Chat
x
toggle menu
toggle menu

Select Groups

All Group
  • All Group
  • นโยบายเเละมาตรการพิเศษในการส่งเสริม
  • การขอรับการส่งเสริมการลงทุน
  • การออกบัตรส่งเสริม
  • การเปิดดำเนินการ
  • การเเก้ไขโครงการ
  • การดำเนินการอื่น ๆ
  • การรายงานความคืบหน้าโครงการ (e-Monitoring)
  • การปฏิบัติหลังการได้รับการส่งเสริม
  • การยกเลิกบัตรส่งเสริม
  • เรื่องทั่วไป
  • การใช้สิทธิด้านที่ดิน
  • การใช้สิทธิด้านเครื่องจักร
  • การใช้สิทธิด้านช่างฝีมือ/ต่างด้าว
  • การใช้สิทธิด้านวัตถุดิบ
  • ประเภทกิจการ - การแพทย์
  • การใช้สิทธิด้านภาษีเงินได้นิติบุคคล
  • ประเภทกิจการ - รถยนต์ไฟฟ้า
  • ประเภทกิจการ - ศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศ (IBC) IPO และ TISO
  • ประเภทกิจการ - โรงแรม
  • ประเภทกิจการ - ผลิตผลิตภัณฑ์โลหะรวมทั้งชิ้นส่วนโลหะ
  • ประเภทกิจการ - กิจการผลิตเครื่่องจักร อุุปกรณ์และชิ้นส่วน
  • ประเภทกิจการ - กิจการศูนย์กระจายสินค้าระหว่า ประเทศด้วยระบบที่่ทันสมัย (IDC)
กรณีที่ชื่อเครื่องจักรในอินวอยซ์ไม่ได้เหมือนกับชื่อที่ BOI อนุมัติสามารถทำได้หรือไม่ เช่น BOI อนุมัติชื่อ Injection machine ชื่อในอินวอยซ์ Injection machine MNB44A-01 และมีผลต่อการอนุมัติของศุลกากรหรือไม่ (13 ธ.ค. 2564)

แนะนำให้ขอเพิ่มชื่อรองของเครื่องจักร ให้ตรงกับอินวอยซ์ เช่น ในกรณีที่สอบถามคือ เพิ่มชื่อรองเป็น Injection machine MNB44A-01 และยื่นสั่งปล่อยให้ตรงกับชื่อใบขนสินค้าขาเข้า(และอินวอยซ์)

ถ้าเรานำเข้าอะไหล่ของเครื่องจักรมาใช้งานเป็นเวลา 6 ปีแล้ว และเกิดการเสียไม่สามารถใช้งานต่อได้อีก บริษัทจะทำการขออนุญาตจำหน่ายแบบไม่มีภาระภาษีได้หรือไม่ ถ้าสามารถทำได้ หลังจากได้รับอนุมัติจากสำนักงานแล้ว เราสามารถนำอะไหล่ชิ้นดังกล่าวไปทิ้งตามกระบวนการของบริษัทต่อไปได้หรือไม่ และต้องให้หลักฐานการทิ้งต่อสำนักงานหรือไม่ (13 ธ.ค. 2564)

กรณีบริษัทนำเข้าเครื่องจักร (แม่พิมพ์ อะไหล่ ฯลฯ) เข้ามาเกินกว่า 5 ปี และประสงค์จะจำหน่ายออกจากโครงการ บริษัทสามารถยื่นขอจำหน่ายโดยไม่มีภาระภาษี ซึ่งเมื่อได้รับอนุมัติแล้ว จะนำไปจำหน่ายเป็นเศษเหล็ก หรือทำลาย หรือจัดการอย่างใดก็ได้ โดยไม่ต้องแจ้งขออนุญาตจาก BOI และไม่ต้องยื่นหลักฐานในการจำหน่ายต่อ BOI เพียงแต่จะต้องตัดรายการนั้นออกจากทะเบียนสินทรัพย์ของโครงการที่ได้รับส่งเสริมนั้น

บริษัทได้ทำการส่งเครื่องจักรไปซ่อม เมื่อทำการซ่อมเสร็จ ก็ทำการสั่งปล่อยจากการส่งซ่อม บริษัทจะได้รับสิทธิประโยชน์อะไรบ้าง (13 ธ.ค. 2564)

การสั่งปล่อยเครื่องจักรที่นำกลับเข้ามาจากการส่งไปซ่อมต่างประเทศ จะได้รับยกเว้นอากรขาเข้าและ VAT เฉพาะสำหรับค่าซ่อม

ส่วนอากรขาเข้าของเครื่องจักร จะได้รับยกเว้นตามใบสุทธินำกลับที่บริษัทยื่นดำเนินการไว้กับกรมศุลกากร

ตอนขอบัญชีรายการเครื่องจักร บริษัทขอหน่วยเป็น piece or unit อินวอยซ์ระบุส่งสินค้ามาให้ว่า สินค้า XXX.. (2 pcs/unit) ส่งมาให้จำนวน 1 unit อยากสอบถามว่า 1 unit เท่ากับ 1 set ที่แปลว่าหลายชิ้นหรือไม่ หรือ 1 set เหมือนกับ 1 pack (13 ธ.ค. 2564)

เนื่องจากหน่วย SET มีความหมายทั้งกรณีที่เป็นชุด (หลายชิ้น) หรือ 1 เครื่อง ดังนั้น ตามปกติเจ้าหน้าที่ BOI จึงจะไม่อนุมัติหน่วยของเครื่องจักรเป็น SET แต่จะอนุมัติเป็น PIECE OR UNIT

หากชื่อเครื่องจักรตามอินวอยซ์ เป็นรายการที่ตรงกับชื่อเครื่องจักรที่ได้รับอนุมัติในบัญชีรายการเครื่องจักร และในบัญชีระบุหน่วยเป็น PIECE OR UNIT ควรระบุหน่วยในอินวอยซ์เป็น UNIT (หรือ PIECE) เช่นกัน เพื่อให้การทำใบขนสินค้ามีหน่วยเป็น C62 ตรงตามการอนุมัติสั่งปล่อย

กรณีได้รับโอนเครื่องจักรที่ปลอดภาระภาษีแล้วเกิน 5 ปี ทำเรื่องแล้วโดยเป็นเครื่องจักรของลูกค้า และต่อมาลูกค้าบอกให้จำหน่ายทิ้งได้เลย สามารถจำหน่ายได้เลยหรือไม่ บริษัทต้องทำเรื่องขอ BOI ขอจำหน่ายหรือไม่ โดยเครื่องจักรทั้งหมดเป็นแม่พิมพ์ ได้รับโอนตั้งแต่ปี 2547 ในหนังสืออนุมัติจากบีโอไอระบุโอนโดยไม่มีภาระภาษีอากรที่ต้องชำระ
การดำเนินการจัดการเครื่องจักร/แม่พิมพ์ที่นำเข้าโดยใช้สิทธิ BOI แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ

1) ตัดบัญชีภาระภาษีเพื่อปลดภาระภาษีของเครื่องจักร/แม่พิมพ์ที่นำเข้ามาเกินกว่า 5 ปี แต่ยังจะต้องใช้ในโครงการต่อไปจนกว่าจะขอจำหน่ายออกจากโครงการ

2) จำหน่ายออกจากโครงการเพื่อปลดจากการเป็นเครื่องจักร BOI เช่น การจำหน่าย ส่งออกไปต่างประเทศ ทำลาย บริจาค หรือชำระภาษี เป็นต้น

กรณีที่สอบถาม บริษัท A ทำเรื่องตัดบัญชีภาระภาษีแม่พิมพ์ที่นำเข้ามาเกินกว่า 5 ปี แต่ไม่ได้ทำเรื่องจำหน่ายออกจากโครงการ คือ ได้ยื่นเรื่องขอโอนแม่พิมพ์ให้บริษัท B ทำให้เงื่อนไขการต้องใช้แม่พิมพ์ในโครงการ และภาระการขอจำหน่ายออกจากโครงการ ถูกโอนมาเป็นภาระหน้าที่ของ B ดังนั้น B ต้องยื่นขอจำหน่ายแม่พิมพ์ดังกล่าวออกจากโครงการ

หากในหนังสือที่ BOI อนุมัติให้ B รับโอนแม่พิมพ์ ระบุรายละเอียดครบถ้วน เช่น เลขที่/วันที่หนังสืออนุมัติสั่งปล่อย หรือเลขที่/วันที่ใบขนสินค้าขาเข้า หรือหาก B มีสำเนาใบขนสินค้าขาเข้าที่ได้รับจาก A บริษัท B น่าจะสามารถยื่นขอจำหน่ายเครื่องจักร (นอกระบบ/ไม่มีภาษี) ได้ แต่หากเอกสารไม่ครบถ้วน/ไม่เพียงพอ อาจติดปัญหาในขั้นตอนการอนุมัติของเจ้าหน้าที่ BOI

ทั้งนี้ หากท่านมีข้อสงสัยต้องการสอบถามเพิ่มเติม สามารถสอบถามได้ที่กองส่งเสริมการลงทุน 1 - 4 โทร 02-553-8111 กด 1 กดเลือก กองส่งเสริมการลงทุนที่ดูแลประเภทกิจการของท่าน หรือเข้าหารือได้ที่ : https://booking.boi.go.th

ขอสอบถามการนำเครื่องจักรที่ใช้สิทธิและประโยชน์สำหรับเครื่องจักร BOI ไปใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปที่ไม่ได้รับการส่งเสริม (NON BOI) เช่น ชิ้นส่วนโลหะ Body Valve 1W เป็นต้น ดังนี้ 1. ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป(Finish Goods) เป็นชนิดผลิตภัณฑ์ "ชิ้นส่วนโลหะ" เช่นเดียวกับชนิดผลิตภัณฑ์ตามบัตรส่งเสริมดังกล่าว จะสามารถใช้เครื่องจักร BOI ในการผลิตผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปชิ้นส่วนโลหะ Body Valve 1W ที่ไม่ได้รับการส่งเสริมBOI ได้หรือไม่ 2. หากใช้เครื่องจักร BOI ตามข้อ 1. ในการผลิตผลิตภัณฑ์ได้ บริษัทฯ จะต้องดำเนินการขออนุญาตจำหน่ายเครื่องจักรหรือไม่หรือ จำหน่ายเครื่องจักร ในกรณีที่นำไปใช้ในการผลิตที่เป็น "ชนิดผลิตภัณฑ์ที่แตกต่างกัน" เช่น ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ 3. วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปที่ไม่ได้รับการส่งเสริม จะต้องชำระภาษีอากรวัตถุดิบและวัสดุจำเป็นใช่หรือไม่ 4. ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป (Finish Goods) ที่ไม่ได้รับการส่งเสริม จะต้องชำระภาษีอากรผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปก่อนจำหน่ายในประเทศหรือไม่ 5. กรณีครบเปิดดำเนินการ จะนับเครื่องจักร BOI เป็นการลงทุนของกิจการที่ได้รับการส่งเสริม BOI ใช่หรือไม่อย่างไร

ตอบคำถามดังนี้

ข้อ 1 และ 2. เครื่องจักรที่นำเข้าโดยใช้สิทธิยกเว้นอากรขาเข้าตามมาตรา 28, 29 จะต้องใช้ในกิจการที่ได้รับส่งเสริมเท่านั้น หากจะนำไปผลิตสินค้าอื่นที่ไม่ได้รับส่งเสริม จะต้องได้รับอนุญาตจาก BOI ก่อน ซึ่งปกติจะอนุญาตในกรณีที่โครงการนั้นเปิดดำเนินการเต็มโครงการแล้ว

ข้อ 3. และ 4. การผลิตสินค้าที่ไม่ได้รับส่งเสริม จะใช้สิทธิใดๆ ของโครงการที่ได้รับส่งเสริมไม่ได้ บริษัทจะต้องชำระภาษีอากรตามปกติ

5. เครื่องจักรที่นำเข้าโดยใช้สิทธิยกเว้นอากรขาเข้าตามมาตรา 28, 29 และลงไว้ในทะเบียนสินทรัพย์จะนับเป็นมูลค่าการลงทุนของโครงการที่ได้รับส่งเสริมเท่านั้น

Q ถาม 2.1:

หากเป็นผลิตภัณฑ์ชนิดเดียวกันและมีกระบวนการผลิตเหมือนกัน แต่แตกต่างกันตรงที่การขายสินค้าสำเร็จรูป (Finish Goods) เป็นการขายแบบ BOI กับ NON BOI ก็ตามใช่หรือไม่

A ตอบ 2.1:

ผลิตภัณฑ์ตามโครงการที่ได้รับส่งเสริม คือผลิตภัณฑ์ที่ระบุในบัตรส่งเสริม และผลิตตามขั้นตอนการผลิตที่ได้รับอนุมัติ โดยใช้เครื่องจักรใหม่ตามเงื่อนไขในบัตรส่งเสริม หรือใช้เครื่องจักรเก่าจากต่างประเทศที่ได้รับอนุญาตตามเงื่อนไขของประกาศบริษัทจะต้องจัดทำบัญชีภายในแยกระหว่างโครงการ BOI และ Non BOI ให้ชัดเจน เนื่องจากผลิตภัณฑ์ที่เป็น Non BOI จะไม่สามารถใช้สิทธิและประโยชน์ของ BOI ได้

Negative list หมายถึง เครื่องจักรหาซื้อในไทยไม่ได้ หรือไม่ได้ผลิตในไทยคะ หากกรณีไม่ได้ผลิตในไทย แต่มีเทรดดิ้งขายในไทยแต่เราซื้อต่างประเทศ สามารถใช้สิทธิ ม.28 ได้ไหมคะ (ยกเว้นภาษีนำเข้าเครื่องจักร)

1. Negative List หมายถึง บัญชีรายการเครื่องจักรที่มีผลิตหรือประกอบในประเทศ จึงไม่สามารถนำเข้าโดยใช้สิทธิยกเว้น/ลดหย่อนอากรขาเข้าตามมาตรา 28 หรือ 29 ได้

2. ในการใช้สิทธิยกเว้นลดหย่อนอากรขาเข้าเครื่องจักร ผู้นำเข้าจะต้องเป็นผู้ได้รับส่งเสริม จึงจะใช้สิทธิได้

- หากจำเป็นต้องซื้อจาก บ.Trading จะต้องมีการโอนสิทธิการนำเข้าจาก บ.Trading เป็นผู้ได้รับส่งเสริม (สลักหลัง consignee ชื่อผู้ได้รับการส่งเสริม) ในใบขนก่อนการเดินพิธีการขาเข้า และผ่านพิธีการขาเข้าโดยมีชื่อผู้ได้รับส่งเสริมเป็นชื่อผู้นำเข้า จึงจะใช้สิทธิได้
- แต่หาก บ.Trading เป็นผู้นำเข้าโดยชำระอากรขาเข้าแล้ว และต่อมาจำหน่ายให้ผู้ได้รับส่งเสริม จะไม่สามารถใช้สิทธิยกเว้นภาษีตามมาตรา 28, 29 ของผู้ได้รับส่งเสริม

ขอคำจำกัดความของคำว่า Modify เครื่องจักรในกรณีทำส่งซ่อมต่างประเทศ หากเป็นการส่งซ่อมเพื่อ Modify เครื่องจักร ผิดข้อกำหนดของ BOI หรือไม่

BOI ไม่ได้กำหนดนิยามของการส่งเครื่องจักรไป Modify ต่างประเทศ โดยการขอส่งเครื่องจักรไป Modify ต่างประเทศ สามารถยื่นขออนุญาต/และยื่นสั่งปล่อยในหัวข้อการส่งเครื่องจักรไปซ่อมต่างประเทศ ซึ่งจะได้รับยกเว้นอากรขาเข้าตามสิทธิที่ได้รับอยู่เดิม และบริษัทยังคงต้องทำใบสุทธินำกลับ เช่นเดียวกับการส่งเครื่องจักรไปซ่อมต่างประเทศ

รายการเครื่องจักรที่อยู่ในระบบ EMT และระบบเดิม MCTS เป็นการแสดงว่าในโครงการที่ได้รับการส่งเสริมมีรายการเครื่องจักรตามที่นำเข้ามาภายใต้สิทธิ BOI ใช่หรือไม่ และเจ้าหน้าที่จะตรวจสอบรายการเครื่องจักรจากระบบดังกล่าวใช่หรือไม่ โครงการที่ได้บัตรส่งเสริมของบริษัทเป็นโครงการที่รับโอนมาจากบริษัทในเครือเดียวกัน มีเอกสารการนำเข้าเครื่องจักรภายใต้ BOI ตั้งแต่เปิดโครงการ เมื่อ 20 กว่าปี ซึ่งเอกสารบางชุดเลขอนุมัติ มีระบบ MCTS และ EMT แต่บางชุดไม่มีทั้งใน 2 ระบบ ไม่ทราบว่าเครื่องจักรยังอยู่ในเงื่อนไขของบีโอไอหรือไม่

BOI ได้กำหนดวิธีการใช้สิทธิยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักรจากเดิมที่เก็บข้อมูลและเอกสารหลักฐานต่างๆ ด้วยกระดาษมาเป็นเก็บข้อมูลบนฐานข้อมูลระบบ MCTS (ยื่นข้อมูลด้วย Diskette) ประมาณปี 2544 และต่อมาพัฒนาเป็นระบบ eMT (ยื่นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต) ประมาณปี 2554

เนื่องจากการพัฒนาระบบแต่ละครั้ง มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างฐานข้อมูล ดังนั้นในช่วงรอยต่อของการปรับเปลี่ยนระบบ เครื่องจักรที่ได้นำเข้าโดยใช้สิทธิยกเว้นอากรแล้ว จะยังคงเก็บข้อมูลไว้ในระบบเดิม แต่เครื่องจักรที่ยังไม่ได้ใช้สิทธิ จะอนุมัติสั่งปล่อยด้วยระบบใหม่

ดังนั้นโครงการที่ได้รับส่งเสริมมาเป็นเวลานาน และได้รับสิทธินำเข้าเครื่องจักรหรือแม่พิมพ์ตลอดระยะเวลาที่ได้รับส่งเสริม อาจนำเข้าเครื่องจักรโดยยกเว้นอากรขาเข้าภายใต้ระบบ eMT, MCTS และหนังสืออนุมัติสั่งปล่อย (กรณีสั่งปล่อยก่อนเริ่มใช้ระบบ MCTS) ร่วมกันก็ได้

กรณีเป็นการสั่งปล่อยตามหนังสืออนุมัติ ที่ไม่มีข้อมูลในระบบ eMT บริษัทสามารถยื่นขอตัดภาระภาษีเครื่องจักรได้ เนื่องจากนำเข้าเกินกว่า 5 ปีแล้ว โดยให้ยื่นเรื่องในระบบ eMT โดยเลือกเมนู "สั่งปล่อยนอกระบบ" และแนบสำเนาหลักฐานแสดงการนำเข้าโดยใช้สิทธิ เช่น สำเนาใบขนขาเข้า หรือสำเนาหนังสืออนุมัติสั่งปล่อย

เครื่องจักรที่ได้รับอนุมัติให้ใช้ในโครงการต้องไม่เป็นเครื่องจักรที่มีวันนำเข้า (วันที่เรือถึงท่าเรือในประเทศไทยระบุบนหน้าใบขนขาเข้า) ก่อนวันที่ยื่นขอรับการส่งเสริมออนไลน์ใช่หรือไม่ ตัวอย่าง เช่น ยื่นขอรับการส่งเสริมออนไลน์โดยกดยื่นเรื่องในวันนี้ เครื่องจักรที่สามารถใช้ในโครงการได้ต้องเป็นเครื่องจักรที่มีวันนำเข้าตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปเท่านั้น เครื่องจักรที่มีวันนำเข้าก่อนวันนี้จะไม่สามารถใช้ในโครงการได้ ใช่หรือไม่

1. เครื่องจักรที่นำเข้ามาก่อนวันที่ขอรับส่งเสริม สามารถใช้ในโครงการได้ แต่จะไม่ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักรนั้น ทั้งนี้จะต้องระบุในคำขอฯว่าจะมีการใช้เครื่องจักรที่นำเข้ามาก่อนวันที่ขอรับส่งเสริม และเครื่องจักรนั้นจะต้องไม่เคยใช้ผลิตในเชิงพาณิชย์มาก่อน

2. วันที่ขอรับการส่งเสริม คือวันที่ BOI ตรวจสอบข้อมูลและออกเลขที่/วันที่ลงรับคำขอ ไม่ใช่วันที่บริษัทส่งยื่นคำขอในระบบออนไลน์

ปัจจุบันบริษัทฯ ได้ยื่นเปิดดำเนินการไปแล้ว แต่ติดปัญหาเนื่องจากบริษัทฯ ใช้สิทธิขออนุมัติสั่งปล่อยเครื่องจักรมากกว่าจำนวนที่ติดตั้งจริงในโครงการ ดังนั้นในส่วนที่เกินบริษัทฯ จึงขอชำระภาษีอากรผ่านระบบ EMT และได้รับอนุมัติเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อจากนี้บริษัทฯ ต้องดำเนินการอย่างไรบ้าง

บริษัทฯ นำเข้าเครื่องจักรโดยใช้สิทธิยกเว้นอากรขาเข้ามากกว่าจำนวนเครื่องจักรที่ติดตั้งอยู่จริง ดังนั้น เครื่องจักรที่ไม่ได้ติดตั้งอยู่จริง จึงเป็นเครื่องที่ใช้สิทธิผิดเงื่อนไขในบัตรส่งเสริม และมีภาระต้องชำระภาษีอากรตามสภาพ ณ วันที่นำเข้า และเบี้ยปรับ VAT

ขั้นตอนคือเมื่อได้รับอนุญาตจาก BOI ให้ชำระภาษีแล้ว ให้ติดต่อกรมศุลกากรเพื่อขอชำระภาษีอากร หลังจากชำระภาษีเสร็จสิ้นแล้ว ให้ยื่นตัดบัญชีเครื่องจักรในระบบ EMT ต่อไป

บริษัทได้รับการส่งเสริมประเภทกิจการผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ จะนำเข้าแม่พิมพ์ที่เป็นทรัพย์สินของลูกค้า บริษัทเป็นคนนำเข้าเอง บริษัทสามารถใช้สิทธิตามมาตรา 28 ได้หรือไม่

สามารถใช้สิทธิยกเว้นภาษีอากรตามมาตรา 28 ได้ โดยมีข้อที่ต้องระวังคือ

1. ชื่อผู้นำเข้า จะต้องเป็นชื่อบริษัทที่ได้รับส่งเสริม

2. ต้องใช้ในโครงการที่ได้รับส่งเสริม

3. การนำเข้า อาจไม่มีการเรียกเก็บค่าแม่พิมพ์ก็ได้ เช่น ลูกจ้าง ต่างประเทศส่งแม่พิมพ์มาเพื่อว่าจ้างผลิต โดยแม่พิมพ์ยังเป็นสินทรัพย์ของลูกค้า แต่จะต้องระบุราคาประเมิน เพื่อการประเมินภาษีศุลกากรให้ถูกต้อง

ถาม Q1.1:

ในการประเมินภาษีศุลกากร อันนี้ หมายถึง อากรขาเข้า 0% + ภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% ใช่หรือไม่ เพราะ ม.28 คือ ได้รับยกเว้นอากรขาเข้า

ตอบ A1.1:

แม้ว่าจะใช้สิทธิ ม.28 ในการยกเว้นอากรขาเข้าและ VAT แต่ในขั้นตอนผ่านพิธีการศุลกากร ก็ต้องระบุพิกัดสินค้า และราคาสินค้า ให้ถูกต้อง เพื่อการประเมินภาษีอากร (แม้จะได้รับยกเว้นภาษีก็ตาม)

ถาม Q1.2:

ในกรณีที่มีบริษัทแม่อยู่ที่ประเทศจีน แล้วบริษัทแม่ไปจ้าง vender ทำแม่พิมพ์ มีการจ่ายเงินกันเรียบร้อย แต่ฝากแม่พิมพ์ไว้ที่ vender อยากทราบว่า ทรัพย์สินจะเป็นของบริษัทแม่หรือว่า vender และถ้าบริษัทลูกต้องการใช้แม่พิมพ์ตัวนี้ บริษัทแม่สามารถโอนแม่พิมพ์มาให้บริษัทลูกที่ไทยได้หรือไม่

ตอบ A1.2:

เป็นคำถามที่ไม่เกี่ยวกับหลักเกณฑ์ของ BOI จึงขอตอบตามความเห็นส่วนตัว คือ

1. แม่พิมพ์เป็นสินทรัพย์ของบริษัทแม่ แต่ทำสัญญากับเวนเดอร์ เพื่อว่าจ้างผลิต โดยฝากเก็บแม่พิมพ์ไว้กับเวนเดอร์
2. บริษัทแม่จะโอน (จำหน่าย) แม่พิมพ์ให้กับบริษัทลูกในประเทศไทยก็ได้ และบริษัทลูกสามารถใช้สิทธิยกเว้นอากรขาเข้าแม่พิมพ์นั้นได้ตามหลักเกณฑ์ปกติ
สอบถามเกี่ยวกับการจำหน่ายเครื่องจักรที่มีการนำเข้ามาแล้วเป็นเวลา 15 ปี 2 เดือน กรณีเครื่องที่มีอายุเกิน 15 ปี บริษัทต้องการนำเข้าเครื่องจักรทดแทน เนื่องจากชำรุด ไม่สามารถใช้งานได้แล้ว กรณีนี้ยังต้องดำเนินการขออนุญาตจำหน่ายเครื่องจักรตัวเดิมหรือไม่ (เนื่องจากเคยทราบมาว่า เครื่องอายุเกิน 15 ปีแล้ว ไม่ต้องดำเนินการขออนุญาตจำหน่าย)
หากบริษัทไม่ประสงค์จะใช้เครื่องจักรที่นำเข้า โดยใช้สิทธิยกเว้นภาษีอากรตามมาตรา 28 ในโครงการที่ได้รับส่งเสริมอีกต่อไป ให้ยื่นขอจำหน่ายเครื่องจักรออกจากโครงการ ไม่ว่าเครื่องจักรนั้นจะนำเข้ามากี่ปีแล้วก็ตาม
โดยหากเครื่องจักรนั้นมีอายุเกินกว่า 5 ปีนับจากวันนำเข้า จะอนุญาตให้จำหน่ายออกจากโครงการโดยไม่มีภาระภาษี
การส่งคืนเครื่องจักร
การส่งเครื่องจักรที่นำเข้ามาด้วยสิทธิ BOI กลับต่างประเทศ มีขั้นตอนการดำเนินการอย่างไร
การส่งคืนเครื่องจักรไปต่างประเทศ ให้ดำเนินการดังนี้

1. ยื่นคำร้องในระบบ eMT ในหัวข้อ “ส่งคืนเครื่องจักรไปต่างประเทศ”

2. หากเครื่องจักรที่จะส่งคืน มีข้อมูลในระบบ eMT ให้เลือกข้อ 1 เป็น “ในระบบ” แต่หากไม่มีข้อมูลในระบบ eMT ให้เลือกข้อ 1 เป็น “นอกระบบ” พร้อมแนบหลักฐานการใช้สิทธิยกเว้นภาษีของเครื่องจักรนั้น เช่น สำเนาใบขนสินค้าขาเข้าที่ระบุเลขอนุมัติสั่งปล่อยของ BOI เป็นต้น

3. หลังจากได้รับอนุมัติ จะต้องส่งคืนเครื่องจักรไปต่างประเทศภายใน 90 วัน

4. ยืนยันการส่งออก โดยคีย์เลขใบขนขาออกลงในระบบ

5. เครื่องจักรที่ส่งคืนกลับไปต่างประเทศ จะไม่มีภาระภาษี

6. หากการส่งคืนเครื่องจักร ทำให้กำลังผลิตของโครงการลดลงมากกว่า 20% หรือทำให้กรรมวิธีการผลิตไม่ครบถ้วนตามโครงการที่ได้รับส่งเสริม จะต้องลดขนาดกิจการหรือแก้ไขขั้นตอนการผลิตให้สอดคล้องกับข้อเท็จจริงด้วย

ขอขยายระยะเวลานำเข้าเครื่องจักร
บริษัทครบกำหนดนำเข้าเครื่องจักรแล้ว โดยได้รับอนุมัติบัญชีเครื่องจักรแล้ว และนำเข้าเครื่องจักรเข้ามาครบตามขั้นตอนที่ขออนุมัติแล้ว
ขอสอบถามว่า
1. สามารถขอขยายเวลานำเข้าเครื่องจักรได้หรือไม่ เนื่องจากยังต้องมีการนำเข้าชิ้นส่วนส่วนประกอบบางตัวของเครื่องจักรและแม่พิมพ์
2. หากขอเวลาระยะเวลานำเข้าเครื่องจักรได้ ต้องให้เหตุผลว่าอย่างไร

1. ตามประกาศ สามารถขอขยายเวลานำเข้าเครื่องจักรได้ 3 ครั้ง ครั้งละไม่เกิน 1 ปี

2. กรณีนำเครื่องจักรเข้ามาครบแล้ว แต่จะขอขยายเวลานำเข้าเพื่อนำเข้าแม่พิมพ์ หรืออะไหล่ของเครื่องจักร อาจไม่ได้รับอนุมัติให้ขยายเวลา เนื่องจาก BOI อาจพิจารณาว่าบริษัทได้ลงทุนครบตามโครงการที่ยื่นขอส่งเสริมแล้ว

3. แต่หากบริษัทชี้แจงเหตุผลที่เชื่อได้ว่า กำลังผลิตหรือกรรมวิธีการผลิตยังไม่ครบถ้วนตามที่ได้รับส่งเสริม เช่น คำนวณกำลังผลิตของเครื่องจักรผิดพลาด สูงเกินกว่าที่ผลิตได้จริง ทำให้มีกำลังผลิตยังไม่ครบตามโครงการ หรือมีการผลิตสินค้ารุ่นใหม่/มาตรฐานใหม่ ซึ่งต้องมีนำเข้าเครื่องตรวจสอบชนิดใหม่เพิ่มเติม ก็เป็นเหตุผลที่สามารถอนุมัติให้ขยายเวลานำเข้าเครื่องจักรได้

นำเครื่องจักรไปให้ผู้อื่นผลิตชิ้นงานแล้วนำกลับมาผลิตต่อในโครงการ
บริษัทฯ ได้ขอแก้ไขและได้รับอนุมัติขั้นตอนการนำเครื่องจักรไปว่าจ้างผู้อื่นผลิตชิ้นงานให้แล้วนำชิ้นงานกลับมาผลิตต่อในโครงการ
1. บริษัทต้องยื่นขออนุญาตนำเครื่องจักรไปให้บุคคลอื่นใช้อีกหรือไม่
2. กรณีต้องขออนุญาตตามข้อ 1 และเจ้าหน้าที่อนุมัติแล้ว การอนุมัติจะมีผลย้อนไปถึงวันที่ยื่นคำขอหรือไม่ (ในกรณีที่บริษัทจะนำเครื่องจักรออกไป ณ วันที่ยื่นคำขอ)
หากในขั้นตอนการผลิตที่ได้รับส่งเสริม ระบุว่ามีการนำแม่พิมพ์ (หรือเครื่องจักร) และ/หรือวัตถุดิบ ไปว่าจ้างผลิต เมื่อบริษัทจะนำแม่พิมพ์/วัตถุดิบนั้นๆ ออกจากโรงงานเพื่อใช้เพื่อการว่าจ้างผลิต ตามขั้นตอนที่ได้รับอนุมัตินั้น ไม่ต้องยื่นขออนุญาตจาก BOI อีก

ขออภัยครับ ไม่มีข้อมูลส่วนนี้ ในภาษาที่ท่านเลือก !

Sorry, There is no information support your selected language !

Download และ ติดตั้งโปรแกรมอ่าน PDF

Download PDF Reader

Site map