Page 11 - BOI e-journal No 4 May-Jun 19
P. 11

   คุณณัฐศศิเล่าย้อนกลับไปเม่ือ 10 ปีท่ีแล้ว คุณพ่อของเธอ สร้างบริษัท ปาล์มพัฒนาชายแดนใต้ จากัด ขึ้นมาจาก แนวคิดที่เกิดขึ้นขณะที่เข้าไปรับพัฒนาพ้ืนที่นาร้างเพ่ือปลูก ปาล์มน้ามัน และได้เห็นว่าเกษตรกรในพื้นที่ไม่ค่อยใส่ใจดูแล ผลผลิตสักเท่าไร เนื่องจากขาดตลาดรับซื้อ ทาให้คุณสมนึก ให้ความสนใจธุรกิจการเกษตรเพิ่มเติมจากธุรกิจรับเหมา ก่อสร้างที่มีอยู่ “คุณพ่อมองว่า ในฐานะที่เราเป็นคนปัตตานี ปัญหาท่ีเกิด ในพ้ืนท่ีไม่ว่าจะเป็นปัญหาความมั่นคง ปัญหาเศรษฐกิจต่างๆ เพื่อช่วยลดปัญหาอย่างน้อยควรจะต้องเริ่มจากคนในก่อน และคุณพ่อคิดว่า เราควรจะใช้เศรษฐกิจนา เพื่อให้ชาวบ้าน มีงานทา มีรายได้ และเมื่อเขามีงานมีรายได้ ปัญหาส่วนหนึ่ง ก็จะลดลง เยาวชนที่เติบโตข้ึนมาก็จะมีการศึกษาจากการท่ี พ่อแม่มีรายได้ ปัญหาต่างๆ ก็จะลดลงไป นั่นคือ จุดเร่ิมต้น” จากความสาเร็จในการรับซื้อปาล์มน้ามัน จนทาให้เกษตรกร ในพื้นที่ให้ความใส่ใจดูแลผลผลิตที่มีอยู่เพิ่มขึ้น จนช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ราคาปาล์มน้ามันตกต่า ทาให้ครอบครัวมณีโชติ มองหาพืชเศรษฐกิจอื่นที่ยังมีโอกาสในการพัฒนาให้เป็น พืชเศรษฐกิจของพ้ืนที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้และได้บทสรุป คือ “มะพร้าว” พืชที่สามารถนามาแปรรูปได้หลากหลาย และมีอยู่ทั่วไปในพื้นที่ภาคใต้ คุณณัฐศศิมองว่า โรงงานที่ตั้งขึ้นสามารถรองรับปริมาณ ผลผลิตมะพร้าวได้ถึง 7 จังหวัดทางตอนใต้ของประเทศ ประกอบด้วย นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี นราธิวาส ยะลา สตูล และพัทลุง โดยเชื่อว่าจะสามารถทาให้มะพร้าว เป็นพืชเศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่งที่ช่วยสร้างรายได้ให้กับ ประชาชนในพื้นที่ เช่นเดียวกับที่ทามาแล้วกับปาล์มน้ามัน โรงงานแห่งนี้สามารถรองรับผลผลิตมะพร้าวได้ชั่วโมงละ 10,000 ลูก โดยเป็นการเตรียมทาโรงงานเพื่อรองรับ การขยายตัวในครั้งเดียว ไม่ต้องมีการลงทุนเพิ่มเช่นตอนที่ ทาโรงงานน้ามันปาล์ม ซึ่งมีการขยายโรงงานถึง 3 รอบ ทาให้ต้นทุนการทาธุรกิจสูงกว่าที่ควรจะเป็น   BOI e-Journal | 11 


































































































   9   10   11   12   13