1.BOI ไม่ได้มีคำชี้แจงเหตุผลการลด Max Stock จาก 6 เดือน เป็น 4 เดือน จึงขอตอบตามความเห็นส่วนตัว คือ BOI อาจเห็นว่า Max Stock 6 เดือน มีปริมาณมากเกินไป ทำให้บริษัทละเลยการตัดบัญชี และการเคลียร์ยอดส่วนสูญเสีย ฯลฯ ทำให้เกิดปัญหาสะสม ซึ่งยากต่อการแก้ไขปัญหาในภายหลัง จึงลดปริมาณ Max Stock ลง
2.การขอ Max Stock ของกิจการ ITC ปกติจะดูจากแผนการจำหน่ายของบริษัท โดยให้ยื่นแผน 6 เดือนไปก่อน
กรณีให้ยื่นแก้ไขกรรมวิธีการผลิต จากเดิมเป็น "บางส่วนนำไปว่าจ้างอบชิ้นงาน" เมื่อได้รับอนุมัติ ก็สามารถนำสินค้าไปว่าจ้างอบได้ และรายได้จากการจำหน่ายสินค้าจากการอบ ก็สามารถใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้เช่นกัน
สมาคม IC จะปรับลดยอด Max Stock ของทุกบริษัทให้โดยอัตโนมัติ ในเวลา 24.00 ของวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2562 โดยบริษัทไม่ต้องยื่นคำร้องขอปรับลดยอด Max Stock
การนำเครื่องจักร แม่พิมพ์ หรืออุปกรณ์ ที่นำเข้าโดยใช้สิทธิยกเว้นภาษีอากรจาก BOI ไปให้ผู้อื่นใช้ผลิตสินค้าให้ ต้องดำเนินการดังนี้
1.ขอแก้ไขกรรมวิธีการผลิต ให้มีขั้นตอนการนำเครื่องจักร แม่พิมพ์ หรืออุปกรณ์ ไปว่าจ้างผู้อื่นให้ผลิตสินค้าหรือชิ้นส่วนให้
2.ยื่นขออนุญาตนำเครื่องจักร แม่พิมพ์ หรืออุปกรณ์ ไปให้ผู้อื่นใช้ หลังจากได้รับอนุมัติแล้ว จึงจะนำเครื่องจักร แม่พิมพ์ หรืออุปกรณ์ ไปให้ผู้อื่นใช้ ตามที่ได้รับอนุมัติได้
ในบัตรส่งเสริมมีเงื่อนไขเขียนไว้ว่า "จะต้องไม่จำนอง จำหน่าย โอน ให้เช่า หรือให้ผู้อื่นใช้เครื่องจักรที่ได้รับสิทธิยกเว้นหรือลดหย่อนภาษี" หากจะให้ผู้อื่นใช้ จะต้องได้รับอนุญาตจาก BOI ก่อน
กรณีที่หน่วยของสินค้าส่งออก ไม่ตรงกับหน่วยของสินค้าตามสูตรการผลิต หากเป็นหน่วยที่สามารถแปลงค่าได้ในอัตราที่คงที่ เช่น 1 KGM = 1000 GRM ระบบ RMTS จะคำนวณปริมาณส่งออกให้เป็นหน่วยเดียวกับที่ได้รับอนุมัติโดยอัตโนมัติ กรณีที่บริษัทไปทดลองตัดบัญชีแบบไร้เอกสารแล้วพบว่าไม่สามารถตัดบัญชีได้เนื่องจากหน่วยไม่ตรง ขอแนะนำดังนี้
1.ติดต่อฝ่ายบริการเครื่องจักรและวัตถุดิบ สมาคม IC เพื่อให้ช่วยเช็คว่า หน่วย TNE และ KGM เป็นหน่วยที่สามารถแปลงได้ ในตารางแปลงค่า ที่ BOI กำหนดหรือไม่
2.หากหน่วย TNE และ KGM อยู่ในตารางแปลงค่า แต่ไม่สามารถตัดบัญชีได้ ให้แจ้งปัญหาให้ IC ทราบเพื่อดำเนินการแก้ไขต่อไป
3.หากหน่วย TNE และ KGM ไม่อยู่ในตารางแปลงค่า อาจขอให้ IC แจ้งไปยัง BOI เพื่อแก้ไขเพิ่มเติมตารางแปลงค่า
1. สามารถขอได้เท่ากับกำลังผลิต 6 เดือนตามบัตรส่งเสริม เช่น หากบัตรส่งเสริมระบุกำลังผลิตสูงสุดไว้ 1,000,000 ชิ้น/ปี จะสามารถขอ Max Stock สำหรับการผลิต 500,000 ชิ้น
2. การขอ Max Stock จะใช้สินค้ากี่โมเดลในการคำนวณก็ได้ โดยให้ระบุปริมาณที่จะผลิตของแต่ละโมเดลนั้นๆ ซึ่งรวมแล้วต้องไม่เกินกำลังผลิต 6 เดือนตามบัตรส่งเสริม เช่น
Model A จำนวน 300,000 ชิ้น
Model B จำนวน 150,000 ชิ้น
Model C จำนวน 50,000 ชิ้น
จากนั้น คำนวณปริมาณการใช้วัตถุดิบของ Model A, B, C ตามกำลังผลิตข้างต้น แล้วนำมารวมกันเป็น Max Stock
ขั้นตอนที่ 3 เขียนว่า
3).นำชิ้นงานพลาสติกอื่น และซื้อบางส่วนจากผู้ประกอบการภายนอก
ผมอ่านไม่เข้าใจว่าขั้นตอนนี้คืออะไร ต้องใช้แม่พิมพ์ Stamping อย่างไร
สรุปคือผมมองไม่เห็นภาพว่า โครงการนี้มีขั้นตอนอย่างไร จะเอาแม่พิมพ์ขั้นตอนไหนไปว่าจ้าง เป็นขั้นตอนที่สำคัญที่บริษัทควรต้องการทำการผลิตเองหรือไม่ การว่าจ้างนอกจากจะนำแม่พิมพ์ไปจ้างแล้ว ต้องนำวัตถุดิบไปว่าจ้างด้วยหรือไม่ ควรขออนุญาตไปพร้อมกันหรือไม่ ฯลฯ จึงไม่ทราบว่าจะให้คำแนะนำอะไร
ขอตอบเฉพาะหลักการ คือ
1. การนำเครื่องจักร แม่พิมพ์ วัตถุดิบ ที่ใช้สิทธินำเข้าโดยยกเว้นภาษี ไปให้ผู้อื่นใช้ หรือไปใช้เพื่อการอื่น จะต้องได้รับอนุญาตก่อน
2. สินค้าที่มีขั้นตอนการผลิตไม่ตรงกับที่ได้รับส่งเสริม ไม่ถือเป็นสินค้าตามโครงการ จะใช้สิทธิใด ๆ ไม่ได้
1. บริษัทได้รับส่งเสริมผลิตผลิตภัณฑ์ฉีดพลาสติกขึ้นรูป แต่ไม่ฉีดพลาสติกขึ้นเอง จึงน่าจะเป็นการผิดเงื่อนไขที่เป็นสาระสำคัญในการให้การส่งเสริมอย่างร้ายแรง และจะไม่สามารถใช้สิทธิประโยชน์ใด ๆ ทั้งสิ้นตามบัตรส่งเสริมได้
2. บริษัทซื้อเครื่องฉีดพลาสติกในประเทศ โดยไม่ได้ใช้สิทธิจาก BOI ดังนั้น การจะขายหรือให้เช่าเครื่องจักรนั้น จึงไม่น่าจะต้องขออนุญาตจาก BOI แต่หากเมื่อให้เช่าเครื่องจักรไปแล้ว ทำให้บริษัทไม่มีเครื่องจักรตามกรรมวิธีการผลิตและกำลังผลิตที่ได้รับส่งเสริม ก็จะขัดกับเงื่อนไขในบัตรส่งเสริม ซึ่งหากไม่แก้ไขให้ถูกต้อง ก็อาจอยู่ในข่ายที่ต้องถูกเพิกถอนบัตรส่งเสริมต่อไป
3. ในกรณีทั่วไป บริษัทสามารถขอแก้ไขกรรมวิธีการผลิต เพื่อทำการว่าจ้างผลิตชิ้นส่วน พร้อมกับขออนุญาตนำเครื่องจักรไปให้ผู้รับจ้างยืมใช้ ก็ได้ แต่ทั้งนี้ การว่าจ้างต้องไม่ทำให้สาระสำคัญของโครงการลดลงเหลือน้อยกว่าที่จะให้ส่งเสริมต่อไปได้
กรณีนี้ หากได้รับส่งเสริมฉีดพลาสติก แต่จะว่าจ้างฉีดพลาสติก โดยไม่ดำเนินการเอง จะทำให้สาระสำคัญของโครงการลดลงเกินกว่าที่จะให้ส่งเสริมต่อไปได้
ขอเปลี่ยนตัวอย่างใหม่ A (BOI) -> B (BOI) -> C (BOI:ITC) -> export A และ B เป็นผู้ส่งออกทางอ้อม C เป็นผู้ส่งออกทางตรง
การรับจ้างผลิตสินค้าที่ได้รับส่งเสริม และครบตามกรรมวิธีที่ได้รับส่งเสริม ถือเป็นการผลิตผลิตภัณฑ์ตามโครงการ โครงการนี้มีชิ้นส่วนหม้อแปลง รวมถึงคอยล์ เป็นผลิตภัณฑ์ตามโครงการด้วย ดังนั้นการรับจ้างพันคอยล์ จึงถือเป็นการผลิตตามโครงการ ซึ่งไม่ต้องขอแก้ไขโครงการเพื่อทำการรับจ้างผลิต
1. การแก้ไขชนิดผลิตภัณฑ์ และการแก้ไขกรรมวิธีการผลิต จะระบุในการอนุมัติว่า ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ .........(วันที่ยื่นคำขอแก้ไขโครงการ)......... ดังนั้น จึงสามารถใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ สำหรับผลิตภัณฑ์ที่แก้ไข ได้ตั้งแต่วันที่ยื่นแก้ไขโครงการ
2. ส่วนการแก้ไขกรรมวิธีผลิต จะไม่ระบุในการอนุมัติว่า ทั้งนี้ ตั้งแต่เมื่อใด ดังนั้น จึงสามารถใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ สำหรับผลิตภัณฑ์ที่แก้ไขกรรมวิธีผลิต ย้อนหลังไปถึงวันที่ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริมของโครงการนั้น
เครื่องจักรที่จะนับเป็นการลงทุนของโครงการ และนับกำลังผลิตเพื่อใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล จะต้องเป็นไปตามนี้
1.เป็นเครื่องจักรที่ใช้ในกรรมวิธีการผลิตตามที่ได้รับส่งเสริม
2.เป็นเครื่องจักรใหม่
3.กรณีเป็นเครื่องจักรเก่า ต้องได้รับอนุญาตให้ใช้เครื่องจักรเก่าในโครงการ โดยเป็นการนำเข้าจากต่างประเทศ และมีอายุไม่เกินกว่าที่กำหนดในบัตรส่งเสริม โดยมีใบรับรองประสิทธิภาพตามที่ BOI กำหนด
4.จะนำเข้าโดยใช้สิทธิยกเว้นอากรขาเข้าตามมาตรา 28 หรือไม่ก็ได้
กรณีที่สอบถาม หากถูกต้องตามเงื่อนไขข้างต้น ก็จะนับเป็นเครื่องจักรในโครงการ และนับกำลังผลิตเพื่อใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามมาตรา 31 ได้
การขอจำนองเครื่องจักรที่สั่งปล่อยคืนอากร และสั่งปล่อยปกติ มีขั้นตอนเหมือนกัน คือ ยื่นหนังสือถึงสำนักบริหารการลงทุน หรือศูนย์เศรษฐกิจการลงทุน ที่รับผิดชอบโครงการของบริษัท ประกอบด้วย
หนังสือหัวจดหมายบริษัทฯ เรื่อง ขออนุญาตจำนองเครื่องจักรที่ได้ใช้สิทธิตามบัตรส่งเสริม (ไม่มีแบบฟอร์ม พิมพ์ขึ้นได้เอง)
แบบคำขออนุญาตจำนองเครื่องจักรที่ได้ใช้สิทธิตามบัตรส่งเสริม (F IN MC 02) ไม่ต้องแนบรายการเครื่องจักรที่ขอจำนอง ระบุเพียงแค่ชื่อที่อยู่ของบริษัทรับจำนองเท่านั้น เมื่อได้รับอนุมัติจาก BOI แล้ว จึงจะสามารถนำเครื่องจักรที่ใช้สิทธิตามบัตรส่งเสริม ไปจำนองได้
ใช่ การตัดบัญชี คือ การตัดภาระภาษีวัตถุดิบที่นำเข้าโดยใช้สิทธิมาตรา 36 ว่าได้มีการส่งออกไปต่างประเทศแล้ว หากบริษัทไม่เข้าใจสิทธิประโยชน์และหลักเกณฑ์การใช้สิทธิมาตรา 36 และการตัดบัญชี ควรเข้าอบรมคอร์สวัตถุดิบที่สมาคม IC จัดขึ้นเป็นประจำ เพื่อไม่ให้ปฏิบัติผิดพลาด
โครงการที่ได้รับใบอนุญาตเปิดดำเนินการแล้ว จะแก้ไขโครงการได้เฉพาะกรณีที่ไม่มีการลงทุนเพิ่มเติมเท่านั้น เช่น
- เพิ่มกำลังผลิต โดยการเพิ่มเวลาทำงาน
- เพิ่มชนิดผลิตภัณฑ์ ภายใต้กำลังผลิตเดิม โดยไม่ต้องลงทุนเครื่องจักรเพิ่ม เป็นต้น
ยกเว้นอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องไฟฟ้า และชิ้นส่วน ตามประกาศ กกท ที่ 6/2549 จะสามารถนำเครื่องจักรเข้ามาปรับปรุงโครงการ หรือเพิ่มกำลังผลิตได้ แม้จะเปิดดำเนินการเต็มโครงการแล้วก็ตาม
หากผลิตภัณฑ์ในโครงการที่ 2 เป็นชิ้นส่วนตามกรรมวิธีการผลิตของโครงการที่ 1 ก็สามารถตั้งบัญชีซื้อขายภายในบริษัทได้เลย โดยไม่ต้องขออนุญาตจาก BOI เพราะไม่ได้เป็นการใช้เครื่องจักรร่วมกัน เหตุผลคือ โครงการที่ 1 ไม่มีขั้นตอนการผลิตชิ้นส่วนดังกล่าว จึงต้องจัดซื้อมาใช้ ซึ่งจะซื้อจากโครงการที่ 2 ก็ได้ ส่วนโครงการที่ 2 เมื่อผลิตชิ้นส่วนตามที่ได้รับส่งเสริมแล้ว จะขายให้กับใครก็ได้ และก็สามารถขายให้โครงการที่ 1 ได้เช่นกัน
การซื้อขายนี้ภายในบริษัทเช่นนี้ มีข้อควรระวังคือ การขายภายในบริษัท ต้องขายในราคาต้นทุน
- ดังนั้น โครงการที่ 2 ซึ่งขายให้โครงการที่ 1 จะไม่มีกำไร
- กำไรทั้งหมด จะไปลงบัญชีตอนที่จำหน่ายให้บริษัทอื่น คือจะลงบัญชีเป็นกำไรของโครงการที่ 1 การตัดบัญชี จะต้องแยกตัดเป็นส่วนๆ คือโครงการที่ 1 ตัดบัญชีก่อน แล้วโอนสิทธิตัดบัญชีส่วนที่ซื้อจากโครงการที่ 2 ไปให้โครงการที่ 2 เพื่อนำไปตัดบัญชีต่อไป
1. รายการวัตถุดิบที่จะยื่นขออนุมัติ Max Stock ไม่จำเป็นต้องตรงกับรายการที่ยื่นไว้ในคำขอรับการส่งเสริม แต่จะต้องเป็นวัตถุดิบและวัสดุจำเป็นที่ใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ได้รับส่งเสริม และใช้ในกรรมวิธีการผลิตตามที่ได้รับอนุมัติ
2. โมเดลที่จะยื่นประกอบการขออนุมัติ Max Stock จะยื่นกี่โมเดลก็ได้
3. Max Stock ที่ยื่นขอครั้งแรก จะมีวัตถุดิบไม่ครบทุกรายการ และมีปริมาณไม่เต็มกำลังผลิต 6 เดือนก็ได้ แต่หากมีข้อมูลเพียงพอ ควรยื่นขอ Max Stock เต็มกำลังผลิต 6 เดือน และครอบคลุมวัตถุดิบทุกรายการ เพื่อจะได้ไม่ต้องแก้ไข Max Stock บ่อยๆ