กรณีส่งออกไม่ตรงกับสูตรที่ได้รับอนุมัติ หากไม่ตรงเพียงเล็กน้อยในส่วนที่ไม่เป็นสาระสำคัญ สามารถดำเนินการได้ดังนี้
1. ให้ยื่นขอตัดบัญชี โดยระบุชื่อสินค้าส่งออก และโมเดลส่งออก ให้ตรงกับสูตรที่ได้รับอนุมัติเพื่อให้ตรวจสอบผ่านในขั้นตอนแรก
2. จากนั้นระบบจะตรวจสอบพบว่า ชื่อสินค้า (หรือชื่อโมเดล) ที่คีย์ตามข้อ 1 ไม่ตรงกับข้อมูลในใบขนสินค้าขาออก
3. ระบบจะให้บริษัทยืนยันว่าจะยื่นขอตัดบัญชีตามข้อมูลที่ไม่ตรงนั้นหรือไม่
4. หากบริษัทกดยืนยัน ระบบจะส่งเรื่องให้ BOI พิจารณาว่าจะให้ตัดบัญชีตามสูตรที่บริษัทยื่นหรือไม่
5. หาก BOI อนุมัติ ระบบจะดำเนินการตัดบัญชีต่อจนจบกระบวนการ
6. แต่หาก BOI ไม่อนุมัติ ระบบจะแจ้งผลไม่อนุมัติตัดบัญชี ซึ่งบริษัทต้องยื่นขออนุมัติสูตรใหม่ให้ตรงกับสินค้าส่งออก หรือต้องแก้ไขใบขนขาออกให้ตรงกับสูตรการผลิต แล้วจึงยื่นขอตัดบัญชีใหม่อีกครั้งหนึ่ง
การยื่นเรื่องขอส่งวัตถุดิบไปต่างประเทศ เมื่อยื่นผ่านระบบออนไลน์แล้ว ต้องไปยื่นเอกสารขอปรับยอดที่ IC อีกหรือไม่ หากไม่ไปปรับยอดจะไม่สามารถตัดบัญชีสำหรับใบขนผลิตภัณฑ์ส่งออกได้ใช่หรือไม่ หากไม่สะดวกไปที่ IC สามารถดำเนินการอย่างไรได้บ้าง
1. การขอส่งคืนวัตถุดิบไปต่างประเทศ มีการปรับปรุงขั้นตอนการอนุมัติ ดังนี้
- ให้ยื่นคำร้องทางออนไลน์ ผ่านระบบ IC Online System
- จำนวนที่ขอส่งออก ต้องไม่ต่ำกว่ายอดคงเหลือ (balance) ของวัตถุดิบรายการนั้นๆ
- จะเป็นการอนุมัติแบบอัตโนมัติทุกกรณีที่ตรงตามเงื่อนไข
- ระบบจะนำยอดอนุมัติส่งออก ไปเป็นยอดจอง (reserve) ในการตัดบัญชี/ปรับยอด เช่น หากใน MML มียอดบาลานซ์คงเหลือ 5,000 ชิ้น แล้วขออนุมัติส่งออกวัตถุดิบ 500 ชิ้น ใน MML จะยังคงแสดงบาลานซ์เป็น 5,000 ชิ้น แต่จะตัดบัญชีได้เพียง 4,500 ชิ้น เนื่องจากถูกจองยอดรอการปรับยอดจากการส่งออกวัตถุดิบไว้จำนวน 500 ชิ้น
- ดังนั้น หากได้รับอนุมัติส่งออกวัตถุดิบแล้ว จะยื่นตัดบัญชีสินค้าตามปกติก่อน ก็สามารถทำได้ เพียงแต่ต้องเข้าใจว่ายอดบาลานซ์ที่จะให้ตัดบัญชีได้จริง จะมีน้อยกว่ายอดที่แสดงใน MML
- เมื่อส่งออกวัตถุดิบแล้ว ให้นำเอกสารไปยื่นขอปรับยอดที่ IC ต่อไป
2. กรณีที่ไม่สะดวกจะไปยื่นงานที่ IC
- สามารถติดต่อ Business Center ของ IC ให้ดำเนินการแทนได้ โดยจะมีค่าบริการคิดตามจำนวนไฟล์ และจำนวนเอกสารที่ใช้ประกอบการยื่นงานนั้นๆ รวมถึงสามารถแจ้งให้ IC ส่งเอกสารอนุมัติให้บริษัททางไปรษณีย์ได้ โดยมีค่าบริการเช่นกัน
กิจการประเภท 6.6 การผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกสำหรับอุตสาหกรรม อยู่ภายใต้การรับผิดชอบของกอง 3 ของ BOI กรณีที่สอบถาม ให้ติดต่อกับกอง 3 เพื่อให้กำหนดชื่อเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบงานเครื่องจักรของบริษัท เมื่อ BOI กำหนดชื่อเจ้าหน้าที่แล้ว (ประมาณ 1-2 วัน) บริษัทจะสามารถยื่นคำร้องขออนุมัติบัญชีรายการวัตถุดิบได้ตามปกติ
การส่งคืนเครื่องจักรไปต่างประเทศ โดยมีการตัดบัญชีเพื่อปลอดภาระภาษีของเครื่องจักรที่เกิน 5 ปีแล้ว
1. ต้องยื่นขออนุญาตส่งคืนเครื่องจักรไปต่างประเทศ เนื่องจากแม้จะตัดบัญชีเพื่อปลอดภาระภาษีของเครื่องจักรที่เกิน 5 ปีแล้ว แต่ยังคงมีเงื่อนไขต้องใช้เครื่องจักรดังกล่าวในโครงการที่ได้รับส่งเสริม
2. ไม่มีภาระภาษีที่ต้องชำระคืน เนื่องจาก 1) เป็นการส่งคืนไปต่างประเทศ และ 2) ตัดบัญชีเพื่อปลอดภาระภาษีแล้ว
3. การส่งคืนเครื่องจักรไปต่างประเทศ เข้าใจว่ามี VAT เป็น 0%
1. โครงการที่ได้รับอนุญาตเปิดดำเนินการเต็มโครงการ โดยมีการปรับเปลี่ยนวงเงินที่จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลไปแล้วนั้น จะไม่มีการปรับเปลี่ยนวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลอีกแม้จะมีการจำหน่ายเครื่องจักรออกจากโครงการก็ตาม
2. การส่งคืนเครื่องจักรไปต่างประเทศจะเป็นการจำหน่ายไปก็ได้ จึงสามารถออกอินวอยซ์ขายตามปกติ โดยรายได้จากการจำหน่ายเครื่องจักรที่หมดสภาพหรือไม่เหมาะสมที่จะใช้งานต่อไปถือเป็นรายได้ที่สามารถใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลตามประกาศกรมสรรพากร ลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2530
กรณีเปิดดำเนินการเต็มโครงการแล้ว
1. การส่งคืนเครื่องจักรไปต่างประเทศ เพื่อนำเครื่องจักรใหม่มาทดแทน ให้ยื่นคำร้องขอส่งคืนเครื่องจักรไปต่างประเทศ ผ่านระบบ eMT
โดยหากเป็นเครื่องจักรหลักซึ่งทำให้กำลังผลิตลดลงมากกว่า 20% ของบัตรส่งเสริม ให้ชี้แจงเพิ่มเติมว่าจะมีการนำเข้าเครื่องจักรใหม่มาทดแทน เครื่องจักรที่ส่งคืนต่างประเทศจะไม่มีภาระภาษีแม้จะไม่ได้ยื่นตัดบัญชีเกิน 5 ปีเพื่อปลอดภาระภาษีหรือไม่ก็ตาม
2. เครื่องจักรใหม่ที่นำเข้ามาทดแทนเครื่องจักรเดิม สามารถใช้ในโครงการที่ได้รับส่งเสริมได้ แต่จะไม่ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีอากรตามมาตรา 28 เนื่องจากโครงการนั้นเปิดดำเนินการครบตามโครงการแล้ว และจะไม่นำมูลค่าเครื่องจักรใหม่นั้นมารวมเป็นขนาดการลงทุนเพื่อปรับเปลี่ยนวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล
1.เครื่องจักรที่ตัดบัญชี 5 ปี เพื่อปลอดภาษีแล้ว สามารถขอส่งคืนไปต่างประเทศได้โดยไม่มีภาระภาษีอากร
2. การที่บริษัทแม่ที่ประเทศญี่ปุ่นจะนำเข้าเครื่องจักรเก่าจากประเทศไทย จะมีกฎระเบียบของประเทศญี่ปุ่นอย่างไร ควรติดต่อสอบถามกับบริษัทแม่ที่ต่างประเทศโดยตรง
ตาม คำชี้แจง สกท เรื่อง การปฏิบัติเกี่ยวกับเครื่องจักรที่เสียหายจากอุทกภัย ข้อ 2.4 กรณีที่บริษัทประกันภัยมีหนังสือรับรองความเสียหายจากอุทกภัย เพื่อรับรองว่าเครื่องจักรดังกล่าวเสียหายจากอุทกภัย โดยมีสภาพความเสียหายทั้งสิ้น ให้ถือว่าเป็นการทำลายเครื่องจักรโดยไม่ต้องขออนุมัติการทำลาย และสามารถใช้เอกสารดังกล่าวมาขอตัดบัญชีเครื่องจักรได้ โดยไม่มีภาระภาษีอากรขาเข้าเครื่องจักร
ดังนั้น หากบริษัทมีหนังสือรับรองความเสียหายจากอุทกภัยจากบริษัทประกันภัย ตามรูปแบบที่ BOI กำหนดก็สามารถตัดบัญชีเครื่องจักรได้โดยไม่มีภาระภาษี
1. เครื่องจักรเก่าที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ในโครงการ โดยไม่ให้ได้รับยกเว้นอากรขาเข้า > ไม่ต้องยื่นขออนุมัติบัญชีรายการเครื่องจักร
2. แต่หากจำเป็นต้องนำอะไหล่ใหม่ ของเครื่องจักรดังกล่าวเข้ามาซ่อมบำรุง > สามารถยื่นขออนุมัติบัญชีรายการเครื่องจักรดังกล่าวเป็น 0.5 เครื่อง และขออนุมัติบัญชีรายการอะไหล่ เพื่อนำเข้าอะไหล่โดยใช้สิทธิยกเว้นอากรขาเข้าได้
กรณีที่มีหลายผลิตภัณฑ์ และมีกรรมวิธีการผลิตบางขั้นตอนที่เหมือนกัน ให้บันทึกกรรมวิธีการผลิตที่เหมือนกันเพียงครั้งเดียว จากนั้นจึงผูกความสัมพันธ์ของผลิตภัณฑ์กับกรรมวิธีการผลิต ซึ่งผลิตภัณฑ์ต่างชนิดกัน สามารถผูกเข้ากับกรรมวิธีการผลิตที่ซ้ำกันได้
2. ปกติการจะส่งเครื่องจักรคืนไปต่างประเทศ เข้าใจว่าบริษัทน่าจะมีเวลาเตรียมการล่วงหน้าพอสมควร จึงควรรอให้ได้รับอนุญาตจาก BOI ก่อน จึงส่งเครื่องจักรคืนไปต่างประเทศ
สอบถามเพิ่มเติม การเสียภาษีสงวนสิทธิ์นำเข้าเครื่องจักร ต่างจากการใช้ธนาคารค้ำประกัน อย่างไร จะเลือกใช้ในกรณีใด
1. กรณีเสียภาษีสงวนสิทธิ หากได้รับสั่งปล่อยคืนอากร จะได้รับคืนเฉพาะอากรขาเข้าเครื่องจักร ส่วนภาษีมูลค่าเพิ่ม จะไม่ได้รับคืนจากการสั่งปล่อย ต้องเป็นการเครดิตภาษีขาย - ภาษีซื้อ ที่ยื่นตามปกติทุกเดือน
2. กรณีใช้ธนาคารค้ำประกันภาษีอากร หากได้รับสั่งปล่อยถอนประกัน จะไม่ต้องชำระทั้งอากรขาเข้าเครื่องจักรและภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่หากไม่ได้รับอนุมัติสั่งปล่อยถอนประกัน จะต้องชำระภาษีอากรย้อนหลังและค่าปรับ VAT
- สามารถยื่นขออนุญาตนำเครื่องจักรไปใช้เพื่อการอื่น ตาม ประกาศ สกท ที่ ป.7/2559 ข้อ 5 แต่จะต้องเป็นกรณีที่ได้รับอนุญาตเปิดดำเนินการเต็มโครงการแล้วเท่านั้น2. กรณีที่ยังไม่ได้รับอนุญาตเปิดดำเนินการเต็มโครงการ
- หากสินค้าใหม่ที่จะผลิต อยู่ในข่ายที่จะได้รับส่งเสริม อาจยื่นขอแก้ไขโครงการเพื่อเพิ่มชนิดผลิตภัณฑ์ โดยใช้เครื่องจักรที่มีอยู่เดิมได้ แต่จะต้องไม่ทำให้กำลังผลิตที่ได้รับการส่งเสริม เพิ่มไปจากเดิม3. กรณีที่จะลงทุนซื้อเครื่องจักรมาใหม่
- หากสินค้าใหม่ที่จะผลิต อยู่ในข่ายที่จะได้รับส่งเสริม สามารถยื่นขอรับส่งเสริมเป็นกิจการขยาย (บัตรส่งเสริมฉบับที่ 2) ได้ แต่จะต้องไม่ใช้เครื่องจักรร่วมกันระหว่างบัตรที่ 1 และบัตรที่ 2
ในกรณีที่ทางบริษัทไม่ได้จำหน่าย แต่จะทำลาย ก็ต้องยื่นขอทำลายในระบบ eMT ก่อนใช่ไหม
การทำลายเครื่องจักร รวมถึงอะไหล่ และแม่พิมพ์ ต้องเป็นกรณีที่ชำรุดเสียหายเท่านั้น
- หากชำรุดเสียหาย ให้ยื่นขอทำลายในระบบ eMT
- แต่หากไม่ชำรุดเสียหาย ให้ยื่นขอจำหน่ายโดยมีภาระภาษีตามสภาพ
ในส่วนของอะไหล่ที่เป็นกระดาษทราย ซึ่งใช้แล้วหมดไป แต่ระยะเวลาการนำเข้ายังไม่ครบ 5 ปี กรณีนี้ต้องทำอย่างไร
กระดาษทราย เป็นเครื่องมือเครื่องใช้ที่มีผลิตในประเทศ ปกติจะไม่อนุมัติให้ได้รับสิทธิยกเว้นอากรขาเข้าตามมาตรา 28 กรณีที่ได้รับอนุมัติบัญชีรายการเครื่องจักรเป็นกระดาษทราย หากเสื่อมสภาพไม่สามารถใช้งานต่อได้ สามารถขออนุมัติทำลายตาม ประกาศ สกท ที่ ป.3/2555
กรณีบริษัทนำเข้าโดยใช้สิทธิ BOI โดยนำเข้าอุปกรณ์เสริม เช่น Metal Mold, Jig, Tool สายพาน เกิน 5 ปี บริษัทจะต้องทำเรื่องขอปลอดภาระภาษีอากรหรือไม่
กรณีนำเข้าเกิน 5 ปี
- หากไม่ประสงค์จะใช้ในโครงการอีกต่อไป สามารถยื่นขอจำหน่ายในประเทศโดยไม่มีภาระภาษี ซึ่งจะได้รับการตัดบัญชีเพื่อปลอดภาระภาษีไปพร้อมกัน
- แต่ถ้าจะยังคงใช้ในโครงการ ก็สามารถยื่นขอตัดบัญชีเพื่อปลอดภาระภาษี
2. การขอใช้เครื่องจักรร่วมกัน มีแนวทางการพิจารณาดังนี้
- กรณีที่ทั้ง 2 โครงการได้รับอนุญาตเปิดดำเนินการเต็มโครงการ และสิ้นสุดระยะเวลาการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลแล้ว จะอนุญาตให้ใช้เครื่องจักรร่วมกันได้ ตามเหตุผลความจำเป็นของบริษัท
สอบถามเพิ่มเติม เนื่องจากมีปัญหาตามหลังคือ พอดีปิดงบแล้วก็ยื่น ภงด.50 ค่าเครื่องจักรมันลดลง แต่ไม่ส่งผลต่อกำลังการผลิต เหตุผลตอนส่งกับความเป็นจริง มันขัดแย้งกัน เจ้าหน้าที่จึงขอคำชี้แจงจากบริษัท
คำตอบ
หากเจ้าหน้าที่ขอทราบเหตุผล เพื่อประกอบการพิจารณาในงานอื่น บริษัทน่าจะทำหนังสือชี้แจงเพิ่มเติมให้กับเจ้าหน้าที่ได้ โดยไม่ต้องแก้ไขข้อมูลย้อนหลังในระบบ eMT อีกทั้งระบบ eMT ก็ไม่ได้ออกแบบให้สามารถแก้ไขข้อมูลของงานที่พิจารณาเสร็จสิ้นไปแล้ว
ตอบ:
1. หากเป็นเครื่องจักรที่มีข้อมูลการใช้สิทธิในระบบ eMT ไม่ต้องแนบเอกสาร แต่สามารถเลือกเครื่องจักรจากรายการสั่งปล่อยคืนอากรที่เคยอนุมัติอยู่เดิม
2. หากเป็นเครื่องจักรที่ไม่มีข้อมูลในระบบ eMT (เช่น ได้รับอนุมัติให้โอนมาจากโครงการอื่น หรือนำเข้าก่อนการเริ่มใช้ระบบ eMT ฯลฯ) ให้แนบหลักฐานเพื่อพิสูจน์ว่า เครื่องจักรที่ขออนุญาตนั้นได้รับยกเว้นภาษีอากรโดยใช้สิทธิ BOI
กรณีเป็นเครื่องจักรที่นำเข้าโดยชำระภาษี และขอคืนอากรภายหลังนั้น เอกสารที่ต้องใช้ เช่น สำเนาหนังสืออนุมัติสั่งปล่อยคืนอากรเครื่องจักร หรือสำเนาหนังสือคืนอากรจากกรมศุลกากรที่มีการอ้างถึงการใช้สิทธิของ BOI
A2:
เครื่องจักรที่นำเข้าโดยใช้สิทธิยกเว้นภาษีอากรจาก BOI หากต้องการจำหน่ายทั้งตัวเครื่องจักร หรือส่วนประกอบของเครื่อง จะต้องได้รับอนุญาตจาก BOI ก่อน
กรณีเป็นเครื่องจักรที่นำเข้ามาเกิน 5 ปี ไม่ได้ใช้ในโครงการ คือไม่กระทบกับกำลังผลิตและกรรมวิธีการผลิตตามที่ได้รับส่งเสริมแล้ว จึงควรยื่นขอจำหน่ายเครื่องจักร (จำหน่ายออกจากโครงการ) หลังจากได้รับอนุญาตจาก BOI แล้ว บริษัทจะนำไปทำลาย หรือถอดแยกชิ้นจำหน่ายอย่างไรก็ได้ โดยไม่ต้องแจ้งหรือขออนุญาตจาก BOI อีก
Q2.1:
บริษัทจะต้องยื่นเรื่องในระบบ eMT ในหัวข้อใด ระหว่างการขออนุญาตจำหน่ายเครื่องจักร หรือตัดบัญชีเครื่องจักรนำเข้าเกิน 5 ปี และเอกสารที่ต้องใช้คืออะไร หากบริษัทไม่สามารถหาใบขนสินค้าขาเข้าได้ บริษัทฯ จะต้องดำเนินการอย่างไร (เพราะเครื่องจักรเข้ามาอายุเกิน 20 ปี เอกสารไม่น่าจะมีเก็บไว้แล้ว)
A2.1:
ตาม ประกาศ BOI ที่ ป.7/2559
1) การขอจำหน่าย คือ การจำหน่ายออกจากโครงการ คือบริษัทจะตัดเครื่องจักรดังกล่าวออกจากทะเบียนสินทรัพย์ของโครงการนั้น แล้วจะนำไปจำหน่าย ทำลาย ส่งออก บริจาค อย่างไรก็ได้ โดยไม่ต้องขออนุญาตจาก BOI
2) การขอตัดบัญชี คือ การตัดภาระภาษีของเครื่องจักรที่นำเข้ามาเกินกว่า 5 ปี เพื่อเป็นเครื่องจักรดังกล่าวจะไม่ถูกเรียกเก็บภาษีในภายหลัง แต่ทั้งนี้ ยังคงต้องใช้เครื่องจักรดังกล่าวในโครงการที่ได้รับส่งเสริมนั้นต่อไป จนกว่าจะขออนุญาตจำหน่าย ทำลาย ส่งคืน หรือบริจาค
ตอบคำถามดังนี้
1. บริษัทต้องการถอดแยกชิ้นส่วนของเครื่องจักรที่นำเข้าเกิน 20 ปี เพื่อนำไปจำหน่าย โดยจะไม่ใช้เครื่องจักรในโครงการที่ได้รับส่งเสริมอีกต่อไป จึงต้องยื่นเรื่องเป็นการขอจำหน่ายเครื่องจักร
2. BOI จำเป็นต้องตรวจสอบว่า เครื่องจักรที่ยื่นขออนุญาตจำหน่าย เป็นเครื่องจักรที่นำเข้ามาโดยใช้สิทธิยกเว้นภาษีอากรตามมาตรา 28, 29 ของ พรบ.ส่งเสริมการลงทุน หรือไม่ หากไม่ใช่ BOI ก็ไม่มีอำนาจในการอนุมัติให้จำหน่ายหรือไม่จำหน่ายเครื่องจักรดังกล่าว ดังนั้นจึงจำเป็นจะต้องมีหลักฐานอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อประกอบการพิจารณา เช่น สำเนาใบขนขาเข้า หรือสำเนาหนังสืออนุมัติสั่งปล่อย เป็นต้น ในเบื้องต้นอาจสอบถามกับ IC ว่ายังมีข้อมูลอนุมัติสั่งปล่อยในระบบเก่า (MCTS) หรือไม่ หากไม่มี อาจต้องติดต่อกับเจ้าหน้าที่ BOI ที่รับผิดชอบโครงการของบริษัท เพื่อหารือวิธีดำเนินการ
กรณีนำเข้าเครื่องจักร A และต้องการส่งส่วนประกอบของเครื่องจักร A (สมมุติว่าคือ Motor) ไปซ่อมต่างประเทศ
- ให้ยื่นขอส่งออกไปซ่อมโดยเลือกรายการที่เคยได้รับอนุมัติสั่งปล่อย (เครื่องจักร A)
- จากนั้นให้คลิกในช่องที่ระบุว่าชื่อที่ขอส่งซ่อมไม่ตรงกับชื่อที่นำเข้า จากนั้นระบุชื่อรายการที่จะส่งซ่อมให้ตรงกับที่จะขอส่งออกไปซ่อม (Motor)
คำถาม: หากเป็นการส่งไปคืน ไม่ใช่ส่งไปซ่อม จะต้องดำเนินการอย่างไร
คำตอบ: หากจะขอส่งคืนชิ้นส่วนของเครื่องจักร ให้ยื่นคำร้องขอส่งคืนเครื่องจักร โดยอ้างอิงจากเลขที่หนังสืออนุมัติสั่งปล่อยเครื่องจักร จากนั้นทำเครื่องหมายในช่องชื่อส่งคืนไม่ตรงกับชื่อที่นำเข้า และระบุชื่อรายการของชิ้นส่วนที่จะขอส่งคืน