ตามความหมายของ BOI เงินลงทุน คือ จำนวนเงินทั้งหมดที่ใช้ไปเพื่อดำเนินการโครงการนั้น เช่น ค่าที่ดิน ค่าก่อสร้าง ค่าเครื่องจักร ค่าสินทรัพย์ต่างๆ และเงินทุนหมุนเวียน เป็นต้น
เงินลงทุนนี้ มีที่มาหลักๆ คือ 1) เงินของเราเอง คือเงินทุนจดทะเบียนที่เรียกชำระ และ 2) เงินของคนอื่น คือ เงินกู้ ในการขอรับการส่งเสริมทั่วไป BOI จะกำหนดเงื่อนไขว่า ต้องใช้เงินของเราเองไม่น้อยกว่า 1 ส่วน และกู้ไม่เกิน 3 ส่วน (คือมีอัตราส่วนหนี้สินต่อทุนจดทะเบียนไม่เกิน 3:1)
กรณีที่สอบถาม คือ บริษัทคงจะยื่นโครงการใหม่เข้าไป โดยมีขนาดการลงทุนประมาณ 2 ล้านบาท บีโอไอก็เลยกำหนดเงื่อนไขว่า ต้องเพิ่มทุนจดทะเบียนและเรียกชำระไม่น้อยกว่า 0.5 ล้านบาท (ส่วนที่เหลือ 1.5 ล้าน ใช้เงินกู้ก็ได้) ส่วนเงื่อนไข "ขนาดการลงทุน (ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน) ไม่น้อยกว่า 1 ล้านบาท" นั้น เป็นเงื่อนไขพื้นฐาน ซึ่งกำหนดเหมือนกันทุกโครงการ (ยกเว้นโครงการ SME) คือไม่ว่าจะยื่นโครงการขอรับส่งเสริมที่มีขนาดการลงทุน 2 ล้านบาท หรือ 200 ล้านบาท หรือ 2,000 ล้านบาท บีโอไอก็จะกำหนดเงื่อนไขเหมือนกันว่า "ต้องมีขนาดการลงทุน (ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน) ไม่น้อยกว่า 1 ล้านบาท"
ขนาดการลงทุนไม่น้อยกว่า 1 ล้านบาทนี้ มีวิธีนับแตกต่างกัน ระหว่างโครงการริเริ่ม กับโครงการขยาย จึงต้องศึกษาทำความเข้าใจให้ถูกต้องด้วย
วิธีการคำนวณขนาดการลงทุน (ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน) โครงการริเริ่ม โครงการขยาย ค่าก่อสร้าง O O ค่าเครื่องจักร O O ค่าสินทรัพย์อื่นๆ O X ค่าใช้จ่ายก่อนเปิดดำเนินการ O X ค่าที่ดิน X X ค่าวิชาการ X X เงินทุนหมุนเวียน X X
ข้อ 5.4 รายละเอียดเครื่องจักร หมายถึงเครื่องจักรที่มีแผนจะลงทุนใหม่สำหรับโครงการที่ยื่นขอส่งเสริม ทั้งนี้เครื่องจักรเก่าใช้แล้วในประเทศ ไม่สามารถนำมานับรวมเป็นส่วนหนึ่งของโครงการได้ นอกจากนี้อุปกรณ์สำนักงานอื่นๆ ไม่นับเป็นเครื่องจักร แต่นับเป็นสินทรัพย์อื่น ๆ
บริษัทที่มีหุ้นต่างชาติข้างมาก ไม่มีสิทธิถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดิน เว้นแต่จะเป็นไปตามกฎหมายพิเศษ เช่น พรบ.ส่งเสริมการลงทุน หรือ พรบ.การนิคมอุตสาหกรรม เป็นต้น
พรบ.ส่งเสริมการลงทุน กำหนดไว้ว่า หากบริษัทต่างชาติเลิกกิจการที่ได้รับส่งเสริมการลงทุน จะต้องจำหน่ายที่ดินที่ได้รับอนุญาตให้ถือครองตาม พรบ.ส่งเสริมการลงทุน ภายใน 1 ปี นับจากเลิกกิจการ กรณีนี้ แม้ไม่ใช่เป็นการเลิกกิจการ แต่เป็นการย้ายสถานประกอบการ ดังนั้น ที่ดินเก่าที่เคยถือครอง จึงไม่ใช่ที่ดินสำหรับประกอบกิจการที่ได้รับส่งเสริมตามโครงการนั้นอีกต่อไป (จึงมีผลเท่ากับเลิกกิจการในที่ตั้งเดิม) ดังนั้น บีโอไอจึงกำหนดให้บริษัทจำหน่ายที่ดินที่ถือครองตาม พรบ.ส่งเสริมการลงทุน ภายใน 1 ปี นับจากวันที่เลิกกิจการ (กรณีนี้คือวันที่อนุญาตให้เปลี่ยนที่ตั้ง) บริษัทเดิมตั้งอยู่ในนิคมปิ่นทอง ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินตาม พรบ.การนิคม ไม่ได้ถือครองที่ดินตาม พรบ.ส่งเสริมลงทุน จึงไม่มีหน้าที่ต้องจำหน่ายที่ดินใน 1 ปี ตามที่บีโอไอแจ้ง แต่มีหน้าที่ต้องแจ้งให้การนิคมอุตสาหกรรม (กนอ.) ทราบ และหากบริษัทจะไม่มีการลงทุนในนิคมปิ่นทองอีกต่อไป ก็ต้องจำหน่ายที่ดินตามเงื่อนไขที่ กนอ จะกำหนด
ประกาศสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
ที่ ป.1/2546 ลงวันที่ 16 มกราคม 2546 เรื่อง คำจำกัดความของส่วนประกอบ
อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ โครงโรงงานสำเร็จรูป วัตถุดิบและวัสดุจำเป็น
หลังจากที่ได้รับอนุมัติจาก BOI และได้ไปชำระภาษีอากรผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปต่อกรมศุลกากรแล้ว เท่ากับว่า ได้ปลดภาระภาษีอากรของวัตถุดิบที่นำเข้ามาโดยใช้สิทธิยกเว้นภาษีมาตรา 36 ที่ได้ใช้ไปในการผลิตสินค้าดังกล่าวแล้ว บริษัทจึงสามารถจำหน่ายสินค้านั้นในประเทศได้และสามารถนำหนังสืออนุมัติจาก BOI และหลักฐานการชำระภาษี ไปยื่นตัดบัญชีวัตถุดิบได้
ผู้ได้รับส่งเสริมจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขในการเป็นผู้ได้รับส่งเสริม
และจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องกับการใช้สิทธิประโยชน์ในแต่ละเรื่องโดยเคร่งครัด
โดยโครงการแต่ละโครงการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนอาจได้รับสิทธิและประโยชน์แตกต่างกันไปตามประเภทกิจการ
สถานที่ตั้งโรงงาน และนโยบายส่งเสริมการลงทุนในช่วงเวลานั้นๆ ผู้ได้รับส่งเสริมจะได้รับอนุญาตให้ใช้สิทธิประโยชน์นั้นๆ
ไปจนสิ้นสุดระยะเวลาที่กำหนดไว้ในบัตรส่งเสริม
แม้ว่าในภายหลังอาจมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายในการให้สิทธิประโยชน์ไปเป็นอย่างอื่นก็ตาม
ภายหลังสิทธิและประโยชน์ทางด้านภาษีอากรสิ้นสุดลง
ผู้ได้รับส่งเสริมยังคงมีสถานะเป็นผู้ได้รับส่งเสริมอยู่
โดยยังคงได้รับหลักประกันการคุ้มครองตามกฎหมาย
และยังมีหน้าที่จะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขในบัตรส่งเสริมตลอดไป จนกว่าจะขอยกเลิกบัตรส่งเสริมนั้น
การยื่นรายงานการใช้วัตถุดิบในประเทศทุกรอบ 6 เดือน ใช้เฉพาะหนังสือนำส่งที่เป็นหัวจดหมายบริษัท และตารางรายงานการใช้วัตถุดิบ เท่านั้น
หากเป็นการขยายกำลังการผลิตในผลิตภัณฑ์อาหารทางการแพทย์/อาหารเสริม
ผลิตภัณฑ์ที่ขอรับการส่งเสริมจะต้องได้รับการขึ้นทะเบียนกับ อย.
หรือหน่วยงานมาตรฐานอื่นที่เป็นมาตรฐานสากล ก่อนขอรับการส่งเสริม แต่หากเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ไม่เคยมีมาก่อน
ก็จะต้องมีหลักฐานทางวิชาการว่าเป็นอาหารทางการแพทย์/อาหารเสริม และสำหรับอาหารเสริมจะต้องมีกระบวนการสกัดให้ได้
Active
ingredient ในโครงการด้วย
เบื้องต้นให้ตรวจสอบและแก้ไขข้อมูล โดย (A) มูลค่าสินทรัพย์ ต้องเท่ากับ (B) มูลค่าหนี้สิน รวมกับ (C) มูลค่าส่วนของผู้ถือหุ้น (ส่วนของเจ้าของหรือทุน) ตามหลักการบัญชีทั่วไป หรือ (A) = (B) + (C) ตามรูปด้านล่าง
เนื่องจากการออกหนังสือติดตามเป็นการออกอัตโนมัติจากระบบฯ รวมถึงช่วงเวลาที่บริษัทกดส่งข้อมูลหรือได้รับใบอนุญาตเปิดดำเนินการนั้น ระบบฯ อาจออกหนังสือไปก่อนหน้าแล้ว ทำให้บริษัทยังได้รับหนังสือติดตาม ดังนั้น หากระบบฯ ขึ้นว่าได้ส่งข้อมูลแล้ว บริษัทไม่ต้องดำเนินการอะไรหรือทำหนังสือแจ้งเข้ามายังสำนักงานแต่อย่างใด
ให้รายงานรายการลงทุนเฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องกับการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเท่านั้น ทั้งนี้ รายการลงทุนที่เคยแสดงในการยื่นขอรับการส่งเสริมสามารถใช้เป็นแนวทางพิจารณาว่ารายการลงทุนใดเป็นการลงทุนตามโครงการ
กรณีที่โครงการเดิมได้รับส่งเสริมโดยเป็นการใช้เครื่องจักรใหม่ทั้งสิ้น แต่ต่อมาต้องการใช้เครื่องจักรเก่าบางส่วนหรือทั้งหมด จะต้องยื่นขอแก้ไขโครงการ เพื่อแก้ไขสภาพเครื่องจักร ให้สามารถใช้เครื่องจักรเก่าในโครงการได้ แนวทางพิจารณาคือ
1.กรณีเป็นโครงการที่ยื่นขอรับส่งเสริมก่อนวันที่ 1 มกราคม 2558 ใช้หลักเกณฑ์ตามประกาศที่ 1/2543 คือ
1)ให้ใช้เครื่องจักรเก่าที่อายุไม่เกิน 10 ปี โดยได้รับยกเว้นอากรขาเข้า
2)ให้ใช้เครื่องจักรเก่าเกิน 10 ปี โดยไม่ให้ได้รับยกเว้นอากรขาเข้า
2.กรณีเป็นโครงการที่ยื่นขอรับส่งเสริมตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2558 ใช้หลักเกณฑ์ตามประกาศที่ 2/2557 และ 6/2558 คือ
1)ให้ใช้เครื่องจักรเก่าไม่เกิน 5 ปี โดยนับเป็นขนาดลงทุน แต่ไม่ให้ได้รับยกเว้นอากรขาเข้า
2)ให้ใช้เครื่องจักรเก่าตั้งแต่ 5 ปี แต่ไม่เกิน 10 ปี โดยไม่นับเป็นขนาดการลงทุน และไม่ให้ได้รับยกเว้นอากรขาเข้า
สรุป
การใช้เครื่องจักรเก่าในโครงการที่ได้รับส่งเสริม จะต้องได้รับอนุญาตจาก BOI และมีการระบุในบัตรส่งเสริมว่าให้มีการใช้เครื่องจักรเก่าได้ ทั้งนี้ เครื่องจักรเก่าจะต้องมีใบรับรองประสิทธิภาพจากสถาบันที่เชื่อถือได้ ตามเงื่อนไขที่ BOI กำหนดด้วย
--------------------------------------------------------------------------------
ตอบคำถาม
สามารถยื่นขอแก้ไขโครงการเพื่อใช้เครื่องจักรเก่า โดย BOI จะพิจารณาอนุญาตหรือไม่อนุญาตตามแนวทางพิจารณาข้างต้น
การใช้เครื่องจักรเก่าที่นำเข้าโดยชำระภาษีเอง จะต้องเป็นกรณีที่มีการระบุเงื่อนไขในบัตรส่งเสริมให้ใช้เครื่องจักรเก่าได้ด้วย มิฉะนั้น จะถือว่าเป็นเครื่องจักรนอกโครงการ BOI ซึ่งไม่สามารถนำมานับเป็นกำลังผลิต หรือใช้สิทธิประโยชน์ใดๆตามโครงการได้
โดยหลักการ น่าจะเข้าใจถูกต้องแล้ว หากเครื่องฉีดพลาสติกมี cycle time ในการผลิต 8 ชิ้น ต่อ 15.5 วินาที จะเท่ากับ 30.96 ชิ้น/นาที/เครื่อง จากนั้น คูณกับจำนวนเครื่อง และเวลาทำงานตามบัตรส่งเสริม เป็นกำลังผลิตสูงสุดต่อปี หากกำลังผลิตสูงสุดที่คำนวณได้ บวกลบไม่เกิน 20% ของกำลังผลิตตามบัตรส่งเสริม ก็จะให้เปิดดำเนินการตามกำลังผลิตในบัตรส่งเสริม
แต่กรณีที่สอบถาม หากสินค้าที่ได้รับส่งเสริมเป็นการประกอบชิ้นส่วนพลาสติกหลายชิ้นเข้าด้วยกัน การคำนวณ cycle time ก็ต้องคำนวณจากสินค้าที่ผลิตจำหน่าย ไม่ใช่คำนวณจากชิ้นส่วนพลาสติกแต่ละชิ้น
1. การรับจ้างผลิตสินค้าที่ไม่ได้รับส่งเสริม หรือไม่ครบตามกระบวนการผลิต ปกติจะใช้วิธีขออนุญาตใช้เครื่องจักรเพื่อการอื่น ซึ่งกรณีของบริษัท ก็คือการขอใช้เครื่อง Test เพื่อรับจ้างตรวจสอบสินค้าที่บริษัทไม่ได้ผลิตเอง เงื่อนไขในการอนุญาตคือ จะต้องได้รับอนุญาตเปิดดำเนินการครบตามโครงการแล้ว และจะไม่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้จากการรับจ้าง
2. รายได้จากการรับจ้างที่เกิดก่อนหน้านั้น ก็ไปชำระภาษีเงินได้ให้ถูกต้อง และถ้าได้รับอนุญาตเปิดดำเนินการแล้ว ก็ให้ยื่นขออนุญาตใช้เครื่องจักรเพื่อการอื่น แต่ถ้ายังไม่ได้รับอนุญาตเปิดดำเนินการ ก็จะอนุมัติให้ไม่ได้ หากได้รับอนุญาตให้ใช้เครื่องจักรเพื่อการอื่น เรื่องที่เหลือก็คงไม่มีปัญหาอะไร
3. การขอผ่อนผันกรรมวิธีการผลิต คือ การที่บริษัทไม่สามารถทำการผลิตได้ครบตามขั้นตอนที่ได้รับการส่งเสริมเป็นการชั่วคราว เช่น ตามโครงการต้องฉีดชิ้นส่วนพลาสติกขึ้นเอง แต่ในช่วงเริ่มผลิตใหม่ๆ อาจมีปัญหาในการควบคุมคุณภาพ จึงต้องขออนุญาตนำชิ้นส่วนที่ฉีดขึ้นรูปแล้วมาใช้บางส่วนเป็นการชั่วคราวด้วย เป็นต้น
1. ถ้าบริษัทไม่ได้ใช้สิทธิประโยชน์ด้านเครื่องจักร ก็ไม่เกิดภาระภาษีอะไร
2. ส่วนวัตถุดิบ ถ้าเป็นการซื้อในประเทศจากบริษัท BOI ยอดนำเข้าคงเหลือ (balance) ก็จะเป็น 0 ซึ่งก็ไม่มีภาระภาษีอะไร -> แต่ก่อนจะยกเลิกบัตรส่งเสริม ขอให้ตรวจสอบกับซัพพลายเออร์ BOI ก่อนว่า ได้โอนสิทธิตัดบัญชีวัตถุดิบกลับไปให้ครบถ้วนแล้วหรือยัง ถ้ายังไม่ครบ ก็รีบตัดบัญชีและโอนสิทธิไปให้ครบ
3. มีการใช้สิทธิยกเว้นภาษีไปแล้วหรือไม่ หากมีการใช้สิทธิไปแล้ว ต้องยื่นเปิดดำเนินการกับ BOI ให้ผ่าน หากเปิดดำเนินการไม่ได้ จะถูกเพิกถอนสิทธิการยกเว้นภาษีเงินได้ย้อนหลังทั้งหมด แต่หากยังไม่ได้เปิดดำเนินการ และไม่ติดปัญหาภาระภาษีตามข้อ 1-3 จะไม่ยื่นเปิดดำเนินการก็ได้ การขอยกเลิกบัตรโดยไม่เปิดดำเนินการ จะถูกเพิกถอนบัตร ซึ่งหากตรวจสอบแล้วว่าไม่ติดปัญหาภาระภาษี ก็จะเพิกถอนบัตรโดยไม่มีภาระภาษี
ปัจจุบันกิจการ IPO และ ITC ไม่มีการให้การส่งเสริมแล้ว หากจะขอส่งเสริม จะต้องขอรับส่งเสริมในประเภท 7.34 กิจการศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศ (International Business Center : IBC) ในหมวดย่อย 1.11 แต่จะต้องเป็นการบริการแก่วิสาหกิจในเครือ และจะต้องมีขอบข่ายธุรกิจที่รวมหมวดย่อย 1.1 - 1.10 ข้อใดข้อหนึ่งรวมอยู่ด้วยไม่น้อยกว่า 1 ข้อ
โดยจะต้องมีการจ้างพนักงานประจำที่มีความรู้และทักษะที่จำเป็นสำหรับงาน IBC ไม่น้อยกว่า 10 คน แต่จะไม่ได้รับสิทธิยกเว้นอากรขาเข้าวัตถุดิบตามมาตรา 36 จึงอาจสรุปได้ว่า ตามประกาศฉบับปัจจุบัน กิจการ IPO และ ITC ในรูปแบบเดิม ไม่มีการให้การส่งเสริมแล้ว
1.-2. กรณีมีผลขาดทุน ไม่ต้องยื่นแบบขอใช้สิทธิยกเว้นภาษีในรอบปีนั้นๆ
3. หมายความว่า ให้นำผลขาดทุนในช่วงเวลาที่ได้รับยกเว้นภาษี ไปหักจากปีที่มีกำไรหลังจากสิ้นสุดระยะเวลายกเว้นภาษี มีกำหนดไม่เกิน 5 ปี โดยจะเลือกหักจากปีใดปีหนึ่งก็ได้ เช่น บริษัทได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ 8 ปี แต่มีผลขาดทุนในปีที่ 1, 2 และ 3 กรณีนี้บริษัทสามารถนำผลขาดทุนของปีที่ 1-3 ไปหักจากกำไรสุทธิของปีที่ 9-13 ได้
ขึ้นอยู่กับนโยบายของบริษัท หากประสงค์จะขอรับสิทธิประโยชน์ทางภาษีให้ยื่นขออนุมัติเป็น IBC กับกรมสรรพากรโดยจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของ IBC
กิจการ IBC ได้รับสิทธิประโยชน์ยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักรเฉพาะเครื่องจักรที่ใช้วิจัยและพัฒนาและฝึกอบรม โดยไม่ให้ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าวัตถุดิบ
สามารถยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI ได้ตามลิงค์: https://www.boi.go.th/index.php?page=form_app1