Chat
x
toggle menu
toggle menu

Select Groups

All Group
  • All Group
  • นโยบายเเละมาตรการพิเศษในการส่งเสริม
  • การขอรับการส่งเสริมการลงทุน
  • การออกบัตรส่งเสริม
  • การเปิดดำเนินการ
  • การเเก้ไขโครงการ
  • การดำเนินการอื่น ๆ
  • การรายงานความคืบหน้าโครงการ (e-Monitoring)
  • การปฏิบัติหลังการได้รับการส่งเสริม
  • การยกเลิกบัตรส่งเสริม
  • เรื่องทั่วไป
  • การใช้สิทธิด้านที่ดิน
  • การใช้สิทธิด้านเครื่องจักร
  • การใช้สิทธิด้านช่างฝีมือ/ต่างด้าว
  • การใช้สิทธิด้านวัตถุดิบ
  • ประเภทกิจการ - การแพทย์
  • การใช้สิทธิด้านภาษีเงินได้นิติบุคคล
  • ประเภทกิจการ - รถยนต์ไฟฟ้า
  • ประเภทกิจการ - ศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศ (IBC) IPO และ TISO
  • ประเภทกิจการ - โรงแรม
  • ประเภทกิจการ - ผลิตผลิตภัณฑ์โลหะรวมทั้งชิ้นส่วนโลหะ
  • ประเภทกิจการ - กิจการผลิตเครื่่องจักร อุุปกรณ์และชิ้นส่วน
  • ประเภทกิจการ - กิจการศูนย์กระจายสินค้าระหว่า ประเทศด้วยระบบที่่ทันสมัย (IDC)
กิจการผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ ได้รับสิทธิยกเว้นอากรเครื่องจักรตลอดระยะเวลาที่ได้รับส่งเสริม (ตามบัตรส่งเสริมที่ได้รับ) กรณีที่เปิดดำเนินการเต็มโครงการแล้ว และจำเป็นต้องนำเครื่องจักร อะไหล่ แม่พิมพ์ เข้ามาเพิ่มเติม คำถาม 1. จะต้องขออนุมัติขยายนำเข้าหรือไม่ 2. สามารถขอเพิ่มบัญชีเครื่องจักร และสั่งปล่อยได้เลยหรือไม่ 3.เครื่องจักรใหม่ที่ขอเพิ่ม หากคำนวณการกำลังการผลิตแล้วมีเพิ่มหรือลดลง จากที่มีการแก้ไขกำลังการผลิต ณ ตอนที่เปิดดำเนินการไปแล้ว จะสามารถแก้ไขกำลังการผลิตได้อีกหรือไม่ และ cap วงเงินภาษียังได้รับอยู่หรือไม่
1-2.กรณีที่เปิดดำเนินการเต็มโครงการแล้ว แต่หากได้รับสิทธินำเข้าเครื่องจักรตลอดระยะเวลาที่ได้รับส่งเสริม

(1) หากเป็นการนำเข้าอะไหล่ แม่พิมพ์ เครื่องจักรที่ไม่กระทบกับกำลังผลิต และเครื่องจักรเพื่อทดแทนเครื่องจักรเดิม ภายใต้กำลังผลิตและกรรมวิธีผลิตที่ได้รับส่งเสริมอยู่เดิม สามารถยื่นขอเพิ่มรายการนั้นๆได้โดยไม่ต้องแก้ไขโครงการ

(2) หากเป็นการนำเข้าเครื่องจักรหลักเพื่อเพิ่มกำลังผลิต หรือเพิ่มขั้นตอนการผลิต จะต้องแก้ไขโครงการก่อน จึงจะขอเพิ่มรายการเครื่องจักรนั้นๆได้

3.cap วงเงินการยกเว้นภาษีเงินได้ที่เคยกำหนดไปแล้ว ณ วันเปิดดำเนินการเต็มโครงการ จะไม่ได้รับอนุญาตให้แก้ไขอีก แม้จะมีการนำเข้าเครื่องจักรเพิ่มเติมตามข้อ 1-2 ก็ตาม

กรณีที่เปิดดำเนินการเต็มโครงการแล้ว (ได้รับสิทธินำเข้าเครื่องจักรตลอดระยะเวลาที่ได้รับส่งเสริม) คำถาม : จะต้องทำการขอขยายนำเข้าเครื่องจักรด้วยหรือไม่

ถ้าได้รับสิทธินำเข้าเครื่องจักรตลอดไป ระยะเวลาสิ้นสุดการนำเข้าในระบบ eMT จะกำหนดเป็นปี 2599 (หรือ 2099 ไม่แน่ใจ) จึงไม่ต้องยื่นขอขยายเวลานำเข้าเครื่องจักร

แต่วัตถุดิบตัวนั้นจริงๆ ไม่ได้รับสิทธิ ม.36 แต่ไปใช้สิทธิ ม.36 นำเข้ามา ก็สามารถไปชำระภาษี และไปขอคืนสต็อกบีโอไอสำหรับตัวที่โดนสวมสิทธิ ได้เหมือนกันใช่ไม่

กรณีสั่งปล่อยวัตถุดิบผิดรายการ เช่น ได้รับอนุมัติสั่งปล่อยวัตถุดิบเป็น A แต่ในใบขนขาเข้าเป็น Bแนะนำให้เข้าไปปรึกษาเจ้าหน้าที่ BOI ที่รับผิดชอบโครงการของบริษัทโดยตรงว่า เมื่อบริษัทไปชำระภาษี B จะสามารถขอคืนยอดสั่งปล่อย A ได้อย่างไร เนื่องจากเจ้าหน้าที่แต่ละคน อาจมีความเห็น/วิธีแก้ไขปัญหาที่แตกต่างกัน

การนำเข้าวัตถุดิบผ่านบริษัทเทรดดิ้งที่ไม่ใช่บีโอไอ บริษัทสามารถนำเข้าวัตถุดิบผ่านบริษัทเทรดดิ้งที่ไม่ใช่บีโอไอ โดยใช้สิทธิ ม.36 ได้หรือไม่ ถ้าได้ต้องทำอย่างไรในเรื่องเอกสารการนำเข้าและอื่นๆ

ารใช้สิทธิยกเว้นอากรขาเข้าวัตถุดิบตามมาตรา 36 ผู้นำเข้าจะต้องเป็นบริษัทที่ได้รับสิทธิประโยชน์ตามมาตรา 36 เท่านั้น หาก บ.เทรดดิ้ง (non-BOI) เป็นผู้นำเข้า แล้วนำมาจำหน่ายให้กับ BOI จะใช้สิทธิยกเว้นอากรไม่ได้

แต่หาก บ.เทรดดิ้ง เป็นผู้สั่งซื้อวัตถุดิบ โดยระบุเป็นการ SOLD TO A (บ.เทรดดิ้ง) SHIP TO B (บ.BOI) และ บ.เทรดดิ้ง โอนสิทธิให้ บ.BOI เป็นผู้นำเข้า กรณีนี้จะสามารถใช้สิทธิยกเว้นอากรได้

1. Press Transfer MC. (ไม่มีผลิตในประเทศ) : บริษัท A ซื้อเครื่องจักรนี้จากบริษัท B (ทำการซื้อขายกันที่ญี่ปุ่น) และ บริษัท A ส่งมาเพื่อขายให้กับบริษัท C ที่อยู่ในไทย ถามว่าบริษัท C จะใช้สิทธิประโยชน์ในการยกเว้นอากรขาเข้าได้ใช่หรือไม่ ** บริษัท A เป็นบริษัทขนส่งสินค้าด้วย ** 2.Washing : ถึงแม้ว่าจะเป็นการผลิตเครื่องจักรที่ต่างประเทศและส่งมาให้กับบริษัทลูกที่มีสาขาอยู่ในไทย แล้วค่อยจำหน่ายให้กับบริษัทก็ตาม แต่เครื่องล้างเป็นหนึ่งในเครื่องจักรที่มีอยู่ใน "บัญชีรายการเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่มีผลิตหรือประกอบในราชอาณาจักร" ถือว่าเป็น negative list ใช่หรือไม่

1. กรณีที่บริษัท A และ B มีการซื้อขายเครื่องจักรกันที่ต่างประเทศ บริษัท C (BOI) สามารถซื้อและนำเข้าเครื่องจักรดังกล่าวโดยใช้สิทธิยกเว้นอากรขาเข้าตามมาตรา 28ได้ ทั้งนี้ สภาพของเครื่องจักร (ใหม่/เก่า) ต้องเป็นตามที่กำหนดในบัตรส่งเสริม

2. Washing Machine เป็นเครื่องจักรในบัญชี Negative List ต้องการถามว่าอะไรหรือ

ในกรณีที่บริษัท (A) ต้องการนำเข้าแม่พิมพ์จากญี่ปุ่น เพื่อนำมาผลิตสินค้าส่งให้กับลูกค้า (C) เป็นบริษัท BOI แต่บริษัทขายสินค้าผ่านบริษัทตัวแทน (B) ซึ่งเป็นกิจการ IPO ออกใบกำกับภาษีขายให้กับบริษัทตัวแทน (B) ลักษณะนี้บริษัทสามารถใช้สิทธิประโยชน์มาตรา 28 ในการนำเข้าแม่พิมพ์ได้หรือไม่

คำถามที่สอบถาม ไม่มีความสัมพันธ์กัน

การยกเว้นอากรเครื่องจักร/แม่พิมพ์ จะต้องเป็นเครื่องจักร/แม่พิมพ์ที่ใช้ผลิตสินค้าตามกรรมวิธีการผลิตที่ได้รับอนุมัติ ส่วนจะขายสินค้าให้กับใคร ไม่มีการกำหนดเป็นเงื่อนไข

สรุปคือ หากแม่พิมพ์นั้นนำเข้ามาเพื่อใช้ผลิตสินค้าที่ระบุในบัตรส่งเสริม และมีกรรมวิธีการผลิตตามที่ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริม ก็ใช้สิทธิยกเว้นภาษีอากรตามมาตรา 28 ได้

การตัดบัญชีส่วนสูญเสีย (นอกสูตร) กรณีส่งออกไปต่างประเทศ สอบถามเรื่องการตัดบัญชีส่วนสูญเสีย (นอกสูตร) กรณีส่งออกไปต่างประเทศ - ส่วนสูญเสียตามสภาพวัตถุดิบ "ขั้นตอนสุดท้ายคือ ปรับยอดที่ IC" - ส่วนสูญเสียตามสภาพผลิตภัณฑ์ (FG) ขั้นตอนสุดท้ายคือ ยื่นตัดบัญชีตามปกติ ซึ่งไม่สามารถยื่นปรับยอดได้ถูกต้องหรือไม่

กรณีส่วนสูญเสียเป็นสินค้าสำเร็จรูปที่ได้รับอนุมัติสูตรการผลิตตามโมเดลนั้นๆ แล้วอาจใช้วิธีส่งออกตามปกติ ในราคาสินค้าด้อยคุณภาพ และนำใบขนมาตัดบัญชีตามขั้นตอนปกติ

แต่หากจะส่งออกในข่ายส่วนสูญเสียตามประกาศ BOI ที่ ป.5/2543 จะต้องให้ บ.Inspector ออกหนังสือรับรองว่าส่วนสูญเสีย (สินค้าสำเร็จรูป) นั้น ประกอบด้วยวัตถุดิบรายการใดบ้าง จำนวนเท่าไร และยื่นขออนุญาตส่งออกส่วนสูญเสียต่อ BOI ก่อนการส่งออก จากนั้นจึงนำใบขนมาปรับยอดตามรายการ/ปริมาณวัตถุดิบที่ได้รับอนุญาต

การขอรวม Max Stock ของ Project 2 Project เข้าด้วยกัน บริษัทฯ ต้องการรวม Max Stock ของ Project 2 Project ที่ได้รับการส่งเสริมเข้าด้วยกัน ทั้ง 2 Project ผลิตสินค้าชนิดเดียวกัน บริษัทสามารถทำได้หรือไม่ ถ้าทำได้มีวิธีการอย่างไรบ้าง ใช้เอกสารอะไรบ้าง

กรณีที่ 2 โครงการ ไม่ว่าจะผลิตสินค้าชนิดเดียวกันหรือคนละชนิดก็ตาม มีรายการวัตถุดิบที่ซ้ำกัน (ไม่จำเป็นต้องซ้ำกันทุกรายการ) สามารถขอรวมบัญชีสต็อกวัตถุดิบของทั้ง 2 โครงการได้

แต่ระยะเวลานำเข้า จะถูกปรับลดเหลือเท่ากับโครงการที่สั้นที่สุด และการขยายเวลานำเข้าแต่ละครั้ง ต้องยื่นขอขยายพร้อมๆกันทั้ง 2 โครงการ

เอกสารที่จะยื่นต่อ BOI ใช้หนังสือขอรวมบัญชีปริมาณสต็อกวัตถุดิบ (ตัวอย่างตาม Link) โดยแนบ MML ของทุกโครงการ และใบสรุปการรวมปริมาณสต็อกวัตถุดิบ

ทางบริษัทได้รับบัตรส่งเสริมบัตรใหม่ซึ่งยื่นไว้เป็นโครงการขยาย ได้รับเมื่อเดือนเมษายน 2560 และยื่นขอกำลังการผลิตไว้ไม่สูงมาก แต่เนื่องจากทางนายญี่ปุ่นแจ้งว่ามีแพลนนำเข้าเครื่องจักรใหม่เข้าในช่วงปลายปีนี้จำนวน 5 เครื่อง นายถามว่าจะต้องทำอย่างไรบ้าง จึงมีคำถามรบกวนสอบถามเจ้าหน้าที่ดังนี้ 1. เครื่องจักรใหม่ที่จะนำเข้า จะต้องยื่นทำเรื่องขอนำเข้าเครื่องจักรล่วงหน้าหรือไม่ และถ้าต้องยื่นขออนุมัติล่วงหน้าต้องใช้เวลาเท่าไหร่ 2. ถ้าเราคำนวณแล้วว่าถ้านำเข้าเครื่องจักรมาใหม่จะทำให้กำลังการผลิตเกินที่ยื่นขอไว้ แต่กระบวนการผลิตไม่เปลี่ยนแปลง เราจะสามารถทำการแก้ไขโครงการได้หรือไม่คะ หรือต้องรอเปิดดำเนินการก่อน

1.การจะนำเข้าเครื่องจักรโดยใช้สิทธิยกเว้นอากรขาเข้าจาก BOI ต้องยื่นขออนุมัติบัญชีรายการเครื่องจักร (Master List) ก่อน โดย BOI กำหนดระยะเวลาพิจารณาอนุมัติไว้ 60 วันทำการ

2. เครื่องจักรที่จะได้รับอนุมัติบัญชี Master List ต้องเป็นเครื่องจักรที่ใช้ในกระบวนการผลิตที่ได้รับส่งเสริม และมีกำลังผลิตสูงสุดไม่เกินกว่าที่ระบุในบัตรส่งเสริม และต้องเป็นเครื่องจักรที่ไม่สามารถผลิตได้ในประเทศ

3. กรณีต้องการนำเข้าเครื่องจักรเพิ่มเติม เพื่อเพิ่มกำลังผลิต จะต้องยื่นแก้ไขโครงการเพื่อเพิ่มกำลังผลิตต่อ BOI และต้องได้รับอนุมัติก่อน จากนั้นจึงจะสามารถยื่นแก้ไข Master List เพื่อเพิ่มจำนวนเครื่องจักร เพื่อให้มีกำลังสูงสุดตามกำลังผลิตใหม่ที่ได้รับอนุมัติจาก BOI

4. การแก้ไขโครงการเพื่อเพิ่มกำลังผลิต จะต้องยังไม่ครบกำหนดเปิดดำเนินการเต็มโครงการ

รบกวนสอบถามเกี่ยวกับการซื้อเครื่องจักร กรณีรถยก/ Forklift เป็นรถใหม่ แต่บริษัทฯซื้อภายในประเทศสามารถใช้สิทธิประโยชน์ด้านเครื่องจักรของกิจการ IPO ได้หรือไม่ ถ้าได้บริษัทฯ ต้องทำอย่างไรบ้าง และสามารถนับรวมเป็นเงินลงทุนได้หรือไม่ หมายเหตุ บริษัทฯ ได้รับการส่งเสริมประเภท 7.12 กิจการศูนย์จัดหาจัดซื้อชิ้นส่วนและผลิตภัณฑ์ระหว่างประเทศ ตั้งแต่ปี 2557 และจะครบเปิดดำเนินการ เดือน พฤศจิกายน 2560 (บริษัทฯ กำลังดำเนินการยื่นฯขอขยายเปิดดำเนินออกไปอีก 1 ปี)

1. รถยก (Forklift) ถือเป็นเครื่องจักรของกิจการที่ต้องมีการยกและเคลื่อนย้ายวัตถุดิบหรือผลิตภัณฑ์ตามโครงการที่ได้รับส่งเสริม หากเป็นรถยกที่ไม่ผลิตในประเทศ สามารถขออนุมัติบัญชีเครื่องจักร เพื่อใช้สิทธิยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักรตาม ม.28 ได้ แต่หากเป็นรถยกที่มีการผลิตในประเทศ จะไม่ได้รับสิทธิยกเว้นอากรขาเข้าตามมาตรา 28

2. รถยก สามารถนับเป็นมูลค่าการลงทุนในข่ายเครื่องจักรได้ แต่หากบริษัทมีหลายโครงการ และเคยลงบัญชีเป็นสินทรัพย์ของโครงการอื่นไปแล้ว ก็จะนำมานับเป็นมูลค่าการลงทุนอีกไม่ได้

การขยายเวลานำเข้าวัตถุดิบตามประกาศ ป.5/2562 ในกรณีที่บริษัทจะยื่นขอขยายเวลานำเข้าวัตถุดิบ แต่มีใบขนขาออกเกิน 1 ปี ค้างอยู่ในระบบ หากบริษัทยืนยันไม่ใช้สิทธิตัดบัญชีของใบขนฉบับนั้นที่ค้างอยู่ หลังจากที่ดำเนินการเรียบร้อยแล้ว จะมีผลกระทบอะไรกับบริษัทหรือไม่

จะมีผลเพียงแค่ไม่สามารถนำใบขนฉบับนั้นมาตัดบัญชีภายหลังได้อีก

ชื่อผลิตภัณฑ์ (BOI Name) 1.กรณีบริษัทที่เป็นบริษัทบีโอไอ ซื้อขายผลิตภัณฑ์ ชื่อ บีโอไอ (สำหรับโอนสิทธิ Vendor name) ต้องใช้ชื่อของผู้ซื้อหรือผู้ขาย 2.กรณี ชื่อ บีโอไอ ไม่ตรงกันต้องทำอย่างไรบ้าง

กรณี A ขายให้ B ชื่อสินค้าตามสูตรการผลิตของ A ต้องตรงกับชื่อรองของวัตถุดิบของ B B จึงจะสามารถออก report-V ให้ A เพื่อนำไปตัดบัญชีได้

ถ้าบริษัทฯ ซื้อในประเทศเป็นรถใหม่ บริษัทฯ จะต้องทำอย่างไรบ้าง หรือสามารถซื้อได้เลย (บริษัทที่ขายไม่ได้สิทธิ บีโอไอ) ลีอกคำถามปัจจุบันได้ตรวจสอบจากระบบ eMT online พบว่าสิทธิประโยชน์ด้านเครื่องจักรของบริษัทฯ หมดแล้วเมื่อวันที่ 9 เมษายน 60 บริษัทฯจะสามารถขอขยายได้รึเปล่า ถ้าได้ต้องทำอย่างไรบ้าง ต้องติดต่อเจ้าหน้าที่.สำนักงานกรุงเทพฯ รึเปล่า
1.การซื้อเครื่องจักรในประเทศเพื่อใช้ในกิจการที่ได้รับส่งเสริม

- ต้องเป็นเครื่องจักรใหม่เท่านั้น

- สามารถนำมาลงบัญชีเป็นสินทรัพย์เพื่อนับเป็นขนาดการลงทุนของโครงได้

- ไม่ได้รับสิทธิยกเว้นหรือลดหย่อนอากรขาเข้าตามมาตรา 28 และ 29

2.การขยายเวลาเครื่องจักร สามารถขอขยายได้ 3 ครั้ง ครั้งละ 1 ปี

- สามารถยื่นขอขยายเวลาหลังจากที่ระยะเวลานำเข้าเดิมสิ้นสุดแล้วก็ได้ แต่จะนับเวลาต่อเนื่องจากวันที่สิ้นสุดเดิม

- การยื่นคำร้อง ให้ยื่นบนระบบ eMT และเมื่อได้รับอนุมัติแล้วให้นำบัตรส่งเสริมไปยื่นขอแก้ไขเอกสารแนบท้ายบัตร

เรื่องการใช้สิทธิประโยชน์ของเครื่องจักรหลักหลังแจ้งเปิดดำเนินการ บริษัทฯ สามารถนำเข้าได้หรือเปล่า บริษัทฯ ได้รับการส่งเสริมประเภทกิจการ ผลิตประกอบอุปกรณ์ TELECOMMUNICATION PARTS โดยมีขั้นตอนการผลิตดังนี้ 1) ขั้นตอนการฉีดขึ้นรูปชิ้นงาน, 2)ขั้นตอนการตัดตกแต่งชิ้นงาน ,3) ประกอบชิ้นงาน,4) ตรวจสอบ บรรจุ ส่งออก ซึ่งมีเครื่องจักรหลัก ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 = 9 เครื่อง, ขั้นตอนที่ 2 = 1 เครื่อง, ขั้นตอนที่ 3 = 6 เครื่อง, ขั้นตอนที่ 4 = 8 เครื่อง ซึ่งกำลังการผลิตคำนวณเฉพาะเครื่องจักรหลัก ขั้นตอนที่ 3 = 6 เครื่อง(ประกอบชิ้นงาน)ตอนตรวจเปิดดำเนินการฯ และกำลังการผลิตไม่ได้เกินที่ขอรับการส่งเสริม ขอสอบถามว่าบริษัท สามารถนำเข้าเครื่องจักรเพิ่มได้อีกในขั้นตอนใดบ้าง ทั้งนี้สิทธิฯการนำเข้าเครื่องจักรได้รับตลอดที่ได้รับการส่งเสริม

กิจการผลิตผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ ได้รับสิทธิยกเว้นอากรเครื่องจักรตลอดระยะเวลาที่ได้รับส่งเสริม กรณีที่เปิดดำเนินการเต็มโครงการแล้ว และจำเป็นต้องนำเครื่องจักรเข้ามาเพิ่ม

1. หากเป็นเครื่องจักรที่ไม่ใช่ขั้นตอนหลักของโครงการ หรือเป็นอุปกรณ์ อะไหล่ แม่พิมพ์ เครื่องมือ สามารถขอเพิ่มรายการได้

2. หากเป็นเครื่องจักรหลักที่เข้ามาทดแทนเครื่องเดิม สามารถขอเพิ่มรายการได้ แต่ต้องชี้แจงเหตุผลให้ชัดเจนว่านำมาปรับเปลี่ยนหรือทดแทนเครื่องจักรใด

3. หากเป็นเครื่องจักรหลักที่นำเข้ามาเพิ่มกำลังผลิตหรือกรรมวิธีการผลิต ต้องแก้ไขโครงการเพิ่มกำลังผลิตหรือกรรมวิธีผลิตให้เสร็จสิ้นก่อน จึงจะให้เพิ่มรายการเครื่องจักรได้

ถ้ากรณี B ไม่ต้องการเปลี่ยนแปลงข้อมูลในชื่อรองวัตถุดิบ A ต้องจดสูตรการผลิตเป็นชื่อของ B และก็เพิ่มในชื่อรองของวัตถุดิบ A ด้วยจะสามารถทำได้หรือเปล่า

1.ถ้า B ไม่สามารถเพิ่มชื่อรองของวัตถุดิบ ให้ตรงกับชื่อสินค้าของ A ได้ A ก็ต้องขอสูตรการผลิตใหม่ เพื่อให้ชื่อสินค้าตรงกับชื่อรองของวัตถุดิบของ B

2.และถ้า A เป็นกิจการ ITC เมื่อขอสูตรการผลิตใหม่โดยเปลี่ยนชื่อสินค้าให้ตรงกับวัตถุดิบของ B แล้ว A ก็ต้องขอแก้ไขบัญชีวัตถุดิบของ A เพื่อเพิ่มชื่อวัตถุดิบให้ตรงกับชื่อสินค้าด้วย (ปกติกิจการ ITC ชื่อวัตถุดิบและชื่อสินค้าจะต้องตรงกัน)

การขอยกเลิกการอนุมัติให้ชำระภาษีส่วนสูญเสียนอกสูตร หากบริษัทมีความจำเป็นต้องขอยกเลิกเรื่องที่บีโอไอได้อนุมัติให้จำหน่ายส่วนสูญเสียนอกสูตรในประเทศโดยมีภาระภาษีแล้ว จะทำได้หรือไม่ จุดประสงค์เพื่อนำปริมาณ scrap ดังกล่าวมารวมกับ scrap ที่ยังเหลืออยู่ในบริษัท เนื่องจากปริมาณ scrap ที่เหลือในบริษัทจนถึงสิ้นปี (ที่จะต้องนำออกก่อนการนับสต็อก) ไม่เพียงพอให้ vender รับส่งออก scrap จะมารับ scrap ไปส่งออก (และหากจะทำเรื่องขอจำหน่ายในประเทศสำหรับ scrap ที่เหลืออยู่ในบริษัทถึงสิ้นปี ก็จะใช้ระยะเวลามากจนไม่สามารถนำออก scrap ได้ทันก่อนนำนับสต็อกประจำปี)

กรณีต้องการยกเลิกการอนุมัติให้ชำระภาษีส่วนสูญเสียนอกสูตร เพื่อเปลี่ยนเป็นการขอส่งส่วนสูญเสียนอกสูตรไปต่างประเทศ เป็นกรณีที่ไม่มีแนวทางปฏิบัติที่กำหนดไว้โดยชัดเจน จึงขอตอบตามความเห็นส่วนตัวของแอดมิน ดังนี้

1.ทำหนังสือถึง BOI เพื่อขอยกเลิกการขอชำระภาษีส่วนสูญเสียนอกสูตร โดยแนบหนังสืออนุมัติฉบับที่จะขอยกเลิก (ฉบับจริง) ไปด้วยทั้งชุด

2.ยื่นหนังสือขออนุญาตส่งส่วนสูญเสียนอกสูตรไปต่างประเทศ พร้อมกับเอกสารแนบทั้งหมด (ใบรับรองจาก inspector etc.)

3.นำหนังสือตามข้อ 1 และ 2 ไปยื่นพร้อมกัน

4.BOI น่าจะอนุมัติให้ยกเลิกหนังสือฉบับเก่า พร้อมกับแจ้งยกเลิกหนังสือไปยังกรมศุลกากร และออกหนังสืออนุญาตให้ส่งส่วนสูญเสียนอกสูตรไปต่างประเทศ

อย่างไรก็ตาม แนะนำให้เข้าไปปรึกษาเจ้าหน้าที่ BOI ที่รับผิดชอบโครงการของบริษัทที่จะดำเนินการ

อยากทราบวิธีการคิดคำนวณกำลังการผลิตเครื่องจักรประเภทเครื่อง Injection Machine ดูได้จากไหนเพราะดูที่ตัวเครื่องแล้วไม่ได้บอกรายละเอียดเกี่ยวกับกำลังการผลิตสูงสุดต่อเครื่อง อยากทราบว่าจะคิดคำนวณได้จากไหน เพราะบริษัทฯต้องเตรียมแจ้งเปิดดำเนินการแล้ว

ให้วิศวกรที่โรงงานเป็นคนคำนวณให้ครับก่อนอื่นให้คำนวณหาไซเคิลของการฉีด 1 ครั้ง ว่าใช้เวลากี่นาที และฉีดเป็นชิ้นงานกี่ชิ้น ก็จะคำนวณหากำลังผลิตต่อเครื่องต่อชั่วโมงได้ จากนั้นคำนวณกับวันเวลาทำงานที่ระบุในบัตรส่งเสริม จะออกมาเป็นกำลังผลิตสูงสุดตามเวลาทำงานในบัตรส่งเสริมครับ

กำลังผลิต = จำนวนเครื่อง x กำลังผลิตต่อเครื่องต่อชั่วโมง x ชั่วโมงทำงานตามบัตรส่งเสริม x วันทำงานตามบัตรส่งเสริม
วิธีการกรอกข้อมูล ในฟอร์มเปิดดำเนินการ F PM OP 01-06 ข้อ.3 การคำนวณขนาดกิจการ ผลิตภัณฑ์ ในช่อง กำลังผลิตสูงสุดต่อหน่วยเวลา ใช้กรอกข้อมูลเป็นชิ้นต่อนาทีก่อนแล้วจึงกรอกเป็นชิ้นต่อชั่วโมงต่อเครื่องรึเปล่า ส่วนช่องกำลังผลิตสูงสุดต่อปีที่คำนวณตามเวลาทำงานในบัตรส่งเสริมนั้น ใช้ข้อมูลจำนวนชิ้นต่อชั่วโมงแล้วคูณชั่วโมงการทำงานตามบัตรฯและคูณจำนวนวันตามบัตรฯ และต้องคูณจำนวนเครื่องรึเปล่า หรือเป็นกำลังการผลิตต่อเครื่อง

การกรอกกำลังผลิตสูงสุดต่อหน่วยเวลา (B) ไม่มีข้อกำหนดตายตัวว่าต้องกรอกอย่างไร เช่น ถ้าผลิตไซเคิลละ 15 นาที ได้ชิ้นงาน 6 ชิ้น จะกรอกเป็น 15 นาที / 6 ชิ้น = 24 ชิ้น / ชั่วโมง ก็ได้ จากนั้น ก็คูณด้วยจำนวนเครื่อง ชั่วโมงทำงาน วันทำงานตามบัตร ตามตัวอย่างที่เขียนอยู่ในแบบฟอร์มนั่นแหละ

สอบถามการตัดบัญชีวัตถุดิบ อยากทราบวิธีการ/ขั้นตอน และเอกสารที่ต้องเตรียมในการตัดบัญชีวัตถุดิบ ทั้งการขายไปต่างประเทศและขายในประเทศ

อธิบายคร่าวๆ ดังนี้ครับ ขั้นตอนการตัดบัญชี

1.ดาวน์โหลดข้อมูลในขนขาออก หรือ report-v จากระบบ iC-Online System

2.ยื่นตัดบัญชีด้วยไฟล์ EXPORT.xlsx (และ VENDOR.xlsx กรณีมีการโอน vendor)

เอกสารที่ต้องใช้

- ไม่มี

รายละเอียดแนะนำให้เข้าฝึกอบรมคอร์สที่เกี่ยวข้อง ที่สมาคม IC จัดขึ้นเป็นประจำ http://icis.ic.or.th/i-regist/index.php?r=site/course

กรณีเรานำวัตถุดิบมาผลิตสินค้าตามสิทธิ BOI ผลิตส่งออกไปยังต่างประเทศ แต่ลูกค้าต่างประเทศแจ้งว่าต่อไปไม่ต้องส่งสินค้าให้ลูกค้า ไปที่ต่างประเทศให้ไปส่งให้กับ Trading ที่ลูกค้าติดต่อในประเทศไทยไว้ โดยเปิด Invoice ซื้อขายปกติ โดยTrading เป็นตัวแทนในการจัดจำหน่ายในประเทศให้ลูกค้าแบบนี้ถือว่าผิดเงื่อนไขและไม่สามารถมาตัดบัญชีได้ใช่ไหม

A (BOI) -> B (Trading) -> export to C สามารถทำได้ 2 วิธีคือ

1.กรณี B ได้รับส่งเสริมในกิจการ IPO/ITC

  • เมื่อ B ส่งออก ก็ยื่นตัดบัญชีตามหลักเกณฑ์ปกติ และโอนสิทธิตัดบัญชีให้ A
  • จากนั้น A นำไฟล์ report-v ที่ได้รับจาก B มาตัดบัญชีต่อไป

2.กรณี B เป็น Trading ที่ไม่ได้รับส่งเสริมจาก BOI

  • B ต้องระบุการใช้สิทธิประโยชน์ BOI ในช่อง เงื่อนไขการใช้สิทธิ์ BOI (Y) ในใบขนสินค้าอิเล็กทรอนิกส์
  • ต้องระบุเลขประจำตัวผู้เสียภาษี 13 หลักของ A ในช่อง Remark ของสินค้าแต่ละรายการที่จะโอนสิทธิตัดบัญชีให้ A
  • ต้องระบุชื่อสินค้าส่งออกให้ตรงกับชื่อผลิตภัณฑ์และชื่อรุ่นของ A
  • A จะสามารถดาวน์โหลดข้อมูลใบขนที่ B โอนสิทธิมาให้ ผ่านระบบของ IC เพื่อนำมาตัดบัญชีโดยตรงต่อไป

ขออภัยครับ ไม่มีข้อมูลส่วนนี้ ในภาษาที่ท่านเลือก !

Sorry, There is no information support your selected language !

Download และ ติดตั้งโปรแกรมอ่าน PDF

Download PDF Reader

Site map