1.สมัครใช้บริการ RMTS-2011
2.ขออนุมัติบัญชีรายการวัตถุดิบ
3.บันทึกฐานข้อมูลวัตถุดิบ และยืนยันวันขอใช้สิทธิครั้งแรก
4.ยื่นสั่งปล่อยวัตถุดิบ
5.ขออนุมัติสูตรการผลิต
6.ตัดบัญชีวัตถุดิบ
7.ปรับยอดวัตถุดิบ (ตัดบัญชี และชำระภาษีส่วนสูญเสีย) แนะนำให้เข้ารับการฝึกอบรมเรื่องงานวัตถุดิบที่สมาคม IC จัดขึ้นเป็นประจำ
กิจการประเภท 5.5 (เดิม) หรือ 5.4 (ใหม่) การผลิตชิ้นส่วนและ/หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หรือชิ้นส่วนและ/หรืออุปกรณ์ที่ใช้กับผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ พิจารณาได้ 2 แนวทาง คือ
1) เป็นชิ้นส่วน/อุปกรณ์ที่มีลักษณะการทำงานในเชิงอิเล็กทรอนิกส์ หรือ
2) เป็นชิ้นส่วนที่ใช้กับผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์
กรณีที่สอบถาม เซ็นเซอร์ที่บริษัทผลิต มีลักษณะการทำงานในเชิงอิเล็กทรอนิกส์
ดังนั้นแม้จะผลิตเซ็นเซอร์เพื่อใช้ในเครื่องปรับอากาศ (ซึ่งจัดเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้า) แต่ก็สามารถให้การส่งเสริมได้ในประเภทของกิจการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และเมื่อประสงค์จะผลิตจำหน่ายเพื่อใช้กับแอร์ในรถยนต์ แต่หากตัวเซ็นเซอร์ยังคงมีลักษณะการทำงานเชิงอิเล็กทรอนิกส์ ก็ยังคงสามารถให้การส่งเสริมในประเภทของกิจการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์
แต่ทั้งนี้จะต้องมีการแก้ไขชื่อผลิตภัณฑ์ให้ครอบคลุมในส่วนของแอร์รถยนต์ด้วย แนะนำให้นำรายละเอียดไปปรึกษากับเจ้าหน้าที่ BOI ที่รับผิดชอบโครงการของบริษัท
การเปลี่ยนวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต มีทั้งกรณีที่ต้องแก้ไขโครงการ และไม่ต้องแก้ไชโครงการ
และหากจำเป็นต้องซื้อเครื่องจักรเพิ่มเติมเพื่อใช้กับวัตถุดิบชนิดใหม่นี้ ก็มีทั้งกรณีที่ต้องแก้ไขโครงการก่อนจึงจะยื่นขอแก้ไขบัญชีรายการเครื่องจักรได้ กับกรณีที่สามารถยื่นแก้ไขบัญชีเครื่องจักรได้โดยไม่ต้องยื่นแก้ไขโครงการ
กรณีจำเป็นต้องแก้ไขโครงการ ตามข้อมูลของบริษัท โครงการนี้สิ้นสุดระยะเวลานำเข้าเครื่องจักรแล้ว (ขยาย 3 ครั้งแล้ว) แต่ยังไม่ครบกำหนดเปิดดำเนินการ ดังนั้น หากจะยื่นขอแก้ไขโครงการ ก็สามารถทำได้ แต่จะต้องนำเครื่องจักรเข้ามาก่อนวันครบกำหนดเปิดดำเนินการ และจะไม่ได้รับขยายเวลานำเข้าเครื่องจักร
กรณีมีการซื้อเครื่องจักรภายหลังจากระยะเวลานำเข้าเครื่องจักรสิ้นสุดแล้ว แต่ยังไม่ครบกำหนดเปิดดำเนินการ
หากเครื่องจักรดังกล่าวใช้ในการผลิตสินค้าตามกรรมวิธีที่ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริม จะนับรวมเป็นขนาดการลงทุนของโครงการ เพื่อคำนวณวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลด้วย ไม่ว่าเครื่องจักรนั้นจะนำเข้าโดยใช้สิทธิยกเว้นอากรขาเข้าตามมาตรา 28 หรือไม่ก็ตาม
- นำเข้ามาหลังจากได้รับอนุมัติให้การส่งเสริมและตอบรับมติการให้การส่งเสริมแล้ว
- นำเข้ามาภายในระยะเวลาที่ได้รับสิทธิ์ และไม่ก่อนวันที่ขอใช้สิทธิ์ครั้งแรก
- ได้รับอนุมัติบัญชีรายการวัตถุดิบแล้ว A และ B เป็นบริษัทฯ ที่ได้รับการส่งเสริม บีโอไอ ทั้งคู่ กิจการของ A คือเป็นโรงฉีดชิ้นส่วนพลาสติก กิจการของ B เป็นการผลิตชิ้นส่วนยานพาหนะ
- โดยปกติ B เป็นลูกค้าของ A คือซื้อชิ้นส่วนจาก A แล้วไปประกอบแล้วส่งออก
- แต่ปัจจุบัน ถ้า B ซื้องานจาก A แล้วนำไปส่งออกขายไปต่างประเทศเลย เคสนี้ B ทำผิดหลักการใช่หรือไม่?
A ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าวัตถุดิบเข้ามาผลิตเป็นชิ้นส่วนพลาสติกเพื่อการส่งออก โดยจะเป็นการส่งออกทางตรงหรือทางอ้อมก็ได้ และผู้ซื้อจะนำชิ้นส่วนพลาสติกของ A ไปประกอบเป็นสินค้าอื่น หรือส่งออกในสภาพนั้นก็ได้ ขอเพียงมีหลักฐานมาแสดงว่าสินค้าของ A ได้มีการส่งออกไปจริงก็พอ
กรณีนี้ B สามารถโอนสิทธิตัดบัญชีใบขนขาออกมาให้ A สำหรับชิ้นส่วนพลาสติกที่ซื้อไปจาก A ได้ และ A ก็สามารถนำใบขนนั้น มาตัดบัญชีได้ ซึ่งอาจเกิดจากการที่ B ซื้อชิ้นส่วนพลาสติกจาก A ไปส่งออกเป็น service part ให้กับลูกค้าของ B ในต่างประเทศ เป็นต้น
แต่สำหรับ B จะถือเป็นกิจการในส่วนที่ไม่ได้รับส่งเสริม ซึ่งจะใช้สิทธิประโยชน์ใดๆจาก BOI ไม่ได้
เครื่อง Plating ที่ฉะเชิงเทรา บันทึกทะเบียนสินทรัพย์เป็นของโครงการที่นวนครหรือไม่
1. หากใช่ เป็นการมีสถานประกอบการ 2 แห่ง จะต้องแก้ไขสถานที่ตั้งโรงงาน และแก้ไขกรรมวิธีการผลิตขั้นตอน Plating เป็นการดำเนินการเอง
2. หากไม่ใช่ เป็นการว่าจ้างโครงการอื่นในนิติบุคคลเดียวกันให้ทำการ Plating ซึ่งไม่ต้องแก้ไขกรรมวิธีการผลิต เนื่องจากเป็นการว่าจ้าง Plating อยู่แล้ว แต่ต้องแยกบัญชีรายรับรายจ่ายในส่วนการ Plating ให้ถูกต้อง และโครงการที่ลงทุนเครื่อง Plating จะต้องได้รับอนุญาตให้ใช้เครื่องจักรเพื่อการอื่น (รับจ้าง Plating) ด้วย
การนำสินค้ามาตรวจสอบแก้ไข เพื่อจำหน่ายต่อ ไม่ตรงกับโครงการที่บริษัทได้รับส่งเสริม กิจการซ่อมผลิตภัณฑ์ เดิมเคยมีประเภทกิจการที่จะให้การส่งเสริม และตามนโยบายปัจจุบัน เข้าใจว่าไม่มีประเภทที่จะให้ส่งเสริมการลงทุนแล้ว จึงไม่น่าจะแก้ไขโครงการเพื่อให้บริการตรวจสอบแก้ไข (ซ่อม) ได้ และไม่สามารถใช้สิทธิจาก BOI ได้
1. การที่ A จะขายให้ B ไม่ต้องขออนุญาตจากบีโอไอ เพราะ A จะส่งออกโดยตรงหรือทางอ้อม ก็ไม่ผิดเงื่อนไขอะไร
2. แม้ว่า A และ B จะตั้งอยู่คนละโซน แต่หากทั้ง 2 บริษัทได้รับสิทธิประโยชน์มาตรา 36 (โซน 3 ยกเว้น 5 ปี โซน 2 ยกเว้น 1 ปี) ก็ไม่มีปัญหาอะไร เนื่องจากเมื่อ B ส่งออก ก็สามารถโอนสิทธิตัดบัญชีวัตถุดิบกลับมาให้ A ได้
3. แต่ทั้งนี้ A ควรตรวจสอบกับ B ก่อนว่า สินค้าที่ซื้อ A ขายให้ B เข้าข่ายวัตถุดิบตามโครงการที่ B ได้รับส่งเสริมหรือไม่ เวลาโอนสิทธิตัดบัญชีกลับมาจะได้ไม่มีปัญหา
เหตุผลที่ผลิตมากกว่าที่ระบุตอนเปิดดำเนินการ เนื่องจากการดำเนินการช้ากว่าที่คาดการณ์ทำให้มีการนำเข้าเครื่องจักรและขยายไลน์การผลิตช้ากว่ากำหนด รวมถึงมีความต้องการใช้สินค้าจากลูกค้ามากกว่าที่คาดการณ์ในตอนแรกจึงมีการนำเข้าเครื่องจักรเพิ่มขึ้นและขยายไลน์การผลิตมากขึ้นด้วย
ตอบ:
1. กิจการ 5.1 และ 5.3 ตามบัญชีประเภทกิจการเดิม คือ การผลิตเครื่องไฟฟ้า และชิ้นส่วน ซึ่งหากได้รับบัตรส่งเสริมในปี 2556 จะได้รับสิทธิตามหลักเกณฑ์ของ ประกาศ กกท ที่ 4/2549 คือได้รับยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักรตลอดระยะเวลาที่ได้รับส่งเสริม
2. ตาม ประกาศ กกท ที่ 6/2549 ระบุว่า ให้โครงการผลิตผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และชิ้นส่วน สามารถนำเครื่องจักรเข้ามาเพื่อปรับปรุงและทดแทนเครื่องจักรเดิม หรือเพื่อเพิ่มกำลังผลิตในโครงการเดิมไม่ว่าเปิดดำเนินการเต็มโครงการแล้วหรือไม่ก็ตาม ตลอดระยะเวลาที่ได้รับส่งเสริมโดยได้รับยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร
3. นโยบายฉบับปัจจุบัน คือ ประกาศ กกท ที่ 2/2557 ข้อ 10.3 ระบุว่า ให้โครงการที่ได้รับส่งเสริมสามารถนำเข้าเครื่องจักรตลอดระยะเวลาที่ได้รับส่งเสริม กรณีที่เป็นเครื่องจักรที่ใช้ในโครงการผลิตผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์และชิ้นส่วน เพื่อปรับปรุงและทดแทนเครื่องจักรเดิม หรือเพื่อเพิ่มกำลังผลิตในโครงการเดิมไม่ว่าจะได้รับอนุญาตให้เปิดดำเนินการเต็มโครงการแล้วหรือไม่ก็ตาม โดยมีผลกับคำขอรับการส่งเสริมที่ยื่นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2558 เป็นต้นไป
โครงการที่ได้รับส่งเสริมในปี 2556 เพื่อผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าและชิ้นส่วน ได้รับสิทธิยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักรตลอดระยะเวลาที่ได้รับการส่งเสริม หากประสงค์จะนำเข้าเครื่องจักรมาเพื่อเพิ่มกำลังผลิตของโครงการเดิมภายหลังจากเปิดดำเนินการเต็มโครงการแล้ว และจะขอเพิ่ม Max Stock ของวัตถุดิบได้หรือไม่นั้น
หากอ้างอิงจากประกาศที่เกี่ยวข้องบริษัทสามารถยื่นขอนำเครื่องจักรเข้ามาเพิ่มเติมเพื่อเพิ่มกำลังผลิตได้ ตามประกาศ กกท ที่ 6/2549 แต่สำนักงานอาจจะอนุมัติให้แก้ไขเฉพาะบัญชีรายการเครื่องจักร เพื่อให้บริษัทนำเครื่องจักรเข้ามาเพิ่มเติมโดยยกเว้นภาษีอากรได้ แต่อาจไม่อนุมัติให้แก้ไขกำลังผลิตในบัตรส่งเสริม เนื่องจากโครงการที่เปิดดำเนินการเต็มโครงการไปแล้ว จะไม่มีการตรวจสอบเปิดดำเนินการเป็นรอบที่ 2 อีก ดังนั้น หากสำนักงานให้แก้ไขกำลังผลิตในบัตรส่งเสริม แต่บริษัทไม่ได้นำเครื่องจักรเข้ามาเพิ่มเติมจริง จะเท่ากับเป็นการขยายกรอบการยกเว้นยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล และกรอบการอนุมัติปริมาณ Max Stock ของวัตถุดิบให้กับโครงการเดิม โดยอาจไม่มีการนำเครื่องจักรเข้ามาเพิ่มจริง
แต่ทั้งนี้ ประกาศ กกท ที่ 4/2549 และ 6/2549 ไม่ได้ระบุว่า กำลังผลิตที่เพิ่มขึ้น จะให้ได้รับสิทธิประโยชน์หรือไม่/อย่างไร ดังนั้นจึงเป็นไปได้ ที่สำนักงานอาจไม่ให้ได้รับสิทธิการยกเว้นภาษีเงินได้ และ/หรือ การเพิ่ม Max Stock สำหรับกำลังผลิตในส่วนที่เพิ่มขึ้น
โดยหลักการ เมื่อ B (ผู้ส่งออก) จะโอนสิทธิตัดบัญชีให้กับ A B จะต้องสามารถแสดงหลักฐานได้ว่า ได้ซื้อวัตถุดิบมาจาก B จริง หาก B โอนสิทธิตัดบัญชีไปให้กับบริษัทที่ไม่ได้ขายวัตถุดิบให้กับ B ย่อมถือว่า B มีความผิด และหากบริษัทผู้รับโอนสิทธิมาโดยมิชอบนั้น นำสิทธิไปตัดบัญชี ก็ย่อมถือว่า มีความผิดเช่นกัน หลักฐานเบื้องต้นที่สามารถพิสูจน์ยืนยันได้ คือหลักฐานการซื้อขาย (ใบรับของ/ใบกำกับภาษี ฯลฯ) ระหว่าง A กับ B
กรณีส่งออกทางอ้อม คือ A (BOI) -> B -> ส่งออก BOI อนุญาตให้ A ตัดบัญชีวัตถุดิบมาตรา 36 ด้วยระบบ RMTS ใน 4 กรณี คือ
1. B เป็น BOI และได้รับ ม.36
- ตัดบัญชีแบบโอนสิทธิด้วย Report-V
2. B เป็น Non-BOI แต่เป็น Trading ที่ไม่ได้นำของไปผลิตต่อ และส่งออกไปในชื่อสินค้าเดียวกันกับที่ซื้อมาจาก B โดยไม่มีการแกะกล่องหรือ re-pack ใหม่
- ตัดบัญชีโดยใช้ใบขนของผู้ส่งออกที่มีการระบุหน้าใบขนโดยชัดเจนว่าโอนสิทธิตัดบัญชีให้กับ A
3. B เป็นคลังสินค้าทัณฑ์บน (B จะเป็น BOI หรือ Non-BOI ก็ได้)
- ตัดบัญชีโดยใช้ใบขนสินค้าขาออกโอนย้าย
4. B อยู่ใน Free Zone (B จะเป็น BOI หรือ Non-BOI ก็ได้)
- ตัดบัญชีโดยใช้ใบขนสินค้าขาออกของ A
แต่ถ้า B เป็นบริษัทที่ใช้สิทธิตามมาตรา 19 ทวิ ของกรมศุลกากร จะใช้ใบแนบท้ายใบขนขาออก เป็นหลักฐานในการขอคืนอากรจากกรมศุลกากร