Chat
x
toggle menu
toggle menu

Select Groups

All Group
  • All Group
  • นโยบายเเละมาตรการพิเศษในการส่งเสริม
  • การขอรับการส่งเสริมการลงทุน
  • การออกบัตรส่งเสริม
  • การเปิดดำเนินการ
  • การเเก้ไขโครงการ
  • การดำเนินการอื่น ๆ
  • การรายงานความคืบหน้าโครงการ (e-Monitoring)
  • การปฏิบัติหลังการได้รับการส่งเสริม
  • การยกเลิกบัตรส่งเสริม
  • เรื่องทั่วไป
  • การใช้สิทธิด้านที่ดิน
  • การใช้สิทธิด้านเครื่องจักร
  • การใช้สิทธิด้านช่างฝีมือ/ต่างด้าว
  • การใช้สิทธิด้านวัตถุดิบ
  • ประเภทกิจการ - การแพทย์
  • การใช้สิทธิด้านภาษีเงินได้นิติบุคคล
  • ประเภทกิจการ - รถยนต์ไฟฟ้า
  • ประเภทกิจการ - ศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศ (IBC) IPO และ TISO
  • ประเภทกิจการ - โรงแรม
  • ประเภทกิจการ - ผลิตผลิตภัณฑ์โลหะรวมทั้งชิ้นส่วนโลหะ
  • ประเภทกิจการ - กิิจการผลิิตเครื่่องจัักร อุุปกรณ์์และชิ้นส่่วน
  • ประเภทกิจการ - กิิจการศููนย์์กระจายสิินค้้าระหว่่าง ประเทศด้้วยระบบที่่ทัันสมััย (IDC)
เบอร์ติดต่อเพื่อปรึกษาวิธีการกรอกคำขอรับการส่งเสริม

ผู้ขอรับการส่งเสริม ต้องการปรึกษาวิธีการกรอกคำขอรับการส่งเสริม สามารถติดต่อขอคำปรึกษาได้ที่ศูนย์บริการลงทุน โทร 02-553-8111

ทั้งนี้ การปรึกษาวิธีการกรอกคำขอ ตลอดจนการยื่นคำขอรับการส่งเสริมนี้ ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น

การเพิกถอนบัตรส่งเสริม

กรณีที่ผู้ได้รับส่งเสริมไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขที่เป็นสาระสำคัญในการให้การส่งเสริมได้ เช่น มีขนาดการลงทุนไม่รวมค่าที่ดินและทุนหมุนเวียนต่ำกว่า 1 ล้านบาท หรือมีกรรมวิธีการผลิตไม่เป็นไปตามที่ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริม และทำให้มูลค่าเพิ่มของโครงการต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด ผู้ได้รับส่งเสริมจะถูกเพิกถอนบัตรส่งเสริม

ในกรณีที่ถูกเพิกถอนบัตรส่งเสริม ผู้ได้รับส่งเสริมอาจถูกเพิกถอนสิทธิและประโยชน์ทั้งหมดเสมือนว่าไม่เคยได้รับส่งเสริมมาตั้งแต่ต้น ซึ่งจะต้องทำให้เสียภาษีอากรเครื่องจักรและวัตถุดิบย้อนหลังตามสภาพ ณ วันนำเข้า พร้อมเงินเพิ่มและเบี้ยปรับ ซึ่งรวมถึงการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่มย้อนหลังอีกด้วย






ข้อมูลที่ต้องใช้ในการขออนุมัติบัญชีปริมาณสต๊อคสูงสุด มีอะไรบ้าง

1. ชนิดของผลิตภัณฑ์ที่ปรากฏในบัตรส่งเสริมการลงทุน

2. กำลังการผลิตตามบัตรส่งเสริม

3. จำนวนรายการวัตถุดิบที่ใช้ในโครงการ

4. ข้อมูลการผลิตผลิตภัณฑ์ 1 ชิ้น ใช้วัตถุดิบกี่รายการ แต่ละรายการมีปริมาณเท่าใด มีส่วนสูญเสียหรือไม่

 

เมื่อทราบข้อมูลเบื้องต้นแล้ว สามารถนำข้อมูลไปกรอกในแบบฟอร์มจะได้ปริมาณสต๊อคที่ต้องใช้ หากบริษัทมีผลิตภัณฑ์ชนิดเดียว ใช้วัตถุดิบเหมือนกันทุกรุ่น (Model) ก็สามารถคำนวณปริมาณสต๊อคได้ไม่ยาก แต่หากบริษัทมีผลิตภัณฑ์หลายรุ่น และแต่ละรุ่นใช้รายการวัตถุดิบต่างกัน บริษัทจะต้องแยกให้ได้ว่าแต่ละรุ่นใช้วัตถุดิบปริมาณเท่าใด และเมื่อเอาปริมาณวัตถุดิบของทุกรุ่นมารวมกัน ก็จะได้ปริมาณสต็อคสูงสุด การใช้สิทธิและประโยช์ยกเว้นอากรขาเข้าวัตถุดิบ เมื่อรวมกันทุกรุ่นแล้วปริมาณวัตถุดิบที่ใช้ต้องไม่เกินปริมาณสต๊อคสูงสุด (Max Stock) ที่บริษัทได้รับ

ถ้าบริษัท A ภายใต้ BOI ซื้อวัตถุดิบมาผลิตจากบริษัท B ที่เป็น IPO ใช้สิทธิ์นำเข้าวัตถุดิบแบบยกเว้นอากร และ A ขายชิ้นส่วนที่ทำการผลิตแล้วกลับคืนไปยังบริษัท B และ B ขายชิ้นส่วนต่อไปยังบริษัทที่อยู่ในส่วน Free zone ซึ่งบริษัท A ไม่ได้ขออนุมัติ max stock และสูตรการผลิตไว้ เนื่องจากโดยปกติซื้อวัตถุดิบจากภายในประเทศที่เป็น non BOI แต่ทางบริษัท B ซึ่งเป็น IPO ร้องขอให้ทางบริษัท A ทำการโอนสิทธิ์วัตถุดิบให้เพราะต้องการนำไปตัดบัญชีวัตถุดิบ แต่กรรมวิธีการผลิตชิ้นส่วนของบริษัท A ที่ขายให้ B ไม่มีอยู่ในกรรมวิธีการผลิตที่ได้รับอนุมัติจาก BOI รบกวนขอคำแนะนำวิธีการดำเนินการเพื่อที่ทางบริษัทจะสามารถทำการโอนสิทธิ์ให้บริษัท B ใช้ในการตัดบัญชีวัตถุดิบให้ด้วย

ขอแก้คำถามใหม่

A (BOI) ซื้อวัตถุดิบ X จาก B (IPO) จากนั้นผลิตเป็นชิ้นส่วน Y และขายให้ B (IPO) เพื่อส่งออก เมื่อ B ส่งออก ก็จะโอนสิทธิ์ตัดบัญชี Y ให้ A และต้องการให้ A ตัดบัญชีเพื่อโอนสิทธิวัตถุดิบ X กลับไปให้ B แต่ A ทำไม่ได้ เพราะการผลิตชิ้นส่วน Y ไม่ตรงกับกรรมวิธีที่ได้รับส่งเสริม

A อาจจะทำผิดหลายเรื่อง เช่น

- นำเครื่องจักรที่ใช้สิทธิ BOI ไปผลิตสินค้าที่ไม่ได้รับส่งเสริมหรือเปล่า

- นำรายได้จากการผลิตสินค้าที่ไม่ถูกต้องตามกรรมวิธี ไปใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้หรือเปล่า ฯลฯ แต่ถ้า A ไม่ได้ทำผิด คือสินค้า Y ที่ผลิตนั้นเป็นกิจการส่วนที่เป็น non-BOI คือไม่ได้ใช้สิทธิใดๆจาก BOI เลย B ก็อาจจะเป็นฝ่ายผิด คือจำหน่ายวัตถุดิบ X (ซึ่งใช้สิทธิ BOI) ไปจำหน่ายให้กับกิจการที่ไม่มีสิทธิตามมาตรา 36 ซึ่งเข้าข่ายการจำหน่ายในประเทศ

คำแนะนำคือ A แก้ไขกรรมวิธีผลิตให้ถูกต้อง เพื่อที่จะสามารถขออนุมัติสูตรและ max stock จากนั้นจะได้ตัดบัญชีเพื่อโอนสิทธิไปให้ B

กิจการอะไรบ้างที่สำนักงานให้การส่งเสริมการลงทุน

บัญชีประเภทกิจการที่ให้การส่งเสริมการลงทุนทั่วไปแบ่งออกเป็น 8 หมวดได้แก่

หมวด 1 เกษตรกรรมและผลิตผลจากการเกษตร

หมวด 2 แร่ เซรามิกส์ และโลหะขั้นมูลฐาน

หมวด 3 อุตสาหกรรมเบา

หมวด 4 ผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักร และอุปกรณ์ขนส่ง

หมวด 5 อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

หมวด 6 เคมีภัณฑ์ พลาสติก และกระดาษ

หมวด 7 กิจการบริการและสาธารณูปโภค

หมวด 8 การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม

สามารถดูรายละเอียดของกิจการทั้ง 8 หมวดได้ที่นี่

การผลิตรถยนต์ไฟฟ้าจะต้องมีการผลิตชิ้นส่วนใดชิ้นส่วนหนึ่งเองด้วยหรือไม่
การส่งเสริมตามมาตรการนี้กำหนดให้ผู้ขอรับการส่งเสริมจะต้องใช้ชิ้นส่วนสำคัญชิ้นใดชิ้นหนึ่งในจำนวน  4 ชิ้น ได้แก่ Battery, Traction Motor, ระบบบริหารจัดการแบตเตอรี่ (BMS), ระบบควบคุมการขับขี่ (DCU) ภายใน 3 ปีนับแต่วันที่ออกบัตรส่งเสริม
ปัจจุบันมีโรงงานผลิตยาอยู่แล้ว และต้องการจะลงทุนในการก่อสร้างอาคารเท่านั้น เช่น โกดังสินค้า ปรับปรุงอาคารผลิต เป็นต้น จะขอรับการส่งเสริมได้หรือไม่

หากเป็นการก่อสร้างที่เป็นส่วนสนับสนุนการดำเนินการ เช่น โกดังสินค้า หรือปรับปรุงอาคารการผลิต เป็นต้น ถือว่าเป็นการลงทุนที่ไม่ได้เป็นการยกระดับมาตรฐานการผลิตที่เกี่ยวข้องกับการปรับปรุงประสิทธิภาพและกำลังการผลิตให้ดีขึ้นโดยตรง จึงไม่อยู่ในข่ายที่จะขอรับการส่งเสริม

แต่หากเป็นการก่อสร้างหรือปรับปรุงอาคารส่วนการผลิตที่รองรับมาตรฐานการผลิตตามมาตรฐาน GMP หรือ GMP/PICS ก็จะอยู่ในข่ายขอรับการส่งเสริมได้ ยกเว้นบริษัทใดได้รับการรับรองมาตรฐาน GMP หรือ GMP/PICS ไปแล้ว และมีการลงทุนในระบบเพิ่มเติม เช่น ระบบแอร์ ระบบกำจัดฝุ่น เป็นต้น ก็ไม่อยู๋ในข่ายที่จะรับการส่งเสริมได้

งบการเงินของบริษัทแบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่ งบการเงินรวม และงบการเงินเฉพาะกิจการ เนื่องจาก มีบริษัทย่อย ให้กรอกข้อมูลโดยใช้ส่วนใด

ให้กรอกข้อมูลโดยใช้งบการเงินเฉพาะกิจการ

บริษัทฯ ได้รายงานในระบบฯ แล้ว แต่ยังได้รับหนังสือติดตามให้รายงาน ต้องดำเนินการอย่างไร

เนื่องจากการออกหนังสือติดตามเป็นการออกอัตโนมัติจากระบบฯ รวมถึงช่วงเวลาที่บริษัทกดส่งข้อมูลนั้น ระบบฯ อาจออกหนังสือไปก่อนหน้าแล้ว ทำให้บริษัทยังได้รับหนังสือติดตาม ดังนั้น หากระบบฯ ขึ้นว่าได้ส่งข้อมูลแล้ว บริษัทไม่ต้องดำเนินการอะไรหรือทำหนังสือแจ้งเข้ามายังสำนักงานแต่อย่างใด

บริษัทไม่มีต้นทุนวัตถุดิบ และวัสดุใช้ไป แต่ระบบฯ ให้กรอกสัดส่วนการใช้วัตถุดิบจากในประเทศ และต่างประเทศ ให้กรอกข้อมูลอย่างไร

เบื้องต้นให้กรอกข้อมูลเป็นในประเทศคิดเป็นร้อยละ 100

ระบบฯ ปรากฏข้อความสีแดง ‘กรุณาตรวจสอบข้อมูลรายละเอียดการจ้างงานไทย’ หมายความว่าอย่างไร

เบื้องต้นโปรดตรวจสอบและแก้ไขให้ (A) จำนวนการจ้างงานคนไทยในส่วนบนต้องเท่ากับ (B) ผลรวมจำนวนการจ้างงานคนไทยที่แยกระดับการศึกษาสูงสุดในส่วนล่าง หรือ (A) = (B) ตามรูปด้านล่าง


โครงการอยู่ในประเภทกิจการที่ให้บริการ (ไม่ใช่การผลิต) ไม่มีการลงทุนเครื่องจักร ให้กรอกข้อมูล อย่างไร

เครื่องจักรของโครงการที่อยู่ในประเภทกิจการที่ให้บริการ ให้หมายถึงเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ เป็นหลักในการให้บริการ หากไม่มีจะไม่สามารถให้บริการตามโครงการได้ เช่น คอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ที่ใช้ให้บริการต่างๆ เครื่องมือและอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ที่ใช้ให้บริการวิจัยและพัฒนา เครื่องบินและเรือที่ใช้ให้บริการขนส่ง เป็นต้น ทั้งนี้ สามารถดูรายการเครื่องจักรที่แสดงในแบบคำขอรับการส่งเสริมที่เคยยื่นไว้เป็น แนวทางพิจารณาขอบข่ายเครื่องจักรของโครงการได้

รบกวนสอบถามเกี่ยวกับเครื่องจักร,แม่พิมพ์ และหรืออุปกรณ์ต่างๆ ที่นำเข้ามาใช้สิทธิ์บีโอไอ ทั้งหมด ถ้าเสียหรือชำรุด สามารถซ่อมภายในประเทศได้หรือไม่ หรือต้องส่งออกไปซ่อมต่างประเทศทั้งหมด

สามารถซ่อมในประเทศได้ โดยยื่นคำร้องขออนุญาตนำเครื่องจักรไปเก็บนอกสถานที่และให้ชี้แจงเหตุผลว่าเป็นการขอนำไปซ่อม แบบคำร้องดังกล่าวไม่มีให้ download จึงจะต้องไปขอตัวอย่างจากสำนักบริหารการลงทุนที่ 1-4 และจากนั้นยื่นที่สำนักฯ ที่เกี่ยวข้องนั้นๆ

ตอนนี้บริษัทฯ ยังไม่ได้มีการเปิดดำเนินการ แต่จะครบกำหนดเปิดดำเนินการ เดือนกันยายน 2018 อยากทราบว่า - หลังจากยื่นเอกสารเปิดดำเนินการ ต้องใช้ระยะเวลากี่วัน - เจ้าหน้าที่ BOI จะต้องเข้ามาตรวจสอบ อะไรบ้าง ระยะเวลากี่วัน - เจ้าหน้าที่พิจารณาอนุมัติ ระยะเวลากี่วัน

การตรวจสอบเปิดดำเนินการ ปกติใช้เวลา 1/2 - 1 วัน วิธีการตรวจสอบอาจแตกต่างกันตามประเภทกิจการ และวิธีการของเจ้าหน้าที่แต่ละคน แต่ปกติจะตรวจสอบการติดตั้งเครื่องจักร กำลังการผลิต และอาจสุ่มตรวจเอกสารทางบัญชี เป็นต้น การเปิดดำเนินการกำหนดระยะเวลาพิจารณา 45 วันทำการ

บริษัทมี 2 โครงการ โครงการที่ 1 เปิดดำเนินการแล้ว และจะหมดสิทธิ์ด้านภาษีกลางปีนี้ ส่วนอีกโครงการกำลังอยู่ระหว่างยื่นขอเปิดดำเนินการอยู่ เครื่องจักรหลักที่อยู่ในโครงการ 1 นำเข้ามาใช้สิทธิ์ BOI และเกิน 5 ปีแล้ว เนื่องจากเครื่องดังกล่าวไม่ได้ใช้ที่โครงการนี้แล้ว จึงอยากขายต่อให้โครงการ 2 ใช้ผลิตต่อ อยากทราบว่า บริษัทสามารถทำได้ไหม ถ้าไม่ได้ นอกจากส่งออกต่างประเทศและทำลายแล้ว ยังมีวิธีอื่นหรือไม่ อย่างไร

เครื่องจักรที่เคยใช้ในโครงการ 1 ไม่สามารถนำไปใช้ในโครงการ 2 ได้ เพราะถือเป็นการนำเครื่องจักรนั้นไปใช้สิทธิซ้ำเป็นครั้งที่ 2 ในโครงการอื่น หากไม่ต้องการใช้เครื่องจักรดังกล่าวในโครงการ 1 สามารถดำเนินการได้ วิธี คือ

1.ขอส่งคืนไปต่างประเทศ

2.ขอจำหน่ายในประเทศ ซึ่งกรณีนี้นำเข้ามาเกินกว่า 5 ปีแล้ว BOI จึงจะอนุญาตให้จำหน่ายได้โดยไม่มีภาระภาษี

แต่เนื่องจากเครื่องจักรดังกล่าวเป็นเครื่องจักรหลักของโครงการ 1 จึงอาจต้องขอลดกำลังผลิตหรือลดขั้นตอนการผลิตของโครงการ 1 ด้วย

บริษัทอยากจะปิดบัตรส่งเสริมกิจการประเภท 5.5 เนื่องจากไม่มีรายได้เข้ากิจการนี้เลย และยังไม่ได้ใช้สิทธิใดๆ เลย อยากจะรบกวนสอบถาม ถ้าจะปิดโครงการ จะต้องทำอย่างไรบ้างและใช้เอกสารใดบ้าง

กรณีจะยกเลิกบัตรส่งเสริม โดยที่ไม่เคยใช้สิทธิประโยชน์ใดๆเลย ให้ยื่นหนังสือขอยกเลิกบัตรส่งเสริม (ร่างขึ้นได้เอง ไม่มีตัวอย่าง) โดยอาจระบุเหตุผล และระบุข้อความยืนยันการไม่เคยใช้สิทธิประโยชน์ใดๆตามโครงการดังกล่าวไปด้วย หาก BOI ตรวจสอบว่าไม่เคยมีการใช้สิทธิใดๆ ก็จะยกเลิกบัตรส่งเสริมให้โดยไม่มีภาระภาษี

การติดตั้งแผงโซล่าเซลล์บนหลังคาโรงงานจะเข้าข่ายส่งเสริมมาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตหรือไม่
การติดตั้งแผงโซล่าเซลล์บนหลังคาโรงงาน จะเข้าข่ายส่งเสริมใดตามมาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต  กรณีดังกล่าวสามารถขอส่งเสริมได้ตามมาตรการย่อย เรื่อง การลงทุนด้านการประหยัดพลังงาน การลงทุนเพื่อใช้พลังงานทดแทน หรือการลงทุนเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยใช้แบบฟอร์มดังนี้
อยากทราบว่าการยื่นแบบขอใช้สิทธิ์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลปี 2559 ต้องยื่นออนไลน์ หรือเปเปอร์ ได้ยินมาว่าต้องยืนออนไลน์เท่านั้น และถ้าต้องยื่นออนไลน์ต้องปฏิบัติอย่างไร

ตามประกาศ ป.3/2259 สามารถยื่นคำขอใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลในรูปแบบเดิม (กระดาษ) ได้ถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2561 แต่เพื่อลดปัญหาที่อาจเกิดขึ้นภายหลังจากการยกเลิกคำขอที่เป็นกระดาษ BOI จึงขอความร่วมมือให้ผู้ได้รับส่งเสริมยื่นคำขอใช้สิทธิผ่านระบบ e-Tax ตั้งแต่ปีนี้

บริษัทมีหุ้นต่างชาติทั้งสิ้นปัจจุบันได้รับส่งเสริมการลงทุน “IHQ และ ITC” ของ BOI อยู่แล้ว หลังจากนี้จะต้องเปลี่ยนมาขอรับการส่งเสริมการลงทุน “IBC” แทนหรือไม่

หากการได้รับการส่งเสริมการลงทุนในประเภทกิจการ “IHQ และ ITC” ครอบคลุมการดำเนินธุรกิจของโครงการ ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนมาขอรับการส่งเสริมการลงทุน “IBC” แต่หากประสงค์จะเปลี่ยนเป็นกิจการ IBC จะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของกิจการ IBC

“วิสาหกิจในเครือ” สำหรับกิจการ IBC มีคำจำกัดความอย่างไร

“วิสาหกิจในเครือ” หมายความว่า บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งมีความสัมพันธ์กับศูนย์กลาง ธุรกิจระหว่างประเทศ ในลักษณะดังนี้

(1) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งถือหุ้นในศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศทั้งทางตรงหรือทาง อ้อมรวมกันคิดเป็นสัดส่วนการถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบห้าของทุนทั้งหมด

(2) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศถือหุ้น หรือเป็นหุ้นส่วนทั้งทาง ตรงหรือทางอ้อมรวมกันคิดเป็นสัดส่วนการถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบห้าของทุนทั้งหมด

(3) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตาม (1) ถือหุ้น หรือเป็นหุ้นส่วนทั้งทางตรงหรือทางอ้อมรวมกันคิดเป็นสัดส่วนการถือหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบห้าของทุนทั้งหมด

(4) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งมีอำนาจควบคุมกิจการหรือกำกับดูแลการดำเนินงานและการ บริหารงานของศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศ

(5) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งศูนย์กลางธุรกิจระหว่างประเทศมีอำนาจควบคุมกิจการหรือกำกับดูแลการดำเนินงานและการบริหารงาน

(6) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซึ่งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตาม (4) มีอำนาจควบคุมกิจการหรือกำกับดูแลการดำเนินงานและการบริหารงาน

ขออภัยครับ ไม่มีข้อมูลส่วนนี้ ในภาษาที่ท่านเลือก !

Sorry, There is no information support your selected language !

Download และ ติดตั้งโปรแกรมอ่าน PDF

Download PDF Reader

Site map