Chat
x
toggle menu
toggle menu

Select Groups

All Group
  • All Group
  • นโยบายเเละมาตรการพิเศษในการส่งเสริม
  • การขอรับการส่งเสริมการลงทุน
  • การออกบัตรส่งเสริม
  • การเปิดดำเนินการ
  • การเเก้ไขโครงการ
  • การดำเนินการอื่น ๆ
  • การรายงานความคืบหน้าโครงการ (e-Monitoring)
  • การปฏิบัติหลังการได้รับการส่งเสริม
  • การยกเลิกบัตรส่งเสริม
  • เรื่องทั่วไป
  • การใช้สิทธิด้านที่ดิน
  • การใช้สิทธิด้านเครื่องจักร
  • การใช้สิทธิด้านช่างฝีมือ/ต่างด้าว
  • การใช้สิทธิด้านวัตถุดิบ
  • ประเภทกิจการ - การแพทย์
  • การใช้สิทธิด้านภาษีเงินได้นิติบุคคล
  • ประเภทกิจการ - รถยนต์ไฟฟ้า
  • ประเภทกิจการ - ศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศ (IBC) IPO และ TISO
  • ประเภทกิจการ - โรงแรม
  • ประเภทกิจการ - ผลิตผลิตภัณฑ์โลหะรวมทั้งชิ้นส่วนโลหะ
  • ประเภทกิจการ - กิจการผลิตเครื่่องจักร อุุปกรณ์และชิ้นส่วน
  • ประเภทกิจการ - กิจการศูนย์กระจายสินค้าระหว่า ประเทศด้วยระบบที่่ทันสมัย (IDC)
ถ้าบริษัทมี Head office อยู่ที่กรุงเทพ และโรงงานอยู่ที่ปราจีน ในบัตรส่งเสริมบอกว่าต้องตั้งโรงงานอยู่ในเขตนิคมปราจีนเท่านั้น ถ้าบริษัทต้องการซื้อที่ดินในกรุงเทพแล้วสร้างเป็นสาขาใหม่ และต่างชาติถือหุ้น 100% บริษัทสามารถซื้อที่ดินและขอโครงการใหม่ได้ไหม

การขอถือกรรมสิทธิ์ที่ดินสำหรับเป็นสำนักงาน สามารถใช้สิทธิตามมาตรา 27 ได้ ตามประกาศคณะกรรมการ ที่ 4/2556 ซึ่งขยายอายุประกาศคณะกรรมการ ที่ 1/2551 หรือถ้าจะมีโครงการใหม่ เช่น ITC หรือ IHQ หรือ TISO หรืออื่นๆ ซึ่งมีสถานประกอบการที่กรุงเทพ ก็สามารถขอเป็นโครงการใหม่ และขอถือกรรมสิทธิ์ที่ดินที่กรุงเทพ เพื่อประกอบกิจการเหล่านั้นได้

ขอเรียนสอบถามว่าสามารถดาวน์โหลด พรบ.ส่งเสริมการลงทุนฉบับภาษาอังกฤษได้ที่ไหนหรือสามารถขอไปที่หน่วยงานใดได้บ้าง เนื่องจากผู้บริหารชาวต่างชาติ ต้องการทราบรายละเอียดของแต่ละมาตรา และคาดว่ามีความเข้าใจผิดมาจากเพื่อนชาวต่างชาติที่อธิบายเบื้องต้น จึงอยากได้พรบ.ภาคภาษาอังกฤษดังกล่าวเพื่อนำมาชี้แจ้งให้ถูกต้อง

พรบ ส่งเสริมการลงทุน (ภาษาอังกฤษ) ดูได้จากเว็บไซต์ของ BOI ตาม link นี้ http://www.boi.go.th/english/download/boi_forms/proact_eng.pdf

กรณีที่มีหลายโครงการ และกำลังจะขอรับการส่งเสริมเพิ่มเติม บริษัทจะต้องเพิ่มทุนจดทะเบียนหรือไม่

แนวทางพิจารณาเกี่ยวกับการเพิ่มทุนจดทะเบียนกรณีการขอรับส่งเสริมโครงการขยาย มี 2 วิธีคือ

1. พิจารณาสถานะการเงินโดยภาพรวมของทั้งบริษัท

โดยจะต้องมีอัตราส่วนหนี้สินปัจจุบัน (D) + หนี้สินที่จะเพิ่มขึ้นจากโครงการขยาย (D1) ต่อ ส่วนของผู้ถือหุ้น (E) และทุนจดทะเบียนที่เพิ่มขึ้นสำหรับโครงการขยาย (E1) ไม่เกิน 3:1

2. พิจารณาสถานะการเงินเฉพาะโครงการขยาย

โดยจะต้องมีอัตราส่วน หนี้สินที่จะเพิ่มขึ้นจากโครงการขยาย (D1) ต่อ ทุนจดทะเบียนที่จะเพิ่มขึ้นสำหรับโครงการขยาย (E1) ไม่น้อยกว่า 3:1

วิธีที่ 1 จะเหมาะสำหรับบริษัทที่มีสถานะการเงินดี ซึ่งอาจสามารถขยายการลงทุนโดยไม่ต้องเพิ่มทุนจดทะเบียน

วิธีที่ 2 จะเหมาะสำหรับบริษัทที่ขาดทุนสะสม เนื่องจากสามารถเพิ่มทุนจดทะเบียนเท่าที่จำเป็นเฉพาะสำหรับการลงทุนในโครงการขยาย

ต้องการขอคัดสำเนาแบบขอรับการส่งเสริมภาษาอังกฤษของกิจการ 2.18 และ 5.5 ต้องเตรียมเอกสารอย่างไรบ้าง และสามารถยื่นได้ที่ไหน รอรับสำเนาได้เลยหรือไม่ เสียค่าใช้จ่ายเท่าไหร่

ระเบียบปฏิบัติในการขอคัดสำเนาคำขอรับการส่งเสริม หรือบัตรส่งเสริม ของ BOI ปัจจุบัน กำหนดไว้ดังนี้

เอกสารประกอบการขอคัดสำเนา

สำเนาหนังสือรับรองนิติบุคคลฉบับล่าสุด มีอายุไม่เกิน 1 ปี

หลักฐานการแจ้งความเอกสารหายจากสถานีตำรวจ

หนังสือมอบอำนาจที่ติดอากรแสตมป์จำนวน 10 บาท

สำเนาบัตรประชาชนหรือสำเนาพาสปอร์ตของผู้มอบ และผู้รับมอบอำนาจ

ขั้นตอน ให้บริษัทนำหนังสือดังกล่าว ยื่นที่กลุ่มบัตรส่งเสริม ชั้น 3 สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน

1. กรณีทางสำนักงานได้ออกหนังสืออนุญาตให้บริษัทถือกรรมสิทธิ์ที่ดินเพื่อใช้เป็นสถานที่ตั้งโรงงานประกอบกิจการ ตั้งแต่ปี 2549 จำนวนทั้งสิ้น 6 บัตรส่งเสริม ต่อมาทางบริษัทเปิดโครงการใหม่ (บัตรส่งเสริมใหม่) โดยใช้ที่ดินร่วมกันทางบริษัทต้องยื่นหนังสือขออนุญาตให้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินโดยอ้างถึงเลขที่บัตรส่งเสริมใหม่ด้วยหรือไม่ 2. กรณีบริษัทยื่นเรื่องขออนุญาตให้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดิน ใช้ระยะเวลาพิจารณาอนุมัติประมาณกี่สัปดาห์

1. กรณีที่ได้รับส่งเสริมโครงการใหม่ แต่ต้องการใช้ที่ดินร่วมกับโครงการเดิม โดยที่ดินนั้นได้รับกรรมสิทธิ์ถือครองตามมาตรา 27 ให้ยื่นคำขออนุญาต (F LD LO 02) และใบตรวจเอกสาร (F LD LO 01) พร้อมกับแนบเอกสารตามที่กำหนดในใบตรวจเอกสารตามข้อ 7

2. ระยะเวลาพิจารณาน่าจะไม่เกิน 15 วัน

ขั้นตอนของการอนุมัติสูตรการผลิต เป็นอย่างไร

1. การอนุมัติสูตรการผลิตใช้แบบฟอร์ม F IN RM 13 ร่วมกับเอกสารตามตัวอย่าง 4 โดยกรอกข้อมูลการใช้วัตถุดิบในแต่ละรุ่น ว่าใช้วัตถุดิบกี่รายการ แต่ละรายการมีปริมาณเท่าใดต่อผลิตภัณฑ์ 1 หน่วยการผลิต

2. ยื่นเรื่องกับกองบริหารการลงทุนที่ได้รับส่งเสริมการลงทุนเพื่อขออนุมัติ

3. เมื่อได้รับอนุมัติสูตรการผลิตแล้ว บริษัทจะต้องนำสูตรที่ได้รับอนุมัติ ไปบันทึกลงในฐานข้อมูลของสมาคมสโมสรนักลงทุน (IC) เพื่อใช้ประกอบการพิจารณาตัดบัญชีเมื่อมีการส่งออกต่อไป

แสดงว่า max stock ไม่สามารถใส่เป็นศูนย์ได้ ต้องใส่เป็นตัวเลขเพื่อแสดงปริมาณเท่านั้นถึงแม้ว่าจะขออนุมัติเพื่อใช้ในการโอนสิทธิ์ตัดบัญชีเท่านั้นเข้าใจถูกต้องไหม

ใช่ ในอดีตสามารถขอแก้ไข Max Stock เป็น 0 เพื่อไม่ให้ตัดบัญชีวัตถุดิบรายการนั้นติดลบ แต่ระบบ RMTS-2011 ปัจจุบัน แม้จะขอ Max Stock เป็น 0 ก็ไม่มีประโยชน์อะไร จึงควรขอ stock ไปตามปกติสัก 1,000 ชิ้น 2,000 ชิ้น ก็ได้ เพื่อให้เกิดรหัสรายการวัตถุดิบสำหรับนำไปสร้างสูตรการผลิต

หลักเกณฑ์ในการพิจารณาการอนุมัติโครงการของสำนักงานมีอะไรบ้าง

1. เพื่อพัฒนาความสามารถในการแข่งขันของภาคเกษตร ภาคอุตสาหกรรม และภาคบริการ โครงการที่ขอรับการส่งเสริมการลงทุนต้องมีคุณสมบัติดังนี้

- ต้องมีมูลค่าเพิ่มไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของรายได้ ยกเว้นกิจการเกษตรกรรมและผลิตผลจาก การเกษตร กิจการอิเล็กทรอนิกส์และชิ้นส่วน และกิจการตัดโลหะ ต้องมีมูลค่าเพิ่มไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของรายได้

- ต้องมีกรรมวิธีการผลิตที่ทันสมัย

- ต้องใช้เครื่องจักรใหม่ หากเป็นกรณีใช้เครื่องจักรใช้แล้วจากต่างประเทศ ซึ่งแบ่งหลักเกณฑ์การ พิจารณาเป็น 3 กรณี ดังนี้

กรณีทั่วไป

 

กรณีย้ายฐานการผลิต

 

กรณีอื่นๆ

   

- โครงการที่มีเงินลงทุน (ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน) ตั้งแต่ 10 ล้านบาทขึ้นไป ต้องดำเนินการให้ได้รับใบรับรองระบบคุณภาพตามมาตรฐาน ISO 9000 หรือ ISO 14000 หรือมาตรฐาน สากลอื่นที่เทียบเท่าภายใน 2 ปี นับแต่วันครบเปิดดำเนินการ หากไม่สามารถดำเนินการได้ จะถูกเพิกถอนสิทธิและประโยชน์การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 1 ปี

- สำหรับกิจการที่ได้รับสัมปทานและกิจการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ คณะกรรมการจะใช้แนวทางการพิจารณาตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2541 และวันที่ 30 พฤศจิกายน 2547

 

2. โครงการต้องการมีการป้องกันผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม  (ได้แก่ โครงการที่ในกระบวนการผลิตก่อให้เกิดกากของเสีย น้ำเสีย และฝุ่นละอองหรือไอเสีย รวมทั้งโครงการที่ขอรับการส่งเสริมในกิจการประเภท 1.5.2, 1.6, 1.9, 1.10, 1.13, 1.14, 1.15, 1.16, 1.17, 2.2, 2.7, 2.8, 2.9, 2.10, 2.11, 2.12, 2.13, 2.14, 2.15, 3.1 (เฉพาะที่มีขั้นตอนการฟอกย้อม), 4.2, 4.3, 4.9, 5.2.5 (เฉพาะที่ผลิตแบตเตอรี่หรือถ่านไฟฉาย), 5.4.2, 5.5, 6.1, 6.2, 6.3, 6.4, 6.5, 6.8, 6.9, 6.10, 6.11, 6.12, 7.1.1, 7.71, 7.18 โครงการเหล่านี้จะต้องกรอกแบบประกอบการพิจารณาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น (F PA PP)เพิ่มเติม 

2.1 ต้องมีแนวทางและมาตรการในการป้องกันและลดผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่เพียงพอและมีประสิทธิภาพ สำหรับโครงการที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม คณะกรรมการจะพิจารณาเป็นพิเศษในเรื่องสถานที่ตั้งและวิธีจัดการมลพิษ

2.2 กรณีกิจการใดที่มีรายละเอียดโครงการหรือกิจกรรมต่อเนื่อง ที่อยู่ในข่ายตามประเภทและขนาด โครงการที่ต้องทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ให้โครงการหรือกิจการนั้น ต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยสิ่งแวดล้อม หรือตามมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องนั้นๆ ด้วย

2.3  โครงการที่ตั้งในจังหวัดระยอง ต้องปฏิบัติตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ที่ ป.1/2554 เรื่อง นโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมในพื้นที่จังหวัดระยอง ลงวันที่ 2 พฤษภาคม 2554  ซึ่งกำหนดหลักเกณฑ์สำหรับการลงทุนในโครงการใหม่และโครงการขยายที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม  ทั้งนี้ พื้นที่เป้าหมายควบคุมด้านสิ่งแวดล้อมเป็นพิเศษ ได้แก่ ตำบลมาบตาพุด ตำบลห้วยโป่ง ตำบลเนินพระ และตำบลทับมา อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยองทั้งตำบล ตำบลมาบข่า อำเภอนิคมพัฒนา จังหวัดระยองทั้งตำบล และตำบลบ้านฉาง อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยองทั้งตำบล รวมทั้งพื้นที่ทะเลภายในแนวเขต และเขตอุตสาหกรรมของบริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน)  อีกทั้งยังได้ระบุถึงตัวชี้วัดเพื่อประกอบการบริหารจัดการมลพิษในพื้นที่เป้าหมาย  เงื่อนไขในการพิจารณาให้การส่งเสริมการลงทุน อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

3.  เงินลงทุนขั้นต่ำและความเป็นไปได้ของโครงการ

3.1 ต้องมีเงินลงทุนขั้นต่ำของแต่ละโครงการไม่น้อยกว่า 1 ล้านบาท (ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน) เว้นแต่กรณีที่กำหนดไว้เป็นการเฉพาะในบัญชีประเภทกิจการที่ให้การส่งเสริมการลงทุนท้ายประกาศ เช่น กิจการโรงแรม กิจการศูนย์แสดงศิลปวัฒนธรรม เป็นต้น ทั้งนี้ สำหรับกลุ่มธุรกิจบริการที่ใช้ฐานความรู้เป็นปัจจัยหลักในการดำเนินธุรกิจ ให้พิจารณาเงินลงทุนขั้นต่ำจากเงินเดือนบุคลากรต่อปี ซึ่งจะกำหนดไว้เป็นการเฉพาะในบัญชีประเภทกิจการที่ให้การส่งเสริมการลงทุนท้ายประกาศ

3.2 ต้องมีอัตราส่วนหนี้สินต่อทุนจดทะเบียนไม่เกิน 3 ต่อ 1 สำหรับโครงการริเริ่ม ส่วนโครงการขยายจะพิจารณาตามความเหมาะสมเป็นรายกรณี

3.3 โครงการที่มีเงินลงทุน (ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน) มากกว่า 2,000 ล้านบาท ต้องเสนอ รายงานการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการตามที่คณะกรรมการกำหนด

สูตรการผลิตหนึ่งสูตรมีหลาย project สามารถทำได้หรือไม่

การขออนุมัติสูตร จะต้องยื่นเป็นรายโครงการ กรณีมีหลายโครงการ หากมีผลิตภัณฑ์เหมือนกัน ก็สามารถมีสูตรการผลิตซ้ำกันได้

การจะขอรับการส่งเสริมในกิจการผลิตยา จำเป็นต้องได้รับการขึ้นทะเบียนตำรับยามาก่อนไหม

ไม่จำเป็น แต่การดำเนินการของบริษัทหลังได้รับการส่งเสริม จะต้องเป็นไปตามข้อกำหนดของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วย

ค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น (รายจ่าย) ประกอบด้วยอะไรบ้าง

รายการที่เป็นค่าใช้จ่ายทั้งหมดของบริษัท เช่น ต้นทุนขาย ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร ต้นทุนทางการเงิน และค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้ เป็นต้น

บริษัทจะขอแก้ไขข้อมูลที่กรอกแล้วได้หรือไม่

สามารถแก้ไขข้อมูลได้ ถ้ายังไม่ได้กดปุ่ม ‘ส่งข้อมูล’ แต่หากส่งข้อมูลแล้ว โปรดติดต่อเจ้าหน้าที่ศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาคที่ 1-7 หรือกองบริหารการลงทุน 1-5 เพื่อดำเนินการส่งข้อมูลคืนให้แก้ไข ทั้งนี้ เมื่อแก้ไขแล้ว ต้องกดปุ่ม ‘ส่งข้อมูล’ อีกครั้ง

มูลค่าและรายการลงทุนที่รายงานมีความเกี่ยวข้องกับรายการลงทุนที่จะแสดงในการยื่นขออนุญาตเปิดดำเนินการหรือไม่

รายงานความคืบหน้าโครงการเป็นการรายงานเพื่อทราบความคืบหน้าเท่านั้น ไม่มีความเกี่ยวข้องกับการยื่นขออนุญาตเปิดดำเนินการแต่อย่างใด ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่จะพิจารณาโดยละเอียดอีกครั้งว่ารายการใดสามารถนับเป็นการลงทุนของโครงการเมื่อบริษัทยื่นขออนุญาตเปิดดำเนินการในภายหลัง

รบกวนสอบถามการนำเข้าเครื่องจักรอายุเกิน 10 ปี แบบเสียภาษีปกติ ต้องมีใบรับรองประสิทธิภาพไหม สินค้าเป็นเครื่องเก็บหมอกละอองน้ำมัน (Mist Collector) พิกัด 841239

ให้ตรวจสอบเงื่อนไขในบัตรส่งเสริม เงื่อนไขเฉพาะโครงการ ข้อ 1 จะระบุข้อความว่า เครื่องจักรที่ใช้ในกิจการที่ได้รับส่งเสริมจะต้องเป็นเครื่องจักรใหม่ แปลว่า ไม่ว่าจะซื้อเครื่องจักรในประเทศหรือนำเข้าจากต่างประเทศ และไม่ว่าจะใช้สิทธิยกเว้นอากรขาเข้าหรือชำระอากรขาเข้าก็ตาม เครื่องจักรที่ใช้ในโครงการต้องเป็นเครื่องจักรใหม่เท่านั้น

--------------------------------------------------------------------------------

บัตรส่งเสริมบางฉบับ อาจมีการระบุเงื่อนไขต่อจากนั้นว่า

ในกรณีที่ได้รับอนุญาตให้ใช้เครื่องจักรเก่า เครื่องจักรที่ได้รับยกเว้นหรือลดหย่อนอากรขาเข้า จะต้องเป็นเครื่องจักรที่ผลิตตั้งแต่ปี พ.ศ. 25xx จะต้องให้สถาบันที่เชื่อถือได้รับรองประสิทธิภาพและได้รับความเห็นชอบจากสำนักงาน แปลว่า โครงการตามบัตรส่งเสริมนี้ สามารถใช้เครื่องจักรเก่าที่นำเข้าจากต่างประเทศได้ โดยต้องผลิตไม่เกินปี 25xx ตามที่กำหนด และต้องมีใบรับรองประสิทธิภาพเครื่องจักรเก่าตามที่ BOI กำหนด

--------------------------------------------------------------------------------

หากบริษัทนำเครื่องจักรเก่าเกิน 10 ปี มาใช้ในโครงการ โดยในบัตรส่งเสริมไม่มีเงื่อนไขอนุญาตไว้ ถือเป็นการปฏิบัติผิดเงื่อนไข จึงจะใช้เครื่องจักรนั้นในโครงการไม่ได้ ไม่ว่าจะชำระภาษีอากรเข้ามาเองก็ตาม กรณีนี้ จะต้องยื่นแก้ไขโครงการ เพื่อขอใช้เครื่องจักรเก่าเกิน 10 ปี หากได้รับอนุมัติ จึงจะใช้เครื่องจักรเก่าเกิน 10 ปีนั้นได้ แต่จะไม่ได้รับยกเว้นอากรขาเข้า และต้องมีใบรับรองประสิทธิภาพเครื่องจักรเก่า

บริษัทฯ ได้รับส่งเสริมประเภท 5.3 กิจการผลิตชิ้นส่วนหรืออุปกรณ์ที่ใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้า สิ้นสุดระยะเวลานำเข้าเครื่องจักร 17 ก.ย. 2560 ( เครื่องจักรเข้ามาครบแล้ว ไม่ได้ขยายเวลา ) กำหนดเปิดดำเนินการ 17 มี.ค. 2561 มีคำถามดังนี้ 1. ถ้าบริษัทต้องการขยายเวลาเปิดดำเนินการ จะต้องดำเนินอย่างไร และต้องยื่นเอกสาร ณ วันไหน ทาง BOI ใช้เวลาในการดำเนินการในการขอขยายเวลาเปิดดำเนินการนี้ประมาณกี่วัน และจะต้องยื่นเอกสารนี้ก่อนวันกำหนดเปิด หรือ หลังวันกำหนดเปิด 2. ถ้าบริษัทฯ ต้องการเปิดดำเนินการเลย ตามกำหนดเปิดดำเนินการวันที่ 17 มี.ค. 2561 ทางบริษัทควรทำอย่างไร และจะต้องยื่นเอกสารต่อ BOI นี้ในวันไหน ทาง BOI ใช้ระยะเวลาการพิจารณาประมาณกี่วัน

1.การขยายเวลาเปิดดำเนินการ มี 2 วิธีคือ

1) ขยายเวลานำเข้าเครื่องจักรพร้อมกับขยายเวลาเปิดดำเนินการ

- ยื่นขยายได้ 3 ครั้ง ครั้งละ 1 ปี

- ต้องยื่นขยายเวลาเครื่องจักรผ่านระบบ eMT โดยจะได้รับการขยายเวลาเครื่องจักรไปพร้อมกัน หลังจากนั้นจึงนำบัตรส่งเสริมไปแก้ไข

- กิจการที่ได้รับสิทธิยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักรตลอดไป ไม่สามาถยื่นขอขยายเวลาเปิดดำเนินการด้วยวิธีนี้

2) ขยายเวลาการเปิดดำเนินการเพียงอย่างเดียว

- ต้องยื่นคำร้องเป็นเอกสารต่อ BOI

- หากยื่นขยายเวลาโดยวิธีนี้ จะไม่สามารถยื่นขยายเวลานำเข้าเครื่องจักรตามข้อ 1) ได้อีก

การยื่นขยายเวลาการเปิดดำเนินการ ควรยื่นก่อนครบกำหนดเปิดดำเนินการ แต่หากครบกำหนดเปิดดำเนินการไปแล้ว ก็ยังสามารถยื่นขยายเวลาเปิดดำเนินการได้ การขยายเวลาเปิดดำเนินการ กำหนดระยะเวลาพิจารณา 36 วันทำการ 2.การยื่นขอเปิดดำเนินการ

- หากยังไม่ครบกำหนดเปิดดำเนินการ แต่บริษัทต้องการยื่นเปิดดำเนินการครบตามโครงการ จะยื่นเมื่อไรก็ได้

- การขยายเวลาเปิดดำเนินการ กำหนดระยะเวลาพิจารณา 45 วันทำการ

บริษัทได้รับการส่งเสริม 2 โครงการ โดยตั้งอยู่คนละจังหวัดกัน โครงการที่ 2 อยู่ระหว่างการก่อสร้างโรงงาน ทั้งนี้ มีการสั่งซื้อเครื่องจักร และมีกำหนดการนำเข้า ก่อนการสร้างโรงงาน (โครงการที่ 2) แล้วเสร็จ บริษัท สามารถนำเครื่องจักรไปตั้งไว้ที่โครงการแรกก่อนได้หรือไม่ เพื่อรอสร้าง รง. เสร็จ (ในระหว่างนี้ จะมีการ test เครื่อง เพื่อให้สามารถใช้งานได้เลยเมื่อสร้างโรงงานเสร็จ) ไม่แน่ใจว่าจะกระทบกับสาระสำคัญของโครงการอย่างไรบ้าง

บัตรที่ 1 ตั้งอยู่ที่จังหวัด A

บัตรที่ 2 ตั้งอยู่ที่จังหวัด B (กำลังสร้างโรงงาน) แต่นำเครื่องจักรเข้ามาแล้ว

เงื่อนไขการใช้สิทธิในบัตรส่งเสริมคือ เครื่องจักรที่นำเข้ามาโดยได้รับยกเว้นอากรขาเข้า จะต้องใช้ในกิจการที่ได้รับส่งเสริมเท่านั้น ดังนั้น การจะนำเครื่องจักรของบัตรที่ 2 ไปติดตั้งใช้งานในสถานที่อื่น ย่อมทำไม่ได้ ส่วนการไปเก็บนอกสถานที่ (กรณีนี้คือคนละจังหวัด) ควรต้องได้รับอนุญาตจาก BOI ก่อน รวมทั้งการนำไป test-run ในอีกโครงการหนึ่งคนละจังหวัด ยิ่งตรวจสอบได้ยากว่า ทำเพียง test-run หรือใช้ผลิตจริง จึงควรต้องขออนุญาตเช่นกัน

เดิมบริษัทได้รับบัตรส่งเสริมประเภท 5.8 กิจการซอฟแวร์ ปัจจุบันได้เปลี่ยนบัตรใหม่เป็น กิจการประเภท 7.7 กิจการสนับสนุนการค้าและการลงทุน ขณะนี้บริษัทดำเนินการย้ายช่างเข้าบัตรใหม่เกือบเรียบร้อยแล้ว ต้องการปิดบัตรส่งเสริมใบเดิม ต้องดำเนินการอย่างไร ใช้เอกสารใดบ้าง และเนื้อความในหนังสือชี้แจงต้องระบุอะไรบ้าง
การยกเลิกบัตรส่งเสริม ไม่มีแบบฟอร์ม ให้เตรียมเอกสารขึ้นเองตามความเหมาะสมแล้วแต่กรณี

- หนังสือบริษัทแจ้งความประสงค์ขอยกเลิกบัตรส่งเสริม

- สำเนาบัตรส่งเสริม

- สำเนาใบอนุญาตเปิดดำเนินการ (ถ้ามี)

- เอกสารแนบเพื่อแสดงการใช้สิทธิประโยชน์ต่างๆ (ถ้ามี) เช่น ช่างฝีมือ ที่ดิน เครื่องจักร วัตถุดิบ ภาษีเงินได้ ว่าได้ใช้สิทธิอะไรไปบ้าง และได้เคลียร์ภาระการใช้สิทธิต่างๆเสร็จสิ้นแล้วหรือไม่อย่างไร เป็นต้น

บริษัทสอบถามว่าการขอรับการส่งเสริมตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพเพื่อใช้พลังงานทดแทน ที่กำหนดไว้ว่าจะขอรับการส่งเสริมได้ต่อเมื่อ “ระยะเวลาการยกเว้นหรือลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลนั้นสิ้นสุดลงแล้ว” นั้น หมายความว่าระยะเวลาของสิทธิลดหย่อนภาษีฯ ตามมาตรา 35(1) จะต้องสิ้นสุดด้วยหรือไม่

โครงการที่ได้รับส่งเสริมแล้ว และอยากจะขอรับส่งเสริมตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพฯ โครงการนั้นจะต้องสิ้นสุดแล้วทั้ง มาตรา 31 และ 35(1) จึงจะขอรับการส่งเสริมได้ ทั้งนี้หากจะยกเลิกโครงการก่อนก็สามารถทำได้ แต่อาจจะได้สิทธิภาษีจากมาตรการปรับปรุงฯ ไม่คุ้มกับการเสียสิทธิด้านภาษีเดิมที่มีอยู่

ถ้าในปี 2559 งบมีกำไร แต่ไม่ได้ทำการยื่นงบ BOI โดยใช้สิทธิขาดทุนสะสม ถ้าในปี 2560 ต้องการใช้สิทธิ BOI ต้องยื่นงบของปี 2559 ย้อนหลังก่อนหรือไม่ หรือสามารถยื่นงบ 2560 ได้เลย

1.การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 31 เริ่มนับตั้งแต่วันที่บริษัทมีรายได้ครั้งแรกตามโครงการที่ได้รับส่งเสริม ไม่ว่าบริษัทจะใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ของรอบปีนั้นหรือไม่ก็ตาม

2.สมมุติว่าบริษัทเริ่มมีรายได้ครั้งแรกในปี 2558 และรอบปีนั้นขาดทุนสะสม ต่อมาในปี 2559 บริษัทมีกำไร แต่ไม่ได้ยื่นใช้สิทธิยกเว้นภาษี โดยใช้การหักลบขาดทุนสะสม และในปี 2560 บริษัทมีกำไร

2.1 บริษัทจะยื่นขอใช้สิทธิยกเว้นภาษีตั้งแต่รอบปี 2560 เป็นต้นไปก็ได้ แต่ระยะเวลาการใช้สิทธิจะเริ่มนับตั้งแต่ปี 2558 หรือ

2.2 บริษัทอาจยื่นแก้ไขงบปี 2559 และยื่นขอใช้สิทธิยกเว้นภาษีของรอบปี 2559 ก็ได้ แต่ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และระเบียบของกรมสรรพากร

บริษัทมีหุ้นต่างชาติทั้งสิ้นได้รับการส่งเสริม IHQ จาก BOI ในปี พ.ศ. 2558 จะมีการโอนแผนก R&D มายังบริษัทตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562 โดยได้รับเงินค่าวิจัยและพัฒนาจากสำนักงานใหญ่ บริษัทต้องการขอรับสิทธิประโยชน์ทางภาษีกับกรมสรรพากรในส่วนของรายได้จากการวิจัยและพัฒนานี้ บริษัทควรดำเนินการอย่างไร

กรมสรรพากรยุติการอนุมัติให้เป็น IHQ หรือ ITC และประกาศให้ส่งเสริมกิจการ IBC ซึ่งมีเงื่อนไขเข้มงวดมากขี้น หากต้องการขอรับสิทธิประโยชน์ทางภาษีกับกรมสรรพากร จะต้องเปลี่ยนมาขอรับการส่งเสริม IBC แทน

ขออภัยครับ ไม่มีข้อมูลส่วนนี้ ในภาษาที่ท่านเลือก !

Sorry, There is no information support your selected language !

Download และ ติดตั้งโปรแกรมอ่าน PDF

Download PDF Reader

Site map