Chat
x
toggle menu
toggle menu

Select Groups

All Group
  • All Group
  • นโยบายเเละมาตรการพิเศษในการส่งเสริม
  • การขอรับการส่งเสริมการลงทุน
  • การออกบัตรส่งเสริม
  • การเปิดดำเนินการ
  • การเเก้ไขโครงการ
  • การดำเนินการอื่น ๆ
  • การรายงานความคืบหน้าโครงการ (e-Monitoring)
  • การปฏิบัติหลังการได้รับการส่งเสริม
  • การยกเลิกบัตรส่งเสริม
  • เรื่องทั่วไป
  • การใช้สิทธิด้านที่ดิน
  • การใช้สิทธิด้านเครื่องจักร
  • การใช้สิทธิด้านช่างฝีมือ/ต่างด้าว
  • การใช้สิทธิด้านวัตถุดิบ
  • ประเภทกิจการ - การแพทย์
  • การใช้สิทธิด้านภาษีเงินได้นิติบุคคล
  • ประเภทกิจการ - รถยนต์ไฟฟ้า
  • ประเภทกิจการ - ศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศ (IBC) IPO และ TISO
  • ประเภทกิจการ - โรงแรม
  • ประเภทกิจการ - ผลิตผลิตภัณฑ์โลหะรวมทั้งชิ้นส่วนโลหะ
  • ประเภทกิจการ - กิิจการผลิิตเครื่่องจัักร อุุปกรณ์์และชิ้นส่่วน
  • ประเภทกิจการ - กิิจการศููนย์์กระจายสิินค้้าระหว่่าง ประเทศด้้วยระบบที่่ทัันสมััย (IDC)
โครงการเปิดดำเนินการแล้ว หากมีการย้ายเครื่องจักรไปใช้ในโครงการอื่น หากโครงการเปิดดำเนินการแล้วและได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล บริษัทสามารถย้ายเครื่องจักรไปใช้ที่โครงการอื่นได้หรือไม่ จะผิดเงื่อนไขและมีผลกระทบต่อโครงการหรือเปล่า

โครงการที่ได้รับส่งเสริม จะใช้เครื่องจักรเก่าในประเทศที่เคยใช้งานเชิงพาณิชย์ในประเทศมาก่อนไม่ได้ และเครื่องจักรที่นำเข้าโดยใช้สิทธิยกเว้นภาษีอากร จะต้องใช้ในโครงการนั้นเท่านั้น

ดังนั้น หากบริษัทนำเครื่องจักรที่นำเข้าโดยใช้สิทธิในโครงการที่ 1 ไปใช้ในโครงการที่ 2 จะเป็นการขัดกับเงื่อนไขการใช้สิทธิเครื่องจักรของโครงการที่ 1 และจะเป็นการขัดสาระสำคัญในการให้การส่งเสริมของโครงการที่ 2

กรณี โครงการ 1 เปิดดำเนินการแล้ว โครงการ 2 เปิดดำเนินการแล้ว บริษัทจะย้ายเครื่องจักรของโครงการ 1 (ซื้อในประเทศ) ไปใช้ชั่วคราวที่โครงการ 2 เพื่อทดแทนเครื่องจักรเดิมที่ชำรุดเสียหาย แต่ระเบียบของ BOI ให้แจ้งเฉพาะเครื่องจักรที่นำเข้าโดยใช้สิทธิเท่านั้น กรณีนี้บริษัทสามารถย้ายเครื่องจักรได้หรือไม่ หากย้ายจะผิดเงื่อนไขหรือไม่

1.โครงการที่ 1 เปิดดำเนินการแล้ว หากจะนำเครื่องจักรที่ซื้อมาโดยไม่ได้ใช้สิทธิยกเว้นภาษีอากรเครื่องจักร ไปใช้เพื่อการอื่น -> ไม่ขัดกับเงื่อนไขการใช้สิทธิเครื่องจักร และไม่ต้องขออนุญาต

แต่ทั้งนี้ โครงการที่ 1 ยังคงต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ได้รับส่งเสริมอยู่ต่อไปด้วย เช่น จะนำเครื่องจักรหลักไปใช้เพื่อการอื่น จนมีขั้นตอนการผลิตไม่ครบตามที่ได้รับส่งเสริม ไม่ได้ เป็นต้น

2.โครงการที่ 2 เปิดดำเนินการแล้ว หากจะนำเครื่องจักรเก่าจากในประเทศ มาใช้ในโครงการที่ได้รับส่งเสริม -> ขัดกับเงื่อนไขนโยบายการให้การส่งเสริมการลงทุน ซึ่งกำหนดว่าเครื่องจักรที่ใช้ในโครงการ จะต้องเป็นเครื่องจักรใหม่เท่านั้น หรือหากเป็นเครื่องจักรเก่า จะต้องได้รับอนุญาต โดยต้องเป็นเครื่องจักรเก่าจากต่างประเทศ และต้องมีใบรับรองประสิทธิภาพเครื่องจักรเก่า

แต่ทั้งนี้ หาก BOI พิจารณาว่า โครงการที่ 2 ขอแก้ไขโครงการเพื่อใช้เครื่องจักรร่วมกับโครงการที่ 1 โดยขั้นตอนดังกล่าวไม่เป็นสาระสำคัญในการผลิตของโครงการที่ 2 ก็อาจพิจารณาอนุญาตให้ได้

กิจการการค้าระหว่างประเทศภายใต้ประเภทกิจการ 7.34 IBC ต่างจากที่ให้ส่งเสริมกิจการ ITC เดิมหรือไม่

กิจการการค้าระหว่างประเทศภายใต้ประเภทกิจการ 7.34 IBC ปัจจุบัน มีเงื่อนไขและสิทธิประโยชน์ที่ได้รับแตกต่างจากประเภท 7.6 ITC เดิม โดยมีเงื่อนไขเฉพาะประเภทกิจการดังนี้

1.ต้องมีทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้วไม่น้อยกว่า 10 ล้านบาท (เหมือนเดิม)

2.ต้องมีการจ้างพนักงานประจำที่มีความรู้และทักษะที่จำเป็นสำหรับ IBC ไม่น้อยกว่า 10 คน เว้นแต่กรณี IBC ที่มีเฉพาะการให้บริการด้านการบริหารเงินแก่วิสาหกิจในเครือ ต้องมีการจ้างพนักงานประจำที่มีความรู้และทักษะไม่น้อยกว่า 5 คน

3.กรณีเป็นการดำเนินกิจการการค้าระหว่างประเทศ จะต้องมีขอบข่ายธุรกิจในข้อ 1.1 – 1.10 ร่วมด้วยไม่น้อยกว่า 1 ข้อ

4.ไม่ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร (มาตรา 28) และไม่ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าวัตถุดิบและวัสดุจำเป็นสำหรับส่วนที่ผลิตเพื่อการส่งออก (มาตรา 36)

เงื่อนไขในการยื่นขอและสิทธิประโยชน์ที่ได้รับเปลี่ยนไป ทั้งด้านการจ้างงานบุคลากรที่เพิ่มขึ้น ด้านขอบข่ายการบริการที่ต้องมีการให้บริการวิสาหกิจในเครือด้วยที่เพิ่มขึ้น และด้านสิทธิประโยชน์ด้านการยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร (ม.28) ยกเว้นอากรขาเข้าวัตถุดิบ (ม.36) ที่ถูกยกเลิกไป

BOI มีแนวทางการพิจารณาว่าหากกิจการต้องการจะดำเนินกิจการการค้าระหว่างประเทศ ภายใต้ประเภทกิจการ 7.34 IBC จะต้องมีการดำเนินการในขอบข่ายธุรกิจในข้อ 1.1 – 1.10 ของประเภทกิจการ IBC ด้วยอย่างมีนัยสำคัญ

บริษัทมีหุ้นต่างชาติทั้งสิ้น ได้รับการส่งเสริมกิจการ “ITC” จาก BOI ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 มีแผนการที่จะยื่นขอรับเรื่องสิทธิประโยชน์ด้านภาษีจากกรมสรรพากร เนื่องจากจะมีธุรกิจเพิ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2562 เพื่อจำหน่ายสินค้า (Commercial distribution) จากเวียดนามไปยังฮ่องกง โดยให้ส่งสินค้าโดยตรงจากเวียดนามไปยังฮ่องกง และบริษัทเป็นผู้สั่งซื้อและชำระเงินค่าสินค้าไปยังเวียดนามและเป็นผู้จำหน่ายสินค้าไปยังฮ่องกง บริษัทควรจะดำเนินการอย่างไร

Commercial Distribution แบบ Out-Out ดังกล่าวอยู่ในขอบข่ายกิจการ ITC ที่บริษัทได้รับการ ส่งเสริมอยู่ ปัจจุบันหลังจากที่กระทรวงการคลังปรับนโยบายเป็นให้การส่งเสริมการลงทุนกิจการ IBC และยุติ การอนุมัติให้เป็น IHQ หรือ ITC รายได้ดังกล่าวไม่สามารถได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีจากกรมสรรพากร กระทรวงการคลัง จึงต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามปกติ

เรื่องระยะเวลาการยื่นขอใช้สิทธิ์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลของปี 2559 อย่างช้าที่สุดวันไหน

1.การยื่นขอใช้สิทธิ์ยกเว้นภาษีเงินได้ ต้องยื่นภายใน 120 วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี โดย BOI จะตรวจสอบและแจ้งยืนยันการใช้สิทธิให้กับบริษัททราบ เพื่อให้บริษัทสามารถใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ในการยื่นต่อกรมสรรพากรภายใน 150 วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี

2.การยื่นขอใช้สิทธิ์ยกเว้นภาษีเงินได้ เกินกว่า 120 วัน นับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี ก็สามารถทำได้ แต่จะทำให้บริษัทไม่สามารถยื่นต่อสรรพากรได้ภายในกำหนด 150 วัน ซึ่งถือเป็นความรับผิดชอบของบริษัทเอง

การขอส่งเสริมตามมาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต จะต้องใช้แบบฟอร์มใดในการยื่นเรื่อง

จะต้องใช้แบบฟอร์มดังนี้

- กรณีกิจการอยู่ในหมวดส่งเสริมการลงทุน 1 – 6 ให้ใช้แบบฟอร์มขอรับส่งเสริมการลงทุนทั่วไป (F PA PP 01-06)

- กรณีกิจการอยู่ในหมวดส่งเสริมการลงทุน 7 ให้ใช้แบบฟอร์มขอรับส่งเสริมการลงทุน (บริการ) (F PA PP 03-07)

 โดยยื่นพร้อมกับแบบประกอบคำขอรับส่งเสริมการลงทุนตามกรณีต่าง ๆ ดังนี้

แบบประกอบคำขอรับส่งเสริมตามหลักเกณฑ์การให้สิทธิและประโยชน์ตามมาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อการประหยัดพลังงาน การใช้พลังงานทดแทน หรือการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (F PA PP 28-03)

แบบประกอบคำขอรับการส่งเสริมตามหลักเกณฑ์การให้สิทธิและประโยชน์ ตามมาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อการปรับเปลี่ยนเครื่องจักรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต  (F PA PP 30-02)

-  แบบประกอบคำขอรับการส่งเสริมตามหลักเกณฑ์การให้สิทธิและประโยชน์ ตามมาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อการวิจัย พัฒนา และออกแบบทางวิศวกรรมเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตตามประกาศณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ที่ 1/2557 (F PA PP 38-01)

ทางบริษัทมีความประสงค์ที่จะไม่ส่งรายงานและยกเลิกการส่งเสริม แต่ติดปัญหาที่ว่า ทางบริษัทค้นหาบัตรส่งเสริมไม่เจอ จึงไม่สามารถทราบรายละเอียดว่าได้รับการส่งเสริมในเรื่องใดบ้าง อยากสอบถามว่า หากบริษัทต้องการทราบข้อมูลต่างๆเหล่านี้ จะต้องดำเนินการอย่างไรบ้าง
กรณีที่บัตรส่งเสริมหาย BOI จะไม่ออกบัตรส่งเสริมฉบับใหม่ให้ แต่บริษัทสามารถขอคัดสำเนาได้ โดยมีขั้นตอนคือ

1. แจ้งความเอกสารหาย

2. ยื่นหนังสือ (ไม่มีแบบฟอร์ม ร่างขึ้นได้เอง) ถึงเลขาธิการ BOI เพื่อขอคัดสำเนาบัตรส่งเสริม โดยแนบหลักฐานใบแจ้งความ

3. BOI จะถ่ายสำเนาบัตรส่งเสริมให้กับบริษัท กรณีที่บริษัทจะยกเลิกโครงการที่ได้รับส่งเสริม ขอให้ตรวจสอบเงื่อนไขและสิทธิประโยชน์ด้วยว่า บริษัทปฏิบัติผิดเงื่อนไข และใช้สิทธิประโยชน์ผิดหรือไม่ เพราะหากปฏิบัติผิดเงื่อนไข และใช้สิทธิประโยชน์ด้านภาษีโดยไม่ถูกต้อง อาจถูกเพิกถอนบัตร และเรียกเก็บภาษีย้อนหลัง

เครื่องจักรนำเข้ามาผลิตแล้วกำลังเครื่องจักรเหลือ เราสามารถให้บัตรส่งเสริมใหม่ใช้ร่วมได้หรือเปล่า

เครื่องจักรที่นำเข้ามาแล้ว แต่มีกำลังผลิตเหลือไม่สามารถนำกำลังผลิตที่มีเหลือ ไปใช้ร่วมกับโครงการอื่นได้ แต่สามารถขอแก้ไขกำลังผลิตของโครงการเดิมเพื่อเพิ่มกำลังผลิตเท่าที่สามารถผลิตได้จริง ในขั้นตอนการเปิดดำเนินการเต็มโครงการ

บริษัทฯยังไม่ได้ขอเปิดดำเนินการ และบริษัทมีการซื้อเครื่องจักรต่างๆภายในประเทศเท่านั้น ไม่ได้มีการนำเข้าอยากทราบว่า ต้องทำบัญชีรายการเครื่องจักร ส่งให้ทาง BOI รับทราบ หรือไม่ และต้องทำอย่างไร

1.กรณียังไม่ได้เปิดดำเนินการ บริษัทสามารถซื้อเครื่องจักรใหม่ภายในประเทศ เพื่อใช้ในกิจการที่ได้รับส่งเสริมได้ โดยไม่ต้องรายงานต่อ BOI

2.กรณียื่นขอเปิดดำเนินการ ให้จัดทำบัญชีรายการเครื่องจักรทั้งหมดที่ใช้ในกิจการ (ทั้งที่นำเข้าและซื้อในประเทศ) ในแบบคำขออนุญาตเปิดดำเนินการ และยื่นต่อ BOI

สอบถามเรื่องการเริ่มต้นโครงการ ในบัตรส่งเสริมระบุให้ใช้เครื่องจักรใหม่ทั้งหมด ถ้าเป็นเครื่องจักรที่ประกอบใหม่ในประเทศ แต่ใช้โครงเหล็กเครื่องเก่าที่ใช้การไม่ได้แล้วมาประกอบ จะผิดเงื่อนไขของบัตรส่งเสริมไหม

เครื่องจักรที่ประกอบขึ้นใหม่ โดยมีการใช้อุปกรณ์เก่า ไม่นับเป็นเครื่องจักรใหม่ เช่น รถยนต์ แม้จะเปลี่ยนเครื่องยนต์ เปลี่ยนล้อ เปลี่ยนเบาะเก้าอี้ เปลี่ยนระบบไฟฟ้า ระบบส่งกำลังต่างๆ แต่ยังใช้ตัวถังเดิม ก็ไม่สามารถจะบอกว่าเป็นรถใหม่

มูลค่าและรายการลงทุนที่รายงานมีความเกี่ยวข้องกับรายการลงทุนที่เคยแสดงในการยื่นขอรับการส่งเสริมหรือไม่

รายการลงทุนที่เคยแสดงในการยื่นขอรับการส่งเสริมสามารถใช้เป็นแนวทางพิจารณาว่ารายการลงทุนใดเป็นการลงทุนตามโครงการ อย่างไรก็ตาม ในการรายงานให้ยึดตามมูลค่าการลงทุนหรือค่าใช้จ่ายที่ได้เกิดขึ้นจริง

ระบบฯ จะส่งอีเมลตอบกลับหรือไม่ว่าได้รับข้อมูลเรียบร้อยแล้ว

ระบบฯ ไม่มีการส่งอีเมลตอบกลับ ทั้งนี้ หากระบบฯ ขึ้นว่าได้ ‘ส่งข้อมูลแล้ว ณ วันที่ ...’ ถือว่าบริษัทได้ส่งรายงานมายังสำนักงานเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ภ.ง.ด. 50 ในระบบฯ มีรายการไม่ครบ ระบบฯ มีข้อผิดพลาดหรือไม่

ระบบฯ ไม่ได้มีข้อผิดพลาดแต่อย่างใด แต่เพื่อไม่ให้เป็นภาระในการกรอกข้อมูล ระบบฯ จึงมีเฉพาะช่องรายการที่จำเป็นเท่านั้น

ระบบฯ มีการจัดทำเป็นภาษาอังกฤษหรือไม่

เนื่องจากข้อมูลส่วนใหญ่ที่กรอกต้องลงรายละเอียดและอาจอ้างอิงเอกสารอื่นที่เป็นภาษาไทย ดังนั้นปัจจุบันจึงยังไม่มีการพัฒนาระบบฯ เป็นภาษาอังกฤษ อย่างไรก็ตาม เบื้องต้นสามารถดูแบบเตรียม ข้อมูลที่เป็นภาษาอังกฤษได้ที่เว็บไซต์ของสำนักงานที่ www.boi.go.th โดยไปที่ INVESTMENT PROMOTION > BOI Forms and Online Service > Project Monitoring > Form

รายได้จากการขาย หรือให้บริการ (รายได้ทั้งสิ้นจากการประกอบกิจการ) ให้กรอกเฉพาะรายได้จาก โครงการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน ใช่หรือไม่

ไม่ใช่ ให้กรอกรายได้รวมทั้งส่วนที่ได้และไม่ได้รับการส่งเสริมของทั้งบริษัทแต่ไม่รวมรายได้อื่น เนื่องจากการรายงานผลการดำเนินงานประจำปีเป็นการรายงานของบริษัทในภาพรวม ซึ่งแตกต่างจากการรายงานความคืบหน้าโครงการที่เป็นการรายงานข้อมูลเฉพาะโครงการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน

การจะขอรับการส่งเสริมในกิจการผลิตยา จำเป็นต้องได้รับ GMP หรือ GMP/PICS มาก่อนไหม
ไม่จำเป็นในขั้นการขอรับการส่งเสริม แต่หลังจากได้รับการส่งเสริมแล้วจะต้องได้รับ GMP หรือ GMP/PICS ตามระยะเวลาที่กำหนด (ภายใน 2 ปีนับแต่วันครบเปิดดำเนินการ)
การขอรับการส่งเสริมจะช่วยลดภาษีสรรพสามิตหรือไม่
หลังจากบริษัทได้รับการส่งเสริมแล้วจะสามารถนำบัตรส่งเสริมเพื่อติดต่อกับกรมสรรพสามิตเพื่อขอลดหย่อนภาษีสรรพสามิตได้ โดยเงื่อนไขวิธีการเป็นไปตามที่กรมสรรพสามิตกำหนด รายละเอียดตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ลดภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ 138) สามารถสืบค้นได้ที่นี่
สิทธิประโยชน์สำหรับกิจการที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนมีอะไรบ้าง

สำนักงานกำหนดรูปแบบของการให้สิทธิและประโยชน์ โดยแบ่งเป็นประเภท 2 ดังนี้

สิทธิประโยชน์ตามประเภทกิจการ (Activity-based Incentives)
แบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้

กลุ่ม A ได้แก่ กลุ่มกิจการที่จะได้รับสิทธิและประโยชน์ด้านภาษีเงินได้นิติบุคคล เครื่องจักร วัตถุดิบ และสิทธิประโยชน์ที่ไม่เกี่ยวกับภาษีอากร โดยแบ่งเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้

กลุ่ม A1

- ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 8 ปี โดยไม่กำหนดวงเงิน

- ยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร

- ยกเว้นอากรขาเข้าวัตถุดิบสำหรับการผลิตเพื่อส่งออก

- ยกเว้นอากรสำหรับของที่นำเข้ามาวิจัยและพัฒนา รวมทั้งการทดสอบที่เกี่ยวข้อง (เฉพาะกิจการ 7.12.1 – 7.12.4)

กลุ่ม A2

- ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 8 ปี โดยมีวงเงินยกเว้นเท่ากับมูลค่าเงินลงทุน ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน

- ยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร

- ยกเว้นอากรขาเข้าวัตถุดิบสำหรับการผลิตเพื่อส่งออก

กลุ่ม A3

- ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 5 ปี โดยมีวงเงินยกเว้นเท่ากับมูลค่าเงินลงทุน ไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน (ยกเว้นบางกิจการที่กำหนดให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้โดยไม่กำหนดวงเงิน)

- ยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร

- ยกเว้นอากรขาเข้าวัตถุดิบสำหรับการผลิตเพื่อส่งออก

กลุ่ม A4

- ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 3 ปี โดยมีวงเงินยกเว้นเท่ากับมูลค่าเงินลงทุนไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียน

- ยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร

- ยกเว้นอากรขาเข้าวัตถุดิบสำหรับการผลิตเพื่อส่งออก

กลุ่ม B ได้แก่ กลุ่มกิจการที่จะได้รับสิทธิและประโยชน์เฉพาะด้านเครื่องจักร วัตถุดิบ และสิทธิประโยชน์ที่ไม่เกี่ยวกับภาษีอากร โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้

กลุ่ม B1

- ยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร

- ยกเว้นอากรขาเข้าวัตถุดิบสำหรับการผลิตเพื่อส่งออก

กลุ่ม B2

- ยกเว้นอากรขาเข้าวัตถุดิบสำหรับการผลิตเพื่อส่งออก

กิจการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีเป้าหมาย ซึ่งมีความร่วมมือตามเงื่อนไขที่กำหนด ประกอบกิจการประเภท 5.6, 7.11, 7.13, 7.14, 7.15 และ 7.19

- ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 10 ปี โดยไม่กำหนดวงเงินสูงสุด

- ยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร

- ยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับของที่นำเข้ามาเพื่อใช้ในการวิจัยและพัฒนา (เฉพาะประเภท 7.11)

- ยกเว้นอากรขาเข้าวัตถุดิบสำหรับการผลิตเพื่อส่งออก

 หมวด 8 การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม ได้แก่ กิจการพัฒนาเทคโนโลยีเป้าหมาย เช่น กิจการพัฒนา Biotechnology, Nanotechnology, Advanced Material Technology และ Digital Technology 

- ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 10 ปี โดยไม่กำหนดวงเงินสูงสุด

- ยกเว้นอากรขาเข้าเครื่องจักร

- ยกเว้นอากรขาเข้าวัตถุดิบสำหรับการผลิตเพื่อส่งออก

- ยกเว้นอากรของนำเข้าเพื่อวิจัยและพัฒนา รวมทั้งการทดสอบที่เกี่ยวข้อง

หมายเหตุ:

1. สิทธิประโยชน์การยกเว้นอากรขาเข้าวัตถุดิบเพื่อการผลิตส่งออก จะให้ได้รับครั้งแรกเป็นเวลา 1 ปี และจะขยายเวลาให้ครั้งละ 2 ปี (หรือ 1 ปีสำหรับบางกิจการ เช่น ITC)

2. กิจการทุกกลุ่ม จะได้รับสิทธิประโยชน์ที่ไม่เกี่ยวกับภาษีอากร ได้แก่ การนำเข้าช่างฝีมือต่างด้าว การถือครองกรรมสิทธิ์ที่ดิน และการอนุญาตให้ส่งเงินตราต่างประเทศออกนอกประเทศ 

สิทธิประโยชน์เพิ่มเติมตามคุณค่าของโครงการ (Merit-based Incentives)
ให้สิทธิและประโยชน์เพิ่มเติม เพื่อจูงใจและกระตุ้นให้มีการลงทุนหรือใช้จ่ายในกิจกรรมที่จะเป็นประโยชน์ต่อประเทศ ดังนี้

1. การพัฒนาความสามารถในการแข่งขัน
จะต้องมีการลงทุนหรือมีค่าใช้จ่าย ดังนี้

1) การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม ทั้งการดำเนินการเอง หรือการว่าจ้างผู้อื่นในประเทศ หรือการร่วมวิจัยและพัฒนากับองค์กรในต่างประเทศโดยให้ได้รับวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มเติม 300% ของเงินลงทุนหรือค่าใช้จ่าย

2) การสนับสนุนกองทุนด้านการพัฒนาเทคโนโลยีและบุคลากร (เป็นกองทุนของสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เป็นหน่วยงานในกำกับของกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งต้องใช้หนังสือรับรองการแสดงความจำนงสนับสนุนเงินเข้ากองทุนฯ จาก สวทช. ยื่นขออนุมัติจากบีโอไอได้ทันที  กองทุนดังกล่าวมีพันธกิจหลักในเรื่องกิจการวิจัยและพัฒนาการพัฒนาบุคคลากรด้านเทคนิค การสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเทคโนโลยีและให้การสนับสนุนต่อวิสาหกิจขนาดกลางและย่อมในเรื่องการพัฒนาเทคโนโลยี เป็นต้น ผู้สนใจสามารถติดต่อให้การสนับสนุนหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สวทช โทร 0-2564-7000 ต่อ 1334-1339) สถาบันการศึกษา ศูนย์ฝึกอบรมเฉพาะทาง สถาบันวิจัย หรือหน่วยงานของภาครัฐในประเทศ ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ตามที่คณะกรรมการเห็นชอบ โดยให้ได้รับวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มเติมเท่ากับของเงินลงทุนหรือค่าใช้จ่าย

3) ค่าธรรมเนียมการใช้สิทธิเทคโนโลยีที่พัฒนาจากแหล่งในประเทศ โดยให้ได้รับวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มเติม 200% ของเงินลงทุนหรือค่าใช้จ่าย

4) การฝึกอบรมด้านเทคโนโลยีขั้นสูง โดยให้ได้รับวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มเติม 200% ของเงินลงทุนหรือค่าใช้จ่าย

5) การพัฒนาผู้ผลิตวัตถุดิบหรือชิ้นส่วนในประเทศ (Local Supplier) ที่มีผู้มีสัญชาติไทยถือหุ้นไม่น้อยกว่า 51% ของทุนจดทะเบียน ในส่วนที่เกี่ยวกับการฝึกอบรมด้านเทคโนโลยีขั้นสูง และการให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิค โดยให้ได้รับวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มเติม 200% ของเงินลงทุนหรือค่าใช้จ่าย

6) การออกแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ ทั้งการดำเนินการเอง หรือการว่าจ้างผู้อื่นในประเทศ ตามที่คณะกรรมการเห็นชอบ โดยให้ได้รับวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มเติม 200% ของเงินลงทุนหรือค่าใช้จ่าย

ทั้งนี้ จะเพิ่มวงเงินยกเว้นเงินภาษีเงินได้ ให้ 200% ของเงินลงทุนในข้อ 3-6  จะให้ได้รับสิทธิและประโยชน์เพิ่มเติม ดังนี้
- หากมีการลงทุนหรือค่าใช้จ่ายข้างต้นรวมกันไม่น้อยกว่า 1% ของยอดขายรวมใน 3 ปีแรก หรือไม่น้อยกว่า 200 ล้านบาท ให้ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มขึ้น 1 ปี แต่รวมแล้วไม่เกิน 13 ปี

- หากมีการลงทุนหรือค่าใช้จ่ายข้างต้นรวมกันไม่น้อยกว่า 2% ของยอดขายรวมใน 3 ปีแรก หรือไม่น้อยกว่า 400 ล้านบาท ให้ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มขึ้น 2 ปี แต่รวมแล้วไม่เกิน 13 ปี

- หากมีการลงทุนหรือค่าใช้จ่ายข้างต้นรวมกันไม่น้อยกว่า 3% ของยอดขายรวมใน 3 ปีแรก หรือไม่น้อยกว่า 600 ล้านบาท ให้ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มขึ้น 3 ปี แต่รวมแล้วไม่เกิน 13 ปี 

2. การกระจายความเจริญสู่ภูมิภาค 

กรณีตั้งสถานประกอบการในเขตส่งเสริมการลงทุนที่มีรายได้ต่ำ 20 จังหวัด ได้แก่ ได้แก่ กาฬสินธุ์ ชัยภูมิ นครพนม น่าน บึงกาฬ บุรีรัมย์ แพร่ มหาสารคาม มุกดาหาร แม่ฮ่องสอน ยโสธร ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ สกลนคร สระแก้ว สุโขทัย สุรินทร์ หนองบัวลำภู อุบลราชธานี และอำนาจเจริญให้ได้รับสิทธิประโยชน์เพิ่มเติม ดังนี้

- ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มเติมอีก 3 ปี แต่รวมแล้วไม่เกิน 8 ปี แต่หากเป็นกิจการกลุ่ม A1 หรือ A2 ที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 8 ปีอยู่แล้ว จะให้ได้รับลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคล 50% เป็นเวลา 5 ปี เพิ่มเติม ตามมาตรา 35(1)

- ให้หักค่าขนส่ง ค่าไฟฟ้า และค่าประปา 2 เท่า เป็นเวลา 10 ปี ตามมาตรา 35(2)

- ให้หักค่าติดตั้งหรือก่อสร้างสิ่งอำนวยความสะดวก 25% จากกำไรสุทธิ นอกเหนือจากการหักค่าเสื่อมราคาตามปกติ ตามมาตรา 35(3)

 

3. การพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรม
ให้ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มเติมอีก 1 ปี แต่รวมแล้วไม่เกิน 8 ปี กรณีตั้งสถานประกอบการในนิคมหรือเขตอุตสาหกรรมที่ได้รับส่งเสริม แต่ไม่รวมถึงกิจการที่มีเงื่อนไขบังคับว่าตั้งตั้งในนิคมหรือเขตอุตสาหกรรม 

เงื่อนไขในการขอรับสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมตามคุณค่าของโครงการข้างต้นในข้อ 1-3

กิจการกลุ่ม A

- ขอในขั้นยื่นคำขอรับการส่งเสริม หรือ

- ขอภายหลังจากได้รับการส่งเสริม ก่อนระยะเวลาหรือวงเงินยกเว้นภาษีอย่างใดอย่างหนึ่งจะสิ้นสุดลง

 กิจการกลุ่ม B

- ต้องขอในขั้นยื่นคำขอรับการส่งเสริมเท่านั้น และ

- ไม่ให้ได้รับสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมตามข้อ 3 การพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรม และ

- ต้องไม่เป็นกิจการประเภทที่กำหนดว่าจะไม่ให้ได้รับสิทธิเพิ่มเติมตามคุณค่าของโครงการ

ถ้าขอแก้ไขกรรมวิธีผลิตให้ถูกต้อง ในส่วนที่ต้องขออนุมัติ max stock ให้ใส่ช่องปริมาณวัตถุดิบและวัสดุจำเป็นที่ใช้ในการผลิต 6 เดือน เป็นศูนย์ใช่หรือไม่ เนื่องจากบริษัทไม่ได้เป็นผู้นำเข้าเอง เพียงแต่ขออนุมัติเพื่อใช้ในการตัดบัญชีเพื่อโอนสิทธิ์เท่านั้น เข้าใจถูกต้องไหม

Max Stock จะขอสำหรับการผลิต 1,000 ชิ้น หรือขอไป 6 เดือนเลยก็ได้ เพราะเป็นแค่ตัวเลขโควตาสำหรับการนำเข้าเฉยๆ แต่ในทางปฏิบัติ บริษัทจะไม่นำเข้าโดยใช้สิทธินี้โดยตรง ดังนั้น ยอด import และยอด balance ในบัญชี MML จึงจะเป็น 0 ตลอดเวลา

ตอนตัดบัญชี ถ้าตัดปกติ ก็จะติดลบ บริษัทจึงต้องยื่นไฟล์ birtven เข้าไปด้วยพร้อมกัน เพื่อโอนสิทธิตัดบัญชีไปให้เวนเดอร์

สูตรการผลิต คืออะไร มีความสำคัญอย่างไร

สูตรการผลิต คือ ปริมาณการใช้วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์แต่ละชนิด ซึ่งทำให้ทราบว่าผลิตภัณฑ์ชนิดนี้ ใช้วัตถุดิบอะไรบ้าง กี่รายการ แต่ละรายการมีปริมาณเท่าใด เราใช้สูตรการผลิตในการตัดบัญชีวัตถุดิบ เช่น บริษัทได้รับอนุมัติปริมาณสต๊อกวัตถุดิบ Steel Sheet 1 รายการ จำนวน 1,000 ตัน ดังนั้นบริษัทมีสิทธินำเข้า Steel Sheet ไม่เกิน 1,000 ตัน หากบริษัทนำเข้างวดแรก 100 ตัน ปริมาณสต๊อคคงเหลือจะเท่ากับ 900 ตัน ต่อมานำเข้างวดที่ 2 จำนวน 100 ตัน ปริมาณสต๊อคคงเหลือจะลดลงเหลือ 800 ตัน วัตถุดิบงวดแรก 100 ตัน เมื่อผ่านการผลิตและส่งออกไปต่างประเทศแล้ว ก็จะนำหลักฐานใบขนสินค้าขาออกมาแสดงเพื่อตัดบัญชี ซึ่งระบบจะคืนปริมาณสต็อคกลับมา 100 ตัน รวมกับของเดิมที่มีอยู่ 800 ตัน รวมเป็นมูลค่า 900 ตัน ซึ่งเป็นบัญชีแบบหมุนเวียน

ขออภัยครับ ไม่มีข้อมูลส่วนนี้ ในภาษาที่ท่านเลือก !

Sorry, There is no information support your selected language !

Download และ ติดตั้งโปรแกรมอ่าน PDF

Download PDF Reader

Site map