Chat
x
toggle menu
toggle menu

Select Groups

All Group
  • All Group
  • นโยบายเเละมาตรการพิเศษในการส่งเสริม
  • การขอรับการส่งเสริมการลงทุน
  • การออกบัตรส่งเสริม
  • การเปิดดำเนินการ
  • การเเก้ไขโครงการ
  • การดำเนินการอื่น ๆ
  • การรายงานความคืบหน้าโครงการ (e-Monitoring)
  • การปฏิบัติหลังการได้รับการส่งเสริม
  • การยกเลิกบัตรส่งเสริม
  • เรื่องทั่วไป
  • การใช้สิทธิด้านที่ดิน
  • การใช้สิทธิด้านเครื่องจักร
  • การใช้สิทธิด้านช่างฝีมือ/ต่างด้าว
  • การใช้สิทธิด้านวัตถุดิบ
  • ประเภทกิจการ - การแพทย์
  • การใช้สิทธิด้านภาษีเงินได้นิติบุคคล
  • ประเภทกิจการ - รถยนต์ไฟฟ้า
  • ประเภทกิจการ - ศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศ (IBC) IPO และ TISO
  • ประเภทกิจการ - โรงแรม
  • ประเภทกิจการ - ผลิตผลิตภัณฑ์โลหะรวมทั้งชิ้นส่วนโลหะ
  • ประเภทกิจการ - กิจการผลิตเครื่่องจักร อุุปกรณ์และชิ้นส่วน
  • ประเภทกิจการ - กิจการศูนย์กระจายสินค้าระหว่า ประเทศด้วยระบบที่่ทันสมัย (IDC)
เนื่องจากบริษัทฯ ได้รับบัตรส่งเสริม 2 โครงการ คือ 4.10 กิจการชิ้นส่วนยานพาหนะ (กอง 2) และ 4.1.3 กิจการผลิตผลิตภัณฑ์โลหะ (กอง 3) ในผลิตภัณฑ์ตัวเดียวกัน ขั้นตอนการผลิตเหมือนกัน ไม่ทราบว่าจะสามารถแก้ไขให้เป็นกิจการชิ้นส่วนยานพาหนะ (กอง 2) เหมือนกันได้ไหม

บริษัทสามารถยื่นขอแก้ไขโครงการ เพื่อแก้ไขชนิดผลิตภัณฑ์และประเภทกิจการได้ ซึ่งปกติจะได้รับสิทธิประโยชน์ตามหลักเกณฑ์ ณ วันยื่นคำขอรับการส่งเสริมโครงการนั้นๆ (ไม่ใช่หลักเกณฑ์ ณ วันที่ยื่นแก้ไขโครงการ) โดยจะนับสิทธิประโยชน์ต่อเนื่องจากที่ได้รับอยู่เดิม เอกสารที่ต้องใช้ คือ แบบคำขออนุญาตแก้ไขโครงการ (F PA PC 01) และยื่นเฉพาะโครงการที่ต้องการแก้ไข แต่เมื่อแก้ไขแล้ว ก็ยังคงมี 2 บัตรส่งเสริมอยู่เช่นเดิม

บริษัทได้รับการส่งเสริมโครงการที่ 1 แจ้งเปิดดำเนินการเรียบร้อยแล้ว ต่อมาทางบริษัทฯจะผลิตชิ้นงาน Model ใหม่ให้กับลูกค้ารายใหม่ โดยบริษัทจะเพิ่มไลน์การผลิตอีก 1 ไลน์ แต่จะใช้ไลน์ประกอบร่วมกันกับโครงการที่ 1 และจะมีการ Modify เครื่องจักรของโครงการที่ 1 ให้สามารถผลิต Model ใหม่ได้ด้วย ตามความเข้าใจของบริษัทฯ คือ (1) โครงการที่ 1 เปิดดำเนินการแล้ว ดังนั้น เครื่องจักรที่ลงทุนเพิ่มของ Model ใหม่ จึงไม่สามารถใช้สิทธิยกเว้นภาษีนำเข้าและรวมเป็นขนาดการลงทุนได้อีก (2) โครงการที่ 1 เปิดดำเนินการแล้ว สามารถ Modify เครื่องจักรได้ โดยไม่ต้องแจ้งแก้ไขโครงการ (3) เนื่องจาก Model ใหม่ใช้กระบวนการผลิตตามบัตรส่งเสริมโครงการที่ 1 แค่ไลน์ประกอบ จึงไม่สามารถนำรายได้จากการขายผลิตภัณฑ์ของ Model ใหม่มาใช้สิทธิภาษีเงินได้นิติบุคคล ม.31 ในโครงการที่ 1 ได้ อยากสอบถามว่าทางบริษัทฯ เข้าใจถูกต้องหรือไม่

แม้ว่าโครงการของบริษัทจะได้รับอนุมัติเปิดดำเนินการแล้ว แต่บริษัทยังคงจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ได้รับส่งเสริม คือ ต้องผลิตผลิตภัณฑ์ตามที่กำหนดในบัตรส่งเสริม และกรรมวิธีการผลิตต้องเป็นไปตามที่ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริมp>

1.หากโมเดลใหม่ มีกรรมวิธีผลิตตรงตามที่ได้รับอนุมัติอยู่เดิมp>

- บริษัทสามารถลงทุนเครื่องจักรไลน์ใหม่ และ modify เครื่องจักรเดิมได้ โดยไม่ต้องแจ้ง BOIp>

- สิทธิประโยชน์จะได้รับเท่าที่เหลืออยู่ของโครงการเดิมp>

- รายได้ที่เกิดขึ้น นับเป็นรายได้ตามโครงการ ซึ่งสามารถใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลได้p>

- ค่าเครื่องจักรที่ลงทุนเพิ่ม และค่า modify เครื่องจักรเดิม ไม่สามารถนำมานับเป็นขนาดการลงทุน เพื่อใช้สิทธิp>

ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล

2. หากโมเดลใหม่ มีกรรมวิธีไม่ครบตามที่ได้รับอนุมัติอยู่เดิมp>

- ต้องขอแก้ไขกรรมวิธีการผลิต และได้รับอนุมัติก่อน จึงจะสามารถดำเนินการได้

ผลิตได้ 4,500 ตัน

บริษัทมีกำลังผลิตลวดหรือเพลาสแตนเลส ปีละ 2,400 ตัน จึงสามารถขอmax stock สำหรับการผลิต 6 เดือน คือ 1,200 ตัน แต่ปัจจุบันบริษัทได้รับอนุมัติ stock วัตถุดิบกรุ๊ป 000001 จำนวน 7,000 ตัน สามารถนำไปผลิตเป็นสินค้าได้ 4,500 ตัน ซึ่งเกินกว่ากำลังผลิต 6 เดือน จึงไม่น่าจะถูกต้องตามหลักเกณฑ์ ดังนั้น หากจะขอวัตถุดิบกรุ๊ป 000002 เพิ่มอีก อาจจะทำให้เกิดปัญหามากยิ่งขึ้นอีก แนะนำให้เข้าไปปรึกษากับ จนท BOI โดยตรง แต่ผลจากการปรึกษา อาจทำให้บริษัทต้องถูกลด max stock ลง เพื่อให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์

ขอสอบถามว่า บริษัทฯที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน สามารถมอบอำนาจให้ บ. ตัวแทนเครื่องจักร (แต่ไม่ได้เป็นผู้นำเข้า) ดำเนินการส่งออกไปซ่อม และนำกลับเข้ามา แทนบริษัทฯ เจ้าของเครื่องจักรได้หรือไม่ หมายเหตุ : อายุเครื่องจักรเกิน 10 ปี

หากการส่งเครื่องจักรไปซ่อมต่างประเทศ กระทำในนามบริษัทที่ได้รับส่งเสริม และการนำเครื่องจักรดังกล่าวกลับเข้ามาในประเทศ กระทำในนามบริษัทที่ได้รับส่งเสริม ก็สามารถยื่นขออนุญาตส่งซ่อม และขอสั่งปล่อยยกเว้นอากรขาเข้า(ค่าซ่อม) ของเครื่องจักรที่นำกลับเข้ามาได้

ส่วนการมอบอำนาจให้ผู้อื่นดำเนินการแทน จะต้องกระทำอย่างไรเพื่อให้เป็นตามเงื่อนไขข้างต้น ควรสอบถามกับกรมศุลกากรโดยตรง

เนื่องจากทางบริษัทได้นำเข้าอะไหล่จากญี่ปุ่นโดยใช้สิทธิประโยชน์บีโอไอ แต่ต้องการส่งกลับไปที่ประเทศญี่ปุ่นอีกครั้ง เพื่อไป Test เครื่องจักร และเมื่อทำการ Test แล้วจะส่งกลับประเทศไทยอีกครั้ง จึงอยากทราบว่าถ้านำเข้ามารอบที่ 2 นี้ มีวิธีการไหนบ้างที่สามารถยกเว้นภาษี

การขอส่งเครื่องจักร (ที่นำเข้ามาโดยใช้สิทธิยกเว้นภาษีอากรตามมาตรา 28) ไปซ่อม (รวมถึงตรวจสอบ ปรับค่า ฯลฯ) ในต่างประเทศ มีขั้นตอนดังนี้

1. ยื่นคำร้องผ่านระบบ eMT เพื่อขอส่งเครื่องจักรไปซ่อมต่างประเทศ

2. ยื่นคำร้องต่อกรมศุลกากรเพื่อขอทำใบสุทธินำกลับ

3. ส่งเครื่องจักรที่ได้รับอนุญาตตาม 1 และ 2 ไปซ่อมต่างประเทศ

4. เมื่อจะนำกลับเข้ามา ให้ยื่นคำร้องผ่านระบบ eMT เพื่อขอสั่งปล่อยเครื่องจักรที่ส่งไปซ่อมต่างประเทศ โดยเครื่องจักรดังกล่าว จะได้รับยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับค่าซ่อม ตามสิทธิมาตรา 28 และจะได้รับยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับเครื่องจักร ตามสิทธิใบสุทธินำกลับ

บริษัทได้ส่งขออนุมัติสูตรการผลิตไป ยังไม่ได้รับการอนุมัติ แต่บริษัทจะขอแก้ไขปริมาณสต็อคเพิ่มและลดจำนวน ต้องรอให้อนุมัติสูตรที่ขอไปก่อนหรือว่าสามารถส่งอนุมัติได้เลย

สามารถยื่นเรื่องเข้าไปได้เลย โดยไม่ต้องรอให้สูตรได้รับอนุมัติ เพราะการขออนุมัติสูตร กับการขอเพิ่ม/ลดปริมาณสต็อค สามารถแยกพิจารณาได้ โดยไม่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน

สต๊อกวัตถุดิบ มีแบบหมุนเวียน (max stock) กับแบบไม่หมุนเวียน (max import) ไม่มีแบบ semi

บริษัทฯ มีบัตรส่งเสริมอยู่ 4 บัตร ซึ่งไม่สามารถใช้ภาษีนิติบุคคลได้ทั้งหมด 4 บัตร คำถาม ถ้าจะรวมบัตรส่งเสริมทั้งหมดนี้ให้เป็น 1 บัตร ต้องทำอย่างไรบ้าง ใช้เอกสารอะไรบ้าง

การรวมบัตร ควรเป็นกรณีที่ได้รับอนุญาตเปิดดำเนินการครบตามโครงบัตรแล้ว และสิ้นสุดสิทธิภาษีเงินได้แล้ว ถ้าเป็นไปไปตามนี้ ก็สามารถยื่นหนังสือ 1 ฉบับ แจ้งความประสงค์ขอรวมโครงการตามบัตรส่งเสริมเลขที่ ... เอกสารไม่มีแบบฟอร์มที่กำหนด สามารถร่างขึ้นมาได้เอง หากทำตารางเปรียบเทียบเงื่อนไขและสิทธิประโยชน์ของแต่ละบัตรที่ต้องการรวมบัตรไปด้วย ก็น่าจะเข้าใจง่ายขึ้น

หากได้รับหนังสือ อนุมัติให้รวมบัตรส่งเสริมแล้ว ขั้นตอนต่อไป ต้องทำอย่างไรบ้าง และใช้เอกสารอะไรบ้าง
เมื่อรวมบัตรแล้ว

1.เครื่องจักร ต้องยื่นขออนุมัติบัญชี Master List ใหม่ เฉพาะรายการที่นำเข้ายังไม่ครบ

2.วัตถุดิบ ต้องยื่นขออนุมัติบัญชี Max Stock ใหม่ จากนั้นโอนยอดวัตถุดิบคงเหลือจากบัตรเดิม และต้องยื่นขออนุมัติสูตรใหม่ทั้งหมด

บริษัทอยากทราบ ถ้าบริษัทมีเครื่องจักรอายุการใช้งานไม่ถึง 5 ปี และต้องการส่งเครื่องจักรดังกล่าวออกไปต่างประเทศ 1. บริษัทจะต้องดำเนินการอย่างไรบ้าง 2. บริษัทจะต้องชำระภาษีเครื่องจักรดังกล่าวหรือไม่ , ใครเป็นคนเรียกเก็บ , บริษัทต้องชำระอย่างไร , ไปชำระภาษีที่ไหน

1.ขั้นตอนการขอส่งคืนเครื่องจักรไปต่างประเทศ

- ยื่นคำร้องในระบบ eMT

- เมื่อได้รับอนุมัติให้ส่งคืน จะต้องส่งเครื่องจักรไปต่างประเทศภายใน 90 วัน

- จากนั้นให้บันทึกข้อมูลเลขที่ใบขนสินค้าขาออกในระบบ eMT

2.การส่งคืนเครื่องจักรไปต่างประเทศ

- ไม่มีภาระภาษีที่ต้องชำระคืน

- ต้องไม่เป็นเครื่องจักรหลัก

- กรณีเป็นเครื่องจักรหลักที่ทำให้กำลังผลิตหรือกรรมวิธีการผลิตเปลี่ยนแปลง จะต้องนำเครื่องจักรใหม่เข้ามาทดแทน หรือจะต้องยื่นขอแก้ไขโครงการก่อน จึงจะอนุญาตให้ส่งเครื่องจักรคืนไปต่างประเทศได้

บริษัท ฯ จะทำการส่งคืนเครื่องจักร BOI ไปต่างประเทศ เนื่องจากไม่ได้ใช้งานแล้ว แต่อยากทราบว่า กรณีที่บริษัท ทำเรื่องส่งคืนไปต่างประเทศ จะสามารถเรียกเก็บเงิน โดยการ เปิด invoice ตอนส่งออก เป็น commercial invoice ได้หรือไม่ จริงๆ เครื่องจักรจะครบอายุตัดบัญชี เดือน 5 ปี 2561 นี้ แต่กำลังจะส่งคืนไปต่างประเทศ เดือน 4 ปี 2561 นี้ ประเด็นคือ ถ้าไม่รอครบตัดบัญชี แล้วทำเรื่องจำหน่ายในประเทศ แต่ส่งกลับคืนไปต่างประเทศโดยมีการเรียกเก็บเงินด้วย ภายใต้ commercial invoice จะผิดหลักเกณฑ์ไหม เครื่องจักรไม่ใช่เครื่องจักรหลัก

กรณีนำเครื่องจักรเข้ามาโดยยกเว้นภาษีอากรตามสิทธิ BOI แต่ต่อมาไม่ต้องการใช้เครื่องจักรดังกล่าวในโครงการ สามารถดำเนินการได้ดังนี้

1.ขอส่งคืนไปต่างประเทศ

- หากเป็นเครื่องจักรหลัก ต้องไม่ทำให้กำลังลดลงเกินกว่า 20% ยกเว้นจะมีการนำเครื่องจักรใหม่เข้ามาทดแทน

- ไม่มีภาระภาษีอากรที่ต้องชำระคืน

- เรียกเก็บเงินค่าสินค้า (เครื่องจักร) ได้ตามปกติ เนื่องจากเป็นการจำหน่ายสินทรัพย์ออกจากโครงการ

2.ขอจำหน่ายในประเทศ

- หากเป็นเครื่องจักรหลัก ต้องไม่ทำให้กำลังลดลงเกินกว่า 20% ยกเว้นจะมีการนำเครื่องจักรใหม่เข้ามาทดแทน

- หากนำเข้ายังไม่ครบ 5 ปี ต้องชำระภาษีตามสภาพ ณ วันที่อนุญาตให้จำหน่าย

- เรียกเก็บเงินค่าสินค้า (เครื่องจักร) ได้ตามปกติ เนื่องจากเป็นการจำหน่ายสินทรัพย์ออกจากโครงการ

บริษัทได้รับการส่งเสริมกิจการ 2.18 กิจการตัดและแปรรูปโลหะ ขนาดของกิจการมีกำลังการผลิตปีละ 900 ตัน อยากทราบว่าวิธีการขออนุมัติบัญชีวัตถุดิบและปริมาณอนุมัติสูงสุด 1.ใช้เอกสารแบบฟอร์มไหนบ้าง 2.ขั้นตอนและวิธีการทำอย่างไรบ้าง 3. บริษัทนำเข้า Cropper strip มาเป็นม้วนใหญ่ และนำมาตัดภายในประเทศตามsize ที่ลูกค้าสั่งซื้อเข้ามา ดังนั้นเราจะไม่มีสูตรการผลิต เราจำเป็นต้องทำสูตรการผลิตหรือไม่ และเราขออนุมัติเป็นแบบ 1ต่อ1 เหมือนกิจการ IPO หรือไม่

1.ใช้เอกสารแบบฟอร์มจาก Link แบบฟอร์ม BOI ในหัวข้อ การขออนุมัติ/แก้ไขสูตรการผลิต และหรือ ขออนุมัติ/แก้ไขบัญชีปริมาณสต๊อก

http://www.faq108.co.th/common/topic/boiform.php

2.ขั้นตอนและวิธีการ ส่วนที่ยื่นต่อ BOI ให้เตรียมข้อมูลเบื้องต้นตามแบบฟอร์ม กำหนดชื่อหลัก ชื่อรองของวัตถุดิบ กำหนด max stock ไว้ที่ 6 เดือนของกำลังผลิตสูงสุดในบัตร และควรเข้าพบ จนท เพื่อให้ตรวจสอบเบื้องต้นก่อน ส่วนที่ยื่นต่อ IC ควรเข้าอบรมการใช้ระบบ RMTS ไม่อย่างนั้นคงจะทำไม่ได้

3. บริษัทนำเข้า Copper strip มาเป็นม้วนใหญ่ และนำมาตัดภายในประเทศตามsize ที่ลูกค้าสั่งซื้อเข้ามา ต้องทำสูตรการผลิตเป็นครั้งๆไป โดยมีหน่วยเป็นน้ำหนัก อัตราการใช้วัตถุดิบเป็น 1 ต่อ 1 ไม่อนุมัติส่วนสูญเสียในสูตร * คำถามข้อ 2 กว้างเกินไป ถามตอบกัน 2 วัน ก็ไม่หมด เบื้องต้นขอตอบเท่านี้ก่อน

การรวมบัตรส่งเสริม 4 บัตร วันที่อนุมัติ 7/05/16 วันที่ได้รับบัตรส่งเสริม 8/7/16 1. บัตรส่งเสริมออกวันที่ 8 กรกฎาคม วัตถุดิบและเครื่องจักร ที่นำเข้ามาในวันที่ 8 เป็นต้นไปเป็นของบัตรใหม่ใช่หรือไม่ 2. ถ้าในบัตรระบุสามารถเริ่มใช้สิทธิ์ ตั้งแต่วันที่ 7 พฤษภาคม ก่อนออกหมายเลขบัตรส่งเสริมในวันที่ 8 ก.ค. ทางบริษัทต้องดำเนินการ อย่างไรบ้างเนื่องจากใช้สิทธิ์บัตรเดิมอยู๋ เพราะ Invoice ขายจะระบุบัตรส่งเสริมเก่า ต้องทำอย่างไร หรือไม่ 3. บัตรเก่าที่จะยกเลิกใน 3 เดือนถัดมา นับจากวันออกบัตร หรือวันอนุมัติ 4. ใน Invoice ขายมีระบุบัตรส่งเสริมเดิมอยู่ หลังจากวันที่ 8 ที่ได้รับบัตรใหม่ วัตถุดิบที่นำเข้า lot แรก ผลิตขายในวันที่ 28 ก.ค. ให้นับเป็น invoice ใบแรกที่ขายในบัตรใหม่ใข่หรือไม่ และ invoice ขายตั้งแต่วันที่ 8 -27 เป็นขอบัตรเก่าใช่หรือไม่ หรือ invoice ใบแรกที่ขายในวันที่ 9 กค ให้นับเป็นของบัตรใหม่ 5. ระยะเวลา 3 เดือนเคลียบัตรเก่า ตัดบัญชี ขอคืนอากร Adjust ถ้าเกิน 3 เดือนแล้วจะโอนมาทำที่บัตรใหม่ได้หรือไม่

การรวมบัตรส่งเสริม คือกรณีที่บริษัทหนึ่ง ได้รับการส่งเสริมหลายโครงการ (หลายบัตรส่งเสริม) และต่อมาต้องการรวมโครงการเข้าด้วยกัน จึงขอรวมบัตรส่งเสริม โดย BOI จะอนุญาตให้รวมบัตรส่งเสริม โดยจะตัดสิทธิประโยชน์ให้เหลือเท่ากับบัตรที่สั้นที่สุด กรณีการรวมบัตรส่งเสริมนี้ บัตรส่งเสริมเดิมจะถูกยกเลิกเมื่อมีการออกบัตรใหม่ ดังนั้น บริษัทจึงควรจัดการเรื่องที่ค้างอยู่ในบัตรเก่าให้เสร็จสิ้นก่อนจะขอรวมบัตรส่งเสริม

โรงงานที่ได้รับการส่งเสริมฯ ซื้อชิ้นส่วนมาผลิตเป็นสินค้า จะสามารถขายชิ้นส่วนนั้นได้หรือไม่ ถือเป็น BOI product หรือไม่ และสามารถขอสิทธิ์ยกเว้นภาษีเงินได้ฯได้หรือไม่ เนื่องจากบริษัทฯมีแผนจะซื้อหรือนำเข้าชิ้นส่วนฯ แต่ไม่ได้นำมาผลิต เพียงแต่ pack กับของที่ผลิตและส่งออกไป เลยอยากทราบว่าเข้าข่ายนี้หรือไม่

โรงงานที่ได้รับส่งเสริมเพื่อผลิตสินค้า ปกติจะไม่ได้รับอนุญาตให้จำหน่ายชิ้นส่วนที่ซื้อมาจากผู้อื่น เนื่องจากชิ้นส่วนนั้นไม่ได้เกิดขึ้นตามกระบวนการผลิตที่ได้รับส่งเสริม ชิ้นส่วนที่ซื้อมา แล้วนำมา pack รวมกับสินค้า เช่น บริษัทผลิตโทรศัพท์มือถือ และซื้อแบตเตอรี่ มา pack ในกล่อง สามารถทำได้ เนื่องจากไม่ใช่การจำหน่ายชิ้นส่วนที่ซื้อมาจากผู้อื่น แต่เป็นการจำหน่ายโทรศัพท์มือถือ ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ตามโครงการที่ได้รับส่งเสริม กรณีที่จำเป็นต้องจำหน่ายชิ้นส่วนที่ซื้อมาจากผู้อื่น เช่น จำหน่ายเป็น Service part ให้กับลูกค้า จะต้องขอผ่อนผันเป็นกรณีๆ โดยอาจมีการกำหนดระยะเวลาหรือปริมาณไว้ด้วยก็ได้ แต่รายได้จากการจำหน่ายชิ้นส่วนที่ซื้อมาจากผู้อื่น จะไม่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล

เรื่องวิธีการขอ Stock รายการวัสดุจำเป็นที่นำเข้ามาใช้และหมดไป เพราะปัจจุบันนำเข้าโดยการเสียภาษีอากร ถ้าต้องการใช้สิทธิตามมาตรา 36 บริษัทต้องทำอย่างไรบ้าง

ขั้นตอนการขอบัญชีสต็อกและสูตร สำหรับวัสดุจำเป็น กับขั้นตอนของวัตถุดิบ เหมือนกันเกือบทั้งหมด ต่างกันแค่เพียงต้องระบุหมายเหตุว่า รายการใดเป็นวัสดุจำเป็น และปกติ ในการทำสูตรการผลิต วัสดุจำเป็นจะให้คีย์เฉพาะปริมาณใช้จริง ไม่คีย์ปริมาณส่วนสูญเสียในสูตร

กรณีบริษัท นำเข้าเครื่องจักรโดยได้รับสิทธิยกเว้นอากรขาเข้า จำนวน 1 set ต่อมา ต้องการส่งอะไหล่ที่อยู่ในเครื่องจักรดังกล่าวไปต่างประเทศ และนำกลับมาอีกครั้งหนึ่ง ทางบริษัทจะต้องดำเนินการอย่างไร

1. การส่งชิ้นส่วนของเครื่องจักรไปซ่อมต่างประเทศ มีขั้นตอนดังนี้

- เข้าไปที่เมนูส่งซ่อมเครื่องจักรไปต่างประเทศ

- คีย์เลขหนังสืออนุมัติสั่งปล่อยที่ใช้สิทธินำเข้าเครื่องจักรนั้น

- เลือกรายการเครื่องจักร

- ติ๊กช่อง "ชื่อรายการที่ส่งซ่อมไม่ตรงกับชื่อในบัญชี"

- คือในช่อง "ชื่อตามที่ส่งซ่อม" เป็นชื่อชิ้นส่วนที่จะส่งไปซ่อมต่างประเทศ

2. เมื่อซ่อมเสร็จแล้วนำกลับเข้ามา จะได้รับยกเว้นอากรขาเข้าเฉพาะค่าซ่อม ส่วนอากรขาเข้าของชิ้นส่วนที่นำกลับเข้ามา จะต้องทำใบสุทธินำกลับต่อกรมศุลกากร เพื่อยกเว้นอากรขาเข้าในส่วนนั้น

ทางบริษัทได้มีการส่งแม่พิมพ์ไปซ่อมที่ต่างประเทศ แต่ใบขนขาออก ไม่ได้ระบุเป็นประเภท "224 สุทธินำกลับ" แต่ถูกระบุเป็น "211 ใบขนสินค้าขาออกประเภทส่งเสริมการลงทุน" จะสามารถนำแม่พิมพ์กลุ่มนี้กลับเข้ามาในประเทศได้อีกหรือไม่ เพราะตอนแรกที่ส่งออกไปได้มีการลงในระบบ eMT Online ว่าเป็นส่งซ่อม ไม่ใช่ส่งคืน เนื่องจากไม่ทราบว่าแม่พิมพ์ที่ส่งออกไปนั้นจะสามารถซ่อมได้หรือเปล่า

1.กรณีส่งแม่พิมพ์ออกไปซ่อมต่างประเทศ แต่ไม่ได้ทำใบสุทธินำกลับ ให้ยื่นคำร้องขอผ่อนผันใบสุทธินำกลับ ตามขั้นตอนที่กรมศุลกากรกำหนด http://search.customs.go.th:8090/Formality/Re-ImportCertificate.jsp เมื่อนำแม่พิมพ์นั้นกลับเข้ามาในประเทศ จะได้รับยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับแม่พิมพ์นั้น แต่ต้องชำระภาษีอากรสำหรับค่าซ่อม

2.หากได้ยื่นขออนุญาตส่งแม่พิมพ์ออกไปซ่อมต่อ BOI สามารถขอสั่งปล่อยแม่พิมพ์ที่นำกลับเข้ามาได้ โดยจะได้รับยกเว้นอากรเข้าสำหรับค่าซ่อมแม่พิมพ์นั้น ตามสิทธิประโยชน์ที่บริษัทได้รับอยู่

Stock รายการวัสดุจำเป็นรวมกับ Stock รายการวัตถุดิบหรือเปล่า เพราะปัจจุบัน Stock รายการวัตถุดิบบริษัทฯขอเต็มตามกำลังการผลิตแล้วที่ยื่นไว้แล้ว
วัตถุดิบและวัสดุจำเป็น รวมอยู่ในบัญชีเดียวกัน
ไม่ทราบว่าได้รับการส่งเสริมประเภทกิจการที่เท่าไร ที่สามารถซื้อชิ้นส่วนมาผลิตสินค้าได้ เนื่องจากทางบริษัทต้องการได้รับการส่งเสริมประเภทกิจการในลักษณะนี้ ปัจจุบันมีกระบวนการผลิตตามนี้ 1. ฉีดขึ้นรูป 2. พ่นสี/พิมพ์ตัวอักษร 3. ประกอบ 4. จำหน่าย และต่อมาต้องการเพิ่มเติมเป็นบางส่วนซื้อชิ้นงาน มาพ่นสี ประกอบ จำหน่าย จึงอยากทราบว่าต้องดำเนินการอย่างไร

1. กิจการผลิตผลิตภัณฑ์หรือชิ้นส่วนพลาสติกสำหรับอุตสาหกรรม ปัจจุบันให้ส่งเสริมประเภท 6.6 โดยจะมีต้องขั้นตอนการขึ้นรูปพลาสติกเอง

http://www.boi.go.th/upload/Sector_6_38267.pdf

2. กรณีที่สอบถาม เป็นการซื้อชิ้นส่วนพลาสติกมาพ่นสีและประกอบ จึงไม่เข้าข่ายที่จะขอรับส่งเสริมในประเภท 6.6 (หรือ 6.12 เก่า)

3. กรณีเป็นการประกอบชิ้นส่วนพลาสติกกับชิ้นส่วนอื่นๆ เพื่อผลิตชิ้นส่วนเครื่องไฟฟ้าหรือชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ อาจขอรับส่งเสริมในประเภท 5.2.5 การผลิตชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้าอื่นๆ หรือประเภท 5.4.19 การผลิตชิ้นส่วนสำหรับผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ

http://www.boi.go.th/upload/Sector_5_93941.pdf
ในกรณีที่บริษัทได้รับการส่งเสริมประเภทกิจการที่ 6.9 ผลิตผลิตภัณฑ์ชิ้นส่วนพลาสติกสำหรับอุตสาหกรรมต่างๆ เช่นอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า และยานยนต์ ได้มีการยื่นขอแก้ไขกรรมวิธีการผลิต ในขั้นตอนที่4 นำชิ้นงานกึ่งสำเร็จรูป แต่ไม่เกิน10%ของการผลิตทั้งหมด 1. ฉีดขึ้นรูป 2. ตัดตามรูปแบบ บางส่วนจำหน่าย 3. พ่นสีหรือพิมพ์ บางส่วนนำไปว่าจ้างพ่นสีหรือพิมพ์ 4. ประกอบกับโลหะ ฟองน้ำ เทป หรือชิ้นส่วนพลาสติกที่นำเข้าจากผู้ผลิตรายอื่น ต่อมาบริษัทมีความต้องการซื้อชิ้นส่วนพลาสติกที่มีการพ่นสีมาแล้วเพื่อพิมพ์และส่งจำหน่าย เนื่องจากกำลังการผลิตในส่วนของพ่นสีของบริษัทไม่เพียงพอต่อความต้องการของลูกค้า อย่างนี้ทางบริษัทสามารถขอแก้ไขกรรมวิธีการผลิต ในขั้นตอนที่ 3 เป็น พ่นสีหรือพิมพ์ บางส่วนนำชิ้นส่วนที่พ่นสีแล้วเพื่อพิมพ์ หรือบางส่วนนำไปว่าจ้างพ่นสีหรือพิมพ์ พอจะเป็นไปได้หรือไม่

เหตุผลขัดแย้งกัน คือ บริษัทอ้างว่า กำลังผลิตในขั้นตอนพ่นสีไม่เพียงพอ จึงจะซื้อชิ้นส่วนที่พ่นสีแล้วมาใช้ หากกำลังผลิตขั้นตอนพ่นสีไม่เพียงพอ ก็สามารถว่าจ้างพ่นสี ตามขั้นตอนที่ได้รับอนุมัติ

การจะซื้อชิ้นส่วนที่พ่นสีแล้วมาใช้ เท่ากับว่าไม่ได้ฉีดชิ้นงานนั้นขึ้นเอง จึงผิดเงื่อนไขสำคัญ คงไม่น่าจะแก้ไขตามที่สอบถามมาได้

รายการวัสดุจำเป็น สามารถใช้สิทธิฯของบีโอไอได้รึเปล่า ถ้าได้ต้องทำอย่างไรบ้าง และ ได้สิทธิฯเช่นเดียวกับวัตถุดิบฯหรือไม่ การขออนุมัติฯแบบเดียวกับบัญชีวัตถุดิบหรือเปล่า
วัสดุจำเป็นได้รับยกเว้นเฉพาะอากรขาเข้า ไม่ได้รับยกเว้น VAT ขออนุมัติเช่นเดียวกับวัตถุดิบ

ขออภัยครับ ไม่มีข้อมูลส่วนนี้ ในภาษาที่ท่านเลือก !

Sorry, There is no information support your selected language !

Download และ ติดตั้งโปรแกรมอ่าน PDF

Download PDF Reader

Site map