บริษัทใช้ออฟฟิซและสโตร์เดิม จึงไม่มีการลงทุนในส่วนค่าเช่าเกิดขึ้นใหม่ จึงไม่สามารถนำมานับเป็นการลงทุนของโครงการ ITC ได้อีก แต่ถ้ามีการขยายพื้นที่เช่าเพื่อใช้ในกิจการ ITC ส่วนที่ขยาย (สัญญาเช่ามากกว่า 3 ปี) สามารถนับเป็นขนาดการลงทุนได้
การเปลี่ยนแปลงจากคลินิกเป็นโรงพยาบาล เพื่อขอรับการส่งเสริมฯ ต้องแจ้งหยุดกิจการสถานพยาบาลแบบไม่ค้างคืน (Clinic) กับกระทรวงสาธารณสุข ในส่วนการขอรับการส่งเสริมกิจการโรงพยาบาลต้องมีการทุนในเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ใหม่ โดยอนุญาตให้ใช้ตึกเก่าได้ ดังนั้น วันที่เริ่มนับรายได้ BOI จะเริ่มนับหลังจากได้รับอนุญาตเปิดดำเนินการกับกระทรวงสาธารณสุข
มูลค่าของโครงการที่ขอรับการส่งเสริมจะนับหลังจากวันที่ยื่นคำขอ และต้องเป็นเครื่องจักรใหม่ทั้งสิ้น
สามารถดาวน์โหลด แบบคำขออนุญาตเปลี่ยน/เพิ่ม/ลด สถานที่ตั้งโรงงาน/สถานประกอบการ (F PA PC 03) ได้จากเว็บไซต์ของ BOI ตาม Link : http://www.boi.go.th/newboi/index.php?page=form_amendment
กรณีที่สอบถาม เป็นการนำช่างต่างชาติเข้ามาทำงานซ่อมเครื่องจักร ตามแผนซ่อมบำรุงประจำปี จึงไม่น่าจะเข้าข่ายกรณีเร่งด่วน (เนื่องจากเป็นการเดินทางเข้ามาตามแผนที่คาดการณ์ได้ล่วงหน้า)
กรณีนี้อาจจะต้องขออนุญาตทำงานชั่วคราว (ไม่เกิน 6 เดือน) ต่อ BOI ไม่ใช่การขออนุญาตทำงานเร่งด่วน
ถ้าบริษัทนำเข้าวัตถุดิบโดยไม่ได้ชำระภาษีอากรเนื่องจากไม่เกินเกณฑ์ที่กรมศุลกากรตั้งไว้ ก็ถือเป็นวัตถุดิบที่นำเข้าโดยไม่ได้ใช้สิทธิจาก BOI เวลาตัดบัญชีก็ไม่ต้องตัดรายการนี้ คือ คีย์เป็น local ไป
1-4. หลังจากบริษัทได้รับอนุมัติให้ตัดภาระภาษีเครื่องจักรหรือแม่พิมพ์ที่นำเข้าเกินกว่า 5 แล้ว บริษัทยังคงต้องใช้เครื่องจักรดังกล่าวในโครงการต่อไป หากไม่ต้องการใช้ในโครงการอีกต่อไป บริษัทต้องยื่นขออนุญาตจำหน่ายออกจากโครงการ โดยไม่ต้องทำลาย การขอทำลาย เป็นกรณีที่นำเข้ายังไม่ครบ 5 ปี แต่จะขอทำลายเพื่อปลดภาระภาษี
5. การขอตัดภาระภาษีเครื่องจักรเกิน 5 ปี กำหนดระยะเวลาพิจารณา 30 วันทำการ
1. การจำหน่ายเครื่องจักรออกจากโครงการ ยื่นในระบบ eMT
2. BOI ไม่ได้กำหนดเงื่อนไขว่าต้องจำหน่ายให้ใคร
3. แม่พิมพ์ที่บริษัทสอบถาม นำเข้าเกิน 5 ปี และได้รับอนุมัติตัดภาระภาษีแล้ว BOI จึงจะไม่ตรวจว่าจำหน่ายในสภาพใด หากขออนุมัติจำหน่ายออกจากโครงการ ก็จะได้รับอนุมัติ
สมาคม IC มี หนังสือที่ RMTS 009/2558 ลงวันที่ 8 กันยายน 2558 แจ้งผู้ใช้บริการระบบ RMTS เกี่ยวกับวิธีการคีย์ไฟล์ตัดบัญชีกรณีที่ Vendor ไม่ได้รับส่งเสริมการลงทุน (Non BOI Vendor) โดยจะต้องคีย์ชื่อบริษัทและเลขทะเบียนนิติบุคคลของ Vendor ที่ไม่ได้รับส่งเสริมด้วย (จากเดิมที่เคยคีย์เป็น Local เฉยๆ โดยไม่รู้ว่าซื้อมาจากใคร ฯลฯ)
กรณีของคุณเป็นการซื้อจากต่างประเทศโดยชำระภาษี ซึ่งจะว่าไปแล้วก็เป็นการซื้อจาก Non BOI Vendor เหมือนกัน แต่อาจจะไม่เหมาะที่จะคีย์ Ven_name และ Ven_ID เป็นบริษัทต่างประเทศ อาจจะลองคีย์เป็น Local ไปก่อน ถ้าติดปัญหาจึงค่อยชี้แจงกับ IC
1. บริษัท A (ลูกค้า) ซื้อแม่พิมพ์จากบริษัท B (BOI) แต่ B ไปซื้อแม่พิมพ์จากบริษัท C เพื่อมาขายให้กับ A
1.1 หาก A นำแม่พิมพ์ดังกล่าวไปจำหน่ายต่อให้กับผู้อื่น ถือว่า B ได้จำหน่ายแม่พิมพ์ในลักษณะค้าส่ง ซึ่งอยู่ในข่ายที่จะขอส่งเสริมในกิจการ ITC
1.2 หาก A นำแม่พิมพ์ดังกล่าวไปใช้ในธุรกิจของตนเอง เช่น นำไปฉีดพลาสติกเอง หรือส่งต่อไปให้ผู้อื่นฉีดพลาสติกให้ ถือว่า B ได้จำหน่ายแม่พิมพ์ในลักษณะค้าปลีก ซึ่งไม่อยู่ในข่ายที่จะขอส่งเสริมในกิจการ ITC
2. กรณีมีการสร้างโกดังเก็บสินค้าเพิ่มเติม เพื่อใช้ทั้งกิจการผลิตและกิจการ ITC สามารถนำค่าก่อสร้างมานับเป็นการลงทุนของกิจการ ITC โดยใช้วิธีปันส่วนตามที่ BOI พิจารณาว่าถูกต้องเหมาะสม
ขนาดการลงทุน หมายถึง ค่าก่อสร้างหรือค่าเช่า ค่าปรับปรุง รวมถึงค่าตกแต่งอาคาร
กำลังผลิตหรือขนาดของโครงการให้ยึดตามที่ปรากฏในบัตรส่งเสริม
ทั้งนี้ เพื่อการปฏิบัติที่ถูกต้องกรุณาติดต่อเจ้าหน้าที่กองบริหารการลงทุน 4 ชั้น 2 หรือโทรติดต่อ 02-553-8337
1.ระบบ eMT
หากบริษัทสมัครใช้บริการระบบ eMT สำหรับโครงการแรกแล้ว และต่อมาได้รับส่งเสริมโครงการที่ 2 บริษัทสามารถล็อคอินโดยใช้ username และ password เดิม แล้วเลือกเลขที่บัตรส่งเสริมที่ต้องการดำเนินการ
2.ระบบ RMTS
หากบริษัทสมัครใช้บริการระบบ RMTS สำหรับโครงการแรกแล้ว และต่อมาได้รับส่งเสริมโครงการที่ 2 บริษัทต้องยื่นขอ project code ของโครงการที่ 2 ต่อสมาคม IC ก่อน จากนั้นจึงล็อคอินโดยใช้ username และ password เดิม แล้วเลือก project code ของบัตรส่งเสริมที่ต้องการกดำเนินการ
แม้เวนเดอร์รายนั้นจะเป็น BOI แต่ถ้าซื้อวัตถุดิบจากเวอเดอร์รายนั้นเป็นแบบ non-BOI คือ ไม่ต้องโอนสิทธิตัดบัญชีวัตถุดิบกลับไปให้ เพราะราคารวมอากรขาเข้าไปด้วยแล้ว ก็สามารถตัดบัญชีเป็น Local คือไม่ต้องออกใบโอนสิทธิได้ โดยช่อง VEN_TYPE และ VEN_MODEL ปล่อยว่างไว้ ส่วนช่อง VEN_NAME, VEN_ID, VEN_QTY คีย์ตามปกติ
หากเครื่องจักรนำเข้ามาเกินกว่า 5 ปี และไม่ต้องการใช้งานอีกต่อไป แนะนำให้ยื่นขอจำหน่ายจะดีกว่า เนื่องจากการขอจำหน่ายเครื่องจักรที่นำเข้ามาเกินกว่า 5 ปี สามารถอนุญาตให้จำหน่ายได้โดยไม่มีภาระภาษี จึงไม่มีความจำเป็นที่ต้องทำลาย
การขอจำหน่าย คือการจะขายออกจากโครงการ เมื่อได้รับอนุมัติจำหน่ายจากบีโอไอแล้ว จะขายเป็นเครื่องจักรมือสองไปก็ได้ ไม่จำเป็นต้องทำลาย เสียค่าใช้จ่ายในการทำลายเปล่า ๆ
- ใบขนขาออก และใบโอนสิทธิ (report-v) จะต้องนำมาตัดบัญชีภายใน 1 ปี นับจากวันส่งออก หรือวันที่ตามหนังสือโอนสิทธิ
- หากมีเหตุอันสมควร BOI จะอนุญาตขยายเวลาตัดบัญชีให้ไม่เกิน 1 ปี คือรวมแล้วไม่เกิน 2 ปี
2. อัตราค่าตัดบัญชีของ IC ปกติใบขนละ 40 บาท
- หากเกิน 1 ปี (แต่ไม่เกิน 2 ปี) ใบขนละ 500 บาท
- กรณีใช้ระบบ RMTS-2011 ผ่อนผันค่าบริการสำหรับใบขนที่เกิน 1 ปี (แต่ไม่เกิน 2 ปี) จาก 500 บาท เป็น 100 บาท จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2558
3. สมาคม IC ปิดระบบ RMTS แล้วตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2558 กรณีที่สอบถาม หากเป็นใบขนของปี 2009-2013 ของระบบ RMTS ซึ่งเกิน 2 ปีแล้ว จะไม่สามารถนำมายื่นตัดบัญชีได้ แต่ถ้าใบขนใดยังไม่เกิน 2 ปี และต้องการตัดบัญชี ก็ต้องยื่นตัดในระบบ RMTS-2011
การควบบริษัท คือการที่บริษัทตั้งแต่ 2 บริษัทขึ้นไป มารวมกันเป็นบริษัทเพียงบริษัทเดียว เมื่อควบบริษัทเข้ากันแล้ว จะมีผลทำให้บริษัทเดิมแต่ละบริษัทสิ้นสภาพไป และเกิดบริษัทใหม่ขึ้นมาแทน โดยบริษัทที่ตั้งขึ้นใหม่อันเกิดจากการควบ จะใช้ชื่อบริษัทเดิมที่ควบเข้ากัน หรือจะตั้งชื่อใหม่ก็ได้ (http://dbd.go.th/download/downloads/03_boj/intro_step_bj_merge.pdf)
ตอบคำถามดังนี้
บริษัท A (BOI) จะซื้อกิจการของบริษัท B (BOI)
1. BOI จะพิจารณาเป็นการโอน/รับโอนกิจการโดยบัตรส่งเสริมของ B จะใช้ได้ต่อไปได้อีกไม่เกิน 3 เดือนนับแต่วันโอนกิจการ ดังนั้น หาก A ต้องการจะรับช่วงดำเนินการที่ได้รับการส่งเสริมตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในบัตรส่งเสริมเดิมของ B A จะต้องยื่นคำขอรับการส่งเสริมเพื่อรับโอนกิจการภายในกำหนด 3 เดือนข้างต้น
2. BOI กำหนดระยะเวลาพิจารณาการโอน/รับโอนกิจการ ไม่เกิน 30 วันทำการ
3. ระหว่างที่รอการพิจารณา BOI ไม่มีข้อกำหนดว่า A และ B ห้ามดำเนินการอะไรบ้าง บริษัทจึงควรพิจารณาความเหมาะสมเป็นเรื่องๆ ไป
การให้การส่งเสริมการลงทุนกิจการซอฟต์แวร์ มีเงื่อนไขคือ
1. ต้องมีค่าใช้จ่ายเงินเดือนของบุคลากรด้านการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศไม่น้อยกว่า 1,500,000 บาท/ปี
2. ต้องมีกระบวนการพัฒนาซอฟต์แวร์อย่างใดอย่างหนึ่งตามที่สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลกำหนดหรือเห็นชอบ
ดังนั้น หากบริษัทมีค่าใช้จ่ายเงินเดือนบุคลากรตามเงื่อนไขข้อ 1 และซอฟต์แวร์ที่จะจำหน่ายมีกระบวนการ พัฒนาตามเงื่อนไขข้อ 2 ก็สามารถใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ แต่ทั้งนี้ ต้องไม่ใช่ซอฟต์แวร์เดิมที่บริษัทเคยจำหน่ายอยู่แล้วก่อนได้รับการส่งเสริม
การรับจ้างผลิตสินค้า หากเป็นผลิตภัณฑ์ชนิดเดียวกับที่บริษัทได้รับส่งเสริม และมีกรรมวิธีผลิตครบตามขั้นตอนที่ได้รับอนุมัติ ก็สามารถทำได้ โดยไม่ต้องแจ้งอะไรต่อ BOI ส่วนในการใช้สิทธิยกเว้นอากรขาเข้าวัตถุดิบและแม่พิมพ์จาก EPZ ก็สามารถใช้สิทธิได้เสมือนกับการนำเข้าจากต่างประเทศ คือ วัตถุดิบ
เป็นการนำเข้าจากต่างประเทศ (EPZ) เมื่อผลิตเสร็จก็ส่งสินค้าออกไปต่างประเทศ (EPZ) จึงสามารถใช้สิทธิมาตรา 36(1) ในการยกเว้นอากรขาเข้าวัตถุดิบได้ แม้ว่าลูกค้าใน EPZ จะส่งวัตถุดิบมาให้โดยไม่คิดมูลค่า แต่ก็ต้องสำแดงราคาเพื่อประโยชน์ในการประเมินภาษีอากร
กรณีเกิดส่วนสูญเสียจากการผลิต ขึ้นอยู่กับว่ามีข้อตกลงกับลูกค้าอย่างไร หากไม่ส่งส่วนสูญเสียคืนกลับไปให้ลูกค้าใน EPZ ก็ต้องทำลายหรือชำระภาษีตามหลักเกณฑ์ว่าด้วยเรื่องส่วนสูญเสียตามมาตรา 36(1) แม่พิมพ์ ใช้สิทธิยกเว้นภาษีอากรขาเข้าตามมาตรา 28 ได้
ต้องสำแดงราคา เพื่อประโยชน์ในการประเมินภาษีอากร ทั้งนี้ในทางบัญชี ถือว่าเป็นทรัพย์สินของลูกค้าที่ส่งมาให้บริษัทใช้ผลิตชิ้นงานให้ลูกค้า เมื่อใช้งานเสร็จแล้ว ก็ยื่นเรื่องขออนุญาตส่งแม่พิมพ์คืนไปต่างประเทศ (EPZ)