แต่หากเป็นการซื้อวัตถุดิบในราคารวมภาษี ก็สามารถส่งออกวัตถุดิบนั้นได้ โดยไม่ต้องขออนุญาต BOI และไม่ต้องนำใบขนขาออกมาตัดบัญชี
2. แต่หากกิจการของบริษัท ไม่ใช่การผลิตเพื่อการส่งออกเป็นส่วนใหญ่ หากจะจำหน่ายผลิตภัณฑ์ในประเทศ จะต้องชำระภาษีอากรขาเข้าวัตถุดิบตามสภาพ ณ วันนำเข้า ของวัตถุดิบแต่ละรายการ ที่ใช้ในการผลิตสินค้านั้น
ในระบบ eMT การขอสั่งปล่อยคืนอากร จะมีช่องให้ระบุราคาเครื่องจักรด้วย โดยข้อมูลราคาเครื่องจักรนี้ เป็นเพียงการเก็บข้อมูลเชิงสถิติของ BOI เท่านั้น ไม่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาอนุมัติหรือไม่อนุมัติ
ดังนั้น ในส่วนของ BOI จึงจะไม่มีขั้นตอนการพิจารณาตรวจสอบว่ามูลค่าเครื่องจักรที่บริษัทระบุในระบบ eMT นั้น ตรงกับเอกสารหลักฐานหรือไม่
แต่ทั้งนี้การสำแดงราคาเครื่องจักรในใบขนสินค้าขาเข้าจะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์และข้อกำหนดของกรมศุลกากร
ข้อเท็จจริง บริษัทนำเข้าวัตถุดิบบางส่วนจากบริษัทแม่ โดยมีเงื่อนไขต้องจ่ายค่า License Fee จากราคาสินค้าที่ขายได้ 5%
ความเห็น
1. หากการจ่ายค่า License Fee มีความเกี่ยวข้องกับการนำเข้าวัตถุดิบ ต้องนำค่า License Fee มารวมไว้ในราคาศุลกากรด้วย ตามประกาศกรมศุลกากร ที่ 133/2561 หน้า 72 รายละเอียดขอให้สอบถามกับ บ.ชิปปิ้ง และกรมศุลกากร โดยตรง
2. แต่หากการจ่ายค่า License Fee ไม่มีความเกี่ยวข้องกับการนำเข้าวัตถุดิบ ความเห็นส่วนตัวเข้าใจว่าจะต้องยื่นชำระอากรค่า License Fee โดยคำนวณพิกัดภาษีตามสินค้าที่ได้รับอนุญาตตาม License Fee นั้นๆ แต่วันที่จะต้องสำแดงต่อกรมศุลกากร ไม่แน่ใจว่าจะต้องเป็นวันใด เช่น วันที่ได้รับใบอนุญาต หรือวันที่เริ่มผลิต หรือวันที่เริ่มจำหน่าย เป็นต้น แต่ขอให้ตรวจสอบข้อมูลที่ถูกต้องกับกรมศุลกากรโดยตรง
3. การจ่ายค่า License ของวัตถุดิบ ตามราคาขายสินค้า เป็นปกติวิสัยของการประกอบธุรกิจหรือไม่ เช่น หากบริษัทประกอบธุรกิจ IPO/ITC คือ ซื้อมาขายไป ก็อยู่ในวิสัยที่เข้าใจได้ แต่หากบริษัทประกอบธุรกิจการผลิต โดยนำเข้าวัตถุดิบจากบริษัทแม่ 1 ชิ้น ราคา 100 บาท และผลิตเป็นสินค้าจำหน่ายในราคา 10,000 บาท หากต้องจ่ายค่า License 5% ของราคาสินค้า = 500 บาท ก็อาจไม่เป็นปกติวิสัยของการประกอบธุรกิจ จึงควรสอบถามกับผู้ทำบัญชี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมสรรพากร ว่าจะเข้าข่ายการกำหนดราคาซื้อขายที่ไม่ใช่เป็นราคาตลาดหรือไม่
1. บริษัทสามารถจำหน่ายเครื่องจักรที่ซื้อมาโดยไม่ได้ใช้สิทธิยกเว้นภาษีอากรขาเข้าตามมาตรา 28, 29 โดยไม่ต้องแจ้งขออนุญาตต่อ BOI ไม่ว่าเครื่องจักรนั้นจะซื้อมาครบ 5 ปีหรือไม่ก็ตาม
2. การจำหน่ายเครื่องจักรตามข้อ 1 จะต้องไม่ทำให้กำลังผลิตลดลงเกินกว่า 20% จากกำลังผลิตในบัตรส่งเสริม และไม่ทำให้กรรมวิธีการผลิตเปลี่ยนแปลงไปจากที่ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริม เว้นแต่จะมีการซื้อเครื่องจักรใหม่มาทดแทนส่วนที่ขาดหายไป
3. หากการจำหน่ายเครื่องจักร ทำให้ขนาดกิจการลดลงเกินกว่า 20% จากกำลังผลิตในบัตรส่งเสริม หรือทำให้กรรมวิธีการผลิตเปลี่ยนแปลงไปจากที่ได้รับอนุมัติให้การส่งเสริม จะต้องยื่นขอแก้ไขโครงการ เพื่อลดขนาดกิจการ หรือเพื่อลดขั้นตอนการผลิต แล้วแต่กรณี
กรณีที่สอบถาม เป็นการจำหน่ายเครื่องจักรตามข้อ 1 และไม่ขัดกับหลักเกณฑ์ตามข้อ 2 จึงไม่ต้องแจ้งหรือขออนุญาตใดๆ ต่อ BOI
การขอส่งคืนเครื่องจักรไปต่างประเทศ จะไม่มีภาษี แม้ว่าเครื่องจักรนั้นจะนำเข้ามาครบ 5 ปีหรือไม่ก็ตาม แต่จะต้องไม่ทำให้กำลังผลิตลดลงมากกว่า 20% ของกำลังผลิตในบัตรส่งเสริม และต้องไม่ทำให้กรรมวิธีการผลิตที่ได้รับส่งเสริมขาดหายไป ยกเว้นแต่จะมีการนำเครื่องจักรใหม่เข้ามาทดแทน
แต่หากจะส่งคืนเครื่องจักรไปต่างประเทศ ซึ่งทำให้กำลังผลิตลดลงมากกว่า 20% โดยไม่นำเครื่องจักรใหม่มาทดแทน เนื่องจากจะยกเลิกโครงการให้ยื่นขออนุญาตส่งคืนเครื่องจักรไปต่างประเทศผ่านระบบ eMT และชี้แจงเหตุผลว่าขอส่งคืน เนื่องจากจะขอยกเลิกโครงการ
กรณีเช่นนี้ วัตถุดิบที่นำเข้าจากบริษัท B ในราคาชิ้นละ 1 บาทนั้น จะต้องนำค่าแม่พิมพ์มาเฉลี่ยเป็นราคาที่แท้จริงของวัตถุดิบด้วยในราคาชิ้นละ 1,000,000 / 200,000 = 5 บาท จึงต้องสำแดงราคาวัตถุดิบที่นำเข้าในราคา 1+5 = 6 บาท โดยในการขอใช้สิทธิยกเว้นอากรขาเข้าตามมาตรา 36 สามารถสั่งปล่อยภายใต้รายการของวัตถุดิบนั้นๆ โดยตรง โดยไม่ต้องแยกสั่งปล่อยเป็นรายการค่าบริการทางวิศวกรรมเช่นเดียวกับกรณีของเครื่องจักร
กรณีที่บริษัท A จะไม่เฉลี่ยค่าแม่พิมพ์ตามจำนวนการผลิตวัตถุดิบทั้งหมด แต่จะเฉลี่ยค่าแม่พิมพ์ในการนำเข้าวัตถุดิบที่นำเข้าล็อตแรกล็อตเดียวให้ครบตามมูลค่าแม่พิมพ์ เช่น นำเข้าวัตถุดิบล็อตแรก 2,000 ชิ้น เฉลี่ยเป็นค่าแม่พิมพ์เต็มมูลค่า = 1,000,000 / 2,000 = 500 บาท และสำแดงราคาวัตถุดิบในล็อตนี้เป็น 1 + 500 = 501 บาท ส่วนการนำเข้าวัตถุดิบล็อตต่อๆไป สำแดงราคาเป็น 1 บาท เนื่องจากเคยสำแดงราคาแม่พิมพ์ไปครบถ้วนแล้วนั้น จะกระทำได้และเหมาะสมหรือไม่อย่างไร ขึ้นกับการพิจารณาของกรมศุลกากร
การใช้สิทธิยกเว้น/ลดหย่อนอากรขาเข้าเครื่องจักรตามมาตรา 28 หรือ 29 ผู้นำเข้าจะต้องเป็นผู้ได้รับการส่งเสริมซึ่งได้รับสิทธิประโยชน์ดังกล่าวเท่านั้น
หากผู้นำเข้าเป็นผู้ไม่ได้รับการส่งเสริม แล้วนำมาจำหน่ายให้กับผู้ได้รับส่งเสริม กรณีนี้ผู้ได้รับส่งเสริมจะใช้สิทธิยกเว้นลดหย่อนอากรขาเข้าเครื่องจักรนั้นไม่ได้
หากผู้ได้รับส่งเสริม (A) จำเป็นต้องนำเข้าเครื่องจักรจากต่างประเทศ (C) โดยซื้อผ่านตัวแทนจำหน่ายในประเทศ (B) สามารถใช้สิทธิยกเว้นลดหย่อนอากรขาเข้าเครื่องจักรได้ โดยต้องดำเนินการดังนี้
1. A (BOI) สั่งซื้อเครื่องจักรจากบริษัทตัวแทนจำหน่ายในประเทศ B (non-BOI) เพื่อซื้อเครื่องจักรจากจาก C (ต่างประเทศ)
2. C ส่งเครื่องจักรมายังประเทศไทย โดยออกอินวอยซ์เรียกเก็บเงินจาก B (sold to B) และส่งเครื่องจักรไปยัง A (ship to A) 3. เมื่อเครื่องจักรมาถึงประเทศไทย A และ B ติดต่อกรมศุลกากรเพื่อขอโอนสิทธิการเป็นผู้นำเข้าเครื่องจักรจาก B ให้กับ A 4. A เป็นผู้เดินพิธีการขาเข้า และหาก A ได้รับอนุมัติสั่งปล่อยเครื่องจักรดังกล่าวจาก BOI ก็สามารถใช้สิทธิยกเว้น/ลดหย่อนอากรขาเข้าเครื่องจักรดังกล่าวได้
การสงวนสิทธิคืนอากรและสั่งปล่อยคืนอากร มีขั้นตอนดังนี้
1. นำเข้าเครื่องจักรภายใต้ชื่อบริษัทที่ได้รับส่งเสริม โดยระบุเป็นการชำระภาษีอากรสงวนสิทธิ
2. ขออนุมัติบัญชีรายการเครื่องจักร โดยมีชื่อรองที่ตรงตามชื่อที่ระบุในอินวอยซ์และใบขนสินค้าขาเข้า
3. ยื่นคำร้องขอสั่งปล่อยคืนอากรเครื่องจักรผ่านระบบ eMT
4. ติดต่อกรมศุลกากรเพื่อขอคืนเฉพาะอากรขาเข้า ตามสิทธิที่ได้รับอนุมัติ
5. สำหรับ VAT จะไม่ได้รับคืนตามข้อ 4 แต่จะเป็นการเครดิต VAT ซื้อ VAT ขาย ตามปกติ
1. กรณีเป็นอะไหล่/แม่พิมพ์ ที่นำเข้าเกิน 5 ปีแล้ว หากต้องการตัดบัญชีเพื่อปลอดภาระภาษี แต่ยังจะไม่จำหน่าย ขอแนะนำให้ยื่นขออนุญาตตามขั้นตอน คือ ยื่นเฉพาะการตัดบัญชีเครื่องจักรเกิน 5 ปี เพื่อปลอดจากภาระภาษีหลังจากนั้น เมื่อต้องการจำหน่าย จึงค่อยยื่นเรื่องขออนุญาตจำหน่าย
2. เครื่องจักรที่ได้รับอนุญาตให้จำหน่าย สามารถจำหน่ายได้ทันที แต่หากเป็นเครื่องจักรที่ยังมีภาระภาษี โดยการอนุญาตให้จำหน่ายระบุเงื่อนไขให้ต้องชำระภาษี บริษัทจะต้องชำระภาษีให้เสร็จสิ้นก่อน จึงจะจำหน่ายได้
3. หลักเกณฑ์การตัดบัญชีเพื่อปลอดจากภาระภาษีหลังจากนำเข้ามาครบ 5 ปี เป็นไปตาม ประกาศ สกท ที่ ป.3/2538
1.1 ส่วนสูญเสียในสูตรการผลิต
- หากมีมูลค่าเชิงพาณิชย์ ให้ยื่นขอชำระภาษีตามสภาพเศษซาก ก่อนการจำหน่ายเศษซากวัตถุดิบนั้นๆ และไม่ต้องนำมาตัดบัญชีวัตถุดิบ
- หากไม่มีมูลค่าเชิงพาณิชย์ สามารถนำไปกำจัดได้โดยไม่ต้องแจ้ง BOI และไม่ต้องนำมาตัดบัญชีวัตถุดิบ
1.2 ส่วนสูญเสียนอกสูตรการผลิต
- ต้องยื่นขออนุมัติวิธีทำลาย และทำลายตามวิธีที่ได้รับอนุญาต หากเศษซากหลังทำลายมีมูลค่าเชิงพาณิชย์ ให้ยื่นขอชำระภาษีตามสภาพเศษซาก แล้วยื่นขอตัดบัญชีวัตถุดิบต่อไป
2. กรณีผลิตเป็นสินค้าสำเร็จรูปแล้วเป็นของเสีย ไม่สามารถส่งออกได้ ถือเป็นส่วนสูญเสียนอกสูตร และให้ดำเนินการตามข้อ 1.2
กรณีนำเข้าเครื่องจักรโดยใช้สิทธิBOI เรียบร้อยแล้ว และนำเข้ายังไม่เกิน 5 ปี แต่เครื่องจักรไม่สามารถใช้งานได้ (ไม่ได้ชำรุดหรือเสียหาย) บริษัทจะต้องดำเนินการอย่างไร และต้องชำระภาษีหรือไม่
A: เครื่องจักรที่นำเข้าโดยใช้สิทธิยกเว้นภาษีอากรจาก BOI จะสามารถตัดบัญชีเพื่อปลอดภาระภาษีหลังจากนำเข้าแล้วเป็นเวลา 5 ปี
กรณีที่สอบถาม เป็นเครื่องจักรที่นำเข้าโดยใช้สิทธิ และยังไม่ครบ 5 ปี แต่บริษัทไม่ต้องการใช้งานต่อ เนื่องจากสินค้าอาจมีการเปลี่ยนรุ่น เป็นต้น
1. หากจะจำหน่ายในประเทศ จะต้องขออนุญาตจำหน่าย และชำระภาษีตามสภาพ ณ วันอนุญาต
2. หากจะส่งคืน จะต้องขออนุญาตส่งคืน โดยจะไม่มีภาระภาษี
3. หากไม่ส่งคืน และไม่ต้องการชำระภาษีตามข้อ 1 จะต้องเก็บไว้ที่โรงงานจนครบ 5 ปี จากนั้นจึงยื่นขอตัดบัญชีเพื่อปลอดภาระภาษี แล้วจึงขออนุญาตจำหน่ายโดยไม่มีภาระภาษี ครับ
การส่งคืนเครื่องจักรไปต่างประเทศไม่มีข้อกำหนดว่าต้องเป็นเครื่องจักรที่ชำรุดหรือเสียหาย หรือนำเข้ามาแล้วเป็นเวลาเท่าใด แต่สามารถขอส่งคืนได้ทุกกรณี โดยไม่มีภาษี
แต่ทั้งนี้จะต้องไม่ทำให้กำลังผลิตของโครงการลดลงมากกว่า 20% ของกำลังผลิตตามบัตรส่งเสริม และไม่ทำให้กรรมวิธีการผลิตที่ได้รับส่งเสริมขาดหายไป เว้นแต่จะมีการนำเครื่องจักรใหม่เข้ามาทดแทน
กรณีที่กรรมวิธีการผลิตมีความซับซ้อน ใช้วัตถุดิบหลายชนิด และเกิดการสูญเสียในหลายขั้นตอน มีความจำเป็นต้องแยกทำลายด้วยวิธีที่แตกต่างกัน ควรปรึกษากับเจ้าหน้าที่ BOI ที่รับผิดชอบโครงการของบริษัทโดยตรง เพื่อกำหนดวิธีทำลาย Semi Product แต่ละชนิด ให้เหมาะสมกับส่วนสูญเสียชนิดนั้นๆ
2. การกำจัด/ทำลายสินค้า จะต้องปฏิบัติตามประกาศของกรมสรรพากร เนื่องจากเกี่ยวข้องกับการลงบัญชีต้นทุน กรณีการส่งสินค้าไปว่าจ้างกำจัด/ทำลายในต่างประเทศ ปกติควรจะต้องมีสัญญาว่าจ้างกำจัด/ทำลาย หลักฐานการชำระเงินค่าทำลาย หลักฐานการส่งออก หลักฐานการทำลาย รายละเอียดขอให้สอบถามกับผู้สอบบัญชี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรง
หากสินค้าที่ส่งออกไปว่าจ้างกำจัด/ทำลายในต่างประเทศ เป็นสินค้าที่ได้รับอนุมัติสูตรการผลิต สามารถนำใบขนขาออกมาตัดบัญชีวัตถุดิบตามสูตรการผลิตได้
กรณีที่ซื้อเครื่องจักรดังกล่าวก่อนวันที่ได้รับใบอนุญาตเปิดดำเนินการ เครื่องจักรดังกล่าวจะถูกนับรวมกำลังผลิตและนับเป็นขนาดการลงทุนเพื่อกำหนดวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลด้วย จึงไม่มีประเด็นพิเศษใดๆ
แต่หากเป็นการซื้อเครื่องจักรหลังจากได้รับใบอนุญาตเปิดดำเนินการแล้ว (เช่น เพื่อทดแทนเครื่องจักรเดิมที่ชำรุดเสียหาย หรือเพื่อให้สอดคล้องกับ spec ของสินค้าที่อาจมีการเปลี่ยนแปลงไป เป็นต้น) หากเครื่องจักรดังกล่าวเป็นเครื่องจักรใหม่ และสอดคล้องกับกรรมวิธีการผลิตที่ได้รับส่งเสริม ก็สามารถนับกำลังผลิตของเครื่องจักรดังกล่าวเป็นของโครงการได้ แต่ทั้งนี้ จะไม่มีการแก้ไขเพิ่มเติมกำลังผลิตและวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลให้อีก
คำตอบตามวรรคสอง ไม่มีประกาศอ้างอิง แต่พิจารณาตามข้อเท็จจริงว่าไม่ขัดกับเงื่อนไขในบัตรส่งเสริม และไม่ขัดกัปประกาศใดๆของ BOI
กรณีได้รับอนุญาตเปิดดำเนินการเต็มโครงการแล้ว แต่ยังมีระยะเวลานำเข้าเครื่องจักรเหลืออยู่
1. สามารถนำอะไหล่หรือแม่พิมพ์เข้ามาได้ภายในระยะเวลาที่เหลืออยู่ แต่หากจะนำเข้าเครื่องจักรหลัก จะต้องเป็นการนำเข้าเพื่อทดแทนเครื่องจักรเดิมที่ชำรุดเสียหายเท่านั้น
2. ไม่สามารถขอขยายระยะเวลานำเข้าเครื่องจักรได้อีก แม้จะยังขอขยายเวลานำเข้าเครื่องจักรไม่ครบ 3 ครั้งก็ตาม
A1: ตอบคำถามดังนี้
1. การจำหน่ายวัตถุดิบที่นำเข้าโดยใช้สิทธิมาตรา 36 ในประเทศ ซึ่งไม่ใช่การส่งออกทางอ้อมจะต้องชำระภาษีอากรตามสภาพ ณ วันนำเข้า ของวัตถุดิบรายการนั้นๆ
2. การทำลายวัตถุดิบ สรุปขั้นตอนคร่าวๆ ดังนี้
- ต้องเป็นวัตถุดิบที่เป็นส่วนสูญเสีย ตามประกาศ สกท ที่ ป.5/2543
- ให้ยื่นขออนุมัติวิธีทำลาย
- เมื่อจะทำลาย ต้องให้ บ.Inspector ที่ได้รับมอบหมายจาก BOI ร่วมตรวจสอบรับรองการทำลายด้วย
- จากนั้น ยื่นขอปรับยอด (ตัดบัญชีวัตถุดิบ) ตามรายการและปริมาณที่ได้ทำลาย ตามที่ บ.Inspector รับรอง
- หากเศษซากจากการทำลาย มีมูลค่าเชิงพาณิชย์ จะต้องยื่นชำระภาษีตามสภาพเศษซากนั้นๆ ด้วย