Chat
x
toggle menu
toggle menu

Select Groups

All Group
  • All Group
  • นโยบายเเละมาตรการพิเศษในการส่งเสริม
  • การขอรับการส่งเสริมการลงทุน
  • การออกบัตรส่งเสริม
  • การเปิดดำเนินการ
  • การเเก้ไขโครงการ
  • การดำเนินการอื่น ๆ
  • การรายงานความคืบหน้าโครงการ (e-Monitoring)
  • การปฏิบัติหลังการได้รับการส่งเสริม
  • การยกเลิกบัตรส่งเสริม
  • เรื่องทั่วไป
  • การใช้สิทธิด้านที่ดิน
  • การใช้สิทธิด้านเครื่องจักร
  • การใช้สิทธิด้านช่างฝีมือ/ต่างด้าว
  • การใช้สิทธิด้านวัตถุดิบ
  • ประเภทกิจการ - การแพทย์
  • การใช้สิทธิด้านภาษีเงินได้นิติบุคคล
  • ประเภทกิจการ - รถยนต์ไฟฟ้า
  • ประเภทกิจการ - ศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศ (IBC) IPO และ TISO
  • ประเภทกิจการ - โรงแรม
  • ประเภทกิจการ - ผลิตผลิตภัณฑ์โลหะรวมทั้งชิ้นส่วนโลหะ
  • ประเภทกิจการ - กิิจการผลิิตเครื่่องจัักร อุุปกรณ์์และชิ้นส่่วน
  • ประเภทกิจการ - กิิจการศููนย์์กระจายสิินค้้าระหว่่าง ประเทศด้้วยระบบที่่ทัันสมััย (IDC)
เรื่องการนำเข้า mold / แม่พิมพ์ บริษัทฯได้ส่ง mold/ แม่พิมพ์ ออกไปซ่อมโดยทำเรื่องของบี.โอ.ไอ ถูกต้องและทำเรื่องสุทธินำกลับเรียบร้อย แต่ตอนนำกลับเข้ามาไม่ได้ใช้สิทธิดังกล่าว คือสั่งปล่อยเข้ามาปกติ กรณีนี้บริษัทฯต้องทำอย่างไรบ้าง เพราะ stock ยังคงค้างอยู่กับระบบของ IC / BOI
ให้เข้าไปในระบบ eMT และยื่นเปลี่ยนแปลงจากการส่งซ่อมเป็นส่งคืน ส่วนแม่พิมพ์หลังซ่อม ที่สั่งปล่อยปกติ ก็ปล่อยตามนั้น
ไม่ได้ขยายเวลานำเข้าวัตถุดิบ ม.36 หมดตั้งแต่เดือน ก.ค.2556 ด้วยความที่ไม่ได้นำเข้าวัตถุดิบ และไม่ได้ดูบัตรส่งเสริม เพราะคิดว่าน่าจะยังไม่หมดเวลา - ตอนนี้จะทำการขยายได้ไหม - ต้องทำอย่างไรบ้าง - ต้องไปติดต่อเจ้าหน้าที่ท่านไหน ชื่ออะไร เบอร์โทรด้วย

1. หากระยะเวลาเข้าวัตถุดิบตามมาตรา 36 สิ้นสุดลง เกินกว่า 6 เดือน สิทธิประโยชน์ของวัตถุดิบตาม Project Code นั้น จะสิ้นสุดลงอย่างถาวร โดยบริษัทจะต้องส่งวัตถุดิบที่เหลือไปต่างประเทศภายใน 1 ปี

และตัดบัญชีให้เสร็จสิ้นภายใน 2 ปี นับจากวันสิ้นสุดสิทธิ แต่หากยังมีวัตถุดิบเหลือค้างในบัญชี บริษัทจะต้องชำระอากรและ VAT ย้อนหลังตามสภาพ ณ วันนำเข้าพร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม

2. เมื่อหากตัดบัญชีเสร็จสิ้น และ Balance ในบัญชีเป็น 0 แล้ว บริษัทสามารถยื่นคำร้องขอรับสิทธิประโยชน์ ม.36(1) จาก BOI ได้ใหม่ โดยจะได้เป็น project code ใหม่ และจะต้องขออนุมัติ max stock และสูตรการผลิตใหม่

3. กิจการ IPO อยู่ในความรับผิดชอบของสำนัก 4 จนท BOI คนใดเป็นผู้รับผิดชอบโครงการของบริษัท ขอให้สอบถามกับสำนัก 4 โดยตรง

บริษัทฯ ได้รับการส่งเสริม BOI ภายใต้มาตรา 36 นั้น สามารถขอขยายระยะเวลานำเข้าได้ทั้งหมดกี่ครั้ง และแต่ละครั้งได้ระยะเวลากี่ปี

สิทธิประโยชน์การยกเว้นอากรขาเข้าวัตถุดิบ ตามมาตรา 36 สามารถขอขยายได้ครั้งละ 2 ปี และไม่มีการกำหนดว่าจะให้ขยายได้กี่ครั้ง จึงอาจคิดว่าจะได้ขยายต่อไปเรื่อยๆ จนกว่าจะมีประกาศเปลี่ยนแปลง

ในกรณีที่บริษัทสั่งซื้อแม่พิมพ์จากบริษัท A ซึ่งเป็นตัวแทนขายในประเทศไทย (หรือซื้อจากในประเทศ) ต่อมาแม่พิมพ์มีปัญหา จำเป็นต้องส่งไปซ่อมแซมที่บริษัท A ที่ต่างประเทศ ..... บริษัทฯ สามารถใช้สิทธิ BOI ได้หรือเปล่า ในขั้นตอนการนำกลับเข้ามา และต้องทำอย่างไรบ้าง
1.การส่งเครื่องจักรหรือแม่พิมพ์ที่ไม่ได้ใช้สิทธิยกเว้นอากรขาเข้าจาก BOI ไปซ่อมต่างประเทศ

- สามารถทำได้โดยไม่ต้องขออนุญาตจาก BOI

- ก่อนส่งออก ให้แจ้งกรมศุลกากรเพื่อขอทำใบสุทธินำกลับ

- เมื่อนำกลับเข้ามา ไม่ต้องเสียภาษีอากรเครื่องจักร แต่จะเสียภาษีอากรเฉพาะส่วนค่าซ่อม

2.หากต้องการยกเว้นภาษีอากรค่าซ่อมเครื่องจักร ซึ่งเป็นเครื่องที่ไม่ได้นำเข้าโดยใช้สิทธิ BOI ตั้งแต่แรก

- ยังขาดความชัดเจนด้านนโยบายว่า BOI จะยกเว้นภาษีอากรค่าซ่อม สำหรับเครื่องจักรไม่ได้นำเข้าโดยใช้สิทธิ BOI ได้หรือไม่

- ให้ทำหนังสือถึงสำนักบริหารการลงทุนที่เกี่ยวข้อง เพื่อขออนุมัติหลักการก่อน

- หากได้รับอนุมัติ ให้ทำเรื่องขอส่งซ่อมนอกระบบ เพื่อบันทึกข้อมูลเครื่องจักรและการส่งซ่อมในระบบ eMT

- ต้องแจ้งกรมศุลกากรเพื่อขอทำใบสุทธินำกลับด้วย

- เมื่อนำกลับเข้ามา จึงจะสามารถสั่งปล่อยบนระบบ eMT เพื่อใช้สิทธิยกเว้นภาษีอากรสำหรับค่าซ่อมได้

งานอนุมัติส่งคืนเครื่องจักรไปต่างประเทศออกเป็นจดหมายครุฑหรือเปล่า ต้องไปรับจดหมายเองหรือเปล่า หรือว่าอนุมัติออนไลน์ แล้วใช้ไฟล์ excel ในระบบได้
ระบบ eMT ในปัจจุบัน ยังไม่มีการเชื่อมโยงข้อมูลการอนุญาตส่งคืนเครื่องจักรไปต่างประเทศ หรือการส่งเครื่องจักรไปซ่อมต่างประเทศกับกรมศุลกากร ดังนั้น บริษัทจึงยังต้องไปรับจดหมายครุฑที่สมาคมฯ
บริษัทที่เป็นการส่งออกทางอ้อ จะสามารถใช้สิทธิ์ขอขยายเวลาในการนำเข้าวัตถุดิบหรือไม่

สิทธิประโยชน์การยกเว้นอากรขาเข้าวัตถุดิบ ม.36 จะเริ่มตั้งแต่วันที่บริษัทขอใช้สิทธิยกเว้นอากรขาเข้าวัตถุดิบเป็นครั้งแรก โดยไม่เกี่ยวกับว่าบริษัทจะเป็นผู้ส่งออกทางตรง หรือส่งออกทางอ้อม แต่อย่างใด เมื่อระยะเวลาที่ได้รับสิทธิ ม.36 จะสิ้นสุดลง บริษัทสามารถขอขยายระยะเวลาได้ ไม่ว่าจะเป็นผู้ส่งออกทางตรง หรือทางอ้อม

สำหรับผู้ที่ไม่ได้นำเข้าวัตถุดิบโดยตรง เป็นการซื้อวัตถุดิบในประเทศ แต่บริษัทขายวัตถุดิบในประเทศนั้นได้รับการส่งเสริม BOI สามารถขอใช้สิทธิ์ในการขยายเวลานำเข้าได้หรือไม่

กรณีที่ผู้ได้รับส่งเสริมไม่ได้นำเข้าวัตถุดิบจากต่างประทศ แต่ซื้อจากบริษัทในประเทศ แล้วนำไปผลิตส่งออก กรณีซื้อจากบริษัทในประเทศที่ได้รับสิทธิ BOI (เพื่อความสะดวกขอเรียกว่า Vendor-BOI)

- วันนำเข้าครั้งแรก ให้ใช้วันที่มีการซื้อวัตถุดิบจาก Vendor-BOI

- เมื่อผลิตส่งออก จะต้องโอนสิทธิในการตัดบัญชีวัตถุดิบไปให้ Vendor-BOI ตามปริมาณที่ซื้อมา เพื่อให้ Vendor-BOI นำไปตัดบัญชีต่อไป

- สามารถขยายระยะเวลาการได้รับสิทธิมาตรา 36(1) ได้เช่นเดียวกับกรณีที่นำวัตถุดิบจากต่างประเทศเข้ามาเอง กรณีซื้อจากบริษัทในประเทศที่ไม่ได้รับส่งเสริมจาก BOI (เพื่อความสะดวกขอเรียกว่า Local)

- เมื่อผลิตส่งออก ไม่ต้องโอนสิทธิตัดบัญชีไปให้ Local

- หากบริษัทซื้อวัตถุดิบทุกรายการจาก Local แปลว่าโครงการนี้ไม่ได้ใช้สิทธิ ม.36(1) ดังนั้น จึงไม่ต้องขอ Max Stock ไม่ต้องขอสูตร ไม่ต้องตัดบัญชี วันเริ่มใช้สิทธิครั้งแรกก็ไม่เกิดขึ้น และไม่ต้องขยายเวลา .. แต่หากมีการซื้อวัตถุดิบจาก Vendor-BOI เมื่อใด จึงจะเป็นไปตามข้อ 1

ในระบบ eMT มีไฟล์ครุฑแนบให้ ตอนที่ได้รับอนุมัติ และบริษัทก็ใช้ตัวสำเนาที่แนบมานั้นได้ แล้วอย่างงี้บริษัทต้องไปรับจดหมายครุฑตัวจริงที่สมาคมฯ ด้วยหรือเปล่า
งานด้านเครื่องจักร ที่เกี่ยวกับเครื่องจักรที่ผ่านพิธีการขาเข้าไปแล้ว ปัจจุบันยังคงมีการออกหนังสือจากสมาคมฯ การส่งคืนเครื่องจักรไปต่างประเทศ ก็จะมีการออกหนังสืออนุญาตเช่นกัน

แม้ในบางกรณีอาจจะใช้สำเนาแทนก็ได้ แต่บริษัทควรไปรับหนังสืออนุมัติต้นฉบับจากสมาคม และเก็บไว้เป็นหลักฐานว่าได้ปฏิบัติตามขั้นตอนถูกต้องแล้ว
ต้องการส่งแม่พิมพ์ ที่นำเข้ามาตามบัตร A แต่จะส่งซ่อมโดยยื่นขอส่งซ่อมและนำเข้ามาภายใต้บัตร B ได้ไหม เนื่องจากบัตร A ต้องทำการปิดบัตร (ณ ตอนนี้บัตร A สิ้นสุดระยะเวลานำเข้าแล้ว + ยังไม่ได้ทำเรื่องโอนเครื่องจักรและอุปกรณ์มาบัตร B)
การนำเข้าเครื่องจักรที่ส่งซ่อมต่างประเทศ จะต้องนำกลับเข้ามาในบัตรเดิมเท่านั้น ระบบ eMT ไม่อนุญาตให้เปลี่ยนบัตรได้ จึงน่าจะมี 2 วิธี คือ

วิธีที่ 1 ทำเรื่องโอนแม่พิมพ์จากบัตร A ไปบัตร B แล้วจึงส่งซ่อมต่างประเทศภายใต้บัตร B ทำเรื่องส่งคืนต่างประเทศ (แต่ที่จริงคือส่งไปซ่อม) จากนั้นจึงนำกลับเข้ามาโดยสั่งปล่อยภายใต้บัตร B

วิธีที่ 2 จะมีปัญหาว่า ระหว่างที่ส่งออก แม่พิมพ์นั้นเป็นทรัพย์สินของใคร ซึ่งอาจทำเป็นการขายให้บริษัทแม่ และเมื่อซ่อมเสร็จ ก็ซื้อคืนกลับมาใหม่ .. ปกติก็น่าจะใช้วิธีที่ 1 ดีกว่า

วิธีนี้ใช้ได้เฉพาะกับแม่พิมพ์ ไม่สามารถใช้กับเครื่องจักรได้ เพราะจะเป็นการนำเครื่องจักรที่เคยใช้ในบัตรหนึ่งมาใช้ในอีกบัตรหนึ่ง ซึ่งผิดเงื่อนไข BOI
บ.KMPA ได้รับการส่งเสริม IPO และได้เปิดดำเนินกิจการเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทางบ.ยังต้องทำการยื่นเรื่องขอขยายเวลานำเข้าวัตถุดิบอีกหรือไม่

กิจการ IPO ได้รับสิทธิยกเว้นอากรขาเข้าวัตถุดิบตามมาตรา 36 เป็นเวลา 1 ปี และสามารถขอขยายเวลาได้ครั้งละ 1 ปี ดังนั้น หากต้องการจะใช้สิทธิอย่างต่อเนื่อง ก็ต้องยื่นขยายเวลาไปเรื่อยๆ ทุกๆ ปี

การพิจารณาอนุมัติขยายเวลานำเข้าวัตถุดิบ กำหนดระยะเวลาไว้ไม่เกิน 20 วันทำการ จึงควรยื่นก่อนที่ระยะเวลาจะสิ้นสุดลงประมาณ 1.5 เดือน

บริษัทได้รับบัตรส่งเสริมกิจการประเภท 7.6 1.สินค้าสำเร็จรูปที่นำเข้ามาแล้ว มีการยกเลิกการสั่งซื้อแล้ว และมีเสื่อมภาพ เป็น NG ทางบริษัทต้องดำเนินการอย่างไร สามารถขายเป็น scarp ได้ หรือจำหน่ายได้เลยหรือไม่ รบกวนแนะนำเพื่อให้ถูกต้องจะได้ไม่มีปัญหากับสรรพากรและศุลกากร กิจการประเภท 5.5 2. สินค้า FG ทางลูกค้าได้มีการยกเลิกคำสั่งซื้อ และมีเสื่อมภาพ ทางบริษัทสามารถดำเนินการขายเป็น scarp ได้เลยหรือไม่ หรือต้องขอทำลายสินค้าก่อน รบกวนแนะนำเพื่อให้ถูกต้องจะได้ไม่มีปัญหากับสรรพากรและศุลกากร 3. ของเสียทั้ง ITC และ FG เป็นส่วนสูญเสียชนิดไหน นอกสูตร หรือในสูตร และสามารถรู้ได้อย่างไรว่าของเสีย มีมูลค่าเชิงพาณิชย์ หรือไม่มีมูลค่าเชิงพาณิชย์

1.วัตถุดิบที่นำเข้าโดยใช้สิทธิมาตรา 36 หากมีการยกเลิกคำสั่งซื้อ หรือเสื่อมสภาพ ไม่สามารถใช้ตามวัตถุประสงค์เดิมได้ถือเป็นส่วนสูญเสียนอกสูตรการผลิต สามารถดำเนินการตาม ประกาศ ป.5/2543 โดยวิธีต่างๆ เช่น

- ขออนุญาตส่งคืนไปต่างประเทศ (ไม่มีภาระภาษี)

- ขออนุญาตทำลาย (ไม่มีภาระภาษี / แต่หากเศษซากหลังทำลายมีมูลค่าเชิงพาณิชย์ จะมีภาระภาษีตามสภาพเศษซาก)

2.ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตโดยใช้วัตถุดิบที่นำเข้าตามมาตรา 36 หากมีการยกเลิกคำสั่งซื้อ หรือคุณภาพไม่ได้มาตรฐาน ถือเป็น ส่วนสูญเสียนอกสูตรการผลิต

- หากไม่สามารถส่งออกได้ จะต้องขออนุญาตทำลาย

- หากเศษซากหลังทำลายมีมูลค่าเชิงพาณิชย์ จะต้องชำระภาษีตามสภาพเศษซาก จึงจะตัดบัญชีได้

3.เศษซากที่มีมูลค่าเชิงพาณิชย์ เช่น เศษโลหะ เศษพลาสติก หรือเศษซากอื่นๆ ที่มีผู้มารับซื้อ หรือรับขนไปให้ฟรีๆ

ถ้าใช้วิธีที่ 1 คือ ทำเรื่องโอนแม่พิมพ์ก่อน มีระยะเวลาการพิจารณานานไหม แล้วต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง
การโอนเครื่องจักร กำหนดระยะเวลาพิจารณาไม่เกิน 15 วันทำการ โครงการที่รับโอนต้องได้รับสิทธิยกเว้นหรือลดหย่อนอากรขาเข้าเครื่องจักร และยังมีระยะเวลานำเข้าเครื่องจักรเหลืออยู่ เอกสารที่ต้องใช้ตามนี้

Checklist รายการเอกสารประกอบการพิจารณา (F IN MC 01-03) หนังสือบริษัท เรื่อง ขออนุญาตโอนเครื่องจักร เรียน เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน .. ไม่มีแบบฟอร์ม ร่างขึ้นเองได้

แบบคำขออนุญาตจําหนาย/โอน/บริจาคเครื่องจักร (F IN MC 04-03)
แต่กรณีนี้ บัตร A (บัตรที่นำเข้ามาพิมพ์มาครั้งแรก) สิ้นสุดระยะเวลานำเข้าแล้ว ถ้าจะทำเป็นส่งคืน (ส่งขายไปเลย) แล้วค่อยเอากลับเข้ามา และสั่งปล่อยเป็นบัตร B จะผิดเงื่อนไขอะไรหรือเปล่า
กรณีที่บัตร A จะโอนแม่พิมพ์ให้บัตร B บัตร A จะสิ้นสุดระยะเวลานำเข้าเครื่องจักรไปแล้วก็ได้

แต่บัตร B ต้องมีระยะเวลานำเข้าเครื่องจักรเหลืออยู่
ทางบริษัทฯ มีวัตถุดิบนำเข้าภายใต้ BOI เป็นกระป๋องเหล็กผสมดีบุก (+ฝากระป๋อง และหูหิ้วกระป๋อง) ที่เป็นสินค้า NG จึงต้องการขายให้กับตัวบุคคลรับซื้อของเก่า ซึ่งราคาที่ขายได้จะต่ำกว่าราคาสินค้าปกติ จึงอยากสอบถามดังต่อไปนี้ 1. กรณีดังกล่าวจัดเป็นการขายในประเทศแบบปกติทั่วไปใช่หรือไม่ 2. ทางบริษัทฯ จะต้องติดต่อหรือทำการใดๆ เพื่ออนุญาตกับทาง BOI ก่อนขายหรือไม่ หรือแค่ยื่นเอกสารขอชำระภาษีเพิ่มเติมกรณีไม่ได้ส่งออกเพียงอย่างเดียว 3. การชำระภาษีย้อนหลังนับตั้งแต่วันนำเข้าใช่หรือไม่

วัตถุดิบที่นำเข้ามาโดยใช้สิทธิยกเว้นอากรขาเข้าตามมาตรา 36 หากเป็นวัตถุดิบด้อยคุณภาพ จะถือเป็นส่วนสูญเสียนอกสูตรการผลิต ซึ่งสามารถดำเนินการได้โดยวิธีใดวิธีหนึ่ง ดังนี้

1.ขออนุญาตส่งคืนวัตถุดิบไปต่างประเทศ

- จะไม่มีภาระภาษีอากรที่ต้องชำระคืน

2.ขอชำระภาษีอากรตามสภาพ ณ วันนำเข้า

- หลังจากชำระภาษีแล้ว สามารถนำไปจำหน่ายในประเทศได้

3.ขออนุญาตทำลาย และขอชำระภาษีตามสภาพเศษซาก (กรณีเศษซากหลังทำลายมีมูลค่าเชิงพาณิชย์)

- หลังจากชำระภาษีตามสภาพแล้ว สามารถนำไปจำหน่ายต่างประเทศได้

กรณีที่สอบถามเข้าข่ายข้อ 3 จึงต้องขออนุมัติวิธีทำลายก่อน จากนั้นทำการทำลายภายใต้การตรวจสอบของบริษัท Inspector ที่ได้รับอนุญาตจาก BOI หลังจากนั้นจะต้องยื่นเรื่องขอชำระภาษีส่วนสูญเสียนอกสูตร (เศษซาก) และชำระภาษี แล้วจึงยื่นปรับยอดกับสมาคม IC และจำหน่ายเศษซากที่ชำระภาษีแล้วต่อไป

ทางบริษัทเคยขออนุมัติวิธีการทำลายกับวัตถุดิบนี้กับทาง BOI แล้ว แต่วิธีการทำลายเป็นการเผาทำลาย เนื่องจากเป็นภาชนะปนเปื้อน หากครั้งนี้จะต้องการขายเป็นของเก่าที่ไม่ใช่การทำลายแบบเดิม ก็ต้องขออนุมัติซ้ำได้ใช่หรือไม่

หากจะทำลายด้วยวิธีเดิมที่เคยได้รับอนุมัติไว้แล้ว ก็ไม่ต้องยื่นขออนุมัติวิธีทำลายอีก แต่หากจะทำลายด้วยวิธีอื่น จะต้องยื่นขออนุมัติวิธีทำลายใหม่ เมื่อได้รับอนุมัติแล้ว จะทำลายโดยวิธีเดิมหรือวิธีใหม่ก็ได้

ในกรณีนี้ ถ้าบริษัทเลือก ปฏิบัติตามข้อ 2 คือ ...ทำเรื่องส่งคืนต่างประเทศ (แต่ที่จริงคือส่งไปซ่อม) จากนั้นจึงนำกลับเข้ามาโดยสั่งปล่อยภายใต้บัตร B ได้ใช่ไหม เนื่องจากผู้ขายไม่สามารถรอทำเรื่องโอนได้ และบริษัทได้จองไฟล์ทพร้อมคอนเฟริ์มผู้ขายไปแล้วว่าจะส่งให้ภายในอาทิตย์นี้
ทำได้ แต่ในการลงบัญชี ก็ต้องลงให้ถูกต้อง คือมีการจำหน่ายออกจากโครงการ A และต่อมาภายหลังมีการซื้อเข้ามาในโครงการ B ส่วนการอินวอยซ์ขายให้ใคร และซื้อจากใคร ก็สุดแล้วแต่บริษัทจะเห็นว่าเหมาะสม
บริษัทต้องการส่งเครื่องจักรไปซ่อม และไม่ทราบว่าจะซ่อมนานไหม เลยอยากจะสอบถามว่า ใบสุทธินำกลับมีกำหนดระยะเวลาไหม ว่าต้องภายในกี่เดือน กี่ปี ที่จะนำกลับมาเข้า
1.ใบสุทธินำกลับ มีระยะเวลา 1 ปี แต่ไม่ทราบว่าขยายเวลาได้หรือไม่

2.กรณีที่ขออนุญาตส่งออกไปซ่อมแล้ว ปรากฏว่าซ่อมไม่เสร็จ ไม่สามารถนำกลับเข้ามาได้ทันภายในกำหนด ให้ยื่นขอเปลี่ยนสถานะในระบบ eMT จากส่งออกไปซ่อม เป็นการส่งคืนไปต่างประเทศ

3.มีปัญหาว่า เมื่อซ่อมเสร็จ แต่พ้นระยะเวลาตามใบสุทธินำกลับไปแล้ว หากจะนำกลับเข้ามาอีก จะถือเป็นการนำเข้าเครื่องจักรเก่าหรือไม่

- โดยส่วนตัวเห็นว่า เนื่องจากบริษัทได้ยื่นเปลี่ยนสถานะเป็นการส่งออก (ตามข้อ 2) ไปแล้ว ดังนั้น แม้ว่าจะนำเครื่องจักรตัวเดิม (Serial No. เดิม) กลับเข้ามาอีก ก็น่าจะถือว่าเป็นการนำเข้าเครื่องจักรเก่า ซึ่งต้องมีใบรับรองประสิทธิภาพ และโครงการนั้นต้องได้รับอนุญาตให้ใช้เครื่องจักรเก่าในโครงการได้ (หรือแก้ไขโครงการให้ใช้เครื่องจักรเก่าได้) จึงจะนำเครื่องจักรนั้นกลับเข้ามาใช้ในโครงการได้อีก

- แต่ถ้ายังอยู่ในระยะเวลาของใบสุทธินำกลับ และยังเป็นสถานะส่งซ่อม ก็สามารถนำกลับเข้ามาได้โดยใช้สิทธิสั่งปล่อยเครื่องจักรที่นำเข้ามาจากการส่งซ่อม
ประเภท 7.6 กิจการบริษัทการค้าระหว่างประเทศ สอบถามส่วนสูญเสีย เป็นสินค้าที่นำเข้าและขายและต่างประเทศ เนื่องจาก Model บาง Model ลูกค้าได้มีการยกเลิกสั่งซื้อ ดังนั้นทำให้มีสินค้าค้างสต็อกเป็นจำนวนนึง อยากจะสอบถามว่าทางเราจะต้องดำเนินการอย่างไร 1. จะต้องทำเรื่องขอทำลาย โดยติดต่อบริษัท Inspector เข้ามาตรวจสอบ ใช่หรือไม่ 2. หรือสามารถส่งออกไปต่างประเทศ ได้เลย 3. แล้วจะทราบได้อย่างไรว่าส่วนสูญเสีย มีมูลค่าเชิงพาณิชย์ หรือไม่มีมูลค่าเชิงพาณิชย์ 4. สินค้าซื้อมาขายไป เป็นสินค้า ในสูตร ใช่หรือไม่
1.กรณีจะขอทำลาย

- ขออนุมัติวิธีทำลาย

- ทำลายตามวิธีที่ได้รับอนุมัติ โดยมี บ.Inspector ที่ได้รับอนุญาตร่วมตรวจสอบการทำลายและออกใบรับรอง

- จากนั้นยื่นขออนุญาตตัดบัญชีโดยขอชำระภาษีตามสภาพเศษซาก (ถ้ามีมูลค่าเชิงพาณิชย์)

2.สินค้าที่ถูกยกเลิกคำสั่งซื้อ หากสามารถส่งออกในสภาพสินค้าด้อยคุณภาพ ก็สามารถส่งออกและตัดบัญชีตามปกติ ไม่ต้องขออนุญาต หรือจะขออนุญาตส่งคืนวัตถุดิบไปต่างประเทศก็ได้ (ยื่นเรื่องขอส่งคืนวัตถุดิบ จากนั้นส่งออกและนำไปปรับยอด)

3.เศษซาก (= ส่วนสูญเสียที่ผ่านการทำลาย) หากยังมีมูลค่าเชิงพาณิชย์ เช่น เศษโลหะ เศษพลาสติก จะต้องชำระภาษีก่อน จึงจำหน่ายได้ หากมีผู้มารับซื้อ หรือมารับไปฟรีๆ เท่ากับเศษซากนั้นยังมีมูลค่าอยู่

4.กิจการ ITC/IPO สินค้าที่ซื้อมาขายไป ต้องขออนุมัติสูตรการผลิตในอัตรา 1:1 เพื่อตัดบัญชีหลังส่งออก

บริษัทได้รับส่งเสริมผลิตนาฬิกา อยากสอบถามว่า วัตถุดิบที่เป็นเข็มนาฬิกา หากเข็มนาฬิกาหักในกระบวนการผลิต เข็มนาฬิกาถือว่าเป็นส่วนสูญเสียนอกหรือในสูตร

ส่วนสูญเสียที่เกิดขึ้นโดยมีอัตราไม่คงที่ ถือเป็นส่วนสูญเสียนอกสูตร เข็มนาฬิกาที่หักระหว่างการผลิต บางครั้งหักมาก บางครั้งหักน้อย บางครั้งไม่หักเลย ทั้งหมดถือเป็นส่วนสูญเสียนอกสูตรการผลิต

กรณีบริษัทฯ สั่งปล่อยและหรือนำเข้าเครื่องจักร/อุปกรณ์ผิดประเภท โดยบริษัทฯ ใช้สิทธิฯสั่งปล่อยฯแบบบีโอไอ (ยกเว้นอากร และ Vat, อากร 0%,Vat 7%) เมื่อเดือนสิงหาคม 2560 แต่จาการตรวจสอบเมื่อได้รับสินค้าแล้วเป็นของมือสองและราคาก็ไม่ถูกต้อง(อุปกรณ์ตรวจสอบปลอกโลหะ(Ferrule) ซึ่งราคานำเข้าตาม อินวอยซ์ 1,500,000 บาท แต่ราคาจริง 320,000 บาท บริษัทฯต้องทำอย่างไรบ้าง ทั้งนี้บริษัทฯเปิดดำเนินการฯแล้วเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2560 เพื่อให้ถูกต้องตามระบบของสำนักงานฯ รบกวนขอคำแนะนำด้วย

1. หากนำเครื่องจักรเข้ามาโดยสำแดงราคาไม่ถูกต้อง จะเป็นปัญหาเฉพาะในส่วนกรมศุลกากร แต่ในส่วน BOI ยังถือว่าเครื่องจักรรายการนั้น ยังคงเป็นเครื่องจักรที่ได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิยกเว้นภาษีอากร

2. หากนำเครื่องจักรเข้ามาโดยสำแดงรายการไม่ถูกต้อง จะเป็นปัญหาทั้งในส่วนกรมศุลกากรและ BOI โดย BOI จะถือว่าการสั่งปล่อยไม่ถูกต้อง และต้องเพิกถอนสิทธิยกเว้นภาษีอากรของเครื่องจักรดังกล่าว

ปัจจุบันระบบ eMT ยังไม่รองรับที่จะให้บริษัทยื่นขอจำหน่ายเครื่องจักรโดยเพิกถอนสิทธิยกเว้นภาษีอากร ตามความเห็นส่วนตัวคือ

1. ติดต่อกรมศุลกากรเพื่อขอชำระภาษีอากรและเบี้ยปรับ ตามที่สำแดงรายการเป็นเท็จ หรือ

2. ติดต่อสำนักพัฒนาปัจจัยสนับสนุนการลงทุน ของ BOI เพื่อรวบรวมปัญหาและกำหนดวิธีการดำเนินการ

ขออภัยครับ ไม่มีข้อมูลส่วนนี้ ในภาษาที่ท่านเลือก !

Sorry, There is no information support your selected language !

Download และ ติดตั้งโปรแกรมอ่าน PDF

Download PDF Reader

Site map