Chat
x
toggle menu
toggle menu

Select Groups

All Group
  • All Group
  • นโยบายเเละมาตรการพิเศษในการส่งเสริม
  • การขอรับการส่งเสริมการลงทุน
  • การออกบัตรส่งเสริม
  • การเปิดดำเนินการ
  • การเเก้ไขโครงการ
  • การดำเนินการอื่น ๆ
  • การรายงานความคืบหน้าโครงการ (e-Monitoring)
  • การปฏิบัติหลังการได้รับการส่งเสริม
  • การยกเลิกบัตรส่งเสริม
  • เรื่องทั่วไป
  • การใช้สิทธิด้านที่ดิน
  • การใช้สิทธิด้านเครื่องจักร
  • การใช้สิทธิด้านช่างฝีมือ/ต่างด้าว
  • การใช้สิทธิด้านวัตถุดิบ
  • ประเภทกิจการ - การแพทย์
  • การใช้สิทธิด้านภาษีเงินได้นิติบุคคล
  • ประเภทกิจการ - รถยนต์ไฟฟ้า
  • ประเภทกิจการ - ศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศ (IBC) IPO และ TISO
  • ประเภทกิจการ - โรงแรม
  • ประเภทกิจการ - ผลิตผลิตภัณฑ์โลหะรวมทั้งชิ้นส่วนโลหะ
  • ประเภทกิจการ - กิจการผลิตเครื่่องจักร อุุปกรณ์และชิ้นส่วน
  • ประเภทกิจการ - กิจการศูนย์กระจายสินค้าระหว่า ประเทศด้วยระบบที่่ทันสมัย (IDC)
"เมื่อได้รับอนุมัติจาก BOI แล้ว จึงจะสามารถนำเครื่องจักรที่ใช้สิทธิตามบัตรส่งเสริม ไปจำนองได้" จากข้อความนี้ 1.จะต้องยื่นเรื่องขออนุญาต "นำเครื่องจักรไปจำนอง/เช่าซื้อ" กับทางBOIก่อนที่จะนำไปดำเนินเรื่องกับบริษัทรับจำนองหลังจากสั่งปล่อยเครื่องจักร เข้าใจถูกต้องใช่หรือไม่ 2.เมื่อทำการสั่งปล่อยเครื่องจักรมาแล้ว จะต้องยื่นเรื่องขออนุญาต "นำเครื่องจักรไปจำนองหรือเช่าซื้อ" กับทาง BO Iภายในกี่วัน

การขออนุญาตนำเครื่องจักรไปจำนอง ต้องเป็นกรณีที่ผู้ได้รับส่งเสริมเป็นผู้นำเข้าเครื่องจักรดังกล่าวโดยใช้สิทธิยกเว้นภาษีจาก BOI จากนั้นจึงยื่นขออนุญาตนำเครื่องจักรดังกล่าวไปจำนอง จะยื่นขอนำเครื่องจักรไปจำนองเมื่อไรก็ได้ แต่ต้องก่อนมีการจำนอง

บริษัทได้รับการส่งเสริมการลงทุน โดยได้รับสิทธิและประโยชน์ตามมาตรา 36(1), (2) ปัจจุบันมีความจำเป็นต้องนำเข้าวัตถุดิบและวัสดุจำเป็น เพื่อนำมาใช้ในการผลิตจนเกินปริมาณ Max Stock ทำให้เกิดภาระในการเสียภาษีก่อน และต้องขอคืนในภายหลัง ซึ่งเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ สาเหตุที่บริษัทต้องนำเข้าวัตถุดิบและวัสดุจำเป็นมากขึ้น เนื่องจากมีการผลิตสินค้ารูปแบบใหม่ๆ ตามความต้องการของลูกค้า ทำให้ความต้องการใช้ วัตถุดิบและวัสดุจำเป็นมีมากขึ้น จนเกินปริมาณ Max Stock ที่มีอยู่ บริษัทขอคำปรึกษาว่า จะมีวิธีแก้ปัญหาดังกล่าวอย่างไร เพื่อเพิ่มปริมาณ Max Stock ให้เพียงพอต่อการนำเข้าวัตถุดิบและวัสดุจำเป็น และวิธีการดังกล่าวมีขึ้นตอนอย่างไร

Max Stock คือบัญชีรายการและปริมาณวัตถุดิบ ที่เพียงพอต่อการผลิตสินค้าตามบัตรส่งเสริมเป็นเวลา 6 เดือน กรณีที่ Max Stock ไม่พอต่อการผลิต

1. ตรวจสอบว่า Max Stock ที่ขอไว้ คำนวณจากกำลังการผลิต 6 เดือนตามบัตรส่งเสริมหรือไม่ หากขอไว้ไม่ครบ 6 เดือน สามารถขอแก้ไข Max Stock ให้ครบ 6 เดือนได้

2. สูตรการผลิตที่ใช้คำนวณปริมาณ Max Stock 6 เดือน เป็นสูตรที่เหมาะสมหรือไม่ เช่น บริษัทผลิตเสื้อ size S M L แต่หากใช้เสื้อ size S ในการคำนวณ Max Stock ย่อมได้ Max Stock น้อย และไม่พอต่อการผลิต กรณีนี้บริษัทสามารถเสนอแผนการผลิตในรอบ 6 เดือนใหม่ โดยเพิ่มสัดส่วนการผลิตเสื้อ size L ให้มากขึ้น เพื่อให้ได้ Max Stock ที่มากเพียงพอต่อการผลิต

3. มีกำลังผลิตจริงมากกว่าที่ขอรับส่งเสริม ทำให้ Max Stock ไม่พอ กรณีนี้อาจต้องยื่นขอเปิดดำเนินการเต็มโครงการ เพื่อแก้ไขกำลังผลิตในบัตรส่งเสริมให้เป็นไปตามกำลังผลิตที่มีอยู่จริง จากนั้นจึงขอแก้ไข Max Stock ให้เท่ากับกำลังผลิต 6 เดือนตามบัตรส่งเสริม

4. เกิดจากสาเหตุอื่น ซึ่งต้องแก้ไขเป็นกรณีๆไป ----------------------------------------------------------

กรณีที่สอบถาม เทียบเคียงได้กับกรณีข้อ 2 คือ มีผลิตภัณฑ์โมเดลใหม่ ที่ใช้วัตถุดิบมากกว่าโมเดลเดิม ซึ่งบริษัทสามารถเสนอแผนการคำนวณ Max Stock ใหม่ โดยเพิ่มสัดส่วนการผลิตโมเดลใหม่ให้มากขึ้น เพื่อให้ได้ Max Stock ใหม่ที่เพียงพอต่อการผลิต

การกรอกข้อมูลในแบบคำขออนุญาตแก้ไขโครงการ หัวข้อ การระบุมาตรา และระยะเวลาที่ได้รับ คือว่ามาตราจะดูได้จากบัตรส่งเสริมว่าบริษัทได้รับมาตราไหนบ้าง แต่ในส่วนของระยะเวลานี่หมายถึง ระยะเวลาในเรื่องไหน เพราะในแต่ละมาตราไม่ได้บอกเวลาไว้ทุกมาตรา

ถ้าเป็นสิทธิประโยชน์ที่เกี่ยวกับภาษีอากร จะมีการระบุระยะเวลาไว้ในบัตรส่งเสริม แต่ถ้าไม่ใช่สิทธิประโยชน์เกี่ยวกับภาษีอากร จะไม่ระบุระยะเวลา คือใช้สิทธิได้ตลอดไป ตราบเท่าที่ได้รับส่งเสริมการกรอกข้อมูลในแบบฟอร์มแก้ไขโครงการ ให้กรอกแนวๆ นี้ มาตรา 25, 26, 27, 28, 31 ร้อยละ 100 (แปดปี), 34, 35 (1) ร้อยละห้าสิบ 5 ปี .......... และมาตรา 37

กรณีมาตรา36 (1) 36(2) คือมีการขายระยะเวลาทุกๆ 2ปี จะกรอกยังไงดี
ระบุตามที่ได้รับตอนแรกก็ได้ เช่น มาตรา 36 (1) หนึ่งปี
เรามีสินค้าเป็น Hydrosome for compressor เข้ามา แต่ชื่อไม่มีในรายการวัตถุดิบมาตรา 36 แล้วเรานำเข้ามาแล้ว 1 ปี แล้วในใบขนเราได้ขอสงวนสิทธ์ ขอคืนอากรย้อนหลังโดยใช้สิทธ์ BOI ถ้าเป็นเคสนี้ เราจะต้องดำเนินการขอชื่อสินค้านี้ยังไง

1. วัตถุดิบที่นำเข้ามาเพื่อผลิตการส่งออก ตามกระบวนการผลิตที่ได้รับส่งเสริม สามารถขอใช้สิทธิยกเว้นอากรขาเข้าตามมาตรา 36(1) ได้ โดยต้องยื่นขออนุมัติบัญชีสต็อควัตถุดิบให้ครอบคลุมรายการวัตถุดิบที่จะใช้สิทธินำเข้า และต้องขอสูตรการผลิตสำหรับตัดบัญชีหลังการส่งออก

2. กรณีที่ยังไม่ได้รับอนุมัติบัญชีสต็อควัตถุดิบ สามารถชำระภาษีอากรไปก่อน โดยสงวนสิทธิ BOI จากนั้นจะต้องขออนุมัติบัญชีวัตถุดิบ และสั่งปล่อยเพื่อขอคืนอากรขาเข้าภายใน 2 ปีนับจากวันนำเข้า

แล้วจะต้องไปยื่นเรื่อง "สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน" ที่กรุงเทพฯ ได้อย่างเดียว หรือ สามารถยื่นเรื่องที่ "ศูนย์เศรษฐกิจการลงทุน" แต่ละภาคที่บริษัทตั้งอยู่ได้

ให้ยื่นคำร้องในระบบ eMT

เมื่อทางบริษัทได้ยื่นเรื่องผ่านระบบ eMT แล้ว ไม่ทราบว่าเอกสารต้นฉบับจะต้องให้กับทางเจ้าหน้าที่ที่อนุมัติอีกครั้งหรือไม่

หลังจากยื่นเรื่องผ่านระบบ eMT เจ้าหน้าที่ BOI ประจำสมาคม IC จะเป็นผู้พิจารณาคำร้อง และลงนามหนังสืออนุมัติ ให้บริษัทตรวจสอบผลการพิจารณาในระบบ eMT หากได้รับอนุมัติ ให้ไปติดต่อสมาคม IC เพื่อรับหนังสืออนุมัติ และเก็บรักษาไว้เป็นหลักฐาน

ถ้าเราจะต้องขอชื่อสินค้าใหม่ ขั้นตอนแรกเราจะเริ่มจากอะไร แล้วงานนี้ต้องใช้หัวข้องานว่าอะไร
ไม่เข้าใจคำถาม ขอตอบกลางๆไว้ก่อน คือ

1. หากต้องการขออนุมัติวัตถุดิบรายการใหม่ ก็ยื่นขอแก้ไขบัญชีปริมาณสต็อค เพื่อแก้ไขปริมาณ/รายการวัตถุดิบ

2. หากต้องการขอสินค้าใหม่ ก็เป็นเรื่องการแก้ไขโครงการเพื่อเพิ่มชนิดผลิตภัณฑ์

การกรอกแบบฟอร์มขอแก้ไขโครงการในหัวข้อจำนวนพนักงาน(ไทย) หมายรวมถึงซับคอนแทค ด้วยหรือไม่
ไม่ต้องรวม
ในส่วนของการกรอกจำวนการผลิต หมายรวมถึงชิ้นงาน NG ด้วยหรือไม่
ไม่ต้องรวม NG
ขอชื่อวัตถุดิบเพิ่ม ถ้าจะใช้ข้อที่ 2
ถ้าต้องการขอวัตถุดิบรายการใหม่ ก็ยื่นขอแก้ไขบัญชีปริมาณสต็อค เพื่อแก้ไขปริมาณ/รายการวัตถุดิบ
หลังจากที่ได้รับการอนุญาต "นำเครื่องจักรไปเช่าแบบลิสซิ่ง" จาก IC เป็นที่เรียบร้อยแล้ว จะต้องนำหนังสืออนุญาตไปติดต่อสำนักงาน เพื่อแก้ไขบัตรส่งเสริมหรือไม่

หากในหนังสืออนุมัติ ไม่มีข้อความระบุให้นำบัตรส่งเสริมไปแก้ไขเอกสารท้ายบัตร บริษัทก็ไม่ต้องนำบัตรส่งเสริมไปแก้ไข แต่ให้เก็บหนังสืออนุมัตินั้นไว้เป็นหลักฐาน

แล้วถ้าในกรณีที่มีระบุให้แก้ไขบัตรส่งเสริม แต่ไม่ได้นำบัตรส่งเสริมไปแก้ไขตามที่ระบุไว้ท้ายเอกสาร จะถือว่ามีความผิดหรือจะถูกปรับหรือโดนโทษอะไรไหม

หากหนังสืออนุมัติ มีเงื่อนไขให้นำบัตรส่งเสริมไปแก้ไข แต่บริษัทไม่นำบัตรส่งเสริมไปแก้ไข ถือว่าการอนุมัตินั้นยังไม่ผลบังคับ

ดิฉันต้องติดต่อ ที่ BOI หรือ IC ถ้าจะขอคืนอากรย้อนหลัง Hydrocom for compressor แต่ชื่อสินค้าตัวนี้ไม่มีใน MML LIST ที่สามารถใช้สิทธิ์ BOI ได้ ถ้าเป็นเคสนี้ ต้องดำเนินเรื่องงานด้านไหน 1. วัตถุดิบที่นำเข้ามาเพื่อผลิตการส่งออก ตามกระบวนการผลิตที่ได้รับส่งเสริม สามารถขอใช้สิทธิยกเว้นอากรขาเข้าตามมาตรา 36(1) ได้ โดยต้องยื่นขออนุมัติบัญชีสต็อควัตถุดิบให้ครอบคลุมรายการวัตถุดิบที่จะใช้สิทธินำเข้า และต้องขอสูตรการผลิตสำหรับตัดบัญชีหลังการส่งออก 2. กรณีที่ยังไม่ได้รับอนุมัติบัญชีสต็อควัตถุดิบ สามารถชำระภาษีอากรไปก่อน โดยสงวนสิทธิ BOI จากนั้นจะต้องขออนุมัติบัญชีวัตถุดิบ และสั่งปล่อยเพื่อขอคืนอากรขาเข้าภายใน 2 ปีนับจากวันนำเข้า 1. หากต้องการขออนุมัติวัตถุดิบรายการใหม่ ก็ยื่นขอแก้ไขบัญชีปริมาณสต็อค เพื่อแก้ไขปริมาณ/รายการวัตถุดิบ 2. หากต้องการขอสินค้าใหม่ ก็เป็นเรื่องการแก้ไขโครงการเพื่อเพิ่มชนิดผลิตภัณฑ์

1. การทำเรื่องนี้ (เรื่อง แก้ไขบัญชีปริมาณสต็อค) ต้องยื่นขออนุมัติที่ BOI และเมื่อได้รับอนุมัติแล้ว จะต้องนำผลอนุมัติไปบันทึกฐานข้อมูลที่ IC

2. การจะขอเพิ่มรายการวัตถุดิบวัตถุดิบในบัญชีปริมาณสต็อค วัตถุดิบนั้นจะต้องใช้ในกรรมวิธีผลิตที่ได้รับส่งเสริม และผลิตเพื่อการส่งออก

3. สำหรับปริมาณที่จะขออนุมัติ ขึ้นอยู่กับว่าบัญชีเดิมได้รับอนุมัติไว้อย่างไร บางกรณีอาจขอเพิ่มรายการใหม่ได้เลย บางกรณีอาจต้องลดปริมาณวัตถุดิบอื่นลงก่อน จึงจะเพิ่มปริมาณวัตถุดิบรายการใหม่ได้

แบบฟอร์มครุฑในการอนุญาตแก้ไขโครงการและผ่อนผันกรรมวิธีการผลิต ดาวน์โหลดได้ที่ไหน
การแก้ไขโครงการ ไม่ต้องเตรียมแบบฟอร์มครุฑ
เดิมบริษัทได้รับการส่งเสริมประเภทกิจการ 6.9 ต่อมาขอรับการส่งเสริม 7.6 โดยมีการเพิ่มทุนจดทะเบียน และอัตราส่วนผู้ถือหุ้น โดยที่บัตรที่1 ไม่ได้ระบุเรื่องเงินทุนจดทะเบียน บัตรที่2 ระบุว่าต้องเพิ่มทุนจดทะเบียน 1 ล้าน ซึ่งบริษัทได้ทำเรื่องเพิ่มและชำระเรียบร้อยแล้ว ซึ่งเพิ่มทุน ทำให้อัตราส่วนผู้ถือหุ้นเพิ่มขึ้นด้วย จึงอยากทราบว่าอย่างนี้แล้วต้องทำเรื่องขอแก้ไขในส่วนของบัตรที่1ด้วยหรือไม่

เงื่อนไขเฉพาะโครงการ ข้อ 8.1 กำหนดว่า หากมีการเปลี่ยนแปลงอัตราส่วนการถือหุ้นระหว่างผู้มีสัญชาติไทยและคนต่างด้าว และการเปลี่ยนแปลงการถือหุ้นของคนต่างด้าวต่างสัญชาติทุกครั้ง จะต้องรายงานให้ BOI ทราบทุกครั้ง ดังนั้น หากบริษัทเพิ่มทุนจดทะเบียน และมีการเปลี่ยนแปลงอัตราส่วนการถือหุ้น ตามเงื่อนไขทั่วไป ข้อ 8.1 ก็ต้องรายงานให้ BOI ทราบ แต่หากบริษัทเพิ่มทุนจดทะเบียน แต่ไม่ทำให้อัตราส่วนผู้ถือหุ้นเปลี่ยนแปลง ตามเงื่อนไขทั่วไป ข้อ 8.1 ก็ไม่ต้องรายงานให้ BOI ทราบ

บัตรส่งเสริมมี 3 ส่วน คือ 1.สิทธิและประโยชน์ 2.เงื่อนไขทั่วไป 3.เงื่อนไขเฉพาะโครงการ เงื่อนไขข้อ 8.1 จะต้องรายงานการเปลี่ยนแปลงอัตราส่วนการถือหุ้นระหว่างผู้มีสัญชาติไทยและคนต่างด้าว และการเปลี่ยนแปลงการถือหุ้นของคนต่างด้าวต่างสัญชาติทุกครั้ง หากเมื่อใดก็ตาม ที่บริษัทมีการเปลี่ยนแปลง ที่เข้าข่ายตามเงื่อนไขทั่วไป ข้อ 8.1 บริษัทก็มีหน้าที่ต้องรายงานให้ BOI ทราบ การรายงานนี้ ไม่ใช่การแก้ไขโครงการ และไม่ใช่การขออนุญาต เป็นเพียงการส่งหนังสือ เพื่อรายงาน ตามเงื่อนไขทั่วไป ที่กำหนดไว้ในบัตรส่งเสริม -------------------------------------------------------------------------------------------------- ส่วนเงื่อนไขทุนจดทดทะเบียน และเงื่อนไขอัตราส่วนหุ้นไทย เป็นเงื่อนไขที่กำหนดไว้ใน "เงื่อนไขเฉพาะโครงการ" แต่ละบริษัท แต่ละกิจการกำหนดไว้แตกต่างกัน เงื่อนไขเหล่านี้ (ถ้ามี) เป็นเงื่อนไขบังคับ ต้องปฏิบัติให้ได้ เช่น

- จะต้องมีทุนจดทะเบียนไม่น้อยกว่า 10 ล้านบาท โดยจะต้องชำระเต็มมูลค่าหุ้นก่อนเปิดดำเนินการ

- จะต้องมีผู้ถือหุ้นไทยไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของหุ้นทั้งหมด ถ้าปฏิบัติไม่ได้ จะต้องขอแก้ไขโครงการ แต่หากไม่ได้รับอนุญาตให้แก้ไข และปฏิบัติตามเงื่อนไขไม่ได้ จะถูกเพิกถอนบัตรส่งเสริม ---------------------------------------------------------------------------------------------------- เงื่อนไขทั่วไป และเงื่อนไขเฉพาะโครงการ จึงเป็นคนละประเภทกัน จึงต้องแยกกันให้ถูก

บริษัทมีกรุ๊ป MML กรุ๊ปที่ 00001 เพียงกรุ๊ปเดียวตั้งแต่ใช้บัตรส่งเสริมฯ ปัจจุบัน บริษัทมีการนำเข้าวัตถุดิบตัวใหม่ ซึ่งต้องขอรายการวัตถุดิบ MML กรุ๊ปที่ 000002 เพิ่ม อีก 1 รายการ จำนวน 3,000 ตัน ซึ่งตอนนี้ Max stock 6 เดือน มี 7,000 ตัน คำถาม 1. บริษัทต้อง ลด Max Stock กรุ๊ปที่ 000001 จากเดิม 7,000 เป็น ใหม่ 4,000 ไหม กรุ๊ปที่ 000002 ต้องแบ่งเฉลี่ยจำนวน จาก กรุ๊ปที่ 00001 ไหม คำถาม 2 บริษัท ไม่ต้องลด Max Stock กรุ๊ปที่ 000001 คงเหลือไว้เหมือนเดิม คือ 7000 ตัน กรุ๊ปที่ 000002 ขอเพิ่มเป็น 3000 ตัน
บริษัทได้รับส่งเสริมผลิตอะไร ในบัตรส่งเสริมระบุกำลังผลิตสูงสุดไว้เท่าไร
แล้วสามารถนำหนังสืออนุมัติไปแก้ไขบัตรส่งเสริมย้อนหลังได้หรือไม่

จะต้องนำบัตรส่งเสริมไปแก้ไข ตามเงื่อนไขที่กำหนดในหนังสืออนุมัติ

ถ้าบริษัท ก ได้รับการส่งเสริมจาก BOI เป็นระยะเวลา 5 ปี และได้นำเข้าเครื่องจักรมาและได้รับการยกเว้นภาษีตามสิทธิประโยชน์ทาง BOI ซึ่งตอนนี้เครื่องจักรดังกล่าวได้ใช้งานมาครบ 5 ปีแล้ว และบริษัท ก ก็ครบเวลาที่ได้รับสิทธิประโยชน์ทาง BOI แล้ว อยากทราบว่า ถ้าบริษัท ก ต้องการนำเครื่องจักรดังกล่าวมาทำเช่าซื้อ/ลิสซิ่ง จะต้องขออนุญาตจาก BOI อีกหรือไม่ มีเอกสารอ้างอิงใดสำหรับคำตอบนั้นๆ

การให้การส่งเสริมของ BOI ไม่มีการกำหนดระยะเวลาสิ้นสุด แต่สิทธิประโยชน์ทางภาษีจะมีระยะสิ้นสุด

เช่น เครื่องจักร 30 เดือน (ขยายเวลาได้ 3 ครั้ง) หรือภาษีเงินได้ 3-8 ปี (ขยายเวลาไม่ได้) เป็นต้น

แม้ว่าสิทธิประโยชน์ทางภาษีจะสิ้นสุดลง แต่บริษัทก็ยังคงมีสถานะเป็นผู้ได้รับส่งเสริม และต้องปฏิบัติเงื่อนไขที่ได้รับส่งเสริมตลอดไปจนกว่ายกเลิกบัตร/หรือถูกเพิกถอนบัตรส่งเสริม

เครื่องจักรที่นำเข้ามาโดยใช้สิทธิยกเว้นภาษีอากร มีเงือนไขคือ จะต้องใช้ในโครงการที่ได้รับส่งเสริมเท่านั้น

การจะจำหน่ายจ่ายโอน หรืออนุญาตให้ผู้อื่นใช้ หรือนำไปใช้เพื่อการอื่น จะต้องได้รับอนุญาตจาก BOI ก่อน ไม่ว่าเครื่องจักรนั้นจะนำเข้ามาแล้วนานเท่าใด โดย BOI จะพิจารณาความเหมาะสม พร้อมกับพิจารณาภาระภาษี (ถ้ามี) ตามอายุเครื่องจักร ตามประกาศ ที่ ป.3/2558

กรณีที่สอบถาม เป็นการขอนำเครื่องจักรที่นำเข้าโดยใช้สิทธิยกเว้นภาษีไปทำการเช่าซื้อแบบลีสซิ่ง ซึ่งอ้างอิงประกาศ ที่ ป.6/2541 จึงควรยื่นขออนุญาตไปตามขั้นตอนปกติ โดยไม่จำเป็นต้องสนใจเรื่องอายุเครื่องจักร

ผลิตลวดและเพลาสแตนเลส กำลังการผลิต 2400 ตัน 8ชม/วัน/ปี บัตรส่งเสริมตั้งแต่ปี 2533

วัตถุดิบ Group 000001 จำนวน 7,000 ตัน หากนำไปผลิตเป็นสินค้าคือลวดและเพลาสแตนเลส จะผลิตได้กี่ตัน

ขออภัยครับ ไม่มีข้อมูลส่วนนี้ ในภาษาที่ท่านเลือก !

Sorry, There is no information support your selected language !

Download และ ติดตั้งโปรแกรมอ่าน PDF

Download PDF Reader

Site map