Chat
x
toggle menu
toggle menu

Select Groups

All Group
  • All Group
  • นโยบายเเละมาตรการพิเศษในการส่งเสริม
  • การขอรับการส่งเสริมการลงทุน
  • การออกบัตรส่งเสริม
  • การเปิดดำเนินการ
  • การเเก้ไขโครงการ
  • การดำเนินการอื่น ๆ
  • การรายงานความคืบหน้าโครงการ (e-Monitoring)
  • การปฏิบัติหลังการได้รับการส่งเสริม
  • การยกเลิกบัตรส่งเสริม
  • เรื่องทั่วไป
  • การใช้สิทธิด้านที่ดิน
  • การใช้สิทธิด้านเครื่องจักร
  • การใช้สิทธิด้านช่างฝีมือ/ต่างด้าว
  • การใช้สิทธิด้านวัตถุดิบ
  • ประเภทกิจการ - การแพทย์
  • การใช้สิทธิด้านภาษีเงินได้นิติบุคคล
  • ประเภทกิจการ - รถยนต์ไฟฟ้า
  • ประเภทกิจการ - ศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศ (IBC) IPO และ TISO
  • ประเภทกิจการ - โรงแรม
  • ประเภทกิจการ - ผลิตผลิตภัณฑ์โลหะรวมทั้งชิ้นส่วนโลหะ
  • ประเภทกิจการ - กิจการผลิตเครื่่องจักร อุุปกรณ์และชิ้นส่วน
  • ประเภทกิจการ - กิจการศูนย์กระจายสินค้าระหว่า ประเทศด้วยระบบที่่ทันสมัย (IDC)
พอดีอยากทราบว่า ที่นับอยู่ถูกต้องไหม บริษัทได้รับบัตรส่งเสริม อนุมัติวันที่ 21 ธันวาคม 2555 บัตรลงวันที่ 28 มกราคม 2556 ปัจจุบัน ส่งรายงานตามแบบแจ้งยืนยันการดำเนินงานปีที่ 2 ไปแล้ว ดังนั้นวันครบกำหนดเปิดดำเนินการจะเป็นวันที่ 28 มกราคม 2559 ถูกต้องไหม

วันครบกำหนดเปิดดำเนินการคือ 36 เดือน นับจากวันออกบัตรส่งเสริม บัตรส่งเสริมออกวันที่ 28 ม.ค. 56 จึงครบกำหนดเปิดดำเนินการวันที่ 28 ม.ค. 59 ถูกต้อง

ในกรณีที่ติดปัญหาเกี่ยวกับการลงข้อมูล ไม่ทราบว่าติดต่อได้ที่ฝ่ายใด รบกวนขอเบอร์โทรศัพท์ติดด้วยก็ได้

ให้ติดต่อสอบถามกับ BOI ตาม Link : https://boieservice.boi.go.th/PMX_Files/upload/manual/UserManual.pdf

หลักเกณฑ์การถือหุ้นชาวต่างชาติ

คณะกรรมการกำหนดหลักเกณฑ์การถือหุ้นของต่างชาติสำหรับโครงการที่ขอรับการส่งเสริมการลงทุน ให้ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 ของกระทรวงพาณิชย์ ดังนี้

1. โครงการลงทุนในกิจการตามที่ปรากฏในบัญชีหนึ่ง ท้ายพรบ การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ต้องมีผู้มีสัญชาติไทยถือหุ้นรวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละ 51 ของทุนจดทะเบียน

2. โครงการลงทุนในกิจการตามที่ปรากฏในบัญชีสอง และบัญชีสาม ท้ายพรบการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว อนุญาตให้ต่างชาติถือหุ้นข้างมากหรือทั้งสิ้นได้ เว้นแต่กรณีที่มีกฎหมายอื่นกำหนดไว้ เป็นการเฉพาะ

3. เมื่อมีเหตุผลอันสมควร คณะกรรมการอาจกำหนดสัดส่วนการถือหุ้นของต่างชาติเป็นการเฉพาะสำหรับกิจการที่ ให้การส่งเสริมการลงทุนบางประเภท

ดังนั้น การกำหนดสัดส่วนส่วนการถือหุ้นของคนต่างชาติ จึงขึ้นอยู่กับประเภทกิจการค่ะ

ทั้งนี้ ท่านสามารถตรวจสอบบัญชีประเภทธุรกิจ ภายใต้พรบ การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวได้ ตามลิงค์ https://www.dbd.go.th/ewt_news.php?nid=1053&filename=law หรือเว็บไซต์ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า www.dbd.go.th

บริษัทซื้อ Program ใช้ในกิจการ IPO แต่มีกิจการอื่นใช้ร่วมด้วยเป็นบ้างครั้ง กรณีนี้ถือว่านับเป็นเงินลงทุนของกิจการ IPO ได้รึเปล่า

ซอฟต์แวร์ สามารถนับเป็นขนาดการลงทุนในข่ายเครื่องจักร ในกิจการ IPO/ITC ได้ แต่หากมีการใช้ร่วมกับโครงการอื่น จะต้องปันส่วนมูลค่าการลงทุน ตามหลักเกณฑ์ที่เหมาะสม เช่น ตามสัดส่วนยอดขาย เป็นต้น

“มาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพ” จากตัวอย่างที่ทางวิทยากรอธิบายในเรื่องของโซลาร์เซลล์ ในฟอร์มคำขอทั่วไป ในส่วนของแผนการลงทุนก็ให้กรอกข้อมูลเฉพาะเงินลงทุนของโซลาร์เซลล์ใช่หรือไม่ (2 ธ.ค. 2564)
การกรอกแบบคำขอมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพเรื่องเงินทุนและรายละเอียดเครื่องจักร จะให้กรอกเฉพาะเงินลงทุนที่เกิดจากการปรับปรุงเท่านั้น ดังนั้น แผนการลงทุนที่จะต้องกรอกในแบบคำขอทั่วไป จะเป็นเฉพาะในส่วนเงินลงทุนที่ใช้ในการติดตั้งโซลาร์เซลล์เท่านั้น
บริษัทมีหุ้นต่างชาติทั้งสิ้นได้รับการส่งเสริมกิจการ ROH จาก BOI ในปี พ.ศ. 2546 และได้รับสิทธิและประโยชน์ทางภาษีจากกรมสรรพากรกิจการ ROH ในปี พ.ศ. 2548 บริษัทควรพิจารณาเปลี่ยนเป็น IBC หรือไม่

ขึ้นอยู่กับนโยบายของบริษัท หากประสงค์จะขอรับสิทธิประโยชน์ทางภาษีให้ยื่นขออนุมัติเป็น IBC กับกรมสรรพากรโดยจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของ IBC

การลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดากิจการ IHQ และ ITC ของกรมสรรพากรระบุว่า หากชาวต่างชาติที่ปฏิบัติงาน มีรายได้สุทธิมากกว่า 2 แสนบาทต่อเดือน พำนักอยู่ในประเทศไทยมากกว่า 180 วัน จะสามารถลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (อัตราคงที่ 15%) กิจการ IBC มีการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือไม่ อย่างไร

ไม่เปลี่ยนแปลง

“มาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพ”หากจะขอเรื่องโซลาร์เซลล์ ในการกรอกแบบฟอร์มคำขอทั่วไป แต่มีช่องให้กรอกวัตถุดิบที่ใช้การผลิต อันนี้จำเป็นต้องกรอกมั้ย (2 ธ.ค. 2564)
การกรอกข้อมูลวัตถุดิบที่ใช้การผลิตในคำขอทั่วไป เป็นการกรอกข้อมูลในส่วนของกิจการที่ดำเนินการอยู่เดิม เพื่อให้สำนักงานสามารถพิจารณาได้ว่า กิจการที่ดำเนินการอยู่เดิมของบริษัท เข้าข่ายประเภทกิจการที่ BOI ให้การส่งเสริมได้ หากในกรณีที่บริษัทไม่ได้มีวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต เช่น กิจการบริการ ก็ไม่จำเป็นเป็นจะต้องกรอก เนื่องจากไม่มีข้อมูลการใช้วัตถุดิบ
ในกรณีที่บริษัทเป็นกิจการผลิตสินค้าอื่นๆ (ที่ไม่ใช่ IPO/ITC) และซื้อซอฟต์แวร์ มาใช้ในกิจการ (งานด้านคลังสินค้า , การผลิต และงานบัญชีเป็นต้น) สามารถนับรวมเป็นวางเงินลงทุนของโครงการได้หรือไม่
ซอฟต์แวร์ตามที่สอบถาม ปกติจะพิจารณาเป็นสินทรัพย์อื่นๆ

1.กรณีเป็นโครงการริเริ่ม (คือมีกิจการที่ประกอบการอยู่เพียงกิจการเดียวและได้รับการส่งเสริม) จะนับมูลค่าสินทรัพย์อื่นๆเป็นขนาดการลงทุนของโครงการ

2.กรณีเป็นโครงการขยาย (คือมีกิจการอื่นที่ประกอบการอยู่แล้วไม่ว่าจะได้รับส่งเสริมหรือไม่ก็ตาม) จะไม่นับมูลค่าสินทรัพย์อื่นๆเป็นขนาดการลงทุนของโครงการ

1) การกรอกมูลค่าเครื่องจักร รวมถึงพวกแม่พิมพ์,จิ๊ก หรือเครื่องจักรที่นำเข้ามาทั้งที่ใช้สิทธิ์ และไม่ใช้สิทธิ์เลยใช่ไหม รวมมูลค่าการติดตั้งเครื่องจักรด้วยหรือไม่ และวันนำเข้าครั้งแรกลงวันที่ในใบขนขาเข้าใช่ไหม 2) การกรอกมูลค่าวัตถุดิบรวมทั้งที่ใช้สิทธิ์ และไม่ใช้สิทธิ์เลยใช่ไหม วันนำเข้าครั้งแรกลงวันที่ในใบขนขาเข้าใช่ไหม 3) การมีรายได้จากการผลิตหรือการประกอบการถ้า Invoice มีเพียงเป็นรายได้ Non BOI ต้องนำมากรอกไหม ถ้ายังไม่มีรายได้ที่เป็น BOI ควรกรอกข้อมูลอย่างไร และในส่วนลงวันที่คือวันที่ในใบขนขาออก หรือวันที่ใน Invoice

1) ให้รวมได้ทั้งเครื่องจักร ส่วนประกอบ แม่พิมพ์ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ ทั้งที่นำเข้าโดยใช้สิทธิ และไม่ใช้สิทธิ และที่ซื้อในประเทศ โดยรวมค่าติดตั้งได้ด้วย ส่วนวันที่ได้มาครั้งแรก ให้ใช้วันที่ได้มาครั้งแรกที่บันทึกในบัญชี

2) เหมือนข้อ 1 จะใช้สิทธิ ไม่ใช้สิทธิ หรือซื้อในประเทศ ก็นับได้หมด

3) รายได้ Non-BOI หมายถึงอะไร รายได้จากการผลิตสินค้าตามโครงการไม่ว่าจะเป็นสินค้าตัวอย่าง ฯลฯ ก็เป็นรายได้ตามโครงการนะ ส่วนวันที่รับรู้รายได้เป็นไปตามเกณฑ์ทางบัญชี เช่น วันที่ส่งมอบสินค้า เป็นต้น

รบกวนถามต่อ 1.ถ้ายังไม่พร้อมเปิดดำเนินการ จะไปขอขยายระยะเวลาเปิดดำเนินการจะได้ไหม 2. ถ้าบริษัทมีแผนการจะแก้ไขโครงการจาก IPO เป็น ITC ยังสามารถทำได้ไหม

1. ถ้ายังไม่พร้อมเปิดดำเนินการ สามารถขยายเวลาเปิดดำเนินการได้ ตามประกาศ สกท ที่ ป.1/2548 กรณีขอขยายเวลานำเข้าเครื่องจักร สามารถขอขยายเวลานำเข้าเครื่องจักรได้ 3 ครั้ง ครั้งละไม่เกิน 1 ปี โดยจะได้รับการขยายเวลาเปิดดำเนินการออกไปอีก 6 เดือน นับจากวันครบกำหนดวันนำเข้าเครื่องจักรแต่ละครั้ง

กรณีขอขยายเฉพาะการเปิดดำเนินการ จะขยายให้ 1 ครั้ง ไม่เกิน 1 ปี

2. กิจการ IPO หรือ ITC ปกติจะไม่มีการนำเข้าเครื่องจักร จึงเป็นกรณีหลัง คือสามารถขอขยายเฉพาะการเปิดดำเนินการได้ 1 ครั้ง ไม่เกิน 1 ปี

3. การเปลี่ยนประเภทกิจการที่ได้รับส่งเสริม จาก IPO เป็น ITC จะขอแก้ไขหลังจากเปิดดำเนินการครบตามโครงการแล้วก็ได้

บริษัท A ซึ่งได้รับการส่งเสริม BOI ได้ว่าจ้าง บริษัท B ซึ่งอยู่ในเขต EPZ เพื่อทำการชุบสินค้าได้ไหม

1.หากกรรมวิธีการผลิตที่ได้รับการส่งเสริม ได้รับอนุญาตให้นำวัตถุดิบ/ชิ้นส่วนไปทำการว่าจ้างผลิตบริษัทก็สามารถนำวัตถุดิบ/ชิ้นส่วนนั้นๆ ไปทำการว่าจ้างผลิตนอกโรงงานได้

2.กรณีนำวัตถุดิบไปว่าจ้างผลิตที่ต่างประเทศ หรือในเขต EPZ / Free Zone หากกรรมวิธีการผลิตได้รับอนุญาตให้มีการนำวัตถุดิบ/ชิ้นส่วนไปว่าจ้างผลิต ก็สามารถดำเนินการได้ แต่จะมีปัญหาคือวัตถุดิบ/ชิ้นส่วนที่นำกลับเข้ามา จะมีอากรขาเข้า ซึ่งสามารถดำเนินการได้หลายวิธี เช่น

2.1 ชำระภาษีอากรวัตถุดิบ/ชิ้นส่วนที่นำกลับเข้ามา

2.2 ทำใบสุทธินำกลับ เพื่อยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับวัตถุดิบ/ชิ้นส่วนที่นำกลับเข้ามา แต่จะมีภาษีอากรในส่วนค่าว่าจ้าง

2.3 แก้ไขชนิดผลิตภัณฑ์ โดยการเพิ่มชิ้นส่วนดังกล่าวเป็นผลิตภัณฑ์ในบัตรส่งเสริม ซึ่งเมื่อส่งชิ้นส่วนไปว่าจ้างผลิต ให้ทำในลักษณะการจำหน่ายสินค้า และเมื่อนำกลับเข้ามาให้ทำในลักษณะการนำเข้าวัตถุดิบ แต่จะต้องปรึกษากับ จนท BOI ก่อนว่าจะพิจารณาอนุญาตให้ได้หรือไม่

สอบถามเรื่องการนำเข้าเครื่องจักรเก่าที่มีอายุเกิน 10 ปี บริษัทฯได้ยื่นขอแก้ไขโครงการเพื่อขอใช้เครื่องจักรเก่าที่มีอายุเกิน 10ปีและผ่านการอนุมัติแล้ว แต่ระหว่างนี้บริษัทฯได้ยื่นขอเปิดดำเนินการเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2558ที่ผ่านมา แต่จะมีเครื่องจักรเก่าที่มีอายุเกิน 10 ปีเข้ามา 2 เครื่อง ซึ่งทั้ง 2 เครื่องมีชื่อทั้งที่ขอแก้ไขโครงการเพื่อขอใช้แล้ว และอีก1 เครื่องบริษัทฯยังไม่ได้ยื่นขอแก้ไขโครงการเพื่อขอใช้ บริษัทฯขอถามดังนี้ บริษัทฯ สามารถนำเข้าได้รึเปล่า โดยไม่ได้ใช้สิทธิยกเว้นภาษี(เสียภาษีเครื่องจักรเก่าเกิน 10ปี) ถ้านำเข้าได้ บริษัทฯต้องทำอย่างไร ทั้งเครื่องที่มีชื่อแก้ไขโครงการ และเครื่องที่มีชื่อที่ยังไม่ได้ยื่นแก้ไขโครงการ เพราะบริษัทยื่นเปิดดำเนินการไปแล้ว (รอการตรวจสอบรายละเอียดจากเจ้าหน้าที่/ ยังไม่ผ่านการอนุมัติ) หลังเปิดดำเนินการและผ่านการอนุมัติแล้ว บริษัทสามารถนำเข้าเครื่องจักรเก่าอายุเกิน 10 ปีได้หรือไม่ และสิทธินำเข้าเครื่องจักรอื่นๆ ยังคงเดิมหรือไม่หลังจากเปิดดำเนินการแล้ว

เครื่องจักรเก่าเกิน 10 ปี ต้องได้รับอนุญาต และต้องมีใบรับรองประสิทธิภาพจึงจะสามารถใช้ในโครงการได้

2.-3. จะเปิดดำเนินการแล้วหรือยังไม่เปิดหรืออยู่ระหว่างเปิด ก็มีเงื่อนไขเดียวกัน

บริษัทฯ ได้รับส่งเสริมกิจการผลิตชิ้นส่วนเครื่องจักร ประเภท 4.5.2 ซึ่งปัจจุบันต้องการแก้ไขทุนจดทะเบียน โดยบัตรส่งเสริมกำหนดอัตราผู้ถือหุ้น ไทย 51% ต่างชาติ เกาหลี 49% รวม 100% มีทุนจดทะเบียน 20 ล้านบาท ชำระค่าหุ้นจะเรียกเก็บ 5 ล้านบาท มีรายละเอียดดังนี้ (1) นาย ก สัญชาติไทย ถือหุ้น 33% (2) นาย ข สัญชาติไทย ถือหุ้น 18% รวม = 51% (3) นาย ค สัญชาติเกาหลี ถือหุ้น 39% (4) นาย ง สัญชาติเกาหลี ถือหุ้น 5% (5) นาย จ สัญชาติเกาหลี ถือหุ้น 5% รวม = 49% โครงสร้างจะมีการเปลี่ยนแปลง คือ นาย ค, นาย ง และ นาย จ สัญชาติเกาหลี จำนวน 49% จะเปลี่ยนผู้ถือหุ้นเป็น บ. ABC (เกาหลี) กรณีนี้บริษัทต้องยื่นแก้ไขอัตราสวนผู้ถือหุ้นใช่หรือไม่ และรบกวนสอบถามระยะเวลาอนุมัติ

กรณีที่สอบถาม บัตรส่งเสริมระบุเงื่อนไขว่า ต้องมีหุ้นไทยไม่น้อยกว่า 51% ซึ่งเมื่อบริษัทมีการเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้นแล้ว ยังคงมีหุ้นไทยไม่น้อยกว่า 51% จึงไม่ขัดกับเงื่อนไขในบัตรส่งเสริม และไม่ต้องยื่นแก้ไขโครงการเพื่อเปลี่ยนแปลงอัตราส่วนผู้ถือหุ้น

ปัจจุบัน คนต่างด้าวสามารถให้บีโอไอออกหนังสือการรับรองเพื่อถือกรรมสิทธิ์ห้องชุดได้หรือไม่ เนื่องจากจะซื้อคอนโดในประเทศไทย พระราชบัญญัติอาคารชุด มาตรา 19 ได้กำหนดให้คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้เข้ามาในราชอาณาจักรตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการลงทุน และนิติบุคคลต่างด้าวที่ได้รับบัตรส่งเสริมการลงทุน สามารถถือกรรมสิทธิ์ในห้องชุดได้ ดังนั้น คนต่างด้าวและนิติบุคคลต่างด้าวตามเงื่อนไขข้างต้น จึงสามารถยื่นเรื่องให้สำนักงานออกหนังสือรับรอง เพื่อประกอบการยื่นขอถือกรรมสิทธิ์ในห้องชุดต่อกรมที่ดินได้
สามารถขอหนังสือรับรองจาก BOI ได้ โดยยื่นเรื่องใน ระบบ e-Land https://e-land.boi.go.th/ หัวข้อ “ขอหนังสือรับรอง”
ในกรณีที่ได้รับส่งเสริมแล้ว หากขอแก้ไขชนิดผลิตภัณฑ์ สามารถทำได้หรือไม่

สามารถทำได้ โดยที่โครงการที่จะขอแก้ไขชนิดผลิตภัณฑ์ ต้องเป็นโครงการที่ยังไม่เปิดดำเนินการ และต้องเป็นประเภทกิจการที่สำนักงานให้การส่งเสริมการลงทุนอยู่ในปัจจุบัน จะมีผลตั้งแต่วันที่บริษัทยื่นแบบคำขอแก้ไขโครงการ โดยการแก้ไขชนิดผลิตภัณฑ์ แบ่งได้ 3 กรณีดังนี้

- การขอแก้ไขชนิดผลิตภัณฑ์ โดยไม่มีการลงทุนเครื่องจักรเพิ่ม

- การขอแก้ไขชนิดผลิตภัณฑ์ โดยการลงทุนเครื่องจักรเพิ่ม

- การยกเลิกผลิตภัณฑ์ จะต้องไม่ทำให้สาระสำคัญของโครงการขัดต่อหลักเกณฑ์การอนุมัติโครงการ หากการยกเลิกผลิตภัณฑ์ทำให้สาระสำคัญไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์จะพิจารณายกเลิกบัตรส่งเสริม

เนื่องจากบริษัทโดนตรวจสอบจากกรมศุลกากร ปรากฏว่า 1. บริษัทฯนำสินค้าออกจากเขตปลอดภาษีอากรเพื่อจำหน่าย โดยสำแดงราคาต่ำกว่าที่เป็นจริง เป็นเหตุให้ชำระภาษีอากรไว้ขาด 2. บริษัทฯนำสินค้ากลับเข้ามาในราชอาณาจักร โดยใช้สิทธิยกเว้นอากรขาเข้า เพื่อนำสินค้ากลับเข้ามาซ่อมแซม แต่บริษัทมิได้ทำการซ่อมแซมและมิได้ส่งกลับไปนอกราชอาณาจักร ซึ่งทั้งสองกรณีเป็นเหตุให้บริษัทต้องคดี โดยเสียภาษีพร้อมทั้งค่าปรับจำนวนหนึ่ง ซึ่งบริษัทได้ชำระภาษีกับทางกรมศุลกากรเป็นที่เรียบร้อยแล้ว แต่ข้อมูลของงานสินค้าที่นำกลับเข้ามาในราชอาณาจักร( Reject )ที่ทำการเสียภาษีนั้น ยังปรากฏอยู่ในระบบฐานข้อมูลอยู่เท่าเดิม ดังนั้น กรณีที่จะปรับยอดดังกล่าวให้เป็น 0 (เนื่องจากเสียภาษีแล้ว) จะต้องยื่นเรื่องขอต่อ BOI ในกรณีใด และการขอคัดสำเนาใบขนสินค้า ต้องทำเอกสารอะไร ยื่นเรื่องกับหน่วยงานใด และมีค่าใช้จ่ายอย่างไรบ้าง

1. การนำสินค้าเข้ามาจากเขตปลอดอากรเพื่อจำหน่ายในประเทศ โดยสำแดงราคาต่ำ เป็นความผิดทางศุลกากร ซึ่งกรณีนี้เข้าใจว่าไม่ได้ใช้สิทธินำเข้าจาก BOI จึงไม่เกี่ยวข้องกับในส่วน BOI

2. การนำสินค้าที่บริษัทส่งออกไปจำหน่ายต่างประเทศ กลับมาเข้าซ่อมแซม เพื่อส่งกลับออกไปอีกครั้งหนึ่ง สามารถใช้สิทธิยกเว้นอากรขาเข้าตาม ม.36(1) ได้ แต่ต้องเป็นสินค้าที่สามารถซ่อมได้ กรณีที่ซ่อมไม่ได้ และไม่สามารถส่งกลับออกไปได้ บริษัทจะต้องยื่นขอชำระภาษีอากร หรือจะต้องขออนุมัติทำลายและชำระภาษีเศษซากหลังทำลาย ฯลฯ ตามหลักเกณฑ์ที่ BOI กำหนด

กรณีที่สอบถาม บริษัทนำสินค้ากลับเข้ามาซ่อมแซมโดยใช้สิทธิยกเว้นภาษีอากร แต่ไม่ได้ส่งออก และไม่ได้ขอชำระภาษีหรือขอทำลาย แต่นำไปจำหน่ายในประเทศ จึงมีความผิดตามกฎหมายศุลกากร

ตอบคำถามดังนี้

1. บริษัทใช้สิทธิยกเว้นภาษีอากรสินค้าที่นำกลับเข้ามาซ่อม แต่ต่อมากระทำผิด และได้ชำระภาษีอากรและค่าปรับต่อกรมศุลกากรไปแล้ว

ดังนั้น ยอด balance ที่ใช้สิทธินำเข้ากับ BOI จึงสามารถปรับยอดให้เป็น 0 ได้ แต่กรณีนี้ไม่มีแบบฟอร์มในการยื่น จึงให้บริษัทร่างหนังสือขึ้นมาเอง โดยมีสาระสำคัญคือ

เรื่อง การขอปรับยอดวัตถุดิบ (กรณีนี้คือสินค้าที่นำกลับเข้ามาซ่อม แต่ใช้คำว่าวัตถุดิบนี้ได้)

ชี้แจงเหตุผลว่า ได้มีการใช้สิทธินำเข้าสินค้ากลับเข้ามาซ่อมแซมคือ ... จำนวน ... ตามหนังสือสั่งปล่อยที่ นร.. วันที่ .. แต่ต่อมาได้มีการชำระภาษีอากรและเบี้ยปรับ ตามใบขนที่ .. ใบเสร็จรับเงินที่ ... จึงขอปรับยอด ... จำนวน ... และทำตารางสรุปรายการที่จะขอปรับยอดแนบไปด้วย

แนบสำเนาหนังสือสั่งปล่อย / อินวอยซ์และใบขนขาเข้า / ใบเสร็จชำระภาษี / ใบขนชำระภาษี ตอนที่ยื่น ควรชี้แจงกับ จนท ก่อน โดย จนท อาจให้แก้ไขเอกสารหรือเตรียมเอกสารหลักฐานเพิ่มเติม เมื่อ BOI อนุมัติให้ปรับยอดแล้ว จึงนำหนังสืออนุมัติและไฟล์ ADJUST ไปยื่นปรับยอดที่ IC ต่อไป

2. การขอคัดสำเนาใบขนสินค้า เท่าที่ทราบคือ ต้องไปเขียนคำร้องและยื่นเรื่องที่ด่านศุลกากรที่นำเข้าหรือส่งออกสินค้าตามใบขนนั้นๆ

คำถามนี้ไม่เกี่ยวกับ BOI น่าจะสอบถามกับชิปปิ้งหรือกรมศุลกากรโดยตรง

บริษัทได้รับการส่งเสริมประเภทกิจการ ITC ได้รับสิทธิประโยชน์มาตรา 36 รายการวัตถุดิบที่เป็นชิ้นส่วนที่นำเข้ามาได้รับยกเว้นภาษี ในที่นี้หมายรวมถึงภาษีนำเข้า และภาษีมูลค่าเพิ่มได้รับการยกเว้นด้วยหรือไม่

ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าตาม พรบ BOI และได้รับการค้ำ vat และถอนค้ำ vat (คือไม่ต้องเสีย vat) ตามประกาศกรมสรรพากร

ในกรณีที่ได้รับส่งเสริมแล้ว หากขอแก้ไขทุนจดทะเบียน สามารถทำได้หรือไม่

การกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับทุนจดทะเบียน หรือการเรียกชำระทุนจดทะเบียนตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในบัตรส่งเสริม หากท่านไม่สามารถดำเนินการได้ตามบัตรส่งเสริม และท่านจะยื่นขอแก้ไขเงื่อนไขทุนจดทะเบียนให้สำนักงานพิจารณา ตามแนวทางเบื้องต้น สามารถทำได้ดังนี้

หากบัตรส่งเสริมการลงทุนกำหนดเงื่อนไขทุนจดทะเบียนสูงเกินความจำเป็นที่ต้องใช้ในโครงการที่ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริม จะอนุญาตให้แก้ไขโครงการเพื่อลดทุนจดทะเบียนหรือลดทุนจดทะเบียนที่เรียกชำระได้ แต่ทั้งนี้ จะต้องไม่ทำให้อัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนผู้ถือหุ้นต่ำกว่าหลักเกณฑ์ข้างต้นที่กำหนด

หากลดทุนจดทะเบียนเพื่อแก้ไขปัญหาขาดทุนสะสม หรือลดทุนจดทะเบียนเพื่อชำระคืนให้แก่ผู้ถือหุ้น สำนักงานจะพิจารณาตามความเหมาะสมเป็นกรณีๆ ไป

บริษัท A เป็นบริษัทที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนโดย BOI บริษัท B ต้องการเช่าพื้นที่บริษัท A เพื่อประกอบกิจการแม่พิมพ์ (Mold) โดยไม่ได้เป็นหุ้นส่วนของบริษัท A แต่การผลิตแม่พิมพ์สนับสนุนกิจการของบริษัท A
ไม่ทราบว่าบริษัท A สามารถให้บริษัท B เช่าพื้นที่เพื่อประกอบกิจการไม่เกิน 10% ของพื้นที่ทั้งหมดได้หรือไม่
หาก B เป็นกิจการผลิตแม่พิมพ์ เพื่อสนับสนุนการผลิตของ A
A ต้องขออนุญาตใช้ที่ดินที่ได้รับสิทธิตามมาตรา 27 (รวมไม่เกิน 10% ของพื้นที่ทั้งหมด) ให้ B เช่าใช้เพื่อสนับสนุนกิจการที่ได้รับส่งเสริมของ A

ขออภัยครับ ไม่มีข้อมูลส่วนนี้ ในภาษาที่ท่านเลือก !

Sorry, There is no information support your selected language !

Download และ ติดตั้งโปรแกรมอ่าน PDF

Download PDF Reader

Site map