Chat
x
Nutzerbefragung
Get more information
FAQ
Find answers quickly
Kontakt
Get in Touch with Us!
toggle menu
Nutzerbefragung
Get more information
FAQ
Find answers quickly
Kontakt
Get in Touch with Us!
toggle menu

Not Found

การถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดิน



(1) การอนุญาตให้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินตามมาตรา 27 สำหรับโครงการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน ในกรณีดังต่อไปนี้
1. การขอถือกรรมสิทธิ์ที่ดิน / ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินเพิ่มเติมเพื่อเป็นสถานที่ประกอบกิจการที่ได้รับการส่งเสริม
2. การขออนุญาตใช้ที่ดินที่ได้รับอนุญาตให้ถือกรรมสิทธิ์เพื่อสนับสนุนกิจการที่ได้รับการส่งเสริม เช่น เพื่อใช้ติดตั้งสาธารณูปโภค เป็นต้น
3. การขออนุญาตจดทะเบียนจำนองที่ดิน
4. การขออนุญาตจำหน่ายที่ดิน
5. การขออนุญาตบริจาคที่ดิน
6. การขอถือกรรมสิทธิ์ที่ดินร่วมกับบัตรส่งเสริมฉบับเดิม
7. การอำนวยความสะดวกโดยการรับรองการเป็นผู้ได้รับการส่งเสริม กรณี
7.1 นิติบุคคลต่างด้าว ขอถือกรรมสิทธิ์ห้องชุด
7.2 คนต่างด้าว ขอถือกรรมสิทธิ์ห้องชุด
ขอบเขตของการอนุญาต
มาตรา 27 ผู้ได้รับการส่งเสริมจะได้รับอนุญาตให้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินเพื่อประกอบกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนตามจำนวนที่คณะกรรมการพิจารณาเห็นสมควร
ในกรณีที่ผู้ได้รับการส่งเสริม ซึ่งเป็นคนต่างด้าวตามประมวลกฎหมายที่ดิน เลิกกิจการที่ได้รับการส่งเสริม หรือโอนกิจการนั้นให้แก่ผู้อื่น ผู้ได้รับการส่งเสริมต้องจำหน่ายที่ดินที่ได้รับอนุญาตให้ถือกรรมสิทธิ์ภายใน 1 ปี นับแต่วันที่เลิกหรือโอนกิจการ
การอนุญาตดังกล่าวจะครอบคลุมไปถึงเรื่อง การยื่นขอถือกรรมสิทธิ์ที่ดิน การอนุมัติให้นำที่ดินที่ขอถือกรรมสิทธิ์ไปทำประโยชน์อื่น ๆ การขออนุญาตจดทะเบียนจำนองที่ดิน การจำหน่ายที่ดินบางส่วน และการจำหน่ายที่ดินเมื่อบริษัทมิได้ใช้ที่ดินหรือพ้นสภาพการเป็นผู้ได้รับการส่งเสริม

(2) แนวทางการพิจารณา
1. การขอถือกรรมสิทธิ์ที่ดิน / ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินเพิ่มเติมเพื่อเป็นสถานประกอบการ
ในการยื่นขอถือกรรมสิทธิ์ที่ดินนั้น เอกสารที่จะขอถือกรรมสิทธิ์ต้องเป็นจังหวัดเดียวกับที่ตั้งสถานประกอบการตามที่ได้ระบุในบัตรส่งเสริม สำหรับจำนวนเนื้อที่จะพิจารณาตามความเหมาะสม ตามประเภทอุตสาหกรรม จากผังการใช้ที่ดินและรายละเอียดการใช้ประโยชน์ที่ดินและอื่น ๆ
ทั้งนี้ ผู้ประสงค์จะขอถือกรรมสิทธิ์ที่ดินต้องดำเนินการตรวจสอบการใช้ประโยชน์ที่ดิน หรือ แสดงหลักฐานอื่นใดที่สามารถแสดงได้ว่า ที่ดินที่จะถือกรรมสิทธิ์ ไม่ต้องห้ามตามกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง มาเพื่อประกอบการพิจารณาของสำนักงาน
2. การขออนุญาตจดทะเบียนจำนองที่ดิน
กรณีผู้ได้รับการส่งเสริมที่ได้รับอนุญาตให้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินแล้ว หากมีความประสงค์จะนำที่ดินดังกล่าวไปจดทะเบียนจำนอง จะต้องได้รับอนุญาตจากสำนักงานก่อน
3. การขออนุญาตจำหน่าย / บริจาคที่ดิน
บริษัทยังดำเนินการอยู่
3.1 กรณีจำหน่าย
- จะต้องมีหนังสืออนุญาตให้จำหน่ายจากสำนักงานก่อน
3.2 กรณีบริจาค
- จะต้องมีหนังสืออนุญาตให้บริจาคจากสำนักงานก่อน
บริษัทยกเลิก / โอนกิจการ
เมื่อบริษัทได้รับอนุมัติให้ยกเลิก / เพิกถอน หรือโอนกิจการ สำนักงานจะแจ้งให้กรมที่ดินทราบ บริษัทจะต้องจำหน่ายที่ดินที่ได้รับอนุญาตให้ถือกรรมสิทธิ์ภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ในคำสั่งให้ยกเลิก / เพิกถอน หรือโอนกิจการตามมาตรา 27 วรรคสอง ทั้งนี้ หากบริษัทไม่ดำเนินการ กรมที่ดินมีอำนาจให้จำหน่ายที่ดินดังกล่าวได้ ตามประมวลกฎหมายที่ดิน
4. การขออนุญาตถือกรรมสิทธิ์ที่ดินโดยใช้สิทธิร่วมกับบัตรส่งเสริมฉบับเดิม
4.1 บริษัทได้รับการส่งเสริมเพื่อโครงการส่วนขยาย หากโครงการส่วนขยายมีที่ตั้งอยู่ที่เดียวดับที่ดินถือกรรมสิทธิ์ตามบัตรส่งเสริมฉบับเดิม โดยให้บริษัทขออนุญาตถือกรรมสิทธิ์ที่ดินโดยใช้สิทธิร่วมกับบัตรส่งเสริมฉบับเดิม
4.2 หากบัตรส่งเสริมฉบับเดิมถูกยกเลิก / เพิกถอน หรือโอนกิจการ บริษัทไม่ต้องจำหน่ายที่ดินซึ่งเป็นที่ตั้งของกิจการ เนื่องจากที่ดินแปลงนี้ได้รับอนุญาตให้ถือกรรมสิทธิ์ในนามนิติบุคคล ซึ่งยังคงมีสิทธิถือครองที่ดินตามบัตรส่งเสริมฉบับอื่น
5. การอำนวยความสะดวกโดยการรับรองการเป็นผู้ได้รับการส่งเสริมการลงทุน
5.1 การขอถือกรรมสิทธิ์ห้องชุด ของนิติบุคคลต่างด้าว
- การอนุญาตให้ถือกรรมสิทธิ์ห้องชุดเป็นอำนาจของกรมที่ดิน สำนักงานจะรับรองแต่เพียงว่า บริษัทเป็นผู้ได้รับการส่งเสริมการลงทุน ซึ่งอยู่ในข่ายที่อาจถือกรรมสิทธิ์ห้องชุดได้ตาม พระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. 2522
5.2 การขอถือกรรมสิทธิ์ห้องชุด ของคนต่างด้าว
- การอนุญาตให้ถือกรรมสิทธิ์ห้องชุดเป็นอำนาจของกรมที่ดิน สำนักงานจะรับรองว่า คนต่างด้าวนั้นได้ปฏิบัติงานในบริษัทที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน ซึ่งซึ่งอยู่ในข่ายที่อาจถือกรรมสิทธิ์ห้องชุดได้ ตามพระราชบัญญัติอาคารชุด พ.ศ. 2522


กรณีศึกษา : ทำไมนิติบุคคลไทยที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนจึงไม่สามารถขอจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินได้
ตอบ การพิจารณาการเป็นนิติบุคคลไทย หรือนิติบุคคลต่างด้าวของสำนักงาน จะพิจารณาจากอัตราส่วนผู้ถือหุ้น เช่น กรณีนิติบุคคลมีอัตราส่วนผู้ถือหุ้นเป็นไทยข้างมาก แต่มีจำนวนผู้ถือหุ้นเป็นคนต่างด้าวมากกว่าคนไทย สำนักงานจะพิจารณาว่าเป็นนิติบุคคลไทย และไม่ได้รับสิทธิการถือกรรมสิทธิ์ที่ดิน (มาตรา 27)
แต่ตามประมวลกฎหมายที่ดินจะพิจารณาความเป็นนิติบุคคลไทยหรือต่างด้าวจากจำนวนผู้ถือหุ้น จึงทำให้นิติบุคคลนี้ไม่สามารถดำเนินการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินได้ เพราะมีจำนวนผู้ถือหุ้นเป็นคนต่างด้าวเกินกว่ากึ่งหนึ่ง แม้ว่านิติบุคคลนี้จะมีอัตราส่วนผู้ถือหุ้นเป็นไทยข้างมากก็ตาม
ดังนั้น ผู้ได้รับการส่งเสริมการลงทุนต้องยื่นเรื่องขอแก้ไขโครงการกับสำนักงานก่อน โดยขอเพิ่มสิทธิและประโยชน์ตามมาตรา 27 เพื่อให้ถูกต้องตามประมวลกฎหมายที่ดิน เมื่อได้รับการอนุมัติแก้ไขโครงการแล้ว จะต้องดำเนินการขออนุญาตถือกรรมสิทธิ์ที่ดินกับสำนักงานก่อน (ขอใช้สิทธิมาตรา 27) แล้วจึงไปดำเนินการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินกับกรมที่ดิน ต่อไป
ตารางที่ 1 สรุปการขอใช้สิทธิและประโยชน์ด้านที่ดิน






ขออภัยครับ ไม่มีข้อมูลส่วนนี้ ในภาษาที่ท่านเลือก !

Sorry, There is no information support your selected language !

Download และ ติดตั้งโปรแกรมอ่าน PDF

Download PDF Reader

Site map