่องนี้ยังไงบ้าง

1.การขออนุญาตนำวัตถุดิบ ผลิตภัณฑ์ และส่วนสูญเสีย ไปเก็บนอกสถานประกอบการ กำหนดเงื่อนไขไว้ใน ประกาศ สกท ที่ ป.3/2556 ข้อ 10

2.การขออนุญาตนำวัตถุดิบ ผลิตภัณฑ์ และส่วนสูญเสีย ไปเก็บนอกสถานประกอบการ ให้ยื่นคำร้องขออนุญาต

3. หลักเกณฑ์การพิจารณา ไม่ทราบแน่ชัด แต่หาก ฺBOI พิจารณาแล้วว่ามีเหตุผลความจำเป็น และมีเอกสารหลักฐานครบถ้วนถูกต้อง น่าจะได้รับอนุญาตทุกกรณี

เนื่องจากได้สงวนสิทธิ์ไว้ และต้องการขอคืนอากรขาเข้าที่จ่ายไป จะต้องทำอย่างไรบ้าง
การคืนอากรขาเข้าเครื่องจักรมีขั้นตอนดังนี้

1.ยื่นคำร้องขอทำบัญชีเครื่องจักร/หรือเพิ่มรายการเครื่องจักรในระบบ eMT ให้ตรงกับชื่อเครื่องจักรที่นำเข้ามาแล้ว

2.ยื่นคำร้องขอสั่งปล่อยคืนอากรเครื่องจักรในระบบ eMT

3.จากนั้นไปติดต่อกรมศุลกากร เพื่อยื่นเรื่องขอคืนอากรต่อไป

ทั้งนี้ ภายใต้สิทธิ BOI จะได้รับคืนเฉพาะอากรขาเข้าเท่านั้น ส่วน VAT ที่ได้ชำระไปแล้วให้ใช้วิธีเครดิต VAT (VAT ขาย - VAT ซื้อ) ทุกรอบเดือนตามปกติ หรือหากจำเป็นต้องขอคืน VAT ต้องติดต่อกับกรมสรรพากรโดยตรง

เจ้าหน้าที่คนเดิมที่ทำอยู่ท่านได้ลาออกไปแต่มีรายงานว่าได้ทำเรื่องขอคืนภาษีอากรนำเข้าเครื่องจักรไว้ จะต้องดำเนินเรื่องต่อ แต่ไม่เคยทำเกี่ยวกับบีโอไอเลย เลยอยากขอช่องทางการติดต่อเพื่อที่จะได้ดำเนินเรื่องต่อ ว่าสมควรติดต่อใคร
การขอคืนอากรเครื่องจักรมีขั้นตอนดังนี้

1.ยื่นคำร้องขอสั่งปล่อยคืนอากรเครื่องจักรผ่านระบบ eMT

2.เมื่อได้รับอนุมัติ ให้ติดต่อกับกรมศุลกากร เพื่อขอคืนอากรเครื่องจักร แต่จะไม่ได้รับคืน VAT

กรณีที่รับงานต่อจากพนักงานท่านเดิมที่ลาออก

ก่อนอื่นควรเข้ารับการอบรมวิธีการใช้สิทธิประโยชน์เครื่องจักรบนระบบ eMT จากสมาคม IC ซึ่งจัดคอร์สฝึกอบรมเป็นประจำ จากนั้นตรวจสอบข้อมูลคำร้องในระบบ eMT ว่าเคยมีการยื่นสั่งปล่อยคืนอากรเครื่องจักรแล้วหรือไม่ และได้รับอนุมัติแล้วหรือไม่ หากเรื่องได้รับอนุมัติแล้ว ให้ส่งข้อมูลให้กับ บ.ชิปปิ้ง เพื่อให้เป็นตัวแทนยื่นคำร้องขอคืนอากรเครื่องจักรต่อกรมศุลกากรต่อไป
ในส่วนสูญเสียนอกสูตร ของบริษัทเป็นเศษพลาสติก บริษัทส่งออกนอกประเทศโดยมีตัวแทนต่างประเทศเป็นผู้มารับไปจากโรงงานและชำระเงิน โดยมีเอกสารแต่งตั้งตัวแทนจากต่างประเทศ กรณีนี้ ทางบริษัทต้องทำเรื่องขออนุญาตนำวัตถุดิบออกนอกบริษัทด้วยหรือไม่ จะมารับประมาณ3-4 ครั้ง (ซึ่งในแต่ละครั้งจะมีการเปิด invoice และชำระเงิน) แล้วรวบรวมยอดให้เต็มตู้คอนเทนเนอร์เพื่อส่งออก มารับ 3-4ครั้ง ก็จะใช้เวลาประมาณ 3เดือน ซึ่งหมายความว่า จะมี invoice ผ่านมา 3 เดือนถึงจะยื่นขออนุมัติขอส่งออกต่างประเทศ กรณีนี้ถือว่าผิดเงื่อนไขหรือไม่

หากบริษัทตัวแทนฯ รับเศษพลาสติกไปจากโรงงานของเรา โดยจ่ายเงินทุกครั้งที่รับไป ก็เท่ากับเกิดการขายในประเทศ และผิดเงื่อนไขในการใช้สิทธิมาตรา 36 (แม้ว่าหลังจากนั้นจะนำไปส่งออกก็ตาม)

ถ้าในกรณีที่มีการชำระเงินโดยตัวแทนของต่างประเทศ หลังจากที่ส่งออกไปแล้ว อย่างนี้ผิดเงื่อนไขหรือไม่

การจ่ายเงินหลังจาก scrap ส่งออกไปต่างประเทศ ไม่น่าจะแก้ผิดเป็นถูกได้ แม้จะส่ง scrap ไปต่างประเทศ แต่ถ้านิติกรรมนั้นเข้าข่ายการซื้อขายในประเทศ ก็อาจจะมีปัญหา เรื่องนี้น่าจะสอบถามกรมศุลกากรด้วย

"อุปกรณ์วัดในการตรวจสอบคุณภาพของผลิตภัณฑ์ (Measurement Jig)" ได้รับสิทธิ์ยกเว้นหรือลดหย่อนอากรภาษีอากร(นำเข้า)เหมือนกับเครื่องจักร•อุปกรณ์หรือไม่ เนื่องจากอุปกรณ์วัดนี้ เป็นอุปกรณ์วัดที่นำมาใช้ในโครงการที่ได้รับการส่งเสริม
อุปกรณ์สำหรับตรวจสอบคุณภาพสินค้า สามารถขออนุมัติบัญชีในข่ายเครื่องจักร อุปกรณ์ แต่ในการขออนุมัติบัญชี ควรกำหนดชื่อให้ชัดเจนว่าเป็นอุปกรณ์สำหรับตรวจสอบอะไร และอาจต้องระบุโมเดลและ spec ให้ชัดเจน

เพื่อให้สามารถตรวจสอบได้ว่า ไม่เป็นอุปกรณ์ที่ไม่มีผลิตหรือประกอบในประเทศไทย
มีเครื่องมือ, อุปกรณ์ตรวจสอบคุณภาพของชิ้นงานที่นำเข้ามาแล้วและมีการเสียอากรนำเข้ามา เนื่องจากยังไม่ได้เพิ่มชื่อลงในบัญชีรายชื่อ (Master List) 1. สามารถขอคืนอากรนำเข้าย้อนได้ถูกต้องใช่หรือไม่ หลังจากที่ได้เพิ่มชื่อลงในบัญชีรายชื่อแล้ว 2. ในกรณีข้อที่1สามารถขอคืนอากรนำเข้าย้อนหลังได้ การขอเพิ่มชื่อลงในบัญชีรายชื่อในระบบ eMT Online หน่วยของเครื่องมือ, อุปกรณ์ตรวจสอบคุณภาพของชิ้นงานที่นำเข้าถูกระบุในหน้าอินวอยส์เป็น"Set" แต่ในShipment List ที่แนบมากับอินวอยซ์ แตกรายละเอียดส่วนประกอบที่นำมาประกอบเป็นเครื่องมือ, อุปกรณ์ตรวจสอบชิ้นงานเป็น "Piece" ตามตัวอย่างด้านล่างนี้ บริษัทจะต้องกรอกข้อมูลในระบบ "เป็นSetตามหน้าอินวอยซ์" หรือ "เป็นPieceตามShipment List " Invoice Shipment List Microscopic Illumination 7 Set Microscopic Illumination Light Light 7 Pcs. Light Guide Light Guide 7 Pcs. Lens Lens 7 Pcs.
1. หากได้รับอนุมัติชื่อเครื่องจักรดังกล่าวในบัญชีรายการเครื่องจักร (Master List) ก็สามารถขอสั่งปล่อยเพื่อคืนอากรได้

2. การจะขอสั่งปล่อยคืนอากร หน่วยในใบขนสินค้าขาเข้า จะต้องตรงกับหน่วยใน Master List

กรณีที่บริษัทส่งส่วนสูญเสียนอกสูตร (Product NG) ออกไปต่างประเภท แบบฟอร์มการขออนุญาตส่งส่วนสูญเสียกรณีเป็น Precut NG เหมือนกันกับ Material หรือไม่ และเมื่อขออนุญาตส่งออกแล้ว ต้องดำเนิการขั้นตอนไหนต่อต้องขออนุญาตตัดบัญชีเหมือนวัตถุดิบหรือไม่ หรือเมื่อได้ใบขนขาออกแล้วสามารถนำไปตัดบัญชีที่ IC ได้เลย โดยที่ไม่ต้องอนุญาตตัดบัญชีเหมือนวัตถุดิบ กรณีส่วนสูญเสีย (นอกสูตร) ส่งออกไปต่างประเทศ เช่น ผลิตภัณฑ์ = LEAD FRAME รุ่น FL-2L
การส่งออกส่วนสูญเสียที่เป็นสินค้าสำเร็จรูป

1. หากชื่อสินค้าในใบขน ตรงกับสูตรการผลิตที่ได้รับอนุมัติ สามารถยื่นตัดบัญชีตามปกติ โดยไม่ต้องขออนุญาตส่งออกส่วนสูญเสีย

2. หากชื่อสินค้าในใบขน ไม่ตรงกับสูตรการผลิต โดยต้องระบุว่าส่วนสูญเสีย เช่น LEAD FRAME Model FL-2L (NG Product) จะต้องยื่นขออนุญาตส่งออกและขอตัดบัญชีในข่ายส่วนสูญเสีย ซึ่งทำได้ 2 วิธีคือ

2.1 ให้บริษัท Inspector ตรวจสอบรับรองชนิดและปริมาณวัตถุดิบที่ได้ใช้ไป

2.2 จนท. BOI อาจแจ้งต่อไปยัง IC เพื่อให้ตัดบัญชีวัตถุดิบจากสูตรการผลิตนั้นโดยตรง

กรณีนี้แนะนำให้ติดต่อกับ จนท BOI ผู้รับผิดชอบโครงการของบริษัท เพื่อปรึกษาแนวทางดำเนินการ

หากบริษัทจะส่งส่วนสูญเสียนอกสูตรไปต่างประเทศ(เขตส่งออก) Scrap ที่จะส่งออกไปจะเป็นรูปแบบส่วนสูญเสียที่เป็นสินค้าสำเร็จรูป ที่มีการแนะนำว่าหากชื่อสินค้าในใบขนตรงกับสูตรการผลิตที่ได้อนุมัติ สามารถยื่นตัดบัญชีได้ตามปกติโดยไม่ต้องขออนุญาตส่งออกส่วนสูญเสีย แปลว่า สามารถส่งออกได้เลย แล้ว ระบุ model และ Description ได้เลย แล้วสามารถนำไปยื่นตัดบัญชีที่ IC ได้เลยใช่ไหม เพิ่มเติม : ต้องมีระบุคำว่า scrap ในหน้าใบขนหรือไม่

ถ้าชื่อสินค้าและโมเดลในใบขนสินค้าขาออก ตรงกับสูตรการผลิต จะสามารถตัดบัญชีได้ตามปกติ แต่ถ้าชื่อสินค้าไม่ตรง เช่น มีคำว่า scrap เพิ่ม ต้องระบุว่าส่วนสูญเสีย เช่น LEAD FRAME Model FL-2L (NG Product) จะต้องยื่นขออนุญาตส่งออกและขอตัดบัญชีในข่ายส่วนสูญเสีย

ซึ่งทำได้ 2 วิธีคือ

2.1 ให้บริษัท Inspector ตรวจสอบรับรองชนิดและปริมาณวัตถุดิบที่ได้ใช้ไป

2.2 จนท.BOI อาจแจ้งต่อไปยัง IC เพื่อให้ตัดบัญชีวัตถุดิบจากสูตรการผลิตนั้นโดยตรง

เมื่อได้รับการอนุมัติชื่อในบัญชีรายการเครื่องจักรเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จะต้องขอ "หนังสือพิจารณาให้ลดหย่อน/ยกเว้นอากรขาเข้า" เพื่อนำไปยื่นต่อกรมศุลฯต่อไปใช่หรือไม่ ในกรณีที่ใช่จะสามารถดำเนินการได้ทางไหน
ให้ยื่นขออนุมัติสั่งปล่อย/หรือขออนุมัติสั่งปล่อยคืนอากร ในระบบ eMT
สอบถามใช้สิทธิฯ นำเข้าอะไหล่เครื่องจักร ที่สั่งปล่อยชื่อเป็น INJECTION MOLDING MACHINE WITH ACCESSORIES ถ้ามีอุปกรณ์เครื่องดังกล่าวเสีย กรณีนี้บริษัท สามารถใช้สิทธิได้หรือเปล่าเพราะชื่ออุปกรณ์ไม่ได้มีชื่อใน INVOICE นำเข้าแต่แรก
สามารถใช้สิทธิได้ โดยเลือกการส่งซ่อมเครื่องจักรตามขั้นตอนปกติ แล้วติ๊กตรงช่อง "ชื่อรายการที่ส่งซ่อมไม่ตรงกับชื่อรายการในบัญชี" และกรอกชื่อตามที่ส่งซ่อม
การขออนุญาตส่งออกส่วนสูญเสียนอกสูตรไปต่างประเทศ ก่อนที่บริษัทจะขออนุญาตส่งออกจากสำนักงานบีโอไอ บริษัทต้องแจ้งบริษัทตัวแทนบีโอไอมาตรวจสอบส่วนสูญเสียก่อนทำการยื่นขออนุมัติส่งออกเพื่อที่จะขอ Certificate แนบเอกสารยื่นขออนุญาตส่งออกหรือไม่

หากส่วนสูญเสียนอกสูตร เป็นชนิดเดียวกันกับวัตถุดิบที่นำเข้า เช่น วัตถุดิบที่นำเข้าคือ PP RESIN และส่วนสูญเสียนอกสูตรคือ SCRAP PP RESIN สามารถขออนุญาตส่งออกได้โดยไม่ต้องให้ Inspector ตรวจสอบรับรอง แต่ทั้งนี้ จะต้องระบุรายการสินค้าในใบขนสินค้าขาออกเป็น SCRAP PP RESIN ด้วย

แต่หากส่วนสูญเสียนอกสูตร เป็นคนละชื่อกับวัตถุดิบ เช่น มีการผสม/ประกอบ เป็นชิ้นส่วนอื่นไปแล้ว จะต้องให้ Inspector ตรวจสอบรับรองว่าสวนสูญเสียนอกสูตรนั้น เกิดจากวัตถุดิบรายการใดบ้าง จำนวนอย่างละเท่าไร จากนั้นจึงจะขออนุญาตส่งออกได้

บริษัทฯมีส่วนสูญเสียในสูตรการผลิตเป็นวัตถุดิบนำเข้าบีโอไอทั้งหมด ซึ่งมี Scrap 2 ส่วน คือส่วนที่ 1 มีมูลค่าเชิงพาณิชย์ และส่วนที่ 2 ไม่มีมูลเลย คำถามคือ ในใบสรุปปริมาณเศษส่วนสูญเสีย (ในสูตรการผลิต) ควรจะยื่นแค่ส่วนที่มีมูลค่าเชิงพาณิชย์เท่านั้นใช่หรือไม่? เนื่องจากเป็นเรื่องขอชำระภาษีส่วนสูญเสียที่มีมูลค่าเชิงพาณิชย์ (ส่วนสูญเสียในสูตรการผลิต)
กรณีเป็นส่วนสูญเสียในสูตรการผลิต

1) ส่วนสูญเสียในสูตรที่มีมูลค่าเชิงพาณิชย์

- ต้องยื่นขออนุมัติชำระภาษีตามสภาพเศษซาก และชำระภาษีให้เสร็จสิ้นก่อน จึงจะจำหน่ายได้

- หลังจากชำระภาษีแล้ว ไม่สามารถนำมาตัดบัญชีได้อีก เนื่องจากตัดบัญชีไปในสูตรแล้ว

2) ส่วนสูญเสียในสูตรที่ไม่มีมูลค่าเชิงพาณิชย์

- สามารถนำไปกำจัดได้ตามที่กฎหมายกำหนด โดยไม่ต้องขออนุญาตจาก BOI การยื่นขอชำระภาษีส่วนสูญเสียในสูตร จึงยื่นเฉพาะรายการตามกรณีที่ 1 เท่านั้น

การนำเครื่องจักรที่ไม่มีมูลค่ามาจากบริษัทแม่ที่ประเทศจีน นำเข้ามาติดตั้งและผลิตในประเทศไทย โดยมูลค่าเครื่องจักรนี้เป็นศูนย์ ไม่มีการชำระค่าเครื่องจักรใด ๆ ทั้งสิ้น เนื่องจากว่า เป็นการส่งมาให้ยืม เพื่อสนับสนุนกระบวนการผลิตที่ประเทศไทย คำถาม 1) ทางบริษัทฯ สามารถนำเข้ามาผลิตได้ตามปกติ ใช่ไหม (เสมือนนำเข้าเครื่องจักรจากต่างประเทศ) ใช่หรือไม่ ? 2) มูลค่าของเครื่องจักรในหน้าอินวอยซ์ จะสำแดงตามมูลค่าเครื่องจักรจริง แต่ไม่มีการชำระเงินให้กับบริษัทฯแม่ จะต้องนำมูลค่านั้น มารวมเป็นมูลค่าในการลงทุนด้วยหรือไม่ ?
การยืมเครื่องจักรจากต่างประเทศโดยไม่มีค่าใช้จ่าย

1. หากเป็นเครื่องจักรที่ตรงตามรายการใน Master List ก็สามารถนำเข้ามาโดยใช้สิทธิยกเว้นภาษีอากรตามมาตรา 28 หรือ 29 ได้ ไม่ว่าจะเป็นการยืม เช่า หรือซื้อ ก็ตาม แต่ทั้งนี้ สภาพใหม่เก่าก็ต้องสอดคล้องกับเงื่อนไขในบัตรส่งเสริมด้วย ยกเว้นกรณีที่เป็นการยืมมาใช้ชั่วคราวไม่เกิน 1 ปี จะพิจารณาอายุของเครื่องจักรให้ตามความเหมาะสม

2. มูลค่าเครื่องจักรตามหน้าอินวอยซ์ ให้สำแดงตามจริง โดยระบุว่าเพื่อประโยชน์ทางศุลกากร โดยไม่มีการเรียกเก็บเงิน

3. เครื่องจักรที่ได้มาจากบริษัทในเครือโดยไม่ต้องจ่ายค่าตอบแทน จะต้องระบุไว้ในขั้นขอรับการส่งเสริม จึงจะนับเป็นขนาดการลงทุนได้ โดยจะนับมูลค่าตามบัญชีของบริษัทที่ให้มา ณ วันที่ยื่นขอรับการส่งเสริม (ตามประกาศ สกท ที่ ป.1/2545 ข้อ 1.2.4) และต้องครอบครองเครื่องจักรนั้นอยู่จนถึงวันเปิดดำเนินการตามโครงการด้วย กรณีที่สอบถาม น่าจะเป็นการยืมใช้ชั่วคราว และไม่น่าจะแจ้งไว้ในขั้นขอรับการส่งเสริม จึงไม่เข้าข่ายที่จะนับเป็นมูลค่าการลงทุน

ขออนุมัตินำเข้าเครื่องจักรใหม่ สำแดงใบขนขาเข้าเครื่องจักรใหม่ แต่สภาพเป็นเครื่องเก่าใช้แล้ว อยากทราบว่า 1. ต้องดำเนินการอย่างไร 2. มีผลกระทบอย่างไรบ้าง

บริษัทได้รับส่งเสริมจาก BOI โดยให้ใช้เครื่องจักรใหม่ แต่นำเข้ามาเป็นเครื่องจักรเก่า โดยสำแดงใบขนว่าเป็นเครื่องจักรใหม่ กรมศุลกากร

เป็นความผิดสำแดงเท็จ มีบทลงโทษอย่างไร จะต้องแก้ไขอย่างไร ไม่ทราบ ขอให้ติดต่อกับกรมศุลกากรโดยตรง BOI

จะใช้เครื่องจักรเก่านั้นในโครงการ BOI ไม่ได้ และจะไม่ได้รับสิทธิทางภาษีในส่วนของเครื่องจักร ตลอดจนสินค้าที่ผลิตจากเครื่องจักรนั้น ต้องยื่นแก้ไขโครงการ เพื่อขออนุญาตใช้เครื่องจักรเก่า และต้องทำใบรับรองประสิทธิภาพเครื่องจักรเก่า
เอกสารที่ต้องยื่นขออนุมัติวิธีการทำลายส่วนสูญเสีย (นอกสูตร) ครั้งที่ 1 ใช้เอกสารแบบฟอร์มใดบ้าง

การขออนุมัติวิธีทำลายส่วนสูญเสียนอกสูตร ใช้เอกสารตามนี้

สำหรับบริษัท

1.1 หนังสือบริษัทฯ ขออนุมัติทำลายส่วนสูญเสีย

1.2 ใบสรุปส่วนสูญเสียแต่ละรายการพร้อมระบุวิธีการทำลาย จำนวน 1 ชุด

1.3 ภาพถ่ายส่วนสูญเสียแยกรายการก่อนทำลาย จำนวน 1 ชุด

สำหรับเจ้าหน้าที่

1.4 แบบสรุปเรื่องการพิจารณาของสำนักงาน

1.5 หนังสือสำนักงานอนุญาตให้ทำลายส่วนสูญเสีย

1.6 ตารางสรุปวิธีการทำลายที่ได้รับอนุมัติจากสำนักงาน จำนวน 3 ชุด เอกสารไม่มีให้ดาวน์โหลดจากเว็บของ BOI บริษัทสามารถขอรับตัวอย่างเอกสารและไฟล์ ได้จากสำนักที่รับผิดชอบโครงการของบริษัทโดยตรง

ปัจจุบัน บริษัทฯ ดำเนินการส่งออก ส่วนสูญเสียนอกสูตร และได้รับการอนุมัติฯ จาก สำนักงานมาโดยตลอด ปัญหาคือเรามีวัสดุจำเป็นคือเป็นตัวทดสอบผลิตภัณฑ์ (Terminal Tester) มีลักษณะเป็นข้อต่อสายไฟ สำหรับทดสอบคุณภาพ โดยประกบเข้ากับตัวผลิตภัณฑ์ ซึ่ง ณ ตอนนี้ ยังไม่สามารถหาผู้ซื้อจากต่างประเทศได้ จึงรบกวนขอวิธีและขั้นตอน ในการทำลายวัสดุจำเป็นซึ่งไม่ใช่วัตถุดิบหลัก แล้วมีค่าใช้จ่ายต่อครั้งเท่าไหร่

1. การทำลายวัตถุดิบและวัสดุจำเป็น ใช้ประกาศฉบับเดียวกัน คือ ประกาศ ป.5/2543

2. ขั้นตอนดำเนินการคือ

2.1 ขออนุมัติวิธีทำลาย (ขอครั้งแรกครั้งเดียว หากครั้งต่อไป จะทำลายวัตถุดิบชนิดเดิม ด้วยวิธีเดิม ไม่ต้องขออนุมัติวิธีทำลายอีก)

2.2 แจ้งให้ผู้ประกอบธุรกิจตรวจสอบส่วนสูญเสียที่ได้รับอนุญาตจาก BOI เข้าร่วมทำการตรวจสอบการทำลาย และรายงานผลการทำลายตามที่ BOI กำหนด

2.3 การทำลายวัตถุดิบและวัสดุจำเป็น ให้ศึกษาและปฏิบัติตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องด้วย เช่น คำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป.79/2541

2.4 ยื่นขออนุญาตตัดบัญชีส่วนสูญเสียต่อ BOI

2.5 หากเศษซากมีมูลค่าเชิงพาณิชย์ ให้ยื่นชำระภาษีตามสภาพเศษซาก ต่อกรมศุลกากร

2.6 ยื่นปรับยอดวัตถุดิบที่ IC

3. ค่าใช้จ่าย ให้ติดต่อกับผู้ประกอบการที่ได้รับอนุญาตจาก BOI โดยตรง

"รายงานสรุปการสั่งปล่อยเครื่องจักร" หากมีการยกเลิกสั่งปล่อยบางชุดไป อยากทราบว่ารายการที่ยกเลิกยังคงอยู่ในรายงานหรือไม่

หากมีการยกเลิกการสั่งปล่อยเครื่องจักร ระบบ eMT-online จะตรวจสอบข้อมูลกับกรมศุลกากรว่ามีการใช้สิทธินำเข้าเครื่องจักรนั้นโดยยกเว้นภาษีอากรไปแล้วหรือไม่

หากใช้สิทธิไปแล้ว จะยกเลิกสั่งปล่อยไม่ได้ หากไม่ต้องการใช้สิทธิอีกต่อไป จะต้องยื่นขอจำหน่ายเครื่องจักร โดยจะมีภาระภาษีอากรเกิดขึ้น

หากยังไม่ได้ใช้สิทธิ สามารถยกเลิกสั่งปล่อยได้ โดยระบบจะคืนค่าที่สั่งปล่อยไปแล้วเป็น 0

เนื่องจากได้ไปขอข้อมูล รายงานสรุปการสั่งปล่อยเครื่องจักร และรายละเอียดการสั่งปล่อยเครื่องจักร จาก IC และพบว่า รายการเครื่องจักรบางรายการอนุมัติแต่ไม่ได้ใช้สิทธิ์สั่งปล่อย เนื่องจากเจ้าหน้าที่คนเก่าลาออกไปนานแล้ว และเป็นเจ้าหน้าที่ใหม่ที่ยังไม่เคยทำเรื่องเครื่องจักรมาก่อน จึงสงสัยอยากรบกวนถามว่า ในกรณีนี้ 1. เราสามารถใช้เครื่องจักรดังกล่าวนี้ภายในโครงการได้หรือไม่ 2. การตัดบัญชีเครื่องจักร (5ปี) ต้องตัดเฉพาะรายการที่ใช้สิทธิ์สั่งปล่อยเท่านั้นใช่หรือไม่ ส่วนรายการที่อนุมัติแต่ไม่ได้ใช้สิทธิ์สั่งปล่อยไม่ต้องตัดบัญชี 5 ปีใช่หรือไม่

1. เครื่องจักรที่ชำระภาษีอากรเข้ามาเอง สามารถใช้ในโครงการที่ได้รับส่งเสริมได้ แต่ต้องไม่ขัดกับเงื่อนไขของโครงการ เช่น ต้องเป็นเครื่องจักรใหม่ (หรือหากโครงการได้รับอนุมัติให้ใช้เครื่องจักรเก่า ก็ต้องนำเข้ามาจากต่างประเทศ และมีใบรับรองประสิทธิภาพ และอายุไม่เกินที่กำหนด) ส่วนเครื่องจักรนั้นจะได้รับอนุมัติในบัญชีหรือไม่ ไม่ใช่ประเด็น

2. การตัดบัญชีเพื่อปลอดภาระภาษีสำหรับเครื่องจักรที่เกิน 5 ปี ให้ตัดเฉพาะเครื่องจักรที่นำเข้าโดยใช้สิทธิยกเว้นภาษี ส่วนเครื่องจักรที่ชำระภาษีเข้ามาเอง ไม่ต้องยื่นตัดบัญชี 5 ปี เพราะไม่มีภาระภาษีที่ต้องยื่นขอตัดอีก

ขออภัยครับ ไม่มีข้อมูลส่วนนี้ ในภาษาที่ท่านเลือก !

Sorry, There is no information support your selected language !

Download และ ติดตั้งโปรแกรมอ่าน PDF

Download PDF Reader

Site map